ความไม่ประมาท...ในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สสพอช๑, 16 ตุลาคม 2017.

  1. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    ความไม่ประมาท ...ในพระพุทธศาสนา

    [​IMG]


    พุทธศาสนิกชนเราชาวพุทธทุกคน ทั้งผู้หวังพ้นทุกข์เร็วไวหรือผู้ปราถนาใหญ่ในพระปัจเจกหรือหวังสำเร็จพระพุทธเจ้าหวังฉุดช่วยสัตว์โลกพ้นทุกข์ตามไปด้วยเป็นอันมากนั้น สมควรแล้วในทุกสถานทุกผู้คนที่จะปฏิบัติตามคำสอนรอยทางที่พระศาสดาท่านแนะนำทางไว้ครบหมดแล้ว...ด้วยความไม่ประมาทเถิด
    ต่อไปเราจึงควรรู้เข้าใจว่า ..ความไม่ประมาทเป็นอย่างไร


    ว่าด้วยความไม่ประมาท
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้าก็ดี๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ดี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
    มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯ

    คำว่า ไม่พึงประมาท
    ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่ประมาท ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
    ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งไว้ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาท
    ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
    ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่าเมื่อไรเราพึงยังสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์
    ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
    ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญาดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
    ความพอใจ ความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไรเราพึงยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
    ความพอใจความพยายาม ... ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญาดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
    ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
    ความเป็นผู้ขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็น
    เครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งใจ ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ในกุศลธรรม
    นั้นว่า เมื่อไร เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่กำหนดรู้ เราพึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้
    เราพึงยังมรรคที่ยังไม่เจริญให้เจริญ หรือว่าเราพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งดังนี้ ชื่อว่า ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล
    ...เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พึงเว้นจากความคะนองไม่พึงประมาท.

    ข้อพิจารณานำมาฝาก
    (1) วิริเยน ทุกฺขขมจฺเจติ :
    คนล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร
    (2) ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ : ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี
    (3) รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ ลวณํ โลณตํ ยถา : พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
    (4) อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ :
    สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
    (5) สพฺพํ เภทปริยนฺติ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ :
    ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
    (6) อิ จฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ :
    โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้

    ================

    (หวังใจว่าโพสต์นี้จะยังประโยชน์แก่เราทุกคนและหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยท่านผู้รู้ทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย ...ขอความสำเร็จประโยชน์สุขจงมีแก่ทุกท่าน ส่วนท่านที่ท้อถอยขอให้กำลังใจฟื้นคืนกลับมาเต็มสมบูรณ์ในไม่นาน ขอความปรารถนาอันชอบประกอบธรรมจงสมหวังสำเร็จด้วยทุกประการโดยเร็วพลัน อันมีพระนิพพานเป็นที่สุดแด่ทุกๆท่าน ...เทอญ)

    ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 017.jpg
      017.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.3 KB
      เปิดดู:
      6,461
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2017
  2. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    (เพื่อย้ำเตือนถึงความสำคัญของความไม่ประมาทนั้นได้มีการบันทึกกล่าวในหลายวาระ ...แม้ในวาระสุดท้ายในมหาปรินิพพานสูตร มีการบันทึกคำสอนที่ถ่ายทอดกันมาของพระพุทธองค์ท่านกล่าวไว้ก่อนจะเสด็จดับขันธ์ พระดำรัสยามนั้นย่อมสำคัญมากนั้นเอง)

    [๑๔๓] อถโข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ หนฺททานิ ภิกฺขเว
    อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ ฯ
    อยํ ตถาคตสฺส ปจฺฉิมา วาจา ฯ

    ............

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
    นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ



    ....................................
     
  3. ทอนเงิน

    ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +708
    สุดยอดฮะพระวาจานี้เป็นอมตะจริงๆ
     
  4. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    เห็นด้วยนะครับ
    และส่วนตัวชอบและนึกถึงบ่อยๆ มีอีกสองท่อน
    คือท่อนที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายท่านสอนเหมือนกัน ว่าให้ละความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้ถึงพร้อมทำจิตตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
    ..
    และอีกท่อนคือ วิริเยน ทุกฺขขมจฺเจติ :
    คนล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร

    สองท่อนนี้และรวมปัจฉิมโอวาทเรื่องความไม่ประมาท เป็นสามท่อนที่ประทับใจมากและนึกถึงบ่อยๆครับ (^--^)

    .......
     
  5. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    มาเพิ่มเติมความไม่ประมาทว่าด้วยธรรมอันเอก
    ...

    ปติฏฐิตสูตร
    ว่าด้วยธรรมอันเอก
    [๑๐๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอกเจริญแล้ว
    เจริญดีแล้ว ธรรมอันเอกเป็นไฉน? คือความไม่ประมาท.
    [๑๐๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ประมาทเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
    รักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตไว้ในอาสวะ และธรรมที่มีอาสวะ
    สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ แม้ปัญญินทรีย์ ก็ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
    [๑๐๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเอกเจริญแล้ว
    เจริญดีแล้ว แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

    ............
     
  6. สสพอช๑

    สสพอช๑ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2014
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +32
    ความเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างไร
    .......

    [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร เมื่อ
    ภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เมื่อ
    ภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด
    เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มี
    ความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลาย
    ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ
    เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ
    เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ
    เมื่อภิกษุมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อภิกษุเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็
    เกิด เมื่อภิกษุมีใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของ
    ภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรม
    ทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...