ความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 22 มีนาคม 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=UJ6i6aGpQvs&feature=plcp&context=C48ad948VDvjVQa1PpcFPZKqFrm5VVyEtabwvl0Oo5--Q7weAjzTc=]ตอบปัญหาผู้ปฏิบัติธรรม 26 มิ.ย. 2554 - YouTube[/ame]

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง.ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวทนาไม่เที่ยง... สัญญาไม่เที่ยง... สังขารไม่เที่ยง... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญาแม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๒๐/๓๑๐ข้อที่ ๓๙-๔๒

    [๙๑]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
    (ในกรณีแห่ง เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป)
    ดูกรภิกษุทั้งหลายถ้าราคะ(ความพอใจ)ในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ
    ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
    เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว
    เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

    [๙๓]ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.(ในกรณีแห่ง เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป)
    เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี
    เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ ทั้งหลายย่อมไม่มี เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำอย่าง
    แรงกล้าย่อมไม่มี;เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร
    ในวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่;
    เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี;เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง;
    เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว.เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
    ปุพพันตานุทิฏฐิแปลว่าความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้นหรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต
    อปรันตานุทิฏฐิแปลว่าความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๔๔/๓๑๐ข้อที่ ๙๑-๙๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...