คาถาบูชาพระพิฆเณศ เทพแห่งความสำเร็จ

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย angus, 4 พฤศจิกายน 2006.

  1. angus

    angus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    545
    ค่าพลัง:
    +2,724

    [​IMG]

    คาถาบูชาพระพิฆเณศ

    โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง พรหมมะโน จะอินโธ

    พิฆฆะเนศโต มหาเทโว อะหังวันทา มิสัพพะทา สิทธิกิจจัง

    สิทธิกัมมัง สิทธิการิยัง ประสิทธิเม

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1128436727.jpg
      1128436727.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.1 KB
      เปิดดู:
      20,872
  2. angus

    angus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    545
    ค่าพลัง:
    +2,724
    ลักษณะทางประติมากรรมของพระพิฆเณศ

    พระคเณศนั้นมีหลายปาง และมีให้เลือกสรรการบูชาตามความเหมาะสม แต่ภาพโดยสรุป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศียรก็ดี สัตว์พาหนะ ตลอดจนถึงเครื่องประดับและอิริยบทต่างก็ดี พอจะแยกได้ดังนี้

    เศียร
    พระคเณศมีตั้งแต่ 1 เศียรหรือพระพักตร์เดียว ไปจนถึง 2-5 เศียร
    ซึ่งปาง 5 เศียรนี้นิยมใช้ในปางเหรัมภะซึ่งแพร่หลายในอินเดียและเนปาล ส่วนพระคเณศในแบบของคนไทยนั้นจะมีเพียงเศียรเดียวเท่านั้นส่วนใหญ่แล้ว
    พระคเณศจะมีเพียงสองตาเท่านั้น ส่วนตาที่ 3 บริเวณหน้าผาก (บ้างใช้เปลวไฟเป็นสัญลักษณ์แทน ) นิยมใช้ในลัทธิตันตระที่ชัดเจนมากเห็นจะเป็นพระพิฆเณศวร์ในศิลปะแบบธิเบต
    นอกจากนี้บริเวณหน้าผากทั่วไป อาจจะเป็นรูปจันทร์เสี้ยว
    หรือเส้น 3 เส้นตามลักษณะของไศวะนิกาย หรือพระเศียรอาจจะสวมมงกุฎชนิดแบบราบ(กรัณฑมุกุฎ) หรือสวมชฎาทรงสูงก็ได้ ส่วนงานั้น จะมีเพียงงาเดียวข้างขวาเท่านั้นส่วนงาข้างซ้ายนิยมทำหักไว้

    งวง
    มีลักษณะที่ห้อยตรงแต่ส่ายปลายไปทางซ้ายหรือขวาแต่ที่นิยม
    คือหันงวงไปทางซ้าย และหยิบขนม
    บตะสะ (โมทกะ)จากถ้วยขนมที่ถืออยู่ในซ้ายมือ
    หรือบางทีก็เป็นพวกผลไม้ป่า

    กร
    มีจำนวนกรตั้งแต่ 2-4 เรื่อยขึ้นไปถึง 10 กว่ากรหรือมากกว่านั้น สัญลักษณ์ที่ถือตามพระกรต่าง ๆเช่น งาหัก,ผลมะนาว, ผลไม้ป่า,มะขวิด,ลูกหว้า,หัวผักกาด,ขนมโมทกะ,
    ผลทับทิม,ส่วนอาวุธนั้นมีมากมายอาทิ ขวาน,บ่วงบาศ,ดาบ,ตรีศูล ฯลฯ สิ่งอันเป็นมงคล เช่น สังข์,แก้วจินดามณี,ครอบน้ำ ฯลฯ

    ท่าทาง
    พระคเณศในยุคแรกนั้นจะเป็นพระคเณศ
    ในรูปแบบของการยืนเสียเป็นส่วนใหญ่
    จากนั้นจึงได้พัฒนาเป็นการนั่ง ซึ่งมีการนั่งถึง 4 ลักษณะด้วยกันคือ
    1. ท่ามหาราชลีลา หรือเข่าข้างหนึ่งยกขึ้น อีกข้างหนึ่งงอพับบนอาสนะ (ซึ่งมีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12)
    2. นั่งขาไขว้กัน
    3. นั่งห้อยพระบาทข้างใดข้างหนึ่งส่วนอีกข้างวางพับอยู่บนอาสนะ
    4. นั่งโดยขาทั้งสองพับอยู่ทางด้านหน้า ฝ่าเท้าทั้งสองอยู่ชิดกัน (ศิลปชวา,บาหลี)

    เครื่องประดับ
    ในยุคแรกไม่นิยมการทรงเครื่องประดับต่อมาจึงเริ่มมีเครื่องทรงมากขึ้น เริ่มจากสายยัชโญปวีต (สายศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพราหมณ์ บางทีก็เป็นงูธรรมดา ส่วนผ้าที่นุ่งนั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นที่สร้างรูปเคารพส่วนเครื่องทรง
    นั้นมีการเพิ่มเติมมากขึ้นเช่น มงกุฏ ,สร้อยคอ,สร้อยข้อมือ,สร้อยข้อเท้า,สร้อยกระดิ่ง

    พาหนะ เท่าที่พบในปัจจุบันมีเพียง หนู นกยูงและสิงโตเท่านั้น

    http://www.geocities.com/ganes108/ganes13.htm

    ข้อมูลอ้างอิง
     
  3. fa_sai

    fa_sai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +79
    ปรกติจะสวดบทสั้นๆ จำง่าย ดังนี้ค่ะ
    " โอม ศรี คเณ ศายะ นะ มะ"
    บางตำราก็จะว่าเป็นคำคล้ายกัน ต่างกันนิดเดียว ว่า
    "โอม ศรี คเณ ศายะ นะ มะ ฮา"

    เวลาจะขอให้มีคนเมตตา ช่วยเหลือเรา จะสวดว่า
    "โอม วิชัย คณะ ปัตเย นะ มะ ฮา"
    สวด 8 จบ แล้วอธิฐานจิตถึงองค์พระคเณศ

    สองบทนี้ ขลังมากๆ เวลาคับขัน ท่องแล้วสบายใจ เหตุการณ์ดีขึ้นทันตา
     
  4. Hocus_Pocus

    Hocus_Pocus Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +70
    อนุโมทนา สาธุค่ะ ตอนนี้ก็บูชาองค์พระพิฆเณศอยู่เหมือนกันค่ะ
     
  5. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,331
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2007
  6. นาคา

    นาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,378
    ค่าพลัง:
    +12,917
    อนุโมทนาบุญ ด้วย จ้า

    บุญ เท่านั้น คือ ที่พึ่ง...ติตตัว จิต เรา ...
     
  7. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    [​IMG]

    อนุโมทนา กับคุณ angus และทุกคนจ้า
    บูชาอยู่เหมือนกัน

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. -๑ไร้IดีeJสา๑-

    -๑ไร้IดีeJสา๑- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,436
    คำสวดนมัสการองค์พระพิฆเณศวร์

    โอม ศรีคเณศายะ นมะ

    ชยะคเณศศะ ชยะคเณศศะ ชยะคเณศศะ

    ---------------

    โอมตัสสะ โอมมหาเทวะ มหารนัม มหาวัสการัม มหาพิคเณ

    พรหมมานัง เทวานัง นมัสสามิ

    นะโมนะมะ โอมคเณศายะ นะมะ หริโอมศรีคณปตเยนะมะ สิทธิสวาหะ

    หริโอมศรีคณปตเยนมะ โอมคเณศายะ นะมะ

    ---------------------------

    สวดทุกๆวันนะครับ
     
  9. โจโฉ คร้าบบบ

    โจโฉ คร้าบบบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +1,550
    มีเยอะจัง.. ตกลง จะเอาบทไหนดีหล่ะเนี่ย

    ปกตินับถือพระพุทธเจ้าเป็นหลักนะ
    แต่มีคนดูให้ว่า มีองค์พระพิณเฆศ คุ้มครอง และอยู่ในปางที่ถือพิณอะ

    เขาบอกให้สวดบูชาแล้วจะดี
    ก็คิดว่านับถือเหมือนญาติผู้ใหญ่ หรือเป็นครูอีกท่านทางด้านศิลป
    คงไม่แหกกฎที่ท่องว่าพุทธัง สรณังไว้มั้ง

    เพราะยังไง พระรัตนตรัย ก็เป็นสรณะสูงสุดอยู่แล้ว

    นึกถึงตอนเด็กๆ เลย ชอบคิดว่าตัวเองเป็นเทวดาดีดพิณ
    พอมาเห็นปางดีดพิณของท่าน

    แล้ว อึ้งๆ แปลกๆ แฮะ

    อยากดังเพื่อไปช่วยสังคม เทวดา ฟ้าดินคงเห็นใจนะผมว่า
    แต่ถึงเทวดาไม่ช่วย โฉก็จะมุ่งมั่นมีลมหายใจเพื่อ

    พระศาสนาจนกว่าจะสิ้นลมหล่ะ
     
  10. aung_ka

    aung_ka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +23
    ขออนุญาตนำบทสวดมนต์ในเวปไปให้ญาติที่บ้านเพื่อสวดบูชาพระพิฆเณศน่ะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
     
  11. radha

    radha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +414
    พี่นาคา สวัสดีค่ะ .... ตอนนี้ไปถึงไหนแล้วคะเนี่ย


    อนุโมทนาบุญกับ จขกท. ด้วยจ้า

    Om Gan Ganapatye Namo Namah

    [​IMG]
     
  12. PeeTenT

    PeeTenT Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +70
    ที่บ้านได้ทำศาลพระพิฆเณศไว้หน้าบ้าน กำลังหาบดสวดไว้กราบไหว้ท่านพอดี ขอขอบคุณและขแอนุโมทนาบุญแก่เพื่อน ๆ ทุกท่านครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...