คาถาบูชาพระราหู เทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวย

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 กรกฎาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    พระราหู บูชาด้วยของดำ 8 อย่างหรือ 12 อย่างวันนี้ “วันพุธให้ไหว้พระราหูขอพร#ใครเกิดปีชวด ปีฉลู ปีขาล ปีเถาะ ปีมะโรง ปีมะเส็ง ปีมะเมีย ปีมะแม ปีวอก ปีระกา ปีจอและปีกุน ขอบารมีแห่งองค์พระราหู จงปิดเคราะห์ เรียกลาภ ณ.ศาลาพระราหู วัดท่าไม้ ขอให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้า ทุกคนรับพรสำเร็จตามขอ ทันทีทันใดได้ทันใจเลยทันที สำหรับใคร”แชร์ขอให้รวยทันทีนะ สาธุสาธุสาธุ

    ไหว้พระราหู ต้องเตรียมของไหว้ราหูอะไรบ้าง

    เนื่องจากดาวราหูมีเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ และมีกำลังเท่ากับ 12 ดังนั้นสามารถจัดของไหว้ราหู 8 หรือ 12 อย่างก็ได้ แล้วแต่ศรัทธา แต่ของไหว้ต้องประกอบด้วย ของคาว ของหวาน หรือผลไม้ และเครื่องดื่ม โดยของดำ 8 อย่างที่นิยมนำมาบูชา เนื่องจากมีความหมายดี ได้แก่

    1. ไก่ดำ หมายถึง การทำมาหากินที่ดี ไม่อดไม่อยาก
    2. เหล้าดำ หมายถึง การลงทุนทำอะไรจะได้กำไรกลับมา
    3. กาแฟดำ หมายถึง การคิดอะไร ก็จะสมหวัง
    4. เฉาก๊วย หมายถึง ความใจเย็น มีความคิดรอบคอบ
    5. ถั่วดำ หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
    6. ข้าวเหนียวดำ หมายถึง ความเหนียวแน่นทางการเงิน
    7. ขนมเปียกปูน หมายถึง การปูนบำเหน็จรางวัล
    8. ไข่เยี่ยวม้า หมายถึง การติดต่อสิ่งใด ก็จะสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้

    0b88ae0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b8abe0b8b9-e0b980e0b897e0b89ee0b980e0b888e0b989e0b8b2.jpg

    สำหรับการเตรียมของไหว้สีดำนั้น ในบางตำราอาจไม่ได้ระบุว่า ต้องเป็นของไหว้ชนิดใดอย่างชัดเจน เนื่องจากในแต่ละพื้นที่อาจจะไม่สามารถหาของได้เหมือนกัน หรือบางท่านที่หาของตามนี้ไม่ได้ ก็อาจเปลี่ยนเป็นของดำอย่างอื่น เช่น องุ่นดำ งาดำ น้ำอัดลมสีดำ ทั้งนี้ของดำทั้ง 8 อย่างต้องพร้อมรับประทาน หรือดื่มได้ และต้องอย่าลืมเตรียมน้ำเปล่าอีก 1 แก้ว ตั้งไว้บนโต๊ะบูชาด้วย แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำพิธีกราบไหว้บูชา คือ จำนวนธูปที่ต้องใช้ตามจำนวนของที่ไหว้ เช่น ถ้าไหว้ 8 อย่างก็ใช้ธูป 8 ดอก เป็นต้น

    ไหว้พระราหู มีวิธีไหว้อย่างไร

    เมื่อได้ของดำ 8 อย่างมาแล้ว ให้เลือกทำพิธีกลางแจ้ง โดยใช้โต๊ะวางเพื่อตั้งสิ่งของบูชาที่กลางสนาม ที่ดาดฟ้าก็ หรือที่ระเบียงที่มีลมพัดผ่าน ส่วนการตั้งโต๊ะบูชาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเริ่มไหว้ในคืนวันพุธ ในช่วงเวลาระหว่าง 18.00-24.00 น. จากนั้นจุดธูปเทียนให้พร้อมแล้วเริ่มด้วยบทสวดพระราหู ดังนี้

    8ae0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b8abe0b8b9-e0b980e0b897e0b89ee0b980e0b888e0b989e0b8b2-13.jpg

    คาถาบูชาพระราหู

    (ตั้งนะโม 3 จบ)

    บทสวดบูชาพระราหู

    กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ

    สังวิคคะรูโป อาคัมมะกินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ

    สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ

    พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติ

    กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ

    สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ

    สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ

    พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ

    8ae0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b8abe0b8b9-e0b980e0b897e0b89ee0b980e0b888e0b989e0b8b2-14.jpg

    พระคาถาสุริยะบัพพา

    กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะ

    โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ

    โทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติฯ

    พระคาถาจันทบัพพา

    ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตัง

    มะมะตัง วะติตัง เสกามะมะ

    เสตัง กาติยังมะมะ ยะติกาฯ

    0b88ae0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b8abe0b8b9-e0b980e0b897e0b89ee0b980e0b888e0b989e0b8b2.jpg

    กล่าวคำถวายเครื่องสังเวย

    คำถวายเครื่องสังเวยพระราหู

    นะโมเม พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ

    จะปุปผัง สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะ

    สัมปันนัง โภชะ นานัง

    สาลีนัง สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง

    อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา

    หิตายะ สุขายะ พระราหูเทวา

    มะหิทธิกา เตปิ อัมเห

    อะนุรัก ขันตุ อาโรคะ

    เยนะ สุเขมะจะฯ

    คาถาบูชาพระราหู (สวด 12 จบ)

    คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ

    8ae0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b8abe0b8b9-e0b980e0b897e0b89ee0b980e0b888e0b989e0b8b2-15.jpg

    ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ขอบูชาพระราหูด้วยของดำ (8 หรือ 12) อย่าง ขอให้อิทธิพลของดาวราหูจงส่งผลดีแก่ดวงชะตาของข้าพเจ้า ขอให้ได้พบเจอแต่กัลยาณมิตรที่ดี ขอให้มีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคร้ายใด ๆ ขอให้เกิดความสุขในครอบครัว ขอให้ดาวราหูประทานพรโชคลาภและความสำเร็จแก่ข้าพเจ้า (อธิฐานเรื่องอื่น ๆ ที่ปรารถนา)

    เมื่อธูปใกล้หมดควรลาของไหว้แล้วนำมารับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล และก่อนทานของไหว้ควรท่องคาถา “คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ” ก่อนที่จะทานของไหว้แต่ละอย่าง

    สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อ และความเป็นมาในการทำพิธีไหว้ราหูที่นำเสนอในครั้งนี้ ก็เพื่อให้ทุกคนได้ได้เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโชคชะตาที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการทำพีธีดังกล่าวเป็นเรื่องของความเชื่อที่อาจกล่าวได้ว่า การไหว้ราหู นอกจากจะช่วยให้เรามีขวัญและกำลังใจที่ดีขึ้นแล้ว การยึดมั่นในศีลธรรมอันดี อาจช่วยให้ผู้ศรัทธาเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ดีขึ้น แต่การกราบไหว้บูชาก็ควรทำอย่างมีสติ และตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะหากขาดความยั้งคิดแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้นมา ผู้นั้นก็อาจจะพลาดพลั้ง จนกระทั่งแนะนำไปสู่เหตุการณ์ที่เลวร้ายได้

    8ae0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b8abe0b8b9-e0b980e0b897e0b89ee0b980e0b888e0b989e0b8b2-16.jpg

    ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก วัดท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร



    ติดตามข่าวสารทาง Line

    0b88ae0b8b2e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b8abe0b8b9-e0b980e0b897e0b89ee0b980e0b888e0b989e0b8b2.png



    เรียบเรียงโดย

    อุทัย เลิกสันเทียะ​

    ข่าวด่วน โดยสำนักข่าวทีนิวส์
    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.tnews.co.th/variety/513906/คาถาบูชาพระราหู-เทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวย
     

แชร์หน้านี้

Loading...