คาถาพระนารอท

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย puttiporn, 4 ตุลาคม 2006.

  1. puttiporn

    puttiporn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +29
    ใครพอทราบ คาถาพระนารอท ช่วยบอกหน่อยครับขอบคูณมาก ส่งมาที่ toosarsud@yahoo.com ขอบคุณครับ
     
  2. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,400
    เท่าที่ทราบนะครับ
    โอม พรหมนาท เดวา (อ่านว่า โอม พรม มะ นาด เด วา )

    พ่อปู่เคยสอนผ่านร่างทรงครับ และเคยสอนการทำด้ายมัดมือด้วย
     
  3. puttiporn

    puttiporn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณครับ แต่ที่ขึ้นต้นคาถา ว่า สหัสรังษี สะตะเตโช
     
  4. .w_pranorm

    .w_pranorm Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +53
    คาถานี้ไม่ควรนำมาสวด หากขาดสติ จะเป็นบาปกับตัวเองมหันต์

    ดว้วยความปรารถนาดีครับ
     
  5. puttiporn

    puttiporn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +29
    อยากรู้

    ขอบคุณครับ แต่อยากรู้ประวัติแลใครเป็นคิดค้น คาถาพระนารอดอยากทราบว่าจะไปหาประวัตฺเพื่อมาศึกษาได้ที่ไหนครับ ขอบคุณครับ
     
  6. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,045
    ค่าพลัง:
    +17,915
    พระรอดมหาวัน

    พระรอดมหาวัน
    สร้างประมาณ พ.ศ. ๑๒๐๐ ผู้สร้างคือ พระนางจามเทวี ราชธิดาของพระจ้ากรุงละโว้(ลพบุรี)ผู้ซึ่งครองทศพิธราชธรรมอย่างเคร่งครัด เช่นนี้ จึงเป็นที่โสมนัสของ ๒ ฤาษี คือ สุกกทันต์ฤาษี และวาสุเทพฤาษี เพื่อเป็นการเสริมสร้างพระเกียรติให้กับพระนาง จึงใช้วิชาอาคมของท่านสร้างพระรอด จนเป็นที่กล่าวขานมาถึงทกวันนี้ (กว่า ๑ ,๓๐๐ ปีมาแล้ว) พระรอด เป็นชื่อที่เรียกผิดเพี้ยนมาจาก พระนารอท หรือ พระนารทะ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นพระนามสำคัญอันปรากฏให้เห็นในตำนานพุทธศาสนา หลายครั้งหลายครา เช่น เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ใน บทอาฎาฎิปริต เป็นพระนามของพระโพธิสัตว์ ใน พรหมนารทชาดก และนามของบุตรพระโพธิสัตว์ ใน นิบาตชาดก เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังปรากฎในคัมภีร์ของพรามณ์

    พระรอด นับได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอกของนครหริภุญชัย เป็นพระเครื่องคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดลำพูนที่มีอายุการสร้างกว่า ๑๐๐๐ ปี " วัดมหาวัน" เป็นหนึ่งในสี่พระอารามหลวงที่สำคัญยิ่ง โดย "พระนางจามเทวี" ผู้ครองนครหริภุญชัยได้โปรดให้สร้างขึ้นไว้เมื่อ พ.ศ.๑๒๒๓ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองลำพูน นับเป็นพระอารามแห่งเดียวที่มีการขุดพบปฏิมากรรม

    ของขลังขนาดเล็กที่เต็มไปด้วยความอลังการจากฝีมือช่างยุคนั้นพุทธลักษณะของพระรอด เป็นศิลปแบบลพบุรียุคต้น เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผามีสีแดง สีเหลือง สีขาวนวล และสีเขียวคราบแดง

    พระรอด วัดมหาวัน มีพระพุทธศิลป์เป็นยุคสมัยทวาราวดี ประทับนั่งปางมารวิชัยและขัดเพชรบนฐานบัว ๒ ชั้น ด้านหลังขององค์พระเป็นปรกโพธิ์เรียงตั้งแต่หัวเข่าขององค์พระขึ้นเป็นซุ้มครอบองค์พระ จำนวนใบโพธิ์และเอกลักษณ์ของ ก้านโพธิ์ที่ชัดเจนในแต่ละพิมพ์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดในแต่ละพิมพ์
    ------------------
    การขุดหาพระรอดมีกันหลายครั้งหลายหน จนประมาณครั้งมิได้ เท่าที่สืบทราบมีดังนี้

    - การพบกรุพระรอดในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร เมื่อปี ๒๔๓๕ - ๒๔๔๕

    พระเจดีย์มหาวันชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมาเป็นส่วนมาก ดังนั้น เจ้าเหมพินธุไพรจิตร จึงดำริให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิมลงไป ส่วนเศษปรักหักพังที่กองทับถมกันอยู่นั้น ได้จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด โอกาสนั้นได้พบพระรอดเป็นจำนวนมากมายภายในกรุพระเจดีย์มหาวัน พระรอดส่วนหนึ่งได้รับการบรรจุ กลับคืนเข้าไปในพระเจดีย์ตามเดิม อีกส่วนหนึ่งมีผู้นำไปสักการบูชา และส่วนสุดท้ายได้ปะปนกับสร้างกรุและ เศษดินทรายจมอยู่ในหนองน้ำดังกล่าว


    - การพบพระรอดในกรุสมัยเจ้าหลวง อินทรยงยศ ประมาณปี ๒๔๕๑

    ครั้งนั้น เจ้าหลวงอินทรยงยศ ได้พิจารณาเห็นว่า มีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกตรง บริเวณฐานมหาวัน และรากชอนลึกลงไปภายใน องค์พระเจดีย์มหาวัน ทำให้มีรอยร้าว ชำรุดหลายแห่ง จึงให้ช่างรื้อฐานรอบนอกพระเจดีย์ออกเสีย แล้วปฏิสังขรณ์ใหม่ การกระทำครั้งนี้พบพระรอดซึ่ง เจ้าเหมพินธุไพจิตรรวบรวม บรรจุไว้ในคราวบูรณะครั้งใหญ่ จำนวน ๑ กระเช้าบาตร ( ตะกร้าบรรจุข้าวตักบาตร ) จึงได้นำมาแจกจ่ายแก่บรรดาญาติวงศ์ ( เจ้าหลวงจักรคำ ขจรศักดิ์ ผู้เป็นบุตร ในสมัยนั้นยังเป็นหนุ่ม ก็ได้รับพระรอดจากเจ้าพ่อไว้เป็นจำนวนมาก และเป็นมรดกตกทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ) ทั้งได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่ขึ้นบรรจุไว้แทน ส่วนฐานพระเจดีย์ที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นก็ขยายกว้างขึ้นกว่าเดิม

    การขุดหาพระรอดในฤดูแล้ง นับแต่สมัยปฏิสังขรณ์มหาวันเจดีย์เป็นต้นมา นับวันยิ่งมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในคุณวิเศษของพระรอดอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะคุณวิเศษของพระรอดเป็นมหัศจรรย์อย่างสูงแก่ผู้มีไว้สักการบูชา จึงมีผู้พากันมาขุดหา พระรอดภายในบริเวณอุปจารของวัด ตรงบริเวณที่เคยเป็นแอ่งน้ำ ได้พระรอดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ต่อไปก็ขยายบริเวณการขุดออกไปอย่างกว้างขวางทั่วอุปจารของวัด และได้กระทำติดต่อกันมานานปีจนกลายเป็นประเพณีกลายๆ ของชาวลำพูน คือ ระหว่างเดือน ๔ ถึงเดือน ๖ ของทุกปี จะมีชาวบ้านมาขุดหาพระรอดกันในวัดมหาวัน จนพื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยหลุมบ่อ ทางวัดจึงห้ามการขุด
    ----------------------
    - การขุดพบพระรอดปี ๒๔๙๘ เนื่องจากมีการปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาสวัดมหาวัน

    ในการขุดดินเพื่อลงรากฐานการก่อสร้างด้านหน้าและใต้ถุนกุฏิ พบพระรอดประมาณ ๒๐๐ องค์เศษ ทุกองค์จัดว่าเป็นพระรอดที่เนื้องามทั้งสิ้น มีวรรณะผุดผ่องงดงามยิ่งนัก และมีหลายพิมพ์ทรงแทบจะไม่ซ้ำกันเลย ได้เริ่มขุดในเดือนมกราคม สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม (นอกจากพระรอดแล้ว ยังขุดได้พระเครื่องสกุลลำพูนอีกหลายชนิด เช่น พระคง พระบาง พระเลี่ยง พระสาม พระสิบ พระสิบสอง พระงบน้ำอ้อย พระกล้วย พระกวาง และพระแผ่นทอง เป็นต้น)

    - ต่อมามีการขุดพบพระรอดในปี ๒๕๐๖

    ทางวัดมหาวันได้เริ่มการรื้อ พระอุโบสถเพื่อปฏิสังขรณ์ พบพระรอดประมาณ ๒๐๐ องค์เศษ ภายใต้พื้นพระอุโบสถนั้น พระรอดจำนวนหนึ่งมีผู้นำมาจำหน่ายในกรุงเทพฯ ในราคาสูงมาก ส่วนมากเป็นพระชำรุดและเนื้อไม่จัด ยิ่งกว่านั้น บางองค์ที่พระพักตร์ชัดเจน จะมีลักษณะพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์โปนเด่น ๖ นิ้ว

    พระรอดได้ขุดพบที่วัดมหาวัน พุทธศิลป์อยู่ในยุคกลางของสมัยหริภุญไชย ( ลำพูน ) อาณาจักรหริภุญไชย สร้างขึ้นราวต้นศตวรรษที่ ๑๓ -๑๔ เป็นอาณาจักรของ กลุ่มชนมอญโบราณ ทางภาคเหนือของประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนาหินยาน ใช้ภาษาบาลีจดคำสอนทางศาสนา ได้มีการกำหนดอายุและ ศิลปะพระรอดว่า สร้างในสมัยกษัตริย์จามเทวี เป็นยุคต้นของสมัยหริภุญไชย มีศิลปะสมัยทวารวดี

    ในทางพุทธศิลป์แล้ว พระรอดน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงหลังสมัยทวาราวดี รูปแบบของพระรอดคือประทับพระบาทสมาธิเพชร ( ท่านั่งขัดเพชร ) ในสมัยทวาราวดีสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดหลวมและหงายฝ่าพระบาทกางออก และไม่ปรากฏพระพุทธรูปนั่งขัดเพชรในศิลปะทวาราวดี พระพุทธรูปนั่งขัดเพชรเป็นแบบอย่างเฉพาะของพระพุทธรูปอินเดียฝ่ายเหนือ ( มหายาน ) พระพุทธรูปและพระเครื่องในลำพูนได้ปรากฏศิลปะสมัยต่างๆ รวมอยู่หลายสมัย คือ สมัยทวาราวดี ลพบุรี แบบหริภุญไชย พุกาม อู่ทองและสมัยล้านนา
    ----------------
    พระรอด วัดมหาวัน มีทั้งหมด ๕ พิมพ์ คือ

    ๑ . พระรอด พิมพ์ใหญ่
    ๒ . พระรอด พิมพ์กลาง
    ๓ . พระรอด พิมพ์เล็ก
    ๔ . พระรอด พิมพ์ต้อ
    ๕ . พระรอด พิมพ์ตื้น
    ในอดีตสีพระรอดที่สวยจะต้องเป็นพระรอดสีเขียว มีความคมชัดในทุกรายละเอียด แต่ในปัจจุบันสีไม่ใช่เครื่องชี้วัดความสวยงามและ ความสูงค่าขององค์พระรอด ต้องดูที่ความสวยงามทั้งองค์เท่านั้น สีของพระรอด มีประมาณ ๔ สี คือ

    ๑ . พระรอดสีขาว เนื่องจากพระรอดเป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นดินในจังหวัดลำพูนหรือจังหวัดใกล้เคียง มีสีขาว เป็นเนื้อดินที่สะอาดและละเอียด จนมีคนเข้าใจว่ากรรมวิธีการนวดดินนั้น น่าจะผ่านการกรองผ้าขาวจนกระทั่งไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นดินที่ขุดได้จากดินที่ตกตะกอนในธารน้ำไหลภายในถ้ำ จึงสะอาดและไม่มีสิ่งเจือปนใด ๆ ทั้งสิ้น พระรอดสีขาว ควรจะเป็นพระที่อยู่ในบริเวณเตาเผาที่ไม่ถูกความร้อนมากเท่าที่ควร เนื้อพระจึงเป็นสีขาวเพราะไม่สุก และไม่แกร่งเท่าพระรอดสีอื่นๆ จึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่มักจะไม่คมชัดเท่าที่ควร

    ๒ . พระรอดสีแดง เป็นพระรอดที่เผาสุกเรียบร้อยแล้ว จึงมีขนาดเล็กลง กว่าพระรอดสีขาว มีความคมลึกและชัดเจนเช่นพระรอดสีอื่นๆ

    ๓ . พระรอดสีเหลือง เป็นพระรอดที่เผาได้แกร่งกว่าพระรอดสีแดง จึงมีขนาดขององค์พระเล็กกว่า พระรอดสีแดงเล็กน้อย ตามทฤษฎีจะมีความคมลึกและชัดมากกว่าพระรอดสีแดง

    ๔ . พระรอดสีเขียว เป็นพระรอดที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด มีการหดตัวเล็กลงจากพระรอดสีเหลือง มีความคมชัดที่สุดในจำนวนพระรอด เนื่องมาจากการหดตัวเมื่อเกิดความร้อนจัด เพราะความแหลมคมจึงอาจทำให้พระรอดสีเขียวดูไม่ล่ำสันเท่ากับพระรอดสีแดงและสีเหลือง

    นอกจากนี้พระรอดสีเขียวยังมีสีเขียวที่แตกต่างกันไปเป็นลำดับ จากพระรอดสีเขียวคาบเหลือง เป็นพระรอดสีเขียว และเป็นพระรอดสีเขียวเข้ม จนมีขนาดเล็กที่สุดคือ พระรอดสีเขียวเข้มจนเกือบดำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ตุลาคม 2006
  7. puttiporn

    puttiporn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณครับ แต่ขอประวัติคาถาพระนารอดครับ
     
  8. PIZZAHUT0.0

    PIZZAHUT0.0 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +5
    มีพระคาถาบทนี้ พระคาถาบทนี้เป็นพระคาถาสำหรับสวดทำให้คนตาย จึงไม่มีผู้นำมาเผยแพร่ เพราะเป็นบาป สวดเพื่อสาปแช่งคนให้ตาย
     
  9. PIZZAHUT0.0

    PIZZAHUT0.0 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +5
    จึงไม่สมควรนำมาสวดแบบคุณ .w pranorn ได้แสดงข้อคิดเห็นไว้
     
  10. wuttichai0329

    wuttichai0329 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,016
    ค่าพลัง:
    +742
    อย่าฆ่ากันก็แล้วกันครับ ผมกลัวนรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...