ที่มา : youtube ntchoke
เพลงลูกทะเล ราชนาวีไทย
www.youtube.com/watch?v=t72jPaL_Bek
คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร
ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.
หน้า 12 ของ 189
-
-
เรือหลวงชุมพร
ความเป็นมา
เมื่อพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.2478 ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว กองทัพเรือต้องการต่อเรือตอร์ปิโดชั้นเรือหลวงตราดเพิ่มเติม 4 ลำ ในโครงการเฟส 2 ได้มีการเรียกประกวดราคาเรือและราคาอาวุธต่างๆแยกกันออกไป โดยเลือกใช้ปืนเรือจากสวีเดนและตอร์ปิโดจากเดนมาร์คทดแทนของเดิม ส่งผลให้ราคาต่อเรือหนึ่งลำไม่รวมอาวุธเหลือแค่เพียง 571,300 บาท ทำให้สามารถจัดหาเพิ่มเติมได้ถึง 7 ลำในวงเงิน 3.999 ล้านบาท และเมื่อติดตั้งอาวุธครบครันแล้วมีราคาต่อลำแค่เพียง 8 แสนบาทเท่านั้น พอรวมกับเรือเดิมอีก 2 ลำแล้ว จึงเท่ากับมีเรือชั้นเดียวกันถึง 9 ลำ กองทัพเรือสามารถจัดกำลังรบเป็นหมู่ละ 3 ลำได้ถึง 3 หมู่ เรือตอร์ปิโดชั้นเรือหลวงตราดเฟส 2 เข้าประจำการพร้อมกันทุกลำวันที่ 5 ตุลาคม 2481 เรือมีระวางขับน้ำลดลงมาประมาณ 10 ตันคือ 460 ตัน ความเร็วลดลงมาประมาณ 1.5 นอตคือ 30.5 นอต มีการปรับปรุงในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งสามารถบรรทุกน้ำมันได้มากขึ้นกว่าเดิม จึงมีระยะทำการไกลสุดเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เรือหลวงชุมพร เดิมใช้หมายเลขเรือ 31 ข้างเรือมีข้อความ ชพ. ภายหลังได้ลบออก ได้รับใช้ราชการนาน 37 ปี ปลดระวางประจำการเมื่อ 26 พ.ย. 2518 หลังปลดระวางแล้ว จังหวัดชุมพรได้ขอเรือไปประดิษฐาน ณ บริเวณศาลพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่หาดทรายรี ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เรือหลวงชุมพรมิได้มีความเกี่ยวข้อง กับกรมหลวงชุมพรฯ แต่อย่างใด เป็นเพียงพระนามพ้องกับชื่อเรือและชื่อของจังหวัด เท่านั้น
ส่วนเรือที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรมหลวงชุมพรคือ เรือหลวงพระร่วง เป็นเรือที่พระองค์ไปซื้อ และนำเรือกลับมายังประเทศไทย
ด้วยพระองค์เอง
เดิมเขียนเลข 31 และที่ข้างเรือเขียน ชพ. ภายหลังจึงลบเลข และตัวอักษร เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส พุทธศักราช 2484
ต่อมาเปลี่ยนเป็นหมายเลข 7
คุณลักษณะของเรือ
- ทั่วไป
- หมายเลข 31 และ หมายเลข 7
- ขึ้นระวางประจำการ 5 ต.ค. 2481
- ปลดประจำการ 26 พ.ย. 2518
- ผู้สร้าง อู่กันติเอริ ริอูนิติ เดลล์ดดริอาติโก มองฟัลโกเน เมืองตริเอสเต (Cantieri Riuniti dell’ Adriatico in Monfalcone) ประเทศอิตาลี
- กำลังพล 112 นาย
- คุณลักษณะทั่วไป
- ความยาวตลอดลำ 68 เมตร
- ความกว้าง 6.55 เมตร
- กินน้ำลึก 2.80 เมตร
- ระวางขับน้ำปกติ 413 ตัน
- ระวางขับน้ำสูงสุด 460 ตัน
- ความเร็วมัธยัสถ์ 12 นอต
- ความเร็วสูงสุด 30 นอต
- ระยะปฏิบัติการไกลสุด 3,530 ไมล์ ที่ 12 นอต และ 867 ไมล์ ที่ 30 นอต
- ระบบอาวุธ
- ตอร์ปิโด 44 ซม. 4 ท่อยิง
- ปืน 75/51 มม. 2 กระบอก
- ปืนต่อสู้อากาศยาน Madsen 20 มม. 2 กระบอก
- ปืน 40/60 มม. Bofors 1 กระบอก
- ปืนกล Lewis 7.7 มม จำนวน 2 - 4 กระบอก
- ระบบขับเคลื่อน
- เครื่องจักรไอน้ำ แบบพาร์สัน (ไอเบา 2 ครั้ง) 2 เครื่อง
- ใบจักรคู่
ที่มา : http://thaiseafarer.com/museum/chumphon.php
ภาพ : google.co.th - ทั่วไป
-
-
ที่มา : youtube จดหมายเหตุกรุงศรี (Jod Mai Hed Krungsri)
ชุมทางชุมชนโบราณคาบสมุทรภาคใต้ “เรือหลวงชุมพร”
www.youtube.com/watch?v=D3h4nC40kfY -
-
ที่มา : youtube 9na company
ออกเล - มาลีฮวนน่า - คอนเสิร์ต 26 ปี มาลีฮวนน่า เพื่อนกัญ ไว ฉะ กัญ
www.youtube.com/watch?v=xC9cFuC95I0 -
-
ที่มา : youtube TheOngkhaphayop
บุหลันลอยเลื่อน
www.youtube.com/watch?v=MXGFRBFOdIo
*******************************************************************
สรรเสริญพระบารมี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับเพลงสรรเสริญพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย สำหรับความหมายหลัก ดูที่ เพลงสรรเสริญพระบารมี
สัน(-ระ)-เสิน-พฺระ-บา-ระ-มี
สรรเสริญพระบารมี
โปสการ์ดโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี สมัยรัชกาลที่ 5
ชื่ออื่น เพลงชาติสยาม
เพลงสรรเสริญพระบารมี
เนื้อร้อง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, พ.ศ. 2456
ทำนอง ปิออตร์ ชูรอฟสกี
รับไปใช้ พ.ศ. 2431 (เนื้อร้องสำนวนแรก)
พ.ศ. 2456 (เนื้อร้องปัจจุบัน)
เลิกใช้ มิถุนายน พ.ศ. 2475 (ในฐานะเพลงชาติ)
ตัวอย่างเสียง
เมนู
0:00
สรรเสริญพระบารมี บรรเลงโดยวงดุริยางค์กองทัพเรือสหรัฐ
สรรเสริญพระบารมี เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ไทย เคยใช้เป็นเพลงชาติของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431–2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ทำนองทางไทยโดยพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เมื่อ พ.ศ. 2416[1] ทำนองดนตรีตะวันตกโดย ปิออตร์ ชูรอฟสกี (Pyotr Schurovsky) นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย[2] ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
ในตอนแรกคำร้องดังกล่าวในท่อนสุดท้าย ใช้คำว่า ฉะนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า ฉะนี้ เมื่อร้องตามทำนองของเพลงแล้ว คนมักจะออกเสียงเพี้ยนเป็นคำว่า ชะนี ทำให้พระองค์ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงเปลี่ยนจากคำว่า ฉะนี้ เป็น ชโย ซึ่งแผลงมาจากคำว่า ไชโย และ ชย[3]
เนื้อหา
- 1ประวัติ
- 2เนื้อร้อง
- 3วาระและโอกาสในการใช้
- 4การบันทึกเสียง
- 5ดูเพิ่ม
- 6เชิงอรรถ
- 7อ้างอิง
- 8แหล่งข้อมูลอื่น
สรรเสริญพระนารายณ์[แก้]
ดูบทความหลักที่: สายสมร
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น มีชื่อเรียกว่า "สายสมร" ต่อมาพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ใช้เพลงสายสมรมาเป็นเพลงดำเนินทำนองหลัก และเรียกชื่อเพลงนี้ใหม่ว่า "ศรีอยุธยา", "สรรเสริญพระนารายณ์" [4] แต่ในบ้างแหล่งระบุชื่อเพลงว่า "เสด็จออกขุนนาง"[5]
จอมราชจงเจริญ[แก้]
แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของสหราชอาณาจักร บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" [6]
จอมราชจงเจริญ
ชื่ออื่น เพลงสรรเสริญพระบารมี
เนื้อร้อง พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ทำนอง ไม่ทราบผู้แต่ง
รับไปใช้ พ.ศ. 2395
เลิกใช้ พ.ศ. 2414
จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปีพ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ปรากฏมีชาวฮอลันดาซึ่งตั้งนิคมอยู่ที่นั้นถามถึงเพลงชาติของสยามเพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"[7]
เนื้อร้อง:
ความศุข สมบัติทั้ง บริวาร
เจริญ พละปฏิภาณ ผ่องแผ้ว
จง ยืนพระชนม์นาน นับรอบ ร้อยแฮ
มี พระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์เพี้ยงจันทร์
บุหลันลอยเลื่อน[แก้]
ตอนนั้น คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414[8] (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของกองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6[9]
สรรเสริญพระบารมี (เนื้อร้องสำนวนแรก)[แก้]
ต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) (หรือครูมีแขก) ครูดนตรีคนสำคัญ ที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อราว พ.ศ. 2416 ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกครั้งที่ 2 ได้ไม่นาน ซึ่งได้เค้าทำนองมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า[1] และได้เรียบเรียบเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตกโดยปิออตร์ ชูรอฟสกี นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431
ชูรอฟสกีประพันธ์เป็นโน๊ตสากลซึ่งไม่มีครูดนตรีชาวสยามผู้ใดอ่านออก สันนิฐานว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเชิญเฮวุดเซนมาบรรเลงเพลงนี้บนเปียโนให้ฟัง เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ฟังจึงทรงทรงนิพนธ์เนื้อร้องใส่เข้าไป[2] และออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน[10] ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ[11]
เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น แต่เดิมเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมีมาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว
เนื้อร้อง[แก้]
เนื้อร้องสำนวนปัจจุบัน[แก้]
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
สรรเสริญพระบารมี
โน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับเผยแพร่โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546
บทร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขเมื่อ พ.ศ. 2456
ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาล บุญดิเรก
เอกบรมจักริน พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด
จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย ชโย
เนื้อร้องสำนวนสังเขป[แก้]
เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี สำนวนสังเขป ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ 8 ลงในราชกิจจานุเบกษา :เล่ม 57/หน้า 78/ลงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2483
ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาล บรมกษัตริย์ไทย
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด
จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย ชโย
สำนวนที่แต่งครั้งแรกสุด[แก้]
ข้าวรพุทธเจ้า เหล่าพิริย์พลพลา
สมสมัยกา– ละปิติกมล
รวมนรจำเรียงพรรค์ สรรพ์ดุริยพล สฤษดิมลฑล
ทำสดุดีแด่นฤบาล ผลพระคุณรักษา
พลนิกายะสุขศานต์ ขอบันดาล
ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง
หลังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ฉะนี้
สำนวนขับร้องละครดีกดำบรรพ์[แก้]
อ้าพระนฤปจง ทรงสิริวัฑฒนา
จงพระพุทธศา-สนฐีติยง ราชรัฐจงจีรัง
ทั้งบรมวงศ์ ฑีรฆดำรง
ทรงกรุณาประชาบาล ราชธรรมรักษา
เป็นหิตานุหิตสาร ขอบันดาล
ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง
หลังวรหฤทัย ดุจถวายไชย ฉนี้
สำนวนสำหรับนักเรียนชายหญิงขับร้องร่วมกัน[แก้]
ข้าวรพุทธเจ้า เหล่ายุพยุพดี
ยอกรชุลี วรบทบงสุ์
ซร้องศัพท์ถวายชัย ในนฤปทรง พระยศยิ่งยง
เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณะรักษา
ชนนิกายะศุขสานต์ ขอบันดาล
ธ ประสงค์ใด จงสิทธิ์ดัง
หลังวรหฤทัย ดุจถวายชัย ฉะนี้
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/สรรเสริญพระบารมี
-
-
ที่มา : youtube TheOngkhaphayop
บุหลันลอยเลื่อน (ออร์เครสตร้า)
www.youtube.com/watch?v=9LPi8qVK2GA
*******************************************************************
เพลงบุหลันลอยเลื่อน สุดล้ำลึก !!! บทเพลงจากสรวงสวรรค์ ที่เหล่าเทวดาบรรเลงให้ รัชกาลที่ ๒ ทรงฟัง ขณะพระสุบิน !!!
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย
ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ "เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า" แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน" เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์ พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้ และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้ เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ - สวรรคต ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ ครองราชย์ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๒ ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะเส็ง ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา
ที่มา : https://www.tnews.co.th/religion/35...ทวดาบรรเลงให้-รัชกาลที่-๒-ทรงฟัง-ขณะพระสุบิน-!!!
-
-
ที่มา : youtube thanai society
สรรเสริญเสือป่า (บุหลันลอยเลื่อน ทางฝรั่ง) - วงโยธวาทิต กองดุริยางค์ทหารเรือ
www.youtube.com/watch?v=PUWZv_xju8s -
-
ที่มา : youtube TheOngkhaphayop
สรรเสริญเสือป่า :: ทางร้อง
www.youtube.com/watch?v=erpEtDEguPs -
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามว่า "ช่วง" เป็นบุตรชายคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
(ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์ ธิดาเจ้าพระยาพลเทพ (ทองอิน) น้องกรมหมื่นนรินทรภักดี เป็นมารดา
เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ที่บ้านสมุหพระกลาโหม (อยู่ระหว่างกำแพงพระมหาราชวังกับวัดพระเชตุพนฯ) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๙ คน และต่างมารดาอีก ๓๕ คน
ท่านบิดาได้นำเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๒ ท่านมีความเฉลียวฉลาดหลักแหลม สนใจในการศึกษา
ข้อราชการบ้านเมืองจากท่านผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด ได้ร่วมงานกับท่านบิดาในกิจการด้านพระคลังและกรมท่า ซึ่งทำหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศด้วย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ เลื่อนนายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร (ช่วง บุนนาค)
ขึ้นเป็นหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็ก ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า หลวงนายสิทธิ์
ในจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ ได้บันทึกไว้ว่า หลวงสิทธิ์นายเวรสนใจในการศึกษาวิชาต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่ง
เป็นนายช่างไทยคนแรกผู้สามารถต่อเรือแบบฝรั่งได้ ท่านได้ต่อเรือกำปั่นรบ เรียกว่าเรือกำปั่นบริค ลำแรกเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โปรดพระราชทานชื่อว่า "เรือแกล้วกลางสมุทร"
(แต่ฝรั่งเรียกว่าเรืออาเรียล) และได้ต่อเรือรบอีกหลายลำมีน้ำหนักถึง ๓๐๐ - ๔๐๐ ตัน สำหรับลำเลียง ทหารไปรบกับญวน ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๗๘
ได้ต่อเรือขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อว่า
"ระบิลบัวแก้ว" (ภาษาอังกฤษว่า คองเคอเรอ) ซึ่งใหญ่กว่าเรือลำแรก ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอู่ต่อเรือขึ้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ หลายอู่ เรือกำปั่นลำแรกที่ต่อเสร็จในอู่กรุงเทพฯ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า เรือแคลิโดเนีย เป็นเรือที่ต่อค้างจากจันทบุรี หลวงนายสิทธิได้นำมาต่อเพิ่มเติมจนแล้วเสร็จในอู่กรุงเทพฯ เมื่อต่อเรือลำนี้เสร็จ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้หลวงนายสิทธิเป็นช่างต่อเรือหลวงและเป็นผู้บัญชาการอู่หลวง
ปี พ.ศ. ๒๓๗๙ หลวงนายสิทธิได้ต่อเรือกำปั่นเสร็จอีก ๔ ลำ ได้แก่ เรือรบวิทยาคม เรือรบวัฒนานาม (แอโร) เรือจินดาดวงแก้ว (ประเภทเรือบาร์ก ชื่อว่า ซักเซส) เรือลำที่สี่ชื่อ เทพโกสินทร์ (ประเภทเรือขิป ซึ่งเป็นเรือของแม่ทัพหน้าคราวยกไปตีเมืองบันทายมาศ) เนื่องจากมีเรือกำปั่นใบแบบฝรั่งหลายลำ จึงจำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศ
มาช่วยฝึกสอนวิชาเดินเรือให้แก่คนไทย ใน พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรดเกล้าฯ ให้จ้างชาวอังกฤษชื่อ กัปตันทริกซ์ มาสอนวิชาเดินเรือทั้งเรือรบและเรือเดินสินค้า ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ หลวงนายสิทธิได้สร้างเรือกำปั่นแบบฝรั่งขึ้นอีกหลายลำ ได้แก่ เรือราชฤทธิ (พ.ศ. ๒๓๘๔) เรือสยามภพ (พ.ศ. ๒๓๘๕) เรือโผนเผ่นทะเล (พ.ศ. ๒๓๙๒)
และเรือจรจบชล (พ.ศ. ๒๓๙๓)
หลวงสิทธินายเวร (ช่วง บุนนาค) รับราชการมี ความดีความชอบมากจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นโดยลำดับ
ได้เลื่อนเป็นจมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก พ.ศ. ๒๓๘๔ เพิ่มสร้อยนามของท่านเป็นจมื่นไวยวรนาถภักดี
ศรีสุริยวงศ์
ในปีนี้ได้เกิดสงครามกับญวน รัชกาลที่ ๓ ได้ให้จัดกองทัพเรือกำปั่นที่ต่อใหม่ โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่ทัพหลวง และจมื่นไวยวรนาถฯ เป็นทัพหน้ายก ไปตีเมืองบันทายมาศ
พ.ศ. ๒๓๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นมหาดเล็ก "คู่บุญ" ในรัชกาลที่ ๓ เพราะท่านเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด เมื่อตอนประชวรหนักทรงรับสั่งฝากแผ่นดินไว้ว่า
หมอบรัดเลย์
"...การภายหน้าเห็นแต่เองที่จะรับราชการเป็นอธิบดี ผู้ใหญ่ต่อไป การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้..." ซึ่ง "ท่านพระยาศรีสุริยวงศ์รับพระราช โองการแล้วก็ร้องไห้ ถอยออกมาจากที่เฝ้า..."
ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค ซึ่งนำโดยเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (ทัต บุนนาค) รวมทั้งพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นต้น ได้พากันไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ครองพระสมณะเพศเป็นวชิรญาณภิกษุให้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ด้วยความพรักพร้อมใจเป็นหนึ่งเดียว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอธิบายว่า "การสนับสนุนของกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคนั้น มีสาเหตุเนื่องมาจากมีความนิยมศึกษาวิชาความรู้ทางข้างฝรั่ง ก็เลยชอบสนิทสนมแต่นั้นมา ครั้นถึงเวลาปัญหาเกิดขึ้นจริงด้วยเรื่องรัชทายาท ท่านทั้งสอง(หมายถึง ช่วง บุนนาค และน้องชายของท่านอีกคนหนึ่งชื่อ ขำ บุนนาค - ผู้เขียน) นั้นก็เป็นกำลังสำคัญอยู่หลังบิดา (เจ้าพระยาพระคลัง) ในการขวนขวายให้พร้อมเพรียงกันถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ..."
ภาพวาดและภาพถ่ายเรือสุริยมณฑล ที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ต่อถวาย
ที่มา : http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang001.html -
-
ที่มา : youtube Carabao Official
คาราบาว - วอลซ์นาวี (บันทึกเสียงการแสดงสดคอนเสิร์ต นาวาคาราบาว) [Official Audio]
www.youtube.com/watch?v=cn4Up66_6Vk -
วังนางเลิ้ง ของกรมหลวงชุมพรฯ เป็นที่โล่งก่อนตั้งวัง ไฉนกลายเป็นสถานที่ซึ่งถูกลืม?
ภาพถ่ายทางอากาศช่วงหลังสงคราม มองเห็นวังนางเลิ้งและทำเนียบรัฐบาล ซึ่งแต่เดิมคือบ้านนรสิงห์ของเจ้าพระยารามราฆพ
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นศิษย์ที่เลื่อมใสในวิชาไสยศาสตร์ของหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า และมีความสนิทสนมกันมาก จนถึงขนาดให้สร้างกุฏิขึ้นในวังนางเลิ้งสำหรับหลวงปู่นาพำนักเวลามากรุงเทพฯ
วังนางเลิ้งนั้นตั้งอยู่ตรงไหน ปัจจุบันมีสภาพเป็นอย่างไร และกุฏิของหลวงปู่ศุขที่ในวังยังมีอยู่หรือไม่
ราวปี พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้จัดเตรียมที่แปลงหนึ่งบริเวณปาก คลองเปรมประชากรต่อกับคลองผดุงกรุงเกษมทางฝั่งตะวันออก เพื่อสร้างวังใหม่พระราชทานพระราชโอรสสองพระองค์คือกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ครั้งดํารงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์
ที่แปลงนี้ส่วนหนึ่งเป็นของหลวงตกอยู่ในกระทรวงนครบาลมาแต่เดิม บางส่วนต้องซื้อเพิ่มจากราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่แถวนั้นมาก่อน รวมเงินซึ่งพระคลังข้างที่ต้องจ่ายเป็นค่าที่ดินและค่ารื้อเรือนโรงเป็นเงินทั้งสิ้น 244 ชั่ง 60 บาท 40 อัฐ
แล้วโปรดฯ ให้แบ่งที่เป็นสองส่วน โดยด้านติดทําเนียบรัฐบาลพระราชทานให้เป็นวังสําหรับพระองค์เจ้าอาภากร
ต่อ มาชาวบ้านเรียกว่า “วังนางเลิ้ง” ส่วนด้านตะวันออกที่ติดกับชุมชนบ้านญวนและบ้านพิษณุโลกในปัจจุบัน พระราชทานให้พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ พระอนุชาของพระองค์เจ้าอาภากร ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ “วังไชยา”
วังนางเลิ้งมีเนื้อที่ประมาณ 22 ไร่เศษ ทิศเหนือจรดถนนพิษณุโลก ทิศใต้จรดถนนลูกหลวง ทิศตะวันออกจรดถนนนครสวรรค์ ทิศตะวันตกจรดถนนพระราม 5 ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพณิชยการพระนคร
ตําหนักใหญ่ปลูกค่อนไปด้านเหนือ หันหน้าไปทางหัวมุมถนนพระราม 5 ตัดกับถนนพิษณุโลก บริเวณอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันคือประตูใหญ่ของวังนางเลิ้ง
เล่ากันว่าเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ สําเร็จวิชาการทหารเรือจากยุโรป และเสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2443 นั้น พระตําหนักในวังนางเลิ้งยังสร้างไม่เสร็จ พระองค์จึงเสด็จประทับอยู่ในเรือรบหลวงมูรธาวสิคสวัสดิ์ ซึ่งได้รับพระราชทานตําแหน่งให้เป็นผู้บังคับการเรือ ประทับอยู่ประมาณ 6-7 เดือนจึงได้ย้ายเข้าวัง
ช่วงเวลาที่เริ่มสร้างวังและเสด็จประทับในวังแห่งนี้ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ปรากฏหลักฐานจากคําบอกเล่าของพลเรือตรีพระยาหาญกลางสมุทร ซึ่งเคยรับราชการใกล้ชิดกับกรมหลวงชุมพรฯ ตั้งแต่เสด็จกลับจากต่างประเทศใหม่ๆ และมีโอกาสเห็นวังนางเลิ้งในครั้งนั้นเล่าไว้ว่า
“…ในวังนางเลิ้ง บางที่ท่านตรัสว่าหญ้ารก ไปช่วยกันหน่อย นักเรียนนายเรือก็ยกพวกไปกันทีเดียว ฉันเป็นหัวหน้าใหญ่ มีหน้าที่ไปโค่นต้นไม้ ต้นไผ่ ขุดตอ ตอนนั้นยังไม่เป็นวังเป็นบ้านเดิมมีป่าไผ่ ป่ากระถิน มะขามเทศ แรก ๆ ที่ไปสร้างไม่มีกําแพง เป็นที่โล่งๆ เหมือนชาวบ้านธรรมดานี่แหละ แล้วต่อมาตีสังกะสีล้อมเสียหน่อย กําแพงรูปใบเสมาอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้มาทําทีหลังตอนขึ้นวังใหม่”
ซึ่งตอนขึ้นวังใหม่ตามที่เจ้าคุณหาญว่านี้ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาว่า “… ด้วยการก่อสร้างตําหนักที่วังพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์นั้น ช่างได้กระทําการก่อสร้างเสร็จบริบูรณ์แล้ว สมควรจะกระทําการมงคลขึ้นตําหนัก
ในเดือนนี้ได้ จึงโปรดให้โหรหาฤกษ์มีกําหนดในวันที่ 20 มีนาคม (พ.ศ. 2449) เป็นกําหนดพระฤกษ์การขึ้นตําหนักใหม่ และโปรดให้จัดการตกแต่งในวังด้วยใบไม้ ธงช้าง และโคมไฟดูสว่างไสวไปทั้งจังหวัดวัง…”
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดําเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้า ราชการทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในไปร่วมในงานนี้จํานวนมาก
ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวรรต และทรงเจิมพระเจ้าลูกยาเธอ และหม่อมเจ้าทิพยสัมพันธุ์ พระชายา และพระราชทานพระพร
พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าของวังได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระรูป และธารพระกรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับถวายและแจกมีดพับสําหรับเหลาดินสอซึ่งมีอักษรจารึกเป็นของชําร่วยสําหรับผู้ไปร่วมงานครั้งนี้
ตําหนักใหญ่ของวังนางเลิ้งเป็นตึก 2 ชั้น ทรงยุโรป หน้าตาคล้ายกับตําหนักใหญ่ที่วังบูรพาภิรมย์ แวดล้อมด้วย สวนหย่อม ศาลาและสระน้ำ บริเวณรอบนอกเป็นสวนผลไม้ และบ้านเรือนของข้าราชบริพาร
ท่านหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร พระธิดาในกรมหลวงชมพรฯ พระองค์หนึ่ง ที่เติบโตมาในวังแห่งนี้ บรรยายภาพของวังนางเลิ้งไว้ในหนังสืออนุสรณ์ท่านหญิงเริง ซึ่งกองทัพเรือเป็นผู้จัดพิมพ์ความว่า
“… เนื้อที่วังนางเลิ้งมีประมาณ 20 ไร่เศษ ทรงขุดคลองเอาดินขึ้นถม มีคลองลดเลี้ยว ทําสะพานเชื่อมเดินถึงกันจากเกาะนี้ไปเกาะโน้น ทุกๆ เกาะมีหม่อมคนหนึ่งเป็นเจ้าของรับมอบดูแลความสะอาด ปลูกไม้ดอกไม้ต้น กลางวันเดินเที่ยวและพายเรือสนุกดี แต่ตกกลางคืนเงียบและมืด เสียงนกร้องน่ากลัว มีศาลาทุกแห่ง ศาลาใกล้ตําหนักใหญ่พอควรทาสีดํา มีคนตายในวังจะตั้งศพบําเพ็ญกุศลที่นั้น…”
สําหรับกุฏิของหลวงปู่ศุขในวังนางเลิ้งนั้น เคยมีอยู่จริง ปลูกเป็นศาลาอยู่ในสวนด้านทิศใต้ ใกล้คลองผดุงกรุงเกษม ท่านหญิงเริงเล่าไว้ในหนังสือเล่มเดียวกับที่ยกมาข้างต้นว่า
“…หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จะลงมาพักอยู่ที่วัง ณ ศาลาที่ปลูกไว้ท้ายสวนแทบทุกปี (มักจะลงมา พักช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งตรงกับวันประสูติของกรมหลวง ชุมพรฯ) ได้มาช่วยกันทําพระไว้แจกที่วังนางเลิ้ง มีแม่พิมพ์แกะด้วยอะไรจําไม่ได้ เอาตะกั่วมาใส่กระทะ แล้วเอาจอกตักใส่พิมพ์
พระที่นิยมเป็นพระปิดตา รูปสี่เหลี่ยมมีจั่วแหลมเป็นวิมาน หลวงปู่เป็นคนคุมทําต่อหน้าท่าน เสด็จพ่อท่านทอดพระเนตร ท่านไม่ได้ทําด้วย ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน ข้าพเจ้าช่วยตักใส่แม่พิมพ์ด้วย สนุกดีเหมือนทําขนมคุกกี้ ทําเสร็จใส่ไว้เต็มบาตร นํามาไว้หน้าที่บูชา มีดอกไม้ธูปเทียน ทําพิธีสวดชยันโต มีพระสวด 4 องค์ (รวมหลวงปู่ เป็นห้าองค์) ทำพระไว้แจกเยอะแยะ….”
ทั้งตัวตําหนักใหญ่และกุฏิของหลวงปู่ศุข รวมทั้งอาคารส่วนใหญ่ในวังแห่งนี้ถูกรื้อไปนานแล้ว แม้แต่ภาพถ่าย
ก็หาดูได้ยากมาก มีภาพถ่ายทางอากาศอยู่ภาพหนึ่งที่มองเห็นวังนางเลิ้ง และทําเนียบรัฐบาลอยู่ไกลๆ พอให้นึกสภาพวังได้บ้าง ส่วนอีกภาพเป็นภาพร่างตัวตําหนักใหญ่ในพิมพ์เขียว ทําไว้คราวที่กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คิดจะซ่อมตึกวังนางเลิ้งและเช่าเป็นที่ทําการ แต่มีงบไม่พอจึงระงับไป
ท่านผู้อ่านท่านใดที่มีภาพของวังนางเลิ้งที่ดีกว่านี้กรุณาเผยแพร่แบ่งกันชมบ้าง ถือว่าช่วยกันเชิดชูพระเกียรติคุณของท่าน
หลังจากที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ. 2466 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ดินของวังนางเลิ้งได้ถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ ในหมู่พระชายา พระโอรส พระธิดา
และผู้ใกล้ชิด
ต่อมาที่ดินผืนใหญ่สุด บริเวณตัวตําหนักซึ่งมีเนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา ถูกขายให้สํานักงานทรัพย์สินส่วน
พระมหากษัตริย์
ประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2482 สํานักงานทรัพย์สินฯ ได้ให้นายอุบล (ไม่ทราบนามสกุล) เช่าที่ดินผืนนี้
เดือนละ 200 บาท เพื่อใช้เป็นที่ทําการของโรงเรียนสุวิชพิทยาลัย
พ.ศ. 2485 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมยุวชนทหารย้ายจากวังบางขุนพรหมมาอยู่ที่วังนางเลิ้ง และช่วงนี้เองที่วังนางเลิ้งถูกภัยทางอากาศ ตําหนักใหญ่ถูกเพลิงไหม้เสียหายมากจนใช้การไม่ได้
หลังจากนั้นสํานักงานทรัพย์สินฯ ได้ให้นายสวน เกาะสุวรรณ์ เช่าที่ดินในราคาเดือนละ 80 บาท เพื่อเป็นที่เก็บรถเมล์แดง โดยทําสัญญาเช่าเป็นรายเดือน
ระหว่างปี พ.ศ. 2485-2487) ซึ่งจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายที่จะปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณวังนางเลิ้งทั้งหมดให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เป็นระเบียบสวยงาม เพราะเป็นพื้นที่ที่ต่อเนื่อง
กับทําเนียบรัฐบาล
โดยสิ่งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องการสร้างขึ้นใหม่และให้ออกแบบไว้แล้วคือ ตึกแถวสามชั้น สอง ชั้น
และชั้นเดียวตามริมถนนรอบบริเวณวัง ลักษณะคล้ายกับตึกแถวริมถนนราชดําเนิน
ขณะนั้นที่ดินของวังนางเลิ้งนอกเขตตําหนักใหญ่ถูกแบ่งเป็นแปลง ๆ มีผู้ถือกรรมสิทธิถึง 14 ราย จึงสร้างความยุ่งยากในการต่อรองให้ปรับปรุงพื้นที่ตามความต้องการของรัฐบาลอย่างมาก จนกระทั่งมีการผลักดันให้ออกพระราชบัญญัติเวนคืน
ที่สุดโครงการนี้ก็ถูกยกเลิก เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม พ้นจากตําแหน่ง
ปลายปี พ.ศ. 2490 นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ต้องการเช่าตึกใหญ่ในวังนางเลิ้งเป็นที่ทําการกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แต่จะต้องลงทุนซ่อมแซมเป็นวงเงิน 460,000 บาท ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีเงินเพื่อการนนี้จึงให้ระงับไว้”
ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2491 ทางกระทรวงศึกษาฯ ขอเช่าวังนางเลิ้งเพื่อขยายการศึกษาวิชาชีพตามนโยบาย รัฐบาล โดยจะขอเช่าเป็นเวลา 20 ปี และจะดําเนินการก่อสร้างซ่อมแซมอาคารเรียนด้วยงบประมาณของกรมอาชีวศึกษาเอง
ครั้งนี้สํานักงานทรัพย์สินฯ ตกลง โดยคิดค่าเช่าเพียงเดือนละ 300 บาท แต่มีเงื่อนไขว่าอาคารที่ซ่อมสร้างแล้วทุกหลังต้องยกให้เป็นสมบัติของสํานักงานทรัพย์สินฯ ทันที
จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจึงมีดําริให้ขอพระราชทานที่แปลงนี้แบบให้เปล่า
ซึ่ง ทางสํานักงานทรัพย์สินฯ ไม่เห็นด้วย แต่ยินดีจะขายให้แก่องค์การรัฐบาลสําหรับใช้เพื่อการศึกษาเป็นกรณีพิเศษ ในราคา 700,000 บาท
กระทรวงศึกษาฯ ตกลงรับซื้อที่ดินและตัวตึกวังกรมหลวงชุมพรฯ ในราคาดังกล่าวเพื่อตั้งเป็นโรงเรียนพณิชยการพระนคร
กรมอาชีวศึกษาได้เริ่มทําพิธีก่อสร้างอาคารเรียน เมื่อวัน ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 และช่วงนี้เองที่น่าจะมีการรื้อตึกใหญ่ของวังนางเลิ้ง เนื่องจาก ณ เวลานั้นคงชํารุดทรุดโทรมไปมาก เกินกําลังที่กรมอาชีวศึกษาจะหาทุนมาบูรณะไว้ได้
เมื่อไม่เหลือพระตําหนักให้เห็น นานวันเข้าชื่อวังนางเลิ้งก็ถูกลืม หลายคนที่ผ่านไปมาแถวทําเนียบรัฐบาล บ่อย ๆ ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าวังนางเลิ้งตั้งอยู่ตรงนั้น
คราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ มาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่หน้าวิทยาเขตพณิชยการพระนคร เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ได้มีรับสั่งถามผู้อํานวยการขณะนั้น
ว่ายังมีสิ่งใดที่ในสมัยเป็นวังหลงเหลืออยู่บ้าง เมื่อทรงทราบว่ามีเรือนเก่าหลังหนึ่งเหลืออยู่ จึงมีพระราชกระแส
รับสั่งว่า “ให้อนุรักษ์ไว้”
เรือนหลังนั้นต่อมาเรียกกันว่า “เรือนหมอพร” เพราะช่วงหนึ่งได้ถูกใช้เป็นเรือนพยาบาลของวิทยาลัย มีลักษณะเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น เจ้าของเรือนเดิมคือหม่อมเมี้ยน อาภากร ณ อยุธยา ตั้งอยู่ไม่ห่างจากตําหนักใหญ่นัก ทางวิทยาเขตได้บูรณะซ่อมแซมเรือนหลังนี้มาตลอด และปัจจุบัน (2544-กองบก.ออนไลน์)ได้จัดให้เป็น “ศูนย์วัฒนธรรม วิทยาเขตพณิชยการพระนคร สถาบันราชมงคลเฉลิมพระเกียรติ”
ภายในเรือนหมอพรมีตู้จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้สมัยกรมหลวงชุมพรฯ อยู่หลายชิ้น เช่น เครื่องยศ เครื่องปรุงยา เครื่องดนตรี โต๊ะทรงงาน ฯลฯ ตามผนังประดับพระฉายาลักษณ์และป้ายบอกพระประวัติและกรณียกิจของพระองค์
ที่สําคัญต่อบ้านเมือง
อนุสรณ์ที่เหลือให้เห็นว่าตรงนี้เคยเป็นวังอีกอย่างคือ กําแพงขาวที่มีใบเสมาอยู่หน้าวิทยาเขตด้านถนนพิษณุโลก ซึ่งเป็นกําแพงของเดิม กําแพงแบบนี้ปกติจะใช้กับวังของสมเด็จเจ้าฟ้าเท่านั้น แสดงว่าพระองค์เจ้าอาภากร
ทรงได้รับการยกย่องเสมอในเจ้าฟ้าด้วยเช่นกัน…
เรือนหมอพร แต่เดิมเป็นที่พำนักของหม่อมเมี้ยน อาภากร ณ อยุธยา
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม กันยายน 2544 https://www.silpa-mag.com/history/article_44390
ผู้เขียน สุรินทร์ มุขศรี
เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2564 -
-
ที่มา : youtube Jon Nonlen
เรือ - ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
www.youtube.com/watch?v=lfZXIAOQN2c
หน้า 12 ของ 189