คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    upload_2022-5-13_21-18-5.jpeg

    เสด็จเตี่ยกับกองทัพเรือ

    การปรับปรุงด้านการศึกษาของทหารเรือ
    เมื่อนายเรือเอก หม่อมไพชยนต์เทพ (ม.ร.ว.พิณ สนิทวงศ์) กำลังขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาแล้วนั้น ปรากฏว่าในระยะนั้นเป็นช่วงที่การศึกษาของนักเรียนนายเรือไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ทรงเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องรีบจัดการศึกษาของโรงเรียนนายเรือให้เจริญขึ้น จึงได้ทรงหารือกับเสด็จในกรมฯ และกราบบังคมทูลจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2448 เพื่อปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนนายเรือ คณะกรรมการประกอบด้วย

    1. นายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานกรรมการ
    2. นายเรือเอก หม่อมไพชยนต์เทพ เจ้ากรมยุทธศึกษา นายเรือเอกผู้ช่วย พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณรังษี ผู้บังคับการกองโรงเรียนนายเรือ เป็นองค์กรรมการ
    3. นายเรือตรี คอน เปรียญ เป็นเลขานุการ

    ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้ดำเนินงานจัดการโรงเรียนนายเรือใหม่ และจากการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ครั้งนี้เสด็จในกรมฯ ได้ทรงฝึกสอนนักเรียนนายเรือด้วยพระองค์เอง โดยเสด็จไปโรงเรียนตั้งแต่เช้า และเสด็จกลับในตอนค่ำทุกวัน เมื่อการปรับปรุงโรงเรียนนายเรือได้ผลสมความมุ่งหมายแล้ว ทางราชการก็จะให้นายเรือเอกหม่อมไพชยนต์เทพ เจ้ากรมยุทธศึกษาปกครองต่อไป แต่นายเรือเอก หม่อมไพชยนต์เทพ มีความประสงค์จะลาออก ดังนั้นในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเรือเอกหม่อมไพชยนต์เทพ ออกจากราชการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จในกรมฯ ทรงทำการในตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือแทน

    เมื่อเสด็จในกรมฯ ทรงทำการในตำแหน่งเจ้ากรม ยุทธศึกษาทหารเรือแล้ว ทรงปรับปรุงการศึกษาของ โรงเรียนนายเรือให้เจริญก้าวหน้าขึ้นโดยโปรดให้สร้าง "โรงเรียนช่างกล" ขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2449 โดยแยกศึกษาวิชาคนละสาขากับนักเรียนนายเรือ เว้นแต่วิชาอย่างเดียวกัน นักเรียนนายช่างกลเหล่านี้ ได้รับสมัคร จากนักเรียนนายเรือที่สมัครจะเรียน วิชาช่างกลนั่นเอง ในระยะแรก ๆ นั้น ปรากฏว่าสถานที่ฝึกงาน ภาคปฏิบัติของนักเรียนนายเรือยังไม่มี เสด็จในกรมฯ โปรดให้สร้างโรงงานขึ้น โดยสั่งหม้อน้ำเครื่องจักร ฯลฯ มาจากที่ต่าง ๆ พอที่จะประกอบเป็นโรงงานย่อม ๆ ขึ้น

    นอกจากจะมีการศึกษาในชั้นเรียนแล้ว เสด็จในกรมฯ ยังโปรดให้นักเรียนนายเรือฝึกหัดภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียนมีความชำนาญที่จะเป็นนายทหารเรือชั้นเยี่ยม โดยโปรดให้กรมยุทธโยธาทหารเรือสร้างเสาธงขึ้นหนึ่งเสา ตามแบบในเรือทูลกระหม่อม ประกอบด้วย พรวน 3 ชั้น พร้อมด้วยเครื่องประกอบ เชือก เสา เพลา ใบ ทรงหัดให้นักเรียนนายเรือขึ้นเสา และประจำพรวน กางใบ ม้วนใบ ฯลฯ นอกจากนั้นทรงจัดให้มีเรือกรรเชียง ไว้ฝึกหัดตีกรรเชียง แล่นใบ และให้พิมพ์แบบผูกเชือกขึ้นไว้ เพื่อเป็นตัวอย่างในการเรียนผูกเชือกแบบต่างๆ ด้วย
    ทางด้านการกีฬา ได้ทรงขอครูมาจากกระทรวงธรรมการ เพื่อมาสอนบาร์คู่ บาร์เดี่ยว และห่วง เพื่อให้นักเรียนฝึกหัดจนได้ผลเป็นอย่างดียิ่ง เพราะปรากฏว่านักเรียนมีสุขภาพดี และแข็งแรงขึ้นเป็นอันมาก ใน พ.ศ.2449 นี้ ทรงนำนักเรียนนายเรือทั้งหมดไปฝึกทางทะเลด้วย เรือยงยศอโยชฌิยา เรือลำนี้เป็นเรือกลไฟขนาดกลาง มีเสาใบพร้อม แต่ทรงให้ติดพรวนชั้นต่ำขึ้นอีกเป็นพิเศษ และได้ให้นักเรียนขึ้นเสา ลงเสา กางใบ ถือท้าย ใช้เข็มทิศน้ำ ดิ่ง และการเรือทุกชนิด การไปฝึกครั้งนี้ ไปทางภาคตะวันออกของอ่าวไทย จนถึงจังหวัดจันทบุรี ราวหนึ่งเดือนจึงกลับ ปรากฏว่าบรรดานักเรียน มีความคล่องแคล่วและเข้มแข็งในการเดินเรือเป็นอย่างยิ่ง

    images?q=tbn:ANd9GcQIcckG-hK5qvk9pf7mfwebs0jlJOCDSwITJQ&usqp=CAU.jpg
    เสด็จเตี่ยทรงปลูกฝังความรักชาติให้กับนักเรียนนายเรือ
    เนื่องจากประเทศไทยถูกรุกรานทางทะเลจาก ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเกิดกรณีเหตุการณ์การรบ ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ร.ศ.112 ทำให้ประเทศไทย ต้องสูญเสียดินแดนไปบางส่วน พร้อมกับเสียเงินค่าทำขวัญ พร้อมทั้งจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ถูกยึดเป็นประกัน เสด็จในกรมฯ ทรงเจ็บแค้นพระทัย เป็นอย่างมาก จึงทรงให้นักเรียนนายเรือสักคำว่า "ร.ศ.112 ตราด" ไว้ที่หน้าอกทุกคนรวมทั้งพระองค์ท่านด้วย เพื่อเป็นเครื่องจดจำ และหาหนทางที่จะแก้แค้นต่อไป
    นอกจากการสักแล้ว เสด็จในกรมฯ ทรงแต่งเพลง ฮะเบสสมอ และอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่หลายบทด้วยกัน และให้นักเรียนนายเรือร้องเพื่อปลุกใจให้กล้าหาญและรักชาติ ให้สมกับเป็นทหารเรือไทย

    นอกจากนั้นเสด็จในกรมฯ โปรดให้สร้างเรือน้ำตาลขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2449 ซึ่งเป็นเรือจำลองมีคำว่า "ร.ศ.112" ที่หัวเรือ ตั้งไว้บนบกเพื่อให้นักเรียนนายเรือชั้น 4 ชั้น 5 ฝึกแก้อัตราผิดของเข็มทิศ เพื่อเวลานำเรือ ออกท้องทะเลลึกโดยเข็มไม่ผิด และให้ได้เห็นทุกวัน เป็นการเตือนใจให้หาทางแก้เผ็ด และป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ เช่น ร.ศ.112 เกิดขึ้นอีก และที่ทรงใช้ชื่อว่า "น้ำตาล" เพราะน้ำตาลแก้รสเผ็ดได้ หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นเรือที่ลอยน้ำไม่ได้ (เช่นเดียวกับน้ำตาล)


    ที่มา : http://wnrdo.navy.mi.th/Popup/father/apakorn/Navy.htm
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube คีตะ อีสาน
    ลาย รำลึกหาบูชาครู
    www.youtube.com/watch?v=tieWYo3HGM4


    ที่มา : youtube Navy Music Channel Thailand
    คอยรักคืน [จิตติมา เจือใจ]
    www.youtube.com/watch?v=8he-idZWSvc
    หวานจัด:D

    ที่มา : youtube
    Navy Music Channel Thailand
    ขอเพียงเธอรัก-วงดุริยางค์ราชนาวี [ชุดดั่งแสงทอง ส่องใจ]
    www.youtube.com/watch?v=knQKsqd_heY
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2022
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcTQsWzWL2_IVE1PkVRji4QOxCnrT52GqdfRJg&usqp=CAU.jpg
    ไปไหนกันหมดนิo_O
     
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcRXyN_wg7bg5D4X7G7Tx-YgrFniFH58nQBx7g&usqp=CAU.jpg
    หวัดดี อร้ายยยย มากันแล้วเหรอเธอ ยิ้มแบบสมเหตุสมผล แบตหมดไปก่อนนะเธอ :eek:
     
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    อนุสรณ์กรมหลวงชุมพรฯ การระลึกที่เปลี่ยนแปลง
    วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 - 13:00 น.
    05-15-728x492.jpg
    การสร้างอนุสรณ์ของบุคคลสำคัญที่สร้างขึ้น เพื่อระลึกยกย่องในคุณูปการของบุคคลนั้น หากบางครั้งอนุสรณ์ของบุคคลคนเดียวกันก็มีการยกย่องในหลายสถานะ ดังเช่น อนุสรณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทั้งฐานะเจ้านายผู้มีคุณูปการต่อทหารเรือ จนทรงได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งทหารเรือไทย” ทั้งฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นามว่า “เจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ”

    01-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99-1.jpg
    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงฉายใน พ.ศ.2460 (ภาพจากหนังสือหลวงปู่ศุขกับกรมหลวงชุมพรฯ โดย ม.ร.ว.อภิเดช อาภากร จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2546)
    รายละเอียดเหล่านี้ คเณศ กังวานสุรไกร ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ในบทความ “อนุสรณ์กรมหลวงชุมพรฯ จากเกาะไผ่ถึงสัตหีบ : การเปลี่ยนแปลงการระลึกถึงกรมหลวงชุมพรฯ ในกองทัพเรือ พ.ศ.2470 ถึงทศวรรษ 2510” ในนิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนพฤษภาคม 2565

    ที่นำเสนอ “การระลึกถึงกรมหลวงชุมพรฯ” ที่เปลี่ยนแปลงตามประวัติศาสตร์แต่ละช่วงเวลา ผ่าน “อนุสรณ์กรมหลวงชุมพรฯ”

    อนุสรณ์ของกรมหลวงชุมพรฯ ที่มีการสร้างขึ้นในยุคแรกๆ คือ เจ้านายผู้มีคุณูปการต่อทหารเรือ โดยอนุสรณ์แห่งแรกที่สร้างขึ้น คือ อนุสรณ์ระลึกกรมหลวงชุมพรฯ คือ “ประภาคารอาภากร เกาะไผ่”

    %E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87.jpg

    ประภาคารอาภากร เกาะไผ่ จังหวัดชลบุรี เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของ พลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) เสนาธิการทหารเรือ ลูกศิษย์คนแรกของกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดของพระองค์ และได้รับความไว้วางพระทัยอย่างมาก

    พระยาราชวังสันมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้จากกรมหลวงชุมพรฯ ชนิดที่เรียกว่า “เรียนตัวต่อตัวกับพระองค์ท่าน” เมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ทรงจัดให้มีการฝึกภาคทะเลช่วงต้น พ.ศ.2450 พระยาราชวังสันเป็นนักเรียนนายเรือชั้นสูงสุดเพียงคนเดียวได้ทำหน้าที่เดินเรือ ส่วนพระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ก็ทรงเลือกพระยาราชวังสันเป็นหนึ่งในนายทหารเรือที่ติดตามร่วมขบวนเสด็จบนเรือพระที่นั่งมหาจักรี

    04-13.jpg
    เหรียญกรมหลวงชุมพรฯ ที่ผลิตขึ้นในช่วงทศวรรษ 2500 ซึ่งด้านหนึ่งเป็นพระรูปของกรมหลวงชุมพรฯ อีกด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท (ภาพจากหนังสือพิธีเปิดอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ.2510 สถานีทหารเรือสัตหีบ. 2510)
    ภายหลังเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์แล้ว พ.ศ.2455 พระยาราชวังสันในฐานะศิษย์ และผู้ที่พระองค์ไว้วางพระทัย ประสงค์ที่จะตอบแทนพระคุณของพระองค์ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศกำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก กระทรวงทหารเรือเองก็ประสบปัญหามีงบประมาณไม่เพียงพอ และพยายามลดรายจ่ายต่างๆ ที่สามารถทำได้ ทำให้พระยาราชวังสันไม่สามารถสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงกรมหลวงชุมพรฯ โดยตรงได้

    พระยาราชวังสันจึงเลือกที่จะสถาปนาสถานที่ที่กระทรวงทหารเรือมีนโยบายจะสร้างอยู่แล้ว เป็นอนุสรณ์สถานแทน ซึ่งในเวลานั้นกรมอุทกศาสตร์ประสงค์จะสร้างประภาคารที่เกาะไผ่ จังหวัดชลบุรี พระยาราชวังสันจึงขอให้กรมอุทกศาสตร์ตั้งชื่อประภาคารแห่งนี้ว่า “ประภาคารอาภากร” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานอุทิศแด่กรมหลวงชุมพรฯ และหวังให้ประภาคารนี้เป็นเครื่องประกาศพระเกียรติคุณของพระองค์แก่ชาวเรือ เพื่อ “จักได้แผ่นามแห่งประภาคารอันเป็นพระนามของพระองค์ท่านแพร่หลายไปทั่วทิศานุทิศ กับจักกรึงอยู่ในสมุดปูมของเรือต่างๆ ซึ่งได้เคยผ่านไปมา และได้รับประโยชน์จากประภาคารนั้นมาแล้ว เป็นการเผยพระนามให้ปรากฏไปชั่วกาลปาวสานต์” (กรมยุทธการทหารเรือ, 2467-2473)

    05-11.jpg
    การประดิษฐานพระรูปกรมหลวงชุมพรฯ ที่วิทยาลัยพณิชยการพระนครเมื่อ พ.ศ. 2516 (ภาพจาก ประกิต สะเพียรชัย. จดหมายเหตุ พระอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร. 2549, น. 27)
    ทว่า การสร้างประภาคารแห่งนี้มีค่าใช้จ่ายจำนวน 49,177 บาท พระยาราชวังสันจึงแบ่งค่าใช้จ่ายเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้งบของกระทรวงทหารเรือ อีกส่วนหนึ่งใช้วิธีขอเรี่ยไรเงินบริจาคแทน เพื่อลดการใช้จ่ายในงบประมาณ แต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้การเรี่ยไรบริจาคได้ล่าช้ากว่าที่คาด หากประภาคารอาภากรก็สร้างเสร็จสิ้นใน พ.ศ.2470 และเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงกรมหลวงชุมพรฯ อย่างเป็นทางการแห่งแรกที่ทหารเรือสร้างขึ้น


    03-14.jpg
    พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์หลักเมือง วันที่ 10 มีนาคม 2484 เรื่องเกี่ยวกับเสียงดังประหลาดที่เกิดขึ้นบริเวณศาลเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ ย่านนางเลิ้ง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลแก่นักหนังสือพิมพ์อธิบายว่า เสียงที่ดังขึ้นนั้นน่าจะเป็นเสียงแสดงความยินดีพระทัยของเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ เมื่อทรงทราบว่าประเทศไทยจะได้รับดินแดนคืนจากฝรั่งเศส (ภาพจากหลักเมือง, 10 มีนาคม 2484)
    ในพระประวัติพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาช่วงที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมระหว่าง พ.ศ.2474-2476 นายเมืองเริง วสันตสิงห์ ผู้เขียนพระประวัติ ได้เล่าถึงคำเล่าลือในหมู่ชาวบ้านที่อธิบายความสำเร็จน่าอัศจรรย์ของพระองค์ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายว่า “กรมชุมพร…พระบิดาของท่านคงจะเสด็จมาช่วยพระองค์ท่านอยู่เสมอ”

    ศาลเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ 2 แห่งปรากฏขึ้นในช่วงเวลาระหว่างทศวรรษ 2480-2500 พร้อมเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์เหนือจริง ได้แก่ ศาลที่ย่านนางเลิ้ง กรุงเทพฯ และศาลที่หาดทรายรี ปากน้ำเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นศาลเคารพบูชากรมหลวงชุมพรฯแห่งแรก และแห่งที่ 2 ตามลำดับที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยัน และสามารถตรวจสอบเวลาที่ปรากฏขึ้นได้

    ศาลทั้งสองสร้างขึ้นเป็นพื้นที่ความทรงจำเกี่ยวกับกรมหลวงชุมพรฯ โดยตรงตามข้อเท็จจริงในฐานะสถานที่ประทับกับสถานที่สิ้นพระชนม์ตามลำดับ และสะท้อนถึงการรับรู้ของผู้คนทั่วไปต่อพระองค์
    02-22.jpg
    ภาพถ่ายประภาคารอาภากรที่เกาะไผ่ จังหวัดชลบุรี โดย พลเรือตรี กรีฑา
    พรรธนะแพทย์ ซึ่งนำมาเป็นหน้าปกของวารสารนาวิกศาสตร์ พ.ศ.2538
    (ภาพจากนาวิกศาสตร์. ปีที่ 78 ฉบับที่ 5 (พฤษภาคม 2538), หน้าปก.)


    ศาลกรมหลวงชุมพรฯ ที่ย่านนางเลิ้ง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันสืบย้อนไปถึงอย่างน้อยทศวรรษ 2480 โดยปรากฏครั้งแรกในข่าวหนังสือพิมพ์หลักเมือง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2484 ซึ่งเล่าถึงปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติที่เป็นพลังอิทธิปาฏิหาริย์ของเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯโดยปรากฏในเนื้อข่าวข้างต้นว่า

    “ตามข่าวที่เราได้เสนอไปแล้วในหนังสือของเราประจำวันศุกร์ที่ 31 มกราคมถึงเรื่องกรมหลวงชุมพรให้รบ คือ ได้มีเสียงประหลาดเกิดขึ้น ณ ศาลจ้าวกรมหลวงชุมพร ตำบลนางเลิ้งในยามดึกสงัด…เป็นเสียงปึงปังดังสนั่นหวั่นไหว และผู้คุ้นเคยบนศาลจ้าวได้กล่าวกับผู้แทนของเราว่า จ้าวพ่อคงไม่พอพระทัยอย่างใดอย่างหนึ่ง บางคนกล่าวว่า จ้าวพ่อไม่ปรารถนาจะให้หยุดรบ นอกจากจะรุกต่อไปให้เด็ดขาด

    บัดนี้ได้มีข่าวคืบหน้าต่อไปอีกว่า หลังจากฝรั่งเศสได้ยินยอมตกลงในกรณีย์พิพาท…ในเวลาดึกสงัดราวตี 3 ราษฎรบางคนที่เช่าห้องอยู่ใกล้ๆ กับศาลจ้าวพ่อกรมหลวงต่างพากันตกใจตื่นและขนลุกขนพองตกใจกลัวไปตามกัน…ราษฎรผู้หนึ่งกล่าวกับผู้แทนของเราว่า คงเปนเสียงของจ้าวพ่ออีกนั่นแหละ” (หลักเมือง, 2484 : 1, 8)

    พ.ศ.2493 พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร เสด็จไปร่วมสงครามเกาหลี พระองค์ทรงเล่าถึงการประสบอิทธิปาฏิหาริย์ของกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งช่วยสงบไต้ฝุ่นระหว่างพระองค์ทรงโดยสารเรือไปยังประเทศเกาหลีว่า “วันเดียวตามทางเจอไต้ฝุ่นหลายหนแต่เราบนกรมหลวงชุมพรหายเงียบไปทุกที ศักดิ์สิทธิ์มาก” (เฉลิมศึก ยุคล, 2534 : 150)

    อนุสรณ์เพื่อระลึกถึงกรมหลวงชุมพรฯ ที่กล่าวถึงข้างต้น สร้างขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน และระลึกถึงพระองค์ในคุณูปการที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า ความทรงจำต่อกรมหลวงชุมพรฯ มีหลากหลายมิติ ด้วยเรื่องเล่าพระประวัติของพระองค์ที่สังคมรับรู้มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ส่วนจะเป็นด้วยการบันทึกของผู้ใด เจตนาอะไร ในสถานการณ์เช่นไรนั้น ขอได้โปรดติดตามใน “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนพฤษภาคมนี้


    ขณะเดียวกันในสังคมนอกวงการทหารเรือ ก็มีการระลึกถึงกรมหลวงชุมพรฯ ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นามว่า “เจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ” ตั้งแต่ทศวรรษ 2470

    ที่มา : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_3332327
     
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube ธนากร โกศลเมธี
    ชุมพร - ๑๐๐ปีไม่มีลืม น้อมรำลึก เสด็จเตี่ย ณ หาดทรายรี
    www.youtube.com/watch?v=9-ymStVQ7_0


    ที่มา : youtube ลูกกรุงอภิมหาอมตะนิรันดร์กาล
    เธออยู่ไหน - สุเทพ วงศ์กำแหง-สวลี ผกาพันธุ์
    www.youtube.com/watch?v=CBX1oPa-hLo

    อยู่ที่ไหนไม่สำคัญหรอกขวัญจิต อาจแทรกอยู่กับน้ำค้างกลางดาวลอย o_O ในดาราคือตาฉัน?
    อย่าให้เจอนะ!:mad:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2022
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    images?q=tbn:ANd9GcTsKpUGidPCLFPJ4Sj8HTJD6dO8W4RAO-NG8A&usqp=CAU.jpg

    อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
    1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
    2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
    3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
    4. มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ 5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ 7. สัมมาสติ ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
    มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

    images?q=tbn:ANd9GcTaHn_qIM2p0Po-getLQ_EoGBAdwORy2CH_6A&usqp=CAU.jpg

    กิจในอริยสัจ 4
    กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
    1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
    2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
    3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
    4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย
    กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

    กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

    1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
      1. นี่คือทุกข์
      2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
      3. นี่คือความดับทุกข์
      4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
    2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
      1. ทุกข์ควรรู้
      2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
      3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
      4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
    3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
      1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
      2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
      3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
      4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว
     
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Rabbiz 009
    " ประวัติวันวิสาขบูชา " @ THAIRATH TV
    www.youtube.com/watch?v=-nnTFWEhbZQ
    images?q=tbn:ANd9GcSQN1aTGAlkih25gh56C8-LIAw0ixLQxgHGdQ&usqp=CAU.jpg

    ที่มา : youtube
    Varit Jamsai
    เพลงดอกไม้ - สุภัทรา ไหมไทย รื่นฤดี
    www.youtube.com/watch?v=wf68JgiX95g


    upload_2022-5-14_20-32-21.jpeg
    _11_205.jpg

    มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์

    “มณฑารพ” หรือ “มณฑา” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Talauma candollei Bl.” อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกจำปา จำปี และยี่หุบ เป็นไม้พุ่มสูงราว 3-10 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดใหญ่ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา มักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ หรือส่วนยอดของลำต้น มีสีเหลืองนวล

    มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมและส่งกลิ่นไปไกล โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี ส่วนผลรูปรี ออกเป็นกลุ่ม และเนื่องจากมณฑามีดอกสวยและกลิ่นหอมจึงนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

    _12_174.jpg

    ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ “มณฑารพ” หรือ “มณฑา” นั้น ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า

    ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ” (การถวายดอกไม้ก็ดี แต่การปฏิบัติบูชานั้นดีที่สุด)

    ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วยดอกมณฑารพ “...สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมมาลัยและของหอม ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์...”

    หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระซึ่งอยู่ที่เมืองปาวา ได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราเป็นเวลาหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่งซึ่งมาจากเมืองกุสินารา ถือ “ดอกมณฑารพ” ที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่ม เดินสวนทางมา

    พระมหากัสสปะซึ่งเวลานั้นยังไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจ เพราะดอกมณฑารพเป็นดอกไม้ทิพย์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์ และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน วันจาตุรงคสันนิบาต และวันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ดอกมณฑารพตกลงมาจากเทวโลก พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชนอกศาสนาผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมา 7 วันแล้ว และดอกมณฑารพนี้ก็ได้เก็บมาจากบริเวณที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง เมื่อได้ยินดังนั้นพระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์ออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา

    นอกจากนี้ มณฑารพยังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่า กิริณีเทวี

    ที่มา : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=16542.0
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube nnattarika
    ในฝัน - อาร์ม กรกันต์ สุทธิโกเศศ
    www.youtube.com/watch?v=t5AsWrEFxnY

    upload_2022-5-14_20-46-12.png ละมุนก่อนนอน ปล.อย่าลืมนั่งสมาธิกันนะทุกคนo_O
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube คนหลังข่าว Chanel
    สารคดี กรมหลวงชุมพรฯ120ปีนิวัตมาตุภูมิสู่ราชนาวีสยาม ตอน4
    www.youtube.com/watch?v=H0_4TT94izs


    อากาศร้อนก็ต้องฟังเพลงเย็นๆ :)
    ที่มา : youtube
    Thee Typical
    MY VALENTINE | by JIM BRICKMAN & MARTINA MCBRIDE [ 1 HOUR LOOP ]
    www.youtube.com/watch?v=15jqHp4-PCA
    จิตใจที่เข้มแข็งและดีงามล้วนอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ (ใช่สมบูรณ์ เรามาถูกทางแล้วo_O)
     
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283

แชร์หน้านี้

Loading...