คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube SEUB CHANNEL
    คนเฝ้าป่า - วงนั่งเล่น (Official Lyrics Video) รำลึก 30 ปี สืบ นาคะเสถียร
    www.youtube.com/watch?v=kRk9CW4BJl8

     
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ศาล
    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    ต.มะลัง อ.เมือง จ.สตูล

    5e62b91b16ed6a7d37dc441487b71387_small.jpg

    fe2aed8459df736f91d8da6c3db808c6_small.jpg

    วันที่ 19 ธ.ค. 63 พระมหาคลี จารุวํโส เจ้าคณะจังหวัดสตูล ประธานฝ่ายสงฆ์ นายทศพล สวัสดิสุข ปลัดจังหวัดสตูล เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลวันคล้ายวันประสูติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสตูล สมาชิกมูลนิธิกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์จังหวัดสตูล และประชาชน เข้าร่วมในพิธี ณ บริเวณศาล
    กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือองค์บิดาทหารเรือไทย
    ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2423 ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาโหมด
    ในปีพุทธศักราช 2439 เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศอังกฤษ ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่นั้นได้มีพระวิริยะอุตสาหะจนผลการศึกษาปรากฏอยู่ในขั้นดีเยี่ยม และมีพระจริยวัตรที่งดงามเป็นที่รักใคร่ของครู อาจารย์ เป็นที่ยอมรับนับถือ
    ของชาวอังกฤษที่ได้ศึกษาอยู่ในคราวเดียวกัน เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาเป็นนายทหารสัญญาบัตรในราชนาวีอังกฤษแล้ว
    ได้เสด็จกลับเข้ารับราชการ ในกระทรวงทหารเรือ ในปีพุทธศักราช 2443

    พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2536 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า
    "พระบิดาของกองทัพเรือไทย" และในปี 2544 แก้ไขเป็น "องค์บิดาของทหารเรือไทย"

    ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG201219161821961
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Trangkhe Photography
    ท่าเรือตำมะลัง จ.สตูลTamalang Pier, Satun Province
    www.youtube.com/watch?v=aoGi0hwHoHY
     
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Guidey_Krub
    เพลง พระสุธน มโนราห์ พ.ศ. 2563 (Full Music Lyric)
    www.youtube.com/watch?v=2h_1p7ofZHE

    เพลงประกอบละครพื้นบ้าน พระสุธน มโนราห์
    คำร้อง-ทำนอง : ไพรัช สังวริบุตร
    เรียบเรียง : พงศ์พิธาน ธวัชชัย
    ขับร้อง : วรวรรณ โพธิ์เกาะ ห้องบันทึกเสียง : 91 Passport studio Thailand
    เนื้อร้อง
    อธิษฐานเอย.. อธิษฐานก่อนจากไกล ถึงขาดใจ ใจก็จำ ชอกช้ำใจ.. ชาตินี้มีกรรมน้องตามมา.. ชาติหน้าให้พี่.. ตามน้องไป สิบนิ้ววันทา เอย.. ขอว่าเพลงด้น เรื่องพระสุธนกับมโนราห์.. ฝ่ายหนึ่งเป็นเป็นมนุษย์ เอย.. แสนสุดโสภา ฝ่ายมโนราห์เป็นกินรี.. ติดตามข้ามภพ เอย.. ด้วยรักภักดี โอ้หนอกินรี.. พลัดบ้านเมืองไกล.. เหยียดเราเขลาขลาด เอย.. พิฆาตฆ่าฟัน พี่มาลืมกัน รักสุดหัวใจ.. ชาตินี้มีกรรมน้องตามมา ชาติหน้าให้พี่ตามน้องไป ชาตินี้น้องตามตามพี่มา ชาติหน้าให้พี่ตามน้องไป ช้ำใจสุด ๆ มนุษย์รังแก พี่ไม่เหลียวแล คำมั่นสัญญา.. อาลัยใจขาด เอย.. กราบบาทลาไกล ขาดกันวันนี้ โศกีร่ำไห้ จากกันเป็น ๆ เหมือนเช่นลาตาย ลาแล้วลาไกล ไม่หวนคืนมา.. ชาตินี้มีกรรมน้องตามมา ชาติหน้าให้พี่ตามน้องไป เลือน ๆ ลืมแล้ว หรือไรกัน หิมวันต์ถิ่นงามจงตามมา.. จงตามมา.. .

    #ตามมา..จงตามมา...ให้ถึงหมื่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2021
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    1621430642654.jpg

    เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ที่กองบัญชาการหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง ตำบลอาจสามารถ อ.เมืองนครพนม จังหวัดนครพนม พลเรือตรี จรัสเกียรติ ไชยพันธุ์ ผู้บัญชาการหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง นำกำลังพลร่วมกัน
    บริจาคโลหิตให้กับโรงพยาบาลนครพนมและสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม ที่ได้ออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการ ณ จุดที่ตั้ง
    เพื่อสำรองโลหิตไว้ใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 และในยามฉุกเฉิน จำนวน 18,900 ซีซี ภายหลังการประกอบพิธี
    วางพวงมาลาถวายราชสักการะแด่พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย
    เนื่องในวันอาภากร ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ และเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่วีรชนของหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง ที่ได้สละชีพเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน


    ที่มา : https://www.77kaoded.com/news/tawee/2115543
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube Alive
    ตามตำนาน I EP.37 I พญาศรีสัตตนาคราช พลังศรัทธาแห่งลุ่มน้ำโขง I 15 ก.ค. 60 Full HD
    www.youtube.com/watch?v=PXM-vLpz7A8
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ที่มา : youtube คีตะ อีสาน
    เพลงคู่บารมี อนันตนาคราช อุษาอนันตวดี 【ณ เรือนอนันตนาคราช 】
    www.youtube.com/watch?v=wO6BQCqNxV8
     
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ศาล
    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    สนามศุภชลาศัย


    1454251_dlNFLd3LGdW-uFit6b7r_1t7ZGb2-jGEYEFi37-lCiU.jpg 2520185_XTF3S4yjlz36vNYTNnHsvP2RaCmEhQhnmhRLdQ84cmA.jpg
    ภาพ :foursquare.com

    กรีฑาสถานแห่งชาติ (The National Stadium of Thailand) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติของประเทศไทย อยู่ในความดูแลของ
    กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยส่งคืนสถานที่บางส่วนแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา และใช้อาคารสถานที่ในส่วนที่ยังเช่าอยู่ เพื่อเป็นที่ทำการของกรมฯ ตลอดจนสมาคมหรือองค์กร
    ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา และนันทนาการต่างๆ กรีฑาสถานแห่งชาติ ตั้งอยู่ภายในที่ทำการของกรมพลศึกษา เลขที่ 154
    ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร


    %B8%B5%E0%B8%91%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.jpg

    กรีฑาสถานแห่งชาติมีต้นกำเนิดจากการแข่งขันกรีฑานักเรียน ซึ่งโดยปกติจะจัดขึ้นในสนามกีฬาของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 นาวาโทหลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก มีดำริในการจัดหาสถานที่ตั้ง สนามกีฬากลางกรมพลศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษากลาง (ปัจจุบันคือ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) และ สโมสรสถานลูกเสือ (ปัจจุบันคือ ที่ทำการคณะลูกเสือแห่งชาติ) จนกระทั่งได้ทำสัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเช่าที่ดินขนาด 77 ไร่ 1 งาน ที่ตำบลหอวัง บริเวณวังวินด์เซอร์เดิม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2478 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 29 ปี

    ต่อมา เมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 เวลาเช้า มีพระราชพิธีก่อพระฤกษ์ (พิธีวางศิลาฤกษ์) โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[3] ขณะเดียวกัน ก็ให้ย้ายการแข่งขันกรีฑานักเรียน ไปจัดขึ้นที่ท้องสนามหลวงเป็นการชั่วคราว โดยในปีต่อมา (พ.ศ. 2481)
    กรมพลศึกษาจึงย้ายที่ทำการ เข้ามาอยู่ภายในบริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ การใช้สนามกรีฑาสถานเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อ
    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาประชาชนชาย ประจำปี พ.ศ. 2481 ซึ่งเปลี่ยนสถานที่จัดมาจากท้องสนามหลวง

    ทั้งนี้ สนามกรีฑาสถานจัดสร้างแล้วเสร็จพร้อมใช้งาน ในราวปี พ.ศ. 2484 ซึ่งประกอบไปด้วย สนามฟุตบอลพื้นหญ้าขนาดมาตรฐาน พร้อมลู่วิ่งรอบนอก, อัฒจันทร์ทิศตะวันตก จำนวน 20 ชั้น ตอนกลางมีที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์
    หรือผู้แทนพระองค์ เบื้องหลังประดับตราพระมหาพิชัยมงกุฏและอุณาโลม พระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ไทย มีหลังคารูปเพิงแหงนไม่มีเสาค้ำปกคลุมตลอดแนว และอัฒจันทร์ทิศเหนือ จำนวน 20 ชั้นเท่ากัน ส่วนด้านนอกสนาม ที่ยอดเสามุมซ้ายขวาของมุขกลาง มีรูปปั้นนูนสูงขนาดใหญ่ เป็นภาพพระพลบดีทรงช้างไอยราพต สัญลักษณ์ประจำกรมพลศึกษา ส่วนริมสุดทางซ้ายขวา ขนาบด้วยหอคอยสองข้าง พร้อมประตูทั้งสองฝั่ง ทิศตะวันออกเรียกว่าประตูช้าง ทิศตะวันตกเรียกว่าประตูไก่ และมีห้องทำงานกับห้องน้ำอยู่ในช่วงเชื่อมต่อ ระหว่างมุขกลางและหอคอยทั้งสองข้าง ทั้งนี้ การก่อสร้างอัฒจันทร์ทิศตะวันออกและทิศใต้ ก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามมาในภายหลัง

    ล่าสุด ในปี พ.ศ. 2551 มีการปรับปรุงบริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติครั้งใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ซึ่งประกอบด้วย ส่วนหน้าปะรำ
    ที่ประทับ ในสนามศุภชลาศัย ประดับด้วยพระบรมมหาราชวังจำลอง หน้ามุขทางขึ้น ตกแต่งคล้ายกับพระราชวังวินด์เซอร์ ที่สหราชอาณาจักร ปลูกต้นไม้รอบบริเวณสนาม ติดตั้งเก้าอี้บนอัฒจันทร์ทั้งหมด และปรับพื้นสนามหญ้าใหม่ ในส่วนสนามเทพหัสดิน อาคารกีฬานิมิบุตร และ อาคารจันทนยิ่งยง มีการปรับปรุงตกแต่ง ทาสี ติดตั้งเก้าอี้ ทำพื้นสนามหญ้า ตลอดจนปรับปรุงพื้นถนนภายในบริเวณ
    กรีฑาสถานแห่งชาติทั้งหมด
    อาคารสถานที่ภายในกรีฑาสถานแห่งชาติ

    180px-CFC_vs_Kedah001.jpg
    ภายในสนามกีฬาแห่งชาติ
    สนามกีฬาแห่งชาติ
    สนามศุภชลาศัย เป็นสนามกีฬาหลักของกรีฑาสถานแห่งชาติ มีลู่วิ่งสังเคราะห์ สำหรับจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ในการแข่งขันกีฬา
    นัดสำคัญ มีหลังคาหนึ่งด้าน พร้อมทั้งอัฒจันทร์โดยรอบ ปัจจุบันมีความจุผู้ชมรวม 35,000 ที่นั่ง มีชื่อเดิมว่า สนามกรีฑาสถาน
    ต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน

    180px-Thephasadin_Stadium.jpg
    สนามเทพหัสดิน
    สนามฟุตบอลเทพหัสดิน
    สนามฟุตบอลเทพหัสดิน เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง มีลู่วิ่งสำหรับจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ในการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาทั่วไป ความจุรวม 6,378 ที่นั่ง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีชื่อเดิมว่า สนามฮอกกี้ เนื่องจากใช้เป็นสนามแข่งขันฮอกกี้ ในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5
    ประจำปี พ.ศ. 2509 ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึง มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) บิดาแห่งกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย และ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตรักษาการอธิบดีกรมพลศึกษา

    สนามจินดารักษ์[แก้]
    สนามจินดารักษ์ ปัจจุบันเป็นศูนย์สาธิตและฝึกซ้อมกีฬาชายหาดแห่งชาติ ในอดีตเป็นสนามกีฬากลางแจ้ง สำหรับใช้ในการแข่งขันระดับรองและการฝึกซ้อมกีฬาทั่วไป มีชื่อเดิมว่า สนามกีฬาต้นโพธิ์ สร้างขึ้นภายหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึง มหาเสวกโท พระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา

    สระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์
    สระว่ายน้ำวิสุทธารมณ์ เป็นสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานแข่งขัน พร้อมทั้งหอกระโดดและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงมีอัฒจันทร์สองฝั่ง ใช้ในการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาทางน้ำ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยดำริของ กอง วิสุทธารมณ์ อธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น ต่อมากรมพลศึกษาจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือ สระว่ายน้ำโอลิมปิก เป็นชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงผู้ริเริ่มจัดสร้าง

    อาคารกีฬานิมิบุตร
    อาคารกีฬานิมิบุตร เป็นสนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 เพื่อให้สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ใช้เป็นสถานที่จัดแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 1 มีชื่อเดิมว่า อาคารยิมเนเซียม 1 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2528 กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึง พลโท เผชิญ นิมิบุตร อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา

    อาคารจันทนยิ่งยง
    อาคารจันทนยิ่งยง เป็นสนามกีฬาในร่ม สำหรับการแข่งขันและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม ตลอดจนฝึกกายบริหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 มีชื่อเดิมว่า อาคารยิมเนเซียม 2 และในปีถัดมา (พ.ศ. 2509) กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึง หลวงประเวศวุฑฒศึกษา (ประเวศ จันทนยิ่งยง) อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา

    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/กรีฑาสถานแห่งชาติ_(ไทย)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...