คำสอนก่อนฝึกมโนมยิทธิ วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย uncle jing, 23 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. uncle jing

    uncle jing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +219
    [FONT=&quot]คำสอนก่อนฝึกมโนมยิทธิ วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน <o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ที่มา หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๔๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]การเจริญพระกรรมฐานมี ๔ อย่าง[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ต่อนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งใจฟังคำแนะนำในการปฏิบัติสักเล็กน้อย ในเวลาที่ฟังก็ขอได้โปรดคิดไปด้วย การปฏิบัติเป็นคณะ พวกเราที่ปฏิบัติกันอยู่นี่ แม้ว่าเป็นการปฏิบัติในพระกรรมฐานในอันดับกลาง ที่ชื่อว่าอันดับกลางก็เพราะว่าการเจริญพระกรรมฐานมี ๔ อย่าง ตามที่เราเข้าใจกัน นั่นก็คือ สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]เวลานี้พวกเราปฏิบัติกันอยู่ในขั้นของ เตวิชโช กับ ฉฬภิญโญ จึงถือว่าเป็นกรรมฐาน ในอันดับกลางในพระพุทธศาสนา
    [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิธีใช้ญาณ ๘ ประการให้เป็นประโยชน์[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่การเป็นอันดับแบบนี้ ย่อมได้เปรียบในการหวังผล ก็เพราะว่าการปฏิบัติของเรา มีพยานเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เพราะว่าเราสามารถจะเห็นสวรรค์ได้ ไปสวรรค์ได้ ไปพรหมโลกได้ ไปนิพพานได้ ไปนรกได้ ไปสู่แดนเปรตได้ ไปสู่แดนอสุรกายได้ แม้ว่าถ้าทุกท่านมีความฉลาดในการปฏิบัติ ก็ต้องพยายามฝึกซ้อมอารมณ์ของจิตให้คล่องในญาณ ๘ ประการ ตามที่เคยแนะนำมาแล้ว คือ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๑)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]ใช้ ทิพจักขุญาณ รู้เห็นสภาวการณ์ต่างๆ ตามที่เขาพูดกันตามอารมณ์ใจคิด ไม่เกิดความสงสัย การนั่งอยู่ เดินอยู่ ทำอะไรอยู่ ถ้าอยากจะรู้ว่าที่ตรงนี้มีคนตายมาแล้วกี่คน ที่ตรงนี้เคยมีพระอริยเจ้าไหม ที่ตรงนี้เดิมมีอะไรสำคัญ พยายามใช้จิตให้มันคล่องในด้าน ทิพจักขุญาณ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๒)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]จุตูปปาตญาณ[/FONT][FONT=&quot] การรู้การตายและการเกิดของสัตว์ หมายความว่า คนและสัตว์ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่มีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ ความจริงเดิมทีเขามาจากไหน และก็ทราบภาวะว่าตอนตาย จับกำลังใจของใจให้เป็นประโยชน์ดูว่าคนตายคนนี้ที่ตายแล้วไปอยู่ที่ไหน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สำหรับเรา เพราะเราก็ต้องตายเหมือนกัน ตอนมาของเรามาจากไหน เวลาที่เราจะไป เราจะไปไหน นี่ตั้งอารมณ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง และเป็นประโยชน์แก่คนอื่น[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๓)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]เจโตปริยญาณ[/FONT][FONT=&quot] การรู้วาระน้ำจิตของบุคคลอื่น การรู้วาระน้ำจิตของคนอื่นนั้น ความจริงต้องรู้วาระน้ำจิตของตัวเองก่อน เพราะว่าการรู้วาระน้ำจิตของตนเองนั้นยาก ของคนอื่นนั้นง่าย[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]<o></o>[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิธีดูสีของจิต[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิธีที่จะรู้อารมณ์จิตของคนว่าดีหรือเลว ก็ต้องใช้อารมณ์จับอารมณ์ของจิต และรู้จิตขึ้นมาเป็นดวง และดูกระแสของจิตว่าดวงนั้นน่ะเป็นสีอะไร ถ้าเป็นปุถุชนคนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ถ้าจะดูกระแสจิตมันจะเป็นสีเนื้อธรรมดา แต่ถ้าสีเนื้อธรรมดานี้ ถ้าเป็นเนื้อปกติมันต้องมีสีปน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเนื้อนั้นมี สีแดงจัด และสีแดงแจ๊ด ก็แสดงว่าคนนั้น มีความดีใจ เนื่องจากได้อามิส ที่เป็นโลกีย์วิสัย[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้ากระแสใจของเขามีความมัวและดำและเทา ถ้าสีดำมาก ก็แสดงว่าอารมณ์จิตมีความวุ่นวายมาก มีทุกข์มาก ถ้าสีดำน้อย ก็แสดงว่าอารมณ์จิตมีความวุ่นวายน้อย มีทุกข์น้อย ถ้าสีเทาๆ ก็แสดงว่าจิตของคนนั้น ตกอยู่ในอารมณ์ของความดับ คือจะหาความแจ่มใสยังไม่ได้ ยังชื่อว่ามีความโง่อยู่ มีความกลุ้มอยู่[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าจิตมีสภาพผ่องใส สะอาด คือสีเนื้อสะอาด ทำอะไร จิตอยู่ในสภาพปกติ กำลังมีความสุข แต่ว่าความสุขของจิตประเภทนี้ มันมีทุกข์ถึง ๙๙ เปอร์เซ็นต์ มีความสุขแค่ ๑ เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าดูไปอีกที ถ้าบังเอิญจิตของบุคคลที่เจริญสมถภาวนา คือก่อนที่จะดูจิตเขา ก็ควรฝึกดูจิตเราเสียก่อน ดูจิตเราให้มันคล่อง ทำจิตใจให้มันผ่องใสเป็นปกติ จิตเราพอตื่นขึ้นมาใสเวลาเช้า ก็เอาใจจับอารมณ์ของจิต ดูว่าจิตของเรามีสภาพแจ่มใสเป็นประกายดีหรือเปล่า ถ้ามันมีสีแดงหรือว่ามีสีดำหรือสีเทาปน ก็จงทำลายสีเสียให้หมด เพราะว่าสีประเภทนั้นมันเป็นความเลวของจิต[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]สีแดง[/FONT][FONT=&quot] นี่ชื่อว่ามาจากปีติ คือความยินดี มันเป็นความยินดีในโลกีย์วิสัยใช้ไม่ได้[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]สีดำ[/FONT][FONT=&quot] เป็นอารมณ์เกิดจากความเศร้า ความเศร้าที่เกิดจากจิตใจก็เลว เพราะว่าจิตไม่มีหน้าที่ที่จะเศร้า เพราะอะไร ก็เพราะว่าเรามีความเศร้าหมอง เพราะโลกธรรม ๘ ประการนี้ มันเป็นของประจำโลก ทำไมจะต้องไปยุ่งกับมัน ก็จะหาความเศร้าหมอง เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ฉะนั้น จะเป็นสีแดงก็ดี สีเทาก็ดี สีดำก็ดี จะไม่ยอมให้มันเข้ามาในจิตของเรา อย่างน้อยเราจะขับกำลังใจให้ทรงสมาธิจิตเป็นอุเบกขารมณ์ ถ้าจิตเป็นอุเบกขารมณ์ ไม่เลี้ยวซ้าย ไม่เลี้ยวขวา ไม่ไปยุ่งกับอารมณ์อื่นๆ จิตมันก็จะใส[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]สีของจิตทีใสเป็นแก้ว[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้ามีอารมณ์ใสเป็นแก้วทั้งดวง นั่นแสดงว่าจิตเราอยู่ใน เอกัคคตา เป็นอุเบกขา เป็นอารมณ์ของความดี [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเรามองจิตของเราใสเป็นแก้วประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์[/FONT][FONT=&quot] จะลึกเข้าไปประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ นั่นแสดงว่าจิตเวลานั้นเข้าอยู่ในเขตของ ปฐมฌาน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าลึกเป็นแก้วเข้าไปประมาณ ๕๐[/FONT][FONT=&quot] เปอร์เซ็นต์ ก็ไปเจออารมณ์ของจิตตั้งอยู่ในส่วน ฌานที่ ๒[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าจิตลึกเป็นแก้วใสเกือบทั้งหมดมีแกนทึบอยู่ภายในของจิต [/FONT][FONT=&quot]จะเป็นแกนดำหรือแกนแดงก็ตาม ถ้าแกนดำจิตมันก็จะไม่ใส ส่วนมากมักจะเป็นแกนแดง เพราะแกนแดงนี้เป็นปีติ ก็แสดงว่ากำลังใจของเราเข้าอยู่ถึง ฌานที่ ๓[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเป็นแก้วใสสะอาดทั้งหมด[/FONT][FONT=&quot] จะไม่มีอะไรติดอยู่เลย ก็แสดงว่าจิตตกอยู่ในสภาพของ ฌานที่ ๔[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าจะพยายามอย่างเลวที่สุด ตอนเช้ามืดตื่นขึ้นมานี่เราจะชำระจิตให้มันตั้งอยู่ในเกณฑ์ของฌานที่ ๔ เป็นปกติ คราวนี้เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานที่ ๔ เป็นปกติ ก็จงอย่าคิดว่าจิตของเราดี เพราะว่าฌาน ๔ นี่เป็นฌานโลกีย์ มันมีขึ้นๆ ลงๆ กระทบกับโลกธรรม ๘ ประการเข้า มันก็มีการหวั่นไหว จงพยายามชำระจิตใจของเราให้ยิ่งไปกว่านั้น คือทำใจให้ใสสะอาด มีประกายเกิดขึ้น[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าการเป็นประกายรอบๆ ตัวยังมีปริมาณน้อย[/FONT][FONT=&quot] ขึ้นชื่อว่าจิตทรงวิปัสสนาญาณอยู่ด้วย[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าเป็นประกายของจิตล้ำลึกเข้ามา ๒๕ เปอร์เซ็นต์[/FONT][FONT=&quot] ก็หมายความว่าจิตขณะนั้นเป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าลึกเข้าไปประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์[/FONT][FONT=&quot] ก็เป็นอารมณ์ของพระสกิทาคามี[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าลึกเข้าไปกว่าครึ่งจิต มีแก้วใสสะอาดอยู่ภายใน นอกนั้นเป็นประกายหมด[/FONT][FONT=&quot] นั่นเป็นอารมณ์ของพระอนาคามี[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าจิตเป็นประกายพรึกทั้งดวงเหมือนกับดวงสว่างจ้าหาแกนไม่ได้ อารมณ์ใจขณะนั้นเป็นอารมณ์ใจที่ตัดกิเลสเป็นเป็นสมุเฉทปหาน จิตว่างจากกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ ประการ แล้วก็ละสังโยชน์สิบประการได้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [FONT=&quot]การฝึก เจโตปริญาณ รู้ใจคนอื่นและก็ต้องรู้ใจตนเองเสียก่อน เมื่อสามารถทำให้คล่อง ตอนตื่นเช้ามืดขึ้นมา จะนั่งหรือว่าจะนอนก็ได้ไม่ห้าม พยายามขับกำลังใจให้มีความผ่องใสถึงที่สุดเท่าที่เราจะพึงทำได้ ถ้าเราพิจารณาจิตของเราทุกวันจนคล่องตัว ถึงแม้ว่าเวลากลางวันทำงานอยู่ มีภารกิจอยู่ ถ้าว่างนึกดูจิตทันที ว่าจิตของเรามีสีใดสีหนึ่ง พ้นจากสีใสเราจะต้องประณามทันที ว่าจิตเวลานั้นมันเลว เราต้องพยายามขับอารมณ์สีทั้งหลายเหล่านั้นไปเสียให้หมด จนปรากฏมีแต่สีใส[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกวันใจของท่านจะมีความสุข เรื่องความทุกข์ของโลกธรรมจะไม่มีในใจของท่าน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องให้เห็นว่า มันเป็นของธรรมดา แต่ถ้าหากว่าเราดูใจของเราจนคล่อง จะเห็นคนหรือได้ยินชื่อคนจะรู้ได้ทันทีว่าคนนี้ดีหรือชั่ว โดยไม่ต้องเห็นหน้ากัน ไม่ต้องตอบไม่ต้องเขียน ไม่ต้องหาหลักฐานใดๆ ทั้งหมด ใจจะบอกได้เลยว่าจิตของเขาชั่วหรือดี ถ้าชั่วในด้านของกิเลสตัณหาอะไรเรารู้ได้[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๔)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ[/FONT][FONT=&quot] ก็จงพยายามทำให้มันคล่อง เห็นสุนัขเราก็ลองนึกรวบรวมกำลังใจนิดหนึ่ง ทำให้มันเร็วที่สุด และวิธีที่ทำให้เร็วที่สุด หมายความว่าพอเห็นปั๊บรวบรวมกำลังใจทันที นึกปั๊บว่านี่เราเคยเกิดเป็นสุนัขหรือเปล่า และภาพแห่งการเกิดเป็นสุนัขมันก็จะปรากฏขึ้นมา เราก็จะทราบว่าสุนัขนี่เราเคยเกิด ถ้าเห็นสัตว์ประเภทใดก็ตาม เห็นคนประเภทไหนก็ตาม นึกว่า เอ๊ะ[/FONT][FONT=&quot]! สภาวะอย่างนี้มันเคยมีกับชีวิตเราหรือเปล่า อารมณ์จิตมันก็จะบอกทันทีว่าเคยเป็น เคยมี เคยดำรงอยู่ในสภาวะอย่างนี้ แต่ว่าสภาวะอย่างนั้นเราไม่สามารถจะทรงได้ เมื่อตายแล้วก็เปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งมาเกิดใหม่ในเวลานี้<o>

    </o>[/FONT] <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๕)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot](๖) และ (๗) อตีตัวสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุบันสังสญาณ ก็เช่นเดียวกัน หัดฝึกทำให้มันคล่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งญาณที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot](๘) ยถากัมมุตาญาณ ให้รู้ว่าความสุขหรือความทุกข์ของคนที่มีอยู่ เราก็ดี คนอื่นก็ดี ที่มีความเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะอาศัยกรรมชาติก่อน หรืออาศัยกรรมชาตินี้เป็นปัจจัย บางทีคนที่เขาทำดีแสนดีมาทุกชาติ แต่เขาก็ต้องมากระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เป็นที่ไม่ถูกใจ ถูกกลั่นแกล้งด้วยประการทั้งปวง เราก็จะรู้ได้ว่านั่นไม่ใช่กรรมที่เป็นอดีตของเรา เขาเป็นคนดีแต่คนที่ทำให้เขาเดือดร้อนนั่นแหละเป็นคนเลว จึงต้องลงอบายภูมิ นี่เราจะรู้ได้[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าเสด็จมาแนะนำ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]การฝึกกรรมฐานแบบนี้ ถือว่าเป็นการฝึกพระกรรมฐานที่มีกำไรที่สุด เราสามารถจะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้โดยไม่ขัดข้อง และขอทุกท่านจงรักษากำลังใจของตนให้คล่อง รักษาอารมณ์จิตให้เป็นปกติ ตอนที่อยู่กรุงเทพฯ ตอนกลางคืนเป็นวันสุดท้าย ที่เขามีการเจริญพระกรรมฐานปกติ คือ มโนมยิทธิ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]คืนนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมา ทรงหารือว่า [/FONT][FONT=&quot]“ลูกศิษย์ลูกหาของคุณ ควรจะใช้อารมณ์อธิษฐานได้แล้วหรือยัง”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ก็ได้กราบทูลท่านอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“เรื่องนี้ขอเป็นภาระหน้าที่ของพระองค์”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]สมเด็จพระบรมครูก็เลยทรงบอกว่า [/FONT][FONT=&quot]“เป็นการสมควรจะเตรียมตัวไว้เพื่อการอธิษฐาน การอธิษฐานนั้นคือการใช้กำลังจิตให้ระลึก เพราะว่าถึงอภิญญาหกก็ยังไม่ได้ เพราะว่าการฝึก มโนมยิทธิ นี้ เป็นการฝึกไว้เพื่อรองรับอภิญญาหกที่จะมีข้างหน้า นี่การที่ท่านเสด็จมาแนะนำให้ใช้การอธิษฐานนี้ ก็เพื่อเตรียมรองรับอภิญญาหก ถ้าเห็นว่าการอธิษฐานทรงตัวไม่ดี อภิญญาหกมันก็จืด เพราะว่าอภิญญาหกนี่ความจริงไม่มีอะไรมาก เราทำได้อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างอื่นก็ทำได้หมดเลยทุกอย่าง แต่ทว่ากาลเวลา เวลานี้มันยังมาไม่ถึง ในเมื่อขอเป็นภาระของพระองค์ พระองค์ตรัสว่า “รอสักสองสามปีนะ อีก ๒-๓ ปี เธอจะทำกันได้”<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ฉะนั้น ในเมื่อท่านเกริ่นมาแบบนี้ ก็แสดงว่าท่านเอาจริง หากว่าท่านไม่เห็นเหตุ ท่านไม่เห็นผล ท่านไม่ตรัส พระพุทธฎีกาขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคข์ต้องเป็นความจริงทุกอย่าง พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูทรงรู้ทั้งหมด รู้ว่าผลที่มันจะเกิดได้หรือไม่เกิด ตามเวลาที่จะพึงทำในเวลานั้น ควรเป็นเวลาใด [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ฉะนั้น เข้าใจว่าอีกสองสามปีข้างหน้า การเริ่มอภิญญาหกอาจมีขึ้น อาจจะเป็นการสอนแบบธรรมดานั้นก็ได้ คือเริ่มมีจิตอธิษฐาน ก็หมายถึงเริ่มแบบปฏิบัติ การอธิษฐานจิตในด้านของอภิญญา ก็ไม่มีอะไรมาก มันขึ้นอยู่กับความคล่องของจิต ความเข้าข้นของฌาน
    [/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]วิธีปฏิบัติในด้านของอภิญญา[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]สมมติว่าเราจะดูแก้วข้างหน้านี้ จะทำแก้วให้กลายเป็นน้ำ อันดับแรกตั้งอารมณ์ไว้ขั้นอุปจารสมาธิ เวลานี้เราจับภาพพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เราก็จับภาพพระพุทธเจ้าให้มีอารมณ์แจ่มใส เห็นพระองค์ใสเป็นประกายทั้งองค์ พระองค์ก็ใสแสดงว่าใจเราใส [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อใจมีความสบายแล้ว จงอธิษฐานจิตว่า ขอให้แก้วนี้กลายเป็นน้ำ หลังจากนั้น ก็ทำจิตเข้าจับถึงฌาน ๔ โดยไม่สนใจภาพนั้น คือจับพระรูปพระโฉมโนมพรรณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ใสเป็นประกายแพรวพราว ให้จิตทรงตัวอยู่พอสมควร และก็ถอยหลังลงมาอีกทีอธิษฐานอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็เอาจิตเข้าไปจับภาพพระอีกครั้งหนึ่ง ถอยหลังมาอีกที ตอนนี้แก้วจะกลายเป็นน้ำถ้าเราทำได้นะ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]อันดับแรกให้เตรียมตัวในขั้นต้น คือทุกท่านนะ ความจริงปรารถนาอย่างนั้น ให้พยายามรักษากำลังใจไว้ครั้งหนึ่ง ประมาณ ๕ นาที ๑๐ นาที เป็นอย่างมาก จิตก็จับพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค หรือว่าจะดูกระแสจิตของคน จับภาพจิตของคนก็ดี พระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระชินศรีก็ดี เอาให้เป็นประกายแจ่มใสแพรวพราว[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ผลแห่งการปฏิบัติ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]ทีหลังจิตนึกถึงทีไร เห็นอย่างนั้นทุกที นึกขึ้นมาทีไร นึกปั๊บเห็นปุ๊บตามสภาพนั้นทันที อย่างนี้เรียกว่าจิตมีการคล่องตัว การทำอย่างนี้มันมีผล ๓ อย่างด้วยกันคือ[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๑)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]เราสามารถทำจิตของเราเข้าสู่ญาณขั้นสูงให้ได้เร็ว[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๒)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]มีกำลังใจในการเข้าไปตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหาน เพราะศีลนั้นเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ[/FONT][FONT=&quot]<o></o>[/FONT]
    <!--[if !supportLists]-->[FONT=&quot](๓)[/FONT]<!--[endif]-->[FONT=&quot]สมารถจะระลึก และระลึกอะไรได้ตามอัธยาศัย[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ทว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาที่พระองค์ทรงเห็นสมควร ที่พระองค์ตรัสว่า จะใช้เวลาต่อไปอีกสามปีข้างหน้าอภิญญาจะเข้า หากว่าบรรดาภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีความปรารถนาในการตั้งจิตอธิษฐานจิต แต่ความจริงการอธิษฐานจิตน่ะดี ทำให้จิตของเราตั้งอยู่ในฌานเป็นปกติ มีประโยชน์ในการตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ไม่ใช่ว่าจะศึกษาให้เกิดกรรม เป็นการศึกษาไว้เป็นเครื่องมือในการทำลายกิเลส แต่ระวังนะ อารมณ์มิจฉาทิฏฐิอย่าให้เกิดขึ้น[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงทรงปรารภแบบนี้ พวกเราก็ลองฝึกกันไปเรื่อยๆ ทำงานอยู่ เดินอยู่ กินอยู่ คุยอยู่ สามารถเอาจิตจับภาพนั้นปั๊บทันที ให้จิตทรงตัว เห็นภาพพระพุทธเจ้าเป็นประกายใสสะอาดแพรวพราวเต็มอัตราทั้งรูป เอาภาพพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เพราะว่าเราฝึก มโนมยิทธิ ไม่ต้องไปใช้กสินทั้งสิบ เอาภาพของพระพุทธเจ้านั่นแหละเป็นกสินอย่างเดียวพอ เพราะว่าภาพต่อไปถ้าเราจะใช้ในงาน เพราะประสงค์อะไร ประสงค์จะให้น้ำมันแข็งเป็นดินหรือเป็นหิน ก็ใช้การอธิษฐานเนื่องด้วย ปฐวีกสิน ถ้ามีดินอยู่ไม่มีน้ำ และต้องการให้ดินอ่อนใช้ อาโปกสิน ก็อธิษฐานว่าในที่นี้จงมีน้ำ อย่างนี้ชื่อว่าเป็นการปรารภ อาโปกสิน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]แต่ทว่าทำ มโนมยิทธิ ได้อย่างเดียวมีผลทุกอย่าง เพราะนี่เป็นกิจที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ เพราะว่าตามที่พระองค์มีพุทธประสงค์ ไม่ได้มีประสงค์อันเป็นการโอ้อวดชาวบ้าน ต้องการให้ฝึกฝนกำลังจิตให้มีความคล่องในฌาน[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]และก็พวกเราได้ สามารถจะเที่ยวในภพต่างๆ ได้ตามอัธยาศัย ถ้าใจเรารักพระนิพพานเป็นอารมณ์ แต่การทำจิตเป็นอย่างนั้น การตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานก็ได้โดยเร็ว [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ฉะนั้น หากว่าท่านผู้ใดต้องการ ก็พยายามฝึกฝนใจของตนเอง จะได้ไม่ต้องเสียเวลากินอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ นั่งอยู่ ทำงานอยู่ พูดอยู่ ใช้กำลังใจจับปั๊บได้ทันที จับปั๊บได้ทันทีอย่างนี้ใช้ได้ คำว่าใช้ได้นี่ ไม่ให้นิวรณ์เป็นเจ้านายของจิต[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]นี่การทำอย่างนี้นะ อย่าพึงเข้าใจว่าองค์สมเด็จพระธรรมสามิสรต้องการให้เราเอาความดี มีฤทธิ์เข้าไปอวดชาวบ้าน ถ้าคิดอย่างนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอันว่าความดีที่เรามีจะต้องถูกประหัตประหาร [/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]เอาละต่อแต่นี้ไป ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สำหรับผู้มาใหม่ ถ้ายังไม่ได้ ให้ใช้คำภาวนาว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะ พะธะ”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลาหายใจเข้านึกว่า [/FONT][FONT=&quot]“นะมะ”<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]เวลาหายใจออกนึกว่า [/FONT][FONT=&quot]“พะธะ”<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]ให้จิตทรงอยู่เช่นนี้นะ เพราะการจะไปไหนได้หรือไม่ได้ เป็นหน้าที่ของครูผู้สอน เวลาครูผู้สอนจะแนะนำท่าน ขอท่านวางคำภาวนาเสีย ทำใจให้สบาย ฟังคำแนะนำจากครู ครูว่าอย่างไรตัดสินใจไปตามนั้น[/FONT][FONT=&quot]<o>

    </o>[/FONT] [FONT=&quot]หลังจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก พร้อมคำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกเวลาว่าครูจะเข้าไปแนะนำศิษย์ สวัสดี<o>.</o>[/FONT]
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญครับ
    www.buddhasattha.com<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...