เรื่องเด่น คำสอนหลวงพ่อเรื่อง “พิจารณาในวิปัสสนาญาณ ๙”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 7 กันยายน 2017.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731
    หลวงพ่อฤษี-002-พลังจิต1.jpg

    คำสอนหลวงพ่อเรื่อง “พิจารณาในวิปัสสนาญาณ ๙”..

    .. การละสังโยชน์ เพื่อพ้นทุกข์ โดยการเดินศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพิจารณาในลำดับวิปัสสนาญาณ ๙ สังโยชน์ ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อยๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่า “ท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผล”

    เครื่องวัดอารมณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้ แล้วพิจารณาไปตามแบบท่านสอน เอาอารมณ์มาเปรียบเทียบกับสังโยชน์ ๑๐ ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อ ข้อต้นๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหาข้ออื่น ทำอย่างนี้ได้ผลเร็ว เพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย จะชนะหรือไม่ชนะก็ขอต้นนี้แหละ เพราะเป็นของใหม่ และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา

    ถ้าด่านหน้าแตก ด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้ ต่อไปจะนำเอาวิปัสสนาญาณสามนัยมากล่าวไว้ พอเป็นแนวปฏิบัติพิจารณา วิปัสสนาญาณ ๙

    ๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ

    ๒.ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ

    ๓.ภยตปัฏฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว

    ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร

    ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย

    ๖.มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย

    ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร

    ๘.สังขารุเปกขาญาณ ไปเจอเห็นว่าควรวางเฉยในสังขาร

    ๙.สัจจานุฌลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ

    ญาณทั้ง ๙ นี้ ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘ เท่านั้น
    ส่วนญาณที่ ๙ นั้นเป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง ๘ นั้นโดยอนุโลมและปฏิโลม

    คือ พิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘ แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑ จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็น “เอกัคคตารมณ์” ทุกๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่ “โครตภูญาณ” คือ “จิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา”

    เห็นเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อนก็ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อน ไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความผูกพัน

    ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำความเกิด ความดับ ความตายได้ เป็นต้น คำว่า ครอบงำ หมายถึง ความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว

    ใครจะตายหรือเราจะตายไม่หนักใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไป

    นอกจากระงับความหวั่นไหวที่เคยเกิด เคยหวั่นไหวได้แล้ว จิตจะมีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะ มีความนึกคิดถึงพระนิพพานเป็นปกติ

    คล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืน เดิน ทำกิจการงานอยู่ก็ตาม จิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้ บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรักขึ้นมาเฉยๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียก

    ทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรักมีอารมณ์ผูกพันฉันใด ท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โครตภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน หลังจากเข้าสู่โครตภูญาณเต็มขั้นแล้ว

    จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน คือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือ “เป็นพระโสดาบัน” ..

    (พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
    ที่มาจาก.. รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม ๑



    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     

แชร์หน้านี้

Loading...