คิหิปฏิบัติ

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <center> [SIZE=+2]คิหิปฏิบัติ[/SIZE] </center>
    <center> [SIZE=+1]จตุกกะ [/SIZE] </center> <center> [SIZE=+1]กรรมกิเลส คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง [/SIZE] </center> ๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
    ๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
    ๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
    ๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
    ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
    กรรม ๔ อย่างนี้ นักปราชญ์ไม่สรรเสริญเลย




    <center> [SIZE=+1]อบายมุข คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ๔ อย่าง [/SIZE] </center> ๑. ความเป็นนักเลงหญิง
    ๒. ความเป็นนักเลงสุรา
    ๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
    ๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร
    โทษ ๔ ประการนี้ไม่ควรประกอบ




    <center> [SIZE=+1]ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง[/SIZE] </center> ๑.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี
    ๒.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวง หา มาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตัว ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี
    ๓.กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดีไม่คบคนชั่ว
    ๔.สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ไม่ ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก




    <center> [SIZE=+1]สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ภายหน้า ๔ อย่าง[/SIZE] </center> ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
    ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากายวาจาเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ
    ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้ แก่ ผู้อื่น
    ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา รูจัก บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น




    <center> [SIZE=+1]มิตตปฏิรูป คือ คนเทียมมิตร ๔ จำพวก[/SIZE] </center> ๑. คนปอกลอก
    ๒. คนดีแต่พูด
    ๓. คนหัวประจบ
    ๔. คนชักชวนในทางฉิบหาย
    คน ๔ จำพวกนี้ ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ไม่ควรคบ



    [SIZE=+1]๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔[/SIZE]
    (๑) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
    (๒) เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก
    (๓) เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับเอากิจของเพื่อน
    (๔) คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว



    [SIZE=+1]๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ ๔[/SIZE]
    (๑) เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย
    (๒) อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย
    (๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
    (๔) ออกปากพึ่งมิได้



    [SIZE=+1]๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔[/SIZE]
    (๑) จะทำชั่วก็คล้อยตาม
    (๒) จะทำดีก็คล้อยตาม
    (๓) ต่อหน้าว่าสรรเสริญ
    (๔) ลับหลังตั้งนินทา



    [SIZE=+1]๔. คนชักนำในทางฉิบหาย มีลักษณะ ๔[/SIZE]
    (๑) ชักชวนดื่มน้ำเมา
    (๒) ชักชวนเที่ยวกลางคืน
    (๓) ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น
    (๔) ชักชวนเล่นการพนัน




    <center> [SIZE=+1]มิตรแท้ ๔ จำพวก[/SIZE] </center> ๑. มิตรมีอุปการะ
    ๒. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข
    ๓. มิตรแนะนำประโยชน์
    ๔. มิตรมีความรักใคร่
    มิตร ๔ จำพวกนี้เป็นมิตรแท้ ควรคบ



    [SIZE=+1]๑. มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ ๔[/SIZE]
    (๑) ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
    (๒) ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
    (๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
    (๔) เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก



    [SIZE=+1]๒. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข มีลักษณะ ๔[/SIZE]
    (๑) ขยายความลับของตนแก่เพื่อน
    (๒) ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย
    (๓) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
    (๔) แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้



    [SIZE=+1]๓. มิตรแนะนำประโยชน์ มีลักษณะ ๔[/SIZE]
    (๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
    (๒) แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
    (๓) ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    (๔) บอกทางสวรรค์ให้



    [SIZE=+1]๔. มิตรมีความรักใคร่ มีลักษณะ ๔[/SIZE]
    (๑) ทุกข์ ๆ ด้วย
    (๒) สุข ๆ ด้วย
    (๓) โต้เถียงคนอื่นที่ติเตียนเพื่อน
    (๔) รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน




    <center> [SIZE=+1]สังคหวัตถุ ๔ อย่าง[/SIZE] </center> ๑. ทาน ให้ปันสิ่งของ ๆ ตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน
    ๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
    ๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    ๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว
    คุณทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของผู้อื่นไว้ได้




    <center> [SIZE=+1]สุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง[/SIZE] </center> ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์
    ๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค
    ๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
    ๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ




    <center> [SIZE=+1]ความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง[/SIZE] </center> ๑. ขอสมบัติจงเกิดแก่เราโดยทางชอบ
    ๒. ขอยศจงเกิดแก่เรากับญาติพวกพ้อง
    ๓. ขอเราจงรักษาอายุให้ยืนนาน
    ๔. เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์




    <center> [SIZE=+1]ธรรมเป็นเหตุให้สมหมายมีอยู่ ๔ อย่าง[/SIZE] </center> ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
    ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
    ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยบริจาคทาน
    ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา




    <center> [SIZE=+1]ตระกูลอันมั่นคงจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน ๔[/SIZE] </center> ๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
    ๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
    ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
    ๔. ตั้งสตรีให้บุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน
    ผู้หวังจะดำรงตระกูลควรเว้นสถาน ๔ ประการนี้เสีย




    <center> [SIZE=+1]ธรรมของฆราวาส ๔[/SIZE] </center> ๑. สัจจะ สัตย์ซื่อแก่กัน
    ๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
    ๓. ขันติ อดทน
    ๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน




    <center> [SIZE=+1]ปัญจกะ[/SIZE] </center> [SIZE=+1]ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕ อย่าง[/SIZE] [SIZE=+1]แสวงหาโภคทรัพย์ได้ในทางที่ชอบแล้ว[/SIZE] ๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
    ๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
    ๓. บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่างๆ
    ๔. ทำพลี ๕ อย่าง คือ
    ก. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
    ข. อติถิพลี ต้อนรับแขก
    ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
    ง. ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากร เป็นต้น
    จ. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา



    [SIZE=+1]ศีล ๕[/SIZE]
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
    ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
    ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
    ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
    ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มน้ำเมา คือสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    ศีล ๕ ประการนี้ คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์




    <center> [SIZE=+1]มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง[/SIZE] </center> ๑. ค้าขายเครื่องประหาร
    ๒. ค้าขายมนุษย์
    ๓. ค้าขายสัตว์เป็น สำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
    ๔. ค้าขายน้ำเมา
    ๕. ค้าขายยาพิษ
    การค้าขาย ๕ อย่างนี้ เป็นข้อห้ามอุบาสกไม่ให้ประกอบ




    <center> [SIZE=+1]สมบัติของอุบาสก ๕ ประการ[/SIZE] </center> ๑. ประกอบด้วยศรัทธา
    ๒. มีศีลบริสุทธิ์
    ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
    ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา
    ๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา
    อุบาสกพึ่งตั้งอยู่ในสมบัติ ๕ ประการ และเว้นจากสมบัติ ๕ ประการ ซึ่งวิปริตจากสมบัตินั้น




    <center> [SIZE=+1]ฉักกะ[/SIZE] </center> [SIZE=+1]ทิศ ๖[/SIZE] ๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดา บิดา
    ๒. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์
    ๓. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง บุตร ภรรยา
    ๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร
    ๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว
    ๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์



    [SIZE=+1]๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดา บิดา บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ท่านได้เลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
    (๒) ทำกิจของท่าน
    (๓) ดำรงวงศ์สกุล
    (๔) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก
    (๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
    [SIZE=+1]มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
    (๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี
    (๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
    (๔) หาภรรยาที่สมควรให้
    (๕) มอบทรัพย์ให้ในสมัย



    [SIZE=+1]๒.ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์ศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ด้วยลุกขึ้นยืนรับ
    (๒) ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้
    (๓) ด้วยเชื่อฟัง
    (๔) ด้วยอุปัฏฐาก
    (๕) ด้วยศิลปวิทยาโดยเคารพ
    [SIZE=+1]อาจารย์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) แนะนำดี
    (๒) ให้เรียนดี
    (๓) บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง
    (๔) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง
    (๕) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย (คือจะไปทิศไหนก็ไม่อดอยาก)



    [SIZE=+1]๓. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
    (๒) ด้วยไม่ดูหมิ่น
    (๓) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ
    (๔) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้
    (๕) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว
    [SIZE=+1]ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) จัดการงานดี
    (๒) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี
    (๓) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว
    (๔) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้
    (๕) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง



    [SIZE=+1]๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ด้วยให้ปัน
    (๒) ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ
    (๓) ด้วยประพฤติประโยชน์
    (๔) ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ
    (๕) ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง
    [SIZE=+1]มิตรได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว
    (๒) รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว
    (๓) เมื่อมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำนักได้
    (๔) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
    (๕) นับถือตลอดถึงวงศ์มิตร




    [SIZE=+1]๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว นายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง
    (๒) ด้วยให้อาหารและรางวัล
    (๓) ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บป่วย
    (๔) ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน
    (๕) ด้วยปล่อยให้สมัย
    [SIZE=+1]บ่าวได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย
    (๒) เลิกการงานทีหลังนาย
    (๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้
    (๔) ทำการงานให้ดีขึ้น
    (๕) นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้นๆ



    [SIZE=+1]๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์ กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕[/SIZE]
    (๑) ด้วยกายกรรม คือทำอะไรๆ ประกอบด้วยเมตตา
    (๒) ด้วยวจีกรรม คือพูดอะไรๆ ประกอบด้วยเมตตา
    (๓) ด้วยมโนกรรม คือคิดอะไรๆ ประกอบด้วยเมตตา
    (๔) ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน
    (๕) ด้วยให้อามิสทาน
    [SIZE=+1]สมณพราหมณ์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖[/SIZE]
    (๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว
    (๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี
    (๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม
    (๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
    (๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม
    (๖) บอกทางสวรรค์ให้



    [SIZE=+1]อบายมุข คือเหตุเครื่องฉิบหาย ๖[/SIZE]
    ๑. ดื่มน้ำเมา
    ๒. เที่ยวกลางคืน
    ๓. เที่ยวดูการเล่น
    ๔. เล่นการพนัน
    ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร
    ๖. เกียจคร้านทำการงาน
    [SIZE=+1]๑. ดื่มน้ำเมา มีโทษ ๖[/SIZE]
    (๑) เสียทรัพย์
    (๒) ก่อการทะเลาะวิวาท
    (๓) เกิดโรค
    (๔) ต้องติเตียน
    (๕) ไม่รู้จักอาย
    (๖) ทอนกำลังปัญญา



    [SIZE=+1]๒. เที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖[/SIZE]
    (๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว
    (๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย
    (๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
    (๔) เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย
    (๕) มักถูกใส่ความ
    (๖) ได้ความลำบากมาก



    [SIZE=+1]๓. เที่ยวดูการเล่น มีโทษตามวัตถุที่ไปดู ๖[/SIZE]
    (๑) รำที่ไหนไปที่นั่น
    (๒) ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น
    (๓) ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น
    (๔) เสภาที่ไหนไปที่นั่น
    (๕) เพลงที่ไหนไปที่นั่น
    (๖) เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น



    [SIZE=+1]๔. เล่นการพนัน มีโทษ ๖[/SIZE]
    (๑) เมื่อชนะย่อมก่อเวร
    (๒) เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
    (๓) ทรัพย์ย่อมฉิบหาย
    (๔) ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ
    (๕) เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน
    (๖) ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย



    [SIZE=+1]๕. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษตามบุคคลที่คบ ๖[/SIZE]
    (๑) นำให้เป็นนักเลงการพนัน
    (๒) นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
    (๓) นำให้เป็นนักเลงเหล้า
    (๔) นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
    (๕) นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
    (๖) นำให้เป็นคนหัวไม้



    [SIZE=+1]๖. เกียจคร้านการทำงาน มีโทษ ๖[/SIZE]
    (๑) มักอ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน
    (๒) มักอ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน
    (๓) มักอ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน
    (๔) มักอ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน
    (๕) มักอ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน
    (๖) มักอ้างว่า ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน
    ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย ๖ ประการนี้เสีย

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...