คืนนี้ห้ามพลาด รายการเรื่องจริงผ่านจอ ช่อง7

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย horasarn, 9 มีนาคม 2006.

  1. horasarn

    horasarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +3,255
    กรุณาอย่าพลาด "ดูเรื่องจริงผ่านจอคืนนี้" ช่อง 7 สีเวลา 22.22 น. (9 มี ค 49)

    มีภิกษุณีรูปหนึ่ง อายุราวๆ33-34 ท่านออกบวชปฎิบัติธรรมตามแนวทางมหายาน
    จนได้บรรลุธรรมระดับหนึ่ง โดยศพของท่านเมื่อได้ผ่านการอุทิศภาวนา โดยการภาวนา "อมิตาพุทธ" ระลึกถึงพุทธานุสติตลอด 6วัน แล้ว ปรากฏว่าร่างกายของท่านจากเขียวคล้ำตัวแข็งเหมือนศพคนตายทั่วไป ผิวพรรณก็กลายเป็นคล้ายๆคนนอนหลับอยู่ ใบหน้ามีเลือดฝาด แดงสดใสมีชีวิตชีวาขึ้น ร่างกายที่แข็งกลับอ่อนนุ่ม พลิกไปมาเหมือนคนยังมีชีวิต

    หลังจากการฌาปนกิจแล้ว กระดูกของท่านก็กลายเป้นพระธาตุ มีสีสรรงดงามหลากสี
    มีสัณฐานคล้ายดอกไม้ หรือปะการัง และปรากฏว่ามีปาฎิหาริย์อื่นๆอีก

    ขอให้ท่านได้โปรดแนะนำญาติมิตรพี่น้องมาดูด้วย จะได้เป็นว่า กฏแห่งกรรมนั้นมีจริง
    มีพระผุ้ปฎิบัติดีปฏิบัติชอบจริง มีมรรคมีผลจริง

    http://www.thairealtv.com/thisweek/index.php#top
     
  2. คนลึกลับ

    คนลึกลับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +216
    ครับความจริงเป็นวิชาสมาธิกายสายรุ้งครับเป็นวิชาสมาธิแบบธิเบตหากฝึกสำเร็จผิวพรรณก็กลายเป็นคล้ายๆคนนอนหลับอยู่ ใบหน้ามีเลือดฝาด แดงสดใสมีชีวิตชีวาขึ้น ร่างกายที่แข็งกลับอ่อนนุ่ม พลิกไปมาเหมือนคนยังมีชีวิต มีพบในหลายๆท่านครับไม่แปลกครับกระดูกก็จะมีหลายสีด้วยนะครับพระวัดเส้าหลินหลายๆรูปเวลามรณะไปก็เป็นแบบนี้ครับที่ธิเบตพบมากจนเห็นเป็นเรื่องปกติครับ
     
  3. คนลึกลับ

    คนลึกลับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +216
    ในเมืองไทยก็มีครับที่วัดโพธิ์แมนครับ
     
  4. คนลึกลับ

    คนลึกลับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +216
    พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ฯโพธิ์แจ้งมหาเถระ อดีตเจ้าคณะใหญ่ สงฆ์จีนนิกาย รูปที่6 ประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกายรูปที่1 เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์ แมนคุณาราม เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิทัตตา ราม ศรีราชา ชลบุรี ก่อนมรณภาพ เมื่อ วันที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2529 ท่านดำรงสมณะ ศักดิ์พระราชาคณะชั้นสัญญาบัตร(เทียบชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา ในราชทินนามพระมหา คณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ
    - ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้ง สถานะเดิมชื่อธง สกุลอึ้ง ท่านกำเนิดเมื่อ วันที่ 16 เดือน 6 จีน ปืนขาล พ.ศ.2444 จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑล กวางตุ้ง ประเทศจีน บิดาเป็น ขุนนางชั้นผู้ใหญ่มารดาจางไทฮูหยินเกิดในตระกูลเตียท่านสืบเชื้อสายขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและ มารดาซึ่งเป็นอุบาสก อุบาสิกา เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา
    - ท่านเจ้าคุณอาจารย์ กำพร้าบิดามาแต่เยาว์วัย จางไทฮูหยินมารดา ได้ อบรมบุตรให้ประพฤติในธัมมานุธรรมปฏิบัติท่านได้รับการศึกษาตามแบบจีนเก่าจบชั้นมัธยม บริบูรณ์ในประเทศจีนสมัย นั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม ได้เข้ารับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่งในขณะ รับราชการทหารอยู่ ท่านได้สติเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสวิสัย จึงตั้งปณิธาน น้อมจิตเข้าสู่ พุทธธรรม การตัดสินใจในครั้งนั้นเป็นผลดีต่อพุทธศาสนาและ คณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศ ไทย อย่างมหาศาล สาธุชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมายได้รับการชักนำจากท่านเข้า สู่พุทธธรรม พระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานได้ตั้งมั่น สืบต่อ ยั่งยืนในภูมิภาคนี้
    - ในปี 2470 ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ อายุย่างเข้า 26 ปีได้เดินทาง เข้ามาในประเทศไทย เพื่อศึกษาหลักธรรมและสักการะปูชนียะสถานต่างๆ ตามที่ท่านได้รับฟัง มาก่อน พร้อมกับได้สืบเสาะหาพระอาจารย์ที่มีบารมี ความรู้ เมื่อพบจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ขอบรรพชาในสำนักพระอาจารย์ หล่งง้วน เป็นอุปัชฌาย์และบรรพชา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2471 ณ.สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน(เช็งจุ้ยยี่) พระพุทธบาท สระบุรี ท่านอาจารย์หล่งง้วนได้ บรรพชาให้ และให้ฉายา ท่านว่า “โพธิ์แจ้ง”หลังจากบรรพชาแล้วท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งหน้าศึกษาบำเพ็ญเพียรปฏิบัติกรรมฐานอย่าง มุ่งมั่น บริเวณวัดถ้ำประทุนในขณะนั้นยังห่างไกลความเจริญ การสัญจรไม่สะดวก คนไปมาหา สู่น้อยเต็ม ไปด้วยสัตว์ร้าย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งมั่นปฏิบัติพร้อม กับการสังคมสงเคราะห์ ด้วยท่านได้เคยเรียนรู้เรื่อง ตำรับยามาบ้าง เมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ได้ ท่านก็เป็นธุระรักษาพยาบาลให้บาง รายอาการหนักถึงแก่กรรม ท่านก็ช่วย ประกอบกิจการศพ ให้ ท่านยังได้ทำการพัฒนาสภาพแวดล้อมต่างๆ ตามโอกาส เช่น ท่านได้สกัดหินภูเขาเพื่อ สร้างทางเดิน ให้ชาวบ้าน เป็นต้น ด้วยความยากลำบาก ความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสังคม ความมุ่งมั่นใน การ บำเพ็ญเพียร จนครั้งหนึ่งท่านได้เกิดโรคไข้จับสั่น ทุกข์เวทนามาก แต่ ท่านก็ไม่ย่อท้อ เมื่อหนาวสั่นก็ออกไปทุบหิน จนร่างกายที่หนาว กลับกลายเป็นร้อน เมื่อร้อน เหงื่อโชกก็พักหายเหนื่อยก็ไปสรงน้ำ ทำเช่นนี้ตลอด ชั่วระยะเวลาไม่กี่วัน ท่านก็สามารถเอา ชนะโรคร้ายนั้นได้
    - ในสมัยนั้นพระสงฆ์จีนไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวจีนมากนัก ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้พิจารณาเหตุแห่งสภาพนั้น พร้อมทั้งตั้งสัจจะ ปณิธานที่จะปรับปรุงคณะสงฆ์จีนใหม่ เพื่อนำความเลื่อมใสศรัทธา รุ่งโรจน์ ให้บังเกิดขึ้นใน ภายภาคหน้า ซึ่งเป็นการง่ายในการตั้งปณิธานแต่ยากในการปฏิบัติ ด้วยว่าตนเองจะต้อง ประกอบด้วย ขันติ วิริยะ ปัญญา บารมี และคุณธรรม ด้วยปณิธานในครั้งนั้น ทำให้ท่านต้องรับ ความยากลำบากอย่างมาก ถึงขั้นมีผู้หมายปองชีวิต ดังเหตุการณ์ร้ายแรงเหตุการณ์หนึ่ง หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 5025 วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 ได้ลงข่าว พาดหัวว่า วางระเบิดสังหารสงฆ์ใหญ่จีน มือมืด ซุกใต้เบาะรถยนต์-นั่งทับ ระเบิด รอด มรณภาพได้ปาฏิหาริย์ ถึงแม้จะมีความยากลำบากในการสร้างความมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีน เพียงใดท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ยังคงมุ่งมั่นในการปฏิบัติ - ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บำเพ็ญเพียร ศึกษาปฏิบัติ ที่ วัดถ้ำประทุน จนแตกฉานในพระไตรปิฏกรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อุบาสก อุบาสิกา ผู้เคารพเลื่อมใสในกรุงเทพฯได้นิมนต์ ท่านแสดงธรรมโปรดชาวเมืองอยู่เนืองๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงได้ย้ายมา จำพรรษาอยู่ใน กรุงเทพ ณ.สำนักสงฆ์หมี่กัง สะพานอ่อน ขณะนั้นพุทธศาสนาฝ่ายจีนยังไม่แพร่หลาย วัดและ สำนักสงฆ์ ยังน้อย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ดำริว่า ต้องสร้างคนก่อนแล้วค่อยสร้างวัตถุ เมื่อคนมี ีคุณภาพทางจิตและผูกพัน การพัฒนา สังฆมณฑลจีนนิกายก็ราบรื่นและแพร่ไพศาล ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้เริ่มแผ่เมตตา รับสานุศิษย์(กุยอี)เข้าปฏิญาณตน เป็นพุทธมามะกะรับ คำสอนจากท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นรุ่นๆ รุ่นละร้อยกว่าคนบ้าง สองร้อยกว่าคนบ้างท่านเป็นที่ พึ่งแก่พุทธศาสนิกชน ่ทั้งชาวจีนและชาวไทยในกรุงเทพขณะนั้นและต่อๆมาวางรากฐานมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีนนิกาย ในประเทศไทย
    ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ ปฏิบัติเคร่งครัดในสีลาจารวัตร เมตตาสั่งสอน อบรมพุทธบริษัททั่วไปอย่างหมั่นเพียรจนได้รับ การยกย่องในหมู่คณะพระมหาเถรานุเถระของ ไทยว่ามีปฏิปทาไม่แปลกจากสงฆ์ไทยเลย สังฆกรรมใดซึ่งมีพระพุทธบัญญัติ ก็พยายามพื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติ เช่น พิธี กฐิน เป็นต้นด้วยความ เป็นสังฆราชาแห่งสำนักวินัยอันดับที่ 19 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ให้ความสำคัญ ในการปฏิบัติเคร่ง ครัด ในพระวินัย พร้อมทั้งสั่งสอน ควบคุม พระภิกษุ สามเณรในวัดให้เป็นผู้เคร่งครัดในการ ปฏิบัติพระวินัยด้วย ท่านเจ้าคุณ อาจารย์จึงมีคำสั่งให้พระภิกษุเย็นเกียรติ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดโพธิ์เย็น จัดการแปลสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์แห่งนิกายวินัย ซึ่งเป็นพากษ์ภาษาจีนออกสู่ พากย์ไทย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายบาลี และให้ผู้บวชเรียนชาวไทย ในกาลต่อมาได้เรียนรู้อย่างสะดวก พระภิกษุจีนนอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัตินี้ แล้ว ยังต้องปฏิบัติ โพธิสัตว์ สิกขาตามคติในนิกายมหายานอีกด้วย - วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2529 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้อาพาธ และถึงแก่มรณะภาพลง สิริอายุ 85 ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ ในการสวดพระอภิธรรม 7 วัน นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระมหากรุณา เสด็จพระราชดำเนินไปในการบำเพ็ญพระ ราชกุศลพระอภิธรรม แก่ศพท่านเจ้าคุณอาจารย์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2529 สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เสด็จพระราชดำเนิน บำเพ็ญ พระราชกุศลพระราชทานบรรจุศพ ท่านเจ้าคุณอา จารย์ ณ วัชระเจดีย์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นพระเถระต่างชาติรูปแรกที่ได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงเป็นเกียรติประวัติยามเมื่อท่าน ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านได้ละ สังขารแล้ว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ต่างๆ เป็นเกียรติประวัติที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สงฆ์จีนในประเทศไทย
    ก่อนท่านเจ้าคุณอาจารย์จะมรณะภาพท่านได้สั่งคณะศิษย์ไว้ว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็ให้เปิดวัชระเจดีย์และอัญเชิญสรีระของท่านออกมาเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2539 เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ปัจจุบัน ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ได้ประกอบพิธีเปิดวัชระเจดีย์เมื่อผู้ร่วมในพิธีทุกท่านได้เห็นสรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นที่ อัศจรรย์อย่างยิ่ง สรีระของท่านยังคง สมบูรณ์ดี แม้เวลาจะผ่านไปนานถึงสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็ มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นอีก ร่างของท่านได้ แบ่งสีสรรเป็นสามสีอย่างชัดเจนคอและ ศีรษะเป็นสีทอง ตัวเป็นสิเงิน จากข้อศอกทั้งสองข้าง และขาทั้งสอง ข้างเป็นสีโกโก้หรือสีของ เมื่อสัมผัสยังนุ่มนิ่มเหมือนเนื้อคนธรรมดา ขณะนี้สรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์แมนคุณารามเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2006
  5. คนลึกลับ

    คนลึกลับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +216
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2006
  6. คนลึกลับ

    คนลึกลับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +216
    [​IMG]
     
  7. pattinee

    pattinee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +34
  8. น้องไข่แมงสาบ

    น้องไข่แมงสาบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +501
    สาธุค่ะ
     
  9. ohogamez

    ohogamez เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +2,327
    คราวก่อนเล่าเรื่อง ที่พระยูไล หรือ พระอมิตาภะ เสด็จมาช่วยในการผ่านด่านธรรมภาคดำ พร้อมเหล่าโพธิสัตว์หลายพระองค์


    เมื่อสองสามวันมานี้ องค์พระอวโลกิ เตศวร ทรงมาสอนสหธรรมิกที่เจริญวิชชาธรรมกายร่วมกันท่านนั้น ให้ภาวนา " นำโม ออนีทอฮุก "

    ตลอดเวลา

    ก็เธอไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกันแหละว่า เป็นการเพ่งจิตเพื่อรับบารมีแห่งมหาพุทธะโพธิสัตว์ อมิตาภะ หรือองค์ยูไล

    ยินดีที่ได้พบเพื่อนที่มีประสพการณ์คล้ายกัน
     
  10. คนลึกลับ

    คนลึกลับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +216
    พุทธศาสนาวัชระยาน
    เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แค้วนพาราณสี ครั้งที่ 2 ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์ครั้งที่3ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาท ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้งการพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกายฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมายความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไป พร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์
    พระ อาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่14ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข”ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว ์พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ(บารมี 6 มีอยู่ในลิงค์มหายาน)พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมาความสมดุลก็ได้หายไป ความ อดทนมี 3 ประเภท
    1 อดทนต่อการต่อต้าน
    2 อดทนต่อความ ลำบากในการศึกษาและปฏิบัติ ธรรม
    3 อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตาการบำเพ็ญตน
    ตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก เพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยก แยะปัญญาไว้3ประเภทพื้นฐาน
    1 ปัญญา เกิดจากการมีความรู้
    2 ปัญญาเกิดจากการพินิจ พิจารณา
    3 ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ
    แต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น 1 ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ 2 ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ 3ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่นและยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีกเช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลกปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆในทางโลกในบารมี 6ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกายที่กล่าวมาทั้งหมดเป็น พื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยาน ต่อไป ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว1ปีพระพุทธเจ้าได้เทศนาสอน แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ


    แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุนในปืค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่16 ท่าน ธารานาถ ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุดทิเบตจึงรับคำสอน อย่างเต็มที่
    การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการมนตราภิเษก แล้ว ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน ถามว่าคำสอนวัชระยานคืออะไรเพื่ออะไร คำสอนวัชระยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอน อันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียวต้องศึกษาปฏิบัติคำ สอนตันตระ เท่านั้น ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับการบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้เราสามารถบินในระยะทางไกลๆได้ด้วยเวลาอันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วยเท่าเปล่าเป็นเดือน เป็นที่รู้กันว่าในทิเบตท่านมิลาเรปะท่าน ได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ แล้วตันตระคืออะไรตันตระ ตันตระโดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง อันเป็นคำสอนการ ปฏิบัติระดับสูงซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการมนตราภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามาก เข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษาหรือปฏิบัติตันตระไม่ผ่านการมนตราภิเษก การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษหรือยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ และมีประสิทธิภาพสูง ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่ เป็นลบต่างๆไม่มีพิษใดๆที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพ ซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไรคำสอนวัชระยานการปฏิบัติวัชระยานสามารถ ทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น แต่คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้อง การบรรลุรู้แจ้งเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว ้เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาว อินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบตเนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสัน สฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้นเราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบต เท่านั้นในปัจจุบันภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆ ที่เป็นสันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน
    พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์สองซันกัมโปเรืองอำนาจ ด้วยความสนพระทัยอันเป็น ทุนเดิมอยู่แล้วพร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระมเหสีชาวจีนและเนปาลซึ่งเป็นชาวพุทธ ที่เคร่งครัดถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิดั้งเดิม พุทธศาสนาเข้า สู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่าได้เกิดการสังคายนา พุทธศาสนา ณ กรุงลาซาเป็นการสังคายนาระหว่างนิกายเซ็นของจีนและวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชระยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนา วัชระยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าทิซองเด็ตเชนได้ทรงนิมนต์ ศานตรักษิตภิกษุชาวอินเดียและคุรุปัทมสมภพเข้ามาเพื่อแผ่แพร่พระธรรม โดยเฉพาะ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระ พุทธเจ้าองค์ที่ 2 และขานนามท่านว่ากูรูรินโปเช่ หรือแปลว่าพระอาจารย์ผู้ประเสริฐกูรูรินโปเช่ ได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาว ทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย
    นิกายสำคัญ 4 นิกายในทิเบต
    ณิงมาปะ
    เป็นนิกายแรกและเก่าแก่ดั้งเดิมและยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยถือว่า กำเนิดจากท่านคุรุปัทมสมภพ ณิงมาปะ ได้มีพัฒนาการครั้งใหญ่ๆ 3 ครั้ง คือ การเริ่มต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเริ่ม ต้นพุทธศาสนาของทิเบตด้วย และเป็นนิกายเดียวที่มีอยู่ในช่วงนั้น คือศตวรรษที่ 8-11 คำว่า ณิงมา แปลว่าโบราณ สัญลักษณ์ของนิกายคือใส่หมวกสีแดง ชาวทิเบตเลื่อมใสศรัทธา ท่านคุรุปัทมภพมากเชื่อว่าท่านเป็นผู้ทรงพลานุภาพอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือขจัดอุปสรรค ต่างๆได้จนหมดสิ้น ณิงมาปะได้เน้นในด้านพุทธตันตระ คำว่าตันตระนั้นแปลว่าเชือกหรือเส้น ด้ายใหญ่ๆหรือความต่อเนื่องซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดคำสอนจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ โดยไม่มีการขาดตอนโดยผ่านพิธีมนตราภิเษกและเป็นการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่าจาก อาจารย์สู่ศิษย์ ในคำสอนของตันตระจะเน้นในการสวดมนตราธารณี การใช้สัญลักษณ์มุทรา สัญลักษณ์มันดาลา ในการประกอบพิธีเพื่อเข้าสู่การบรรลุพระโพธิญาณ หลังจากสมัย คุรุปัทมสมภพแล้วก็ได้มีการค้นพบคำสอนซึ่งถูกซ่อนไว้โดยคุรุปัทมสมภพ ในทิเบตเรียกว่า เตอร์มา ซึ่งแปลว่าขุมทรัพย์อันล้ำค่า และได้ทำนายไว้ว่าในอนาคต ศิษย์ของท่านจะเป็นผู้ค้น พบและเปิดขุมทรัพย์ องค์คุรุปัทมสมภพได้ให้เหตุผลไว้ 3 ประการ 1เพื่อไม่ให้คำสอนผิดเพี้ยน ไปเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ 2 เพื่อให้พลังแห่งคำสอนนั้นอยู่ ครบถ้วนบริบูรณ์ 3 เพื่อเป็นการให้พร แก่คนรุ่นหลังที่ได้สัมผัสกับคำสอนดั้งเดิม
    คำสอนณิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสาร ของจักรวาลและเน้นถึงความเป็นไปได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้นหรือทันทีทันใดคำสอนของ ณิงมาปะ ได้แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น9ยานคือ สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และโพธิสัตว์ยาน คือสามยานขั้นต้น กริยาตันตระ จริยะตันตระ โยคะตันตระ เป็นสามยานในชั้นกลางหรือจัดเป็นตันตระต่ำและ มหาโยคะตันตระ อนุตรโยคะตันตระและอธิโยคะตันตระ สามยานสุดท้าย หรือจัดเป็นตันตระสูง อนุตรโยคะตันตระจัดเป็นตันตระสูงสุดของตันตระทุกระดับยกเว้น อทิโยคะตันตระ คุหยสมาช กาลจักร จักรสังวร ล้วนจัดอยู่ในอนุตรโยคะตันตระทั้งสิ้น ส่วน อทิโยคะตันตระหรือซกเชนถือเป็นตันตระพิเศษสูงสุดกว่าตันตระใดๆซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติของ สมัตรภัทรพุทธ เป็นวิธีการเจาะเข้าสู่พุทธะภาวะโดยตรงหกยานแรกเป็นพื้นฐานของพุทธ ตันตระทั่วไปทุกนิกายส่วนสามยานสุดแท้เป็นลักษณะพิเศษของณิงมา ท่านเชอเกียมตรุงปะ วัชราจารย์แห่งณิงมาผู้มีชื่อเสียงอย่างมากในโลกตะวันตกในศตวรรษที่20ได้กล่าวไว้ว่า หีนยานได้กล่าวว่าตนเข้าถึงความจริงแท้และให้หนทางที่ดีที่สุดมหายานก็กล่าวว่าพระโพธิ สัตว์ได้ให้หนทางที่ดีที่สุดในการเข้าสู่สัจจะธรรม ส่วนผู้ปฏิบัติวัชระยานก็ว่า มหาสิทธะผู้ทรง ฤทธิ์อำนาจวิเศษสามารถมอบ หนทางสู่การบรรลุได้อย่างวิเศษสุด คำถามและคำตอบมาก มายที่ได้เกิดขึ้นพร้อมกับความสับสนต่างๆนาๆแล้วอะไรเล่าจึงเป็นสิ่งที่ปรารถนาของศิษย์ ผู้ต้องการเข้าสู่พระพุทธธรรม อธิโยคะตันตระได้ให้คำตอบไว้ว่าการมองทุกสรรพสิ่งด้วยสาย ตาของเอกซ์เรย์ มองทุกสรรพสิ่งได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และ ปฏิบัติตนอย่างเปล่าเปลือยทะลุ ปรุโปร่งเช่นกัน นั่นจึงเป็นธรรมชาติแท้แห่งพุทธะภาวะ

    นิกายกาจู
    นิกายกาจูเป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งในต้นศตวรรษที่ 11 กาจูแปลว่าการถ่ายทอดคำสอนด้วย การบอกกล่าวจากอาจารย์สู่ศิษย์ผู้ก่อตั้งคือมาร์ปะผู้สืบสายคำสอนมาจากนาโรปะนักปราชญ์ผู้ ยิ่งใหญ่แห่งมหาวิหารนาลันทาผู้รับสืบทอดคำสอนมาจากติโลปะผู้ถือว่ารู้แจ้งเองไม่ปรากฎว่า ท่านได้รับคำสอนจากพระอาจารย์ท่านใด แต่ได้มีบันทึกบอกกล่าวไว้ว่าท่านได้รับคำสอนโดย ตรงจากพุทธวัชระธารา มาร์ปะเป็นลามะปราชญ์ผู้แปลพระธรรมที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งของ ทิเบต ท่านได้ถ่ายทอดคำสอนต่อให้มิลาเรปะ โยคีผู้บรรลุความรู้แจ้งในชีวิตนี้ นิกายกาจูได้ ชื่อว่านิกายขาวก็สืบเนื่องจากการครองผ้าของมิลาเรปะซึ่งท่านจะครองผ้าบางๆสีขาวหรืออาจ จะมาจากสัญลักษณ์ของวัดในกาจูปะซึ่งจะทาสีขาวทั้งหมด มาร์ปะและมิลาเรปะถือว่ามีความ สำคัญมากในพุทธตันตระของทิเบต ท่านได้ประพันธ์คำสอนไว้มากมาย มิลาเรปะ มีศิษย์ทั้งหมด21ท่าน ท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกัมโปปะ กาจูปะเป็นนิกายที่มีชื่อเสียงมากใน ศตวรรษที่13 เนื่องด้วยมิลาเรปะมีศิษย์หลายท่านกัมโปปะเองก็มีศิษย์หลายท่านทำให้นิกาย กาจูได้มีการพัฒนาไปตามแนวทางคำสอนของศิษย์แต่ละท่านได้รับจึงเกิดกิวในสายต่างๆขึ้น มามากมาย คำสอนของกาจูก็ไม่ได้แตกต่างไปจากนิกายอื่น คือเน้นไปที่พุทธตันตระ คำสอน คำสอนตันตระของกาจูเกี่ยวพันกับ ตันตระโยคะทั้ง 6 การสืบทอดวิญญาณและ การปฏิบัติ มหามุทรา
    นิกายสักกยะ
    นิกายนี้ได้มาจากชื่อของวัดสักกยะ คำว่าสักกยะหรือสำเนียงทิเบตว่าสักเจียแปลว่าดินชนิดหนึ่ง ในบริเวณจั้ง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำยาลุงซังโป วัดของสักกยะมีเอกลักษณ์คือทาสีเป็น3 แถบ คือแถบสีแดงสีขาวสีดำ สีทั้ง3เป็นสีแห่งพระโพธิสัตว์ 3 องค์ซึ่งนิกายสักกยะ ให้ความ สำคัญมาก คือ สีแดงสีแห่งพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ผู้ทรงปัญญาคุณ สีขาวสีแห่งพระอวโลติเก ศวรโพธิสัตว์ ผู้เมตตากรุณาคุณ สีดำสีแห่งพระวัชระปราณีโพธิสัตว์ ผู้ทรงพลาคุณ ในประเทศ ได้เรียกชื่อนิกายนี้ว่า นิกายหลายสี ซึ่งก็ได้เรียกมาจนถึง ทุกวันนี้นิกายสักกยะได้ตั้งขึ้นใน ศตวรรษที่ 11 ผู้ก่อตั้งนิกายคือผู้สืบเชื้อ สายขุนนางเก่าตระกูล คอน คอนโซก เกียวโป ท่านได้รับคำสอนตันตระกาลจักรจากบิดาซึ่งรับคำสอนมากจากวิรูปะโยคีชาวอินเดีย คอน คอน โซกเกียวโปได้เดินทางไปเรียนตันตระจากอาจารย์อีกท่านคือโยมิโลซาวา คอน คอน โซกเกียวโปได้สร้างวัดของนิกายสักกยะขึ้นใกล้แม่น้ำถอม เป็นบัญญัติของคอนคอนโซกเกียว โปว่าการสืบทอดในนิกายสักกยะจะสืบทอดเฉพาะคนในตระกูลคอนเท่านั้นตำแหน่งของเจ้านิ กายสักกยะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งในทางการเมืองและการศาสนาความสำคัญในเชิงประวัติ ศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าผู้สืบสายนิกายสักกยะท่านที่4คือคุงก้าเกียวเจนหรือสักกยะบันฑิตและ หลานของท่านที่ชื่อว่าพักปะโลดุปเกียวเจนทั้ง 2ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในการเมืองของทิเบตมาก ทั้ง2ท่านได้รับการเชิญจากโดยข่านชาวมงโกลให้ไปแผ่แพร่พุทธตันตระในประเทศจีนเป็นที่ เลื่อมใสแก่ข่านมงโกลอย่างมาก กุบไลข่านได้แต่งตั้งให้พักปะโลดุปเกียวเจนให้ปกครองทิเบต และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระสงฆ์นั้นปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนะจักร
    นิกายกาดัมและเกลูปะ
    จุดเริ่มของทั้ง 2 นิกายมาจากอติษะและศิษย์ของท่านชื่อดอมทอนปะ อติษะได้เน้นมากในเรื่อง คำสอนดั้งเดิมของพุทธศาสนาและเน้นในการปฏิบัติพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดโดยไม่เน้นในคำ สอนตันตระ ศิษย์ของอติษะได้ก่อตั้งนิกายกาดัมปะขึ้นคำว่ากาดัมแปลว่าคำสอนของพระพุทธ เจ้า เมื่อเวลาผ่านไปกาดัมปะได้สูญเอกลักษณ์ของตนเองไปบ้างด้วยแรงดึงดูดใจจากตันตระ ในศตวรรษที่14ซองคาปาพระภิกษุที่มีชื่อเสียงทรงความรู้ความสามารถในการจัดการองค์กรได้ ศึกษาคำสอนของอติษะได้ปฏิวัตินิกายกาดัมปะขึ้นมาใหม่ให้คงเอกลักษณ์เดิมและได้เปลี่ยน ชื่อใหม่เป็นนิกายเกลูปะ คำว่าเกลู แปลว่าความดีที่เป็นกุศล คำสอนของเกลูปะ เน้นที่การ ค่อยๆศึกษาจากต่ำขึ้นไปสูงเน้นในวินัยเน้นในด้านตรรกะเกลุปะจะบัญญัติให้ภิกษุที่พรรษาไม่ มากไม่ให้ศึกษาตันตระเอกลักษณ์ของนิกายคือสวมหมวกสีเหลืองหรือนิกายหมวกเหลืองซึ่ง เป็นนิกายในสังกัดของดาไลลามะ
    มีนิทานพุทธที่เล่ากันทั่วไปในทิเบตเรื่องต้นไม้พิษ ต้นไม้พิษนี้เป็นต้นไม้ที่มีพิษร้ายแรงมากแม้ ใครหลงไป กินผลของมันเข้าจะทุรนทุรายสาหัสสากรรจ์เนื่องจากทุกคนรู้ถึงพิษของต้นไม้นี้จึง คิดที่จะทำลายต้นไม้นี้เสียคนกลุ่มหนึ่งก็ให้ความคิดว่าต้องถอนรากถอนโคนไม่ให้เหลือแม้แต่ รากฝอยของต้นไม้ไว้ แต่ก็มีคนอีกกลุ่มเสนอว่าเพียงตัดโคนหรือตัดส่วนสำคัญของมันต้นไม้ก็ จะตายไปในที่สุดและยังมีอีกกลุ่มซึ่งมีภูมิความรู้ทางการแพทย์และเคมีมาบ้างเสนอว่าไม่จำเป็น ต้องไปทำลายต้นไม้ทิ้งเพียงแต่นำพิษของมันไปปรุงเป็นยาวิเศษเพื่อเพิ่มพลังในการรักษาโรค ได้ เป็นเพราะพวกคุณ 2 กลุ่มแรกไม่รู้ในวิธีปรุงยาถ้าไม่มีพิษนี้ก็ไม่มีวัตถุดิบในการปรุงยา ใน ขณะที่กลุ่มคนทั้ง3กำลังให้ความเห็นกันอยู่นั้นก็มีนกยูงตัวหนึ่งเข้ามาและกินผลไม้พิษนั้นเป็น อาหารโดยที่พิษไม่เป็นอันตรายต่อนกยูงแต่ประการใดอีกทั้งยังช่วยเพิ่มสีสันความสวยสดงด งามของขนหางความแข็งแรงของร่างกายด้วยจากนิทานต้นไม้พิษนี้พอจะเปรียบเทียบได้กับ การปฏิบัติในพุทธศาสนาที่เน้นวิธีการที่ไม่เหมือนกันกลุ่มแรกเน้นในเรื่องการขุดรากถอนโคน โดยสิ้นเชิงในกิเสลทั้งปวงเพื่อป้องกันมิให้มันเกิดขึ้นได้ใหม่โดยการปฏิบัติศีลสมาธิเพื่อให้เกิด ปัญญาอันเป็นแนวทางของเถรวาทการปฏิบัติตามแนวนี้ต้องบวชเป็นภิกษุจึงเป็นแนวทางที่ดีที่ สุด การปฏิบัติศีล สมาธิโดยการทำให้จิตว่าง เข้าไปสู่ ปัญญา โดยการใช้สมถะ วิปัสสนา จะทำ ให้ผู้ปฏิบัติค่อยๆหลุดจากพิษของความโลภ โกรธ หลง
    วิธีการที่2เป็นวิถีทางแห่งมหายานซึ่งถือว่าการตัดจุดสำคัญของต้นไม้พิษก็จะทำให้ต้นไม้พิษ นั้นตายได้จุดสำคัญสุดยอดก็คือ อาตมันการยึดติดกับอาตมันคือตัดตรงจุดนี้ก็ทำให้หลุดพ้น ได้การยึดในความเป็นแก่นสารหรือความจีรังต่างๆเมื่อถูกตัดด้วยดาบแห่งศูนยตา ฟันแก่นของ การยึดติด เข้าสู่ปัญญาแห่งความไม่มีแก่นสารของจักรวาล
    กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มของแพทย์และนักเคมีที่ต้องการแปรเปลี่ยนสภาพ คือวิถีแห่งวัชระยานแทนที่ จะทำลายต้นไม้พิษทิ้ง แต่กลับนำพิษจากต้นไม้พิษใช้วิธีการพิเศษให้แปรสภาพพิษกลายเป็น ยาวิเศษ ยาวิเศษก็คือ ฌานให้เกิดปัญญาโดยวิธีการสร้างมโนจิตตัวเองให้ดำรงจิตอยู่ใน ฌาน ความรู้ตัวทุกขณะจิตไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ปัญญาแห่งการบรรลุก็บังเกิดขึ้น
    ตัวนกยูงก็คือวิถีทางแห่งการหลุดพ้นดั้งเดิม ซึ่งในทิเบตเรียกว่า อธิโยคะ หรือซกเชนหรือใน สันสฤตเรียก มหาสันติ ในวิธีนี้คือการเข้าไปสู่การรู้แจ้งโดยการเจาะทะลวงเข้าไปเลย การเข้า สู่การรู้แจ้งโดยไม่ผ่านขั้นตอนต่างๆเช่นการตัดขาด การขจัด ชำระล้าง หรือการแปรสภาพใดๆ เป็นการเข้าสู่การรู้แจ้งแบบตรงดิ่งเข้าไปเลย ไม่ต้องผ่านพิธีการใดๆซึ่งหนทางนี้ได้รับการ กล่าวขานว่าเป็นวิธีที่สูงที่สุดในวัชระยานในทิเบตได้มี ีการเก็บรักษาคำสอนต่างๆของพุทธ ศาสนา ไว้อย่างสมบูรณ ์แบบทุกหนทางเพื่อเป็นหนทางแก่พุทธศาสนิกชนทุกแบบทุกประเภท ได้เลือกรูปแบบและวิธีการที่เหมาะกับตนในการบรรลุสู่ความรู้แจ้งซึ่งบางรูปแบบก็ไม่เป็นที่ ยอมรับของพุทธศาสนิกชนในประเทศอื่นแต่ในประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาวัชระยานมีพระ อาจารย์ในสายปฏิบัตินี้มากมายที่บรรลุความรู้แจ้งในบริเวณประเทศแถบหิมาลัยและประเทศใน สายปฏิบัติวัชระยาน
     
  11. คนลึกลับ

    คนลึกลับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +216
    <TABLE style="FONT-FAMILY: Tahoma" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD width=600>ความหมายของคำในวชิระยาน
    1[​IMG] สันสกฤตอ่านคุรุ ทิเบตอ่าน กูรู ซึ่งก็คือครูในภาษาไทย คำนี้มีความหมายยิ่งใหญ่มหาศาล ดังคำพูดที่ว่าพ่อ แม่เป็นครูคนแรก เป็นการนำพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่เข้าเปรียบเทียบกับพระคุณของครู

    แต่ในที่นี้จะขอพูดถึงคำว่าครูหรือคุรุในโลกแห่งธรรม ความสุขอันไม่มีข้อแม้คือสุดยอดปรารถนาของสรรพสัตว์ในโลก ดังนั้นผู้ที่สอน ผู้ที่ส่งเสริม กระตุ้นเตือน โดยไม่หวังในสิ่งตอบแทนและไม่ลำเอียงเพื่อให้สรรพสัตว์เข้าสู่ความสุข จึงเป็นมหาคุรุอันยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าก็คือคุรุผู้นั้น คุรุพระองค์นั้นยิ่งใหญ่กว่าบิดา มารดา แม้พระคุณของบิดามารดาจะยิ่งใหญ่ที่ให้กำเนิดเรามา แต่ทุกสรรพสิ่งก็เกิดขึ้นตามตามแรงกรรมสัมพันธ์ ความสุขจากการมีทรัพย์สินมากมายที่พ่อแม่สร้างไว้ให้ ไม่ได้ทำให้เราได้รับความสุขอันสมบูรณ์ ความสุขจากความรู้ความสามารถที่พ่อแม่ส่งเสริมให้เราร่ำเรียนมา ก็ไม่ได้ทำให้เราได้รับความสุขอันสมบูรณ์ และก็มีบุคคลจำนวนมากที่สิ่งเหล่านั้นนำมาซึ่งความหยิ่ง ยโส ทะนงตน ซึ่งเป็นต้นเหตุอันยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของทุกข์ มีพ่อแม่จำนวนน้อยมากที่เป็นทั้งผู้ให้กำเนิดและเป็นทั้งคุรุที่บรรลุรู้แจ้ง เป็นครูคนแรกที่สั่งสอนนำพาเราเข้าสู่ความสุขอันสมบูรณ์ ดังนั้นคุรุผู้เป็นทั้งผู้ให้กำเนิดและคุรุนำสู่การรู้แจ้งเห็นจริงจึงเป็นสุดยอด ในสุดยอดแห่งคุรุ(ดังเช่นพระศายมุนีพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ราหุล และในทิเบตก็มี)ในพุทธวัชรยานคุรุมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง สรณะในวัชรยานถือจตุรสรณะ คุรุ พุทธ ธรรม สังฆะ คุรุมาอันดับหนึ่ง มิใช่ชาวพุทธวัชรยานจะไม่ให้ความสำคัญแก่พระพุทธเจ้า ท่านยังคงเป็นมหาคุรุอยู่ แต่ท่านได้จากเราไปนานมากแล้ว แม้ท่านจะมอบคำสอนอันสุดยอดไว้ให้กับมวลมนุษย์โลก แต่ถ้าไม่มีผู้นำส่งต่อมาถึงตัวเรา เราก็คงไม่ได้รับคำสอนนั้น อีกทั้งคำสอนอันสูงส่งนั้นมิใช่ง่ายที่ผู้ได้รับจะเข้าใจ รู้ซึ้งจนได้รับประโยชน์จากมันอย่างสมบูรณ์ คุรุแต่ละลำดับได้ใช้ความมานะ อดทน พยายามหาหนทางให้สิ่งสุดแสนยากให้ง่ายขึ้นเพื่อมอบต่อให้แก่คนรุ่นหลังต่อๆมา คุรุในพุทธวัชรยานจึงมีความหมายที่สำคัญสูงสุด ท่านเป็นทั้งตัวเชื่อมและเป็นทั้งตัวแทนในปัจจุบันแก่ศิษย์กับพระรัตนตรัย ในพุทธวัชรยานมีศีลสำคัญข้อหนึ่งคือศีลซามายา คุรุคือผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งศิษย์ที่จะล่วงละเมิดและสงสัยไม่ได้ ศิษย์จะไม่มีทางบรรลุความสำเร็จใดๆได้เลยถ้าล่วงละเมิดหรือสงสัยในคุรุ(การรับศิษย์และการยอมรับให้เป็นคุรุเป็นเรื่องสำคัญมากในทิเบต คุรุและศิษย์ต้องใช้เวลาในการเฝ้าดู ศึกษากันและกันก่อนยอมรับอย่างน้อย5ปีขึ้นไป)การปฏิบัติตันตระในทุกสาย การปฏิบัติซกเชนห้าขั้นตอน ขั้นตอนแรกก็คือการปฏิบัติคุรุโยคะ ซึ่งก็คือการรวมจิตเป็นหนึ่งเดียวกับคุรุ ด้วยเหตุดังนี้คุรุจึงมีความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติวัชรยาน
    ข้าพเจ้าขอให้ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคุรุในพุทธศาสนาทั้งสามยาน
    1 เถรวาท คุรุท่านเป็นผู้บอกยาน คุรุในเถรวาทท่านจะบอกเหตุ บอกวิธีค้นหาเหตุ บอกการดับเหตุ บอกวิธีการดับเหตุ ต่อจากนั้นตัวเราเองจะเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น พบไม่พบ ดับได้หรือไม่เป็นเรื่องของเราเอง
    2 มหายาน คุรุเป็นผู้ขับยาน คุรุในมหายานท่านจะปลุกเร้าศรัทธาให้เกิดขึ้นในศิษย์อย่างเต็มเปี่ยม ด้วยศรัทธาด้วยแรงระลึกถึง เปรียบดังยานที่คุรุเป็นผู้ขับนำพาสู่พุทธเกษตร
    3 วัชรยาน คุรุเป็นผู้บัญชาการโดยที่เราเป็นผู้บังคับยาน คุรุก่อนที่ท่านจะเป็นผู้บัญชาการยานท่านก็เคยเป็นผู้บังคับยานมาก่อน ท่านได้ถึงเป้าหมายมาแล้ว เมื่อท่านถึงที่หมายแล้วท่านจึงกลับมาเพื่อนำพาศิษย์ไป จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่า ท่านขับยานเป็นและท่านก็รู้เส้นทาง ในการบังคับบัญชา ท่านเป็นตัวแทนแห่งกาย วาจา ใจของพระพุทธเจ้าด้วยท่านได้บรรลุพุทธภาวะแล้ว การบังคับบัญชาด้วยกาย ท่านได้แสดง ได้ปฏิบัติตน เป็นตัวอย่าง ท่านจึงเป็นกระจกเงาในแก่ศิษย์ได้เห็นตนเอง ได้แก้ไขตนเองได้ การบังคับบัญชาด้วยวาจา คำสั่งของท่านคือการสอนวิธีและเส้นทางสู่ความสำเร็จทั้งสิ้น การบังคับบัญชาด้วยใจ การมีจิตเป็นหนึ่งเดียวกับผู้บัญชายานเป็นวิธีการสูงสุดในการนำยานสู่เป้าหมาย
    2 [​IMG] ฒุลกู ทิเบตแปลว่าผู้กลับมาเกิดใหม่ ความหมายในความเข้าใจกันตรงกับคำว่านิรมานกาย คือเป็นคำที่ใช้กับลามะผู้บรรลุธรรมตลอดจนถึงพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ผู้อยู่เหนือวัฏฏ แต่ด้วยมหาเมตตากรุณา ท่านจึงกลับมาใหม่เพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้ขึ้นจากทะลทุกข์
    ผู้กลับมาเกิดใหม่(ฒุลกู)ประวัติเริ่มเมื่อไรและมีวิธีการคัดเลือกอย่างจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ด้วยว่ามีการพูดถึงในหนังสือหลายเล่มแล้ว สิ่งที่จะพูดถึงก็คือแนวคิดเช่นนี้ให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ประโยชน์อย่างไรกับพระพุทธศาสนา
    1 เด็กธรรมดา เป็นที่ยอมรับกันอย่างไม่ต้องสงสัยว่าจิตของเด็กบริสุทธิ์ ในพุทธปรัชญาที่ว่าสรรพสัตว์ทุกรูปทุกนามต้องเวียนว่ายตายเกิดตามแรงกรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในหมู่ชนคนธรรมดา การผ่านภพผ่านชาติถือเป็นหนทางอันยาวไกลที่จะทำให้ความรู้ ความจำได้ทั้งมวลเลือนหายไปจนหมดสิ้น (แต่ก็มีสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ได้เลือนหายไปนั้นคือสัญญาเดิม จะขอพูดถึงในเรื่องต่อไป) และนี่เองเป็นที่ยอมรับว่าจิตของเด็กบริสุทธิ์ ในเรื่องของสมาธิ วิปัสสนาซึ่งเป็นหัวใจหลักของชาวพุทธ จิตของเด็กบริสุทธิ์และว่างถือว่าเป็นจิตที่มีสมาธิ การที่เด็กไม่อยู่นิ่ง นั้นเกิดที่กายและใจเป็นส่วนที่ตื้นกว่าซึ่งยังไม่พร้อม ขอแยกแยะให้ชัดเจน ว่า จิตคือจิตใต้สำนึก ใจคือส่วนที่รับรู้จากสมอง จิตใต้สำนึกควบคุมกายละเอียด ใจควบคุมกายหยาบ อาจจะมีความเห็นแย้งว่าเมื่อจิตของเด็กบริสุทธิ์นั้นก็หมายความว่าเด็กรู้แจ้งซิ คำตอบก็คือไม่ใช่ เพราะว่าภาวะรู้แจ้งไม่ใช่ภาวะที่ว่างเปล่าโดยไม่มีอะไรเลย ภาวะรู้แจ้งคือภาวะที่ระลึกรู้ตลอดเวลาในความมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมและความไม่มีอะไรเลย เมื่อเด็กไม่มีภาวะอันมีอยู่เด็กจึงไม่สามารถที่จะบรรลุภาวะรู้แจ้ง ภาวะรู้แจ้งจะเกิดได้รับผู้ที่ระลึกรู้ในสภาวะทั้งสองอย่างสมบูรณ์เท่านั้น แล้วในผู้ใหญ่ทำไมจึงไม่บรรลุความรู้แจ้ง ด้วยว่าผู้ใหญ่มีเพียงสภาวะแห่งการมีอยู่ และเป็นสภาวะแห่งการมีอยู่ที่ไม่สมบูรณ์และผิด เพราะว่าได้รับรู้ภาวะแห่งการมีอยู่แต่เพียงด้านเดียวผ่านทางใจ และเมื่อทำไป ทำไปเรื่อยก็ได้ส่งไปบันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกทำให้การรู้แจ้งเกิดขึ้นไม่ได้ การปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะว่าสมาธิเพื่อให้ใจได้พัก ได้ว่าง ได้มีกำลัง เพื่อล้างสิ่งไม่ถูกต้องในจิตและลบอวิชชาที่ได้ถูกบันทึกอย่างแข็งแรงลงในจิตใต้สำนึกด้วย และต่อด้วยวิปัสสนาเพื่อให้เกิดสิ่งที่ถูกต้องในใจ เมื่อได้กระทำเรื่อยๆสม่ำเสมอก็จะเกิดการบันทึกในจิตใต้สำนึก กายละเอียดก็ได้รับการยกระดับขึ้นเรื่อยๆจนบรรลุพุทธภาวะกลับมาพูดถึงเรื่องเด็กต่อเมื่อเด็กเริ่มรับรู้และได้รับรู้ จิตของเด็กก็เริ่มได้รับสิ่งเจือปนต่างๆเข้ามาเก็บไว้ทั้งที่ดีและไม่ดี ขบวนการวิปัสสนาเริ่มต้นที่ผมใช้คำว่าวิปัสสนา เพราะจิตใต้สำนึกของเด็กยังว่างไม่มีสิ่งใด(ขอพูดถึงตอนนี้ในแง่คิดเดียว) ใจและกายซึ่งยังไม่พร้อมเต็มที่ในการกลั่นกรอง ก็จะวิ่งเข้าบันทึกในจิตใต้สำนึกเลย และนี่เป็นที่มาแห่งสันดานของเด็ก ผมขอพูดเลยเถิดไปนิดเรื่องการศึกษาของเด็ก แนวทางศึกษาเรียนรู้ของโลกตะวันออก ในหลายพันปีที่ผ่านมา เป็นการเรียนรู้จากการจำเริ่มต้น เพื่อเป็นต้นทุนเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาสู่การสร้างสรรค์จิตนาการ ชนชาวตะวันออกตั้งแต่โบรานกาลมาจะเต็มเปี่ยมด้วยปรัชญาแห่งคุณธรรม เมตตาธรรมเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้ออาทรกัน ซึ่งไทยก็ดำเนินแนวนี้มาโดยตลอด แต่ในหลายสิบปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในสังคมไทยได้เปลี่ยนไปมาก ปรับเปลี่ยนไปสู่ปรัชญาแห่งวัตถุที่จับต้องได้แทนปรัชญาแห่งจิตวิญญานแต่เดิม ตามแบบตะวันตก ซึ่งปรัชญาวัตถุแห่งตะวันตก ทำให้ต้องดิ้นรน แสวงหา กระตือรือร้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่สัมผัสได้ ในที่นี้ไม่ขอวิจารณ์ว่าปรัชญาใดถูกหรือผิด อยู่ที่ว่าผู้บริหารประเทศต้องการนำประเทศไปทางใด การนำประเทศเข้าสู่การต่อสู้เพื่อวัตถุเป็นเรื่องจำเป็น แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก การเตรียมตัวเตรียมใจเตรียมจิตวิญญาณไว้เพื่อให้ทนต่อสภาพความจริงในโลกของโลกียะก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญคือความชัดเจน และยอมรับในข้อมูลแห่งสมมุติสัจจ์ สังคมเราในปัจจุบันเต็มไปด้วยความสับสน วุ่นวายและอบายมุข ผู้ใหญ่ผู้มีหน้าที่ก็ไม่ชัดเจนในเป้าหมาย ไม่ยอมรับในความเป็นจริง พร้อมทั้งได้ให้สิ่งเหล่านั้นเป็นต้นทุนเป็นวัตถุดิบแก่เด็ก จึงไม่ยากเลยที่จะรู้ว่าต่อไปเด็กของเราจะโตเป็นผู้ใหญ่อย่างไร เราเคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมเด็กในบางประเทศจึงรู้ในหลายภาษาอันที่จริงแล้วไม่ยากเลยที่จะสร้างเด็กในลักษณะนั้นให้เกิดขึ้น การนำเด็กเข้าสู่ธรรมชาติของการรับรู้ในทุกภาษาที่ต้องการตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กเด็กจะรับรู้ได้ในทุกภาษาตามต้องการ เด็กไทยส่วนน้อยที่มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในธรรมชาติของการเรียนรู้ในภาษาต่างประเทศ ขอประทานโทษด้วยที่เลยเถิดมาเยอะ การให้เด็กได้เคยชินในการทำสมาธิและวิปัสสนาเด็กด้วยธรรมะ เด็กจะคุ้นเคยจนกลายเป็นสันดานที่ผูกติดกับหัวใจของพุทธศาสนา นั่นคือการสร้างผู้รู้แจ้งขึ้นมาอีกหนึ่งในอนาคต การได้บุคลากรอันมีคุณภาพเต็มเปี่ยมเป็นสิ่งที่ดีในพระศาสนามิใช่หรือ ในขณะที่โลกภายนอกพยายามสร้างเด็กเพื่อให้แก่งแย่งชิงดี โลภโมโทสันกันอย่างถึงที่สุด โดยวัดผลสำเร็จในการได้เด็กที่มีเล่ห์เหลี่ยมทันเกมทันโลก กอบโกยมาสร้างประโยชน์แก่ตนแก่ชุมชนแก่ประเทศชาติ(ถูกต้องในโลกียะโลกแต่สิ่งที่เราต้องเอาไปแลกก็คือความสงบสุขหรือสันติสุขของโลก) ในทิเบตกลับตรงกันข้าม การพยายามนำเด็กเข้าสู่โลกุตระ ด้วยกุศโลบายที่คิดขึ้นเพื่อสันติสุข ท้ายที่สุดชาวทิเบตต้องสิ้นชาติ(เพราะมุ่งสู่ด้านเดียวเป็นหลัก) และสู้กิเลสของมวลมนุษย์โลกไม่ได้ ถ้าท่านได้เคยสัมผัสพูดคุยกับพระลามะผู้ทรงคุณภาพที่ได้ออกสู่โลกภายนอก หลังจากมาตุภูมิถูกทำลาย ท่านเหล่านั้นเสียใจแต่ไม่ทุกข์ทรมานและก็ตามมาด้วยความเมตตา มีความคิดว่าเป็นเพราะเหตุนี้เองที่ทำให้พุทธตันตระธรรมได้แพร่กระจายไปทั่วทั้งโลกแทนที่จะอยู่เฉพาะในทิเบตเท่านั้น ในโลกไม่มีเรื่องใดถูกหรือผิด ทั้งปวงอยู่ที่เป้าหมาย และหน้าที่ที่ต้องกระทำ กษัตริย์แห่งภูฐานองค์ปัจจุบันเคยกล่าวไว้ว่าความรุ่งเรืองก้าวหน้าของประเทศเป็นเรื่องสำคัญแต่ถ้าต้องแลกด้วยความสุขสงบของประชาชนของพระองค์ทั้งประเทศพระองค์ก็ไม่ต้องการ ถ้าเป้าหมายเพื่อความกินดีอยู่ดีก็ต้องเข้าสู่การแข่งขันต่อสู้กับโลกแห่งวัตถุให้ได้และให้มีประสิทธิ์ภาพที่สุด แต่ถ้าเป้าหมายคือนิพพานก็ต้องปฏิบัติธรรมนำตนเข้าสู่โลกุตระ
    เด็กธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่ได้รับการปลูกฝังสิ่งใดให้และทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ยากเลยที่จะทำให้เด็กผู้นั้นมีศักยภาพตามสิ่งที่ได้ปลูกฝังไว้
    2 เด็กอัจฉริยะ ในขบวนการคัดสรรค์ ฒุลกู นั้นมีหลายขั้นตอน ขั้นตอนสำคัญประการหนึ่งคือเด็กผู้จะได้รับคัดเลือกต้องมีลักษณะที่ดี มีแววแห่งปัญญา การได้เด็กเช่นนี้มาปั้นแต่งจึงไม่ยากเลยที่จะได้ พระลามาอันทุกคุณภาพซึ่งเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา
    3 เด็กผู้กลับชาติมาเกิด ก่อนอื่นต้องถามว่าท่านเชื่อเรื่องภพเรื่องชาติหรือไม่ ในพุทธวัชรยานหรือตันตระยานเชื่อเรื่องการกลับมาเกิดใหม่เชื่อเรื่องจิตต่อเนื่อง คำว่าตันตระคือเส้นเชือกหรือจิตซึ่งต่อเนื่องกันไปดังเส้นเชือก ในพระไตรปิฎกก็มีการกล่าวถึงพระเจ้าสิบชาติ หรือพระพุทธในขณะเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ เราจะได้ยินเรื่องพบเด็กระลึกชาติได้เป็นระยะในทุกๆส่วนของโลก การที่พระโพธิสัตว์ พระลามะผู้บรรลุธรรมจะกำหนดจิตตนมาเกิดใหม่เพื่อมวลมนุษย์ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากเลย พระลามะผู้บรรลุเมื่อถึงคราวที่ท่านจะละทิ้งร่างซึ่งทรุดโทรมตามกาลเวลา ท่านจะเขียนหนังสือหรือสั่งเสียไว้ต่อศิษย์ที่ใกล้ชิด บางท่านก็จะบอกตรงๆ บางท่านก็จะให้เป็นปริศนา ในสถานที่ที่จะไปพบท่านและ ด้วยสัญญาแห่งภูมิธรรมเดิมที่ต่อเนื่องติดมาจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราจะได้มหาลามะผู้ทรงภูมิทรงอุปายะเพื่อนำพาสรรพสัตว์พ้นกองทุกข์ สร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในโลก
    [​IMG] ซ์กู.(ภ์ฉะค์.อ์ฌัล.วา. อ่านว่า กู.ฉะ.ฌัล.วา. คำว่าซ์กู.แปลว่ากาย (ภ์ฉะค์.อ์ฌัล.วา. แปลว่า กราบนมัสการ คือการกราบนมัสการโดยใช่กายทั้งหมด ดังที่เห็นจากในสารคดีทั่วไปที่ชาวทิเบตกราบพระจะกราบโดยการ ยืนตรงพนมมือยกขึ้นเหนือหัว แล้วลดลงมาบริเวณคอ แล้วก็ลดลงมาที่บริเวณอก ก้มลงแล้วนอนราบลงไปกับพื้น ลุกขึ้นยืนตรง การพนมมือเหนือหัว คอ และอก เป็นเครื่องหมายแสดงการถวาย กาย วาจา ใจ แด่สิ่งเคารพสูงสุดทั้งสี่คือ คุรุ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    [​IMG]ซ์โตง.ปา.ณิด์ สันสกฤต เรียกศูนยตา สภาวะแห่งความว่างเปล่า ในที่นี้ให้ความหมายตามมัธยมิกะของท่านนาคชุน ที่ว่าสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้อย่างโดดเดียว ถูกสรรพสิ่งอยู่ได้ก็ด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันหรือมีลักษณะเป็นทวิลักษณ์(ทิเบตเรียก บ์ซ์เตน.\บ์เทล.) ไม่ใช่มีความหมายเพียงว่าเป็นสภาวะที่ไม่มีอะไรเลย สภาวะแห่งศูนยตาเป็นสภาวะที่เกี่ยวพันกันระหว่างอนัตตาและอัตตา ไม่มีอัตตาก็ไม่มีอนัตตา เช่นกันไม่มีอัตตาก็ไม่มีอนัตตา การเข้าใจว่าศูนยตาเป็นสภาวะแห่งความว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย แม้ให้ผลในการไม่ยึดติดหรือไม่ต้องการสิ่งใดเลย แต่ในความเป็นจริงมีหลายสิ่งถึงแม้ตนไม่ต้องการแต่ก็ต้องรับมา ไม่ต้องการให้เกิดแต่ก็ต้องเกิดขึ้น สรรพสิ่งต้องดำรงอยู่ เพราะการดำรงอยู่จึงต้องกินต้องอยู่ต้องกระทำ ดังนั้นการดำรงอยู่จึงทำให้เกิดกรรม(ทิเบตเรียกลีซ์) กรรมเป็นสิ่งที่ต้องส่งผลสนองตอบไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว กรรมทุกข้อทุกประการต้องได้รับการชดใช้ มีเพียงผู้ที่พยายามหลีกหนีกรรมและเริ่มต้นได้ถูกต้องเท่านั้นจึงสามารถหนีพ้นกรรมได้(ทุกสรรพสัตว์มีโอกาสเท่าเทียมกัน) การเข้าใจศูนยตาว่า สรรพสิ่งเกิดจากความว่างเปล่า และความว่างเปล่าเกิดจากสรรพสิ่ง ทุกขณะแห่งการดำรงอยู่มีการเกิดดับ ดับเกิด เกิดแล้วดับดับแล้วเกิด ดำเนินไปทุกขณะไม่มีหยุด การจะดำรงอยู่ในเวลาดับและเวลาเกิดเยี่ยงไรให้ได้รับผล จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจเบื้องต้นต้องถูกต้องชัดเจน แม้ไม่ถูกต้องชัดเจน การดำเนินการต่อแม้มีเจตนาและความต้องการที่ชัดเจนมั่งคง ก็ดำเนินการอย่างถูกต้องไม่ได้ ธงชัยตั้งผิดที่ ย่อมมุ่งสู่สถานที่ผิดอันธงชัยตั้งอยู่
    [​IMG] ร๋โจซด์.ปะ.เชน.โป.(ซกเช็น)หรือในสันกฤต มหาอทิ ความหมายตามอักษรแปลว่าการสิ้นสุดที่ยิ่งใหญ่ความหมายทั่วไปคือ การปฏิบัติขั้นสูงสุดของพุทธศาสนาตามแนววัชระยาน วัชระยานได้แบ่งการปฏิบัติออกเป็น 9 ยานโดยมี อทิพุทธยานเป็นยานสูงสุด พระธรรมหรือยานทั้งปวงเป็นเครื่องมือที่พุทธบริษัททำมาใช้เพื่อบรรลุสู่การเป็นพุทธะ หลุดพ้นจากกองทุกข์และเงื่อนไขทั้งมวลของการเกิดทุกข์ เครื่องมือที่ดีที่สุดและให้ผลรวดเร็ดที่สุดคือ ซกเช็น ในพระสูตรซกเซ็น ได้บันทึกไว้ว่า พระธรรมนี้เป็นที่สุดแห่งพุทธธรรมทั้งมวล ได้กลั่นกรองและประมวลขึ้นจากธรรมหกล้านสี่แสนประโยค ให้เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติซกเช็นสามารถบรรลุพุทธภาวะหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสารนี้ได้ในชาตินี้ชาติเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2006
  12. seberton

    seberton เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +655
    ได้ดูครับ แม่ชี ชี่จั๋ว (มั่งคับ) แต่นิดเดียวเอง ตอนที่เห็นกระดูกเป็นคล้ายๆปะการัง แล้วตอนตาย ผิวเหมือนคนนอนหลับจิงๆครับ ไม่เหมือนคนตายเลย พอแสงอาทิตย์ขึ้นก็เกิดแสงฟ้า ส้ม เรื่อยๆใช่ปะครับ แล้วเด็กๆ ก็ตกใจก้มกราบสาทุแสงใช่เปล่าหนอ
    แต่ท่านคนลึกลับ ผมสนใจเรื่องที่โพสนิกายต่างๆ เนื้อหาสาระมากอ่ะครับ แต่ขี้เกียจอ่านอ่ะคับ อิอิ
     
  13. seberton

    seberton เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2006
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +655
    แล้วดูตอนที่ว่าท่านมีชีวิตอยู่ ก็ได้สวดมนต์แล้วก็มีแม่ชีหลายๆท่านเดินวน แล้วท่านก็ตีอะไรเขาเรียกว่าอะไรหนอ ที่เคาะๆ ตามจังหวะ
    ดูแล้วคิดถึงเกมส์ มังกรหยก ออนไลน์ สำนัก เฮ็งซัว ที่มีแต่แม่ชี

    ก็ได้ดูประวัติท่าน ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็เลย โกนผมออกบวชเป็นแม่ชี ด้วยเหตุที่ว่าท่านเป็นคนอ่อนแอ จึงมรณะภาพโดยโรคหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจ วายนี้แหละคับ ไม่แน่ใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...