คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 4 สิงหาคม 2009.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์<O></O>

    พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์<O></O>
    ธรรมรักษา


    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์ หรือท้าวสักกะจอมเทพ เรียกว่า วัตรบท มี ๗ ข้อ คือ<O></O>

    .เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต
    <O></O>

    .อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต<O>

    .พูดจาอ่อนหวานตลอดชีวิต<O>

    </O>.ไม่พูดจาส่อเสียดตลอดชีวิต
    <O></O>

    .ยินดีในการบริจาคทานตลอดชีวิต
    <O></O>

    .พูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
    <O></O>

    .ไม่โกรธตลอดชีวิต

    ถ้าเกิดความโกรธก็ระงับโดยเร็ว

    </O>ภิกษุทั้งหลาย! ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้รักษาวัตรบท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ จึงได้เป็นท้าวสักกะ.<O>
    </O><O></O>



    ปฐมเทวสูตร ๑๕/๓๑๘<O></O>






    <O>


    [​IMG]

    </O>




    คติและคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ผูกขาดชนชั้น หรือตำแหน่งต่าง ๆ แม้แต่ความเป็นพระพุทธเจ้า ที่จัดว่าเป็นยอดสุดของความเป็นสัตว์โลก<O></O>
    ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนา ถือหลักเหตุผลและความเป็นจริง อีกทั้งมีใจกว้างยิ่งนัก โดยเฉพาะพระศาสดาของเรา ทรงให้อิสระในความคิด ความเชื่อ และการกระทำเต็มที่<O>

    </O>แม้แต่ตำแหน่งเทพชั้นต่าง ๆ ทุกชั้น ถ้าใครต้องการก็สามารถไปอยู่ได้ ขอแต่ว่าให้สร้างเหตุให้ถึงฐานะนั้น ๆ เถิด เช่น พระพรหม พระอินทร์ และเทพชั้นรอง ๆ ลงมาทุกชั้น<O>

    </O>คิดดูเถิดในโลกนี้ จะมีพระศาสดาองค์ใดบ้าง ที่กล้าพูดความจริง และมีจิตใจที่กว้างใหญ่ไพศาลเช่นนี้ ควรที่ชาวพุทธเราจะภูมิใจ และพร้อมใจกัน ปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจังและจริงใจ และผลแห่งการปฏิบัตินั้น นอกจากจะเป็นการบูชาพระพุทธองค์ด้วยการบูชาอย่างสูงสุดแล้ว เรายังได้อานิสงส์จากการปฏิบัตินั้น ตามฐานะที่ควรได้อีกด้วย<O>

    </O>ในพระสูตรนี้ ทรงระบุถึงการปฏิบัติตน ที่จะให้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ ด้วยวัตรบท ๗ ประการ ใครอยากไปเกิดเป็นพระอินทร์ มีนางฟ้า ๕๐๐ เป็นบริวาร ก็จงปฏิบัติตามวัตรบท ให้ครบทั้ง ๗ ข้อเถิดได้เป็นแน่ ๆ<O>

    </O>ถึงแม้ว่า เราจะปฏิบัติได้ไม่ครบ ๗ ข้อ แต่ละข้อที่เราทำได้ ก็ย่อมจะเสริมให้เรามีคุณธรรมสูงขึ้นไปตามลำดับ ทั้งจะเห็นผลได้ในชาตินี้เสียอีกด้วย.<O>

    นำมาจาก
    </O>
    พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์<O></O>
    ธรรมรักษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 สิงหาคม 2009
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=center>ประวัติ ท้าวอมรินทร์เทวาธิราช (พระอินทร์)
    พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่แห่งสรวงสวรรค์
    พระอินทร์เป็นตำแหน่งของพระราชาแห่งเทพทั้งปวง ในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตำแหน่งนี้จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ไปตามผลแห่งบุญกรรมที่ได้กระทำไว้ พระอินทร์องค์ใดสิ้นบุญ ก็จะมีองค์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ กล่าวได้ว่า พระอินทร์นั้นมีหลายองค์ แต่ละองค์ก็มีอายุขัยเป็นไปตามบุญกุศลที่ตนได้กระทำมา
    เรื่องราวของพระอินทร์น่าจะเป็นบทเรียนที่ช่วยให้รู้และเข้าใจถึงการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ว่าท่านคิดอะไรถึงได้ทำเช่นนั้น นอกจากนี้การได้เรียนรู้วิธีคิดและการกระทำของพระอินทร์ เป็นสิ่งที่เราสามารถกระทำตามได้ไม่ยาก ไม่ใช่เรื่องห่างไกลและเฟ้อฝันเลย เพราะตัวท่านเองก็ได้ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ในขณะที่ยังเป็นมนุษย์ปุถุชน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงพระอินทร์สมัยพุทธกาลเท่านั้น
    อดีตชาติของพระอินทร์
    ณ หมู่บ้านมจลคาม แคว้นมคธ มีมาณพคนหนึ่งชื่อว่า มฆมาณพ มีใจใฝ่ให้ทาน รักษาศีลอยู่เสมอ ทั้งยังชอบแผ้วทาง ทำงานสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น ปรับพื้นที่ให้เรียบเสมอกัน สร้างศาลา ปลูกต้นไม้ ขุดสระน้ำ ทำถนนหนทาง ทำสะพาน จัดทำจัดหาตุ่มน้ำ และสิ่งทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม มีปกติชอบความสะอาดเรียบร้อย ต้องการให้ท้องถิ่นดูสะอาดน่ารื่นรมย์
    คิดดี คิดถูก คิดเป็น นำมาซึ่งความสุข
    ขณะที่มฆมาณพทำงานในหมู่บ้าน ก็ใช้เท้าเกลี่ยฝุ่นในที่ซึ่งยืนอยู่ให้เรียบ คนอื่นเข้ามาแย่งที่ก็ไม่โกรธ กลับถอยไปทำที่อื่นให้เรียบต่อ แต่ก็ยังมีคนมายึดที่ที่เกลี่ยเรียบไว้แล้วนั้นอีก ถึงกระนั้นมฆมาณพก็ไม่โกรธ กลับเห็นว่าคนทั้งปวงมีความสุขด้วยการกระทำของตน ฉะนั้นกรรมนี้ ย่อมส่งผลกลับมาเป็นบุญที่ให้สุขแก่ตนแน่
    มฆมาณพก็ยิ่งมีจิตขะมักเขม้น ตั้งใจที่จะทำพื้นที่ให้เป็นที่น่ารื่นรมย์มากยิ่งๆ ขึ้น จึงใช้จอบขุดปรับพื้นที่ให้เรียบเป็นลานให้แก่คนทั้งหลาย ทั้งยังเอาใจใส่ให้ไฟให้น้ำในเวลาที่ต้องการและได้แผ้วถางสร้างทางสำหรับคนทั้งหลาย
    ต่อมามีชายหนุ่มอีกหลายคนได้เห็นก็มีใจนิยมมาสมัคร เป็นสหายร่วมกันทำทางเพิ่มขึ้น จนมีจำนวนนับได้ ๓๓ คน ทั้งหมดช่วยกันขุดถมทำถนนยาวออกไป จนถึงประมาณโยชน์หนึ่งบ้างสองโยชน์บ้าง
    เมื่อประพฤติธรรม ย่อมไม่หวั่นภัยใด ๆ
    ฝ่ายนายบ้านเห็นว่าคนเหล่านั้นประกอบการงานที่ไม่เหมาะสม ไม่สมควร จึงเรียกว่าสอบถามและสั่งให้เลิก แต่มฆมาณพและสหายกลับกล่าวว่า พวกตนทำทางสวรรค์ จึงไม่ฟังคำห้ามของนายบ้าน พากันทำประโยชน์ต่อไป นายบ้านโกรธและไปทูลฟ้องพระราชาว่า มีโจรคุมกันมาเป็นพวก พระราชามิได้พิจารณาไต่สวน หลงเชื่อมีรับสั่งให้จับมฆมาณพและสหายมา แล้วปล่อยช้างให้เหยียบเสียให้ตายทั้งหมด
    ฝ่ายมฆมาณพเห็นเช่นนั้นก็ได้ให้โอวาทแก่สหายทั้งหลาย ไม่ให้โกรธผู้ใดและให้แผ่เมตตาจิตไปยังพระราชา นายบ้าน ช้างและตนเอง ให้เสมอเท่ากัน ชายหนุ่มทั้งหมดได้ปฏิบัติตาม ช้างไม่สามารถเข้าใกล้ด้วยอำนาจเมตตา
    พระราชาเห็นดังนั้นจึงรับสั่งให้ใช้เสื่อลำแพนปูปิดคนเหล่านั้นเสีย แล้วปล่อยให้ช้างเหยียบอีก แต่ช้างกลับถอยไป พระราชารับสั่งให้นำคนเหล่านั้นมาเข้าเฝ้า แล้วตรัสสอบถาม เมื่อทรงทราบความจริง ก็ทรงโสมนัสและทรงแต่งตั้งมฆมาณพให้เป็นนายบ้านแทนนายบ้านคนเดิม ซึ่งตอนนี้ถูกลงโทษให้เป็นทาส
    บุญเท่านั้น ที่เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย
    สหายทั้ง ๓๓ คน นอกจากจะได้พ้นโทษออกมา ยังได้รับพระราชทานกำลังสนับสนุน ก็ยิ่งเห็นอานิสงส์ของบุญ มีใจผ่องใสคิดทำบุญให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ได้สร้างศาลาเป็นที่พักของมหาชนเป็นถาวรวัตถุที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง
    ศาลานั้นได้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นที่อยู่ที่พักสำหรับคนทั่วไป ส่วนหนึ่งสำหรับคนเข็ญใจ ส่วนหนึ่งสำหรับคนป่วย ทั้ง ๓๓ คนได้ปูลาดแผ่นอาสนะไว้ทั้ง ๓๓ ที่ โดยตกลงกันไว้ว่า ถ้าอาคันตุกะเข้าไปพักบนแผ่นอาสนะของผู้ใด ก็ให้เป็นภาระของผู้นั้นจะรับรองเลี้ยงดู มฆมาณพยังได้ปลูกต้นทองหลาง (โกวิฬาระ) ไว้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกลจากศาลา ภายใต้ต้นทองหลางได้วางแผ่นหินไว้ด้วย
    มฆมาณพและสหายบำเพ็ญสาธารณกุศลเช่นนี้ตลอดชีวิต เรียกว่า บำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ ครั้นสิ้นอายุได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    วัตตบท ๗ ประการได้แก่
    ๑. เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต
    ๒. ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
    ๓. มีวาจานุ่มนวลสุภาพตลอดชีวิต
    ๔. มีวาจาไม่ส่อเสียดตลอดชีวิต
    ๕. มีใจปราศจากความตระหนี่ ยินดีในการแจกทาน ครองเรือนตลอดชีวิต
    ๖. มีวาจาสัตย์จริงตลอดชีวิต
    ๗. ไม่โกรธ แม้ว่าถ้าโกรธก็ระงับได้ทันทีตลอดชีวิต
    ทรงมีหลายชื่อ
    ชื่อที่เรียกพระอินทร์มีหลายชื่อ แต่ละชื่อบอกถึงคุณสมบัติหรือกุศลที่ทรงได้ทำมาในอดีต
    ท้าวมฆวาน - เมื่อสมัยเป็นมนุษย์ชื่อว่า มฆะ
    ท้าวปุรินททะ- เมื่อสมัยเป็นมนุษย์ได้ให้ทานในเมือง
    ท้าวสักกะ- เมื่อสมัยเป็นมนุษย์ได้ให้ทานโดยความเคารพ
    ท้าววาสะ หรือวาสพ - เมื่อสมัยเป็นมนุษย์ได้ให้ที่พัก
    ท้าวสหัสสักขะ หรือ สหัสสเนตร หรือ ท้าวพันตา - ทรงคิดรู้ความทั้งพันชั่วเวลาครู่เดียว
    ท้าวสุชัมบดี - ทรงมีชายาชื่อสุชา
    ท้าวเทวานมินทะ หรือพระอินทร์ - ทรงครอบครองราชสมบัติเป็นอิสริยาธิบดีแห่งทวยเทพชั้นดาวดึงส์
    ความเพียร
    ในคราวที่สุวีวรเทวบุตรขอพรกับพระอินทร์ ว่าขอให้ตนได้เป็น "ผู้ที่เกียจคร้าน ไม่ขยันหมั่นเพียร ไม่ทำกิจที่ควรทำ แต่ก็ได้รับความสำเร็จทุกอย่างตามที่ปรารถนา"
    พระอินทร์ทรงตรัสเพื่อให้คิดว่า
    "คนเกียจคร้านบรรลุถึงความสุขอย่างยิ่งในที่ใด ก็ให้ท่านจงไปในที่นั้นเอง และช่วยบอกให้ข้าพเจ้าได้ไปในที่นั้นด้วย"
    ถึงกระนั้น สุวีรเทวบุตรก็ยังขอพรว่า "ขอพระองค์ได้โปรด ประทานพรความสุขชนิดที่ไม่มีทุกข์โศก โดยไม่ต้องทำอะไรเลย"
    พระอินทร์ตรัสว่า "ถ้าจะมีใครดำรงชีวิตอยู่โดยไม่ต้อง ทำอะไรในทิศทางไหน นั่นเป็นทางนิพพานแน่ ให้ท่านจงไปและช่วยบอกข้าพเจ้าให้ไปด้วย"
    ขันติธรรม
    ในสงครามคราวหนึ่งฝ่ายเทวดาชนะอสูร ท้าวเวปจิตติอสุรินทร์ถูกจับได้และถูกพันธนาการมายังสุธัมมสภา ขณะที่เข้าและออกจากสภา ก็ได้บริภาษด่าพระอินทร์ด้วยถ้อยคำหยาบช้าต่างๆ แต่พระอินทร์ก็ไม่ได้โกรธแม้แต่น้อย
    พระมาตลีเทพสารถีจึงทูลถามพระอินทร์ว่า "ทรงอดกลั้น ได้เพราะกลัว หรือว่า เพราะอ่อนแอ"
    พระอินทร์ตรัสว่า "เราทนได้ไม่ใช่เพราะกลัว ไม่ใช่เพราะอ่อนแอ แต่วิญญูชนเช่นเราจะตอบโต้กับพาลได้อย่างไร"
    พระมาตลีแย้งว่า "พาลจะกำเริบถ้าไม่กำหราบเสีย เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาพึงกำหราบเสียด้วยอาชญาอย่างแรง"
    พระอินทร์ "เมื่อรู้ว่าเขาโกรธแล้วมีสติสงบลงได้ นี่แหละ เป็นวิธีกำหราบพาล
    พระมาตลีก็ยังแย้งว่า "ความอดกลั้นดังนั้นมีโทษ พาลจะเข้าใจว่าผู้นี้อดกลั้นเพราะกลัว ก็จะยิ่งข่ม เหมือนโคยิ่งหนีก็ยิ่งไล่"
    พระอินทร์ "พาลจะคิดอย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของตนสำคัญยิ่ง และไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่าขันติ ผู้ที่มีกำลัง อดกลั้นต่อผู้ที่อ่อนแอ เรียกว่าขันติอย่างยิ่ง เพราะผู้ที่อ่อนแอ ต้องอดทนอยู่เองเสมอไป ผู้ที่มีกำลังและใช้กำลังอย่างพาล ไม่เรียกว่า มีกำลัง ส่วนผู้ที่มีกำลังและมีธรรมะคุ้มครอง ย่อมไม่โกรธตอบ
    ผู้โกรธตอบผู้โกรธ หยาบมากกว่าผู้โกรธทีแรก ส่วนผู้ที่ไม่โกรธตอบผู้โกรธชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก ผู้ที่รู้ว่าเขาโกรธ แต่มีสติสงบได้ ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น แต่ผู้ที่ไม่ฉลาดไม่รู้ธรรมก็ย่อมจะเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายดังกล่าว ว่าเป็นคนโง่เสีย"
    ความไม่โกรธ
    ครั้งหนึ่งพระอินทร์เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทูลถามว่า "ฆ่าอะไรได้อยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรได้ไม่โศก" พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า "ฆ่าความโกรธ"
    ในครั้งหนึ่งได้มียักษ์ตนหนึ่งผิวพรรณเศร้าหมอง รูปร่างน่าเกลียด ขึ้นไปนั่งบนอาสนะของพระอินทร์ พวกเทพชั้นดาวดึงส์พากันโพนทนาติเตียน แต่ยิ่งโพนทนาติเตียน ยักษ์นั้นก็ยิ่งงามยิ่งผ่องใส จนพวกเทพพากันประหลาดใจว่า น่าจะเป็นยักษ์กินโกรธ
    พระอินทร์ทรงทราบความนั้นแล้วได้เสด็จเข้าไป ทำผ้าเฉวียงพระอังสะข้างซ้าย คุกเข่าขวาลง และประคองอัญชลีเหนือพระเศียร ประกาศพระนามของพระองค์ขึ้น ๓ ครั้งว่า พระองค์คือ ท้าวสักกะจอมเทพ ยักษ์นั้นกลับมีผิวพรรณเศร้าหมอง รูปร่างน่าเกลียดยิ่งขึ้นจนหายไปในที่นั้น พระองค์ขึ้นประทับบนอาสนะของพระองค์แล้วตรัสอบรมพวกเทพ และตรัสว่า พระองค์ไม่ทรงโกรธมาช้านาน ความโกรธไม่ตั้งติดในพระองค์ แม้จะโกรธชั่ววูบเดียวก็ไม่กล่าวผรุสวาจา ทรงข่มตนได้
    คราวหนึ่งพระองค์ทรงอบรมเทพทั้งหลายว่า ให้มีอำนาจเหนือความโกรธ อย่าจืดจางในมิตร อย่าตำหนิผู้ไม่ควรตำหนิ อย่ากล่าวส่อเสียด อย่าให้ความโกรธเข้าครอบงำ อย่าโกรธตอบผู้โกรธ ความไม่โกรธและความไม่เบียดเบียนมีอยู่ในพระอริยะทั้งหลายทุกเมื่อ ความโกรธทับบดคนบาปเหมือนภูเขา
    จะเห็นได้ว่าคุณธรรมที่พระอินทร์ทรงประพฤติปฏิบัติทั้งขณะที่เป็นมนุษย์และเทวดา เป็นสิ่งที่เราสามารถกระทำตามได้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์โดยหวังผลคือ ความสุขของส่วนรวม
    แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าคุณธรรมต่างๆ เหล่านี้ นับวันจะเลือนหายไปในสังคมไทยของเรา เพราะคิดแต่จะเจริญรอยตามวัฒนธรรมฝรั่ง โดยหารู้ไม่ว่า ได้เพาะเมล็ดพันธ์แห่งความเห็นแก่ตัว ความไร้คุณธรรม ลงไปในความอยากมีอยากเป็นตามกระแสของสังคมศิวิไลซ์ที่เน้นวัตถุนิยม
    ฉะนั้น หากเราช่วยกันนำคุณธรรมที่ดีงามต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งบรรพบุรุษของเราเคยทำมาแล้ว ให้กลับคืนมา สังคมอันดีงาม เต็มเปี่ยมไปด้วยธรรม ก็ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน
    -------------------------
    อารามโรปา วนโรปา
    เย ชนา เสตุการกา
    ปปญฺจ อุทปานญฺจ
    เย ททนฺติ อุปสฺสยํ
    เตสํ ทิวา จ รตฺโต จ
    สทา ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ.
    ชนเหล่าใด สร้างสวน ปลูกป่า ให้โรงประปา บ่อน้ำ และที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ ทั้งคืนทั้งวัน
    --------------------------------------------------
    คัดลอกจาก: ธรรมะเพื่อชีวิต
    เล่มที่ ๓๓ ฉบับเข้าพรรษา ๒๕๔๕
    มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    <SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2321900323808895";google_ad_host = "pub-2606800903002383";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;google_ad_format = "300x250_as";google_ad_type = "text_image";google_ad_channel = "";google_color_border = "F5F5FF";google_color_bg = "E1E4F2";google_color_link = "22229C";google_color_text = "000000";google_color_url = "22229C";google_ui_features = "rc:6";//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 300px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 300px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><IFRAME id=google_ads_frame2 style="LEFT: 0px; POSITION: absolute; TOP: 0px" name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-2321900323808895&host=pub-2606800903002383&dt=1249438457187&lmt=1249438457&prev_fmts=728x90_as&format=300x250_as&output=html&correlator=1249438457078&url=http%3A%2F%2Fwww.larnbuddhism.com%2Fwebboard%2Fforum12%2Fthread216.html&color_bg=E1E4F2&color_text=000000&color_link=22229C&color_url=22229C&color_border=F5F5FF&ad_type=text_image&ref=http%3A%2F%2Fwww.google.co.th%2Fsearch%3Fhl%3Dth%26rlz%3D1T4MOOI_enTH335TH335%26um%3D1%26q%3D%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%26ndsp%3D18%26ie%3DUTF-8%26sa%3DN%26tab%3Diw&frm=0&ui=rc%3A6&ga_vid=1297255189.1242488242&ga_sid=1249438457&ga_hid=288882144&ga_fc=true&flash=10.0.12.36&w=300&h=250&u_h=800&u_w=1280&u_ah=770&u_aw=1280&u_cd=32&u_tz=420&u_his=6&u_java=true&dtd=16&xpc=DMjV5BMhGd&p=http%3A//www.larnbuddhism.com" frameBorder=0 width=300 scrolling=no height=250 allowTransparency></IFRAME></INS></INS>
    "สหัสสเนตโต เทวินโต ทิพพจักขุง วิโสทายิ"

    (คาถาบทนี้เหมาะสำหรับเด็กนักเรียน บอกว่าเวลาก่อนที่จะดูหนังสือ ให้ไหว้พระ นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระอริยสงฆ์ นึกถึงบิดามารดา ความดีของท่าน นึกถึงครูบาอาจารย์ แล้วนึกถึงพระอินทร์เจ้าของคาถา แล้วว่าสัก 1 จบ แล้วก็ดูหนังสือ เมื่อจะเลิกจากอ่านหนังสือก็ว่าสักอีก 1 จบ วันแรก ๆ ก็อาจจะจำไม่ได้ แต่วันต่อไปก็อาจจะคล่องตัวขึ้นมาเอง)

    สหัสสะ เนตโต เทวินโท ทิพจักขุง วิโสธายิ

    ที่สำคัญต้องต่อด้วย "อิกะวิติ พุทธะสังมิ โลกะวิทู"



    เป็นคาถาที่มีความสำคัญกับพวกเรามาก โดยเฉพาะคนที่กำลังเรียนหรือศึกษาอยู่ จะมีผลมากด้านความจำ หรือการทำข้อสอบก็จะมีความถูกต้องแม่นยำอย่างไม่น่าเ ชื่อ
    ถ้าจำแม่นไม่หลงลืมจริง ๆ ก็ใช้คาถาท่านปู่พระอินทร์ สหัสสเนตโต เทวินโท ทิพจักขุง วิโสทายิ สหัสสเนตโต ตาโต ๆ พันดวง เทวินโท คือ เทวดาผู้เป็นใหญ่ ทิพจักขุง ก็คือ ตาทิพย์ ความรู้สึกเหมือนมีตาทิพย์ วิโสทายิ แค่นั้น ใช่บ่อย ๆ ความจำจะดี ขณะเดียวกันถ้าหากว่าใครจะสอบอะไรก็ใช้ได้มันจะคล่องตัวเหมือนยังกับลอกข้อสอบเลย
    คาถาท่านปู่พระอินทร์ คาถาสหัสสะเนตโตน่ะ ว่านะโมสามจบ ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พรหมเทวดาทั้งหมด มีท่านปู่พระอินทร์เป็นที่สุด ขอให้ท่านช่วยสงเคราะห์รับกระดาษคำถามมาอย่างเพิ่งอ่านให้คว่ำลง ว่าคาถาสักสามจบ เสร็จแล้วพลิกกระดาษขึ้นมา อ่านคำถามดู ถ้ายังตอบได้ไม่หมดให้คว่ำลง แล้วว่าอีกเจ็ดจบ

    คราวนี้ความรู้สึกบอกว่าอย่างไร อยากจะเขียนอย่างไร อยากจะตอบอย่างไร ทำตามนั้นเลย จะเป็นไปตามนั้นทุกอย่าง ขอให้เชื่ออารมณ์แรกอย่าไปฝืน คาถาสั้น ๆ ว่า สหัสสะเนตโต เทวินโท ทิพจังขุง วิโสธายิ แค่นี้แหละ ตอนหลังเขาเติม อิกะวิติ พุทธสังมิ โลกะวิทู ลงไปหน่อยหนึ่ง อิกะวิติเป็นหัวใจอิติปิโส พุทธสังมินี่หัวใจไตรสรณาคมน์ โลกะวิทูก็รู้แจ้งในโลก อะไร ๆ มา ก็รู้หมด ใช้คาถาตัวนี้ให้ชิน ก่อนอ่านหนังสือก็ว่าไปซะห้าจบ สิบจบ หลังอ่านก็ว่าไปซะห้าจบ สิบจบ
     
  4. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,047
    คำว่า ยักษ์ (พระอินทร์) นี้ เป็นผู้บริสุทธิ์มานานแล้วแล คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ดีจำเดิมแต่กาลนานแล้ว. กาลนานเท่าไร. นาน จำเดิมแต่ครั้งเป็นมาฆมาณพในหมู่บ้านมจละ แคว้นมคธ ครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงเกิดขึ้นมาแล้ว.



    ดังมีเรื่องเล่ามาว่า ครั้งนั้น วันหนึ่ง มาฆมาณพนั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ แล้วไปสู่ที่ทำงานประจำหมู่บ้านของพวกคนกลางหมู่บ้าน เอาปลายเท้านั่นแหละเขี่ยก้องดินและขยะมูลฝอยออกไป ทำที่ซึ่งตนยืนให้น่ารื่นรมย์. คนอื่นก็มายืนในที่นั้น.

    ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นเอง เขาก็กลับได้ความระลึก จึงถางที่เท่าวงสนามกลางหมู่บ้านแล้ว ก็ขนทรายมาเกลี่ยลง ขนเอาฟืนมาก่อไฟในเวลาหนาว. ทั้งหนุ่มสาวและผู้เฒ่าผู้แก่ก็พากันมานั่งในที่นั้น.


    ต่อมาวันหนึ่ง เขาเกิดความคิดว่า เมื่อเราไปเมืองก็เห็นพระราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นต้น คนทั้งหลายต่างก็กล่าวกันว่า ในพระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้น ต่างก็มีเทพบุตรชื่อจันทร์ เทพบุตรชื่อสูรย์ พวกเหล่านั้นทำอะไรหนอจึงได้สมบัติเหล่านี้.

    ต่อมาจึงคิดได้ว่า สิ่งอื่นไรๆ ไม่มี ต้องทำบุญเท่านั้น แล้วคิดว่า ถึงเราเองก็ต้องทำบุญที่ให้สมบัติอย่างนี้เหมือนกัน. เขาจึงลุกขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่ ดื่มข้าวต้มแล้วก็ถือเอาพร้าขวานเสียมและสากไปที่ทางใหญ่สี่แยก เอาสากงัดก้อนหินให้ไหวแล้วกลิ้งไป เอาไม้มาสอดใส่เพลายาน ปราบที่ขรุขระให้เรียบราบแล้ว ก็สร้างศาลาตรงทางใหญ่สี่แพร่ง ขุดสระบัว ผูกสะพานทำงานอย่างนี้ตลอดวัน ตะวันตกจึงกลับบ้าน.


    มีคนอื่นถามเขาว่า เพื่อนมาฆะ คุณออกไปตั้งแต่เช้า ตกเย็นจึงมาจากป่า คุณทำงานอะไร. ผมทำบุญ ถางทางไปสวรรค์. ชื่อว่าบุญนี้ คืออะไรกันเพื่อน. คุณไม่รู้จักหรือ. เออ ผมไม่รู้จัก. เวลาไปเมืองท่านเคยเห็น พวกราชาและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นต้นหรือ. เคยเห็นครับ. พวกนั้นทำบุญแล้วจึงได้ตำแหน่งนั้น ผมเองก็จะทำงานที่ให้สมบัติอย่างนั้นบ้าง คุณเคยฟังไหมว่า เทพบุตรชื่อจันทร์ เทพบุตรชื่อสูรย์. เออ เคยฟัง. ผมก็จะถางทางไปสวรรค์นั้น. เออก็บุญกรรมนี้ เหมาะสำหรับคุณเท่านั้น หรือสำหรับคนอื่นก็เหมาะด้วย. บุญนั้นไม่กีดกันใครๆ หรอก. ถ้าอย่างนั้น พรุ่งนี้ เวลาไปป่า คุณเรียกผมด้วยนะ.

    วันรุ่งขึ้น เขาก็พาคนนั้นไป. ด้วยประการฉะนี้ ในหมู่บ้านนั้นจึงมีคนอยู่ในวัยฉกรรจ์รวมสามสิบสามคน ทุกคนล้วนแต่เป็นไปตามนายมาฆะทั้งนั้น. พวกเขาเที่ยวทำบุญเป็นเอกฉันท์ วันใดไป เมื่อจะปราบทางให้ราบปราบวันเดียวเท่านั้น เมื่อจะขุดสระบัว สร้างศาลา สร้างสะพานก็ให้เสร็จในวันเดียวเท่านั้น.


    ต่อมา ผู้ใหญ่บ้านของพวกเขาก็คิดว่า แต่ก่อน เมื่อพวกนี้ยังดื่มเหล้าและยังฆ่าสัตว์เป็นต้น เราย่อมได้ทรัพย์ด้วยอำนาจกหาปณะเล็กน้อยเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจภาษีอาชญาบัตรบ้าง เดี๋ยวนี้ ตั้งแต่พวกนี้ทำบุญ รายได้จำนวนนั้นก็ขาดไป เอาล่ะ เราจะทำลายพวกนั้นในราชตระกูล จึงเข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าพบกองโจร.
    ราชา. ที่ไหนกัน พ่อ.
    ผู้ใหญ่บ้าน. ในหมู่บ้านข้าพระพุทธเจ้า.
    ราชา. โจรชนิดไหนกัน พ่อ.
    ผู้ใหญ่บ้าน. ชนิดทำผิดต่อพระราชา พระองค์.
    ราชา. ชาติอะไร.
    ผู้ใหญ่บ้าน. ชาติชาวบ้าน พระองค์.
    ราชา. ชาวบ้านจะทำอะไรได้ เมื่อเธอรู้เช่นนั้น ทำไมจึงไม่บอกเรา.

    ผู้ใหญ่บ้าน. มหาราช ที่ไม่กราบทูลเพราะกลัวพระอาชญา บัดนี้ ขอพระองค์อย่าพึงลงพระอาชญาแก่ข้าพระพุทธเจ้า.

    ลำดับนั้น พระราชาทรงคิดว่า ผู้ใหญ่บ้านนี้ร้องเสียงดัง จึงทรงเชื่อ จึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอนั่นแหละจงไป นำพวกโจรเหล่านั้นมา แล้วก็ประทานกำลังส่งไป. ผู้ใหญ่บ้านนั้นก็ไปล้อมพวกนั้นขณะที่ทำงานประจำวันในป่าเสร็จแล้ว นั่งรับประทานอาหารเย็นกลางหมู่บ้าน แล้วกำลังปรึกษากันว่า พรุ่งนี้ พวกเราจะทำงานอะไร จะปราบทางให้เสมอกัน จะขุดสระ หรือจะผูกสะพาน แล้วสำทับไปว่า อย่าขยับเขยื้อนนะ นี่คำสั่งในหลวง มัดแล้วก็จูงไป.
    ลำดับนั้น พวกผู้หญิงของคนเหล่านั้น ได้ฟังว่า นัยว่า พวกสามีของพวกเราเป็นโจรขบถต่อพระราชา เจ้าหน้าที่เขาหาว่าเป็นโจร จึงมัดนำออกไป จึงพูดว่า พวกนี้เป็นคนโกงมานานแล้ว แต่ละวันๆ มีแต่พูดว่า ทำบุญ แล้วก็ไปป่าท่าเดียว งานการทุกอย่างเสื่อมทรามหมด ในเรือนจะหาอะไรก้าวหน้าสักนิดก็ไม่มี มัดให้ดี นำไปให้ดี.

    แม้ผู้ใหญ่บ้านก็นำพวกเขาไปแสดงแด่พระราชา. พระราชายังไม่ทันได้ทรงสอบสวนเลย ตรัสว่า จงให้ช้างเหยียบ.

    เมื่อพวกเขาถูกนำไป มาฆะพูดกับคนนอกนี้ว่า เพื่อน พวกคุณจะทำตามคำของผมได้ไหม.

    เมื่อทำตามคำของคุณนั่นแหละ พวกเราจึงถึงภัย ถึงเช่นนั้นก็เถอะ เราก็ยังทำตามคำของคุณ ว่าแต่คุณเถอะ จะให้พวกเราทำอะไร พรรคพวกว่า.

    เพื่อน มาเถอะ นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ที่ท่องเที่ยวในวัฏฏะ ก็พวกท่านเป็นโจรหรือ มาฆะชี้แจง และถามพรรคพวก.

    พวกเราไม่ใช่โจร พรรคพวกตอบอย่างแข็งขัน.

    ชื่อว่าการกระทำสัจจะเป็นที่พึ่งของโลกนี้ ฉะนั้น ถ้าพวกเราแม้ทั้งหมดเป็นโจร ขอให้ช้างจงเหยียบ ถ้าไม่เป็นโจร อย่าเหยียบ ขอให้พวกคุณจงกระทำสัจจะดังที่ว่ามานี้ มาฆะแนะนำ.

    พวกเขาก็ได้ทำอย่างนั้น.

    ช้างแม้แต่จะเข้าใกล้ก็ไม่ได้ ร้องพลาง หนีไปพลาง แม้จะเอาเหล็กแหลม หอก และขอสับสักเท่าไรก็รั้งไว้ไม่อยู่. พวกควาญช้างจึงไปกราบทูลพระราชาว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าขับช้างเข้าไปใกล้ไม่ได้.

    ถ้าอย่างนั้น ก็เอาเสื่อลำแพนคลุมปิดข้างบนพวกมันแล้วให้เหยียบซิ พระราชาตรัสสั่ง.

    เมื่อครอบเสื่อลำแพนไว้ข้างบนแล้ว เจ้าช้างก็ยิ่งร้องเป็นสองเท่าพลางก็หนีไป.

    พระราชาทรงฟังแล้ว ก็ทรงมีรับสั่งให้เรียกตัวการยุแหย่มาแล้วตรัสว่า พ่อ ช้างมันไม่อยากเหยียบ.

    ทราบด้วยเกล้า ขอเดชะ มาณพผู้เป็นหัวหน้ารู้มนต์ นั่นเป็นอานุภาพของมนต์แท้เทียว ผู้ใหญ่บ้านสนองพระดำรัสและกราบทูลใส่ความต่อ.

    พระราชาทรงมีรับสั่งให้หัวหน้านั้นเข้าเฝ้าแล้วตรัสถามว่า เขาว่า แกมีมนต์หรือ.

    ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีมนต์ แต่พวกข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำสัจจกิริยาไว้ว่า ถ้าพวกเราเป็นโจรของพระราชา ขอให้เหยียบเถิด ถ้าไม่เป็นโจร ขออย่าเหยียบ นั่นเป็นอำนาจของสัจจกิริยาของพวกข้าพระพุทธเจ้า.



    ราชา. แล้วก็ พวกพ่อกระทำงานอะไร.

    หัวหน้า. พวกข้าพระพุทธเจ้า ปราบทางที่ขรุขระให้เรียบ สร้างศาลาในทางใหญ่สี่แยก ขุดสระบัว ผูกสะพาน ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวสร้างบุญกรรมเห็นปานนี้.


    ราชา. ผู้ใหญ่บ้านยุยงพวกพ่อ เพื่ออะไร?
    หัวหน้า. เวลาที่พวกข้าพระพุทธเจ้าประมาท เขาย่อมได้สิ่งนี้และสิ่งนี้ เวลาไม่ประมาท สิ่งนั้นก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้จึงยุยง.
    ราชา. พ่อ ช้างเชือกนี้ เป็นดิรัจฉาน แม้มันก็ยังรู้คุณของพวกพ่อ ข้าเองแม้เป็นมนุษย์ ก็ไม่รู้ ข้าขอยกหมู่บ้านที่อยู่ของพวกพ่อเป็นหมู่บ้านปลอดภาษีที่ใครๆ มาเก็บไม่ได้ แล้วให้แก่พวกพ่อนี้แหละอีก ถึงช้างนี้ก็จงเป็นของพวกพ่อเหมือนกัน ส่วนตัวการยุแหย่ขอมอบให้เป็นทาสของพวกพ่อนี่แหละ ตั้งแต่นี้ไป ขอให้พวกพ่อจงทำบุญเพื่อข้าบ้างนะ

    ตรัสแล้วก็พระราชทานพระราชทรัพย์ให้ แล้วก็ทรงปล่อยไป.

    พวกเขารับพระราชทรัพย์แล้ว ก็เปลี่ยนเวรขึ้นช้างกันไป พลางปรึกษากันว่า เพื่อนเอ๋ย ธรรมดาว่า บุญกรรมเป็นของที่ต้องทำเพื่อประโยชน์แห่งภพในอนาคต เพราะบุญนั้นของพวกเราให้ผลในอัตภาพนี้แหละ เหมือนอุบลเขียวที่ผลิดอกออกผลภายในน้ำ บัดนี้ พวกเราจะทำบุญให้ยิ่งขึ้นไป.


    พวกเราจะทำอะไร?

    เราทำสิ่งถาวรในทางใหญ่สี่แยกแล้ว สร้างศาลาสำหรับพักของมหาชน. แต่กับพวกผู้หญิงจะไม่ยอมให้มีส่วนร่วม เพราะเมื่อพวกเราถูกเจ้าหน้าที่หาว่าเป็นโจรจับพาไป ในพวกผู้หญิงแม้คนเดียว ก็ไม่ทำแม้แต่เพียงเอาใจช่วย มีแต่ส่งเสริมว่ามัดดีๆ จับดีๆ เพราะฉะนั้น พวกเราจะไม่ยอมให้ผู้หญิงเหล่านั้นมีส่วนร่วม.

    พวกเขาก็พากันไปเรือนตนให้ข้าวสามสิบสามก้อน นำหญ้าสามสิบสามกำแก่ช้าง. ทั้งหมดนั้นก็เต็มท้องช้าง. พวกเขาเข้าป่าตัดไม้. ช้างก็ลากเอาไม้ที่ตัดแล้วๆ มาวางไว้ที่ทางเกวียน. พวกเขาช่วยกันถากไม้ เริ่มสร้างศาลา.
    มาฆะ มีภรรยาอยู่ในเรือนสี่คน คือ นางสุชาดา นางสุธรรมา นางสุจิตรา นางสุนันทา.


    นางสุธรรมาถามช่างไม้ว่า พ่อ! พวกเพื่อนเหล่านี้ เช้าก็ไป ตกเย็นจึงมา พวกเขาทำงานอะไร. ทำศาลา แม่. พ่อ! ขอให้ท่านช่วยทำให้ดิฉันมีส่วนร่วมในศาลาด้วยคนซิ. พวกเพื่อนเหล่านี้กล่าวว่า พวกเราจะไม่ยอมให้พวกผู้หญิงมีส่วนร่วม.

    นางได้ให้เงินช่างไม้แปดกหาปณะด้วยพูดว่า เอาเถอะ พ่อ ขอให้ท่านช่วยหาอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ดิฉันมีส่วนร่วมด้วย. เขากล่าวว่า ตกลง แม่ แล้วก็ถือเอามีดและเอาขวานอย่างเร็วไปยืนกลางหมู่บ้าน ตะโกนเสียงดังๆ ว่า คุณ! วันนี้เวลาป่านนี้แล้ว ยังไม่ออกกันอีกหรือ? รู้ว่า ขึ้นสู่ทางกันหมดแล้ว จึงว่า พวกคุณจงล่วงหน้าไปก่อน ผมมีความจำเป็นต้องล่าช้า แล้วก็ให้พวกนั้นล่วงหน้าไปก่อน แล้วเดินไปทางอื่นตัดไม้สำหรับใช้เป็นช่อฟ้า ถากไสแล้วขนมาไว้ที่เรือนนางสุธรรมาแล้ว สั่งนางว่า ท่านพึงให้ขนออกไปได้ ในวันที่ผมแจ้งไปว่าจงให้เถิด.




    ต่อมาเมื่อเสร็จงานเกี่ยวกับเครื่องเครา และเมื่อทำเครื่องผูกที่ยึด การยกเสา การประกอบขื่อและที่ติดช่อฟ้า ตั้งแต่ปราบพื้นที่เสร็จแล้ว ช่างไม้นั้นก็นั่ง ณ ที่สำหรับติดช่อฟ้า ยกไม้จันทันทั้งสี่ทิศ พูดว่า โอ้! มีลืมไปอย่างหนึ่งเสียแล้ว. คุณมีอะไรที่ไม่ลืมเล่า? ลืมทั้งหมดนั่นแหละ. แล้วจะเอาไม้จันทันเหล่านี้ไปตั้งไว้ตรงไหน? ควรจะได้ช่อฟ้ามา. พ่อคุณเอ๋ย บัดนี้ เราอาจได้ที่ไหนเล่า. อาจได้ในเรือนแห่งสกุลทั้งหลาย ลองเที่ยวถามดูซิ.


    พวกเขาก็เข้าไปถามในหมู่บ้าน แล้วมายืนที่ประตูเรือนนางสุธรรมาถามว่า ในเรือนนี้มีช่อฟ้าไหม. นางบอกว่า มี. เชิญรับค่าไป. ไม่รับค่าหรอก ถ้าพวกคุณยอมให้ดิฉันมีส่วนร่วมด้วย ดิฉันจะให้. มาเถอะ พวกเราจะไม่ยอมทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วม พวกเราจะไปป่าแล้วตัดไม้ ว่าแล้วก็พากันออกไป. แต่นั้น พวกเขาเมื่อถูกช่างไม้ถามว่าเป็นอย่างไร พ่อได้ช่อฟ้าไหม? ก็แจ้งความข้อนั้น. ช่างไม้นั่งอยู่ที่ติดช่อฟ้าอย่างเดิมเงยมองดูอากาศแล้วพูดว่า ท่านผู้เจริญ วันนี้ ฤกษ์ดี เลยฤกษ์นี้แล้ว ปีอื่นจึงจะสามารถได้ และพวกคุณก็จะนำเอาเครื่องเครามาลำบาก ด้วยเครื่องเคราเหล่านั้นเอามากองไว้ตลอดปี ก็จะเน่าผุในที่นี้นี่เอง เวลาเกิดในเทวโลก ก็จงยอมให้ศาลามุมหนึ่งแก่นางเถิด ไปเอาช่อฟ้านั้นมาเถิด.


    แม้นางสุธรรมานั้นตลอดเวลาที่พวกนั้นยังไม่มาอีก ได้สั่งให้ฉลุตัวหนังสือว่า ศาลาหลังนี้ชื่อสุธรรมา ไว้ที่พื้นล่างช่อฟ้า แล้วเอาผ้าใหม่มาพันตั้งไว้.

    เมื่อพวกคนงานมาแล้วกล่าวว่า ช่วยนำเอาช่อฟ้ามา เท่าที่จะเป็นได้ พวกเราจะทำให้คุณนายมีส่วนร่วมด้วย. นางก็นำออกมา สั่งว่า พ่อทั้งหลาย! อย่าเพิ่งเอาผ้านี้ออกนะคะ จนกว่ายังไม่ขึ้นไม้จันทันได้แปดหรือสิบหกท่อนก่อน แล้วก็ให้ไป. พวกนั้นก็รับว่า ตกลง ครั้นยกไม้จันทันขึ้นเสร็จแล้วก็เอาผ้าออก.

    เพื่อนบ้านสำคัญคนหนึ่งเงยหน้าขึ้นข้างบนเห็นตัวหนังสือจึงพูดว่า นี่อะไร? แล้วให้ไปตามคนที่อ่านหนังสือออกมาแสดง. คนนั้นก็อ่านว่า ศาลาหลังนี้ชื่อสุธรรมา. พวกเขาก็ร้องเอะอะว่า เอาออกไปท่าน ตั้งแต่ต้นมา เมื่อสร้างศาลา พวกเราไม่ได้แม้แต่ชื่อ นางนี้เอาไม้ช่อฟ้าแค่ศอกแล้วให้ทำศาลาด้วยชื่อตัว.


    เมื่อพวกเขากำลังร้องเอะอะอยู่นั่นเอง ช่างไม้ก็สอดไม้จันทันแล้วตอกสลักเป็นอันเสร็จงานสร้างศาลา. เขาแบ่งศาลาเป็นสามส่วน คือ ส่วนหนึ่งทำเป็นที่พักพวกคนใหญ่คนโต ส่วนหนึ่งสำหรับพวกคนยากคนจน อีกส่วนหนึ่งสำหรับผู้เจ็บป่วย.


    สามสิบสามคนปูกระดานสามสิบสามแผ่นแล้วให้สัญญาณช้างว่า อาคันตุกะมานั่งบนแผ่นกระดานที่ผู้ใดปูไว้ เจ้าจงพาเขาไปตั้งไว้ที่เรือนของเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ ให้การนวดเท้า ให้การนวดหลัง ของขบเคี้ยวของกินและที่นอน ทั้งหมดแก่อาคันตุกะนั้น จะเป็นภาระของเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ. ช้างก็พาแขกที่มาแล้ว นำไปสู่เรือนของเจ้าของแผ่นกระดานนั่นเอง. วันนั้น เจ้าของแผ่นกระดานนั้นก็จัดการที่พึงทำแก่แขกนั้น.



    ในที่ไม่ไกลศาลา มาฆมาณพปลูกต้นทองหลางไว้ และที่โคนไม้นั้นลาดแผ่นหินไว้. แม้ภริยาของเขาที่ชื่อสุนันทาก็ให้ขุดสระบัวไว้ใกล้ๆ. นางสุจิตราปลูกพุ่มไม้ดอก. ส่วนเมียหลวงเอาแต่เที่ยวส่องกระจกตกแต่งร่างกายเท่านั้น. มาฆะพูดกับนางว่า น้อง แม่สุธรรมานี้ เขามีส่วนแห่งศาลา แม่สุนันทา เขาให้ขุดสระบัว และก็แม่สุจิตราเขาก็ปลูกพุ่มไม้ดอก ส่วนน้องยังไม่มีบุญกรรม น้องจงทำบุญสักอย่างเถอะที่รัก. นางตอบว่า พี่ทำเพราะเหตุใคร ที่พี่ทำก็เพื่อน้องเหมือนกันมิใช่หรือ? แล้วก็เอาแต่หมกมุ่นกับการแต่งตัวท่าเดียว.



    เมื่อมาฆะดำรงอยู่จนตลอดอายุแล้ว ก็เคลื่อนจากมนุษย์โลกนั้นไปเกิดเป็นท้าวสักกะในชั้นดาวดึงส์. คนเพื่อนบ้านทั้งสามสิบสามคนตายแล้ว ก็เป็นเทพบุตรสามสิบสามองค์เกิดในสำนักของท้าวสักกะนั้นเอง. ปราสาทชื่อไพชยนต์ของท้าวสักกะ ผุดขึ้นสูงตั้งเจ็ดร้อยโยชน์. ธงผุดขึ้นสูงตั้งสามร้อยโยชน์. ด้วยผลของไม้ทองหลาง เกิดต้นปาริฉัตร มีปริมณฑลโดยรอบสามร้อยโยชน์ ลำต้นกว้างสิบห้าโยชน์. ด้วยผลแห่งแผ่นหิน เกิดหินเหมือนผ้าขนสัตว์สีเหลืองหกสิบโยชน์ที่โคนปาริฉัตร. ด้วยผลแห่งไม้ช่อฟ้าของนางสุธรรมา เกิดเทวสภาชื่อสุธรรมาสามร้อยโยชน์. ด้วยผลแห่งสระบัวของนางสุนันทา เกิดสระบัวชื่อนันทาห้าสิบโยชน์. ด้วยผลแห่งสวนพุ่มไม้ดอกของนางสุจิตรา เกิดอุทยานชื่อจิตรลดาวันหกสิบโยชน์.

    ท้าวสักกะผู้เป็นราชาแห่งเทพ ประทับนั่งบนบัลลังก์ทองโยชน์หนึ่งในสุธรรมาเทวสภา มีเศวตฉัตรสามโยชน์กางกั้น แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรเหล่านั้น ด้วยเทพธิดาเหล่านั้น ด้วยนางฟ้อน ๒๕ โกฏิและด้วยหมู่เทวดาในเทวโลกสองชั้น เมื่อตรวจดูมหาสมบัติ ก็ทรงเห็นสตรีสามคนเหล่านั้น ทรงดูว่า สามคนนี้ปรากฏก่อน สุชาดาอยู่ไหน ทรงเห็นว่า นางนี้ไปเกิดเป็นนางนกยางตัวหนึ่งในซอกเขา เพราะไม่ยอมทำตามคำเรา แล้วทรงลงจากเทวโลก เสด็จไปสู่สำนักนาง.


    พอนางเห็นเท่านั้นแหละก็จำได้เลยก้มหน้า. ท้าวสักกะจึงตรัสว่า เจ้าผู้เขลา บัดนี้ ไฉนจึงไม่ยอมยกหัวขึ้นล่ะ เจ้าไม่ทำตามคำเรา เอาแต่แต่งเนื้อแต่งตัว ทำให้เสียเวลา สมบัติอันยิ่งใหญ่เกิดแล้วแก่นางสุธรรมา นางสุนันทา และนางวิจิตรา จงมาดูสมบัติพวกเราสิ แล้วก็ทรงพาไปเทวโลก ทรงปล่อยที่สระบัวชื่อนันทาแล้ว เสด็จประทับนั่งบนบัลลังก์. พวกนางนักฟ้อนกราบทูลถามว่า มหาราช ทูลกระหม่อมเสด็จไปไหน. พระองค์แม้ไม่ทรงอยากจะบอก เมื่อถูกพวกนางเหล่านั้นบีบคั้นหนักเข้า ก็ตรัสว่า ไปสู่สำนักสุชาดา.

    นาฏกา. มหาราช นางเกิดที่ไหน.
    ส. ที่เชิงซอกเขา.
    นาฏกา. เดี๋ยวนี้อยู่ไหน.
    ส. ฉันปล่อยไว้ที่สระบัวชื่อนันทา.
    นาฏกา. มาเถิด ท่านผู้เจริญ พวกเราไปดูเจ้าแม่ของพวกเรา แล้วทั้งหมดก็พากันไปที่นั้น.
    นางสุชาดานั้น แต่ก่อนมา ถือตัวว่าเป็นใหญ่กว่าเขาหมด. บัดนี้ ชั้นแต่พวกหญิงนักฟ้อน เมื่อเห็นนางเข้าก็พากันพูดจาเยาะเย้ยเอาเป็นต้นว่า ดูเถิดท่าน ปากเจ้าแม่พวกเราอย่างกะหลาวแทงปู.



    นี่คือ ผลกรรมของท้าวอัมรินทร์มหาราช เห็นได้ว่า ท่านก็เริ่มจากคนอย่างเรา ๆ นี่เอง แต่ทำประโยชน์ให้กับคนอืนมามาก


    อรรถกถาสักกปัญหสูตร


    http://84000.org/tipitaka/attha/atth...นา


    จากคุณ : SpiritWithin pantip.com
     
  5. Frozen

    Frozen Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +33
    อนุโมทนา ครับ
    เป็นบทความที่ดีมากๆเลยครับ
    _____
    ผู้มีความเพียรย่อมละความชั่วได้และทำความดีให้เกิดขึ้นได้
     
  6. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์<O></O>

    พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์<O></O>
    ธรรมรักษา


    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์ หรือท้าวสักกะจอมเทพ เรียกว่า วัตรบท มี ๗ ข้อ คือ<O></O>

    .เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต
    <O></O>

    .อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต<O>

    .พูดจาอ่อนหวานตลอดชีวิต<O>

    </O>.ไม่พูดจาส่อเสียดตลอดชีวิต
    <O></O>

    .ยินดีในการบริจาคทานตลอดชีวิต
    <O></O>

    .พูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
    <O></O>

    .ไม่โกรธตลอดชีวิต

    ถ้าเกิดความโกรธก็ระงับโดยเร็ว

    </O>ภิกษุทั้งหลาย! ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้รักษาวัตรบท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ จึงได้เป็นท้าวสักกะ.<O>
    </O><O></O>



    ปฐมเทวสูตร ๑๕/๓๑๘<O></O>






    <O>


    [​IMG]

    </O>




    คติและคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ผูกขาดชนชั้น หรือตำแหน่งต่าง ๆ แม้แต่ความเป็นพระพุทธเจ้า ที่จัดว่าเป็นยอดสุดของความเป็นสัตว์โลก<O></O>
    ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนา ถือหลักเหตุผลและความเป็นจริง อีกทั้งมีใจกว้างยิ่งนัก โดยเฉพาะพระศาสดาของเรา ทรงให้อิสระในความคิด ความเชื่อ และการกระทำเต็มที่<O>

    </O>แม้แต่ตำแหน่งเทพชั้นต่าง ๆ ทุกชั้น ถ้าใครต้องการก็สามารถไปอยู่ได้ ขอแต่ว่าให้สร้างเหตุให้ถึงฐานะนั้น ๆ เถิด เช่น พระพรหม พระอินทร์ และเทพชั้นรอง ๆ ลงมาทุกชั้น<O>

    </O>คิดดูเถิดในโลกนี้ จะมีพระศาสดาองค์ใดบ้าง ที่กล้าพูดความจริง และมีจิตใจที่กว้างใหญ่ไพศาลเช่นนี้ ควรที่ชาวพุทธเราจะภูมิใจ และพร้อมใจกัน ปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจังและจริงใจ และผลแห่งการปฏิบัตินั้น นอกจากจะเป็นการบูชาพระพุทธองค์ด้วยการบูชาอย่างสูงสุดแล้ว เรายังได้อานิสงส์จากการปฏิบัตินั้น ตามฐานะที่ควรได้อีกด้วย<O>

    </O>ในพระสูตรนี้ ทรงระบุถึงการปฏิบัติตน ที่จะให้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ ด้วยวัตรบท ๗ ประการ ใครอยากไปเกิดเป็นพระอินทร์ มีนางฟ้า ๕๐๐ เป็นบริวาร ก็จงปฏิบัติตามวัตรบท ให้ครบทั้ง ๗ ข้อเถิดได้เป็นแน่ ๆ<O>

    </O>ถึงแม้ว่า เราจะปฏิบัติได้ไม่ครบ ๗ ข้อ แต่ละข้อที่เราทำได้ ก็ย่อมจะเสริมให้เรามีคุณธรรมสูงขึ้นไปตามลำดับ ทั้งจะเห็นผลได้ในชาตินี้เสียอีกด้วย.<O>

    นำมาจาก
    </O>
    พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์<O></O>
    ธรรมรักษา
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...