คุมเข้มปลาทองปลาคาร์พ สหรัฐหวั่นติดไวรัสเอสวี ซีวี

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 19 พฤศจิกายน 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,107
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 30px">คุมเข้มปลาทองปลาคาร์พ สหรัฐหวั่นติดไวรัสเอสวี ซีวี
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD>นายจรัลธาดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า โรคสปิงไวรีเมียเกิดจากเชื้อไวรัสเอสวีซีวี ทางกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาจึงได้ออกกฎหมายควบคุมการนำเข้าปลามีชีวิต ชนิดที่ยอมรับการติดเชื้อไวรัสเอสวีซีวีรวมทั้งเซลล์เชื้อพันธุ์ปลา โดยระบุว่าปลาในกลุ่มตระกูลคาร์พและปลาทองที่จะนำเข้าต้องมีเอกสาร Health Certificate ที่รับรองมาจากฟาร์มที่มีระบบเฝ้าระวังเชื้อไวรัสเอสวีซีวีตามมาตรฐานของ OIE โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2549 เป็นต้นไป ลักษณะปลาที่ป่วยจะมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบริเวณก้นบ่อหรือบริเวณที่มีน้ำไหลเอื่อย ปลาจะเริ่มว่ายน้ำช้าลงและไร้ทิศทาง ตัวปลาจะมีอาการท้องบวมเป่ง,ตาโปนเหงือกซีด และมีจุดเลือดออกตามลำตัวแล้วตายไปในที่สุด การแพร่ระบาดเกิดโดยตรงจากการขับถ่ายหรือเมือกของบาดแผลที่ตัวปลา และอาจผ่านพาหะ เช่น นกที่มากินปลาและเห็บที่เกาะตามตัวปลา
    อธิบดีกรมประมงกล่าวอีกว่า ในอดีตโรคสปิงไวรีเมียจะเกิดเฉพาะประเทศแถบยุโรป ล่าสุดพบว่าเกิดขึ้นที่ประเทศจีน นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า โรคสปิงไวรีเมียจะเกิดในพื้นที่อุณหภูมิต่ำ แต่เมื่อมีการทดลองฉีดเชื้อไวรัสเอสวีซีวีให้กับปลาที่อุณหภูมิ 17-18 องศาเซลเซียสและดูผล ปรากฏว่าปลาตายใน 13 วัน จึงเตือนผู้เลี้ยงปลาคาร์พและปลาทองสังเกตอาการของปลาก่อนตาย หากพบว่าตรงตามที่ระบุให้แจ้งที่สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด กรมประมง โทรศัพท์ 0-2579-4122, 0-2579-6803 ในวันและเวลาราชการ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ref.http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=26746
     

แชร์หน้านี้

Loading...