คู่มือสําหรับผู้แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 26 มีนาคม 2007.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>คู่มือสำหรับผู้แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม

    ๑. วัดธรรมมงคล
    ซอยปุณณวิถี ๒๐ ถ. สุขุมวิท ๑๐๑ บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ
    โทร. ๗๔๑-๗๘๒๑-๒, ๓๓๒-๒๘๒๖-๗
    วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร
    แนวการปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภูริทัตโต ภาวนา
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    สำนักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิต

    [​IMG] ต. โคกแย้ อ. หนองแค จ. สระบุรี ๑๘๒๓๐
    โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘
    แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท
    ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันสำคัญทางศาสนา
    จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ

    สายของท่านโกเอ็นก้า
    (ในประเทศไทย)
    ธรรมสุวรรณา ขอนแก่น 081-5444953

    ธรรมกมลา ปราจีนบุรี / ธรรมธานี กทม. / ธรรมกาญจนา กาญจนบุรี 02-9932711

    ธรรมอาภา พิษณุโลก 087-1352128
     
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดธรรมมงคล
    สถาบันพลังจิตตานุภาพ (ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ)
    เลขที่ 132 ถนนสุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20
    แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. 10260
    โทร./โทรสาร 0-2311-1387, 0-2741-7822, 0-2332-4145


    พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) เจ้าอาวาส

    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    เว็บไซต์
    http://www.mettadham.com/main.htm
    http://www.geocities.com/watdham


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>เสถียรธรรมสถาน
    เลขที่ 24/5 ซ.วัชรพล (รามอินทรา 55)
    แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230


    แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ประธาน

    การเดินทาง


    การเดินทาง ถ้ามาจากบางเขน มีรถเมล์จากอนุสาวรีย์ สายปอ. 26, ปอ.พ. 2 และ ปอ.พ. 8 มีรถเมล์จากปากเกร็ด สาย 150 มาจากบางเขน รถเมล์จะผ่านป้ายกองบินตำรวจก่อน แล้วให้ลงรถเมล์ป้ายถัดไป จะเป็นปากซอยวัชรพล จะมีรถสองแถววิ่งเข้าซอยวัชรพล (คิวรถจะจอดอยู่ซอยวัชรพล
     
  4. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดอินทรวิหาร (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี)
    อาคารปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ
    ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ถ.วิสุทธิกษัตริย์
    แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม.10200
    โทร. 02-628-5550-2 โทรสาร. 02-282-8429


    พระราชรัตนาภรณ์ (ทองสืบ สจจสาโร น.ธ.เอก ป.ธ.3)
    เจ้าคณะเขตพระนครและเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร


    ฝึกอบรมจิตใจและปฎิบัติสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข
    ตามแนวปฏิบัติของคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย

    ระยะเวลาการฝึกอบรม : ฝึกอบรมทุกเดือน 8 วัน 7 คืน และวันอาทิตย์ 13.00-16.00 น.
    ไม่ต้องจองล่วงหน้า ฝึกอบรมโดยคณะวิทยากรของวัด

    เว็บไซต์เกี่ยวข้อง
    http://www.ybat.org</TD></TR><TR><TD>


    [​IMG]
    พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล
    ......................................................

    วัดป่าเชิงเลน
    (สาขาวัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
    แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    โทร. 0-2865-5645-6


    ธรรมสถาน "วัดป่า" กลางใจเมือง

    พระอาจารย์ภัลลภ อภิปาโล เจ้าอาวาส

    เว็บไซต์วัดป่าเชิงเลน

    http://www.luangpumun.org/watpakrangkrung

    (ที่มา www.dhammajak.com)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส
    ถนนพระราม 6 ซอย 15
    แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กทม. 10330


    พระวิมลศีลาจาร (อำนวย ภูริสุนฺทโร) ประธานสงฆ์
    กุฏิปัทมราช โทร 0-2216-8176 , 0-2215-1890
    หรือ โทร 0-1831-5352
    โทรสาร 0-2214-3775


    เชิญอบรมสมาธิภาวนา ณ ศาลาสนิทวงศ์-ชยางกูร

    วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
    ศาลาพระราชศรัทธา
    ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
    โทรศัพท์ 02-253-8822, 02-255-2271, 02-658-3885
    Fax 02-255-5429


    พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตตถาวโร) ประธานสงฆ์

    เว็บไซต์

    http://www.thavorn.org/
    http://www.thavorn.net/

    ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
    เลขที่ 58/8 หมู่ 7 เพชรเกษม 54
    เขตภาษีเจริญ กทม. 10160
    โทรศัพท์ (02) 805-0790-4
    โทรสาร (02) 413-1706


    มีการจัดอบรมปฏิบัติเจริญสติตามแนวของ คุณแม่สิริ กรินชัย

    เว็บไซต์
    http://www.ybat.org/


    วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
    ตั้งอยู่ริมสนามหลวง ท่าพระจันทร์
    แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. 10200
    โทร. 02-222-6011 , 02-222-4981


    -- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน นั่งกรรมฐาณ เดินจงกรม
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี คณะ 5 (อดีตพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย)

    -- มีการสอนการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ตามโครงการพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข
    ตามแนวของ คุณแม่สิริ กรินชัย โดยพระเทพเมธี อธิบดีสงฆ์
     
  6. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดปากน้ำ
    แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
    โทรศัพท์ 02-467-2166


    สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ. 9) เจ้าอาวาส

    เป็นวัดปฏิบัติสายพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)

    เว็บไซต์วัดปากน้ำ
    http://www.watpaknamnz.org
    http://www.watpaknam.org/

    วัดสังเวชวิศยาราม
    บางลำภู แขวงวัดสามพระยา
    เขตพระนคร กทม. 10200
    โทร. 0-2282-8880
    FAX 0-2281-9735


    พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาส


    กระทรวงศึกษาธิการ
    ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300
    ทุกวันศุกร์ เวลา 12.00 น.-14.00 น.
    ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก


    แสดงธรรมโดย
    พระอาจารย์ธวัชชัย ธัมมฺทีโป
    และพระอาจารย์สุรพจน์ สทฺธาธิโก

    เว็บไซต์

    http://www.metta.8m.com/
    http://www.mettachit.8m.com/


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา)
    เลขที่ 33 หมู่ 14 ริมถนนวงแหวนรอบนอก (บางปะอิน-บางนา)
    แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กทม. 10240
    โทรศัพท์ 02-373-8899


    พระครูวินัยธรหลุย ธัมมธโร ประธานสงฆ์

    วัดลาดบัวขาวสร้างโดย พระยาราชโยธาหรือพระยาสุรินทร์ราชเสนา (เนียม สิงหเสนี) และพระยาสุเรนทร์ราชเสนา สองพี่น้อง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2415 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.2425 พร้อมกับได้รับพระราชทานนามว่า "วัดลาดบัวขาว" เพราะว่าวัดนี้ตั้งอยู่ใกล้กับบึงน้ำซึ่งมีดอกบัวสีขาวเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่า "วัดราชโยธา" หรือ"วัดพระราชโยธา" มาจนทุกวันนี้

    หลังจากสร้างวัดเสร็จแล้วพระยาราชโยธาได้ไปนิมนต์หลวงปู่ทอง (อายะนะ) มาครองวัดเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ซึ่งท่านได้เป็นที่นับถือของประชาชนในละแวกวัด และบริเวณใกล้เคียงอย่างมากในเวลาต่อมา ท่านมีอายุยืนยาวถึง 117 ปี ปัจจุบันลูกศิษย์ได้สร้างรูปเหมือนหุ่นขี้ผื้งของท่านไว้ที่วัดแห่งนี้ด้วย วัดลาดบัวขาวนับเป็นวัดเพียงแห่งเดียวในพื้นที่เขตสะพานสูง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    บ้านซอยสายลม (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    เลขที่ 9 ถ.พหลโยธิน ซอย 8 ซอยสายลม
    (ระหว่างตึกชินวัตร 1 และตึกพหลโยธินเพส)
    แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400



    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>บ้านซอยสายลม หรือบ้านสายลม เจ้าของบ้านคือท่านเจ้ากรมเสริม สุขสวัสดิ์ เป็นสถานที่ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อจะลงมารับสังฆทานที่บ้านสายลมทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน และจะมีการฝึกมโนมยิทธิในวันเสาร์อาทิตย์ทุกต้นเดือนด้วย ปัจจุบันพระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ได้เดินทางมาที่บ้านสายลม เหมือนสมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือนเช่นเดิม ปัจจุบันบ้านสายลมได้สร้างตึกกรรมฐานใหม่ 3 ชั้น โดย

    - ชั้น 1 จำหน่ายวัตถุมงคล หนังสือ เทป วีซีดี นิตยสารธัมมวิโมกข์ (เปิดทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ 9.00-17.00 น. บ้านสายลมหลังเก่าไม่มีจำหน่ายวัตถุมงคลแล้ว กรุณาไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ที่เดียวในวันธรรมดา)
    - ชั้น 2 เป็นห้องฝึกญาน 8
    - ชั้น 3 เป็นห้องไว้ฝึกมโนมยิทธิสำหรับผู้มาฝึกใหม่ มีจำนวนหลายห้อง

    การปฏิบัติธรรม : นั่งสมาธิภาวนาแบบนะมะพะทะ (มโนยิทธิ) จะปฏิบัติที่อาคารปฏิบัติด้านหน้าทางเข้าซึ่งเป็นอาคารใหม่ โดยจะสอนนั่งสมาธิ-ฝึกมโนมยิทธิ และญาณ 8 วันละรอบเดียว เวลาฝึก 12.00 - 15.00 น. ของทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน

    การเตรียมตัว : ท่านที่จะมาฝึก ควรจะมาถึงที่บ้านสายลมอย่างน้อยตั้งแต่ 11.00 น. เพื่อทานอาหาร ทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย เมื่อพร้อมให้ไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ โดยตรงทางขึ้นบันไดให้หยิบดอกไม้ธูปเทียนบูชาครู ใส่เงินเหรียญบูชาครูสลึงนึงขึ้นไป แล้วแต่ศรัทธาของท่าน และเดินขึ้นไปชั้นสาม จะมีครูผู้สอนคอยจัดกลุ่มให้นั่งเป็นวงๆ ตามที่ครูเห็นเหมาะสม จะมีแบ่งวงชายและหญิง นั่งทำใจให้สงบ หรือซ้อมภาวนา นะมะพะธะ ไปสบายๆ ลืมเรื่องวุ่นวายปัญหาส่วนตัวไปซักชั่วโมง รอครูผู้สอนให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่ามาสายเกิน 12.00 น. เพราะจะไม่อนุญาตให้เข้ามาฝึก ประตูห้องฝึกจะล็อค

    ถวายสังฆทาน : ต้องเข้าที่บ้านสายลมด้านใน กำหนดการรับสังฆทานของบ้านสายลม คือ
    วันเสาร์-อาทิตย์ 9.00-11.00 น. ,12.00-15.30 น. , 20.00-21.00 น.
    วันจันทร์ 10.00-11.00 น. , 12.00-15.30 น. , 20.00-21.00 น.

    การเดินทาง : ท่านที่ไปโดยรถเมล์ ถ้ามาจากสวนจตุจักร ให้ลงที่ป้ายรถเมล์ที่หน้าธนาคารเอเชีย ซึ่งจะมีป้ายรถเมล์อยู่..... ถ้ามาจากสะพานควาย ให้ลงป้ายตรงข้ามสถานีรถไฟฟ้าซอยอารีย์ แล้วเดินมาที่ซอยสายลม..... ท่านที่มาโดยรถไฟฟ้า BTS ให้ลงสถานีซอยอารีย์ แล้วเดินมาที่ซอยสายลม สังเกตได้จากธนาคารเอเชีย เมื่อถึงซอยสายลมแนะนำให้ขึ้นมอเตอร์รับจ้างหน้าปากซอย บอกเขาว่าไปบ้านซอยสายลม ราคาค่าโดยสาร 5-10 บาท หรือเดินเข้ามาเองก็ได้ประมาณ 10 นาที

    รถเมล์ : สาย 8, 26, 29, 34, 39, 59, 77 ปอ. 3, ปอ.9, ปอ.10, ปอ. 29 และ ปอ.77

    โทรศัพท์ : 02-616-7177 (เฉพาะวันจันทร์ - เสาร์ เวลาราชการ เบอร์นี้คือเบอร์ของอาคารกรรมฐานตึกใหม่) หรือ 02-272-6759 เป็นระบบตอบอัตโนมัติแจ้งกำหนดการของคณะพระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ ที่จะเดินทางมาบ้านสายลมครั้งต่อไป

    เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
    http://www.praruttanatri.com/
    http://www.konmeungbua.com/</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    (จากเวป www.praruttanatri.com)



    <CENTER>[​IMG] วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    </CENTER>วิธีการเดินทาง
    ขับรถส่วนตัว ดู แผนที่ไปวัดท่าซุง
    (1) จากกรุงเทพ ขับเข้ามาในตัวเมืองอุทัย และขับออกจากเมืองไปตามทางหลวง หมายเลข 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ของชัยนาท ประมาณ 12 กิโลเมตร ดูแผนที่ ตัวเมืองอุทัย
    (2) จากกรุงเทพ ขับมาตาม ทางหลวงหมายเลข 32 จนถึงส่วนของจังหวัดชัยนาท ให้ขับตรงมาจนถึงจุดตัดกับถนนหมายเลข 3212 ให้เลี้ยวซ้ายเพื้อไป อ.มโนรมย์ (ให้ดูแผนที่ ถนนจังหวัดชัยนาท) สุดถนน 3212 เป็นแม่น้ำสะแกกรัง ให้เอารถขึ้นแพข้ามฟากไปฝั่งอุทัยธานี (ไม่ทราบว่ากี่บาทต่อรถหนึ่งคัน) และขับต่อขึ้นไปตามถนน 3265 ไม่กี่นาทีก็จะถึงบริเวณวัด

    นั่งรถโดยสาร
    วิธีที่ 1. นั่งรถ บขส. สาย กรุงเทพ - มโนรมย์ (ชัยนาท) ขึ้นจากหมอชิตใหม่ นั่งจนมาถึงมโนรมย์ จะเป็นแพหรือโป๊ะข้ามฟาก ให้นั่งโป๊ะข้ามแม่น้ำสะแกกรังไปฝั่งอุทัยธานี 2 บาท แล้วต่อรถสองแถว 5 บาท ที่ผ่านวัดท่าซุง (รถหมดประมาณบ่ายสาม) นั่งไปประมาณ 10 กว่านาที ก็จะพบกำแพงเหลืองๆ ยาวตลอดแนว ก็แสดงว่าถึงวัดแล้ว
    วิธีที่ 2. นั่งรถตู้ไปอุทัยธานี (จอดที่ใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ มุม ตะวันออกเฉียงเหนือของอนุสาวรีย์ คนละ110 บ. รอบแรก 6 โมงเช้า ใช้เวลา 3 ชม. วันงานคนมาก) ถึงตลาดอุทัย (บขส.อุทัย) ให้ขึ้นรถสองแถวที่เขียนว่า ท่าซุง-มโนรมย์ ราคา 8 บาท (รถหมดประมาณ 4-5 โมงเย็น) หรือเหมารถสามล้อ นั่งได้ 2 คน ในราคาประมาณ 70 บ.

    โทรศัพท์ (พระเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับสาย) (056)502-506, (056)502-507, (056)502-631 <!-- (056) 512-578 , 511-366 , 511-391 , 511-938 , 511-944 -->

    การปฏิบัติธรรมที่วัด
    ตามปกติ ถ้าเป็นช่วงวันธรรมดา ที่วัดไม่ได้มีจัด งานสำคัญ ท่านสามารถมาพักที่วัดได้โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
    - พักครั้งละไม่เกิน 7 วัน
    - การมาพักต้องติอต่อพระเจ้าหน้าที่ ที่ศาลานวราช(อยู่บริเวณโบสถ์ ติดกับหอนาฬิกา)
    - ต้องมีบัตรประชาชนหรือใบขับขี่เป็นหลักฐาน
    - หากเป็นพระต้องมีใบรับรองจากเจ้าอาวาสที่ท่านสังกัดมาแสดงโดยทางวัด
    - พระเจ้าหน้าที่จะขอเก็บไว้ 1 บัตรหรือใบต่อ 1 ห้องพักเพื่อแลกกับกุญแจ (และไว้มาแลกคืนตอนกลับ)
    - ต้องมาติดต่อพระเจ้าหน้าที่ (ไม่ว่าจะขอกุญแจหรือคืนกุญแจ) ต้องติดต่อในช่วงต่อไปนี้เท่านั้นคือ
    ช่วงเช้า 9.00 น.ถึง 11.00 น. ช่วงบ่าย 13.00 น.ถึง 16.00 น
    (หากติดต่อนอกเวลา จะไม่อนุญาตให้พักในวัด)
    - ที่พักมีพักเป็นห้องๆ หลายจุดในวัด แยกชายหญิง
    - เตรียมเสื้อผ้าที่สุภาพมาให้เพียงพอ
    - ทางวัดมีห้องน้ำไว้บริการเพียงพอ
    - เรื่องอาหารการกินผู้มาปฏิบัติต้องรับผิดชอบตนเอง โดยมีร้านอาหารตั้งอยู่หลายจุดรอบๆ วัด
    - ภายในวัด มีร้านสหกรณ์ของวัดจำหน่ายของใช้ของจำเป็นทุกอย่าง
    - มีการทำวัตรเช้าที่ศาลานวราช ทำวัตรเย็นที่วิหาร 100 เมตร
    - ในวัดมีมีรถบัสที่ดัดแปลงเป็นรถนั้ง 2 แถวหรือไม่ก็มีรถสามล้อเครื่องให้ใช้บริการตามสะดวก
    - ห้ามดื่มเหล้าและเล่นการพนันรวมทั้งอบายมุขทุกอย่าง
    -ท่านต้องเคารพในสถานที่และทำตามระเบียบของวัดท่าซุงอย่างเคร่งครัด

    การเจริญกรรมฐานและการฝึกมโนมยิทธิ ท่านสามารถฝึกกรรมฐานทั้งแบบมโนมยิทธิและกรรมฐานแบบปกติได้ทุกวันในเวลา ๑๒.๓๐ - ๑๔.๐๐ น. ที่มหาวิหารแก้ว 100 เมตร

    อยากทำบุญกับวัด
    หากท่านไม่สะดวกไปวัดท่าซุง หรือบ้านสายลม (ที่กรุงเทพฯ) ท่านสามารถร่วมทำบุญโดยการส่งธนานัติหรือตั๋วแลกเงิน สั่งจ่าย ปท.อุทัยธานี ในนาม พระครูปลัดอนันต์ พทฺญาโณ (ท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุง) วัดท่าซุง อำเภอเมือง อุทัยธานี 61000 พร้อมระบุว่าประสงค์อยากทำบุญรายการอะไร

    เที่ยววัดท่าซุง
    <TABLE><TBODY><TR vAlign=top><TD width=200>มหาวิหารแก้ว 100 เมตร</TD><TD></TD><TD>เป็นตึก ๒ ชั้น หลังคาเป็นจตุรมุข ๓ ยอด ด้านนอกด้านใน ปิดกระจกจากชั้น ๒ ถึงยอดหลังคา ภายในปิดกระจกเสาทุกต้น ข้างฝาและเพดานทั้งวิหาร มีพระประธานแบบทรงพระพุทธชินราช มี รูปปั้นพระอรหันต์ ๗ องค์ มีรูปหล่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อลักษณะยืนถือไม้เท้า เพดานวิหารมีช่อไฟระย้าทั้งช่อใหญ่ ่และช่อเล็กรวมทั้งหมด ๑๑๙ ช่อ และมีบุษบกตั้งศพพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ตั้งอยู่ในมหาวิหารนี้ด้วย
    เวลาเปิดมหาวิหาร ๑๐๐ เมตร คือ ระหว่าง 9:00 - 11: 45 น. และ 14:00 - 16:00 น. เท่านั้น โดยช่วง 11.45- 14.00 น.จะอนุญาตเฉพาะคนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐานเท่านั้น</TD></TR><TR vAlign=top><TD>พระวิหารสมเด็จองค์ปฐม</TD><TD></TD><TD>หน้าตัก ๔ ศอก เป็นพระหล่อด้วยโลหะผสมทองคำ ภายในบรรจุ ุพระบรมสารีริกธาตุ มณฑปทั้งหมดบุแก้วทั้งข้างนอกข้างในสวยงามมาก
    เวลาเปิด เช้า 09.00 - 10.30 น. และบ่าย 13.00 - 16.00 น.อย่าลืมวางแผนเรื่องเวลาด้วย </TD></TR><TR vAlign=top><TD>ปราสาททองคำ</TD><TD></TD><TD>เวลาเปิด 08.00 - 16.00 น. </TD></TR><TR vAlign=top><TD>วิหารสมเด็จพระศรีอรียเมตไตรย์ </TD><TD></TD><TD>เวลาเปิด เช้า 09.00 - 10.30 น. และบ่าย 13.00 - 16.00 น. </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE><TBODY><TR><TD>บ้านสายลม กรุงเทพฯ

    บ้านสายลม เจ้าของบ้านคือท่านเจ้ากรมเสริม สุขสวัสดิ์ เป็นสถานที่ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อจะลงมารับสังฆทานที่บ้านสายลมทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน และจะมีการฝึกมโนมยิทธิในวันเสาร์อาทิตย์ทุกต้นเดือนด้วย ปัจจุบันพระครูปลัดอนันต์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดท่าซุงจึงเดินทางที่บ้านสายลมเหมือนสมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือนเช่นเดิม ปัจจุบัน บ้านสายลมได้สร้างตึกกรรมฐานใหม่ 3 ชั้น โดย
    -ชั้น 1 จำหน่ายวัตถุมงคล หนังสือ เทป วีซีดี นิตยสารธัมมวิโมกข์ (เปิดทุกวันเว้นวันอาทิตย์ 9.00-17.00 น. บ้านสายลมหลังเก่าไม่มีจำหน่ายวัตถุมงคลแล้ว กรุณาไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ที่เดียวในวันธรรมดา)
    -ชั้น 2 เป็นห้องฝึกญาน 8
    -ชั้น 3 เป็นห้องไว้ฝึกมโนมยิทธิสำหรับผู้มาฝึกใหม่ จำนวนหลายห้อง
    </TD><TD><CENTER>[​IMG]
    ตึกกรรมฐานใหม่</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE><TBODY><TR vAlign=top><TD width=150>วิธีการเดินทาง+แผนที่

    [​IMG]
    ดูแผนที่บ้านสายลม
    </TD><TD> </TD><TD>ที่อยู่ตามไปรษณีย์ : เลขที่ 9 ซอยสายลม 1 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
    ขับรถ วิ่งถนนพหลโยธิน เข้าซอยสายลม (พหลฯ ซ.8) ตรงเข้ามาเมื่อตรงผ่านกรมไปรษณีย์โทรเลขมาแล้ว ถนนจะบังคับเลี้ยวขวา แล้วให้ตรงมาเรื่อยๆ (ไม่ต้องเลี้ยวซ้ายตามทางหลักอีก) ตรงเข้ามาอีกเล็กน้อยจะมีแยกซ้ายมือ ให้เลี้ยวเข้าซ้ายนั้นแล้วหาที่จอดรถ (อย่าจอดรถขวางประตูบ้านคนอื่นหรือกีดขวางการจราจร) ซึ่งบ้านสายลมจะอยู่ห่างจากแยกทางซ้ายเพียงประมาณ 50 เมตร จะเห็นอาคารกรรมฐานใหญ่ชัดเจน (หมายเหตุ. มีเส้นทางอื่นๆ ก็เข้ามาได้ เช่นเข้าจาก ถ.วิภาวดีรังสิต)
    ดูภาพถ่ายบ้านสายลมจากดาวเทียม
    หรือนั่งรถเมล์ สาย 8, 26, 29, 34, 39, 59, 77 ปอ. 3, ปอ.9, ปอ.10, ปอ. 29 และ ปอ.77 ลงซอยพหลโยธิน ซ.8 (ซอยสายลม 1) แล้วนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างบอกว่า มาบ้านหลวงพ่อ(บ้านสายลม บ้านเจ้ากรมเสริม ) คิดราคา 5-10 บาท หรือเดินเข้ามาเองก็ได้ประมาณ 10 นาที
    เชิญดู รูปภาพจากปากซอยสายลมถึงบ้านสายลม
    รถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานี อารีย์ แล้วลงฝั่งตึก IBM แล้วเดินมาปากซอยพหลโยธิน ซ.8 (ซอยสายลม 1) </TD></TR><TR vAlign=top><TD>โทรศัพท์
    (ล่าสุด 17 กพ. 49)</TD><TD></TD><TD>02-6167177 (เฉพาะวันจันทร์ - เสาร์ เวลาราชการ เบอร์นี้คือเบอร์ของอาคารกรรมฐานตึกใหม่)
    02-272-6759 เป็นระบบตอบอัตโนมัติแจ้งกำหนดการของคณะพระครูปลัดฯ ที่จะเดินทางมาบ้านสายลมครั้งต่อไป </TD></TR><TR vAlign=top><TD>การรับสังฆทาน</TD><TD></TD><TD>พระครูปลัดอนันต์ จะมาพักที่บ้านสายลมของเสาร์อาทิตย์แรกของแต่ละเดือน
    (ดูวันรับสังฆทาน ณ บ้านสายลม จากกำหนดการวัดท่าซุง)
    กำหนดการรับสังฆทานของบ้านสายลม คือ
    วันเสาร์-อาทิตย์ 9.00-11.00,12.00-15.30,20.00-21.00
    วันจันทร์ 10.00-11.00,12.00-15.30,20.00-21.00
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD>การฝึกมโนมยิทธิ</TD><TD> </TD><TD>เวลาฝึก 12.00 - 15.00 น. ของทุกเสาร์อาทิตย์ต้นเดือน (ดูวันฝึกจากกำหนดการวัดท่าซุง)
    การเตรียมตัว
    ท่านที่จะมาฝึก ควรจะมาถึงที่บ้านสายลมอย่างน้อยตั้งแต่ 11 น. เพื่อทานอาหาร ทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย เมื่อพร้อมให้ไปที่ตึกกรรมฐานใหม่ โดยตรงทางขึ้นบันไดให้หยิบดอกไม้ธูปเทียนบูชาครู ใส่เงินเหรียญบูชาครู สลึงนึงขึ้นไป แล้วแต่ศรัทธาของท่าน และเดินขึ้นไปชั้นสาม จะมีครูผู้สอนคอยจัดกลุ่มให้นั่งเป็นวงๆ ตามที่ครูเห็นเหมาะสม จะมีแบ่งวงชายและหญิง นั่งทำใจให้สงบ หรือซ้อมภาวนา นะมะพะธะ ไปสบายๆ ลืมเรื่องวุ่นวายปัญหาส่วนตัวไปซักชั่วโมง รอครูผู้สอนให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนต่างๆ อย่ามาสายเกิน 12.00 น. เพราะจะไม่อนุญาตให้เข้ามาฝึก ประตูห้องฝึกจะล็อค </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    บรรยากาศภายในวัดท่าซุงครับ (verygood)

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  10. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    [​IMG]
    <TABLE align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช
    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก
    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ
    พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้ามาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด
    พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่
    พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"
    พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
    มรณภาพ
    ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.

    ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

    ทางด้านชาติ ได้สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ
    ทางด้านพระศาสนา ได้สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี
    ทางด้านวัตถุ ท่านได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร
    ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ
    นับได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความกรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตามหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง

    ข้อมูล : เว็บศิษย์หลวงพ่อ http://www.sitluangpor.com/

    [​IMG]
     
  11. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี
    เลขที่ 42/660 หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม
    ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก
    เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510
    โทรศัพท์ 0-2993-2711
    โทรสาร 0-2993-2700


    ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานีแห่งนี้อยู่ในความดูแลของ สำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สอนตามแนวปฏิบัติของ "ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า" วิปัสสนาจารย์ชาวอินเดียที่ถือกำเนิดในประเทศพม่า ซึ่งท่านได้ก่อตั้งสถาบันวิปัสสนานานาชาติ "ธรรมคีรี" ขึ้นที่เมืองอิกัตปุรี ใกล้ๆ กับเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย มีการจัดอบรมวิปัสสนาในประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศทั่วโลก

    มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร 10 วัน
    สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน
    เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี



    การเดินทาง

    โดยรถประจำทาง : มี 2 เส้นทางคือ

    1. ทางลำลูกกา ให้ขึ้นรถโดยสารสายลำลูกกาตรงแยกลำลูกกา (ใกล้สนามกีฬาธูปเตมีย์) ไปลงหน้าตลาดใหญ่ คลอง 7 แล้วต่อรถตู้สายลำลูกกา-มีนบุรี ในตลาด

    2. ทางรามอินทรา ให้ขึ้นรถสองแถว หรือรถตู้สายมีนบุรี
     
  12. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ข้อมูลจากคุณวีระยุทธ

    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม)
    หมู่ 11 สี่แยกวังหิน แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว จ.กรุงเทพฯ 10230
    โทร : ๐-๒๕๗๐-๘๑๙๓

    ------------------------------------------------------------------------------------------------



    พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) ศิษย์โดยตรงหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    วิปัสสนาจารย์
    วัดสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    วัดใหม่เสนานิคม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน
    สถานปฏิบัติการฝึกสมาธิภาวนา
    จันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.30 - 20.00
    เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 20.00

    กิจกรรมหลักมีดังนี้
    - สวดมนต์ภาวนา
    - เรียนทฤษฎีจิตภาวนา
    - เดินจงกรม
    - นั่งสมาธิภาวนา
    - ถามตอบปัญหาธรรมะโดยหลวงปู่หลอด

    -------------------------------------------------------------------------------------------------


    ประวัติย่อพระครูปราโมทย์ธรรมธารา
    (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)
    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม)

    เป็นพระเถราจารย์ผู้มีจริยวัตรงดงามทั้งกายและใจ
    ท่านมักจะสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า "ในหมู่คนดี ย่อมมีคนไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเป็นของธรรมดา จึงไม่ควรใส่ใจ คนไหนดีเราก็สรรเสริญ คนไหนไม่ดี เราก็ออกห่าง ไม่ยกย่อง จงรักคนทุกคน ไว้ใจบางคน อย่าทำผิดต่อทุกคน และจงดูตนเสมอ"

    อีกคำสอนหนึ่ง คือ "เกิดเป็นคน จะสอนคน ต้องสอนตนก่อน เมื่อถูกสอน อย่าทำค้อน คำสอนเขา จะดีคน หรือคนดี จงติเรา จะโกรธเขา หรือเขาโกรธ ดูโทษตัว"

    ปัจจุบันหลวงปู่หลอด อายุ ๙๑ ปี พรรษา ๖๙ ตามประวัติของหลวงปู่ ชื่อเดิม "หลอด ขุริมน" เกิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๕๘ ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต.บ้านขาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) บิดาชื่อ "บัวลา" มารดาชื่อ "แหล้" หรือ "แร่" หลวงปู่เป็นบุตรคนสุดท้อง จากพี่น้อง ๓ คน คือ นางเกิ่ง (ถึงแก่กรรม) นางประสงค์ (ถึงแก่กรรม)

    หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พออ่านออกเขียนได้ ขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ ๑๖ ปี ผู้เป็นแม่ได้ถึงแก่กรรม หลังจากป่วยหนัก หลวงปู่จึงตั้งใจไว้ว่า จะบรรพชาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้มารดา เมื่ออายุ ๑๘ ปี มีโอกาสบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่น ที่วัดศรีบุญเรือง ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี โดยมี พระอธิการคูณ เป็นพระอุปัชฌาย์

    ต่อมาไม่นาน โยมพ่อก็เสียชีวิตอย่างกะทันหันอีก หลวงปู่จึงลาสิกขาออกมาช่วยพี่น้องทำไร่ทำสวน ในช่วงเวลานี้เองหลวงปู่ได้ไตร่ตรองเปรียบเทียบชีวิตของทั้ง ๒ เพศ คือ เพศบรรพชิต และเพศฆราวาส ทำให้ท่านพบว่าการออกมาใช้ชีวิตในเพศฆราวาสนั้น มีแต่กองทุกข์ มองชีวิตเป็นเรื่องน่าเบื่อ จำเจอย่างมาก และมองไม่เห็นความก้าวหน้า เมื่อเอาดีทางเพศฆราวาสไม่ได้ ก็ต้องเอาดีทางบรรพชิตให้ได้

    ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่จึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมา วัดธาตุหันเทาว์ ต.บ้านขาม เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลี วัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ พร้อมศึกษาพระธรรมด้านวิปัสสนากรรมฐานอย่างเคร่งครัด

    ต่อมาหลวงปู่ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต ในสายพระป่ากรรมฐานศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้มาสร้างวัดขึ้นใหม่ คือ วัดสิริกมลาวาส หรือวัดใหม่เสนานิคม ใกล้สี่แยกวังหิน เขตลาดพร้าว กทม.

    หลวงปู่หลอด จะมีอายุครบ ๙๑ ปี คณะศิษยานุศิษย์ จึงร่วมกันจัดงานแสดงมุทิตาจิตสักการะแด่หลวงปู่ ในวันศุกร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๙

    พุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาเข้าร่วมงานนี้ สอบถามรายละเอียดได้ที่วัดสิริกมลาวาส โทร.๐-๒๙๔๒-๐๑๖๑, ๐-๑๘๑๘-๐๒๗๐

    เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------
    ธรรมะลิขิต ของหลวงปู่หลอด ปโมทิโต


    ๑. ชีวิตนี้น้อยนัก แม้จะเชื่อหรือไม่เชื่อกรรมที่กระทำแล้วไม่ว่า กรรมดีหรือ กรรมชั่ว ย่อมให้ผลแก่จิตผู้กระทำทันที กรรมดีก็จะให้ผลดี กรรมชั่วก็จะให้ผลชั่ว ปัญญายะ ติตตีนัง เสฏฐัง อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย ปัญญายะติตาตัง ปุริสังตัณหานะกุรุเตวะสัง คนอิ่มด้วยปัญญา ตัณหา เอาไว้ในอำนาจไม่ได้

    ๒. เราจะกำหนดลมหายใจให้มีสติ คือ ความระมัดระวังรู้อยู่ว่าเดี๋ยวนี้เราทำอะไรอยู่ สัมปชัญญะ คือ รู้ตัวว่าเรากำลังทำอันนั้นอยู่ ผู้รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นอยู่ ให้กำหนดลมหายใจเข้าด้วยการมีสติ ความระมัดระวังได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

    การที่ว่าระลึกได้ คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ใช่การที่เราไปศึกษาที่ไหนมา ให้รู้จักแต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา อันนี้แหละเป็นความรู้สึก สตินี้ควบคู่กันกับความรู้สึก มีสติอยู่ คือ ความระลึกได้ว่าเราพูดอยู่หรือเราทำอยู่ หรือเราไปเดินอยู่ หรือเรานั่งอยู่ จะไปมาก็รู้ นั่นเรียกว่า สติระลึกได้ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว บัดนี้เรากำลังเดินอยู่ เรานั่งอยู่ เรานอนอยู่ เรารับอามรณ์อะไรอยู่เดี๋ยวนี้ สองอย่างนี้ ทั้งสติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัวในการที่เราระลึกได้อยู่เสมอนั้น เราก็สามารถรู้ใจของเราว่าในเวลานี้มันคิด อย่างไรเมื่อถูกอารมณ์ชนิดนั้นมามันอย่างไร อันนี้เราจะรู้จัก

    ๓. ผู้ที่รับรู้อารมณ์ คือ สภาวะที่มันเข้ามา เช่น มีเสียง อย่างเสียงเขาไสกบอยู่นี้ มันเข้าทางหูแล้วจิตก็รับรู้ว่าเสียงกบนั่น ผู้ที่รับรู้อารมณ์รับรู้เสียงกบนั้นเรียกว่า จิต ที่นี้จิตที่รับรู้นี้เป็นจิตหยาบ ๆ เป็นจิตปกติของจิต บางทีเรานั่งฟังเสียงกบอยู่ รำคาญในความรู้สึกของผู้ที่รับรู้ เราจะต้องอบรมผู้ที่รับรู้นั้นให้มันรู้ตามความเป็นจริงอีกทีหนึ่ง ที่เรียกว่า พุทโธ

    ถ้าหากว่าเราไม่รู้แจ้งตามความเป็นจริง เราอาจจะรำคาญในเสียงคน หรือเสียงรถ หรือ เสียง มีแต่คิดเฉย ๆ รับรู้ว่ารำคาญรู้ตามสัญญาไม่ได้รู้ตามความเป็นจริง เราจะต้องให้มันรู้ในญาณทัศนะ คือ อำนาจของจิตที่ละเอียดให้รู้ว่าเสียงที่ดังอยู่นั้นก็สักแต่ว่าเสียงเฉย ๆ ถ้าหากว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นมันก็ไม่น่ารำคาญอะไร เสียงก็ดังของมันไป เราก็นั่งรับรู้ไปอันนั้นก็เรียกว่ารู้ถึงอารมณ์ขึ้นมา นี่ถ้าหากว่าเราภาวนาพุทโธมีความรู้แจ้งในเสียง เสียงนั้นมันไม่ได้มากวนใคร มันก็อยู่ตามสภาวะ เสียงนี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เราเขา เขาเรียกว่าเสียงเท่านั้น มันก็ทิ้งไป วางไป ถ้ารู้อย่างนี้คือรู้จิตรู้โดยสภาวะที่เรียกว่า

    พุทโธ คือ ความรู้แจ้งตลอดเบิกบานรู้ตามความเป็นจริง เสียงก็ปล่อยไปตามเรื่องของเสียงไม่ได้รบกวนใคร นอกจากเราจะไปยึดมั่นว่า "เออ เรารำคาญไม่อยากจะได้ยินเสียงคนพูดอย่างนั้น ไม่อยากจะได้ยินเสียงนั้น ก็เลยเกิดทุกข์ขึ้นมา นี้เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมา เหตุที่มีทุกข์ขึ้นมาก็เพราะอะไร ก็เพราะเราไม่รู้จักเรื่องตามความจริง ยังไม่ได้ภาวนาพุทโธ ยังไม่เบิกบาน ยังไม่ตื่น ยังไม่รู้จัก มีแต่เฉพาะจิตล้วน ๆ ที่ยังไม่บริสุทธิ์เป็นจิตที่ใช้การงานอะไรยังไม่ได้เต็มที่

    ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้ฝึกหัดฝึกจิตนี้ให้มีกำลังกับการทำกายให้มีกำลังมีลักษณะอันเดียวกัน แต่มีวิธีการต่างกัน การฝึกกำลังกายเราต้องเคลื่อนไหวอวัยวะ มีการนวดกาย เหยียดกาย เช่น วิ่งตอนเช้าตอนเย็น เป็นต้น นี้เรียกว่าการออกกำลังกาย กายนั้นก็จะมีกำลังขึ้นมา จะคล่องแคล่วขึ้นมา เลือดลมจะมีกำลังวิ่งไปมาสะดวกตามเส้นประสาทต่างๆ ได้ กายจะมีกำลังกว่าเมื่อไม่ได้ฝึก

    แต่การฝึกหัดจิตให้มีกำลังไม่ใช่ให้มันวิ่งให้มันเคลื่อนไหวอย่างกับออกกำลังกาย คือทำจิตให้มันหยุด ทำจิตให้มันพักผ่อน เช่น เราทำสมาธิยกอารมณ์อันใดอันหนึ่งขึ้นมา เช่น อาณาปานสติ ลมหายใจเข้าออก อันนี้เป็นรากฐานเป็นเป้าหมายในการเพ่งในการพิจารณา เราก็กำหนดลมหายใจ การกำหนดก็คือ การรู้ตามลมนั่นเอง กำหนดลมเข้าแล้วกำหนดลมออก กำหนดให้รู้ระยะของลม ให้มีความรู้อยู่ในลมตามรู้ลมเข้าออกสบาย แล้วพยายามปล่อยสิ่งทั้งหลายออก

    จิตของเราปล่อยให้จิตคิดอย่างนั้นอย่างนี้สารพัดมีหลายอารมณ์ มันไม่รวมเป็นอันเดียว จิตเราก็หยุดไม่ได้ ที่ว่าหยุดไม่ได้นั้นก็คือหยุดในความรู้สึก ไม่คิดแล่นไปทั่วไป เช่น เรามีมีดเล่มหนึ่งที่เราลับได้ดีแล้ว แล้วมัวแต่ฟันหิน ฟันอิฐ ฟันหญ้าทั่วไป ถ้าเราฟันไม่เลือกอย่างนี้ มีดของเราก็จะหมดความคม เราจึงต้องฟันแต่สิ่งที่เกิดประโยชน์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราปล่อยให้จิตแล่นไปในสิ่งที่ไม่เป็นสาระประโยชน์ ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร จิตนั้นจะไม่มีกำลัง ไม่ได้พักผ่อน ถ้าจิตไม่มีกำลัง ปัญญาก็ไม่เกิด จิตไม่มีกำลัง คือ จิตไม่มีสมาธิเลย ถ้าจิตไม่ได้หยุด จะเห็นอารมณ์นั้นไม่ชัดเจน ถ้าเรารู้จักจิตนี้เป็นจริง เห็นอารมณ์เป็นอารมณ์

    นี่หัวข้อแรกที่จะตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นมาได้ นี้คือตัวศาสนา เราบำรุงให้จิตนี้เกิดขึ้นเป็นลักษณะของการปฏิบัติให้เป็นสมถะ ให้เป็นวิปัสสนา รวมกันเข้าเป็นสมถะและวิปัสสนา เป็นข้อปฏิบัติมาบำรุงจิตใจให้มีศีลธรรมให้จิตได้หยุด ให้จิตได้เกิดปัญญาให้เท่าทันตามความเป็นจริงของมัน

    ๔. วินัย บัญญัติ

    วินัย คู่กับ ธรรมปกติ เรียกว่า ธรรมวินัย ถ้าแยกคำ
    ธรรม คือ คำสั่งสอน วินัย คือ ข้อบังคับ

    ดังนั้น วินัยบัญญัติ ก็ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักให้พระภิกษุปฏิบัติให้เป็นบรรทัดฐานแนวเดียวกัน ใครทำผิดก็จะถูกลงโทษ เช่นเดียวกันกับกฏหมายของบ้านเมือง

    ************************


    ปกิณกะธรรมหลวงปู่หลอด ประโมทิโต

    ๑. อย่าถือวิสาสะ ให้รู้จัก กาล เวลา บุคคล และ สถานที่

    ๒. ความรักลูกเหมือนห่วงผูกคอ

    ความรักสิ่งของเหมือนปอผูกศอก

    ความรักไร่นาสาโทเหมือนปลอกสวมตีน

    ใครแก้สามอย่างนี้ไปนิพพานได้

    ๓. มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า

    "หลวงปู่ครับเคยมีฝรั่งที่ผมเคยเรียนภาษาอังกฤษด้วยเขาเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์ เขาเคยถามผมว่าจิตเดิมมาจากไหน และสุดท้ายเขาก็ยัดเยียดความคิดให้ผมว่าพระเจ้าสร้างจิต แต่ผมไม่ยอมรับครับ ผมอยากทราบว่าจิตเดิมมาจากไหนครับหลวงปู่ ?"

    หลวงปู่ตอบว่า "จิตเดิม พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาจากความไม่รู้ คือ อวิชชา ความไม่รู้นั่นแหละเป็นตัวพาให้มันมาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ทำให้มันรู้ซะ จะได้ไม่ต้องมาเกิดอีก จำไว้ว่ามันเกิดจากอวิชชาทั้งนั้น ทั้งโลภ โกรธ หลง จำไว้นะให้ตอบเขาแบบนี้นะ "

    ๔. คนฉลาดอยู่กับที่ สู้คนโง่เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ไม่ได้

    ๕. มีศิษย์คนหนึ่งเรียนถามปัญหาหนึ่งกับหลวงปู่ว่า

    "หลวงปู่ครับ พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านจะบอกผู้คนไหมครับ"

    หลวงปู่เมตตาตอบว่า "ไม่หรอก ถ้าท่านบอก ก็จะบอกกับโยมที่ใส่บาตรว่า โยมไม่ต้องมาใส่บาตรนะ อีก ๗-๘ วัน อาตมาจะพักผ่อน"

    ลูกศิษย์ถามต่อไปว่า "อย่างนี้แปลว่า พระอริยเจ้าเวลาท่านเข้านิโรธสมาบัติ ท่านไม่บอกใช่ไหมครับ"

    หลวงปู่ตอบว่า "เพิ่นบ่อบอกดอก"

    ๖. มีลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งซึ่งมีรูปร่างใหญ่ เรียนถามหลวงปู่ว่า

    "หลวงปู่ครับ เวลานั่งภาวนานาน ๆ ยิ่งปวดขึ้น เป็นเพราะร่างกายเราใหญ่โตหรือเปล่าถึงทำให้ปวดเมื่อยถึงขนาดนี้ อยู่ที่ร่างกายสังขารคนด้วยหรือเปล่าครับ" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่เกี่ยวหรอก กิเลสลากไปให้คิดว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ลองใหม่ดูสิ เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลยนะ"

    ๗. มีลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า

    "หลวงปู่ครับ การปฏิบัติแบบรูป - นาม กับการปฏิบัติแบบพระป่า เหมือนกันไหมครับ"

    หลวงปู่เมตตาตอบว่า "เหมือนกันอเมริกาหรือเมืองไทยอยู่ใต้ฟ้าเดียวกัน การปฏิบัติก็เหมือนกัน อริยสัจตัวเดียวกัน"

    ๘. มีพระรูปหนึ่งเรียนถามหลวงปู่ว่า

    "หลวงปู่ครับ จิตของพระอรหันต์เวลาว่างท่านคิดอะไรครับ"

    หลวงปู่ตอบว่า "ไม่คิดอะไรทั้งนั้น คิดแต่วิหารธรรมอย่างเดียว"

    พระรูปนั้นถามย้ำว่า "มีแต่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เท่านี้ หรือครับหลวงปู่"

    หลวงปู่ตอบว่า "อืม... กิเลสบ่อมีทางแทรกแซงได้เลย"

    ๙. ในแต่ครั้งมักมีผู้มาเรียนปรึกษาปัญหาต่าง ๆ กับหลวงปู่ แม้กระทั่งเรื่องปัญหาในครอบครัว การหย่าร้าง หลวงปู่ท่านจึงเทศน์ชี้ทางดับปัญหานี้ "เอาล่ะ เราจะเทศน์ให้ฟังเป็นคุณธรรมสำหรับ คนมีครอบครัว ผู้อยู่ร่วมกันอย่างไรมันก็ต้องกระทบกันบ้างเป็นธรรมดา มนุษยธรรม ๔ ข้อ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ

    สัจจะ คือ ความซื่อตรง จริงใจต่อกัน ไว้วางใจกัน ไม่คิดว่าเขาจะนอกใจเรา ไม่คิดว่าเขาจะไปมีบ้านเล็กบ้านน้อย ให้อิสระแก่กัน เชื่อในเกียรติของกันและกัน ไม่ทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทุกข์ใจ ถ้ามีสัจจะต่อกันก็ไม่ต้องทะเลาะกัน

    ทมะ คือ ความอดกลั้นอารมณ์ ระงับอารมณ์ คนโกรธ โกรธเพราะไม่รู้จักระงับอารมณ์ คนเราอยู่ด้วยกัน ถ้าปล่อยให้อารมณ์เป็นใหญ่บ้านก็แตก มันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ คิดบ้างหรือเปล่าว่าลูกเต้าจะเป็นอย่างไร

    ขันติ ความอดทน ทนลำบาก ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักใคร่ปรองดองกัน จะยากจะจนก็ทนกัน อย่าเอาความลำบากเป็นอารมณ์ อดทนต่อสิ่งที่เราไม่ชอบ เช่าเขากินเหล้าใช่ใหม เราบอกให้เขาเลิก เขาไม่เลิก(เหล้า) เราก็ทนสู้ เพื่อลูก คิดดูให้ดี ถ้าเราอดทน แล้วปัญหาก็จะไม่เกิด ถ้าเกิดก็น้อยมาก

    จาคะ คือ การบริจาค ในที่นี้ไม่ใช่การบริจาคเงินทองอย่างเดียวนะ บริจาคกิเลสตัณหา ความโกรธ ความหึงหวงออกไป ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียวเอาความมีกิเลสตัณหาไว้ เมื่อโกรธก็บริจาคออกไป นี่แหละถ้าทำได้ทั้ง ๔ ข้อ ไม่ว่าที่ไหนก็ไม่ทะเลาะกัน นี่รักษาศีล ๕ ได้ไหม

    หลวงพ่อจะแถมให้ ถ้ารักษาไม่ครบ ๕ ข้อ ก็เอาแค่ ๒ ข้อ ก็พอ ข้อ ๓ กับ ข้อ ๕ ถ้าผิด ๒ ข้อนี้ ฆ่ากันได้นะ ไปยุ่งกับเมียเขา ผัวเขารู้โกรธเข้า ก็ฆ่านะซิ กินเหล้าพูดไม่เข้าหู ก็ฆ่ากันได้ แต่ถ้าจะว่า ๕ ข้อ ข้อใดบาปกว่ากัน ก็พอกันนั่นแหละ"

    ๑๐. การปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ย่อมต้องมีศีลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ หลายท่านที่สนใจปฏิบัติธรรมได้กราบเรียนถามธรรมะเพื่อการปฏิบัติ องค์หลวงปู่ท่านได้อธิบายไว้ว่า "ศีล ๕ นี้สำคัญ ศีล ๕ เป็นประธาน ศีลอื่นเป็นศีลบริวาร ศีล ๘ ศีล ๑๐, ๒๒๗ ข้อ ก็เป็นศีลบริวาร การปฏิบัติธรรมนั้นล้วนแต่ต้องประกอบด้วยศีลเป็นสำคัญ ศีล ๕ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑ จะฆ่าสัตว์ ก็เอาแขนทำ ขโมยของก็เอามือหยิบ ขาพาไป ผิดเมียเขา เอาทั้งกายทำ โกหกใช้ปากที่อยู่บนหัวพูด กินเหล้า ก็ใช้ปากกิน ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ ธรรมะปฏิบัติก็จะไม่เจริญ ปฏิบัติก็ไม่ไปไหน นี่สำหรับนักปฏิบัติ ศีลสำคัญมาก พึงรักษาไว้ให้ดี"

    *****************************

    คัดลอกจาก: ชีวประวัติ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

    _/|\_ _/|\_ _/|\_ ด้วยจิตกราบบูชา


    ----------------------------------------------------------------------------------------------

    ท่านใดที่ต้องการไปปฏิบัติธรรมที่วัดก็ได้ทุกวัน หรือจะไปขออยู่ปฏิบัติธรรมเป็นเดือน ก็ได้
    โทร : ๐-๒๕๗๐-๘๑๙๓



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สวนแสงธรรมพุทธมณฑลสาย 3 สถานที่ปฏิบัติธรรม ชานเมืองกรุงเทพ

    รายละเอียดที่นี่
    http://www.luangta.com/salawatpa/content_show.php?content_id=140
    http://www.luangta.com/salawatpa/index.php
    http://www.luangta.com</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    อานิสงส์การบวชพระ-บวชชีพรามณ์
    (บวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ, อุทิศให้พ่อแม่ เจ้ากรรมนายเวร)


    1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา

    2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย

    3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย

    4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆ ไป

    5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา

    6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต

    7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา

    8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ

    9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย

    10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที ่สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริมอาสาการให้คนได้บวช


    ...........

    ที่มา บอร์ดธรรมจักร
     
  14. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ***------สถานที่ปฏิบัติธรรมสําหรับผู้ทีอยู่ต่างประเทศ------***

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดป่าสันติธรรม
    ประเทศอังกฤษ


    The Forest Hermitage (Watpah Santidhamma)
    Lower Fulb rook,
    near Sherbourne Warwichshire CV35 8AS
    United Kingdom
    Tel & Fax 01926624385
    หรือส่ง E-mail ถึง หลวงพ่อเขมธัมโม ได้ที่
    prakhem@foresthermitage.org.uk


    พระภาวนาวิเทศ (หลวงพ่อเขมธัมโม) เจ้าอาวาส

    วัดนี้เป็นวัดที่ลูกศิษย์ "พระฝรั่ง" รุ่นแรก ของ "หลวงพ่อชา" วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ไปจัดตั้งขึ้น คือ หลวงพ่อเขมธัมโม ซึ่งเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิด

    โดยปกติ หลวงพ่อเขมธัมโม จะไม่อยากพูดถึงประวัติความเป็นมาของตัวท่านเองมากนัก แม้แต่ชื่อเดิมของท่าน โดยท่านให้เหตุผลว่า ตอนนี้ท่านเป็น "พุทธบุตร" โดยแท้แล้ว มีนามฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "เขมธัมโม" ขอให้รู้จักท่านในชื่อนี้ก็แล้วกัน ลูกศิษย์และผู้ที่เคยไปกราบไหว้ท่านจึงรู้จักท่านในชื่อ "หลวงพ่อเขมธัมโม" ตลอดมา

    ตามประวัติโดยสังเขปของท่าน ทราบเพียงสั้นๆ ว่า ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2487 ทางตอนใต้ของอังกฤษ เข้ารับการศึกษาตามเกณฑ์บังคับ พอถึงอายุ 17 ปีได้เข้าศึกษาต่อด้านการแสดงที่โรงเรียน Central School of Speech & Drama ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนการแสดงที่ดีที่สุดของประเทศนี้

    2 ปีต่อมา ท่านได้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งศูนย์การแสดง Drama Centre London ในกรุงลอนดอน โดยใช้เวลาตรงนั้น 1 ปี ก่อนที่จะออกจากกลุ่มเพื่อไปตั้งกิจการบริษัทโรงภาพยนตร์ของตัวเอง

    ต่อมาในฤดูใบไม้ผลิ ปี พ.ศ.2508 ท่านได้ออกเดินทางตระเวนทั่วสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 4 เดือน และใน ปี พ.ศ.2509 ท่านได้เข้าร่วมทำงานในบริษัท National Theatre Company อยู่กับบริษัทนี้เป็นเวลา 3 ปีครึ่ง ในช่วงนั้นท่านได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนเกิดความสนใจมาก จึงหันมานับถือศาสนาพุทธ และได้ตัดสินใจที่จะมาเมืองไทย เพื่อบำเพ็ญภาวนาในทางพระพุทธศาสนาอย่างเต็มตัว จึงได้ขายบ้านหลังหนึ่งที่เคยซื้อไว้ในอังกฤษ

    หลวงพ่อเขมธัมโม เล่าว่า ความประสงค์ในการเดินทางครั้งนี้เพื่อเป็นการแสวงบุญโดยแท้จริง การเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลครั้งนั้นได้ผ่านหลายประเทศอาทิ อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย

    สำหรับที่อินเดีย ท่านได้ใช้เวลา 2 เดือนในการเดินทางแสวงบุญไปยังสังเวชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา จากนั้นจึงได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อราวต้นเดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2514 แล้วได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดมหาธาตุฯ ในกรุงเทพฯ ต่อมาในช่วงปีใหม่พ.ศ.2515 ท่านจึงได้ไปยัง จ.อุบลราชธานี

    ย้อนไปเมื่อ 35 ปีที่แล้วท่านเป็นดาราทีวี สนใจเรื่องพระพุทธศาสนาจนได้พบหลวงพ่อชา นับเป็นศิษย์ฝรั่งรุ่นแรกๆ ที่ฉันปลาแดกข้าวเหนียวเป็น เหมือนกับลูกอีสานขนานแท้ ตอนไปอยู่เมืองดอกบัวใหม่ๆ ท่านพูดภาษาไทยไม่ได้สักคำ แต่ก็ฟังหลวงพ่อชารู้เรื่อง ด้วยการหมั่นสังเกตและปฏิบัติตาม แล้วก็สะสมวันละนิดจนเป็นความรักอันบริสุทธิ์จนมากเป็นหลายเท่าทวีคูณ

    ว่ากันว่าหลวงพ่อชานั้นท่านมีเทคนิคการสอนธรรมที่ไม่ค่อยเหมือนใคร คือจะบอกให้รู้ ทำให้ดู เช่น บอกให้ยกท่อนไม้ขึ้น แล้วก็ให้หยุดอยู่ พอรู้ว่าเมื่อยแล้วก็จะใช้ภาษามือสื่อให้พระฝรั่งโยนท่อนไม้ทิ้งแล้วก็จะพูดสั้นๆ ว่า แบกไว้มันทุกข์ ทิ้งไปมันก็สุขเอง เพียงปริศนาธรรมเล็กน้อยแค่นี้ ทำให้ลูกศิษย์อึ้งถึงกับลงมือฝึกจิตตนเอง ไม่สนใจเปลือกนอก หลวงพ่อชาท่านช่างมีพรสวรรค์ในการปั้นคนจริงๆ

    หลวงพ่อเขมธัมโม มีความเคารพศรัทธาเลื่อมใสในหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง มากเป็นพิเศษ เพราะได้ยินชื่อเสียง เกียรติคุณของหลวงพ่อชา มาตั้งแต่ยังอยู่ที่ประเทศอังกฤษ โดยท่านได้เขียนบันทึกเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่ง ชื่อ "รำพึงถึงความหลังกับพระอาจารย์ชา" โดยสรุปได้ว่า

    เมื่อตอนที่ท่านกำลังจะเดินทางมาบวชในประเทศไทย ซึ่งช่วงนั้น หลวงพ่อชา ยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนัก แต่ได้มีพระรูปหนึ่งซึ่งขณะนั้น กำลังพักอยู่ที่วัดไทยในกรุงลอนดอน ได้รู้จักหลวงพ่อชา มาก่อนแล้ว พระรูปนั้นได้แนะนำว่าท่านว่า เมื่อมาถึงเมืองไทยควรจะไปหาหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ให้ได้

    ต่อมาเมื่อท่านได้มาถึงเมืองไทยแล้ว และได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กทม. ปรากฏว่าพระภิกษุที่ท่านได้รู้จักในกรุงลอนดอนรูปนั้นก็ได้มาถึงเมืองไทยเช่นกัน และได้อยู่ควบคุมดูแลการบวชเณรของท่านด้วย

    พระภิกษุรูปนั้นได้คะยั้นคะยอที่จะพาท่านไปกราบ หลวงพ่อชา ที่วัดหนองป่าพง ก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง ท่านได้ออกไปยืนบนถนนอันวุ่นวายคับคั่งของกรุงเทพฯ เมื่อมองออกไปไกลก็ได้แลเห็นเพื่อนสนิทเก่าแก่คนหนึ่งซึ่งท่านเคารพเชื่อถือในความคิดเห็นตัดสินของเพื่อนท่านผู้นั้นมาก ตอนนี้ท่านผู้นั้นได้บวชเป็น พระสงฆ์ครองผ้าเหลือง มาแล้วเป็นเวลานานพอสมควร

    และจากการได้เยี่ยมเยือนวัดมาหลายแห่ง พระสงฆ์รูปนี้ได้บอกท่านอย่างมั่นอกมั่นใจว่า สถานที่ดีที่สุดสำหรับ การบวชและฝึกอบรมเป็นพระภิกษุนั้นก็คือกับพระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง

    ดังนั้นในวันขึ้นปีใหม่ หลวงพ่อเขมธัมโม กับพระสงฆ์ไทยจากลอนดอนก็ได้เดินทางไปยังจ.อุบลราชธานี และได้เข้าไปกราบนมัสการ หลวงพ่อชา ณ วัดหนองป่าพงเป็นครั้งแรก

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกถึงตอนนี้ว่า "...หลวงพ่อชา เดินลงบันไดมา ท่านนั่งขัดสมาธิบนม้านั่ง ยกสูงทำด้วยไม้แข็ง อยู่ต่อหน้าเราพร้อมกับจิบน้ำชาจากแก้วไปด้วย ขณะกำลังคุยกับเรา ท่าทางท่านดูเหน็ดเหนื่อย แต่ก็ยิ้มแย้มร่าเริง เราได้พยายามสื่อสารอย่างเต็มที่กับท่าน โดยมีพระไทยซึ่งไม่สู้จะคล่องภาษา (อังกฤษ) นักช่วยเป็นล่าม...."

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกต่อไปอีกว่า...เมื่อหลวงพ่อชาตอบรับท่านเป็นศิษย์แล้ว ท่านก็ได้เริ่มใช้ชีวิตภายใต้ การชี้นำของหลวงพ่อชา ซึ่งมิใช่เป็น ชีวิตบนแปลงดอกกุหลาบโดยสิ้นเชิงเสียทีเดียว

    ปัญหาทั้งหมดเกิดจากตัวของท่านเองทั้งสิ้น แต่นั่นมักจะเป็นสิ่งที่คนเรามักจะมองไม่เห็น อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อเขมธัมโม ก็ได้อยู่กับหลวงพ่อชาด้วยดีตลอดมา เพราะเริ่มปรับตัวเข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น จนเกิดความซาบซึ้งใจในหลายสิ่งหลายอย่างของความเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้เขียนบันทึกอย่างเปิดใจตอนหนึ่งว่า "...เมื่อหลายปีผ่านไป อาตมาก็หันมานิยมชมชื่น ในตัวหลวงพ่อชามาก อาตมาได้เรียนรู้และซึมทราบจากท่านมากขึ้นทุกทีทุกที ความรักของอาตมา ที่มีต่อหลวงพ่อชานั้นเกิดขึ้นช้าๆ ทว่ามันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ..."

    พระป่าชาวอังกฤษ กล่าวว่า การใช้ชีวิต อยู่กับหลวงพ่อชานั้นก็มิใช่ง่ายเสมอไป บางอย่างดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เอาทีเดียว ท่านยังจำได้ดีถึงความอึดอัดใจที่ทำอะไรผิดๆ นับครั้งไม่ถ้วน และต่อหน้าผู้คนด้วย

    การกระทำทุกอย่างนั้นมีวิธีการของมันอยู่ และมีมาก ทีเดียวที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย แต่บางอย่างนั้นก็เป็นของตัวหลวงพ่อเอง ในขณะที่หลวงพ่อสามารถที่จะบอกกับอาตมา ได้เสมอว่าอะไร ผิดแต่ท่าน ก็จะไม่บอกอาตมาเสมอไปว่าอะไรถูก ปล่อยให้ท่านเข้าใจเอาเอง

    หลวงพ่อเขมธัมโม กล่าวว่า ในเวลาต่อท่านก็เข้าใจว่า อะไรถูกอะไร ผิดพร้อมกับยกย่องว่า หลวงพ่อชา มีลักษณะพิเศษเฉพาะตน ในการสั่งสอนอบรม ลูกศิษย์ได้เป็นอย่างดีเลิศ ทำให้เข้าใจในหลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างง่าย

    พระป่าชาวอังกฤษ กล่าวถึงวิธีการทำสมาธิตาม แบบที่หลวงพ่อชา ส่งเสริมให้ปฏิบัตินั้น มักจะไม่รวมเอาการแผ่เมตตาเข้าไว้ด้วย แต่ก็ยังไม่เคยพบ ผู้ใดที่มีความเมตตา กรุณามากเท่ากับ หลวงพ่อชา มาก่อนเลย หลวงพ่อชาได้ดูแล ลูกศิษย์ทุกคนด้วย ความรักอันบริสุทธิ์ ตลอดเวลา แม้บางครั้งท่านจะดุด่าว่ากล่าวบ้างก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิด มาจากความห่วงใย อยากให้ลูกศิษย์ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้อง มากกว่า ลูกศิษย์ที่เข้าใจในเจตนาอันดี นี้ต่างมีแต่ความปลาบปลื้มใจ ในตัวของหลวงพ่อมาก

    หลวงพ่อชาชอบเดินเล่นรอบๆ วัดในตอนเช้า หลังจากออกบิณฑบาต ขณะที่พระรูปอื่นๆ ซึ่งออกไปบิณฑบาตไกลๆ เพิ่งจะกลับมา และมีการตระเตรียมอาหาร

    บางครั้งหลวงพ่อชาจะเดินตามลำพัง และมักจะกวักมือเรียกใครสักคนให้เดินไปกับท่าน เพื่อสนทนาธรรมไปในตัว

    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเขมธัมโม กำลังมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับคำสอน หลวงพ่อชาก็จะพาท่านไปเดินด้วย 2-3 วัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ การได้อยู่ใกล้ชิดกับหลวงพ่อชาเป็นส่วนตัวนี้ ทำให้หลวงพ่อเขมธัมโมมีความยินดีมาก

    วันหนึ่ง มีกิ่งไม้หนักขวางทางอยู่ หลวงพ่อชาได้ยกไม้ท่อนนั้นขึ้น พร้อมกับบอกให้หลวงพ่อเขมธัมโม ยกอีกข้างหนึ่ง แล้วถามว่า "หนักไหมล่ะนี่ ?" และเมื่อได้เหวี่ยงท่อนไม้นั้นเข้าไปในป่าแล้วก็ถามอีกว่า "ตอนนี้ล่ะเป็นไง หนักไหม ?"

    หลวงพ่อชาจะสอนลูกศิษย์ให้เห็นธรรมะในสิ่งที่พบเห็นใกล้ตัว ให้รู้จัก "การปล่อยวาง" ถ้าทำได้ก็จะเบาตัว (เหมือนกิเลสตัณหา)

    การฝึกปฏิบัติกับหลวงพ่อชานั้น ทำให้กฎระเบียบพิธีการและรูปแบบของชีวิตนักบวชในวัด มิใช่เป็นเพียงประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาอย่างไม่มีจุดหมายเหมือนในวัดอื่นๆ การสอนของหลวงพ่อชาทุกอย่างเป็น "วิธีการอันแยบยล" ในการสร้างทัศนคติแห่งการรู้แจ้งเห็นจริง

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า "เราคือพระภิกษุผู้ซึ่งมิใช่อยู่เพื่อแสวงหาลาภสักการะ หรือชื่อเสียง มิใช่เพื่อความก้าวหน้าทางโลก เราเป็นพระภิกษุที่ต้องเผชิญกับกิเลส และสิ่งที่เป็นอิทธิพลทำลายหัวใจและจิตใจของ มองเห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แล้วทิ้งมันไป เพื่อบรรลุถึงความสงบอันจริงแท้แน่นอน คือความสุขแห่งพระนิพพาน"

    ครั้งหนึ่งเพื่อนของหลวงพ่อเขมธัมโมได้พูดถึงความประทับใจที่มีต่อหลวงพ่อชาว่า ท่านเหมือนกับกบตัวใหญ่ ที่มีความสุขที่นั่งอยู่บนใบบัว เรามักจะรู้สึกว่าความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับชีวิต ความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่ถูกเมินเฉย เพราะพุทธศาสนาจะพูดเกี่ยวกับความทุกข์และแนวโน้มทางลบของใจ การวิเคราะห์จิตและสังขาร รวมทั้งคำนิยามต่างๆ ที่เข้าใจยาก

    แต่สำหรับหลวงพ่อชาแล้ว มิได้เป็นเช่นนั้น หลวงพ่อจะแผ่ความสุขให้กับทุกคน ดึงดูดผู้คนเข้าหาท่าน และอยากจะอยู่กับท่าน แล้วท่านก็จะอบรมสั่งสอนธรรมแบบง่ายๆ โดยไม่ทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่ายกับการเทศน์แบบแห้งแล้งที่มีแต่คำบาลียาวๆ แต่ท่านจะนั่งคุยกับผู้คนอย่างสนุกสนาน หัวเราะพูดเล่น และเมื่อมีจังหวะท่านก็จะสอดแทรกธรรมะที่เป็นประโยชน์ต่อ ชีวิตให้กับพวกเขา หลวงพ่อชาจะอบรมสั่งสอนชาวบ้านอย่างนี้ตลอดทั้งวัน หลังจากฉันอาหาร จนกระทั่งดึกดื่นค่อนคืน ในขณะที่ผู้คนพากันมากราบไหว้ท่านอย่างต่อเนื่อง กลุ่มหนึ่งไปกลุ่มหนึ่งมาเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา หลวงพ่อมีความอดทนในเรื่องนี้มาก และไม่เคยเบื่อหน่ายเลย

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้เรียนรู้อะไรอีกหลายอย่างจากหลวงพ่อชา ที่ท่านได้หยิบยกเอาสภาพสิ่งแวดล้อมที่พบเห็นใกล้ตัวมา เป็นตัวอย่างในการสอนธรรมะ

    ปี พ.ศ.2520 หลวงพ่อเขมธัมโม ได้นิมนต์ หลวงพ่อชา เดินทางไปประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรกในชีวิต โดยได้ที่เมืองแฮมป์สเตด อันเป็นสถานที่หลวงพ่อเขมธัมโมได้พบกับสัจจธรรมแห่งพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังได้พาหลวงพ่อไปทางตอนใต้ของอังกฤษ เพื่อเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ ของหลวงพ่อเขมธัมโมด้วย นับเป็นเวลาที่หลวงพ่อเขมธัมโมได้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อชามากที่สุด และนานที่สุด

    หลวงพ่อชาได้เดินทางกลับเมืองไทย แต่หลวงพ่อเขมธัมโม ยังอยู่ต่อในอังกฤษต่อไป ทั้ง 2 ไม่ได้พบกันเป็นเวลานานถึง 9 ปีครึ่ง แล้วก็มีข่าวว่าหลวงพ่อชาอาพาธหนัก หลวงพ่อเขมธัมโมจึงรีบเดินทางมาเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกราบเยี่ยมพระอาจารย์ของท่าน ช่วงนั้นหลวงพ่อชามีอาการที่ช่วยตัวเองไม่ได้เลย

    หลวงพ่อเขมธัมโมต้องเดินทางมาเมืองไทยทุกปี เพื่อกราบเยี่ยม หลวงพ่อชา หลวงพ่อชากล่าวว่า...นี่เป็นกรรมของ ท่านและไม่มี ความจำเป็น ที่จะต้องทำอะไรกับมัน ท่านต้องอยู่กับเตียง และเก้าอี้ตลอดเวลา ต้องอาศัยผู้อื่นให้ทำทุกอย่าง เกี่ยวกับร่างกาย ของท่านเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ก่อนที่ท่านจะมรณภาพไป

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกไว้ในตอนท้ายว่า..."เราไม่อาจทราบได้ว่า ในช่วงเวลานั้น (หลวงพ่อชา) ท่านทำอะไรบ้าง หรือทำไมมันจึงต้อง เป็นแบบนั้น แต่หลังจากที่ท่านได้มีเวลาให้กับตนเอง บางทีท่านอาจจะ ได้สำเร็จในกิจภาระ ของตัวท่านเองแล้ว เราไม่มีทางรู้ได้เลย แต่อาตมาก็หวังว่าท่านได้จบชีวิตลงเมื่อสำเร็จเป็น พระอรหันต์ แล้ว..."

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้พูดถึงตัวเองว่า...ในชีวิตของท่าน นับว่าโชคดี ที่ได้รู้จักกับบุคคลที่เด่นด้วยคุณค่าหลายท่าน โดยมี หลวงพ่อชา เป็นผู้ที่ดีเด่นที่สุด ชื่นชอบในตัวท่านมาก เคารพและรักท่าน อีกทั้งรู้สึกสำนึกในบุญคุณเสมอ ที่โชคดีได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน

    เมื่อข่าวว่า หลวงพ่อชา ได้มรณภาพแล้ว ความคิดหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในสมองของหลวงพ่อเขมธัมโมก็คือ ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะพยายามทำตัวให้มีคุณค่ามากขึ้น เพื่อ หลวงพ่อชา และสามารถดำเนินภารกิจสืบทอดสิ่งที่ หลวงพ่อชา ท่านได้มอบให้กับลูกศิษย์ทุกคน

    หนึ่งสัปดาห์หลังจากการมรณภาพของ หลวงพ่อชา หลวงพ่อเขมธัมโมก็ได้เดินทางมาถึงเมืองไทย และตรงไปยัง วัดหนองป่าพง ทันที เพื่อแสดงความคารวะแด่สรีระของ หลวงพ่อชา พระอาจารย์ผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวง สำหรับ หลวงพ่อเขมธัมโม ลูกศิษย์ชาวอังกฤษที่ได้มีโอกาสบวชเรียนเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ

    หลวงพ่อเขมธัมโม ต้องเดินทางมาเมืองไทยทุกปี เพื่อกราบเยี่ยม หลวงพ่อชา ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาได้กล่าวกับหลวงพ่อเขมธัมโม ว่า... นี่เป็นกรรมของท่าน และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำอะไรกับมัน

    หลวงพ่อชาต้องอยู่กับเตียงและเก้าอี้ตลอดเวลา ต้องอาศัย ผู้อื่นให้ทำทุกอย่าง เกี่ยวกับร่างกายของท่านเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ก่อนที่หลวงพ่อชาจะมรณภาพเมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ.2535 ณ วัดหนองป่าพง สิริรวมอายุ 74 ปี พรรษา 52 ขณะดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระโพธิญาณเถร"

    หลวงพ่อเขมธัมโม บันทึกไว้ในตอนท้ายว่า..."เราไม่อาจทราบได้ว่า ในช่วงเวลานั้น (หลวงพ่อชา) ท่านทำอะไรบ้าง หรือทำไมมันจึง ต้องเป็นแบบนั้น แต่หลังจากที่ท่านได้มีเวลาให้กับตนเอง บางทีท่านอาจจะได้สำเร็จในภารกิจ ของตัวท่านเองแล้ว เราไม่มีทางรู้ได้เลย แต่อาตมาก็หวังว่าท่านได้จบชีวิตลงเมื่อสำเร็จเป็น พระอรหันต์ แล้ว..."

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้พูดถึงตัวเองว่า... ในชีวิตของท่านนับว่าโชคดีที่ได้รู้จักกับบุคคลที่เด่นด้วยคุณค่าหลายท่าน โดยมี หลวงพ่อชา เป็นผู้ที่ดีเด่นที่สุดในชีวิตของท่าน ท่านชื่นชอบในตัวหลวงพ่อชามาก เคารพและรักหลวงพ่อชา อย่างสุดชีวิตและจิตใจ อีกทั้งยังรู้สึกสำนึก ในบุญคุณเสมอที่โชคดีได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ท่าน ในฐานะเป็น "พุทธบุตร" ที่ท่านได้เลือกทางเดินเองแล้ว และนี่คือ...เส้นทางเดินของชีวิตที่ประเสริฐสุด

    เมื่อทราบข่าวว่า หลวงพ่อชา ได้มรณภาพแล้ว ความคิดหนึ่งที่ผุดขึ้นมาในสมองของหลวงพ่อเขมฯก็คือ ความตั้งใจ แน่วแน่ที่จะพยายามทำตัวให้มีคุณค่ามากขึ้น เพื่อ หลวงพ่อชา และสืบทอดภารกิจที่ หลวงพ่อชา ได้มอบให้กับท่านและลูกศิษย์ทุกคน

    หนึ่งสัปดาห์หลังจากการมรณภาพของ หลวงพ่อชา หลวงพ่อเขมธัมโม ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองไทย และตรงไปยังวัดหนองป่าพงทันที เพื่อแสดงความเคารพแด่สรีระของ หลวงพ่อชา พระอาจารย์ผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวง สำหรับ หลวงพ่อเขมธัมโม ลูกศิษย์ชาวอังกฤษที่ได้มีโอกาสบวชเรียนเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ

    ภารกิจสำคัญของ "หลวงพ่อเขมธัมโม" ในประเทศอังกฤษคือการจัดตั้งวัดในทางพระพุทธศาสนาขึ้นใน เมืองวอริค เป็นรูปแบบของ "วัดป่า" ตามแบบของ หลวงพ่อชา เมื่อปี พ.ศ.2530 โดยตั้งชื่อว่า "วัดป่าสันติธรรม" (Santidhamma Forest Hermitage) ดำเนินการเผยแพร่หลักธรรม คำสอน ในทางพระพุทธศาสนาแก่ชาวอังกฤษโดยเฉพาะ รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ ที่สนใจ ทั้งนี้ หลวงพ่อเขมฯ จะสอนวิธีนั่งสมาธิแบบง่ายๆ และแนะแนวทางการแก้ปัญหาชีวิตประจำวันด้วย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง โดยสรุปว่าเป็นการแก้ปัญหาตรงจุดที่สุด

    การทำงานของ หลวงพ่อเขมธัมโม ได้รับการสนับสนุนจากชาวไทยที่ไปทำงานในอังกฤษ รวมทั้งบรรดานักเรียนนักศึกษาไทยต่างก็ให้ความร่วมมืออย่างกว้างขวาง ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบัน วัดป่าสันติธรรม ได้เติบโตขยายตัวออกไปมาก มีพระภิกษุพำนักอยู่ที่วัดนี้รวมทั้งหมด 4 รูป ซึ่งล้วนเป็นชาวอังกฤษทั้งสิ้น

    เมื่อวันที่ผู้เขียนไปเยี่ยมชมวัดนี้ก็ได้พบกับ พระภิกษุหนุ่มชาวอังกฤษ หน้าตาดีมาก 3 รูป ท่านนั่งรอ หลวงพ่อเขมธัมโม เพื่อฉันภัตตาหารเพล ด้วยอาการที่วางนิ่งเฉยมาก สำรวมอย่างที่สุด ได้กราบเรียนถามท่านอะไร ท่านก็ตอบสั้นๆ แต่เพียงว่า ให้รอถาม หลวงพ่อเขมธัมโม และที่สำคัญคือท่านพูดภาษาไทยไม่ได้เลย เพราะท่านเกิดที่อังกฤษ ไม่เคยมาเมืองไทยเลย จึงพูดแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น และพูดน้อยมาก การเรียนหนังสือธรรมะก็เรียนฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษ

    สำหรับ การฉันภัตตาหารเพลของหลวงพ่อเขมธัมโม และพระลูกศิษย์ทั้ง 3 รูป เป็นการ ฉันรวมในบาตร ด้วยอาหารมังสวิรัติ และ ฉันเพียงมื้อเดียวใน 1 วัน

    ภารกิจอันยิ่งใหญ่อีกด้านหนึ่งของหลวงพ่อเขมธัมโม คือการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ "องคุลิมาล" ซึ่งเป็นองค์กรการสอนพุทธศาสนา ในเรือนจำ และจัดอบรมการปฏิบัติงานด้านพระพุทธศาสนา สำหรับอนุศาสนาจารย์ด้วย

    คาบเกี่ยวกันนี้ ท่านได้ผันตัวเองไปทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมคุก คือ เข้าไปสอนนักโทษในเรือนจำโดยไม่จำกัดว่าศาสนาอะไร สอนให้สวมมนต์ ปฏิบัติกรรมฐาน ใหม่ๆ ก็ได้รับแรงกดดันไม่น้อย ทั้งการกีดกันจากผู้มีอิทธิพลทางลัทธิศาสนาไม่อนุญาตเข้าไปสอนบ้าง อ้างเลศ บ่ายเบี่ยงบ้าง แต่ท่านก็มิได้ท้อถอย สวมบทวิญญาณตื้อเท่านั้นที่ครองโลก จนในที่สุดก็ต้องยอมอนุญาตให้เข้าไปอบรมสอนได้ แต่ก็ไม่เต็มร้อย เพราะเนื่องจากนักโทษมีพฤติกรรมที่แข็งกร้าว และเกรงจะทำร้ายท่าน กลัวว่าท่านจะปั่นหัวนักโทษเอาลัทธิความเชื่อแบบตะวันออกมาเผยแพร่ กีดกันขนาดไหนไม่รู้ รู้แต่เพียงว่าถึงขนาดต้องมีการตรวจสอบกลั่นกรองการนำเสนอของท่านเป็นเวลาหลายเดือน

    เมื่อรู้ว่าท่านนำเสนอข้อเท็จจริงและพูดแต่ความดีงามไม่กระทบความเชื่อของศาสนาใดเลย จึงอนุญาตเพราะความต้องการของคนคุก ต่อมามินานนัก หลังจากท่านได้นำเอากรรมฐานไปอบรมปรากฏว่านักโทษมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากก้าวร้าวเป็นสงบเสงี่ยม บางรายถึงกับขอบวชเณร 7 วัน แล้วกลับเข้าไปอยู่ในคุกต่อ จนกระทั่งเกิดรวมกลุ่มนักโทษที่หันมานับถือพระพุทธศาสนา

    ที่ วัดป่าสันติธรรม มีการอบรมสมาธิสำหรับผู้ที่สนใจทุกๆ วันจันทร์และวันศุกร์ รวมทั้งจัดงานทำบุญใน วันสำคัญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนการแนะนำพระพุทธศาสนาให้แก่กลุ่มนักเรียน และองค์กรต่างๆ ที่มาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนาพุทธ

    นับเป็นความวิริยะอุตสาหะอย่างสูงของหลวงพ่อเขมธัมโม ที่ท่านได้เพียรพยายามเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่เพื่อน ร่วมชาติของท่านเอง เพื่อให้เขาเหล่าได้พ้นทุกข์ และประสบแสงสว่างแห่งชีวิต ประสบปัญญาแห่งธรรมะโดยแท้จริง สมควรที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยในเมืองไทยจะได้มีส่วนช่วยเหลือ หลวงพ่อเขมธัมโม ท่านบ้าง เมื่อมีโอกาส

    หลวงพ่อเขม ได้ก่อตั้ง วัดป่าสันติธรรม ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1987 (พ.ศ.2530) โดยได้รับการสนับสนุน จากพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวอังกฤษอย่างกว้างขวาง

    ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา วัดป่าสันติธรรม ได้เติบโต ขยายตัวมาก จนกระทั่งปัจจุบันมี พระภิกษุ พำนักอยู่ที่วัดรวมทั้งหมด 4 รูป นอกจากนี้ วัดป่าสันติธรรม ยังเป็นที่ตั้งของ สำนักงานใหญ่ขององคุลิมาล (องค์กรการสอน พุทธศาสนาในเรือนจำ) ซึ่งจัดอบรม ปฏิบัติงานด้านศาสนาสำหรับอนุศาสนาจารย์ด้วย

    ที่ วัดป่าสันติธรรม มีการ อบรมสมาธิสำหรับผู้ที่สนใจทุกๆ วันจันทร์และวันศุกร์ รวมทั้งจัดงาน ทำบุญในวันสำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา และแนะนำพระพุทธศาสนาให้แก่กลุ่มนักเรียนและองค์กรต่างๆ ที่มาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

    หลวงพ่อเขมธัมโม กล่าวว่า เนื่องจาก คณะสงฆ์ได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทางวัดจึงไม่สามารถที่จะรองรับ การขยายตัว ดังกล่าวได้อีกต่อไป เนื่องจากมีที่พำนักอาศัย และที่เก็บของจำกัด ทั้งยังไม่มีห้องพัก รับรอง พระอาคันตุกะ (พระสงฆ์ที่มาเยี่ยมเยือน) นอกจากนี้ ยังขาดที่ปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิง ทำให้ไม่สามารถรับบวชแม่ชีได้ การรองรับผู้มาเก็บตัวเพื่อปฏิบัติธรรมที่วัดก็ทำได้ไม่เต็มที่

    หลวงพ่อเขมธัมโม กล่าวว่า ในละแวกวัดป่าสันติธรรม มีบ้าน วู้ด คอทเทจ (Wood Cottage) อยู่หลังหนึ่งซึ่ง เป็นสถานที่เหมาะ มากที่สุดสำหรับรองรับการขยายตัวของวัดป่าสันติธรรม ด้วยอาณาเขต ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งความเก่าแก่และรูปแบบ อาคารก่อสร้าง ก็คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ มณฑลวอริคที่สงบ ห่างไกลจากถนน และความวุ่นวายอึกทึก เจ้าของ วู้ด คอทเทจ คนปัจจุบันได้ปรับปรุง สถานที่จนมีสภาพที่ดีเยี่ยม พร้อมที่จะรองรับการขยายตัว ของวัดป่าสันติธรรมได้ทันที

    หลวงพ่อเขมธัมโม ได้อุทิศชีวิตบำเพ็ญประโยชน์ให้กับชาวอังกฤษกว่า 27 ปี จนเมื่อวันที่ 9 ต.ค. พ.ศ.2546 สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์โอ.บี.อี. (Officer of the Most Excellent Order of the British Empire) แก่ท่าน ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุด

    อนึ่ง ท่านได้เผยแผ่พุทธรรมด้วยความวิริยอุตสาหะ ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก จนมหาเถรสมาคมโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้เสนอขอพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระภาวนาวิเทศ" เพื่อยกย่องคุณงามความดีและสร้างขวัญกำลังใจ

    ที่มา :
    นสพ. คมชัดลึก วันที่ 7 ต.ค. พ.ศ. 2545
    โดย แล่ม จันท์พิศาโล

    นสพ.ข่าวสด หน้า 1 สดจากหน้าพระ
    วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5589

    เว็บไซต์
    http://www.foresthermitage.org.uk
    http://www.watpa.iirt.net/about/index.html</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดรัตนประทีปวิหาร
    ประเทศออสเตรเลีย


    WAT RATTANAPRATIP VIHARA
    45 SMITH STREET, THEBARTON , ADELAIDE,
    SOUTH AUSTRALIA 5031 AUSTRALIA
    TEL & FAX (61-04) 8443-5856


    วัดก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2528 สังกัดนิกายธรรมยุต มีเนื้อที่ 750 ตารางเมตร เป็นวัดแห่งแรกในนครอดิเลด จึงได้รับการต้อนรับจากสาธุชนชาวพุทธจำนวนมาก มาจากหลายชนชาติด้วยกัน เช่น ไทย ลาว เขมร พม่า จีน มาเลเซีย ศรีลังกา รวมทั้งชาวออสเตรเลียด้วย

    กิจกรรมการปฏิบัติศาสนกิจ

    1. การเผยแผ่ เป็นปกติประจำการ ได้มีนักเรียน นักศึกษาจากโรงเรียน สถาบันการศึกษาติดต่อเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา และ ระหว่างพรรษากาล ทุกวันอาทิตย์ จัดให้เป็นวันธรรมสวนะ จัดให้มีการทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ รับศีล ฟังพระธรรมเทศนา ในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันปีใหม่สากล วันสงกรานต์ มีกิจกรรมตามความสำคัญของวันนั้นๆ

    2. การศึกษา อบรมกรรมฐาน นั่งสมาธิ เสร็จแล้วสนทนาธรรมตามสมควรแก่เวลา

    3. การสาธารณูปการ การพัฒนาวัด ทางวัดเน้นทางวัตถุ และจิตตภาวนาควบคู่กันไป และได้ดำเนินติดต่อกันมาอยู่ตลอด เช่นการเปลี่ยนหลังคาใหม่ และการสร้างห้องครัวห้องน้ำขึ้นใหม่ พร้อมทั้งการสร้างฝาผนัง ต่อเติมห้องให้กว้างขึ้น ถือว่าการพัฒนาวัดได้ประสบความสำเร็จพอสมควร

    4. การสังคมสงเคราะห์

    5. อื่นๆ โครงการในอนาคตจะได้มีการจัดสร้างศาลาทรงไทยขึ้น เพื่อให้วัดเป็นทั้งสถานที่เคารพบูชา และจุดรวม เช่น สมาคมนักเรียนไทย ร้านอาหารไทย และเปิดสอนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และพุทธศาสนาภาคฤดูร้อน ประจำรัฐออสเตรเลียใต้

    วัดโพธิญาณาราม
    ELLINGTON THERAVADA BUDDHIST ASSOCIATION
    17 RAKAU GROVE, STOKES VALLEY WELLINGTON
    NEW ZEALAND


    เป็นวัดของชาวต่างชาติ (มหานิกาย)
    วัดสาขาของพระราชสุเมธาจารย์ (พระสุเมโธ)


    ใช้วิธีการเจริญอานาปานสติ กำหนดพุทโธ
    เป็นลูกศิษย์สายหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    วัดภูริทัตตวนาราม
    เมืองออนทาริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย


    BUDDHIST TEMPLE OF AMERICA
    มีที่ตั้งถาวรอยู่เลขที่ ๕๖๑๕
    HOWARD STREET ONTARIO
    CA ๙๑๗๖๒ U.S.A
    Telephone Number (๙๐๙) ๙๘๘
     
  16. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดป่าวิมุตติ
    Vimutti Forest Monastery
    750 Paparata Rd. Bombay,
    Auckland, New Zealand
    Tel. 0066 4 9 8282935


    ท่านอาจารย์ฉันทโก ภิกษุชาวอเมริกัน เจ้าอาวาส
    สายหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


    ............................................................................

    วัดป่าวิมุตติ (Vimutti Forest Monastery)
    โอ็คแลนด์ นิวซีแลนด์


    ที่เห็นและเป็นอยู่

    วัดป่าวิมุตติ เป็นวัดสาขา ใหม่ล่าสุดของวัดหนองป่าพง เกิดจากแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวนิวซีแลนด์ หลากเชื้อชาติที่เลื่อมใสศรัทธาในคำสอน วัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชา และพระลูกศิษย์วัดได้เริ่มก่อตัวอย่างช้าๆพัฒนาจากทุ่งหญ้าที่เคยเป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์ และป่าสนเสื่อมโทรมบางส่วน กลายเป็นวัดป่าเล็กๆ สงบ สมถะ และสัปปายะ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 425 ไร่ เลขที่ 750 ถนนพาพาราต้า บอมเบย์ ซึ่งห่างจากตัวเมืองโอ๊คแลนด์ประมาณ ครึ่งชั่วโมง

    สร้างวัดไว้รออาจารย์

    ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้างวัดเล็กๆซึ่งประกอบด้วย ศาลาหลังเล็ก เรือนสำนักงาน และที่พักของสงฆ์ ทั้งๆที่ยังไม่ทราบว่า จะมีภิกษุรูปใดมาประจำในปี 2547 ชุมชนชาวพุทธเถรวาท โอ๊คแลนด์ได้กราบนิมนต์ท่านอาจารย์ฉันทโก ภิกษุชาวอเมริกัน ซึ่งได้บวชเรียนจากวัดป่านานาชาติ ให้เข้าดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านเมตตาที่จะแบกภาระการเป็นผู้นำ ผู้บริหาร และผู้สอน ด้วยหวังว่าจะพัฒนาทั้งคนและวัด เผยแผ่ศาสนา ให้เจริญงอกงามในดินแดนกีวีสืบไป

    ก้าวช้าๆ แต่ว่ามั่นคง

    วัดป่าวิมุตติได้หยั่งรากแตกหน่อ ญาติโยมเสียสละทั้งแรงกายและปัจจัยเพื่อสร้างวัด ได้ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อระดมทุน อาทิเช่น รับจ้าง เก็บขยะ ทำความสะอาดสนามรักบี้ ซึ่งเป็นกีฬาโปรดของคนที่นี่ หรือปรุงอาหารประจำชาติเพื่อขายในเทศกาลอาหารนานาชาติเป็นต้น ญาติโยมอยากเชิญชวนญาติธรรมชาวไทยผู้มีจิตศรัทธา หากมีโอกาสได้เดินทางไปนิวซีแลนด์ กรุณาแวะเยี่ยมที่วัด

    http://www.buddhismthailand.com/news/01/watpavimuti.php</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    วัดอมราวดี (Amaravati Buddhist Monastery)
    เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ


    Amaravati Buddhist Monastery
    Margarets Lane, Great Gaddesden Hemel,
    Hempstead, Hertfordshire HP1 3BZ
    ENGLAND
    T. 0144 284 2455

    พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบร์ติ สุเมโธ) เจ้าอาวาส

    แนะนำสถานที่ปฎิบัติธรรมในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ค่ะ ลองติดต่อไปที่

    วัดศรีนครินทรวราราม
    Wat Srinagarindravararam


    ดูก็ได้นะค่ะ วัดสวยและสงบ หลวงพ่อท่านใจดีค่ะ

    เว็บไซต์
    http://www.wat-srinagarin.com


    จากคุณ : งามจิตร
     
  17. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>[​IMG]
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    .........................................



    วัดพุทธพรหมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ)
    ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว เชียงใหม่


    พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) เจ้าอาวาส

    ขอแนะนำที่ถ้ำเมืองนะ มีกุฏิ หลายหลัง มีถ้ำให้ได้ปฏิบัติมากมาย กุฏิ กับถ้ำอยู่คนละที่ สามารถเข้าพักได้ ตลอดเวลา ตามที่เห็นเหมาะสม เวลาไปถึงก็หาคนเก็บกุญแจกุฏิ แล้วเข้าพักได้เลย ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

    [​IMG]
    พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)
    .................................................................



    พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) ศิษย์สายหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านเมตตา บอกว่า ใครอยากมา มา ใครอยากกลับก็กลับ จะถือศีลอะไรก็ได้ แล้วแต่กำลังใจ ถ้าโรคภัยมาก ศีล 5 ก็ดีแล้ว ไม่ต้องฝืนไปถือศีล 8 จะอยู่เป็นปี ท่านก็ให้อยู่ ไม่ว่าอะไร บางคนมาอยู่หลายเดือน มาทำสมาธิอย่างเดียว ไม่คุยกับหลวงตาม้า เลยก็มี

    ....ที่ตรงนี้ ห่างจากชายแดนพม่าประมาณ 1 กิโล

    ขอแนะนำไว้ครับ สนใจติดต่อทางเมล์ของผมได้ครับ
    visanu_te@yahoo.com คุณวิษณุ เทพศิริ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดอรัญวิเวก (บ้านปง)
    หมู่ 7 บ้านปง ต.อินทขิล
    อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป เจ้าอาวาส

    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    พระธรรมเทศนา เรื่อง หลักการทำสมาธิและปฏิบัติภาวนา
    โดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    http://www.childthai.org/e-book/mental/mental02/mental001.htm


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
    ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160
    โทร. 053-826-869


    เจ้าอาวาส : พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)

    ผู้เข้าปฎิบัติ : รับทุกเพศทุกวัย-รับชาวต่างประเทศด้วย

    แนวปฎิบัติ : แนวพองหนอ ยุบหนอ ตามแนวทางปฏิบัติของ

    - ท่านมหาสีสะยาดอ
    - พระอาจารย์ภัททันตะอาสภมหาเถระ
    - ท่านพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)
    - คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย

    การปฎิบัติ : สำหรับผู้เข้าปฎิบัติใหม่จะมีครูสอนการปฎิบัติให้
    และพระวิปัสสนาจารย์ จำนวน 4 ท่านสำหรับสอบอารมณ์

    เงื่อนไข :

    1. ผู้ต้องการเข้าปฎิบัติ ต้องโทร.จองห้องก่อนล่วงหน้า 1-2 เดือน
    ก่อนการปฏิบัติ (เนื่องจากห้องปฏิบัติจะเต็มเร็วมาก)
    2. ผู้เข้าปฎิบัติต้องเขียนใบสมัครในวันที่ลงทะเบียนเข้าปฎิบัติ
    3. นำบัตรประชาชนของผู้ปฏิบัติมาด้วย
    4. นุ่งขาวห่มขาวพร้อมสไบ (หากไม่มีทางสำนักมีบริการให้ยืม)
    5. ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ทางสำนักมีบริการให้ยืม (หรือจะนำมาเองก็ได้)

    การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปอำเภอจอมทอง ประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยนั่งรถทัวร์หรือรถไฟ จากกทม แล้วต่อรถสองแถวจากสถานีรถไฟ ไปประตูเมืองเชียงใหม่ (เหมาราคา 50-60 บาท ใช้เวลา 10-20 นาที) แล้วลงจากรถ มาต่อรถสองแถวสีเหลือง (ที่ไปจอมทอง) โดยไม่ต้องเหมานั่งไปพร้อมหลายๆ คน ราคา 20 บาท ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง

    เว็บไซต์
    http://www.geocities.com/watpratat</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ธุดงคสถานล้านนา
    ต.สันทราย จ.เชียงใหม่
    โทรศัพท์ 053-353174-6


    พระอาจารย์อนุชา อัคคะจิตโต ประธานสงฆ์

    ลักษณะการให้บริการ : ฟรี

    ระยะเวลาการฝึกอบรม : ปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์ 9.00 น.-12.00 น.
    กำหนดศูนย์แบบหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    เวลาเปิดให้บริการ : 6.00 น.-21.00 น. ทุกวัน เฉพาะผู้ที่รักการปฏิบัติธรรม


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สำนักปฎิบัติธรรมนิโรธาราม
    ต.ดอนแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่


    แม่ชีนันทญาณี (รุ้งเดือน สุวรรณ) ประธาน</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สำนักปฏิบัติธรรมสุทธจิตร
    อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่



    วัดสวนดอก (วัดบุปผาราม)
    หมู่ 3 ถ.สุเทพ เชิงดอยสุเทพ บ้านห้วยทราย
    ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    </TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สำนักปฏิบัติธรรมอาทิจฺจวํโส
    เลขที่ 417 หมู่ 14 บ้านหัวทุ่ง
    ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170


    พระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส ประธานสงฆ์

    การเดินทางไปสำนักปฏิบัติธรรมอาทิจฺจวํโส

    1. ทางรถทัวร์ ขึ้นรถที่สถานีขนส่งหมอชิตใหม่
    รถกรุงเทพ - ท่าตอน ลงที่โรงแรมเชียงดาว มีรถออกเดินทางทุกวัน
    บริษัทนิววิริยะทัวร์ เบอร์ติดต่อ 0-2936-2205-6
    รถ VIP 32 ที่นั่ง ออกเดินทาง 16.30 น. ค่ารถ 615 บาท
    รถ ป 1 40 ที่นั่ง ออกเดินทาง 17.45 น. ค่ารถ 527 บาท
    บริษัท 999 ทัวร์ เบอร์ติดต่อ 0-2936-3670
    รถ ป 1 32 ที่นั่ง ออกเดินทาง 18.30 น. ค่ารถ 615 บาท

    หมายเหตุ ควรติดต่อทางสำนักปฏิบัติธรรมฯ ล่วงหน้า เพื่อนำรถมารับที่โรงแรมเชียงดาว
    โดยติดต่อ คุณวัฒนา วะชุม เบอร์ 0-9069-4993, 0-5337-5599

    2. เครื่องบิน กรุงเทพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...