งาน 60 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล ตระการเทียนพรรษาเทิดราชัน

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 8 กรกฎาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    [​IMG] ประเพณีแห่เทียนวันเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้สืบทอดเป็นวัฒนธรรมทางศาสนาที่ทำมาเกือบ 100 ปี

    โดยแรกเริ่มผู้คิดทำยังไม่มีจุดประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว แต่ดำเนินไปเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ด้วยการมีส่วนร่วมส่งเสริมพระภิกษุสามเณรที่หยุดจาริกแสวงบุญเผยแผ่ธรรมะในช่วงฤดูฝน ได้พักศึกษาเล่าเรียนให้มีความรู้พอกพูนแตกฉานยิ่งขึ้น

    ยุคแรกของการทำต้นเทียนพรรษา เป็นการฟั่นเทียนหาน้ำมันเครื่องไทยทานผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระ

    ส่วนประเพณีที่ทำกันจริงจัง คือ การแห่บั้งไฟบูชาพญาแถน เพื่อขอฝน (ปัจจุบันกลายเป็นประเพณีของ จ.ยโสธร ที่แยกออกจาก จ.อุบลราชธานี เป็นผู้สืบทอดมรดกนี้ไป)

    และจุดกำเนิดของประเพณีแห่เทียนพรรษา ที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุเมืองอุบลราชธานี ตอนหนึ่งระบุว่า การแห่บั้งไฟบูชาพญาแถนขอฝนใช้ทำเกษตรกรรมในปีหนึ่ง เมื่อยิงบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้า ปรากฏว่าบั้งไฟได้ล่วงหล่นลงมาถูกคนบนพื้นบาดเจ็บและเสียชีวิต

    ความทราบถึงกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการดูแลหัวเมืองมณฑลอีสาน ซึ่งพำนักอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ไม่ต้องการให้เกิดอันตรายกับประชาชนอีก จึงเสนอให้ประชาชนใช้ประเพณีแห่ต้นเทียนพรรษาเข้าวัดแทนการแห่บั้งไฟ
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    โดยยุคต้นของการแห่เทียนพรรษา ชาวบ้านนิยมทำเป็นต้นเทียนแบบมัดรวมติดตาย เพราะทำง่ายไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน ทำต้นเทียนเสร็จก็นำไปถวายพระตามวัดเลย

    จนกระทั่งมีการทำต้นเทียนติดต่อกันมาอีกหลายปี กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงเสนอให้ข้าราชการในปกครองตามคุ้มวัดต่างๆ ลองประดิษฐ์ต้นเทียนมาประชันขันแข่งว่า ต้นเทียนของใครมีความสวยงามกว่ากัน เพื่อสร้างความสนุกสนานความสามัคคีในหมู่คณะตามลักษณะนิสัยของคนอีสาน

    การประชันขันแข่งช่วงแรกๆ ยังไม่มีความพิถีพิถันอะไรมากมาย เพียงทำให้แลดูแปลกตาไปตามรูปร่าง ตามความคิดสร้างสรรค์ของช่าง

    เวลาผ่านไป 2-3 ปี มีผู้คิดนำกระพวนมาคล้องคอวัว-ควายใช้เทียมเกวียนบรรทุกต้นเทียนให้เกิดมีเสียงดัง พร้อมนำกระดาษสีมาตกแต่งบนร่างวัว-ควาย และเกวียนให้ดูสวยงาม ระหว่างการเคลื่อนขบวนนำต้นเทียนไปถวายวัด จะมีขบวนกลองยาว ขบวนฟ้อนรำแห่แหนสร้างความสนุกสนานร่วมเดินขบวนไปด้วย <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ราวปี พ.ศ.2495 ผู้คนเริ่มให้ความสนใจประเพณีแห่เทียนมากขึ้น จังหวัดอุบลราชธานี จึงบรรจุประเพณีแห่เทียนพรรษา เข้าเป็นงานประเพณีของจังหวัด พร้อมส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำประเพณีแห่เทียนพรรษาในแต่ละปี

    ต่อมา ช่างทำต้นเทียนเริ่มคิดค้นนำต้นเทียนมาหล่อ ก่อนแกะสลักลวดลายลงบนเนื้อเทียน เพื่อบอกเล่าเรื่องราวในสมัยพุทธกาล และพุทธประวัติของสัมมาสัมพุทธเจ้าในปางต่างๆ

    เมื่อช่างเริ่มรังสรรค์ผลงานผ่านเนื้อเทียนอย่างกว้างขวาง จึงเกิดการประชันขันแข่งออกแบบลวดลายบนเนื้อต้นเทียนให้มีความอ่อนช้อยสวยงามให้รายละเอียดแก่ผู้ชมได้มากที่สุด

    โดยช่างที่มีชื่อเสียงเรื่องการทำต้นเทียนยุคแรกๆ คือ นายโพธิ์ ส่งศรี นายสวน คูณผล นายคำหมา แสงงาม นายอารี สินสวัสดิ์ นายสมัย และนายอุส่าห์ จันทรวิจิตร นายสงวน สุพรรณ และนายประดับ ก้อนแก้ว

    สำหรับช่างทำต้นเทียนยุคปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของช่างเหล่านี้ทั้งสิ้น

    นอกจากการทำต้นเทียนแบบแกะสลักแล้ว ช่างยังคิดทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ซึ่งใช้วิธีการสร้างแบบก่อนนำแผ่นลวดลายเทียนที่แกะเรียบร้อยมาติดกับโครงสร้างตามแบบที่ช่างหล่อรองเทียนชั้นในไว้อย่างบางๆ ทำให้ต้นเทียนพรรษาที่เดิมมีเพียงชนิดเดียวกลายเป็น 3 แบบ คือ ต้นเทียนชนิดมัดรวมติดตาย(ปัจจุบันเรียกเทียนโบราณ) เป็นต้นเทียนยุคต้น ต้นเทียนแบบแกะสลักเป็นต้นเทียนยุคกลาง และต้นเทียนแบบติดพิมพ์เป็นต้นเทียนยุคหลังสุด

    สำหรับงานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2549 กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 3-11 กรกฎาคม ภายใต้ชื่องานว่า "60 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน" มีต้นเทียนเข้าร่วมขบวนเป็นต้นเทียนโบราณ ต้นเทียนประเภทแกะสลัก และต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ จำนวน 69 ต้น มีความหมายมาจากการครองราชย์ครบ 60 ปี ของรัชกาลที่ 9

    สิ่งที่เสริมเข้ามาให้งานประเพณีปีนี้ยิ่งใหญ่ขึ้น คือ มีการนำเครื่องยศของเจ้าเมืองอุบลราชธานีในอดีต อาทิ พระมาลา เครื่องทรง หางนกยูง สังข์ กังสดาล ฆ้อง หอก ดาบ ซึ่งได้รับพระราชทานมาจากราชสำนัก และลูกหลานของอดีตเจ้าเมืองได้เก็บรักษาไว้เป็นมรดกล้ำค่า

    เพื่อเข้าร่วมขบวนแห่เทียนพรรษาฉลองเป็นกรณีพิเศษในปีมหามงคลนี้ด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...