จมื่นศรีสรรักษ์ผู้มีฝีมือดาบเสมอเสมา(ขุนศึก)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 25 มิถุนายน 2012.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    ประวัติจมื่นศรีสรรักษ์
    พื้นเพเดิม
    แนวความคิดที่หนึ่ง

    เป็นตำนานเล่ากันมาว่า เมื่อสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถยังเป็นพระมหาอุปราชอยู่ วันหนึ่งเสด็จประพาสลำน้ำมาถึงเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุพัดจนล่มจึงต้องเสด็จไปอาศัยบนเกาะบางปะอิน จึงได้นางอิน หญิงบนเกาะมาเป็นบาทบริจาริกาจนนางคลอดบุตรเป็นชาย สมเด็จพระเอกาทศรถจะรับเป็นพระโอรสก็ละอายพระทัยจึงทรงรับไปเลี้ยงแต่เด็กจน กระทั่งเติบใหญ่

    แนวความคิดที่สอง

    มาจากจดหมายเหตุวัน วลิต ซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กล่าวว่าพระเจ้าปราสาททองนั้นเป็นบุตรออกญาศรีธรรมาธิราช ซึ่งเป็นพี่ชายคนใหญ่ของพระชนนีสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม คนทั้งหลายเรียกท่านกันว่า พระองค์ไล ประสูติในปีชวด รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ตรงกับ พ.ศ. 2143)


    วัน วลิตกล่าวไว้ว่า พระองค์ไลได้เริ่มต้นรับราชการโดยเริ่มจากการเป็นมหาดเล็ก แล้วจึงได้เลื่อนเป็นหุ้มแพร และได้เลื่อนเป็นจมื่นศรีสรรักษ์ เมื่อจมื่นศรีสรรักษ์มีอายุได้ 18 ปี ได้ไปก่อเหตุทำร้ายพระยาแรกนาแล้วหนีไปหลบอยู่ในวัด พระเจ้าอยู่หัวจึงให้จับตัวออกญาศรีธรรมาธิราชผู้เป็นบิดาไปขัง จมื่นศรีสรรักษ์จึงเข้ามามอบตัว มีรับสั่งให้จับไปขังคุก 5 เดือน แต่ เจ้าขรัวมณีจันทร์ พระชายาม่ายในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทน จมื่นศรีสรรักษ์จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมารับราชการตามเดิม แต่จมื่นศรีสรรักษ์ก็ยังก่อเรื่องวุ่นวายอีกจนถูกจำคุกอีกสองหน ต่อมาได้เลื่อนเป็นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี และได้เลื่อนเป็นออกญาศรีวรวงศ์ตามลำดับ เป็นขุนนางที่ไว้วางพระราชหฤทัยอย่างมาก


    จนถึง พ.ศ. 2171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมประชวรหนัก จึงให้ออกญาศรีวรวงศ์เชิญกระแสรับสั่งออกในที่ประชุมขุนนางเรื่องรัชทายาท ซึ่งเหล่าขุนนางมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย


    สนับสนุนพระเชษฐาธิราช พระโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งมีพระชนมายุ 14 ชันษา

    สนับสนุนพระศรีศิลป์ พระอนุชาของพระเจ้าทรงธรรมซึ่งผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ฝ่ายนี้มี ออกญากลาโหม ออกญาท้ายน้ำ ออกหลวงธรรมไตรโลก ออกพระศรีเนาวรัตน์และออกพระจุฬา (ราชมนตรี) สนับสนุน

    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชประสงค์ให้พระเชษฐาธิราชได้ครองราชสมบัติ ทรงมีรับสั่งให้ออกญาศรีวรวงศ์ แจ้งให้บรรดาเสนาบดีทราบ


    วันรุ่งขึ้นหลังสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต พระยาศรีวรวงศ์แจ้งให้เหล่าขุนนางทราบว่าทรงให้พระเชษฐาธิราชครองราชย์ต่อ สมเด็จพระเชษฐาธิราชจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ระหว่างพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระยาศรีวรวงศ์สั่งให้จับออกญากลาโหมกับขุนนางที่สนับสนุนพระศรีศิลป์ไป ประหารชีวิตที่ท่าช้าง แล้วริบทรัพย์สมบัติมาแจกจ่ายผู้มีความชอบ สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงตั้งพระยาศรีวรวงศ์เป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม แทนเจ้าพระยามหาเสนาบดีที่ถูกประหาร เรียกกันสั้นๆว่า ออกญากลาโหม


    ภายหลังออกญากลาโหมได้ให้ออกญาเสนาภิมุขไปลวงพระศรีศิลป์มาสังหารทิ้ง


    ใน พ.ศ. 2173 มารดาของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ถึงแก่กรรม (จดหมายเหตุวัน วลิตกล่าวว่าน้องชาย) เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้จัดงานศพอย่างใหญ่โต ขุนนางทั้งหลายต่างไปช่วย บางคนถึงกับไปนอนค้าง เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชออกว่าราชการ มีข้าราชการหายไปจำนวนมากจึงทรงพระพิโรธว่าจะลงอาญาข้าราชการเหล่านั้น เหล่าข้าราชการจึงไปขอพึ่งเจ้าเจ้าพระยากลาโหมและไม่ไปเข้าเฝ้า พวกข้าหลวงเดิมก็ทูลยุยงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์คิดเป็นกบฏ จึงทรงให้ข้าหลวงไปหลอกให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้าวังมาเพื่อสังหาร ทิ้ง แต่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์รู้ตัวก่อนจึงประกาศแก่คนทั้งปวงว่า



    ...เราได้ทำราชการมาด้วยความสุจริต เดี๋ยวนี้พระเจ้าแผ่นดินพาลเอาผิดว่าคิดกบฏ เมื่อภัยมาถึงตัวก็จำต้องเป็นกบฏตามรับสั่ง...



    ข้าราชการทั้งปวงก็พากันเข้าด้วย จึงคุมกำลังเข้ามาปล้นพระราชวัง จับสมเด็จพระเชษฐาธิราชไปปลงพระชนม์


    ข้าราชการทั้งปวงจึงอัญเชิญเจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์ให้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์ปฏิเสธและอัญเชิญสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พระโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชสมบัติสืบไป โดยมีเจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพราะยังทรงพระเยาว์มากวันๆได้แต่ทรงเล่นสนุก ขุนนางทั้งปวงจึงไปข้อร้องให้เจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นครองบัลลังก์เพื่อ เห็นแก่บ้านเมือง เจ้าพระกลาโหมสุริยวงศ์จึงปลงพระอาทิตยวงศ์ลงจากราชสมบัติ แล้วจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. 2173 เมื่อมีพระชนมายุได้ 30 พรรษา ทรงพระนามสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


    ทรงครองราชย์ได้ 25 ปี สวรรคตลงในปี พ.ศ. 2198 พระชนมายุได้ 55
    พรรษา
     
  2. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    เจ้าขรัวมณีจันทร์ผู้นี้ ตามความในจดหายเหตุวันวลิตว่า เป็นน้องของพระยาศรีธรรมาธิราชผ<wbr>ู้พระชนกของพระเจ้าปราสาททอง เจ้าขรัวมณีจันทร์นั้นเป้นชายาห<wbr>ม้ายของสมเด็จพระนเรศวรและเป็นพ<wbr>ระชนนีของพระเจ้าทรงธรรม ดังนั้นพูดได้ว่าพระเจ้าทรงธรรม<wbr>ก็คือ พระราชโอรสของสมเด็จพระนเรศวร และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้า<wbr>ปราสาททอง ทางฝ่ายพระชนนี และถ้าพระเจ้าปราสาททองเป็นโอรส<wbr>ของพระเอกาทศรถตามตำนานเรื่องเร<wbr>ือล่มที่บางปะอิน จนชาวบ้านเรียกท่านว่า “พระองค์ไล” ก็เป็นลูกน้องทางพระนเรศวรพระเอ<wbr>กาทศรถ พระชนกนาถอีกทางหนึ่ง และพระยศรีธรรมาธิราชพี่ชายใหญ่<wbr>ของเจ้าขรัวมณีจันทร์ เป็นเพียงบิดาบุญธรรมของพระเจ้า<wbr>ปราสาททอง

    ความในจดหมายเหตุวันวลิตดังกล่า<wbr>วชัดเจนมาก ความตอนต้นว่า

    “บิดาของออกญากลาโหม (พระเจ้าปราสาททอง) เป็นพี่ชายคนใหญ่ของพระชนนีของพ<wbr>ระเจ้าทรงธรรมชื่อว่าออกญาศรีธร<wbr>รมาธิราช (Oya Sidarma Thyra) ท่านผู้นี้มียศบรรดาศักดิ์ แต่พ้นจากราชการไม่มีส่วนในกิจก<wbr>ารบ้าน เมืองเลย (ความในภาษาอังกฤษว่า Calahom’s father was the eldest and legimate brother of the mother of the Grate King, and was called Oya SidarmaThyra)
    พระเจ้าอยู่หัวในพระโกศ (ทรงธรรม) ทรงให้ความนับถือเขาในฐานะเป็นล<wbr>ุง และโปรดปรานเขามาก แต่ออกญาศรีธรรมธิราชต้องถูกจำค<wbr>ุกบ่อยครั้ง เพราะการกระทำความผิดและความชั่<wbr>วร้ายต่าง ๆ ของบุตรชาย เขาได้นำออกญากลาโหมมาถวายไว้ใน<wbr>พระราชวังตั้งแต่ยังเยาว์วัย ครั้งแรกได้เป็นมหาดเล็กของพระเ<wbr>จ้าแผ่นดิน ครั้นอายุ ๑๒ ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ามหาดเ<wbr>ล็ก ตั้งแต่นั้นมาก็แสดงให้เห็นน้ำใ<wbr>จและความกล้าหาญ แต่ออกญากลาโหมใช้ชีวิตอย่างเลว<wbr>ทรามมาก มีความสนุกเพลิดเพลินจากการดื่ม<wbr>สุราและสมรู้ร่วมคิดในกรลักทรัพ<wbr>ย์ทัง้นี้ เนื่องจากถูกตั้งให้เป็นหัวหน้า<wbr>ไปกับพวกปล้น ทำการปล้นในเวลาค่ำคืนบ่อย ๆ เรื่องนี้เป้นเหตุให้พระเจ้าแผ่<wbr>นดินต้องทรงสั่งสอนโดยใช้ดาบใหญ<wbr>่ฟันศรีษะหลายทีด้วยพระหัตถ์ของ<wbr>พระองค์เองและส่งไปขังในคุกมืดแ<wbr>ต่ออกญากลาโหก็พ้นโทษออกมาและได<wbr>้รับ ความโปรดปรานอีก ทั้งนี้ เพราะความช่วยเหลือของอาหญิง คือพระชนนีของพระเจ้าอยู่หัว (though the intercession of his aunt the mother of the king เมื่ออายุ ๑๖ ปี ก็ได้เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ (pramosy Saropha) หรือผู้บังคับกองทหารมหาดเล็ก แต่ทว่าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง<wbr>นี้ไม่ดีเช่นที่เคยทำมาก่อน ครั้นอายุ ๑๘ ปี ได้ทำผิดซึ่งมีโทษถึงตาย แต่ก็มีเหตุที่ทำให้รอดชีวิตมาไ<wbr>ด้ เรื่องราวมีดังนี้ (Here is the story of affair)

    ในอาณาจักรสยามมีประเพณีโบราณตั<wbr>้งขึ้นมาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว<wbr> คือเมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว เมื่อเก็บข้าวเสร็จแล้วต้องทำคว<wbr>ามสะอาดพื้นดิน เป็นการกำจัดแมลงและสิ่งปฏิกูลอ<wbr>ื่น ๆ ด้วยการจุดไฟที่กอต้นข้าวที่เกี<wbr>่ยวแล้วก่อนการหว่านต้องไถพื้นดินเสียก<wbr>่อนพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกไปยัง<wbr>ชนบทในพระอิริยาบถสง่างามพรั่งพ<wbr>ร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก เพื่อทำพิธีแรกนาขวัญปลดปล่อยพร<wbr>ะธรณีให้รอดพ้นจากภูตผี ซึ่งจะได้ไม่เข้าไปปะปนกับเมล็ด<wbr>ข้าวและต้นข้าว ถ้าพระเจ้าแผ่นดินไม่เสด็จงานพิ<wbr>ธีนี้ การเพาะปลูกจะไม่เป็นผลเลย และถ้าหากพระองค์ทรงทำพิธีนี้เอ<wbr>ง พระองค์จะดำรงพระชนม์ชีพไปได้ไม<wbr>่เกิน ๓ ปี อาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณแถบนี้ของ<wbr>โลก ซึ่งสดับเรื่องราวสำคัญนี้ได้กล<wbr>่าวว่า ตนได้ตรวจในวิถีโคจรของดวงดาวว่<wbr>า ถ้าพระเจ้แผ่นดินไม่เปลี่ยนประเ<wbr>พณีและไม่มอบหน้าที่นี้ให้แก่ขุ<wbr>นนางแล้ว พระราชวงศ์จะสิ้นสูญไปในไม่ช้า ฉะนั้น จึงทรงมอบหมายหน้าที่ให้แก่เจ้า<wbr>นายคนของราชสำนักซึ่งมีตำแหน่งเ<wbr>ป็นสมุหนายก แต่คนผู้นี้ไม่สมารถทำพิธีนี้ เพราะได้สิ้นชีวิตลงอย่างกระทัน<wbr>หัน ทรงขอความเห็นในเรื่องเหตุบังเอ<wbr>ิญนี้ อาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณได้ทูลตอบ<wbr>ว่า ดาวต่าง ๆ เหตุให้เกิดโชคร้ายทำนองนี้แก่ผ<wbr>ู้ได้รับมอบหน้าที่จากพระองค์ทุ<wbr>กคน เพื่อรักษาพิธีนี้ไว้ จำเป็นต้องมอบหน้าที่แก่ขุนนางท<wbr>ี่มียศต่ำ โดยให้เหตุผลว่าเหล่าพวกผีพากัน<wbr>กำเริบยะโส เพราะผู้มีเกียรติยศสูงมาทำพิธี<wbr>ขับไล่และเทพเจ้าไม่ทรงพอพระทัย<wbr>ที่กษัตริย์ และสมุหนายกถ่อมตนมากเกินไปโดยม<wbr>าร่วมในการขับไล่ภูตผี

    พระเจ้าแผ่นดินและที่ประชุมเสนา<wbr>บดีเห็นว่าสมควรที่จะเห็นด้วยกั<wbr>บความคิด อันเป็นไปตามหลักการของโหราจารย<wbr>์และพระภิกษุสงฆ์ จึงทรงแต่งตั้งผู้มีตำแหน่งเป็น<wbr>ออกญาข้าว (Oya khauw) เป็นพระยาแรกนา เมื่อได้รับเลือกให้ทำพิธี ออกญาข้าวก็ถูกส่งไปอยู่ตามลำพั<wbr>งในที่ ๆ ห่างไกลพระนคร และไม่ออกจาที่พักหรือบริเวณรอบ<wbr> ๆ บ้านด้วย จนกระทั่งถึงวันกำหนดทำความสะอา<wbr>ดประเทศ จึงได้กลับไปยังพระราชสำนักเข้า<wbr>เฝ้าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์พระรา<wbr>ชทานพระภูษาใหม่ อันเป็นฉลององค์ของกษัตริย์ และให้สวมมงกุฎรูปกรวยแหลมลงบนศ<wbr>รีษะ ออกญาข้าวต้องนั่งในบุษบงเล็ก ๆ ทรงปิรามิด มีคน ๘ คน หามออกเดินจากพระราชวังไปตามถนน<wbr> มีบริวารล้มหลามพร้อมด้วยเครื่อ<wbr>งดีดสีตีเป่าติดตามไปยังชนบททุก<wbr> ๆ คนแม้แต่เสวกามาต์และชาววังคนอื<wbr>่น ๆ ถวายเกียรติยศทำนองเดียวกับที่ถ<wbr>วายพระเกียรติแก่พระเจ้าแผ่นดิน<wbr> ทั้งนี้เพราะเขาได้ถูกสมมติให้เ<wbr>ป็นพระเจ้าแผ่นดิน ออกญาข้าวไม่ได้รับค่าตอบแทนอื่<wbr>นใด นอกจากเงินที่เก็บจากค่าปรับไหม<wbr>จากคนที่พบกลางกลาง และ และคนที่ไม่ปิดประตูบ้านเมื่อขบ<wbr>วนผ่านมา หรือคนที่เปิดร้านหรือแผงลอยในถ<wbr>นนโล่ง ๆ จ่ายให้เพราะเขามีสิทธิแย่งยื้อ<wbr>เอาจนกว่าคนเหล่านั้นจะยอมจ่ายเ<wbr>งิน ชดเชยให้ ทั้งนี้ เขาได้รับเงินรวม ๓ ชั่ง เป็นเงินสยามมีค่ามากกว่า ๔๐ เหรียญโบราณของสเปญเล็กน้อย สำหรับวันนั้นในทันทีที่ออกจากพ<wbr>ระราชวังก็มีอำนาจ และเกียรติยศเช่นเดียวกับพระเจ้<wbr>าอยู่หัว ยิ่งกว่านั้นเพื่อให้สมเหตุสมผล<wbr> พระเจ้าแผ่นดินจะไม่เสด็จจากพระ<wbr>ราชวังเลยและไม่ปรากฏองค์ให้ใคร<wbr>เห้นด้วยพระยาแรกนาเมื่อมาถึงโร<wbr>งพิธี ก็อนุญาตให้ทุก ๆ คน เข้าโจมตีต่อสู้กับพรรคพวกบริวา<wbr>รผู้ติดตาม มีกฎอยู่ว่า ผู้ที่เข้าโจมตีจะแตะต้องตัวหรื<wbr>อองครักษ์ของพระยาแรกนาไม่ได้ ถ้าหากพระยาแรกนาได้ชัยชนะในการ<wbr>ต่อสู้กับฝูงชนแล้ว จะเป็นสัญลักษณ์ว่าปีนั้นข้าวจะ<wbr>อุดมสมบูรณ์ถ้าการกลับตรงกันข้า<wbr>ม ถ้าพระยาแรกนาต้องหนีกระเจิง ก็ทำนายได้ว่าเป็นลางร้ายและเกร<wbr>งว่าภูตผีจะทำลายพืชผลของแผ่นดิ<wbr>น พิธีขำ ๆ เหล่านี้จบลงอย่างง่าย ๆ แต่มีบ่อยครั้งที่การต่อสู้รุนแ<wbr>รงถึงมีผู้เสียชีวิตหลายคน สุดท้ายของพิธีนี้ พระเจ้าแผ่นดินปลอมได้กลับไปยัง<wbr>พระราชวังในเวลาเย็น เพื่อถอดมงกุฎและเครื่องทรงกษัต<wbr>ริย์ออก กลับมียศตำแหน่งสามัญดังเดิมตลอ<wbr>ดปีนั้นเขาจะอยู่เย็นเป็นสุขหรื<wbr>อว่าเจ็บไข้ ก็แล้วแต่โชคดีร้าย และค่าปรับสินไหมที่ได้รับในวัน<wbr>นั้น

    ขณะนั้นออกญากลาโหมเพิ่งมียศเป็<wbr>นจมื่นศรีสรรักษ์และมีอายุประมา<wbr>ณ ๑๘ ปี วันหนึ่งเมื่อมีการทำพิธีนี้ เขาได้อยู่ที่ชนบทนั้นด้วย โดยมากับน้องชายซึ่งบัดนี้เป็นฝ<wbr>่ายหน้าหรือมหาอุปราช ทั้ง ๒ คนขี่ช้างมีบ่าวไพร่ติดตามมาหลา<wbr>ยคน และได้เข้าโจมตีพระยาแรกนาอย่าง<wbr>ดุเดือด ดูเหมือนว่ามีเจตนาจะฆ่าพระยาแร<wbr>กนาและกลุ่มผู้ที่ติดตามทั้งหมด<wbr>ด้วย ฝ่ายองครักษ์เห็นดังนั้นเข้าต่อ<wbr>สู้ป้องกันพระเจ้าแผ่นดินปลอมต่<wbr>อต้านสองขุนนางหนุ่ม และขว้างก้อนหินไปถูกน้องชายได้<wbr>รับบาดเจ็บ จมื่นศรีสรรักษ์ก็ถอดดาบและโถมเ<wbr>ข้าสู้อย่างดุเดือดจนพระยาแรกนา<wbr> และองครักษ์ต้องถอยหนี พระยาแรกนากลับมายังพระราชวังแล<wbr>ะนำความกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่<wbr>หัว ถึงเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้น<wbr>โดยจมื่นศรีสรรักษ์เป็นผู้ก่อ

    พระเจ้าอยู่หัวกริ้วเป็นกำลังถึ<wbr>งเรื่องความชั่วร้ายที่ได้เกิดข<wbr>ึ้น พระองค์รับสั่งให้ค้นหาจมื่นศรี<wbr>สรรักษ์ และให้นำมายังพระราชวัง แต่คนชั่วผู้นี้รู้ตัวดีว่ามีผู<wbr>้ติดตามมาจับจึงซ่อนตัวอยู่ในโบ<wbr>สถ์กับบรรดาพระสงฆ์ และไม่กล้าเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นด<wbr>ินในขณะที่ทรงพระพิโรธหนัก เมื่อพระเจ้าแผ่นดินไม่อาจลงโทษ<wbr>ให้สมกับพระอารมณ์ขุ่นเคืองได้อ<wbr>อกญาศรีธรรมาธิราชจำต้องได้รับผ<wbr>ลการกระทำนี้ พระองค์รับสั่งว่าจะประหารชีวิต<wbr>เขาหากไม่นำตัวบุตรชายมาเฝ้า จมื่นศรีสรรักษ์เมื่อทราบข่าว จึงออกจากที่หลบซ่อนมาเฝ้าพระเจ<wbr>้าอยู่ หัว และทูลขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ถูกมหาดเล็กจับตัวไว้ พระเจ้าแผ่นดินทรงฟันเขา ๓ ที ที่ขาทั้ง ๒ ข้างจากหัวเข่าลงมาถึงข้อเท้า แล้วพระองค์จับเขาโยนเข้าไปในคุ<wbr>กใต้ดิน รับสั่งให้พันธนาการไว้ด้วยโซ่ต<wbr>รวนที่ส่วนทั้ง ๕ ของร่างกาย จมื่นศรีสรรักษ์ถูกจำขังอยู่ในค<wbr>ุกมืดเป็นเวลา ๕ เดือน จนกระทั่งเจ้าขรัวมณีจันทร์ ( Zian Croa Mady Tjan ) ชายาหม้รายของพระเจ้าอยู่หัวในพ<wbr>ระ โกศ คือ พระ Marit หรือพระองค์ดำได้ทูลขอ จึงได้กลับเป็นที่โปรดปรานอีก ( till Zian Croa Mady Tjan widow of the late king who called Pra Marit or the black king made his peace )


    จมื่น ศรีสรรักษ์ไม่อาจลืมการลงอาญาที่โหดร้ายทารุณนี้ได้ แม้ว่าตนสมควรจะได้รับโทษนั้น นับแต่นั้นมาก็กระหายจะแก้แค้นทดแทน ที่สำคัญก็คือต้องการทำลายล้างพระองค์ทอง ( Phra Onthong ) และพระศรีสิน ( Phra Sysinh ) พระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นที่โปรดปรานรักใคร่เหนือสิ่งอื่น จมื่นศรีสรรักษ์เชิญสหายสี่คนมาเลี้ยงอาหารเย็นที่บ้านเพื่อดำเนินแผนการ ชั่วร้ายนี้ คนทั้ง ๔ คือ ออกหลวงพิบูล (Oloangh Pibon) ซึ่งเป็นออกญานครราชสีมา ( Oya Carassima) แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่ม จงใจภักดิ์ (Choen Choenpra) ซึ่งต่อมาได้เป็นออกพระจุฬา (Opra Tiula) อภัยณรงค์ (Eptiongh Omongh) ต่อมาได้เป็นออกญาพิษณุโลก (Oya Poucelouck) และจางใหม่ จางวาง (Tiongh Maytiau Wangh) ต่อมาได้เป็นออกญาพระคลัง เมื่อจมื่นศรีสรรักษ์ได้เกลี้ยกล่อมคนเหล่านั้นเป็นอย่างดี และครั้นผีร้ายได้เข้าสิงความคิดของคนเหล่านั้นแล้ว จมื่นศรีสรรักษ์จึงขยายให้รู้ถึงแผนการแก้แค้นเจ้านายด้วยความอาฆาตพยาบาท โดยอ้างเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินลงพระอาญาเขาในความผิดหนหลัง ฉะนั้นต่างคนจึงให้สัตย์สาบาลไว้ต่อกันเป็นมั่นคง ด้วยการดื่มเลือดของแต่ละคนอันเป็นพิธีที่เคยปฏิบัติกันมา ขุนนางทั้ง ๔ คนนี้สัญญาจะช่วยเหลือสนับสนุนจมื่นศรีสรรักษ์ และในที่สุดลงความเห็นว่าสมควรบุกเข้าไปในปราสาท ซึ่งเจ้าชายทั้งสองประทับอยู่เข้าไปในห้องและปลงพระชนม์เสีย ภายหลังที่วางแผนแล้ว ๔ หรือ ๕ วัน ทาสคนหนึ่งของจมื่นศรีสรรักษ์ก็เผยอุบายนั้น พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้หาตัวมาเข้าเฝ้า และตรัสถามถึงสาเหตุที่เขาคิดการรุนแรงร้ายกาจต่อพระอนุชาทั้ง ๒ ของพระองค์ จมื่นศรีสรรักษ์ทูลปฏิเสธและสาบานอย่างน่ากลัว เพื่อยืนยันคำปฏิเสธของตน แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงแน่พระทัยในความจริงของข้อกล่าวหานี้ พระองค์พิโรธหนักและคงจะฆ่าเขาเสียแล้วด้วยดาบญี่ปุ่น ถ้าหากดาบไม่ติดสายสะพายซึ่งทำให้ทรงฟันพลาด จมื่นศรีสรรักษ์หาที่หลบซ่อนตัว แต่พระเจ้าแผ่นดินทรงจับเขาได้และฟันลงไปที่บ่าและหลังด้วยพระหัตถ์ของ พระองค์เอง แล้วพระองค์รับสั่งให้ขังจมื่นศรีสรรักษ์ และสมัครพรรคพวกไว้ในคุกมืด รวมกับพวกหัวขโมย และฆาตกร เพราะเจ้าแผ่นดินทรงขังออกญาศรีธรรมาธิราช บิดาของจมื่นศรีสรรักษ์ไว้ด้วย แต่ออกญาผู้นี้ไม่มีความผิดพระองค์จึงปล่อยให้เป็นอิสระ

    หลายปีต่อมา พระเจ้าอยู่หัวทรงเตรียมกองทัพที่แข็งแกร่งยิ่ง ๒ ทัพ ทรงมุ่งทำสงครามในประเทศเขมร เพื่อทวงความสวามิภักดิ์ของประเทศนั้น จมื่นศรีสรรักษ์ถือโอกาสอันเหมาะนี้ อ้อนวอนออกญาอุปราช ให้ทูลขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระเจ้าแผ่นดิน เพราะว่าเมื่อพ้นจากคุกแล้ว เขาจะไถ่โทษด้วยการทำการรบอย่างกล้าหาญ โดยให้สัญญาว่าจะตั้งใจทำการสู้รบ ออกญาอุปราชเป็นหัวหน้าขุนนางในประเทศ และได้คุมกองทัพเรือร่วมกับออกยาพระคลัง เพราะพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชประสงค์คุมกองทัพบกไปด้วยพระองค์เอง เมื่อได้สดับคำทูลอ้อนวอนของขุนนางเหล่านี้ พระเจ้าแผ่นดินจึงทรงปล่อยจมื่นศรีสรรักษ์ พร้อมด้วยสมัครพรรคพวกเป็นอิสระ ภายหลังที่ติดคุกอยู่เป็นเวลากว่า ๓ ปี และส่งตัวไปรบเขมรทางทะเล อันที่จริงแม้ว่าสงครามครั้งนี้ไม่สำเร็จดังที่ตนได้สัญญาไว้ แต่จมื่นศรีสรรักษ์ทำการรบอย่างเข้มแข็ง แม่ทัพทั้งหลายได้เสนอความดีความชอบให้ จมื่นศรีสรรักษ์จึงได้กลับเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง ทรงให้กลับเข้ารับราชการในราชสำนักได้ และพระราชทานตำแหน่งให้เป็นจมื่นสรรเพธภักดี (Sompan Meon) แม้กระนั้นก็ดีจมื่นศรีสรรักษ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยสันดาน เพราะมาเป็นชู้กับพระชายาและสนมของเจ้าชายและพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน พระอนุชาได้กราบทูลร้องทุกข์อย่างขมขื่นในเรื่องนี้ พระเจ้าแผ่นดินทรงกริ้วมากถึงกับลงโทษให้ประหารชีวิต แต่ด้วยเห็นคำอ้อนวอนของพระราชมารดา และออกญาศรีธรรมราชาบิดาของเขา จึงทรงลดโทษลงเป็นจำคุกตลอดชีวิต จมื่นศรีสรรักษ์ติดคุกอีก ๓ ปี เกิดความรู้สึกสำนึกตน จากนั้นมาก็ประพฤติตนเป็นที่นิยมของผู้คน และแสดงให้เห็นถึงน้ำใจและความแคล่วคล่องในการงาน จนพระเจ้าแผ่นดินประทานตำแหน่งออกญาศรีวรวงศ์ หน้าที่ควบคุมดูแลพระราชวัง อาจกล่าวได้ว่าระหว่างปีท้าย ๆ ในรัชกาลของกษัตริย์องค์นี้ ออกญาศรีวรวงศ์เท่านั้น ที่ได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ในระหว่างประชวร ครั้งสุดท้าย เอเขาจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนการชั่วของตนแล้ว ตอนเริ่มรัชกาลใหม่ก็ได้เป็นออกญากลาโหม เกียรติยศที่ได้รับอยู่ในขณะนี้เป็นเสมือนชั้นที่ก้าวไปสู่ตำแหน่งกษัตริย์ โดยยึดบ้านเมืองมาจากพระเจ้าแผ่นดินและกำจัดราชตระกูลให้สูญสิ้นไป

    ถ้าวันวลิตไมได้ระบุอดีตของเจ้าขรัวมณีจันทร์ไว้ในรายละเอียดของประวัติแห่ง พระเจ้าปราสาททอง เราก็จะไม่มีวันทราบได้เลยว่า “อาหญิง” คือพระราชชนนีของพระเจ้าอยู่หัวที่วันวลิตกล่าวไว้ในตอนนำเรื่องก่อนจะให้ รายละเอียดคือใคร คงรู้แต่เพียงว่า พระเจ้าปราสาททองมีอาว์เป็นพระราชชนนีของพระเจ้าทรงธรรมเท่านั้น จะไม่รู้ว่าอาว์เป็นชายาของท่านผู้ใด การที่บอกให้รู้ว่าอาว์เป็นชายาของท่านผู้ใดนั้นสำคัญมากสำหรับประวัติพระ เจ้าทรงธรรมเพราะเรามักจะสรุปเอาโดยง่ายว่า พระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสของพระเอกาทศรถ และมีอนุชาอีก ๒ องค์ คือ พระศรีศิลป์และพระองค์ทอง

    วันวลิตระบุไว้แต่เพียงว่าพระเจ้าทรงธรรมนั้นพระนามเดิมว่า พระอินทรราชาและมีพระอนุชา ๒ องค์ ดังกล่าว แต่ไม่เคยระบุว่าเป็นโอรสของพระเอกาทศรถเลย เป็นแต่ข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ เท่านั้น พระราชประวัติของพระเจ้าทรงธรรมจึงเป็นเรื่องที่ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง การศึกษาของผู้เขียนจะศึกษาตามรอยของคุณขจร สุขพานิชซึ่งผู้เขียนนับถือในความรู้ และความจริงใจที่มีต่อประวัติศาสตร์ งานชิ้นสำคัญของคุณขจรคืองานสอบศักราชปีรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถว่ากี่ปี แน่ ซึ่งห่างกัน ๒๔ ปี และในระหว่าง ๒๔ ปีนี้มีพระเจ้าแผ่นดินเสวยราชย์อยู่ ๓ องค์ คือพระเอกาทศรถ ๑ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ๑ พระเจ้าทรงธรรม ๑

    ที่เป็นปัญหามากก็คือรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถ เพราะพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ๘ ปี หนังสือสังคีติยวงศ์ของสมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพนในรัชกาลที่ ๑ ว่า ๖ ปี พงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมว่า ๗ ปี และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ทรงแก้ไขในประชุพงศาวดารเป็น ๑๕ ปี โดยใช้จดหายเหตุวันวลิตฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะในจดหมายเหตุนั้นระบุว่า พระเจ้าทรงธรรมเสวยราชย์ ๙ ปี ครั้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ค้นพบจดหมายเหตุต้นฉบับภาษาฮอลันดาในหอสมุดของฮอลันดา ความปรากฏว่าพระเจ้าทรงธรรมเสวยราชย์ ๑๙ ปี ฉบับภาษาอังกฤษพิมพ์ตกเลข “๑” ไป คุณขจร สุขพานิช จึงสรุปว่ารัชกาลพระเอกาทศรถมี ๕ ปี ๕ เดือน ใกล้เคียงกับพงศาวดารเก่า ๆ ของไทย และให้รัชกาลของพระศรีเสาวภาคย์มีอายุ ๑ ปี ๒ เดือน

    มีข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือตั้งแต่แผ่นดินพระเอกาทศรถเป็นต้นมา ยศเจ้านายลูกเธอที่เป็นมหาธรรมราชา บรมราชา ราเมศวร อิทรราชา ศรีศิลป์ นั้นยกเลิกไม่มีอีกต่อไป (เว้นแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง) สมเด็จพระเอกาทศรถตั้งพระเจ้าลูกเธอเป็นเจ้าฟ้าปรากฏพระนามดังกล่าว ๒ พระองค์ เหตุใดจึงไม่ตั้งให้เป็นพระบรมราชาหรือราเมศวรทั้ง ๒ พระองค์ตามแบบโบราณจะมาตั้งเอาอินทรราชา และดูกระไรอยู่

    แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงตั้งพระเจ้าลูกยาเธอองค์ใหญ่เะป็นมหาธรรมราชาได้องค์ ต่อ ๆ ไปเหตุใดจะตั้งไม่ได้ เช่น พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ อย่างพระเจ้าทรงธรรมที่ว่าเป็นพระอินทรราชานั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรสวรรคต พระชันษา ๑๕ ดำรงพระยศนี้ได้ พระศรีศิลป์เป็นอนุชาถวายพระชนม์ให้เป็น ๑๓ ก็ดำรงตำแหน่งพระศรีศิลป์ได้ เพราะพระศรีศิลป์โอรสพระชัยราชา และแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พระชันษา ๕ ขวบ ยังเป็นได้ ดังนั้นถ้าสมเด็จพระนเรศวรจะทรงมีพระราชโอรสเป็นพระมหาธรรมราชา พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทองเป็นที่สุดจะเป็นได้หรือไม่ ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถมีพระราชโอรส ๒ คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ จะเป็นประการใด ในรัชกาลพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้า ๒ พระองค์เป็นพระราชกุมาร และอาจจะมีองค์อื่น ๆ อีก ชั้นพระองค์เจ้าและเจ้านาย ๔ พระองค์ของพระนเรศวร เป็นพระราชนัดดา

    พระเจ้าทรงธรรมกับเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์นั้นควรเป็นเจ้านายรุ่นราวคราวเดียว กันถึงร่วมปีพระชันษาก็ได้เพราะพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถอก่อ่อนกว่ากันก็ใน ราว ๓ พรรษา พระโอรสองค์ใหญ่ต่อองค์ใหญ่ก็คงรุ่นราวกัน อย่างจะต่างกันก็ของพระเอกาทศรถอ่อนพระชันษากว่าเล็กน้อย

    การที่พระเจ้าทรงธรรมทำรัฐประหารสำเร็จโดยง่ายทั้งที่ขุนนางนายทหารที่มี ฝีมือก็ยังอยู่มากมายนั้น ช่วยสนับสนุนความคิดข้างที่ว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นโอรสพระนเรศวรมากยิ่งขึ้น และที่ปกครองบ้านเมืองอยู่เกือบยี่สิบปี โดยสงบราบคาบ ยิ่งช่วยสนับสนุนความคิดดังกล่าวมากขึ้นอีก

    พระเจ้าทรงธรรมได้ราชสมบัติมาโดยประหารเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ถ้าเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์เป็นเชษฐาร่วมพระชนกคงจะทำได้ยากกว่าที่ทำลงไปแล้ว ใครทำกับพระมหาธรรมราชา พระเชษฐาของพระเจ้าทรงธรรมได้ฉันใด พระเจ้าทรงธรรมก็ทำกับผู้นั้นหรือเชื้อสายได้ฉันนั้น เวรก็ต้องสนองเวร แต่โอรสพระเจ้าทรงธรรมก็ทรงรับกรรมของพระชนกนาถต่อไปถึง ๒ องค์ เพราะถูกประหารเช่นเดียวกันโดยพระเจ้าปราสาททอง

    ผู้เขียนไม่แปลกใจเลยที่พงศาวดารระยะนี้คลุมเครือ เพราะพงศาวดารเขียนกันในสมัยพระนารายณ์ ฯ เป็นพระโอรสพระเจ้าปราสาททอง ๆ ทำรัฐประหารโอรสพระเจ้าทรงธรรมคนเขียนพงศาวดารย่อมเขียนไม่ออก ถึงแม้เวลาจะห่างกันประมาณ ๕๐ ปีเศษ คนแก่คนเฒ่ายังมีอยู่ ฟังในพงศาวดารไทยรัชกาลพระเจ้าปราสาททองงดงามมาก เขียนไว้ไพเราะมีทั้งบารมีและเดชานุภาพ แต่ที่วันวลิตเขียนไม่งาม เต็มไปด้วยเรื่องร้าย ๆ ดังนั้นการที่จะบอกว่าพระเจ้าทรงธรรมเป็นใคร ไม่เป็นคุณแก่ราชวงศ์ปราสาททองคือองค์พระนารายณ์ เรื่องราวต่าง ๆ จึงคลุมเครือในช่วงนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2012
  3. เต่าสุเกะ

    เต่าสุเกะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2010
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +43
    ยุคนั้นมีการแย่งชิงอำนาจกันอย่างน่ารังเกียจ ปัจจุบันก็มีให้เห็นกันล้นหลาม สรุปว่าประเทศไทยมันจะหนีไม่พ้นมือพวกนี้เลยหรือไง
     
  4. noawarat pakdee

    noawarat pakdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +682
    หรือถ้าจะพูดอีกกอย่างไม่ ว่ายุคสมัยไหน การโกง การแย่งชิงอำนาจ นั้นมันมีมาแต่โบราณกาลแล้ว แต่ในยุคของเรารู้สึกจะรุนแรงกว่า เพราะเอาชีวิตของคนบริสุทธิ์มาเป็นเล่นเกมส์การเมืองด้วย ชีวืตคนบรืสุทธิ์ ต้องสังเวยให้กับอำนาจ
    น่าเวทนาจริงๆ ประเทศไทยเรา
     
  5. nao7310

    nao7310 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +931
    คุณ piyaa ข้อมูลแน่นนะค่ะ ถ้าเป็นไปได้ ให้ credit หรือให้เกรียติกับแหล่งข้อมูลบ้างก็ดีนะค่ะว่ามาจากที่ไหน เผื่อมีใครสนใจจะได้ไปสืบค้นบ้าง คงจะไม่ใช่เฉพาะจาก จดหมายเหตุ วันวลิต เพียงอย่างเดียวกระมัง
     
  6. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ขอบคุณครับที่ให้ข้อมูลโดยเฉพาะประเด็นความสัมพันธ์พระเจ้าทรงธรรมกับพระนเรศวร
     
  7. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    เป็นนิสัย ปกติ ของคนไทย (แท้) ตั้งแต่โบราณกาล คือ ขี้เกียจ ขี้โกง ขี้อิจฉา ขี้โอ่ ก็ดูคนไทย(แท้ธรรมดา) ปัจจุบัน ไม่ค่อยร่ำรวย (งานหนักไม่เอางานเบาไม่ชอบ )
     
  8. วฤณภา

    วฤณภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +101
    ไม่ใช่แต่คนไทย บ้านเมืองอื่นก็เหมือนกัน อ่านดูได้ทุกประวัติศาสตร์ของประเทศนั้นๆ
     
  9. โก๋ก้อย

    โก๋ก้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +149
    อย่าคิดมากธรรมดาของมนุษย์ แม้แต่ตัวเราเองก็เป็นไม่มากก็น้อย
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 พระมหากษัตริย์อาณาจักรอยุธยาพระองค์ที่ 24 (ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2199) และทรงเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์ลำดับที่ 4 ของอาณาจักรอยุธยา


    พระนาม


    1. เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ (บรรดาศักดิ์)
    2. พระเจ้าปราสาททอง (เมื่อครองราชย์)
    3. พระสรรเพชญ์ที่ 5 (พระราชพงศาวดาร)
    4. พระรามาธิเบศร (คำให้การชาวกรุงเก่า)
    พระราชประวัติ

    พื้นเพเดิม

    แนวความคิดที่หนึ่ง

    เป็นตำนานเล่ากันมาว่า เมื่อสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถยังเป็นพระมหาอุปราชอยู่ วันหนึ่งเสด็จประพาสลำน้ำมาถึงเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุพัดจนล่มจึงต้องเสด็จไปอาศัยบนเกาะบางปะอิน จึงได้นางอิน หญิงบนเกาะมาเป็นบาทบริจาริกาจนนางคลอดบุตรเป็นชาย สมเด็จพระเอกาทศรถจะรับเป็นพระโอรสก็ละอายพระทัยจึงทรงรับไปเลี้ยงแต่เด็กจน กระทั่งเติบใหญ่
    แนวความคิดที่สอง

    มาจากจดหมายเหตุวัน วลิต ซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กล่าวว่าพระเจ้าปราสาททองนั้นเป็นบุตรออกญาศรีธรรมาธิราช ซึ่งเป็นพี่ชายคนใหญ่ของพระชนนีสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม คนทั้งหลายเรียกท่านกันว่า พระองค์ไล ประสูติในปีชวด รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ตรงกับ พ.ศ. 2143)
    การรับราชการ

    วัน วลิตกล่าวไว้ว่า พระองค์ไลได้เริ่มต้นรับราชการโดยเริ่มจากการเป็นมหาดเล็ก แล้วจึงได้เลื่อนเป็นหุ้มแพร และได้เลื่อนเป็นจมื่นศรีสรรักษ์ เมื่อจมื่นศรีสรรักษ์มีอายุได้ 18 ปี ได้ไปก่อเหตุทำร้ายพระยาแรกนาแล้วหนีไปหลบอยู่ในวัด พระเจ้าอยู่หัวจึงให้จับตัวออกญาศรีธรรมาธิราชผู้เป็นบิดาไปขัง จมื่นศรีสรรักษ์จึงเข้ามามอบตัว มีรับสั่งให้จับไปขังคุก 5 เดือน แต่ เจ้าขรัวมณีจันทร์ พระชายาม่ายในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมาทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทน จมื่นศรีสรรักษ์จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมารับราชการตามเดิม แต่จมื่นศรีสรรักษ์ก็ยังก่อเรื่องวุ่นวายอีกจนถูกจำคุกอีกสองหน ต่อมาได้เลื่อนเป็นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี และได้เลื่อนเป็นออกญาศรีวรวงศ์ตามลำดับ เป็นขุนนางที่ไว้วางพระราชหฤทัยอย่างมาก
    จนถึง พ.ศ. 2171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมประชวรหนัก จึงให้ออกญาศรีวรวงศ์เชิญกระแสรับสั่งออกในที่ประชุมขุนนางเรื่องรัชทายาท ซึ่งเหล่าขุนนางมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย

    • สนับสนุนพระเชษฐาธิราช พระโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งมีพระชนมายุ 14 ชันษา
    • สนับสนุนพระศรีศิลป์ พระอนุชาของพระเจ้าทรงธรรมซึ่งผนวชอยู่ที่วัดระฆัง ฝ่ายนี้มี ออกญากลาโหม ออกญาท้ายน้ำ ออกหลวงธรรมไตรโลก ออกพระศรีเนาวรัตน์และออกพระจุฬา (ราชมนตรี) สนับสนุน
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมมีพระราชประสงค์ให้พระเชษฐาธิราชได้ครองราชสมบัติ ทรงมีรับสั่งให้ออกญาศรีวรวงศ์ แจ้งให้บรรดาเสนาบดีทราบ
    วันรุ่งขึ้นหลังสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต พระยาศรีวรวงศ์แจ้งให้เหล่าขุนนางทราบว่าทรงให้พระเชษฐาธิราชครองราชย์ต่อ สมเด็จพระเชษฐาธิราชจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ระหว่างพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระยาศรีวรวงศ์สั่งให้จับออกญากลาโหมกับขุนนางที่สนับสนุนพระศรีศิลป์ไป ประหารชีวิตที่ท่าช้าง แล้วริบทรัพย์สมบัติมาแจกจ่ายผู้มีความชอบ สมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงตั้งพระยาศรีวรวงศ์เป็น เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม แทนเจ้าพระยามหาเสนาบดีที่ถูกประหาร เรียกกันสั้นๆว่า ออกญากลาโหม
    ภายหลังออกญากลาโหมได้ให้ออกญาเสนาภิมุขไปลวงพระศรีศิลป์มาสังหารทิ้ง
    การแย่งชิงราชสมบัติ

    ใน พ.ศ. 2173 มารดาของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ถึงแก่กรรม (จดหมายเหตุวัน วลิตกล่าวว่าน้องชาย) เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้จัดงานศพอย่างใหญ่โต ขุนนางทั้งหลายต่างไปช่วย บางคนถึงกับไปนอนค้าง เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชออกว่าราชการ มีข้าราชการหายไปจำนวนมากจึงทรงพระพิโรธว่าจะลงอาญาข้าราชการเหล่านั้น เหล่าข้าราชการจึงไปขอพึ่งเจ้าพระยากลาโหม และไม่ไปเข้าเฝ้า พวกข้าหลวงเดิมก็ทูลยุยงว่าเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์คิดเป็นกบฏ จึงทรงให้ข้าหลวงไปหลอกให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เข้าวังมาเพื่อสังหาร ทิ้ง แต่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์รู้ตัวก่อนจึงประกาศแก่คนทั้งปวงว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: 1px dotted #CCCCCC; margin: default 10px auto 10px auto; width: auto;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td>
    ...เราได้ทำราชการมาด้วยความสุจริต เดี๋ยวนี้พระเจ้าแผ่นดินพาลเอาผิดว่าคิดกบฏ เมื่อภัยมาถึงตัวก็จำต้องเป็นกบฏตามรับสั่ง...
    </td> <td style="padding: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ข้าราชการทั้งปวงก็พากันเข้าด้วย จึงคุมกำลังเข้ามาปล้นพระราชวัง จับสมเด็จพระเชษฐาธิราชไปปลงพระชนม์
    ข้าราชการทั้งปวงจึงอัญเชิญเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ให้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ปฏิเสธและอัญเชิญสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ พระโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชสมบัติสืบไป โดยมีเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพราะยังทรงพระเยาว์มาก วันๆ ได้แต่ทรงเล่นสนุก ขุนนางทั้งปวงจึงไปขอร้องให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นครองบัลลังก์เพื่อ เห็นแก่บ้านเมือง เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงปลงพระอาทิตยวงศ์ลงจากราชสมบัติ แล้วจึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. 2173 เมื่อมีพระชนมายุได้ 30 พรรษา ทรงพระนาม สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

    ทรงครองราชย์ได้ 25 ปี สวรรคตลงในปี พ.ศ. 2198 พระชนมายุได้ 55 พรรษา
    พระราชกรณียกิจ

    การพระราชทานรางวัล

    เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ โปรดให้เลื่อนยศและตำแหน่งแก่ผู้ร่วมก่อการมากับพระองค์ เช่นจมื่นสรรเพชญ์ภักดี ผู้เขียนหนังสือเป็นรหัสบอกพระองค์ โปรดแต่งตั้งเป็นพระยาราชภักดี เจ้ากรมพระคลังมหาสมบัติ
    การสงคราม

    พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่ได้แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม
    ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ในขณะเดียวกันก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า
    (ไม่เคยมีหลักฐานชั้นต้นไหน ที่ระบุว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงยกทัพไปตีเขมร มีแต่ในพระราชนิพนธ์ ไทยรบพม่า ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่เพียงพระองค์เดียว ซึ่งก็ไม่มีที่มาอีกว่า พระองค์ไปได้แหล่งอ้างอิงมาจากไหน)
    การตรากฎหมาย

    ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ
    การลบศักราช

    ในปีจุลศักราช 1000 ตรงกับปีขาล (พ.ศ. 2181) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่ <sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>
    การสร้างปราสาทราชวัง

    ทรงสร้างปราสาทหลายหลังเช่นการสร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์และการสร้างพระที่นั่งวิหารสมเด็จขึ้นแทนพระที่นั่งมังคลาภิเศกที่ถูกไฟใหม้
    ใน พ.ศ. 2175 พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน
    การพระศาสนา

    พระองค์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญ ๆ หลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายารามราชวรวิหาร ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี มีการสร้างพระปรางค์ตามแบบขอม เป็นการเริ่มต้นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยที่ 3 ของกรุงศรีอยุธยา (ยุคของพระเจ้าปราสาททองถึงพระเจ้าท้ายสระ)
    ที่มาของพระนามปราสาททอง

    เหตุที่ทรงใช้พระนามว่าปราสาททอง อันเป็นชื่อเดียวกับชื่อราชวงศ์ด้วย ในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัดระบุ ว่า เมื่อพระองค์ครองราชย์แล้ววันหนึ่งทรงพระสุบินว่าได้ขุดค้นพบปราสาททองหลัง หนึ่งฝังอยู่ในจอมปลวกที่พระองค์เคยประทับเล่นเมื่อทรงพระเยาว์ จึงให้ไปขุดที่จอมปลวกนั้นและพบปราสาททองเหมือนที่ทรงพระสุบิน จึงเรียกขานพระนามว่าพระเจ้าปราสาททองมาแต่บัดนั้น
    พระโอรส-ธิดา

    พระเจ้าปราสาททองมีโอรสธิดารวมกัน 8 พระองค์ เป็นพระโอรส 7 พระองค์ เป็นพระธิดา 1 พระองค์
    พระมเหสีองค์แรก

    มีพระโอรส 1 พระองค์ คือ

    พระราชเทวี องค์ที่ 1

    ได้แก่ พระราชเทวี สิริกัลยาณี ซึ่งมีพระโอรส 1 พระองค์ และพระธิดา 1 พระองค์ คือ

    พระราชเทวี องค์ที่ 2

    มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

    พระสนม

    มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ

    อ้างอิง


    1. ^ http://www4.sac.or.th/jaruk/inscription_details.php?id_name=321&userinput=72
    2. ^ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ (บรรณาธิการ).เล่าเรื่อง...เฉกอะหมัด ต้นสกุลบุนนาค จากเอกสารพิมพ์ดีด ๒๔๘๒. กรุงเทพฯ:บันทึกสยาม, พ.ศ. 2553. หน้า 48.




    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สมเด็จเจ้าฟ้าไชย

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สมเด็จเจ้าฟ้าไชย หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองที่ ประสูติแต่พระอัครมเหสี มีพระนามเดิมว่า พระองค์อินทร์ พระองค์ประสูติก่อนที่สมเด็จพระราชบิดาจะขึ้นครองราชสมบัติแห่งกรุง ศรีอยุธยา เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบกำหนดโสกันต์แล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ที่เกาะบ้านเลนและพระราชทานพระนามใหม่ว่า เจ้าฟ้าไชย<sup id="cite_ref-.E0.B8.9A.E0.B8.B8.E0.B8.99.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.84_0-0" class="reference">[1]</sup>
    เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพระประชวรหนักและเสด็จลงมาประทับที่พระที่นั่งเบญจรัตนนั้น ทรงพระกรุณามอบราชสมบัติและพระแสงขรรค์ไชยศรีให้ เจ้าฟ้าไชย หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ขึ้นสืบพระราชสันตติวงศ์ต่อมีพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญที่ 6 หรือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย ในปี พ.ศ. 2199 หลังจากครองราชได้ไม่นาน พระศรีสุธรรมราชา พระปิตุลา และสมเด็จพระนารายณ์ พระอนุชาต่างพระมารดา ได้ร่วมกันชิงราชสมบัติแล้วจับกุมสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวไปสำเร็จโทษวัดโคกพระยา พระองค์ทรงครองราชสมบัติอยู่ได้ 9 เดือน






    สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    <dl><dd> บทความนี้เกี่ยวกับสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7 สำหรับสมเด็จพระสรรเพชญ์พระองค์อื่น ดูที่ สมเด็จพระสรรเพชญ์
    </dd></dl> สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7 หรือ พระศรีสุธรรมราชาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยารัชกาลที่ 26 และเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ปราสาททองลำดับที่ 3 (ครองราชย์ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2199 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2199) พระองค์เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยบางแห่งกล่าวว่าเป็นบุตรของมหาดเล็ก พี่ชายของนางอิน พระมารดาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>


    พระราชประวัติ

    สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อสมเด็จพระเจ้าปราสาททองปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุง ศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระเจ้าปราสาททองตรัสว่า "น้องเราคนนี้น้ำใจกักขชะหยาบช้า มิได้มีหิริโอตัปปะ จะให้เป็นอุปราชรักษา แผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณมิได้ ให้เป็นแต่เจ้าพระ ชื่อ พระศรีสุธรรมราชา" พร้อมกันนี้โปรดให้พระศรีสุธรรมราชาตั้งบ้านหลวงอยู่ที่ริมวัดสุทธาวาส
    การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์

    ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชยพระ ราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จขึ้นครองสมบัติสืบต่อสมเด็จพระราชบิดา แต่สมเด็จเจ้าฟ้าไชยทรงครองราชย์ได้ไม่นาน พระศรีสุธรรมราชา พระปิตุลา (อา) และสมเด็จพระนารายณ์ พระราชนัดดาของพระองค์ ก็สมคบคิดกันชิงราชบัลลังก์ เมื่อถึงวันตามที่ทั้งสองพระองค์ตกลงกันแล้ว สมเด็จพระนารายณ์ได้พาพระราชกัลยาณี พระขนิษฐาในพระองค์ลอบหนีออกจากพระราชวังทางประตูตัดสระแก้วเพื่อเสด็จไปหา พระศรีสุธรรมราชา หลังจากนั้น พระศรีสุธรรมราชาและสมเด็จพระนารายณ์จึงได้ยกกำลังพลเข้ามาในพระราชวัง จับกุมสมเด็จเจ้าฟ้าไชยและนำพระองค์ไปสำเร็จโทษเสีย ณ วัดโคกพระยา เมื่อชิงราชสมบัติเป็นผลสำเร็จ พระศรีสุธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนารายณ์ พระราชนัดดาเป็นพระมหาอุปราช โดยให้เสด็จไปประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล
    เหตุแห่งการยึดอำนาจ

    หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้สองเดือนเศษ สมเด็จพระนารายณ์ได้ชิงราชสมบัติจากพระองค์ ซึ่งการช่วงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาโดยสมเด็จพระนารายณ์นั้น มีการกล่าวไว้ในหลายแง่มุม โดยพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า สมเด็จพระศรีสุธรรมราชามีจิตเสน่หาต่อพระราชกัลยาณี ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์และเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์ จึงทรงรับสั่งให้ไปเฝ้าบนพระที่ แต่พระราชกัลยาณีไม่ได้เสด็จขึ้นไปและได้นำความมาบอกพระนม พระนมจึงเชิญพระราชกัลยาณีซ่อนในตู้พระสมุดแล้วหามออกไปยังพระราชวังบวรสถาน มงคลอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงกริ้วและตรัสว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: 1px dotted #CCCCCC; margin: default 10px auto 10px auto; width: auto;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td>
    อนิจจา พระเจ้าอา เราคิดว่าสมเด็จพระบิตุราชสวรรคต ยังแต่พระเจ้าอาก็เหมือนพระบรมราชบิดายังอยู่ จะได้ปกป้องพระราชวงศานุวงศ์สืบไป ควรหรือมาเป็นดังนี้ พระองค์ปราศจากหิริโอตัปปะแล้ว ไหนจะครองสมบัติเป็นยุติธรรมเล่า น่าที่จะร้อนอกสมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎร ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นแท้ จะละไว้มิได้
    </td> <td style="padding: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เป็นที่เชื่อกันว่า เหตุการณ์เล็กน้อยข้างต้นอาจเป็นเพียงข้ออ้างหนึ่งของพระนารายณ์ที่นำมาใช้ ในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา<sup class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</sup> มีหลักฐานของฮอลันดากล่าว ถึงการปรึกษาของพระนารายณ์กับพ่อค้าชาวฮอลันดาในการขอความช่วยเหลือเพื่อชิง ราชสมบัติมาตั้งแต่แรกที่สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชย์เมื่อเดือน สิงหาคม<sup class="noprint Template-Fact">[ต้องการอ้างอิง]</sup>
    สวรรคต

    พระนารายณ์ได้รับการสนับสนุนจากพระยาเสนาภิมุข พระยาไชยาสุระและทหารญี่ปุ่น 40 นาย รวมทั้งชาวมุสลิมจากเปอร์เซีย การต่อสู้ยึดอำนาจเกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงในตอนเย็นวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2199 จนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น ไพร่พลของทั้งสองฝ่ายล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ทั้งสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาและสมเด็จพระนารายณ์ต่างได้รับบาดเจ็บจากกระสุน ปืน สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาสู้ไม่ได้จึงถอยหนีไปวังหลังแต่ถูกพระนารายณ์จับตัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้และนำไปสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา
    ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2199 พระนารายณ์ได้ปราบดาภิเศกขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาซึ่งอยู่ในราชสมบัติได้เพียง 2 เดือน 17 วัน
    ดูเพิ่ม


    อ้างอิง


    1. ^ ราชอาณาจักรสยาม




    <sup id="cite_ref-0" class="reference"></sup>



    .

    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2-


    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2-
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

    พระราชประวัติ

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าปราสาททอง และพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังถูกยกเป็นพระราชเทวี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททอง<sup id="cite_ref-.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4_0-1" class="reference">[1]</sup> เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 และทรงมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี<sup id="cite_ref-.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4_0-2" class="reference">[1]</sup> พระนมอยู่พระองค์หนึ่ง คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน<sup id="cite_ref-.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4_0-3" class="reference">[1]</sup>
    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระอนุชาในสมเด็จเจ้าฟ้าไชย และยังทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดาอีก ได้แก่

    ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่าเมื่อแรกเสด็จพระบรมราชสมภพนั้น พระญาติเห็นพระโอรสมีสี่กร พระราชบิดาจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชกุมาร" ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าและคำให้การขุนหลวงหาวัด เล่าว่าเมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก พระโอรสเสด็จไปช่วยดับเพลิง ผู้คนเห็นเป็นสี่กร จึงพากันขนานพระนามว่า พระนารายณ์
    พระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์นั้นเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหารย์อยู่มาก แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพราหมณ์ เมื่อเทียบกับกษัตริย์องค์ก่อนๆ ด้วยเหตุนี้เองพระราชประวัติของพระองค์จึงกล่าวถึงปาฏิหารย์มหัศจรรย์ตาม ลำดับ คือ

    • เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา ขณะเล่นน้ำ พระองค์ทรงถูกอสนีบาต พวกพี่เลี้ยง นางนม สลบหมดสิ้น แต่พระองค์ไม่เป็นไรแม้แต่น้อย
    • เมื่อพระนารายณ์ทรงมีพระชนม์ได้ 9 พรรษา พระองค์ทรงถูกอสนีบาตที่พระราชวังบางปะอิน แต่พระองค์ก็ปลอดภัยดี
    สมเด็จพระนารายณ์ทรงรับการศึกษาจากพระโหราธิบดี ซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงในพระราชวัง และพระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม รวมทั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูงในพระนคร
    สมเด็จพระนารายณ์มีส่วนสำคัญในการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โดยพระองค์ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาในการชิงราชสมบัติจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ โดยหลังจากที่พระองค์ช่วยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้แล้ว นั้น สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาขึ้นครองราชสมบัติได้ 2 เดือนเศษ พระองค์ทรงชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อเวลาสองนาฬิกา วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก (ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199) มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา
    หลังจากประทับในกรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2209 และเสด็จไปประทับที่ลพบุรีทุกๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลาย
    การเสด็จสวรรคต

    พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมครองราชสมบัติเป็นเวลา 32 ปี มีพระชนมายุ 56 พรรษา
    [​IMG] [​IMG]
    พระราชานุสาวรีย์ องค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


    พระราชโอรส-ธิดา

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมีพระราชโอรส และธิดา ได้แก่

    • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี<sup id="cite_ref-1" class="reference">[2]</sup> เจ้าฟ้าสุดาวดีถือเป็นท่านแรกที่ปรากฏพระนามว่าเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงกรม และยังมีอีกหนึ่งพระองค์คู่กันกับท่านก็คือ กรมหลวงโยธาทิพ<sup id="cite_ref-.E0.B8.81.E0.B8.A3.E0.B8.A1_2-0" class="reference">[3]</sup> ทรงมีพระคลังสินค้า เรือกำปั่น และเงินทุน<sup id="cite_ref-3" class="reference">[4]</sup> แต่พระองค์มีเรื่องหมางพระทัยอยู่กับพระราชบิดา ด้วยเหตุที่พระบิดาทรงกว้านการค้ากับต่างประเทศไว้เสียหมด<sup id="cite_ref-4" class="reference">[5]</sup> ภายหลังพระองค์ทรงถูกบังคับให้อภิเษกกับพระเพทราชาขึ้นเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ทั้งที่กรมหลวงโยธาเทพเองเป็นผู้มีส่วนริเริ่มการปฏิวัติผลัดแผ่นดิน แต่กลับกลายตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์นี้เสียเองทั้งที่ไม่เต็มพระทัยต่อพระ เพทราชานัก<sup id="cite_ref-.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4_0-4" class="reference">[1]</sup> และให้ประสูติการพระโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย<sup id="cite_ref-5" class="reference">[6]</sup> และสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2278 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ<sup id="cite_ref-6" class="reference">[7]</sup>
    • หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ พระราชโอรสลับที่ประสูติแต่พระนางกุสาวดี
    ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า พระองค์มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เมื่อโสกันต์แล้วพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้าอไภยทศ แต่ในจดหมายเหตุและคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวต้องกันว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชไม่มีพระราชโอรส โดยเจ้าฟ้าอไภยทศพระองค์นี้เป็นพระราชอนุชาของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระโอรสบุญธรรม คือ พระปีย์ หรือบางแห่งเรียก พระปิยะ
    [​IMG] [​IMG]
    ภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออก โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตจากฝรั่งเศสเข้าเฝ้า


    พระราชกรณียกิจ

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่าง ยิ่ง ทรงสร้างความรุ่งเรือง และความยิ่งใหญ่ให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก โดยทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองพม่าอีกหลายเมืองได้แก่ เมืองจิตตะกอง สิเรียม ย่างกุ้ง แปร ตองอู หงสาวดี และมีกำลังสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์นั้นสามารถยึดหัวเมืองของพม่าได้คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
    การต่างประเทศ

    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีก ครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ชาวกรีกที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมุหนายกขณะ เดียวกันยังโปรดเกล้าฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระ เกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุด ในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่าง ประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า คริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก
    ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ชาวฮอลันดาได้ กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียม สร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะ นั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมา ก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บงฝ่าย สมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้น ก็มิใช่ว่าจะปลอดภัยนัก ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้า หลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน
    นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
    วรรณกรรม

    เข้าไปดูบทความเฉพาะของเรื่องนี้ วรรณกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
    สมเด็จพระนารายณ์มิใช่เพียงทรงพระปรีชาสามารถทางด้านการทูตเท่านั้น หากทรงเป็นกวีและทรงอุปถัมภ์กวีในยุคของพระองค์อย่างมากมาย กวีลือนามแห่งรัชสมัยของพระองค์ก็ได้แก่ พระโหราธิบดี หรือพระมหาราชครู ผู้ประพันธ์หนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และตอนหนึ่งของเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ (อีกตอนหนึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์) กวีอีกผู้หนึ่งคือ ศรีปราชญ์ ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนุรุทรคำฉันท์ด้วยพระปรีชาสามารถดังได้บรรยายมาแล้ว สมเด็จพระนารายณ์จึงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง
    [​IMG] [​IMG]
    ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์


    วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น

    • สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น
    • คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. 2203 เป็นต้น
    ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น
    งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2524 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นจากแนวคิดของชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี กับนายเชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีใน ขณะนั้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงสร้างเมืองลพบุรี ให้เจริญรุ่งเรือง อีกประการหนึ่งคือต้องการพัฒนาจังหวัดลพบุรีให้เป็นเมืองท่องเที่ยว การจัดงานครั้งแรกตั้งชื่องานว่า "นารายณ์รำลึก" ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ "งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์" ซึ่งเป็นชื่อที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ซึ่งก่อตั้งชื่อของงานนี้ขึ้น
    งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของลพบุรีถูกถ่ายทอดการจัดงานโดยมีการตั้งคณะ กรรมการกว่า 20 คณะ รูปแบบของงานมีทั้งภาคกลางวันและกลางคืนมีการจำลองเหตุการณ์ในครั้งประวัติ ศาสตร์ มีขบวนแห่ของชาติต่างๆที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเข้ามาพึ่งพระบรม โพธิสมภาร มีการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและคำประพันธ์ต่างๆ มีร้านจำหน่ายและสาธิตสินค้า ตลอดจนขนมหวานในสมัยนั้น มีการจุดประทีปโคมไฟให้เหมือนราตรีแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในอดีตมี การประกวดการแต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้ง ส่งเสริมให้ชาวลพบุรีแต่งกายไทยทั้งเมืองซึ่งมีผู้ให้ความสนใจและร่วมงาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากมาย
    ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย


    อ้างอิง


    1. ^ <sup>1.0</sup> <sup>1.1</sup> <sup>1.2</sup> <sup>1.3</sup> <sup>1.4</sup> M.L. Manich Jumsai (เขียน) ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน (แปล). สมเด็จพระนารายณ์ และโกษาปาน. กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว, 2531, หน้า 17
    2. ^ ภาสกร วงศ์ตาวัน. ไพร่ขุนนางเจ้า แย่งชิงบัลลังก์สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2553. หน้า 161
    3. ^ "สมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่", จุลลดา ภักดีภูมินทร์, 14 พฤษภาคม 2545. สืบค้นวันที่ 2010-12-29
    4. ^ La Loubère. Du Royaume de Siam. p. 142
    5. ^ ภัตรา ภูมิประภาส. นางออสุต:เมียลับผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 94
    6. ^ ๔๙ ราชินี (๖)-11. กรมหลวงโยธาเทพ
    7. ^ พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


    ดูเพิ่ม


    • ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
    • Cruysse, Dirk van der (2002). Siam and the West. Chiang Mai: Silkworm
    • Marcinkowski, M. Ismail (2005). From Isfahan to Ayutthaya: Contacts between Iran and Siam in the 17th Century. With a foreword by Professor Ehsan Yarshater, Columbia University . Singapore: Pustaka Nasional
    • Muhammad Rabi' ibn Muhammad Ibrahim, J. O'Kane (trans.) (1972). The Ship of Sulaiman. London: Routledge
    • Smithies, M. (1999). A Siamese Embassy Lost in Africa, 1686. Chiang Mai: Silkworm
    • Smithies, M., Bressan, L., (2001). Siam and the Vatican in the Seventeenth Century. Bangkok: River
    • Smithies, M., Cruysse, Dirk van der (2002). The Diary of Kosa Pan: Thai Ambassador to France, June-July 1686. Seattle: University of Washington Press
    • Wyatt, DK (1984). Thailand: A Short History. Chiang Mai: Silkworm

    -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รัชกาลที่ 5 ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
    Posted by ลูกเสือหมายเลข9 , ผู้อ่าน : 12508 , 20:07:53 น.

    -http://www.oknation.net/blog/chai/2007/09/09/entry-2-


    เพิ่งอ่านหนังสือ"พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์นักสู้" จบครับ
    เป็นหนังสือที่เขียนโดยนายแพทย์วิบูล วิจิตรวาทการ บุตรชายหลวงวิจิตรวาทการ
    อ่านแล้วอยากบอกว่า"สนุกมาก" เพราะมีครบทุกรส
    พระเจ้าปราสาททอง (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2172 - 2199) เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 ของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งได้รับการวิพาษ์วิจารณ์ค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงลบและเชิงบวก
    มีทั้งวิจารณ์ว่า ทรงมีจิตใจที่โหดร้าย ไร้คุณธรรม เจ้ายศเจ้าอารมณ์ มักใหญ่ใฝ่สูง
    นาย Woods นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก บันทึกว่าพระเจ้าปราสาททองเสวยน้ำเมาตลอดวัน จนขาดสติสัมปชัญญะ จนมีเรื่องเล่าว่า ทรงทอดพระเนตรเห็นพระราชโอรส คือพระนารายณ์ มี 4 กร จึงตั้งชื่อ"นารายณ์"
    แต่ในอีกมุม พระองค์ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์นักสู้ ผู้ไต่เต้าจากตำแหน่งเสนาบดีกลาโหม กระทั่งได้ครองราชย์บัลลังก์ และเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์"ปราสาททอง"

    [​IMG]
    วัดไชยวัฒนาราม

    ตามประวัติศาสตร์ ระบุว่า แผ่นดินอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง บ้านเมืองมีแต่ความสงบร่มเย็น พระองค์ทรงเสื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนาราม วัดชุมพลพิศายาราม บูรณะปฎิสังขรณ์วัดต่างๆ รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังบางประอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน
    [​IMG]
    พระราชวังบางปะอิน
    หนังสือ เล่มนี้ เล่าตั้งแต่เรื่องโชกุนญี่ปุ่นขอปืนใหญ่จากสมเด็จพระเอกาทศรถ ซามูไรญี่ปุ่นแผลงฤทธิ์ข่มเหงพระเจ้ากรุงสยาม กรุงศรีอยุธยาขอม้าจากโชกุนญี่ปุ่นมาผสมพันธุ์ม้าไทย ซามูไรญี่ปุ่นพยายามประทุษร้ายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในทรรศนะของฝรั่งและญี่ปุ่น
    หนังสือวิเคราะห์เรื่องตั้งแต่พระเจ้าทรงธรรมสวรรณคต แล้วทรงรับสั่งให้พระเชษฐาธิราชขึ้นครองราชย์ โดยกำจัดพระศรีศิลป์ แล้วต่อเนื่องถึงพระเจ้าปราสาททองประหารชีวิตของพระเชษฐาธิราช กำจัดพระอาทิตยวงศ์ ก่อนขึ้นครองราชย์ แล้วทรงเปลี่ยนปฏิทิน

    สำหรับพระเจ้าปราสาททอง เดิมรับราชการในราชสำนักสมเด็จพระเอกาทศรถ(บางฉบับระบุว่าพระองค์เป็นพระราช โอรสนอกสมรสของพระเอกาทศรถ) ในตำแหน่งมหาดเล็ก ต่อมาได้เป็นที่จมื่นศรีสรรักษ์ ได้ร่วมกับพระศรีศิลป์สำเร็จโทษพระศรีเสาวภาคย์ แล้วเชิญพระอินทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า"สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"
    จมื่น ศรีสรรักษ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระมหาอำมาตย์ และออกญาศรีวรวงศ์ และเมื่อญี่ปุ่นนำกำลังเข้ามาจะควบคุมพระองค์สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระยาศรีวรวงศ์ก็สามารถปราบปรามลงได้ จึงได้รับความดีความชอบ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้ดูแลรักษาพระเชษฐาธิราช พระราชโอรสที่ทรงวางพระทัยให้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์
    ในรัชสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระยาศรีวรวงศ์ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ มีอำนาจและอิทธิพลมาก ทำให้สมเด็จพระเชษฐาธิราช ทรงระแวงและคิดกำจัด แต่เจ้าพระยากลาโหมรู้ตัวก่อนและควบคุมพระองค์สมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ แล้วอัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมขึ้นครองราชย์
    เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2172 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 รวมทั้งทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่เป็น"ราชวงศ์ปราสาททอง" พระองค์มีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 7 พระองค์
    พระองค์เคยเสด็จยกทัพไปตีเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา แต่แข็งเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และชนะจึงทำให้เขมรกลับมาเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาดังเดิม
    ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ หัวเมืองประเทศราชทางใต้ คิดกบฏยกทัพไปตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง พระองค์ได้ส่งกองทัพไปปราบปรามได้ราบคาบ แต่ก็เสียเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาแก่พม่า
    ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญ เช่น พระไอยการลักษณะอุทธรณ์ พระไอยการลักษณะมรดก พระไอยการลักษณะกู้หนี้ และพระธรรมนูญ
    ในปีจุลศักราช 1000 ตรงกับปีขาล (พ.ศ. 2181) ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะเกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นกลียุค พระองค์จึงทรงให้จัดพิธีลบศักราช เปลี่ยนจากปีขาลเป็นปีกุน แล้วแจ้งให้หัวเมืองน้อยใหญ่รวมทั้งเมืองประเทศราช ให้ใช้ปีศักราชตามที่ทางกรุงศรีอยุธยากำหนดขึ้นมาใหม่
    ในปี พ.ศ. 2175 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พร้อมทั้งหมู่พระราชนิเวศ และวัดชุมพลนิกายาราม ขึ้นที่บางปะอิน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์ สำหรับไว้เป็นที่แปรพระราชฐาน
    พระ เจ้าปราสาททอง มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงสถาปนาวัดสำคัญหลายวัด เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดชุมพลนิกายาราม รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดมหาธาตุ และโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย
    สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2199 ครองราชย์ได้ 27 ปี

    [​IMG]
    รัชกาลที่5 พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ฉายเมื่อปี 1881
    ตอนที่ผมอ่านแล้ว"สนุก" จนขอนำมาเล่าต่อ คือพระปิยะมหาราช ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง
    เรื่องนี้ปรากฎในหนังสือหลายเล่ม เช่น พระราชกระทู้ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และคำสนองพระราชกระทู้ของพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ว่าด้วย พระเจ้าปราสาททอง
    แต่เนื่องจากเป็นการวิจารณ์กราบบังคมทูลสนองพระราชกระทู้ยาวมาก...จึงขอยกมาบางเรื่องให้สั้นลง

    "ฉลาด ในทางอุบายมารยา ฉลาดในทางที่จะเรียนวิชาความรู้ว่องไว แต่ไม่มีความอุสาหะที่จะเรียนให้รู้จริง คือ ปากรู้มากกว่าใจ จนที่ไหนเดาที่นั่น ด้วยความเชื่อว่าคงถูกเชื่อตัวว่ามีสติปัญญา มีบุญ ไม่มีผุ้ใดเสมอซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งชอบยอ และกล้าทำอะไร ๆ ไม่มีความละอาย ด้วยนึกว่าไม่มีใครรู้เท่าเป็นไพร่ตามสันดานเดิมในเมื่อเวลากริ้ว..." พระราชวิจารณ์ของรัชกาลที่ 5 ถึงพระเจ้าปราสาททอง

    "ฉลาด ในอุบายมารยานั้น คือเมื่อเวลาพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต มีความปรารถนาจะใคร่ได้สมบัติ ข้อนี้ควรจะยกเว้นไม่ติเตียน เพราะพระเจ้าทรงธรรมไม่ได้เป็นผู้ที่ควรเป็นพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกว่าพระเจ้า ปราสาททอง วิชาก็มีด้วยกัน ฝ่าสยหนึ่งถนัดข้างพระไตรปิฏก ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่ามีเวมมนตร์ขลัง และสติปัญญามากกว่าเอาเป็นตีรั้งกันควรปรารถนา
    "อาการที่จะเป็นพระเจ้า แผ่นดินนั้น เอาโดยทางมารยา คือยกพระเชษฐาซึ่งคงจะเป็นคนโง่ยิ่งกว่าพระศรีศิลป์ พระบิดาคงมุ่งให้พระศรีศิลป์รับสมบัติ จึงแกล้งไม่ยกสมบัติให้ พระศรีศิลป์ซึ่งเป็นคนฉลาดแต่ไม่ใช่ฉลฃาดดี ฉลาดอย่างกักฬะ พระศรีศิลป์จึงได้หนีออกไป คงจะด้วยถุกอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงไม่ได้ทันต่อรบอย่างหนึ่งอย่างใดให้กับสมกับที่เป็นกบถ หลอกให้พี่น้องแหนงกันเอง ฆ่ากันสมประสงค์"

    พระยาโบราณราชธานินทร์ได้แก้ต่าง....
    "ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นว่า อาการที่พระเจ้าปราสาททองจะเอาแผ่นดินนั้น เอาโดยทางมารยา คือแกล้งยกพระเชษฐาซึ่งคงเป็นคนโง่ยิ่งกว่าพระศรีศิลป์ที่พระบิดาคงมุ่งหมาย ที่จะให้รับราชสมบัติและหลอกให้พี่น้องแหนงกันจนฆ่ากันสมประสงค์นั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า ถ้าพระเจ้าปราสาททองปองที่จะเอาสมบัติอยู่แล้ว ถึงพระศรีศิลป์จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็คงรักษาพระองค์ไม่รอดเหมือนกัน เพราะกำลังวังชาและอำนาจของพระเจาปราสาททองในเวลานั้นมีมากนัก
    ซึ่งยกพระเชษฐาขึ้นครงอราชสมบัตินั้น เห็นด้วยเกล้าฯว่าคงทำตามโบราณราชประเพณี ที่ต้องยกพี่ขึ้นใหญ่กว่าน้อง ประการหนึ่ง ถ้าหากยกพระศรีศิลป์ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระเชษฐกับพระศรีศิลป์ก็คงจะบาดหมางไม่ปรองดอง คิดฆ่ากันไปเหมือนกัน"


    ร.5 ทรงวิพากษ์ต่อ...
    "แกล้ง ทำการศพให้คึกคัก แต่งคนให้ลือให้พระเจ้าแผ่นดินตกใจ ผู้ที่ลือนั้นคือจมื่นสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นผู้ส่งข่าวนั้นเอง เข้ามาเป็นใส้ศึก พอหลอกให้ตกใจให้ไปรับสั่งให้หาก็เลยพาลเป็นกบถ หาว่าพระเจ้าแผ่นดินเตรียมให้คนขึ้นป้อมวัง ความนี้ก้ไม่จริง ปรากฎเมื่อยกมาแต่เวลาบ่ายสามโมง อยู่าจนสองทุ่มเข้าไปฟันประตู ไม่มีใครรู้ทัน ไม่ได้ต่อสู้กันเลย คำอธิษฐานที่อ้างเอาความปรารถนาโพธิญาณเป็นสัจจาธิษฐาน นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเย่อหยิ่งมาก"

    พระยาโบราณราชธานินทร์ แก้ต่าง...
    "ตามที่ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าปราสาททองแกล้งทำการสพให้คึกคัก แต่งคนให้ลือให้พระเจ้าแผ่นดินตกพระทัย พอให้รับสั่งให้ไปหาก็เลยพาลเป็นถบถนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่าในเวลานั้น พระเจ้าปราสาททองเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เป็นยประธานในราชการแผ่นดิน จะทำการงานใดก็คงมีผู้ไปช่วยเพือ่การประจบ และพระเชษฐาในเวลานั้นก็คงจะง่อนแง่นเต็มทีอยู่แล้ว
    ถึงในข้อที่ว่า ตระเตรียมคนให้ขึ้นป้อมวังนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า น่าจะรับสั่งให้ตระเตรียมจริง เพราะทรงตกพระทัยและหวาดอยู่แล้ว แต่เห็นด้วยเกล้าฯว่าคงจะไม่ได้คนมาขึ้นป้อมล้อมวังตามรับสั่ง ด้วยข้าราชการคงจะไปฝักใฝ่กับพระเจาปราสาททองเสียหมด จึงไม่ได้ต่อสู้กัน
    คำอธิษฐานซึ่งอ้างเอาความปราถนาโพธิญาณซึ่งทรงพระราชฃดำริเห็นว่าเป็นการ เย่อหยิ่งนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่า คงจะทรงตามๆกันไป เช่นพระเจ้าทรงธรรมเองก็น่าจะได้กล่าวอย่างนี้เหมือนกัน"

    ร.5 ทรงวิพากษ์ต่อ
    "ตั้งพระอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จนกระทั่งถอดเสียเป็นการมารยาทั้งนั้น.."
    พระยาโบราณราชธานินทร์ แก้ต่างอีก..
    "ซึ่ง ทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่ตั้งพระยาอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินจนกระทั่งถอดเสียเป็นการมารยา นั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่าในเรื่องนี้จำเป็น พระเจ้าปราสาททองจะต้องทำเช่นนั้น ด้วยพระอาทิตยวงศ์ยังมีอยู่ ถ้าจะเอาราชสมบัติทีเดียวคนทั้งปวงก็จะเห็นว่าเป็นขบถ ฆ่าพระเชษฐาเพื่อจะเอาราชสมบัติ"
    (ความทั้งหมด อยู่ในบันทึกพระยาโบราณราชธานินทร์ ( พร เดชะคุปต์ ) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 125)

    [​IMG]
    พระนารายณ์มหาราช ฝีมือช่างวาดชาวฝรั่งเศส
    ความจริง..พระปิยะมหาราช ยังทรงวิพากษ์อีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องมีพระราชบุตรออกมาเห็นเป็น 4 กร เรื่องฟ้าผ่าไม่ถูกพระองค์พระนารายณ์และช้าง เรื่องลบศักราช เรื่องเอากับข้าวรดศีรษะทูตพม่า เรื่องโหรถวายฎีกาว่าไฟจะไหม้วังจึงขนของหนีออกไปอยู่วัด
    แต่เนื่องจากจะยืดเยื้อ...จึงสรุปเท่านี้ครับ..



    .

    รัชกาลที่ 5 ทรงวิจารณ์พระเจ้าปราสาททอง


    .
     
  14. joolong

    joolong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +283
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2012
  15. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    [​IMG]

    นี่แหละครับ คนไท ประเทศไท ใครดี ใครเด่้น เป็นต้องตาย แม้บวชเป็นพระก็ยังไม่ละเว้น จิกหัวมาฆ่า เป็นว่าเล่น ความดีใส่้ตัว ความชั่วใส่้ผู้อื่น เวรกรรมไม่รู้จักจบ จักสิ้น เพราะผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม อาฆาต พยาบาท จองเวร ชาติแล้ว ชาติเล่า เข้าทำนองที่ว่า ทีมึงกูไม่ว่า ทีข้ามึงอย่าโวย ใครหนอ จะมาแก้ปม เวรกรรม ความอาฆาตพยาบาท หรือว่า เป็นเวรกรรมของ คนไท ประเทศไท ลองไปอ่า่นประวัติศาสตร์ ชาติไท ดูเอาเอง มีแต่แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น คนดีไม่ได้ดี คนชั่วเริงร่า หน้าใส ขึ้นมาเป็นใหญ่ เป็นโต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2012
  16. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    แวะมาดูเพราะว่าเกี่ยวข้องกับองค์ดำองค์ขาว การเมืองทุกประเทศก็เป็นเช่นนี้แหละ อดีต ปัจจุบัน อนาคต คนก็ยังคงมีกิเลสอยู่ดีแล้วแต่วาสนา แต่สุดท้ายความสุขที่แท้จริงคืออะไร ศาสนาพุทธก็บอกไว้แล้ว ผู้นำหรือพระมหากษัตริย์สมัยก่อนต้องมีพระปรีชาสามารถมากถึงจะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้ทั้งจากภายนอกและภายใน กลุ่มอยุธยาเดิมก็ไม่ชอบราชวงศ์สุโขทัยสักเท่าไร เพราะว่าเรามาจากพิษณุโลก(หัวเมือง) ข้าราชการกลุ่มเดิมยังมีบทบาทอยู่มาก ตอนแรกไม่ชอบพระนเรศวรด้วยเหตุผลที่หลากหลาย ผู้สนใจไปค้นกันเอาเถอะนะ พระองค์ปกครองด้วยความเฉียบขาดใช้ระบบทหารนำ แต่ว่ามันจำเป็นมากในสมัยนั้น เลือกเอาจะยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าหรือจะยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง ตอนจบของขุนศึกก็ดัดแปลงจากบทประพันธ์เดิมคงกลัวคนไทยสะเทือนอารมณ์ ขอบอกว่าข้าแผ่นดินที่กินน้ำสาบานแล้วก็สำนึกบุญคุณพระองค์ขาวนั้นคงไม่ยอมลาออกจากราชการตอนที่เขาปั่นป่วนกันอยู่หรอก อย่างอื่นเราไม่รู้หรอกนะ แต่เทิดทูนพระองค์ท่าน 3 พี่น้องที่รักกันมากช่วยเหลือกันดี เสียสละให้แก่กัน
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...