จรณะ ๑๕ สีลสัมปทา

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย bb.boy, 4 มิถุนายน 2008.

  1. bb.boy

    bb.boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +381
    [​IMG]


    บรรดาท่านภิกษุสามเณร และญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
    การเวลาที่จะเจริญพระกรรมฐาน ก็คงจะเหลืออีกประมาณ ๓๐ นาที
    แต่ทว่าก่อนหน้าที่จะเจริญพระกรรมฐาน ก็จะขอแนะนำบรรดาพุทธบริษัท บรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลาย เพื่อจะได้ทราบถึงจริยวัตร ที่เราจะต้องพึงประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ

    ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เรียกว่าความประพฤติ
    หรือว่าตามพระบาลีท่านเรียก ว่าจรณะ

    คำว่าจรณะแปลว่า ความประพฤติ มี ๑๕ อย่างด้วยกัน
    สำหรับจรณะนี้ สำหรับท่านที่ปฏิบัติเพื่อความดี
    หรือว่าภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ตลอดจนกระทั่งอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ที่ประกาศตนว่ามีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แล้วหวังปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทุกท่านมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องทรงจรณะ ๑๕ ไว้เป็นเบื้องต้น

    คำว่าจรณะแปลว่า ความประพฤติ
    ความประพฤติ ๑๕ อย่างนี้ถือว่าเป็นเบื้องต้นเท่านั้น
    ยังไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงมรรคถึงผล เป็นแต่เพียงว่าถ้าท่านทั้งหลายปฏิบัติได้
    ท่านก็เรียกกันว่า

    กัลยาณชน คือเป็นคนดีตามคติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ยังไม่เรียกว่าอริยชน ทั้งนี้ก็เพราะว่าถือว่าเป็นภาคพื้นเบื้องต้น ฉะนั้นบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็ดี บรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลายก็ดี มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องจำไว้เป็นเครื่องประพฤติปฏิบัติ ถ้าหากว่าท่านผู้ใดบกพร่องในจริยะ
    ในจรณะคือความประพฤติ ๑๕ อย่างนี้ อย่างใด อย่างหนึ่ง
    ก็แสดงว่าท่านทั้งหลายไม่ได้มีใจเข้าถึง
    หรือมีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง
    แล้วก็ไม่ได้มีหวังในความประพฤติดีประพฤติชอบจริง
    ถ้าจะบวชเข้ามาก็ถือว่าสัจแต่ว่าบวช
    ไม่ได้ถือว่าเป็นการอยู่ในหมู่คณะเราก็ถือว่าเป็นกาฝากเท่านั้น
    ไม่ใช่เนื้อแท้ของต้น หมายความว่าไม่ใช่เนื้อแท้ในฐานะ ที่สาวกขององค์สมเด็จพระทศพล ฉะนั้นขอบรรดาท่านทั้งหลายเมื่อฟังแล้วก็จดจำไว้เป็นอันดีแล้วประพฤติปฏิบัติตาม
    การประพฤติปฏิบัติตามก็หมายถึงว่า ให้จำให้ได้แล้วก็ประพฤติปฏิบัติตามนั้น
    ควบคุมกำลังใจให้อยู่ในขีดของความประพฤติ ๑๕ อย่าง ตามที่ได้กล่าวไปแล้วนี้
    แล้วก็จงเข้าใจไว้ด้วยว่า ถ้าเราประพฤติตามได้ตามแบบฉบับ ๑๕ ประการนี้
    องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงตรัสว่า...ถ้าท่านเป็นพระก็ยังไม่เรียกว่าพระ ยังเรียกว่าสมมุติสงฆ์
    เป็นอันว่าเรายังไม่ใช่พระแท้กัน

    นี้สำหรับจรณะ ๑๕ นี้จะได้เป็นเครื่องวัดใจของท่าน
    ว่าท่านเองสมควรเป็นปูชนียบุคคลเบื้องต้นหรือไม่
    ทว่าถ้าปฏิบัติได้ตามแบบฉบับคือในจรณะ ได้แก่ความประพฤติทั้ง ๑๕ อย่างนี้
    ถือว่าเป็นกัลยาณชน ก็สมควรว่าจะเป็นปูชนียบุคคลเบื้องต้นได้
    แต่ยังไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้า

    รวมความว่าถ้าเราปฏิบัติได้ทั้ง ๑๕ อย่างนี้ครบถ้วน
    ก็ถือว่าบางทีถ้าเราเผลอ ก็ยังลงนรกได้
    ถ้าเราไม่เผลอเราก็ยังสามารถไปสวรรค์ไปพรหมโลกได้
    แต่ว่ายังไม่เข้าเขตจุดอันดับเริ่มต้นคือพระโสดาบัน
    จึงเป็นแค่จุดเริ่มต้นนี้ก็ขอทุกท่านต้องโปรดจำและเข้าใจปฏิบัติให้ได้ด้วย
    ถ้าหากว่าปฏิบัติไม่ได้ ก็ขอได้โปรดทราบว่าท่านเองที่เกิดมาแล้วนี้รู้สึกว่าจะขาดทุน
    สำหรับจรณะ๑๕ นี้ท่านแบ่งเป็น ๓ หมวดด้วยกัน

    สำหรับหมวดต้น มีอยู่ ๔ ข้อ คือ ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    ๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล <O:p></O:p>
    ๒. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์<O:p></O:p>
    ๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการบริโภคอาหาร<O:p></O:p>
    ๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่
    นี่เป็นหมวดที่ ๑ ๔ ข้อ

    สำหรับหมวดที่ ๒ ท่านเรียกว่า สัจธรรม มี ๗ ข้อ คือ ข้อ <O:p></O:p>
    ๕. ศรัทธา ความเชื่อ<O:p></O:p>
    ๖. หิริ ความละอายแก่ใจ<O:p></O:p>
    ๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความผิด<O:p></O:p>
    ๘. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก คือศึกษามามาก จำได้มาก<O:p></O:p>
    ๙. วิริยะ มีความเพียร<O:p></O:p>
    ๑๐. สติ ระลึกได้<O:p></O:p>
    ๑๑. ปัญญา ความรอบรู้
    สำหรับที่กล่าวมานี้เป็นหมวดที่สอง
    สำหรับหมวดที่สาม ท่านกล่าวว่า สำหรับหมวดที่สามนี้มี ๔ ข้อด้วยกัน
    ได้แก่ฌาน ได้แก่พวกรูปฌาน คือ<O:p></O:p>
    ๑๒. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑<O:p></O:p>
    ๑๓. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒<O:p></O:p>
    ๑๔. ตติยฌาน ฌานที่ ๓<O:p></O:p>
    ๑๕. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔<O:p></O:p>
    นี่เป็นอันว่าสำหรับจรณะ ๑๕
    นี่ถ้าเราพิจารณาแล้วทั้ง ๑๕ ข้อ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ได้สอนถึง ความเป็นพระโสดาบันคือเข้าขั้นพระอริยเจ้า เป็นกิจเบื้องต้นที่พวกเราจะต้องพึงปฏิบัติ
    คำว่าปฏิบัติในที่นี้ก็หมายถึงความว่า

    ระมัดระวังไม่ให้ใจของเราได้เข้าไปเกลือกกลั้วกับสิ่งที่เป็นอกุศล
    ที่จะเป็นผลเป็นปัจจัยเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ได้แก่อบายภูมิเป็นต้น
    ต่อแต่นี้ไปก็จะขออธิบายเป็นข้อๆ

    ในหมวดที่ ๑ ข้อที่ ๑ ท่านกล่าวว่าสีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
    คำว่าศีล บรรดาพระทั้งหลายก็ได้แก่พระวินัย
    ที่มาในพระปาฏิโมกข์และก็มาทั้งนอกปาฏิโมกข์
    ที่เราเรียกกันว่า อาทิพรหมจริยกาสิกขา
    สำหรับสมเณร ก็ต้องปฏิบัติในศีล ๑๐ ในครบถ้วน และก็มีเสขิยวัตร อีก ๗๕
    รวมเป็น ๘๕ สิกขาบท
    สำหรับอุบาสก อุบาสิกา อันดับต่ำสุดที่จะต้องมี ศีล ๕ บริสุทธิ์
    นี่เป็นเรื่องสำคัญที่พวกเราจะต้องปฏิบัติกัน

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่าศีลสำหรับพระ
    บรรดาพระทั้งหลายที่ศึกษากันมามักจะมีความเข้าใจว่าอาบัติ
    หรือว่าศีลที่เรารักษา เรามีทางแก้ตัวได้ เว้นไว้แต่ อาบัติปาราชิก
    ถ้าอาบัติปาราชิกต้องเข้าแล้ว ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ
    สำหรับสังฆาทิเสส มักต้องเข้าแล้วต้องอยู่กรรม จึงจะพ้น
    แล้วก็อาบัตินอกนั้นถือว่าเป็นอาบัติประเภทเบา
    เมื่อต้องเข้าแล้วเราเทสนาอาบัติหรือปลงอาบัติก็หาย

    ความจริงหากว่าท่านทั้งหลายมีความรู้สึกอย่างนี้
    ผมก็รู้สึกว่าจะสงสารองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า สิกขาบททุกสิกขาบท ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำสั่งสอนให้เราละเว้น

    <O:p></O:p>
    คำว่าศีลนี้เป็นคำสั่ง
    สำหรับธรรมะอันเป็นเครื่องปฏิบัติท่านเรียกว่าคำสอน

    คำสั่งที่หมายถึงว่าสั่งให้เราละ
    ไม่ประพฤติตามนั้น ไม่ละเมิด สิ่งใดที่ทรงห้ามเราจะไม่ละเมิดทุกอย่าง
    ทั้งนี้ถ้าละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่ง ตามที่ท่านสอนกันมา
    บอกว่าแสดงอาบัติตก สำหรับพระต้องระมัดระวังให้มากเพราะว่าพระก็ดี เณรก็ดีนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ถือว่าเป็นปูชนียบุคคล
    เป็นคนที่ชาวบ้านกราบไหว้บูชา
    ก่อนที่เราจะมาบวช บิดามารดาเป็นคนที่เราจะต้องไหว้ท่าน
    ญาติผู้ใหญ่มีปู่ย่า ตายายเป็นต้นเราต้องไหว้ท่าน
    นี้การอุปสมบทบรรพชาท่านถือว่าเป็นสามัญญผล คือเมื่อบวชเข้ามาแล้ว
    คนที่มีฐานะต่ำมาก่อน หรือมีศักดิ์ศรีต่ำ หรือมีตระกูลต่ำก็ตาม
    เมื่อบวชเข้ามาแล้วย่อมมีสภาวะเสมอกัน จัดว่าเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส
    คนที่เราเคยไหว้ท่าน ท่านก็กลับไว้เรา
    นี้เวลาที่ใครเขาจะเอาของมาให้ แทนที่เราจะไหว้ผู้ให้ ผู้ให้ก็ไหว้เรา
    จุดนี้แหละบรรดาท่านเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย ที่จะทำให้เราลงนรกง่าย

    ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะว่าถ้าเราทำตัวไม่สมควรแก่ การเคารพสักการะของปวงชน
    นั่นก็แสดงว่าเราอกตัญญูต่อองค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ตามพระบาลีท่านเรียกว่า
    สาเถยยะ หมายถึง หัวขโมย คือขโมยเอาเพศของพระอรหันต์มาใช้
    หลอกลวงชาวบ้านให้ชาวบ้านเขาสักการะ เขาไหว้ เขาบูชา นำของมาให้ คิดว่าเราเป็นคนดี


    เป็นอันว่า สิกขาบทแต่ละสิกขาบท อย่างเช่น เสขิยวัตร ที่ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ
    บางทีเราจะคิดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ละเมิดแล้วไม่มีโทษ
    ตามความจริง คำว่าอาบัติ แปลว่า การต้อง
    มันชนกับความชั่วเข้า ถ้าเราไปชนกับความชั่วเข้า
    เราจะเป็นคนดีหรือว่าเราจะเป็นคนเลว
    เมื่อเราชนกับความชั่ว ความชั่วมันอยู่ที่ใจเรา
    เมื่อใจมันเลว วาจามันก็เลว กายมันก็เลว เมื่อความเลวเข้ามาถึงเรา
    เราจะเป็นคนดีหรือจะเป็นคนเลว จะเป็นบุคคลที่ควรแก่การสักการะบูชา แก่ของบรรดาปวงชนทั้งหลายมั้ย
    ทุกคนก็อาจจะตอบได้ว่าเรา ไม่สมควรที่จะสักการะบูชาของบุคคลทั้งหลาย
    ฉะนั้น ในเมื่อเราไปรับสักการบูชาของปวงชนทั้งหลายเข้า เป็นยังไง
    นั่นก็หมายความว่าเรา จะต้องไปนรกกันแน่
    ฉะนั้นสิกขาบททุกสิกขาบท ที่กล่าวว่า เทสนาอาบัติหายนั้นไม่เป็นความจริง
    อาบัติที่เราต้องแล้ว เหมือนกับเราถูกปักเป้ากัดเนื้อ มันแหว่งออกไป

    การเทสนาอาบัติ ก็เป็นการแสดงตัวว่าอาการอย่างนั้นเรา จะไม่ทำอีก
    เราจะไม่พูดอีก เราจะไม่คิดอีก


    คือเราจะไม่คิดที่จะทำอย่างนั้น เราจะไม่พูดแบบนั้น
    เราจะไม่ทำ ทำแบบนั้น เป็นอันว่าส่วนที่เสียมันก็เสียไปแล้ว
    นี่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเทสนาอาบัติในสมัยปัจจุบัน
    ยิ่งมีความเลวทรามมาก ไม่รู้ว่าแสดงอาบัติกันเพื่ออะไร
    การเทสนาอาบัติหรือการแสดงอาบัติ ก็เป็นการสารภาพบาป
    ตามแบบฉบับที่คริสต์เขาทำกัน แต่ว่าเราทำกันมาก่อน

    การสารภาพบาปในที่นี้ก็หมายความว่าเรา ไปทำความชั่วอะไรมา
    ถ้าเราอยู่มากด้วยกันเป็นคณะสงฆ์ ก็ต้องประชุมกันเป็นคณะสงฆ์
    แล้วประกาศความชั่วร้าย ความผิดที่เรากระทำไว้ ว่าเวลานี้เราไปทำผิดอะไรเข้า
    แม้กิจอย่างนั้น ในตอนพระได้กล่าวว่า
    นะ ปุเรวัง กะริสสามิ กระผมจะไม่ทำอย่างนี้อีก
    นะ ปุเรวัง ภาสิสสามิ กระผมจะไม่พูดอย่างนี้อีก
    นะ ปุเรวัง จินตยิสสามิ กระผมจะไม่คิดอย่างนี้อีก
    <O:p></O:p>
    นี่เพ่งถึงการแสดงเทศนาอาบัติ ก็จะทราบได้ว่า
    ความชั่วเป็นความชั่วอยู่แล้ว แต่ว่า เราจะไม่ทำความชั่วอย่างนั้นต่อไป
    จะสร้างความดีเพื่อเป็นการทดแทนหรือชำระหนี้ ความชั่ว
    หมายความว่า ชั่วน่ะมันชั่วแล้ว แต่เราจะทำความดียิ่งๆขึ้นไป
    เราจะไม่ทำความชั่วอย่างนั้นต่อไป นี่เป็นอันคำว่าสีลสัมปทา
    ถ้าเราละเมิดมันก็มีแต่ความเดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระ
    ถ้าละเมิดสิกขาบท ใน ๔ สิกขาบทต้น เป็นอาบัติปาราชิก อันนี้โทษหนักมาก
    ทำสังฆกรรมต่างๆให้เสียหมด ตัวเองอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นพระ
    ไปกินกับพระ ไปนอนกับพระ ไปนั่งร่วมกับพระ นั่งอาสนะเดียวเสมอกับพระ
    อย่างนี้บาปกินตลอดทุกเวลา ตายแล้วก็มีหวัง อเวจีมหานรก
    สำหรับสมเณร ถ้าละเมิด ศีลก็ดี ปรามาส คือว่า ดูถูกดูหมิ่น
    แสดงความไม่เคารพในพระรัตนตรัยก็ดี ก็เป็นอันว่าขาดจากสภาวะของสามเณร
    ถ้ายังทรงเพศที่เป็นสามเณรอยู่ ก็จะพบกับความทุกข์อย่างหนัก
    เวลาที่เรามีสภาพทรงสภาพอยู่อย่างนี้ ก็จะหาคนเคารพนับถือไม่ได้
    แล้วต่อก็มีแต่การถูกกล่าวนินทาว่าร้าย เสียดสีต่างๆ
    มีแต่คนลงโทษไม่ปรารถนาจะคบหาสมาคม ชาติปัจจุบันก็มีความทุกข์
    ในสัมปรายภพ ก็มีความทุกข์มากขึ้น
    ในเรื่องสำหรับโทษในการละเมิดพระวินัยนี่ บรรดาท่านทั้งหลายจะทราบชัด ในเรื่องที่จะกล่าวถึงไตรภูมิ
    ไตรภูมิ ถ้ามีโอกาสจะนำมาบรรยายให้ท่านได้ฟังโดยละเอียด
    จะได้ทราบถึงโทษและคุณที่ได้สร้างความชั่วและสร้างความดี
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สีลสัมปทา การถึงพร้อมด้วยศีล

    บางทีบรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลายอาจจะคิด
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาพุทธบริษัทที่เป็นชาวบ้าน
    ง่ายอยู่เพราะว่าสิกขาบทน้อย
    นี่สำหรับภิกษุสามเณร คิดว่าสิกขาบทมากทำอย่างไร จะทรงศีลให้บริสุทธิ์ได้
    ถ้าเราจะทรงศีลให้บริสุทธิ์จริงๆ สำหรับภิกษุสามเณร เราก็ต้องเป็นผู้มีสติสมบูรณ์
    แล้วต้องมีสัมปชัญญะอยู่ด้วย จำพระบาลีไว้ส่วนหนึ่งว่า

    อัตตะนา โจทะยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง

    ก็หมายความว่า สิกขาบท ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้าม มีอะไรบ้าง
    เราทำหมดทุกอย่าง คำว่าทำ หมายความว่าละเว้นทุกอย่าง
    ท่องให้ได้จำให้ได้ คิดไว้เสมอ ไม่ลืมตัว ถ้ามีสติสัมปชัญญะ สมบูรณ์อย่างนี้
    ความจริงคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ หรือพระที่ไม่ใช่พระอรหันต์
    จะถือว่าเป็นผู้ที่มีสติสมบูรณ์จริงๆไม่ได้ แต่ต้องอาศัยความระมัดระวัง
    มีความพากเพียร ไว้เสมอ ว่าสิกขาบทใดบ้างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงสั่งสอน เรียกว่าสั่ง ห้ามไม่ให้กระทำตามนั้น เราไม่ทำ ถ้าเกรงจะลืมไป
    ก็ถือ นวโกวาท ไว้สักเล่มหนึ่ง นี้การศึกษาในศีล
    ตามที่ศึกษากันมาโดยมากมักจะหาทางหนีกันมากกว่าหาทางสู้
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาครูบาอาจารย์มักจะคอย บอกว่า
    อาบัติสิกขาบทนี้เป็น อาบัติสิกขาบทเบา
    หลีกเลี่ยงแบบนี้ได้ หลีกเลี่ยงแบบนั้นได้ แต่เรื่องนี้ผมเห็นว่าไม่เป็นการสมควร
    ถ้าเรายังต้องการการหลีกเลี่ยง จากสิกขาบทต่าง ๆ
    เราก็ไม่ควรจะมาบวชเป็นพระเป็นเณร
    เพราะว่าเราไม่สามารถจะทรงตนอยู่ในฐานะปูชนียบุคคลได้
    เป็นอันว่าเราเลวเกินไปกว่าที่จะทรงผ้ากาสาวพัตร์

    ฉะนั้นขอบรรดาท่านเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย คำว่าสีลสัมปทา
    เป็นจุดต้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเรามีศีลไม่บริสุทธิ์ที่อย่างเดียว
    ก็ชื่อว่าการบวชเข้ามาคราวนี้ เราไม่มีความดีอะไรเลย
    หากว่าท่านจะถามว่า เราเจริญสมาธิหรือวิปัสสนาญาณ มีดีอยู่แล้ว
    ทำไมจะไม่คุ้มครองบ้างหรือ ก็ต้องขอบอกว่าศีลเป็นธรรมะหยาบ
    ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน

    ของหยาบหยิบง่าย ถือง่าย
    เรายังหยิบไม่ได้ ถือไม่ได้ ยังรักษาไม่ได้
    และก็การเจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา จะได้กล่าวว่ามีผล
    มันจะมีผลตรงไหน รวมความแล้วไม่มีอะไรเป็นผล
    เพราะอะไรเพราะว่าของหยาบรักษาไม่ได้
    สมาธิเป็นของละเอียด ปัญญาวิปัสสนาญาณเป็นของละเอียด จะมาได้อย่างไรกัน

    ฉะนั้นจึงขอบรรดาท่านเพื่อนภิกษุสามเณรทุกท่าน จงระมัดระวังให้มาก
    ใช้สติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ ถือตำราคือพระวินัยไว้ เป็นปกติ

    อย่าทะนงตนว่าเป็นคนรู้แล้ว
    อย่าทะนงตนว่าเป็นคนบวชนาน

    บวชนานแล้วบวชดีมีประโยชน์
    ถ้าบวชแล้วเลว เลวมันก็ไร้ประโยชน์มาก

    นั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ศีลห้าประการของท่าน
    ที่จะสมบูรณ์แบบได้ก็เพราะอาศัย พรหมวิหาร ๔
    คือจิตมีความเมตาปราณี เป็นปกติ ไม่คิดประทุษร้ายบุคคลอื่น
    ข้อที่สอง มีความสงสารปรารถนาในการเกื้อกูลบุคคลอื่นและสัตว์อื่น ให้มีความสุข
    ข้อที่สาม จิตไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยา บุคคลอื่น
    สี่ วางเฉยเมื่อกฎของกรรมเข้ามาถึงตน

    สำหรับพรหมวิหาร ๔ นี่ภิกษุสามเณร มีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องปฏิบัติประจำใจ ถ้าท่านทั้งหลาย ขาดพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล้ว
    ก็เป็นอันว่า ท่านหาความดีอะไรมิได้
    ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะว่า ความชั่วมันจะหลั่งไหลเข้ามาสู่ใจ
    เป็นปัจจัยของท่านให้เกิดความทุกข์ ความทุกข์ก็จะมีในปัจจุบันและสัมปรายภพ
    ท่านที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมมีความเดือดร้อนอยู่เสมอ
    จะหาความสุขกายสุขใจอะไรไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะอะไร
    เพราะภาคพื้นแห่งความดี ประเภทหยาบท่านไม่สามารถจะรักษาได้
    ก็เป็นเมื่อเรารักษาความดี ไม่ได้ความชั่วมันก็เข้ามาถึงใจ

    ใจชั่วมันก็สั่งให้กายทำชั่ว สั่งให้วาจาทำชั่ว
    เมื่อความชั่วอยู่ที่ไหน ความทุกข์มันก็อยู่ที่นั่น

    เอาล่ะสำหรับวันนี้ การแนะนำในด้าน จริยะ
    จรณะคือความประพฤติที่มีความสำคัญ
    ที่เราท่านทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน เพราะเห็นว่าสมควรแก่เวลา
    ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้

    ต่อแต่นี้ไป ขอบรรดาท่านทั้งหลาย
    ตั้งใจศึกษาถ้อยคำที่จะพึงประพฤติปฏิบัติ
    ในศาสนาขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์
    ในจริยธรรมที่ว่าด้วยพระโสดาบัน แต่ว่าในขณะที่ท่านจะฟังอยู่นี้นั้น
    ท่านจะอยู่ในสภาวะอย่างไรก็ได้
    นั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ก็ได้
    เป็นแต่เพียงให้รักษากำลังใจให้เป็นปกติ ให้เป็นไปตามคำแนะนำที่ได้แนะนำไว้เท่านั้น และต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลาย โปรดตั้งใจสดับ .........<O:p></O:p>


    ที่มา : ถอดเทปจรณะ 15 พระธรรมคำสอนหลวงพ่อฤาษี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มิถุนายน 2008
  2. bb.boy

    bb.boy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +381
    ๐๒.จรณะ ๑๕ - สีลสัมปทา (ต่อ)ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย และ บรรดาท่านภิกษุสามเณรทั้งหลาย
    เวลานี้ใกล้จะถึงเวลาเจริญพระกรรมฐาน ก่อนหน้าที่จะอธิบาย
    วิธีการเจริญพระกรรมฐาน ก็จะขอนำเอาจรณะ ๑๕ มาพูดกับท่านพุทธบริษัทก่อน ว่าจรณะนี่แปลว่าความประพฤติ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
    ที่ประกาศตนว่ามีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะต้องปฏิบัติเสมอกัน เพราะว่าการจะอยู่ที่ใดก็ตาม ถ้ามีความประพฤติไม่เสมอกัน ก็ต้องถือว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน หรือว่าหากว่าจะเป็นพวกเดียวกัน ก็เป็นพวกที่แตกแยกออกไปเป็นสองฝ่าย หรือว่า ฝ่ายธรรมวาที กับฝ่าย อธรรมวาที คำว่า ธรรมวาที ก็หมายถึงว่า พูดโดยธรรม คือพูดตามธรรม
    อธรรมวาที เขาเรียกว่ากล่าวผิดธรรม

    ทีนี้สำหรับจรณะ ๑๕ ที่ จะพูดในวันนี้ ก็จะขอย้ำถึง ถึงซึ่งทุศีลตามปกติ เพราะว่าเรื่องของศีลยังไม่จบ ที่เราเคยฟังกันมาแล้วในกาลก่อน เรื่องของศีลเราว่ากันเดี๋ยวเดียวก็จบ แต่สำหรับในกาลนี้ จะเห็นจะยอมจบเร็วๆ ไม่ได้ เพราะว่า
    สีลสัมปทา ซึ่ง ได้แปลว่า ผู้ถึงพร้อมไปด้วยศีล เมื่อคืนที่แล้วมาก็ได้พูดถึงอาการของการเข้าถึงความเป็นผู้พร้อมไปด้วยศีล วันนี้จะพูดถึงอานิสงส์ของศีล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะพูดศีลเล็กคือ ศีล ๕ เพราะอานิสงส์ของศีลเล็กมี ศีลใหญ่ก็มี ศีลกลางก็ต้องมี เหมือนกัน ศีลใหญ่ก็ได้แก่ศีล ๒๒๗ ศีลกลางก็เรียกได้ว่าศีล ๑๐ ที่จะพูดถึงอานิสงส์ของศีลก็เพราะว่า เวลานี้ได้ยินข่าวอยู่เสมอ ว่ามีคนชอบพูดกันว่าพระพุทธศาสนา ไม่ได้ช่วยอะไรแก่โลกเลย เป็นอันว่าโลก ที่มีพระพุทธศาสนาอยู่ นี่ไร้ประโยชน์ นี่เป็นวาจาที่เคยได้ยินมาจากหลายกระแส ถ้าเราจะกล่าวกันตามความเป็นจริงแล้ว พระพุทธศาสนาเต็มใจช่วยโลกอยู่ตลอดเวลา แล้วก็ช่วยอยู่ด้วยการไม่หยุดยั้ง แต่ทว่าบุคคล ผู้รับความช่วยเหลือจากพระพุทธศาสนา หายาก อย่างนั้นในเรื่อง การที่พระพุทธศาสนาช่วยโลก ความจริงช่วยมาก เอาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ช่วยโลกมีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ วันนี้จะมาพูดเพียงธรรมขันธ์เดียว คือ
    สีลขันธ์ เฉพาะศีลข้อเดียวชาวโลก ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาตาม ก็จะพึงทราบว่า
    พระพุทธศานา ช่วยโลกอยู่ตลอดเวลา เว้นไว้แต่ชาวโลกเท่านั้นที่ไม่ยอมรับความช่วยเหลือของพระพุทธศาสนา ที่มากล่าวธรรมดาพวกท่านทั้งหลาย ก็เพื่อเป็นความรู้ที่ ท่านทั้งหลายจะได้นำไป ชี้แจงแก่บรรดาบุคคลทั้งหลายที่ยังไม่เข้าใจ ในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า ศีล ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าช่วยโลก

    วิธีการช่วยโลก ช่วยให้ชาวโลกมีความสุข
    ช่วยให้ชาวโลกมีความมั่งคั่งสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สิน
    ช่วยให้ชาวโลกมีความปราศจากภัยอันตรายใหญ่
    มีโรคภัยไข้เจ็บ มีประสาทฟั่นเฟือน เป็นต้น

    ความจริงเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ นี่ถ้าจะกล่าวกันไปเขาย่อมมีแก่ทั้งชาวโลกและชาวธรรม แต่ทว่าทางพระพุทธศาสนาก็ช่วยไว้มาก บรรเทาโลกภัยไข้เจ็บได้มาก ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลห้าประการ ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ที่กล่าวว่าเป็นปกติของ ศีล อานิสงส์แห่งการประพฤติปฏิบัติศีล ไม่ใช่ว่าเราจะไปนั่งหวังเอาการชาติหน้าเสมอไป ความจริงผลแห่งคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์มุ่งหวังผลปัจจุบันเป็นสำคัญ ไม่ใช่ให้มุ่งหวังผลชาติหน้า คือต้องการให้มีผลในปัจจุบันในขณะที่ปฏิบัติ ฉะนั้นบรรดาท่านพุทธบริษัทที่รับฟัง โปรดพิจารณาตามนี้ เพราะจะเห็นว่าองค์สมเด็จพระชินสีห์ที่สอน ธรรมะแก่ท่านพุทธบริษัทช่วยโลกหรือไม่ช่วย

    คำว่าศีลแปลว่า ปกติ นี่ก็หมายความว่าปกติของคนและสัตว์
    พอใจอยู่ในศีล ๕ ประการ คำว่าพอใจก็หมายความว่า ต้องการให้บุคคลอื่นมีศีลสำหรับตน แต่ว่าเป็นที่น่าเสียดาย ที่ตนเองมักจะไม่ต้องการมีศีลสำหรับคนอื่น ข้อนี้เราจะเห็นได้ชัด

    เพราะในข้อที่ ๑ องค์สมเด็จผู้ทรงสวัสดิ์ ทรงแนะว่าท่านทั้งหลาย
    จงอย่าพากันทำลายชีวิตซึ่งกันและกัน
    อย่าประทุษร้ายซึ่งกันและกัน ในข้อนี้ขอทุกท่านจงมองในมุมกลับ
    การประทุษร้ายร่างกายเขา การทำลายชีวิตร่างกายเขา
    อันนี้ถ้าเราเป็นผู้กระทำบางทีเราจะเป็นที่ชอบใจของเรา เราจะพอใจ
    แต่ทว่าถ้าเขาจะมาทำร้ายเราบ้าง เราจะพอใจไหม
    ทว่าถ้าเขาจะฆ่าเราบ้างเราจะพอใจไหม
    นี่ทุกคนก็คงจะตอบกันได้ว่าไม่มีใครพอใจ

    ร่างกายเป็นที่รักของเรา เราไม่ต้องการให้ใครมาประทุษร้ายเรา
    ชีวิตเป็นที่รักของเรา เราไม่ต้องการให้ใครมาทำลายชีวิตของเรา
    ก็เป็นอันว่าเรากับเขามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน นี่ต่างคนต่างยอมรับนับถือสิทธิในชีวิตและร่างกายซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน และตามความแนะนำขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวว่าถ้าเราจะเว้นข้อนี้ได้
    จิตใจของเราก็ต้องประกอบด้วยคุณธรรม ๒ อย่าง คือ
    ๑.เมตตา ความรัก
    ๒.กรุณา ความสงสาร
    ทุกคนต่างมีความรัก ทุกคนต่างมีความสงสารซึ่งกันและกัน และก็ช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกันให้มีความสุข เพราะเห็นว่าบุคคลอื่นใดมีทุกข์เรา ก็พยายามเปลื้องทุกข์ของเขา ตามความสามารถที่เราจะช่วยได้ อย่างนี้ท่านทั้งหลายเห็นว่าพระพุทธศาสนาช่วยโลกแล้วหรือยัง
    โลกจะมีความสุขมั้ย ถ้าหากว่าชาวโลกทุกคน
    ยอมรับความช่วยเหลือของพระพุทธศาสนาในข้อนี้
    ต่างคนต่างมีความรักกันเสีย ต่างคนต่างมีความสงสารกัน
    ต่างคนต่างไม่ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน
    ต่างคนต่างไม่ประหัตถ์ประหารชีวิตซึ่งกันและกัน
    ท่านจะเห็นว่าโลกมีความสุขหรือว่า โลกมีความทุกข์

    ถ้าเราจะกล่าวกันโดยธรรม ก็จะเห็นว่าชาวโลกทั้งหมดจะมีความสุข
    เพราะต่างคนต่างเป็นมิตร ต่างคนต่างรัก
    ต่างคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะหาความทุกข์มากจากไหน
    นี่เป็นข้อที่ ๑ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตร ทรงแนะนำ ให้ชาวโลกมีความสุข
    แต่ว่าชาวโลกนั่นเองไม่ค่อยจะยอมรับนับถือคำแนะนำของ
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือว่าพระพุทธเจ้าช่วยแล้ว แต่คนที่ยอมรับความช่วยเหลือไม่มี
    นี้สำหรับในข้อที่ ๒ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า จงยอมรับนับถือสิทธิซึ่งกันและกันในทรัพย์สิน จงอย่ายื้อแย่งทรัพย์สิน จงอย่าคดโกงทรัพย์สิน ซึ่งกันและกัน ถ้าเป็นเช่นนั้น ทุกคนต่างยอมรับนับถือซึ่งกันและกันในสิทธิ ไม่ละเมิด ไม่ลัก ไม่ขโมย
    ไม่ยื้อ ไม่แย่ง ไม่คด ไม่โกง ซึ่งกันและกัน
    แล้วโลกนี้จะมีความสุข หรือว่า โลกนี้จะมีความทุกข์
    คำแนะนำและการช่วยเหลือในข้อที่ ๒ นี้ พระพุทธเจ้ามองพิจารณาเห็นแล้วว่าทรัพย์สินของแต่ละบุคคล ที่จะหามาได้โดยยาก แล้วก็ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่ง มาลัก มาขโมย มาคดโกง พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงแนะนำตามความประสงค์ของกันและกัน แต่ทว่าคนที่จะยอมรับนับถือ ยอมรับความช่วยเหลือของพระพุทธเจ้ามีน้อย โลกจึงเป็นทุกข์ ถ้าทุกคนต่างยอมรับนับถือในสิทธิ ทรัพย์สินซึ่งกันและกัน แล้ว โลกจะเอา ความทุกข์มาจากไหน เป็นอันว่าอันตรายในทรัพย์สินก็จะไม่มี เมื่อทุกคนหาทรัพย์สินมาได้แล้ว ทรัพย์สินไม่มีอันตรายจากการลัก จากการขโมย ซึ่งกันและกัน ทุกคนจะมีความสุขหรือว่าทุกคนจะมีความทุกข์ นี้ขอท่านพระยาโยคาวจรทั้งหลาย ช่วยกันพิจารณา เมื่อฟังจำได้แล้วก็ไปแนะนำชาวโลกที่เขามองไม่เห็นว่าพระพุทธศาสนาจะช่วยโลกได้ตอนไหน

    นี้ข้อที่ ๓ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงแนะนำว่า
    จงอย่ายื้อแย่งความรักซึ่งกันและกัน อย่าละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
    ในความรัก เราก็มานั่งนึกดูว่าคนที่เรารัก
    มีใครคนไหนบ้างที่จะต้องการให้คนที่เรารัก ถูกคนอื่นเขามายื้อแย่งหรือละเมิดสิทธิ ข้อนี้หาไม่ได้จริงๆ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ถ้าทุกคนในโลกยอมรับความช่วยเหลือขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในข้อนี้ โลกนี้จะมีความสุขหรือว่า โลกนี้จะมีความทุกข์ เอาใจของท่านเองเป็นเครื่องวัด

    ข้อที่ ๔ องค์สมเด็จพระมหามุนี ทรงแนะนำว่า
    ท่านทั้งหลายจงอย่าพูดวาจาที่ไม่เป็นความจริง
    อย่าใช้วาจาหยาบคายเป็นเครื่องเสียดแทงจิตใจของบุคคลอื่น
    อย่าใช้วาจายุยงส่งเสริมบุคคลอื่นให้แตกร้าวกัน
    และอย่าใช้วาจาที่หาประโยชน์มิได้
    รวมความว่า วาจาทั้ง ๔ ประการนี้ เราเองมีความปรารถนาอะไร เอาตัวเราเองเป็นเครื่องวัด ถ้าใครเขาพูดในถ้อยคำที่ไม่จริง ในขณะที่เราต้องการความจริง มีคนมาพูดคำหยาบคายเป็นเครื่องเสียดแทงใจ มีคนยุแยงตะแคงแซะให้แตกร้าวซึ่งกันและกัน แล้วก็มีคนใช้วาจาเหลวไหลไร้ประโยชน์มาพูดกับเรา เราจะพอใจวาจาเช่นนี้มั้ย

    อันนี้ถ้าคนอื่นไม่ตอบก็ต้องขอตอบเองก็ได้ ว่าไม่มีใครต้องการ
    คนที่ต้องการวาจาเช่นนี้มีอยู่บ้าง ก็เห็นจะเป็นคนบ้ากับคนเมาเท่านั้น
    คนที่มีสติดีจริงๆไม่มีใครเขาต้องการกัน
    ถ้าหากว่าทุกคนต่างคนไม่ใช้วาจาทั้ง ๔ ประการนี้
    โลกจะมีความสุขหรือว่าโลกจะมีความทุกข์

    ในข้อที่ ๕ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
    จงอย่าดื่มสุราและเมรัย เพราะว่ามันเป็นของมึนเมาเป็นฐานะที่ตั้งแห่งความประมาท ทำให้เป็นคนไร้สติสัมปะชัญญะ ไม่ทรงอารมณ์อยู่ในความดี
    ตามธรรมดาคนที่ดื่มสุราเมรัย ถ้ามีความเมา มันก็มีอาการไม่แตกต่างอะไรกับคนบ้า เวลาที่ไม่เมา จะทำอะไรก็มีความละอายแก่ใจ รู้สึกสำนึกตัวว่าตัวอยู่ในฐานะอะไร ถ้าดื่มสุราเมรัย เมาเข้าไปแล้วจริงๆ กลับกลายเป็นอีกคนๆ หนึ่ง
    ในที่ไม่ควรจะร้องรำทำเพลงก็ร้องรำทำเพลงได้
    ในที่ไม่ควรจะนอนก็นอนได้
    ในที่ไม่ควรจะนั่งก็นั่งได้
    วาจาที่ไม่น่าจะพูดไม่ควรจะพูดก็พูดได้
    สภาพของคนเมาก็ไม่ต่างอะไรกับสภาพของคนบ้า เพราะไร้สติสัมปะชัญญะ

    อาการเช่นนี้ยามปกติเรามีความต้องการหรือเปล่า
    เราเคยต้องการบ้างไหมที่จะให้ชาวโลกเขามาเรียกเราว่าคนบ้า
    นี่ถ้าคนที่มีสามัญสำนึกจริงๆ เขาก็ไม่ต้องการกัน และนอกจากนั้น
    คนที่ดื่มสุราเมรัยมีความเมาตามปกติ ก็มักจะเป็นคนมีโรคมาก ที่เขาบอกว่าเป็นโรคตับแข็งบ้าง ร่างกายทรุดโทรมบ้าง ประสาทเสื่อมบ้าง และก็เสียศักดิ์ศรี
    ความดีต้องถูกสลายตัวไป ถ้าคนทุกคนต่างพากันไม่ดื่มน้ำเมา ทรัพย์สินทั้งหลายที่เสียไปจากกันดื่มน้ำเมา จะเอาเงินจำนวนนั้นมาช่วยครอบครัวได้เป็นอย่างดี
    วันหนึ่งดื่มน้ำเมาราคาหนึ่งบาท ปีหนึ่งเราต้องเสียค่าน้ำเมาไปถึง ปีละ ๓๖๕ บาท แล้ววันหนึ่งเราเสียไป ๑๐ บาท ปีหนึ่งเราต้องเสียไป ๓,๖๕๐ บาท เป็นอันว่าเราสูญเสียไปเปล่าๆ เงินจำนวนนี้เราหามาได้ด้วยยาก
    นี้ถ้าหากว่าทุกคนยอมรับความช่วยเหลือขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ในข้อนี้ โลกจะเป็นสุขหรือจะเป็นทุกข์
    เรามองเห็นกันง่ายๆว่าโลกก็จะเต็มไปด้วยความสุข
    นี้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือของพระพุทธเจ้าที่ช่วยกับชาวโลก
    แต่ก็ยังมีอีกมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ข้อ
    การช่วยเหลือของพระพุทธเจ้านี้ละเอียดลออมาก ถ้าคนทุกคนปฏิบัติตามทั้งโลก โลกจะเต็มไปด้วยความสุข นอกจากว่าโลกจะเต็มไปด้วยความสุขแล้ว โลกก็จะเต็มไปด้วยความร่ำรวยอุ่นหนาฝาคลั่งไปด้วยทรัพย์สิน ทั้งนี้เพราะอะไร
    เพราะการฆ่ากัน การทำร้ายชีวิตซึ่งกันและกัน
    เพราะอาศัยมีจิตโหดร้ายไร้สติสัมปะชัญญะ ข้อนี้เป็นเหตุให้สูญเสียทรัพย์สินต้องมีศาล มีตุลาการ มีตำรวจ มีทหาร ต้องเสียทรัพย์สินเสียงบประมาณจาก การซื้อสรรพาวุธ เอามาปราบปรามซึ่งกันและกัน เงินจำนวนนี้ มีจำนวนไม่น้อย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราจะเห็นได้ง่ายๆ ถ้าเราต่างคนต่างไม่ลักไม่ขโมยซึ่งกันและกัน โลกนี้ทั้งโลกไม่มีขโมย เราไม่ต้องหาว่าทั้งโลกเอาแค่ประเทศไทยก็พอ ถ้าประเทศไทยทั้งประเทศหาขโมยไม่ได้ บ้านทุกบ้านก็ไม่ต้องมีประตู ไม่ต้องมีหน้าต่าง
    ไม่ต้องมีกุญแจ ไม่มีที่ ไม่ต้องมีที่เก็บทรัพย์ให้มิดชิด
    โดยเฉพาะอย่ายิ่งกุญแจหนึ่งลูก สมมุติว่ากุญแจหนึ่งดอก ดอกหนึ่งราคา ๑ บาท เวลานี้ประเทศไทย มีคน ๔๓ ล้านคน แล้วในจำนวนคนทั้ง ๔๓ ล้านคนนี้ บังเอิญ ถ้าเราจะมีบ้านสัก ๒๐ ล้านหลังคาเรือน ถ้าบ้าน ๒๐ ล้านหลังคาเรือนนี่ต้องจ่ายกุญแจเพื่อป้องกันขโมยก็ป้องกันของหายบ้านละดอก เราก็ต้องใช้กุญแจ ๒๐ ล้านดอก แล้วกุญแจ ๒๐ ล้านดอกนี่ ถ้าดอกราคาละ ๑ บาท เราก็ต้องสูญเงินไปเปล่า ๒๐ ล้านบาท แต่นี่กุญแจเลวๆที่ไหนลูก หรือ ดอกละ ๑ บาทมันก็ไม่มี มันมีมากไปกว่านั้น ถ้าการลักการขโมยกันไม่มี ก็ไม่ต้องมีตำรวจ งบประมาณที่เราตั้งจ้างคนเป็นตำรวจสำหรับปราบผู้ร้ายในการรบกวนซึ่งกันและกันงบประมาณปีละเท่าไหร่ นับเป็นพันล้าน และก็สำหรับตู้ก็ดี เซฟก็ดี กุญแจก็ดี ห้องหับก็ดี
    ที่เรามีไว้เพื่อป้องกันขโมย ให้ขโมยลักของได้โดยยาก บ้านหลังหนึ่งคิดเฉลี่ยแล้ว
    ก็ต้องเสียทรัพย์สินในส่วนนี้ไปไม่น้อยกว่า ๒๐๐ บาท
    นี่ถ้าบ้านของเรามีลัก ๒๐ ล้านหลัง ลองคูณด้วย ๒๐๐ สิราคามันเท่าไหร่ นี่ก็คิดเอาโดยเฉลี่ยบางบ้างก็ไม่ถึง บางบ้านก็มากกว่า บางบ้านห้องเก็บสำหรับป้องกันของหายนี่คิดราคาเป็นแสน นี่ถ้าหากว่าถ้าคนทุกคนยอมรับนับถือ หรือยอมรับเอาความช่วยเหลือขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปปฏิบัติ ความมั่งคั่งสมบูรณ์จะมีมากเพียงใด คือ
    ๑.เราไม่ต้องเสียเงินจ้างคนมาเป็นตำรวจ ที่ต้องจ่ายเงินฟรีปีหนึ่งเป็นพันล้าน
    ๒.เราไม่ต้องซื้อทรัพย์เสีย ไม่ต้องทรัพย์สินไปกับการซื้อสรรพาวุธซื้อพาหนะให้แก่ตำรวจ นี่ปีๆหนึ่งเราก็ต้องเสียเงินไปเป็นพันล้านเหมือนกัน
    ประการที่ ๓. เราไม่ต้องมีภิพากษา เราไม่ต้องมีอัยการ ไม่ต้องมีทนาย
    ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่โรงศาล ไม่ต้องมีอำเภอ ไม่ต้องมีจังหวัด เพราะว่าคนดีทั้งหมด
    ก็ไม่ต้องมีอะไรทั้งหมด เพราะต่างคนต่างปกครองกันได้เอง รวมความว่างบประมาณประจำปีของประเทศไทย ปีหนึ่งหลายหมื่นล้านบาท
    นี่เป็นงบแห่งการจ่าย ก็ไม่ต้องจ่ายออกไป เพราะโลกทั้งโลก
    ต่างมีธรรมะเป็นเครื่องปกครอง ปกครองกัน
    คนต่างคนต่างยอมรับนับถือสิทธิซึ่งกันและกัน คนทุกคนเป็นคนดี โลกนี้จะเต็มไปด้วยความมั่งคั่งสมบูรณ์ โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข
    โลกนี้จะเต็มไปด้วยความแจ่มใส เพราะว่าคนทุกคนในโลกนี้ต่างคนต่างเป็นมิตรกัน ต่างคนต่างเป็นสหายกัน ต่างคนต่างเป็นที่รักซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างหวังการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หาความเป็นศัตรูกันไม่ได้ เป็นอันว่าบ้านช่องของชาวโลกทั้งหลายก็ไม่ต้องสร้างแข็งแรงนัก ไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องเสียทรัพยากรมาก ค่าสรรพาวุธของประชากรทั้งหลายในโลก คน ๑๔ ล้านคนอย่างน้อยที่สุด

    ขอโทษ...คน ๔๓ ล้านคน อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีสรรพาวุธไว้ป้องกันผู้ร้าย ไม่น้อยกว่า ๔๐ ล้านชิ้น แต่ละชิ้นราคาเท่าไหร่

    นี่แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย
    การที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แนะนำให้ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์คือ ถึงพร้อมไปด้วยศีล
    แต่ว่าถ้าคนทั้งโลกเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ถึงพร้อมไปด้วยศีลเหมือนกัน คนทุกคนพวกนั้นเขาจะมีความสุขหรือว่า เขาจะมีความทุกข์ แล้วโลกทั้งโลกนี้ ถ้าปฏิบัติเหมือนกันโลกจะมีความสุขหรือว่าโลกจะมีความทุกข์ การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยวัตถุ แต่จิตใจยังคิดประทุษร้ายซึ่งกันและกัน นั่นไม่ได้หมายว่าโลกที่จะมีความสุข มันเป็นโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าคนทุกคนต่างยอมรับนับถือสัจธรรม คือ
    ศีล ๕ ประการเหมือนกันทั้งหมด ตามที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงแนะนำไว้
    โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุข จะหาความทุกข์อะไรมิได้

    เอาล่ะสำหรับการแนะนำในจริยา และจรณะข้อที่ ๑
    วันนี้ความจริงน่าจะพูดข้อที่ ๒ แต่ว่าไปได้ยินข่าวว่า เขาว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้ช่วยโลกเลย จึงได้ขอเอามาแนะนำแก่ท่านทั้งหลาย
    ถ้าจำได้ ก็ช่วยไปแนะนำคนอื่นเขาด้วย ว่าพระพุทธศาสนาช่วยแล้ว
    แต่คนที่รับความช่วยเหลือจากพระพุทธศาสนาไม่มี เอาล่ะสำหรับวันนี้
    เรื่องจรณะ ๑๕ ข้อที่ ๑ ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.<O:p></O:p>

    ที่มา : ถอดเทปจรณะ 15 พระธรรมคำสอนหลวงพ่อฤาษี
     
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  4. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา


    [​IMG]</O:p><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2010
  5. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    ธรรมประจำจุติ ๒ ดาวจันทร์ มารยาจริต
    คือ จรณะ ๑๕

    ศึกษาได้จากคัมภีร์สุวรรณโคมคำ

    อนุโมทนาสาธุการ
     

แชร์หน้านี้

Loading...