จาคานุสติ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย The Divine, 16 มิถุนายน 2009.

  1. The Divine

    The Divine สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +2
    ทัสสนะที่ดีงามต่อชีวิต ๓ ขั้น โดย เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
    [​IMG]<O:p


    ทัสสนะที่ดีงามต่อชีวิต ๓ ขั้น

    ทัสสนะชั้นต้น เช่น เห็นว่าทานที่ให้มีผลแล้ว คือเราให้ทานจะให้แก่บุคคลประเภทใดก็ตามมีผลานิสงส์สามารถที่จะอำนวยให้เกิอะไรต่ออะไรขึ้นมาได้แต่ไม่ใช่หมายความว่าจะติดแต่ให้ทานไปแล้ว ขอให้ได้สิ่งนั้น ขอให้ได้สิ่งนี้ ดังนี้ที่ได้พูแล้วว่า ความเห็นที่ถูกต้องนั้น สูงขึ้นไปตามลำดับขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูงสุด<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    เพราะฉะนั้น ในเบื่องแรกความเห็นขั้นต้นนี้ก็เป็นเรื่องของความเห็น เรื่องทานก็เห็นว่าเป็นสิ่งทีมีผลานิสงส์ เมือให้ทานแล้วมีผลานิสงส์ผลานิสงส์นั้นจะส่งผลให้ได้ในสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วเราก็ชื่นใจในสิ่งที่ได้<O:p
    นี้เรียกว่าทัสนะขั้นต้น<O:p
    <O:p

    เมื่อจะเขยิบทัสสนะให้สูงขึ้นไปถึงขั้นกลาง ก็ ไม่ได้ยากเย็นอะไรแต่ว่าเราไม่ค่อยขยับให้สูงขึ้นไป เช่น การให้ทานของเรานั้นแหละที่ว่าเออวันนี้เราได้เลี้ยงพระแล้วจิตใจบริสุทธิ์ ได้ถวายทานแก่พระสงฆ์ พระมาสวดมนต์ ๙รูป เราดีอกดีใจว่าเราได้ทำบุญขอให้เกิดเป็นผลานิสงส์แก่เราอย่างนี้เป็นการธรรมดาขั้นต้นถ้าจะยกให้สูงขึ้นไป ก็มายกให้เป็นจาคานุสติ คือ เป็นพระกรรมฐานแม้เป็นภายสมถะก็จริง แต่เป็นกรรมฐานข้อหนึงในอนุสติ๑o ประการ เรียกว่า"จาคานุสติ"ระลึกถึงทานที่ได้ให้ไปแล้วก็มีความปิติ มีความโสมนัสใจ นี้เรียกว่าทัสนะขั้นกลาง<O:p<O:p</O:p
    แต่เรื่องนี้คนที่ไม่เคยให้ทานไม่มีทางจะเห็นไม่มีทางที่จะรู้อีกนั้นแหละ คนเราจึงสงสัยว่า เอ! ทำไมคนนี้แกชอบให้ทาน เอ!คนนี้แลดูไม่น่าจะให้ทานขนาดนี้ ทำไมให้ทานได้ถึงขนาดนี้ที่ป็นเช่นนี้ก็เกิดปิติโสมนัสในทานที่ได้ให้ ดีอกดีใจที่ได้ให้ทานไปสักหน่อยหนึงแม้แต่ใส่บาตรพระองค์เดียวเท่านั้น บางคนก็ดีอกดีใจนักหนา โสมนัสปลื้มปิติบางทีขนลุกขนพอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พูดแล้วคนที่ไม่เคยให้ทานก็นึกไม่เห็นต้องเป็นคนที่เคยให้ทาน<O:p</O:p
    ท่านที่เคยให้ทานลองนึกดูสิว่าท่านเคยให้ท่าพระสงฆ์แล้วรู้สึกปิติยินดีไหมบางทีถึงกับน้ำตาไหลเวลาพระท่านบอกว่ากรวดน้ำ ดีอกดีใจเหลือเกินจิตใจแจ่มใส่ผ่องใ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นี้แหละจิตใจสูงขึ้นไปอย่างนี้แต่คนที่ไม่เคยให้ พูดเท่าไหร่ก็ฟังไม่รู้เรื่อง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ก็ยังนึกแต่เพียงขั้นธรรมดาอยู่นั้นแหละ คือในระดับธรรมดานี้ยังแยกไปในทางเสียอีกด้วย ทางเสียนี้ก็คือมองไม่เห็นเลยทานอย่างธรรมดานั้นก็ยังมองเห็นว่า ทานที่เราให้ไปจะมีผลานิสงส์ได้ผลานิสงส์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ถ้าสูงขึ้นไปก็คือเกิดปิติโสมนัส อิ่มอกอิ่มใจจิตใจสว่างไสว ปลอกโปร่ง แช่มชื่น ได้ถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วชื่นใจไปทั้งวัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บางที ท่านที่ไม่เคยทำมองไม่เห็นแต่สำหรับท่านที่เคยทำจะมองเห็นถ้าให้ทานแล้วประสบความดีอกดีใจ ใจก็สูงขึ้นสูงขึ้นอย่างนั้นแล้วก็เรียกว่าก้าวขึ้นอีกก้าวหนึงแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ยังไม่เต็มภูมิถ้าจะให้สูงขึ้นไปอีกเป็นขั้นกลางต้องนำการให้ทานมาเป็นอารมณ์ของพระกรรมฐานคือดีอกดีใจว่าทานที่ให้ไปแล้วนี้เป็นบารมีของเรา อโหทานัง ปรมทานัง ทานของข้าพเจ้าเป็นทานอย่างยิ่งเราหาสิงทั้งหลายมาได้แล้วด้วยกำลังของเรา ด้วยกำลังแรงกาย ด้วยกำลังแรงใจเสะแสวงหามาด้วยความสุจริต แล้วสิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นบรมทานของเราเป็นทานที่สูงของเรา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คนอื่นเข้าอาจจะมองเห็นว่า เป็นทานที่ต่ำข้าวเพียงทัพพีเดียวใส่าตรพระองค์เดียว หรือให้ของแต่เพียงเล็กน้อยแต่ว่าใจของเราเห็นว่านี้เป็นบรมทานของเราแล้วเป็นทางอย่างสูงของเราแล้วเราก็มากำหนดในใจว่านี้แหละเป็นทานที่เราได้ให้ไปแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กำหนดไปด้วยทัสนะเช่นนี้จิตใจก็ผ่องใส แช่มชื่น เบิกบาน จิตสงบเป็นสมาธิขึ้นมาได้ โดยอาศัยทานนั้นแหละ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อย่างนี้เรียกว่า'จาคานุสติ' ให้สติที่มีอยู่นั้นผูกสัมพันธ์กับสิ่งที่เราได้ให้ได้บริจาคมาแล้วทำให้เกิดสมาธิขึ้นมาได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อเกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้อย่างนี้แล้วทานที่เป็นขั้นธรรมดาที่อยากได้โน้นอยากได้นี้ ก็เบาไปไม่ค่อยมีความปรารถนาอะไรแล้ว แม้ยังปรารถนาอยู่แต่ก็ไม่รุนแรงแล้วที่นึกว่าให้ทานแล้ว เออข้อให้พ้นยากพ้นทุกข์ไปเสียเถิดและก็ขอให้ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ซะทีเถิด ความพ้นทุกข์ รู้สึกเช่นนี้บางเบไปแล้วยังไม่หมดแต่บางเบาไป ก้าวขึ้นมาสู่จิตมีสมาธิ<O:p</O:p
    ***ข้อสำคัญเราให้ทานแล้วต้องเอามาเป็นอารมณ์พระกรรมฐาน ทำให้เป็นสมาธิให้ได้ คือให้ทานเป็นจาคานุสติให้ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ยกทานขึ้นสูสมาธิ<O:p</O:p
    ท่านที่เคยให้ทานมากๆ พยายามนึกไว้ นึกถึงการบริจาคนี้แหละนึกถึงข้าวของเงินทองที่เราบริจาคไป แล้วนึกในใจว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อโห ทานัง ปรมทานัง อย่างนี้ก็ได้ โอ!ทานของเราเป็นบรมทานแล้ว ได้ตั้งไว้ดีแล้วในพระศาสนาได้ตั้งไว้ดีแล้วในหมู่สงฆ์<O:p</O:p
    นึกอยู่ในใจอย่างนั้นจนใจสงบ อโห ทานัง ปรมทานังท่านของเราเป็นบรมทานแล้ว น่าอัศจรรย์ จิตใจก็ผ่องใส จิตใจก็สงบนิ่งเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วไม่ค่อยปรารถนาแล้วว่า ให้ได้สิ่งโน้นให้ได้สิ่งนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทานสูงขึ้นไปตามลำดับแล้ว เรียกว่ายกทานขึ้นสู่สามธิ อย่าไปพูดเข้าว่า ให้ทานน่ะอย่าไปตั้งความปรารถนา อยากได้โน่น อยากได้นี่ ทำให้เกิดเป็นกิเลสตัณหาซ้อนทับเข้าไปอีก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ต้องแยกให้ถูก ต้องแยกให้เป็น ถ้าแยกให้ถูกแยกให้เป็นแล้วเดินไปตามขั้นตามตอน พอไปถึงเป็นขั้นจาคานุสติจิตใจก็สูงขึ้นสูงขึ้นไปขั้นนั้นยังไม่พอ คือไปติดอยู่ในความสงบ ติดอยู่ในความสุขพอเราน้งใจสงบดีแล้วเกิดความสุข รู้สึกว่าความสงบเป็นปัสสันธิก็ดี เป็นปิติก็ดีเป็นสมาธิก็ดี ก็ติดอยู่อีกไม่ได้ จะติดอยู่ในความสงบเท่านั้นยังไม่พอต้องเคลื่อนให้สูงขึ้นอีก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ว่าเราจะไปพูดเอาก็ไม่ได้เราก็เอาจิตที่เป็นสมมาธินั้นแหละมองให้ลึกลงไปว่าออ!สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ม่ใช่จะทำให้จีรังยังยืนอะไรเราก็ยังต้องเวียนวายตายเกิดอยู่อีก เราจะมัวหลงอยู่ในความสงบนี้ไม่ได้เราจะมัวติดอยู่กับสิ่งนี้ไม่ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ก็ต้องมองลงไปให้เห็นความจริงว่าปีติก็ดี ปัสสันธิก็ดีที่เกิดขึ้นในจิตใจเรานั้นเป็นสิ่งปรุ่งแต่ขึ้นมา อยู่ได้ หายไป เกิดได้ดับได้พอใจสงบมาก็จะเห็นว่าออ!มีการเกิดดับอย่างนี้เหมือนกันเมื่อเห็นอย่างนั้นแล้วก็จะเห็นต่อไปว่ามีอะไรเป็นเหตุให้เป็นเช่นนี้ ก็ทราบว่ามีปัจจัยเข้ามาปรุงแต่งแต่ว่าเป็นปัจจัยที่ละเอียดอ่อน และเป็นปัจจัยในทางดีเราจะพอใจอยู่แต่เพียงทางนี้เท่านั้น ไม่ได้เราจะต้องมองให้สืบต่อไปจนกระทั้งเห็นว่าออ!นี้เกี่ยวข้องด้วยรูปพอเห็นอย่างนี้แล้วจะเห็นได้ว่ามีการเกิด มีปัจจัยที่ทำให้ดับเมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วก็จะไม่เกาะติดอยู่สิ่งเหล่านั้น ก็เห็นว่าทุกอย่างมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ มีดับไป เห็นความเป็นอนิจัง เห็นความเป็นทุกขังเห็นความเป็นอนัตตา<O:p</O:p
    เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้ว จิตใจจะปลอดโปร่งสูงขึ้นจะทำลายกิเลสขั้นต้น คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสลงได้ เราก็เอาตัวรอดไม่ต้องเวียนวายตามเกิดหลายชาติจนเกินไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่จะต้องวนเวียนวายอยู่ในภพชาติ อย่างมากก็เกิดอีก๗ ครั้ง ๗ หนเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลังจากนั้นก็หมดภพชาติแล้ว เราไม่ต้องเวียนวกมาเกิด แก่ เจ็บตายอีกแล้ว สูงขึ้นไปอย่างนี้ก็จะหมดภพชาติไปเองนี้เรียกว่าทัสนะ ขั้นสูง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อทราบทัสสนะ๓ขั้นอย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องบอกว่าการให้ทานอย่าไปตั้งความปรารถนาเข้าให้ทานอะไรตั้งความปรารถนาเป็นกิเลส ต้องให้กิเลสดับไป ไม่ต้องเอาอะไรทั้งนั้น

    ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ให้ทานแล้วจะไม่ให้ปรารถนา ทำไมจึงเป็นไปไม่ได้ก็เพราะว่าเรายังเป็นปุถุชนอยู่ จิตยังเกาะอยู่อย่างนั้น เราจะบอกว่า"ให้ทานแล้วอย่าไปยึอย่าไปเกาะ"เราพูดเป็นสำบัดสำนวนได้ แต่ว่าใจของปุถุชนคนธรรมดาเป็นไปไม่ได้ต้องค่อยๆคลืบคลานไปโดยลำดับพอสูงขึ้นไปเป็นพระกรรมฐานจนถึงจุดนั้นแล้วก็เห็นไปเองว่าออ! ไม่มีอะไร แม้แต่ความอิ่มอกอิ่มใจนั้นก็มีปัจจัยปรุงแต่ง สงบสงัดอยู่ นั่นก็มีปัจจัยปรุงแต่ง เราให้จิตใจของเราพ้นข้ามไปเสียจากการปรุงแต่งนี้ให้ได้แล้วก็จะมอง เห็นนาม เห็นรูปเห็นความเกิด ความดับ ดังที่กล่าวมาแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความเกิดความดับมีอยู่เท่านั้นแหละ เกิด ดับ เกิด ดับแล้วก็เป็นไปถึงเหตุเป็นถึงปัจจัยจิตใจแทนที่จะติดอยู่ในความสงบที่เป็นสมาธิติดอยู่ในความอิ่มอกอิ่มใจ ติดอยู่ในความสุข ติดอยู่ในปัสสันธิก็ไม่ติดแล้ว<O:p</O:p
    ก็เคลือนสูงไปทางโน้น ไปทางที่จะดับหมดเมือจิตเคลือนสูงไปอย่างนั้นแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัย เดินตรงไปทีเดียวจนถึงขั้นสูงสุด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อย่างนี้แหละเรียกว่าทานเป็นเหตุที่จะให้ขึ้นไปถึงขั้นสูงสุดได้โดย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อาศัยการปฏิบัติไปตามขั้นตามตอน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นี้เป็นทัสสนะเป็นไปในทางที่ดีเป็นไปในทางที่ถูกต้อง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ดังนั้น เมื่อท่านให้ทานอยู่ในขั้นใดก็พยายามปฎิบัติให้ดีในขั้นนั้น แล้วยกให้สูงขึ้นไปอีกตามลำดับจนกระทั้งถึงความหลุดพ้นเป็นที่สุด แม้อาศัยการบริจาคเพียวอย่างเดียวถ้าความเห็นเป็นอย่างนี้ก็กล่าวได้ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ<O:p</O:p
    แต่ว่าเรื่องสัมมาทิฎฐินั้นไม่ใช่ว่ามีเพียงแต่ด้านนี้เท่านั้นยังมีส่วนอืนๆ อีกควรจะนำมากล่าว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ---คัดลอกมาจากหนังสือเรื่องคุณสมบัติ๕ประการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)ของสำนักพิมพ์อนันตะ<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2009
  2. datchanee

    datchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,947
    ค่าพลัง:
    +1,276

แชร์หน้านี้

Loading...