จำแนกประเภทชนิดของการทำบุญและผลบุญที่จะได้รับ

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย khom_2512, 26 กรกฎาคม 2008.

  1. khom_2512

    khom_2512 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +2
    อยากทราบว่าการทำบุญนั้นมีกี่ประเภทจำแนกตามอะไรและผลบุญที่ได้รับนั้นมากน้อยสูงหรือตำต่างกันอย่างไร
     
  2. TaeyoLySiS

    TaeyoLySiS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +278
    ตอบอย่างคร่าวๆจ้า ตามที่เข้าใจอ่ะนะ

    ทาน< ศีล < ภาวนา

    โดยละเอียดคือ "บุญกิริยาวัตถุ" มีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
    <dl><dd>๑. "ทานมัย" ได้แก่ การทำบุญด้วยการให้เงิน สิ่งของ ความรู้ และหรือ อภัย </dd><dd>๒. "สีลมัย" ได้แก่ การทำบุญด้วยการรักษาศีล มีความประพฤติดี ไม่เบียดเบียฬผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา และใจ </dd><dd>๓. "ภาวนามัย" ได้แก่ การทำบุญด้วยการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิภาวนา </dd><dd>๔. "อปจายนมัย" ได้แก่ การประพฤติอ่อนน้อม </dd><dd>๕. "เวยยาวัจจมัย" ได้แก่ การช่วยเหลือ ขวนขวาย รับใช้ </dd><dd>๖. "ปัตติทานมัย" ได้แก่ การเฉลี่ยความดีให้แก่ผู้อื่น </dd><dd>๗. "ปัตตานุโมทนามัย" ได้แก่ การแสดงความยินดีเมื่อได้ทราบว่า ผู้อื่นกระทำความดี </dd><dd>๘. "ธัมมัสสวนมัย" ได้แก่ การฟังธรรม </dd><dd>๙. "ธัมมเทสนามัย" ได้แก่ การสั่งสอนธรรม </dd><dd>๑๐. "ทิฏฐุขุกัมม์" ได้แก่ การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม</dd><dd>
    </dd><dd>รวมเป็น ๓ กลุ่มใหญ่คือ ทานมัย สีลมัย และ ภาวนามัย </dd></dl>
    ดูง่ายๆ ถ้าคุณเชื่อในเรื่องกฏของกรรม, action = reaction, หว่านพืชเช่นไรย่อมได้ผลเช่นนั้น อ่ะนะ

    คุณจะเห็นว่าทานทำง่ายกว่า การรักษาศีล และรักษาศีลก็ง่ายกว่าการภาวนา

    คุณจะสังเกต เห็นว่า มีสองแบบใหญ่ๆ คือ เกี่ยวกับผู้อื่นและตนเอง อะไรที่เป็นการพัฒนาตนจะยากกว่า และผลมันก็ย่อมต้องมากกว่า

    ทานเนี่ยคุณให้ตั้งใจปุ๊บ จบ ในเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็น ให้ของ ให้อภัย ให้ธรรม ให้บุญ(ให้อนุโมทนา) ฯลฯ ส่วนรายละเอียด ทานอะไรได้ผลมากได้ผลน้อย มีคนเคยเขียนเอาไว้เยอะเลย search ดูได้

    แต่เท่าที่เข้าใจอ่ะนะ ทาน มันจะเกี่ยวอยู่กับ"ผู้ให้ ผู้รับ และของ"

    -ของนั้นได้มาโดยชอบธรรม ไม่ได้วัดกันที่มูลค่า วัดกันที่เจตนาและความตั้งใจดี และถ้าของที่ให้นั้นคือธรรม มันย่อมต้องเป็นของดีกว่าวัตถุทาน อานิสงส์ย่อมมากกว่า หรือเป็นการให้อภัยแปลว่า เราได้พัฒนาตนให้เป็นคนดีมากขึ้น อานิสงส์ย่อมมากกว่า เพราะมันทำยากกว่าด้วย

    -ผู้ให้ตั้งใจให้อย่างแท้จริงไม่หวังผลตอบแทนแบบตัดใจให้ขาดอ่ะนะ มันย่อมต้องได้อานิสงส์มากกว่าการถูกบังคับให้ทำ หรือการให้โดยหวังผล

    -ผู้รับ ผลจะต่างกันไปตามลำดับคุณธรรม,ความสัมพันธ์กะคุณ,ประโยชน์ในวงกว้าง เช่น

    คุณให้ผู้มีพระคุณต่อคุณ เช่น พ่อ แม่ พระศาสนา ประเทศชาติ โลก ฯลฯ ย่อมต้องได้อานิสงส์มากกว่าให้คนธรรมดาที่ไม่ได้มีบุณคุณต่อคุณ

    ให้คน แม้ทุศีลย่อมได้ อานิสงส์มากกว่าให้สัตว์เดรัจฉาน
    ให้คนดีที่มีศีลระดับต่างๆ ย่อมได้ อานิสงส์มากกว่า ให้คนทุศีล
    ให้แก่หมู่ชนย่อมต้องได้ผลมากกว่าให้แก่คนหนึ่งคน
    ให้แก่พระอริยบุคคลระดับต่างย่อมต้องได้ผลมากกว่าให้แก่สมมติสงฆ์(อานิสงส์ตามลำดับคุณธรรม)
    ให้แก่หมู่สงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประทานหรือสังฆทานย่อมได้มากกว่าให้แก่พระองค์ใดองค์หนึ่งแม้พระองค์นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้า
    ให้แก่หมู่สงฆ์ผู้สืบต่อพระศาสนาอานิสงส์มาก
    ให้ธรรมมะหรือเผยเผ่พระศานสนาอานิสงส์มากกว่า
    ฯลฯ


    ศีลเนี่ยยากขึ้นมา เพราะคุณต้องตั้งใจเป็นระยะเวลาหนึ่งไม่ให้เผลอ ไปเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งกาย วาจา ใจ หากคุณเผลอ คุณก็สมาทานใหม่หรือ ตั้งใจรักษาใหม่ได้

    ส่วนภาวนานี่ยากขึ้นมามากกว่าศีล เพราะคุณต้องตั้งใจทุกขณะจิตที่ทำการภาวนา ดังนั้น ผลมันจึงมากกว่า ทานและศีลนั่นเอง


    ทำบุญทำได้ทั้งกาย วาจา ใจ ทำได้ตลอดเวลาที่มีสติอยู่เลยนะ (บุญกิริยาวัตถุ 10) มีโอกาสทำแบบไหนก็ทำแบบนั้นก่อน ณ ปัจจุบันขณะ

    ผิดถูกประการใดต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...