จิตของท่านผู้หลุดพ้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย DR-NOTH, 24 เมษายน 2016.

  1. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    [๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
    ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าชื่อ สีตะวัน ใกล้กรุงราชคฤห์
    ครั้งนั้น ท่านพระโสณะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า
    สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็น
    ผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่
    ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และ
    ทำบุญได้ ผิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์
    และพึงทำบุญเถิด ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบปริวิตกแห่งใจของท่านพระ
    โสณะด้วยพระทัย แล้วทรงหายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏตรงหน้าท่านพระโสณะ
    ที่ป่าสีตะวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด
    ฉะนั้น ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูแล้ว แม้ท่านพระโสณะถวายบังคมพระผู้
    มีพระภาค แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้
    ตรัสถามท่านพระโสณะว่า ดูกรโสณะ เธอหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตก
    แห่งใจอย่างนี้มิใช่หรือว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้
    ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรา
    ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา
    เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ มิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมา
    เป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์ และพึงทำบุญเถิด ท่านพระโสณะทูลว่า อย่างนั้น
    พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเมื่อก่อนยังอยู่
    ครองเรือนเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณมิใช่หรือ ฯ
    ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็สมัยใดสายพิณ
    ของเธอตึงเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะหรือ ย่อมควรแก่การ
    ใช้หรือไม่ ฯ
    ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใดสายพิณของ
    เธอหย่อนเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควรแก่การใช้
    หรือไม่ ฯ
    ส. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรโสณะ ก็สมัยใด สายพิณของเธอไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกิน
    ไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควร
    แก่การใช้หรือไม่ ฯ
    ส. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมากเกินไป
    ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    เกียจคร้าน ดูกรโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ
    จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจงถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น ท่านพระโสณะ
    ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวสอนท่านพระโสณะ
    ด้วยพระโอวาทนี้ แล้วทรงหายจากป่าสีตวันไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เปรียบ
    เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ฯ
    ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ ได้ตั้ง
    อินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้นต่อมา ท่านพระโสณะ
    หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจแน่วแน่อยู่ ได้ทำให้
    แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต
    โดยชอบต้องการนั้น ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย ได้ทราบชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
    เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวน
    พระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุอรหัตแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า
    ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพึงพยากรณ์อรหัตผล
    ในสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด ลำดับนั้น ท่านพระโสณะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ
    ภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่
    จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์
    ของตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบในภพ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
    นั้นย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเหตุ ๖ ประการ คือเป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ๑ เป็นผู้
    น้อมไปยังความสงัด ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ๑ เป็นผู้น้อมไปยัง
    ความสิ้นตัณหา ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความ
    ไม่หลงใหล ๑ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็น
    อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ อาศัยคุณเพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ เป็นผู้น้อม
    ไปยังเนกขัมมะ แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่จบ
    พรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ
    หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ
    เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจาก
    โทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็น
    อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ มุ่งหวังลาภ สักการะและการสรรเสริญเป็นแน่จึงน้อม
    ไปยังความสงัด แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ อยู่พรหมจรรย์
    ได้ทำกิจที่ควรเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตนจะต้องทำ หรือไม่พิจารณาเห็น
    การเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสงัด เพราะสิ้นราคะ เพราะ
    เป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ
    เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความคิด
    เห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาส กลับให้เป็นแก่นสารเป็น
    แน่จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่า
    ภิกษุขีณาสพ ฯลฯ เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน เพราะสิ้นโมหะ
    เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา เพราะสิ้น
    โมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน
    เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความคิดเห็น
    อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพัตตปรามาสกลับให้เป็นแก่นสารเป็นแน่จึง
    เป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ
    อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นในกิจที่ตนจะ
    ต้องทำ หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความ
    ไม่หลงใหล เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ เพราะ
    เป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุแม้ดีเยี่ยมมาสู่คลองจักษุ
    ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้ รูปนั้นไม่ครอบงำจิตของท่านได้
    จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวและ
    ท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ ถ้าเสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่พึงรู้
    แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง
    ด้วยใจ แม้ดีเยี่ยม มาสู่คลองจักษุแห่งภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
    ไซร้ ธรรมารมณ์นั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านได้ จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือ
    ด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว และท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
    ความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น เปรียบเหมือนภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่ง
    ทึบ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศบูรพาไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้
    หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศประจิม
    ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศอุดร ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลา
    นั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ฉะนั้น ฯ
    ท่านพระโสณะครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังต่อไปอีกว่า
    จิตของภิกษุผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ผู้น้อมไปยังความสงัดแห่ง
    ใจ ผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ผู้น้อมไปยังความสิ้น
    ตัณหา ผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน และผู้น้อมไปยังความ
    ไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเพราะเห็นความเกิด
    ขึ้นและความเสื่อมไปแห่งอายตนะทั้งหลาย กิจที่ควรทำและ
    การเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้หลุดพ้นแล้ว
    โดยชอบมีจิตสงบ ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหว
    ด้วยลม ฉันใด รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์
    ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ย่อมยังจิตอันตั้ง
    มั่นหลุดพ้นวิเศษแล้ว ของภิกษุผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้
    ฉันนั้นและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และ
    ความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๘๘๓๐ - ๘๙๔๗. หน้าที่ ๓๘๖ - ๓๙๐.
    http://84000.org/tipitaka/v.php?B=22&A=8830&Z=8947&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=326
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๒
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_22
     
  2. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น
    ความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น เปรียบเหมือนภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่ง
    ทึบ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศบูรพาไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้
    หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศประจิม
    ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศอุดร ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลา
    นั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้ ฉะนั้น

    สาธุในพระธรรมครับผม (- -)
     
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    กลัวแต่พวกมีมิจฉาทิฐิ มาอ่านแล้ว ก็แปลความว่า จิตต้องมั่นคง เที่ยงตรง เที่ยงแท้ดั่ง ก้อนทึบ นั่น ..นั่นสิ...แล้วก็เอามาเป็นเหตุผล ว่า นิพพานเที่ยง...อีกล่ะ จิตเที่ยงอีกล่ะ

    เถียงกันไร้สาระ กับมิจฉาทิฐิยาวอีกตามเคย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2016
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อย่างนิวรณ์ ก็จะมาแปลความว่า จิตอยู่กับอุเบกขา ที่ได้จากการนั่งดูเวทนามันเกิดดับ ทำให้จิตอยู่ไม่ห่างจากปฐมญาณ เป็นวิหารธรรม....(มันจะเข้าใจว่า จิตอยู่กับความเที่ยง จิตเที่ยง จิตมีตัวตนไปโน่นเลย...นิพพานเที่ยง นิพพานรู้ด้วยเพราะมีจิตเที่ยง ไปโน่นอีกหล่ะ)
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    เพราะไม่มีอวิชชา ไม่มีวิญญาณโน่น....จึงไม่หวั่นไหว....ไม่หวั่นไหวก็ไม่ได้หมายความถึงว่า มีจิตอยู่ มีจิตรู้อยู่ จึงไม่หวั่นไหว.....ไม่ได้หมายความว่า แบบนี้นะ

    ผลที่ไม่หวั่นไหวของจิต ไม่หวั่นไหวไปกับธรรมมารมณ์...นั้นต่างหาก..คือผล คือปัญญา
     
  6. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    เสียดาย
    ผู้แปล แปลไม่ตรงประเด็น
    ไม่อย่างนั้น ผู้ที่ตั้งใจฟังพระสูตรนี้
    ก็มีสิทธิ์จะบรรลุธรรมได้
    เมื่อแปลไม่ตรง
    ผู้ฟัง ยิ่งฟังก็ยิ่งงงงวย

    พระสูตรนี้ เน้นไปที่ ทางสายกลางของจิตใจ
    มิใช่ ทางสายกลางของวิธีการ
    เพราะฉนั้น เมื่อเอ่ยถึงทางสายกลาง
    ก็ย่อมจะหมายถึง การวางใจเป็นกลางต่ออารมณ์ต่างๆ
    เมื่อรับอารมณ์แล้ว ไม่ปรุงแต่งต่อไป
    อย่างนี้ เรียกว่า ทางสายกลาง ที่แท้จริง
    มิใช่ เน้นไปที่ วิธีการที่หนักไป หรือ เบาไป
    ซึ่งไม่ถูกวิธิีเลย

    เพราะวิธีการนั้น ไม่ว่ามันจะ หนัก หรือ เบา
    แต่ก็จะพอดีกับคนที่ทนได้
    บางคนชอบหนัก ก็ใช้แบบหนักได้
    บางคนชอบเบา ก็ใช้แบบเบาได้
    แต่จะไม่มีวิธีที่ไม่ทำอะไรเลย
    แล้ว สามารถจะบรรลุธรรมได้
    อันนี้เป็นคำกล่าวของคนขี้เกียจมากกว่า

    ส่วน ทางสายกลาง อีกอย่างก็คือ
    การอยู่กับปัจจุบัน ไม่หลงหาอดีต
    ไม่กังวลอยู่กับอนาคต
    คิดแต่เรื่องที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น

    สองอย่างนี้ คือ ทางสายกลาง
    ที่สามารถทำให้บรรลุธรรมได้เลย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2016
  7. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ขยายความได้ลึกซึ้งไม่น้อย อนุโมทนา ครับ
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    สมัยครองเรือน เธอคือผู้เก่งในการดีดพิณ ไช่หรือไม่...ไช่
    สายพิณเธอตึงเกินไป เธอว่าเสียงจะไพเราะไช่หรือไม่....ไม่
    สายพิณเธอหย่อนเกินไป เธอว่าเสียงจะไพเราะไช่หรือไม่....ไม่
    สายพิณเธอพอดีๆ เสียงที่ออกมาจะไพเราะหรือไม่...ไช่

    ....
    พอดีคือ ...ปกติ คือรับรู้มาแล้ว ไม่เกิดพอใจชอบ(โลภ) หรือ เกิดไม่พอใจโกรธเกลียด(โกรธ) หรือชอบมากเกลียดมาก(หลง)...

    จิตที่ตั้งไว้พอดี คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ธรรมารมณ์ จรเข้ามาแล้ว..ทำไห้หวั่นไหวไม่ได้...นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2016
  9. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    คงประมาณนั้น ถ้าอย่างนั้นพระพุทธองค์จะตรัสไว้หรอว่า "อย่าเพิ่งเชื่อตามตำรา" (^ ^)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2016
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อ่านพระสูตร ต้องเข้าใจตั้งแต่...เริ่มบทความว่า พระสาวก เกิดมีความปริวิตกแห่งใจ

    เอ ทำไม ไม่ไช้คำว่า เกิดความปริวิตกแห่งจิต....นั่นเพราะพระสาวก เกิดปริวิตกในความคิดของใจ
    โดยที่ถามว่า สมัยที่เธอครองเรือน(เคยลุ่มหลงในจิตอวิชชา) พอมาบวชจนเข้าถึงใจได้ แต่พอมองย้อนไป เห็นตนเองในอดีต ได้ในจินตนาการ เลยสามารถเข้าถึง ความพอดี คือ ความพอดีของใจ....ไม่ไช่ความพอดีของจิต

    (จะอธิบายไปแบบนี้แหล่ะ เข้าใจหรือไม่ ก็เอาที่สบายใจแล้วกัน)
     
  11. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ว่าแต่... คุณ วรณ์นิ อธิบายให้ใครเข้าใจครับเนี่ย คล้าย ๆ ว่า มีคนไม่เข้าใจนะตามที่คุณ วรณ์นิพิมพ์ไว้แต่ละอัน พอมาดูก็ไม่เห็นมีใครเท่าไหร่นะ พอมาเห็นคำว่า (จะอธิบายไปแบบนี้แหล่ะ เข้าใจหรือไม่ก็เอาที่สบายใจแล้วกัน) ... ตกลงอธิบายให้ใครเข้าใจครับเนี่ย หรือว่าเป็นบทบาทเฉพาะตัว (^ ^) คนอื่นเห็นก็ลองอ่านดูนะถ้าไม่เชื่อ (^ ^)

    สำหรับผมนั้นไม่มีอะไรข้องใจหรอก เพราะชื่อกระทู้นั้น ผู้ตั้งกระทู้ก็บอกชัดอยู่ว่า "จิตของท่านผู้พ้นแล้ว" ... ("ไม่ใช่จิตของท่านผู้ไม่พ้น")
     
  12. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อธิบายให้จิตผู้ที่ยังไม่พ้น น่ะครับ ฟัง
    แล้วผมจะไปอธิบายให้กับจิตผู้ที่พ้นแล้ว ฟังไปทำไมกันครับ อิอิ

    ความสามารถ เฉพาะตนครับ.....ถ้าไม่อธิบาย จิตของผู้ที่ยังไม่พ้น ก็จะหยิบมาเป็นประเด็นอีก...อิอิ

    ผม ดัก ทาง ล่วงหน้าครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2016
  13. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31

    ขอให้ขยายความสั้น ๆ พอได้ใจความกับคำว่า "ธรรมมารมณ์" สักนิดได้มั้ยครับ หรือ ยกตัวอย่างก็ได้ เพราะน่าสนใจดี
     
  14. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ธรรม+อารมณ์=อารมณ์ของธรรม
    ธรรมแปลว่า ความจริง รวมกับอารมณ์ แปลว่า อารมณ์ตามจริง อะไรคืออารมณ์ตามจริง...ก็คืออารมณ์ตามที่ผัสสะรับรู้มาแล้วใจปรุงไปตามเหตุปัจจัยจริง

    ขอขยายความ คำว่า ปรุงตามเหตุปัจจัยที่ผัสสะมาจริง แล้วได้อารมณ์จริง เช่น สมมุติ มาม่าซองหนึ่ง(เหตปัจจัย) รูปนามเราได้มา (ผัสสะรับรู้มา)มาปรุงผัดได้ ผัดมาม่าจานนึง(ใจปรุงได้อารมณ์แซบๆมาจานนึง)..รูปนามกินจนหมดจาน(ใจรับรู้ธรรมมารมณ์นั้น)...เมื่อมาม่าหมดจานก็รู้ว่าหมด ว่าพอ ..เพราะมาม่าซองเดียว

    นี่คือ ธรรมารมณ์จริง ครับ ใจปรุงแล้วรับรู้ถึงเหตุปัจจัยและการหมดเหตุปัจจัยครับ

    ส่วนที่อยากกินอีก อยากได้มาม่าอีก สองสามซอง ยังไม่อิ่ม...นั่นมันจิตหวั่นไหวแล้วครับ หวั่นไหวเกินไปจาก ธรรมมารมณ์จริง...นี่มันเรื่องของจิตแล้ว


    นี่สั้นๆ นะครับ
     
  15. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ดังนั้นคำว่า ไม่หวั่นไหวไปกับธรรมารมณ์ ก็คือ ไม่เกิดอุปทานเกิน ที่ใจรับรู้มาจริงๆ นั่นเองครับ...แต่ก็รู้ตามจริง ว่า ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามเหตุปัจจัยที่รับผัสสะมา นั่นเอง
     
  16. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ขอบคุณในคำอธิบายนะครับ ถ้ามีท่านอีกอธิบายให้ชัดเพิ่มอีกก็ยินดีรับฟังนะครับ จะได้เห็นชัด ๆ ขึ้นไปอีก อย่าว่าลองภูมิ ผมไม่ได้ลองอะไรหรือไม่ไปดูถูกใคร ๆ ด้วย
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ดังนั้น ธรรมารมณ์....คือ อารมณ์ที่รับรู้ด้วยใจ...ไม่มีอวิชชาไม่มีวิญญาณ มาเจือปนด้วย

    ก็คงมีแต่ผู้พ้นแล้ว นั่นแหล่ะ ถึงเข้าใจ ธรรมมารมณ์...ได้จริงๆ
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    พูดประโยคนี้ จบ...ก็สะท้อนความเป็นจริง มาให้ตนเองรู้เลยครับ..ว่า

    แล้วผมทำไมต้อง มาเสียเวลา พูดกับคนที่ยัง ฟังไม่รู้เรื่อง...ด้วยนะ เฮ้อ เบื่อ..

    ไปละ..เซ็งเป็ดกับตัวเองจริงๆ
     
  19. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275
    "ธรรมมารมณ์" คือ อารมณ์ที่รับรู้ได้ด้วยใจ มีใจไปรับรู้ เรียกว่า ธรรมมารมณ์ หรือ จะเรียกว่า ธรรมธาตุหรือเจตสิก ก็ได้ แล้วแต่ใครจะบัญญัติให้มันเป็นอะไร
    อารมณ์ที่รับรู้ได้ด้วยใจมี นามธรรมทั้งปวง เช่น เวทนา สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์
    สัญญา ความจำได้หมายรู้ สังขารความปรุงแต่งนึกคิด อารมณ์ภายนอก รูปเสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ เมื่อมากระทบใจจึงเกิดการรับรู้ เป็นวิญญานขึ้นมา กระทบทางตา ก็เป็น วิญญานรับรู้ทางตา กระทบทางใจ ก็เป็นวิญญานรับรู้ทางใจ รวมกันแล้วกลายเป็น ผัสสะ ที่เป็นปัจจัยให้เกิดเป็น เวทนา สัญญา สังขาร ใหม่ การบอกว่าไม่มีวิญญานร่วมด้วยผู้นั้นยังหลงอยู่ เพราะธรรมดาสิ่งมีชีวิต ย่อมมีวิญญานทั้งสิ้น ดับกิเลส ตัณหา อุปทาน ให้คงเหลือเพียง รูปนามที่ชำระล้างแล้ว รูปนามก็ไม่เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภัยกับใคร สักแต่ว่าสิ่งๆหนึ่งเท่านั้น อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
    ถึงกาลถึงเวลาก็ดับสลายหายไป หาสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นตัวตนไม่มี เจริญในธรรมครับ :cool:
     
  20. wayokasin

    wayokasin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +277
    ไปถาม.....มาครับ.... ท่าน ว่า มันจะ ย้อน พิจารณา อนุโลม ปฏิโลม จนมันเแจ้ง ทุกอย่าง พร้อมกัน ตัวนอกรู้ ตัวใน รู้.....ได้ มา มัน ก็ไม่สุข ไม่ได้ มัน ก็ไม่ทุกข์ หัวใจมันก็ เต้น ตุบ ๆ ปกติ ไม่ยินดี ยินร้ายอะไร.... มันดีตรงนี้ ท่าน ว่าอย่างนี้ครับ

    ปล.แต่ผมยังเข้าไม่ ถึงตรงนั้นหรอก 555+ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...