จิตตะภาวนา (หลวงปู่พุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 19 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก่อนหน้านี้ เราเคยบอกว่า ไม่นานเดี๋ยวเขาก็มาชำแหละเราเองนั้นแหละ

    ถ้าตามอ่านดีๆ อะไรที่เกี่ยวกับดูจิตทั้งหมด เป็นของเก่าของเราทั้งหมด

    พูดเสมอ ไม่เกี่ยวดูจิตริมทะเล ไม่ได้ไปโจมดีใคร

    เราอาจปฏิบัติไม่ถึง เพราะเราดูจิตมาจากสติปัฏฐาน

    เราเอาตัวเราออกมาประจาน เราก้รู้

    เจตนาฆ่าตัวตายมา 3 วันแล้ว เราก็รู้

    เอาสภาวะธรรมที่เกิดกับเรามากล่าวทุกอรรถ

    เราย้อนถามสภาวะธรรมผู้อื่น กลับไม่ค่อยได้คำตอบ ไม่มั่นใจอะไร

    เงียบๆนิ่งๆ พูดน้อยๆ ใครคนคิดเยอะ ดุดีกว่าเยอะ ถูกไหม


    ลงให้คน ขอโทษคน หยุดให้คน รับฟังคน

    สี่อย่างนี้ไม่เคยมีในตัวนายหลงมาก่อน เราก็รู้


    สรุปได้อย่างนี้

    ระนาดคนละทาง นั่งฟังกันได้ แต่ให้ตีเหมือนกัน ย่อมเป็นไปไม่ได้


    เรื่องชีพจร จะว่าเพ่ง ตามดู ตามรู้อะไรก็ตาม

    ถามกลับว่า น้าเอกนั่งเฉย รู้สึกถึงหัวใจเต้นบ้างไหม

    แล้วการเข้าไปรู้ สติตามดู จะใช้นิยามว่า เพ่งหรือ


    รู้เราทางไหน เขาทางไหน ผลออกอย่างไร มาแนะกัน ถูกไหม
     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เป็นเช่นนั้น

    สงบในนิยามเรา เหมือนวางของหนัก
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ว๊า....หน้าแตกเรย อ่านของอาปราบ ไม่ถ้วน ในใจนึกถึงแต่พระจูฬปันถก
    ป.ปราบ ขอเรื่อง พระมหาปันถก นิ เรยขอแก้ตัวใหม่ ดีนะนี่ มาอ่านอีกรอบ ถึงเก็ทแมสเสจ
    อาปราบได้ถูก

    เอาบทนี้ที่ถูกต้องตามรีเควสท์ มามอบให้อ่านอีกรอบ เจ้าค่ะ
    34-พระมหาปันถกเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา

    พระมหาปันถก เป็นลูกชายของธิดาของธนเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ มีน้องชายอีกคน
    หนึ่ง ซึ่งพี่น้องทั้งสองคนนี้เดิมชื่อว่า “ปันถก” เหมือนกันแต่เพราะท่านเป็นคนพี่จึงได้นามว่า
    “มหาปันถก” ส่วนคนน้องได้นามว่า “จูฬปันถก” ทั้งสองพี่น้องถือว่าอยู่ในวรรณะจัณฑาล
    เพราะพ่อแม่ต่างวรรณะกันโดยพ่อเป็นวรรณศูทร ส่วนแม่เป็นวรรณแพศย์ ประวัติมีดังต่อไปนี้:-
    • ธิดาเศรษฐีหนีตามชายหนุ่ม
      มารดาของท่านนั้น เป็นธิดาของธนเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญเติบโตย่างเข้าสู่วัย
      สาว เป็นผู้มีความงามเป็นเลิศ บิดามารดาจึงห่วงและหวงเป็นนักหนา ได้ป้องกันรักษาให้อยู่บน
      ปราสาทชั้นสูงสุด มิให้คบหากับบุคคลภายนอก จึงเป็นหตุให้นางมีความใกล้ชิดกับคนรับใช้ ซึ่ง
      เป็นชายหนุ่มในเรือนของตนจนได้เสียเป็นสามีภรรยากัน ต่อมาทั้งสองกลัวว่าบิดามารดาและคน
      อื่นจะล่วงรู้การกระทำของตน จึงพากันหนีออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอื่นที่ไม่มีคนรู้จัก
      อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาจนภรรยาตั้งครรภ์
      เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ใกล้คลอด ได้ปรึกษากับสามีว่า “ถึงอย่างไร พ่อแม่ก็คงไม่ทำ
      อันตรายลูกของตนได้ ดังนั้น ขอให้ท่านช่วยพาดิฉันกลับไปคลอดที่บ้านเดิมด้วยเถิด การคลอด
      ในที่ห่างไกลพ่อแม่นั้นไม่ค่อยจะปลอดภัย”
      ฝ่ายสามีเกรงว่าบิดามารดาของภรรยาจะลงโทษจึงไม่กล้าพาไป และได้พยายามพูดบ่าย
      เบี่ยงผัดวันประกันพรุ่งออกไปเรื่อย ๆ จนภรรยาเห็นท่าไม่ได้การเมื่อสามีออกไปทำงานข้างนอก
      จึงหนีออกจากบ้าน เดินทางมุ่งหน้าสู่บ้างเกิดของตนเอง แต่ครรภ์ของนางได้รับการกระทบ
      กระเทือนจึงคลอดบุตรในระหว่างทางฝ่ายสามีกลับเข้าบ้านไม่พบภรรยา ถามได้ทราบความจาก
      คนใกล้เคียงแล้ว ออกติดตามโดยด่วน ได้มาพบภรรยาคลอดลูกอยู่ในระหว่างทาง และแม่ลูกทั้ง
      สองก็แข็งแรงปลอดภัยดี กิจที่จะไปคลอดลูกยังบ้านเกิดของตน นั้นก็เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงพากัน
      กลับสู่บ้านของตน และได้ตั้งชื่อกุมารนั้นว่า “ปันถก” เพราะว่าเกิดในระหว่างหนทาง
      ครั้นต่อมา นางได้ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สอง และเหตุการณ์ก็เป็นเหมือนครั้งแรก นางได้
      คลอดลูกระหว่างทางอีก และตั้งชื่อให้ว่า “ปันถก” เหมือนคนแรกแต่เพิ่มคำว่า มหา ให้คนพี่
      เรียกว่า “มหาปันถก” และเพิ่มคำว่า จูฬ ให้คนน้องเรียกว่า “จูฬปันนถก”
    • มาอยู่กับตายายจึงได้บวช
      สองสามีภรรยานั้นได้ช่วยกันเลี้ยงดูลูกทั้งสอง อยู่ครองรักกันมานาน จนกระทั่งลูกเจริญ
      เติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับเด็กเพื่อน ๆ กัน ได้ฟังเด็กคนอื่น ๆ เรียกญาติผู้ใหญ่ว่า ปู่ ย่า ตา ยาย
      เป็นต้น ส่วนของตนไม่มีคนเหล่านั้นให้เรียกเลย จึงซักไซ้ถามจากบิดามารดาอยู่บ่อย ๆ จนทราบ
      ว่าญาติผู้ใหญ่ของตนนั้นอยู่ที่เมืองราชคฤห์ จึงรบเร้าให้บิดามารดาไปพบท่านเหล่านั้น จนในที่
      สุดบิดามารดาอดทนต่อการรบเร้าไม่ไหว จึงตัดสินใจพาลูกทั้งสองไปพบ ตา ยาย ที่เมือง
      ราชคฤห์
      เมื่อเดินทางมาถึงเมืองราชคฤห์แล้ว ได้พักอยู่ที่ศาลาหน้าประตูเมืองไม่กล้าที่จะเข้าไปหา
      บิดามารดาในทันที เมื่อพบคนรู้จักจึงสั่งความให้ไปบอกแก่เศรษฐีว่า ขณะนี้ลูกสาวของท่านพาห
      ลานชายสองคนมาเยี่ยม ฝ่ายเศรษฐียังมีความแค้นเคืองอยู่ จึงบอกแก่คนที่มาส่งข่าวว่า “สองผัว
      เมียนั้น อย่ามาให้เห็นหน้าเลย ถ้าอยากได้ทรัพย์สินเงินทอง ก็จงเอาไปเลี้ยงชีพเถิด แต่ขอให้ส่ง
      หลานชายทั้งสองคนมาให้ก็แล้วกัน”
      สองสามีภรรยานั้น รับทรัพย์สินเงินทองไปเลี้ยงชีวิตแล้วส่งลูกชายทั้งสองคนให้มาอยู่
      กับเศรษฐีผู้เป็นตา ฝ่ายเศรษฐีก็เลี้ยงดูหลาน ๆ ด้วยความรักใคร่ พาไปฟังพระธรรมเทศนาจาก
      พระบรมศาสดาที่วัดเวฬุวันเป็นประจำ แต่ถึงอย่างไร หลานทั้งสองก็สร้างความลำบากใจแก่
      เศรษฐีผู้เป็นตาอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อมีคนถามว่า “หลานชายทั้งสองคนนี้เป็นบุตรของลูกสาวคน
      ไหนของท่าน” ก็รู้สึกละอายที่จะตอบ “เป็นบุตรของลูกสาวคนที่หนีตามชายหนุ่มไป”
      ดังนั้น เมื่อต่อมา มหาปันถก หลานคนโตเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กล่าว
      ขออนุญาตเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร คุณตาผู้เศรษฐีจึงรีบอนุญาตด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง พา
      ไปบวชเป็นสามเณร ท่านเป็นสามเณรจนอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระ
      พุทธศาสนา ท่านพยายามบำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้น
      อาสวกิเลสทั้งปวง
    • ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ
      พระมหาปันถก เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ช่วยกิจการพระศาสนาเป็นกำลัง
      ช่วยงานพระบรมศาสดา ตามกำลังความสามารถ พระบรมศาสดา ได้ทรงมอบหมายให้ท่านรับ
      หน้าที่ “ภัตตุทเทศก์” ผู้แจกจ่ายภัตตาหารและกิจนิมนต์ ตามบ้านทายกทายิกา และอุบาสก
      อุบาสิกาทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ได้รับลาภสักการะโดยทั่วถึงกัน ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วย
      ความเรียบร้อยยุติธรรม จนเป็นที่พอใจของบรรดาเพื่อนสหธรรมิก และทายกทายิกาอุบาสก
      อุบาสิกาทั้งหลาย ท่านได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงแล้ว ท่านได้ระลึกถึง
      น้องชายของท่าน ต้องการที่จะให้น้องชายได้รับความสุขเช่นเดียวกับตนบ้าง จึงไปขออนุญาต
      จากคุณตาแล้วพาจูฬปันถก ผู้เป็นน้องชายมาบวชเป็นศาสนทายาทอีกคนหนึ่ง
      พระมหาปันถก เป็นผู้มีความชำนาญในการเจริญวิปัสสนา จึงได้รับยกย่องจากพระ
      บรมศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้เจริญวิปัสสนา
      ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
    <! story ********************************><! bottom **************************>84000.org...::

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ต้องเรียกว่า เพ่ง มีอยู่

    ทั้งนี้เพราะ สภาพธรรมใดที่ยังไม่เห็นด้วยไตรลักษณ์ญาณ จิตจะไปพิจารณาอยู่ที่สิ่งนั้น
    [ หากเป็น สภาะธรรมที่บัญญัติไม่ถูก แต่จิตมันก็พิจารณาอยู่ที่สิ่งนั้น ก็เรียกว่า มัน
    พิจารณาโดยความเป็นวิสังขาร แต่ตรงนี้ จะใช้คำว่า ติด หมายถึงพิจารณาอยู่
    ส่วน คำว่าติดที่เป็น ติดเสพ ติดทำ ติดเพลิน ใช้ย่อๆว่า ติด เหมือนกัน -- งง กับ
    ภาษาไหมนี่ ]

    แต่ เพ่งนี้จะเรียกว่า ติด ก็ต่อเมื่อ ออกมาแล้วปรากฏความคับแค้น ความกระวน
    กระวาย ความถามหาทางไปยังไงต่อ ตรงนี้แปลว่า เมื่อตะกี้ ติดเพ่ง (มันจะมีอามิส
    คือ ปิติสุข ตัวลอยๆก็มี ตัวล๊อคๆก็มี หากติดมากจนเป็นตัณหาก็ จะแน่นๆ) กิเลส
    มีอยู่แต่นิ่งอยู่ อันนี้ไม่ใช่ทาง

    แต่หากว่า เพ่งนี้ ขณะที่เห็นจิตเพ่ง ก็รู้ว่าเพ่งอยู่ เรียกว่าจิตไม่ติดเพ่งก้าวข้ามละวิตกไป
    ได้แล้วแลอยู่ พอออกจากสมาธิแล้วไม่มีอะไรเป็นอามิสติดข้างเลย จบแล้วจบเลย
    แบบนี้ ไม่มีความคับแค้น กิเลสผ่านมาผ่านไป ใจไม่จับ ไม่ยึด ร่อนออกไป
    ทีละนิด เห็นความจางคลายของมานะโดยไม่ต้องการสร้างการเข้ากระทบ
    หรือ ไม่เผลอเพลิน(ไม่เห็นว่ากามกิเลสเป็นสุข) อันนี้ควรเป็นทาง

    * * * * *

    อย่าไปตกใจ หรือเห็นว่า มีการปรักปรำว่า "มีการโจมตีใคร"

    เราอาศัย "ความหวาดกลัวว่าจะได้ชื่อว่าเป็นพวกนั้น" พวกนี้ ทีมีอยู่
    นั้นมาตี ซึ่งความหวาดกลัวว่าจะได้ชื่อว่าเป็นพวก นั้นคงไม่ใช่
    "อาหลงคนดี" อยู่แล้ว

    ถ้าเจ้า "ความหวาดกลัวนั้นฯ" มันสะเทือน อย่าให้มัน ยืมปาก ยืมมือ
    เพื่อการสานต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    โมทนาคับอาเค

    มีแบบขยายโดยพิศดารกว่านี้อีกไหม เรื่องพระมหาปันถก

    ผมไม่มีความสามารถ หาในอินเตอร์เน็ตได้

    เคยอ่าน แต่เป็นเรื่องที่ขยายโดยพิศดาร

    คำว่าพิศดาร ที่นำมาใช้ในทางนี้ ก็คือ การ อธิบาย ขยายข้อความ ให้มีความละเอียดขึ้น
    เพื่อให้ผู้อ่าน มีความเข้าใจมากขึ้นในเนื้อความ

    ก็คือ เรื่องจะยาวมากกว่านี้ แต่หม๊ดปัญญาหา [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    เอาแบบพิศดารหรอ บทความนี้ พอจะเรียกว่าพิศดารมากขึ้นได้ไหม
    เรียกว่ามีเนื้อความมากขึ้น น่ะ ขยายเนื้อหามากขึ้น

    พระมหาปันถกเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา


    พระเถระรูปนี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ไว้เป็นอันมาก และการที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นเอตทัคคะเช่นนั้น ด้วยเหตุ ๒ ประการคือ เหตุที่ท่านมีคุณอันยิ่งกว่าเหล่าภิกษุทั้งหลายในเรื่องดังกล่าว นอกจากนั้นยังเนื่องมาจากการที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัปอีกด้วย ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้


    ๐ บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ก็ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ มีกุฎมพี ๒ พี่น้อง เป็นชาวเมืองหงสวดี เลื่อมใสในพระศาสดาไปฟังธรรมในสำนักพระศาสดาเป็นนิตย์ วันหนึ่งกำลังฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดากำลังตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในที่สุด ๗ วันแต่วันนี้ไปพระองค์ทรงแต่งตั้งภิกษุใดไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางสัญญา ในศาสนาของเราดังนี้ ขอด้วยพลังแห่งกุศลธรรมที่สั่งสมไว้นี้ แม้ข้าพระองค์ก็พึงเป็นผู้เลิศในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล เหมือนภิกษุนั้นเถิด

    พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตก็ทรงเห็นว่า ความปรารถนาท่านจะสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จักทรงอุบัติขึ้น พระองค์จักสถาปนาเธอไว้ในฐานะนั้นดังนี้ ทรงกระทำอนุโมทนา แล้วเสด็จกลับไป

    แม้น้องชายของท่านในวันหนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา ภิกษุผู้ฉลาดด้วยองค์ ๒ ได้แก่การนิรมิตร่างกายที่สำเร็จด้วยใจ และความเป็นผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะก็กระทำบุญกุศลเหมือนอย่างนั้น กระทำความปรารถนาที่จะเป็นเช่นภิกษุนั้น พระ ศาสดาก็ทรงพยากรณ์ท่านเช่นเดียวกัน แล้วทั้ง ๒ พี่น้องนั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้กระทำการะบูชาด้วยทองที่พระเจดีย์ที่บรรจุพระสรีระ


    ๐ กำเนิดเป็นมหาปันถกในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

    ได้ยินว่า ธิดาของธนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ กระทำการลักลอบได้เสียกับทาสของตนเอง แล้วก็กลัวว่าเรื่องจะปิดเอาไว้ไม่อยู่ก็จะเป็นอันตรายแก่ตนและสามี จึงได้คิดที่จะไปยังถิ่นที่ไม่มีคนรู้จัก จึงได้รวบรวมเอาแต่ของที่สำคัญๆ แล้วก็หนีออกไปจากเมืองนั้น ต่อมานางก็เกิดตั้งครรภ์ ครั้นเมื่อครรภ์แก่จัด นางจึงปรารถนาจะกลับไปคลอดยังตระกูลของตน แต่เมื่อครั้นนางปรึกษากับสามี สามีก็ผัดผ่อนเรื่อยมา จนกระทั่งครรภ์แก่จัด นางจึงตัดสินใจออกจากเรือนของตนเดินทางไปยังตระกูลของนาง แล้วได้สั่งความไว้กับเพื่อนบ้านว่าให้บอกสามีว่าตนจะไปคลอดยังตระกูลของนาง

    ครั้นเมื่อสามีของนางเดินทางกลับมาถึงบ้านก็ทราบว่านางเดินทางไปยังตระกูลตนก็ได้ติดตามไป และไปทันกันในระหว่างทาง และนางก็ได้คลอดบุตรในระหว่างทางนั้นเอง ทั้งสองจึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับด้วยเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะกลับไปยังตระกูลของนางผู้เป็นภรรยาเนื่องจากนางก็ได้คลอดเสียแล้ว สองสามีภรรยาตั้งชื่อ บุตรว่า ปันถกะ เพราะทารกนั้นเกิดในระหว่างทาง ต่อมาอีกไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์บุตรอีกคนหนึ่ง เรื่องก็เป็นอย่างเดิมอีก คือบุตรคนที่สองก็ได้เกิดระหว่างทางเช่นเดียวกัน เขาจึงตั้งชื่อบุตรที่เกิดก่อนว่า มหาปันถก บุตรที่เกิด ที่หลังว่า จุลปันถก


    ๐ มารดาส่งบุตรทั้งสองไปอยู่กับตา

    เมื่อชนเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เด็กมหาปันถกะได้ยินเด็กอื่นๆ เรียก อา ลุง ปู่ ย่า จึงถามว่ามารดาว่า แม่จ๋า เด็กอื่นๆ เรียกปู่ เรียกย่า ก็ญาติของพวกเราในที่นี้ไม่มีบ้างหรือ นางตอบว่า จริงสิ ลูก ญาติของเราในที่นี้ไม่มีดอก แต่ในกรุงราชคฤห์ ตาของเจ้าชื่อธนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นมีญาติของเจ้าเป็นอันมาก เด็กก็ถามว่า เพราะเหตุไรเราจึง ไม่ไปกันในกรุงราชคฤห์นั้นละแม่

    นางผู้เป็นแม่ก็มิได้เล่าเรื่องสาเหตุที่ตนต้องออกมาอยู่ที่นี้มาแก่บุตร แต่ครั้นเมื่อบุตรพูดบ่อยๆ เข้านางจึงบอกสามีว่า เด็กๆ เหล่านี้รบเร้าเหลือ เกิน ถ้าเรากลับไปแล้วพ่อแม่ของเราเห็นแล้วจักกินเนื้อเราหรือ มาเถอะ เราจะพาเด็กๆ ไปรู้จักสกุลตายาย แต่สามีนางกล่าวว่า ฉันพาเธอและลูกๆ ไปยังตระกูลเธอได้ แต่ฉันไม่อาจอยู่สู้หน้ากับบิดา มารดาของเธอได้

    นางผู้เป็นภรรยาจึงกล่าวว่า ดีละนาย เราควรให้เด็กๆ เห็นตระกูลตา ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงควร ทั้งสองคนจึงพาทารกไปจนถึงกรุงราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วได้พักที่ศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูนคร มารดาเด็กจึงได้ส่งข่าวไปบอกแก่มารดาบิดาว่า ตนได้พาบุตร ๒ คนมา อันว่าสัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ ในสงสารวัฎ ชื่อว่าจะไม่เป็นบุตรจะไม่เป็นธิดากันไม่มี มารดาบิดาของนางเมื่อได้ฟังข่าวนั้นแล้วก็ส่งคำตอบไปว่า คนทั้งสองมีความผิดต่อตระกูลมาก ทั้ง ๒ คนไม่อาจอยู่ในตระกูลได้ จงเอาทรัพย์เท่านี้ไปและจงไปอยู่ยังสถานที่ที่เหมาะสมเถิด แต่จงส่งเด็กๆ มาให้เรา ธิดาเศรษฐีรับเอาทรัพย์ที่มารดาบิดาส่งไป แล้วมอบเด็กทั้ง ๒ ไว้ในมือคนที่มาส่งข่าวแล้วนั้น ตั้งแต่นั้นมาเด็กทั้ง ๒ นั้นเติบ โตอยู่ในตระกูลของตา


    ๐ มหาปันถกออกบวช

    ในเด็กทั้งสองคนนั้น จุลปันถก ยังเป็นเด็กเล็กนัก ส่วนมหาปันถกไปฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากับคุณตา เมื่อเขาฟังธรรมต่อพระพักตร์พระศาสดาอยู่เป็นประจำ จิตก็น้อมไปในบรรพชา เกิดศรัทธา ฟังธรรมแล้ว เพราะค่าที่ตนสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เป็นผู้มีความประสงค์จะบรรพชา เขาจึงพูดกับตาว่า ถ้าตาอนุญาต หลานจะออกบวช ตากล่าวว่า พูดอะไรพ่อ การบรรพชาของเจ้าเป็นความเจริญทั้งแก่เราแลทั้งแก่โลกทั้งสิ้น เจ้าจงบวชเถิดพ่อ

    ดังนี้แล้วก็พากันไปยังสำนักพระศาสดา ท่านตานั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระศาสดาแล้ว พระศาสดาจึงตรัสมอบภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระบอกตจปัญจกกัมมัฎฐานแก่ทารกนั้นแล้ว เมื่อเขาบรรพชาแล้ว เล่าเรียนพระพุทธพจน์ได้เป็นจำนวนมาก พอมีอายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ทำมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยพิเศษ เป็นผู้ได้อรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน ๔ นั้นแล้ว ก็พยายามยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต


    ๐ พระมหาปันถกเถระบวชน้องชาย

    ท่านพระมหาปันถกเถระยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ความสุขในมรรค ความสุข ในนิพพาน จึงคิดว่า เราอาจให้ความสุขชนิดนี้แก่จุลปันถกะได้ไหมหนอ แต่นั้นจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตา กล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมาจะให้จุลปันถกะบวช เศรษฐีกล่าวว่า จงให้บวชเถิดท่าน ขณะนั้นจุลปันถกมีอายุได้ ๑๘ ปี พระเถระให้จุลปันถกะบวชแล้วให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ สามเณรจุลปันถกะ ด้วยความเป็นคนเขลา ซึ่งเป็นบุรพกรรมเมื่อครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจุลลปันถกบวชอยู่ แล้วได้ทำการหัวเราะเยาะภิกษุผู้เขลารูปหนึ่ง ในเวลาที่ภิกษุรูปนั้นเรียนอุเทศ ภิกษุนั้นละอาย เพราะการเย้ยหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย เมื่อพระเถระผู้พี่ชายให้เรียนคาถาบทหนึ่งบทเดียวว่า

    เชิญท่านดูพระอังคีรส ผู้รุ่งเรืองอยู่
    ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ในอากาศ
    เหมือนดอกปทุมวิเศษชื่อโกกนุทะ
    มีกลิ่นหอมบานอยู่แต่เช้าไม่ปราศจากกลิ่นฉะนั้น


    เป็นเวลา ๔ เดือนก็ไม่สามารถท่องจำได้


    ๐ พระมหาปันถกเถระขับไล่น้องชาย

    ท่านพยายามเรียนคาถานี้อย่างเดียวเวลาก็ล่วงไปถึง ๔ เดือน คราวนั้น พระมหาปันถกะกล่าวกะท่านว่า ปันถกะเธอเป็นคนอาภัพ ในศาสนานี้ เธอจำคาถาแม้บทเดียวก็ไม่ได้เป็นเวลาถึง ๔ เดือน เธอจะทำกิจของบรรพชิตให้สำเร็จได้อย่างไร เธอจงออกไปจากวิหารนี้เสีย แล้วท่านพระเถระก็ปิดประตู ท่านถูกพระเถระขับไล่จึงไปยืนร้องไห้อยู่ ณ ท้ายพระวิหาร เพราะไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ และเพราะความรักในพระพุทธศาสนา

    ความที่ท่านพระเถระขับไล่สามเณรจุลปันถกนั้น ต่อมาภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระมหาปันถกะได้กระทำเช่นนี้ ชะรอยความโกรธนั้นย่อมเกิดมีขึ้นแม้แก่พระขีณาสพทั้งหลาย”

    พระศาสดาทรงทราบเรื่องที่ภิกษุพูดกันจึงเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องที่ตนพูดกันอยู่ จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย แต่บุตรของเราทำกรรมนั้นเพราะความที่ตนเป็นผู้มุ่งอรรถเป็นเบื้องหน้า และเพราะเป็นผู้มุ่งธรรมเป็นเบื้องหน้า”


    ๐ พระพุทธเจ้าโปรดจุลปันถกะ

    สมัยนั้น พระศาสดา ทรงเข้าอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับ อยู่ในชีวกัมพวันสวนมะม่วงของหมอชีวก ในคราวนั้น พระมหาปันถกได้เป็นพระภัตตุเทสก์ผู้แจกภัต หมอชีวกโกมารภัจถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปอัมพวันของตน บูชาพระศาสดา ครั้นเมื่อฟังธรรมแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้วเข้าไปหาพระมหาปันถกถามว่า ท่านผู้เจริญ ในสำนักของพระศาสดา มีภิกษุเท่าไร ? พระ มหาปันถกกล่าวว่า มีภิกษุ ประมาณ ๕๐๐ รูป หมอชีวกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ท่านจงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไปรับภิกษาใน นิเวศน์ของผม พระเถระกล่าวว่า พระจุลลปันถกเป็นผู้เขลา มีธรรมไม่งอกงาม อาตมภาพจะนิมนต์เพื่อภิกษุที่เหลือ ยกเว้นพระจุลลปันถกนั้น

    พระจุลปันถกะได้ฟัง คำนั้นก็โทมนัสเหลือประมาณ พระศาสดาทรงเห็นพระจุลลปัณถกะ ร้องไห้อยู่ ทรงดำริว่า จุลปันถกะเมื่อเราไปจักบรรลุอรหัต จึงเสด็จไปแสดงพระองค์ในที่ที่ไม่ไกลแล้วตรัสว่า ปันถกะ เธอร้องไห้ ทำไม

    พระจุลลปันถกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระพี่ชายฉุดคร่าข้าพระองค์ออก ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์จะไปด้วยคิดว่าจัก เป็นคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสว่า จุลลปันถกะ การบรรพชาของเธอชื่อว่ามีในสำนักของเรา เธอถูกพระพี่ชายฉุดคร่าออกไป เพราะเหตุไรจึงไม่มายังสำนัก ของเรา มาเถิด เธอจะได้ประโยชน์อะไรกับความเป็นคฤหัสถ์ เธอจงอยู่ในสำนักของเรา แล้วทรงพาพระจุลลปันถกะไป ให้พระจุลลปันถกะนั้นนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ตรัสว่า จุลลปันถกะ เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก จงอยู่ในที่นี้แหละ ลูบคลำผ้าท่อนเก่าไปว่า รโชหรณํ รโชกรณํ ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป แล้วทรงประทานผ้าเก่าอันบริสุทธิ์ซึ่งทรงเนรมิตขึ้นด้วยฤทธิ์


    ๐ จุลปันถกะสำเร็จพระอรหัต

    ท่านนั่งเอามือคลำผ้าท่อนเล็กที่พระศาสดาประทานนั้น ภาวนาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ เมื่อท่านลูบคลำอยู่ เช่นนั้น ผ้าผืนนั้นก็เศร้าหมอง เมื่อท่านลูบคลำอยู่บ่อยๆ ก็กลายเป็นเหมือนผ้าเช็ดหม้อข้าว ท่านอาศัยความแก่กล้าแห่งญาณ เริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในผ้านั้น คิดว่า ผ้านี้โดยปกติสะอาดบริสุทธิ์ เพราะอาศัยอุปาทินนกสรีระ จึงเศร้าหมอง แม้จิตนี้ก็มีคติเป็นอย่างนี้เหมือนกัน

    พระศาสดาทรงทราบว่า จิตของจุลลปันถกะขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว จึงตรัสว่า จุลลปันถกะ เธออย่ากระทำ ความสำคัญว่า ท่อนผ้าเก่านั่นเท่านั้นเป็นของเศร้าหมองย้อมด้วยฝุ่นธุลี แต่ ธุลีคือราคะเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ในภายใน เธอจงนำธุลีคือราคะเป็นต้นนั้นไปเสีย แล้วทรงเปล่งโอภาสเป็นผู้มีพระรูปโฉมปรากฏเหมือนประทับนั่งอยู่เบื้องหน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

    ราคะเรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่าธุลี คำว่า ธุลีเป็นชื่อของราคะ
    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี
    โทสะ เรียกว่าธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ
    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี
    โมหะ เรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ
    ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้วย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี


    ในเวลาจบคาถา พระจุลปันถกะบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

    ได้ยินว่า ในอดีตชาติกาลก่อน พระจุลลปันถกะนั้นเป็นพระราชา กำลังทำประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโทไหลออกจากพระนลาต จึงเอาผ้าขาวบริสุทธิ์เช็ดพระนลาต ผ้านั้นได้เศร้าหมองไป พระราชานั้นทรงได้อนิจจสัญญา ความหมายว่าไม่เที่ยง ว่าผ้าอันบริสุทธิ์เช่นนี้ เกิดเศร้าหมองก็เพราะร่างกายนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ด้วยเหตุนั้น ผ้าที่เป็นเครื่องนำธุลีออกไปจึงเป็นปัจจัยวิปัสสนาแก่พระจุลลปันถกะนั้น


    ๐ ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

    ต่อมา พระศาสดาประทับนั่งเหนือธรรมาสน์ ทรงสถาปนาพระมหาปันถกเถระไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ และทรงสถาปนาพระจุลปันถกเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะผู้เนรมิตกายมโนมัยได้

    บรรดาทั้งสองรูปนั้น พระจุลปันถกเถระท่าน กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ เพราะได้รูปาวจรฌาน ๔ พระมหาปันถกเถระท่านกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ

    พระมหาปันถกะ ชื่อว่า ผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในวิปัสสนา

    อนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะแห่งวิปัสสนา

    อนึ่ง รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่งลงสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่งลงสู่วิปัสสนา

    อีกนัยหนึ่ง ใน ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในการย่อองค์ รูปหนึ่งฉลาดในการย่ออารมณ์

    อีกนัยหนึ่ง องค์หนึ่งฉลาดในการ กำหนดองค์ องค์หนึ่งฉลาดในการกำหนดอารมณ์

    อีกอย่างหนึ่ง พระจุลปันถกเถระ เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ พระมหาปัณถกะเป็นผู้ได้อรูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    Home Main Page

    เครดิต ::
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    โมทนาอาเค ก็ถือว่า พิศดารเพิ่มอีก แต่เคยอ่านมา พิศดารกว่านี้อีก

    เรียกได้ ว่า ยาวเหยียดกว่านี้อีก หายากเหมือนกัน ในอินเตอร์เน็ตนี่เน๊าะ
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    หัดขี่จักรยาน เรื่องการทรงตัว อธิบายอย่างไรก็ทำได้ยาก

    ต้องรู้ได้เฉพาะตน ถูกไหม

    เราไม่ใช้คำว่าเพ่ง ด้วย 2 ประการ

    1 ท่านว่า เพ่งออกมาจะคับแค้น กระวนกระวาย

    ความคับแค้น กระวน กระวาย ไม่เกิดกับการตามรู้ ไม่เกิดกับเรา

    2 เพ่งในความหมายเรา คือสติเข้าไปแช่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

    ความเป็นจริง รู้เกิดดับในปัจจุบันขณะ เป็นการรู้ปัจจุบัน จะเรียกว่าตามรู้ก็ได้

    ยกตัวอย่าง ให้รู้ชีพจร หัวใจ ท่านคิดว่าเพ่งอยู่อีกหรือ

    สติระลึกรู้ เกิดดับของหัวใจ ตามรู้ลงไปที่เกิดดับชีพจร ตลอดเวลา

    ปัญญาเห็นธรรมชาติ บังคับไม่ได้ เป็นไปได้ไหม

    ในขันธ์ ๕ นี้ ไม่ต่างกันเลย




    อีกข้อหนึ่ง

    เราไม่ได้ตกใจ เห้นว่าถุกปรักปรำอะไร

    ช่วงหลังที่เราเข้ามา เพราะมานะมาก อยากคุยธรรม

    ต่อมา รู้ตัว จึงสำรอกของที่ทำได้ยากในใจเราออกมาเสีย

    ไม่ต่างกับการฆ่าตัวตาย ปัญญาจึงเกิดกับเราล้วนๆมิใช่เกิดจากผู้ใด



    อีกข้อหนึ่ง

    เราไม่ใช่อริของผู้อยู่ตรงข้ามดูจิต และ เราไม่ใช่อริของผู้ดูจิต
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    เอาใหม่

    เราใช้คำว่า ติดเพ่ง(ที่ไม่ใช่ทาง) ด้วยเหตุประการเดียวคือ

    การมีความคับแค้นปรากฏ การมีความลังเลปรากฏ พูดง่ายๆคือ
    ทำกรรมฐานแทบตาย กลับออกมาแล้ว ถอนออกมาแล้ว นิวรณ์เบ่งบาน

    กล่าวคือ จะอาศัยการปรากฏของ วิบาก เป็นสิ่งที่พิจารณา
    (ภาษาดูจิตคือ เผลอแล้วรู้ )

    จะเห็นว่า การใช้คำว่า ติดเพ่ง ตรงนี้ไม่ได้ใช้ชี้ปัจจุบันขณะ
    แต่จะชี้ให้เห็น ตอนที่ถอนจากการเห็นปัจจุบันขณะ หรือถอน
    จากการพิจารณาที่ปรมัตถ์ หากมีกิเลสนิวรณ์เบ่งบานขึ้นมา ย่อม
    ต้องย้อนไปเรียก การกระทำ(เหตุ)ก่อนหน้า ตะกี้ติดเพ่ง

    แต่....หากปัจจุบันขณะนั้น แม้จะเพ่งอยู่ ติดเพ่งอยู่ แต่ก็รู้ว่ากำลัง
    ติดเพ่งอยู่ ทั้งๆที่ ปัจจุบันขณะทำผิดอยู่ รู้ทั้งรู้ แต่ละไม่ได้ แล้ว
    แลเห็นพฤติจิตที่อยู่ ตรงนี้ จะไม่เรียกว่า ติดเพ่ง แล้ว เพราะธรรม
    ที่ไปแลเห็นนั้น ไม่ใช่เรื่องการติดเพ่งหรือไม่ติดเพ่ง มันจะเห็นสิ่งที่
    สว่างกว่านั้น

    * * * *

    การรู้ชีพจร หรือ การสั่นไหวกลางอก จะแผ่วเบาเป็นจุดเล็กๆ หรือ แผ่วๆเลื่อนๆ
    ไปตามกาย หรือ เห็นความกระเพื่มอตรงนู้นที ตรงนี้ที ตรงหูที ตรงตาที หาก
    วิ่งไปพร้อมกับการกระเพื่อม วิ่งไปพร้อมกับการเห็น ก็เรียกว่า ติดเพ่ง ติดรู้
    ไม่ใช่การตั้งมั่นที่รู้ เพราะเห็นขันธ์5ก็จริง เห็นไตรลักษณ์ก็จริง แต่มันไม่พราก
    ออกมาตั้งมั่น มันถลำไปด้วย

    แต่ถามว่า ห้ามถลำได้ไหม มันทำไม่ได้
    ทำให้มันตั้งมั่นได้ไหม มันทำไม่ได้ [ ถ้าเห็นว่าทำได้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ]

    ก็เหมือนว่า ต้องอาศัยคิด(บริกรรม) เข้ามาช่วย

    แต่จริงๆ การบริกรรมมีอยู่แล้วโดยวิสังขาร(บริกรรมโดยไม่อาศัยบัญญัติ)

    ดังนั้น อยากให้เปลี่ยนการนิยามที่ว่า

    "เพ่งในความหมายเรา คือสติเข้าไปแช่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง"

    เป็น

    "การบริกรรมโดยวิสังขาร หรือเห็นที่ปรมัตถ์เป็นอนิจจัง อนัตตา
    นั้นนั่นแหละ คือ เพ่ง"

    พอยกมาตรงนี้ ก็จะพิจารณาการปล่อย

    พอจะปล่อย มันจะถาม กรรมฐานอยู่ไหน ก็ต้องสาระวนอยู่กับ การติดดี อยากทำ
    อยากเพ่ง ติดเพ่ง กลัวจะไม่ได้ทำ กลัวจะไม่ได้ทำกรรมฐาน ไปอีกสักพัก ก็จะร้อง
    อ๋อ ปัดติโถ่เอ้ย

    "มันบริกรรมของมันอยู่แล้ว ไม่เคยว่างเว้นเลยต่างหาก"

    พอมาถึงตรงนี้ได้ ก็จะรู้ว่า "ภูมิจิตปรกติ ก็มีการเดินกรรมฐานอยู่แล้ว" เพียงแต่ขาด
    การเห็น ขาดการอบรมเข้ามาเห็น ส่วนคนที่ไม่เคยสดับ ไม่เคยอบรม สิ่งเหล่านี้ก็
    ถือว่า หายไปเลย ไม่มี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สรุปแล้วนะ เราจะเอาของเก่ามาคุยนะ แยกกาลก่อน

    ที่น้าเอกยกมา เป็นการรู้รูป รู้เวทนา 2 อย่างนี้เป็นการรู้ธรรมชาติปรมัตถ์

    เข้าไปรู้ ทวนขึ้นมาถึงจิต เพราะทุกอย่างใจรับ

    ใครจะดูจน กายดับ เวทนาดับ จนเหลือจิตรู้ก็ได้

    ปัญญามันเห็น กาย เวทนาไม่ใช่เรา เห็นตรงกันไหม

    แต่การเข้าไปรู้ธรรมชาติ เกิดดับ เวทนา เป็นการเข้าไปเห็นจริง

    ต่อมา สติทวนมาที่ใจรับ ปัญญาจะเห็นความเร่าร้อนที่ใจรับ อันหาสาระไม่ได้

    อาศัย บริกรรม คิดอะไร ไม่มีแล้ว ให้รู้สึกเอง เห็นไปตามนั้นเอง


    จะตายอยู่แล้ว ต้องมานั่งถามใครยิงศร คนยิงศรหน้าตาอย่างไรอีกหรือ
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    รู้ชีพจร จะไปรู้มันทำไม

    ให้รู้กายสิ กายเคลื่อนอย่างไร ตามไป แล้วต้องทันเวลามันแว็บออก ระลึกให้ได้ แล้วบังคับ ไม่ให้มันเคลื่อนออก จนมันแนบไปกับ คำบริกรรม หรือ กายานุปัสสนา หรือ ลมหายใจก็ได้

    นี่คือ การกำจัดนิวรณ์

    ไม่ใช่ จิตส่งออกนอก จนจะหมดแรงอยู่แล้ว ถ้าเปรียบกับนักมวย ก็หน้าตาแตก ตาบวม ลุกแทบไม่ขึ้น ยังจะบอกว่า ผมชนะ แถมยังจะไปคุยอีกว่า ผมรู้แล้ว เท่านั้นไม่ว่า ยังจะไปสอนคนอื่นอีก นี่ชกแบบผมสิ หน้าตาแหกปล่อยให้เขาชกจนช้ำ นี่แหละดี

    กิเลสมันถลุงซ้ายขวา หน้าหลัง หลงเข้ามาบอกว่า ดูเฉยๆ ไม่ต้องหลบ ไม่ต้องกัน ดูเฉยๆ
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    สองหนึ่งสอง สองสองสี่ สองสามหก สองสี่แปด
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    พูดตรงๆ เลยแล้วกัน

    สภาวะที่ นายหลงเข้ามา กำลังเป็นอยู่คือ ถูก นิวรณ์ ตีกระหน่ำ

    นี่ถ้าพักยก แล้ว ให้ผม เป็น เทรนเนอร์ นะจะไม่แพ้

    แต่ถ้า ไปชกเอง ไม่ฟังเทรนเนอร์ ก็แพ้อย่างเดียว

    เพราะกระดูกมวย ยังสู้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้

    เมื่อเรามี นิวรณ์ ก็ต้องดับนิวรณ์ก่อน แล้วค่อยมาคุย ว่า ปัญญาของเราอยู่ระดับไหน

    ยังดับนิวรณ์ไม่ได้ พูดไปก็เท่านั้น
     
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอานะท่านขันธ์

    กระผมไปอาบน้ำมนต์ ชำระทิฎฐิมาเรียบร้อยแล้ว

    สะเดาะห์เคราะห์ ด้วยวาจาเรียบร้อยแล้ว

    ส่องกระจก ด้วยรับฟังติเตียนผู้อื่นเรียบร้อยแล้ว

    ใจเป็นอย่างไร รู้อยู่เรียบร้อยแล้ว

    ของที่เราเคยกระแทกอัตตาใครไว้ บัดนี้เราปราวนารับไว้เรียบร้อยแล้ว


    ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติ ท่านก็มีทางเฉพาะตน แต่ธรรมออกมาเหมือนกัน

    วันนี้เรา ยังปวดคออยู่ คุยได้เท่าที่คุย แต่ถ้าวลเรื่องเดิมๆ เอาอดีตมาคุย

    คงขอละไว้ก่อน
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    คำว่า "รู้ชีพจร" เป็น เพียงการสมมติคำขึ้นมาใช้ เพื่อเรียก สภาวะธรรมบางอย่าง
    ที่เกิดจากจิตพิจารณา"สิ่งหนึ่ง สิ่งใด" อยู่ ไม่ได้หมายถึงไปรู้ จังหวะการสูบชีดของ
    เลือด แต่เนื่องจากบางครั้งมันไปสำคัญเอาการสูบฉีดของเลือดขึ้นมารู้แทนสภาวะธรรมนั้นๆ
    ทำให้ จิตอาศัยจุดนั้นเป็น ชื่อเรียกแทน

    โดยปริยัติ เรียกว่า เห็น ตัณหา การเสียดแทงของตัณหา
    โดยอุปมา เรียกว่า เห็นศรปักอก

    * * *

    ในกรณี ศรปักอก จริงๆ ให้พิจารณา "ลูกศรที่มันปักคาอก ทำลายไม่ได้"
    จริงๆแล้ว มันต้องทำลายศรไหม หรือ ว่า ศรนั้นทำลายได้จริงไหม
    อุปมาตรงนี้ไปเหมือนกับ.....ที่มันทำลายไม่ได้..แล้วจะพ้นกันอย่างไร
    ( พ้นแบบหมั่นทำหมั่นฝึกอย่างยาวนานก็มีอยู่ พ้นกันแบบเอาเดี๋ยวนั้นตรงนั้นก็มีอยู่ )

    ส่วนการมีคำถาม "ใครเป็นคนยิง" อันนั้นคือ ความที่ไม่ได้พิจารณาอยู่ในวรรค
    ข้างต้น ทำให้เกิดเป็นคำถาม "ใครเป็นคนยิง" เพียงแค่เกิดคำถาม ก็หมายถึง
    การภาวนาพลาดเกิดขึ้นแล้ว ป่วยการที่จะไปถามหาว่า "ใครยิง" เพราะแค่เกิด
    คำถามขึ้นมานี่ก็หลุดจากจุดที่ควรแล ไปแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ท่าทางคำพูดเหมือน อาจารย์ สัญชัย ไม่มีผิด
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    [​IMG]

    เอานะอาหลง

    ปัญญาจากสัญญา มันไม่เที่ยง

    ก็ใคร ถามหาความเที่ยงจากมันกันหละ
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    เอานะ..

    อาปราบ กะอาเค คุยรู้เรื่องกันอยู่ 2 คน

    อาม่า อาหลบ แอบหัวเราะตัวเอง..อยู่ละซิ [​IMG]

    เอาใจช่วยอาหลง ให้คุยรู้เรื่องเดียวกันกะท่านขันธ์ กะคุณเอกอยู่นะนี่
    ช้านลืมขำตัวเองไปเรยล่ะเธอว์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่มีผิด

    ตกลง คำว่าไม่มีผิด แปลว่าถูกรึเปล่า ผมคนซื่อ หุหุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...