"จิตที่มีเมตตา ย่อมไม่มีภัย" ดังเรื่องราวของหลวงตาพวง สุขินทริโย..

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย แดนโลกธาตุ, 23 พฤษภาคม 2007.

  1. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976

    [​IMG]


    หลวงตาพวง สุขินทริโย
    ผจญฝูงควาย ที่จันทบุรี ในคราวธุดงค์กรรมฐาน


    ในช่วงที่ท่านพ่อลี วัดอโศการามมรณภาพลงนั้น พระพวง สุขินทริโยกับคณะก็ได้เดินทางไปคารวะศพท่านพ่อลีที่จังหวัดสมุทรปราการ หลังจากคารวะศพแล้วคณะก็ชวนพระพวงไปธุดงค์แถวจังหวัดจันทบุรี เพราะได้ข่าวว่าแถบจังหวัดจันทบุรี มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเดินธุดงค์เพื่อหาสถานที่ในการทำความเพียร
    ประกอบกับทางแถบจังหวัดจันทบุรี มีพระภิกษุที่เคยจำพรรษาอยู่ด้วยกันสมัยอยู่กับหลวงปู่ฝั้นหลายองค์ พระพวงคิดอยากจะไปเยี่ยมเพื่อน จึงได้ออกเดินทางไปจังหวัดจันทบุรีพร้อมกับคณะ
    หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "เมื่อไปถึงจันทบุรีก็ไปพักที่วัดป่าคลองกุ้ง อยู่หลายวัน หลังจากนั้นก็ออกเดินทางต่อไปเพื่อไปเยี่ยมพระอาจารย์ถวิล ซึ่งเคยจำพรรษาร่วมกันสมัยอยู่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ท่านอยู่ที่วัดยางระหงษ์ ก็เลยพาคณะที่เดินทางมาด้วยกันไปเยี่ยมพระอาจารย์ถวิล พักอยู่ที่นั่น 15 วัน พระอาจารย์ถวิลได้พาไปดูวัดเขาสุกิม ขณะนั้นพระอาจารย์สมชายเพิ่งจะไปบุกเบิกได้ใหม่ ๆ ยังเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ยังไม่ได้สร้างเป็นถาวรวัตถุเช่นทุกวันนี้
    ต่อจากนั้นได้ทางไปเยี่ยมพระอีกรูปที่วัดเขาน้อย มีพระติดตามไปด้วย 3 รูป ลูกศิษย์ถือปัจจัยอีก 1 คน เดินทางโดยรถโดยสารแล้วก็ลงเดินทางด้วยเท้าต่อ ระหว่างทางก็พบกับชาวบ้านที่กำลังจะไปเก็บผลไม้ที่สวนใกล้ ๆ วัดเขาน้อย ชาวบ้านได้อาสานำอัฐบริขารล่วงหน้าไปวัดให้ก่อน เพราะตนเองมีรถมอเตอร์ไซร์ พระพวงและคณะมิได้ขัดศรัทธา ให้ชาวบ้านนำอัฐบริขารล่วงหน้าไปก่อนเหลือแต่ย่ามสะพาย
    พอเดินทางไปถึงทางแยกทางไปวัดเขาน้อย บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณทุ่งนาโล่งๆราว ๆ 4-5 เส้น ข้างหน้าก็เป็นป่าสวนยางโล่ง ๆ ไม่ทราบว่ามีควายมานอนอยู่บริเวณดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด พอควายเห็นพระเดินมาหลายรูป มีจีวรสีสะดุดตาจึงวิ่งรี่เข้าใส่ บรรดาพระและลูกศิษย์ที่มาด้วยเห็นดังนั้นจึงออกวิ่งนำหน้าพระพวงในทันที
    หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "หลวงตาวิ่งไปได้ 2-3 ก้าว ก็คิดได้ทันทีว่า ถ้าวิ่งก็ตายเดี๋ยวนี้ เลยหันหลังกลับ มือล้วงไปในย่าม มีผ้าปูนั่งในย่าม เอามาแกว่งเป็นวงกลม ควายเห็นก็หยุดไม่มาทำอะไร หลวงตาก็ตกประหม่าขาสั่นยิก ๆ ควายเองก็มีอารมณ์โกรธ มีลมพ่นออกจากจมูก ฟึด ฟัด ฟึด ฟัด ตลอดเวลา เป็นอยู่อย่างนี้ประมาณ 10 นาที ควายจึงเดินหันหลังกลับไปทุ่งนา"
    สาเหตุที่หลวงตารอดพ้นจากภัยครั้งนั้นมาได้ หลวงตาเล่าให้ฟังต่อว่า "เพราะอะไรที่รอดมาได้ ก็เพราะเราไม่มีกรรมไม่มีเวร เรามีเมตตาสัตว์ ไม่เคยทำร้ายสัตว์ ไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่เคยเป็นกรรมเป็นเวรซึ่งกันและกัน เราแผ่เมตตา มีเมตตาธรรม เป็นเกราะไม่ให้ควายมาชน เรียกอีกอย่างว่า พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม มีพระธรรมเป็นเกราะป้องกัน จิตใจของเขาก็อ่อน ไม่สามารถมาทำร้ายเราได้"
    "หากดูจากประวัติของครูบาอาจารย์องค์อื่น ๆ เช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ เดินธุดงค์ไปพบช้าง พบเสือในป่า ท่านเหล่านั้นก็ไม่มีอาวุธอะไรที่จะใช้ต่อสู้ ท่านมีแต่เมตตา ใช้อำนาจของเมตตาทำให้สัตว์ไม่ทำร้าย ครั้งนี้ก็เหมือนกัน เพราะอำนาจของเมตตา ทำให้สัตว์ไม่ทำร้ายเราได้"
    หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ตื่นเต้นที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ไม่เคยลืม พระที่ติดตามไปด้วยก็พูดให้ฟังว่า ถ้าหากหลวงตาพวงไม่มาด้วย พวกกระผมคงตายไปแล้ว เพราะถ้าวิ่งหนี วิ่งไปไม่เท่าไหร่ควายก็วิ่งทัน ครั้งนี้เพราะหลวงตาเอาใจสู้ จึงรอดมาได้"
    หลวงตายังพูดถึงหลวงปู่แหวน ตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่ ก็มีบรรดาลูกศิษย์ที่เป็นทหารเข้าไปกราบนมัสการ แล้วก็ขอเหรียญ "เราสู้" ของหลวงปู่แหวน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมาก หลวงปู่แหวนท่านให้ธรรมว่า เราสู้ นั้นหมายถึง เราสู้กิเลสตัณหา ความทุกข์ ความอยาก
    กรณีควายไล่ในครั้งนี้ หลวงตาไม่มีศัตราวุธเลย มีแต่ศีลธรรมและเมตตาธรรมที่คอยสู้และสามารถเอาชนะควายเกเรได้
    <!-- / message --><!-- sig -->

    ____________________________________________________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008
  2. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]


    ประวัติท่านหลวงตาพวง สุขินทริโย
    วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

    -------------------------------------------------------

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>พระเทพสังวรญาณ หรือหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นพระเถระผู้ใหญ่ในสายกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ที่ยังดำรงขันธ์อยู่ที่มีปฏิปทาและวัตรปฏิบัติงดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านเป็นลูกศิษย์ของทั้งหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยพำนักและร่วมบุกเบิกถ้ำขามกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ขณะนี้ท่านดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต) พำนักอยู่ที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม (ก.ม. 17) ต. กระจาย อ. ป่าติ้ว จ. ยโสธร ปัจจุบันท่านพำนักที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>
    บทนำ
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>เมื่อครั้งที่ผมไปบุกเบิกพัฒนาโรงพยาบาลลืออำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต แห่งภูจ้อก้อ ได้เมตตาเป็นองค์อุปถัมภ์โรงพยาบาล ในช่วงที่หลวงปู่หล้าอาพาธหนักก่อนจะมรณภาพนั้น ผมได้ขึ้นไปกราบท่านหลายครั้ง มีครั้งหนึ่งจำได้ว่าขณะที่กราบหลวงปู่หล้า ได้เห็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ผมสีขาวโพลน ผิวพรรณผุดผ่อง นั่งพับเพียบ สงบนิ่ง อยู่ใกล้ ๆ กับเตียงของหลวงปู่หล้า เกิดความรู้สึกประทับใจในพระเถระผู้ใหญ่รูปนี้เป็นอย่างยิ่ง รู้สึกสัมผัสได้ถึงความเมตตา สงบ เย็น จากตัวท่าน แต่ก็ยังไม่ทราบว่าพระเถระผู้ใหญ่รูปนี้ท่านมีฉายาว่าอย่างไร มาจากไหน คงทราบแต่เพียงว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ในสายพระกรรมฐาน
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>จนกระทั่งหลายปีผ่านไป ผมได้ย้ายไปทำงานในกระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีโอกาสเดินทางไปประชุมที่โรงพยาบาลยโสธร อ.เมือง จ.ยโสธร จึงได้เห็นรูปของพระเถระผู้ใหญ่รูปนั้นติดอยู่ที่โรงพยาบาลและในที่สุดก็ทราบว่า ท่านคือ พระราชธรรมสุธี (พวง สุขินทริโย) เจ้าคณะจังหวัดยโสธรในขณะนั้นนั่นเอง จริง ๆ แล้วผมเคยได้ยินฉายาของท่านมานาน ตั้งแต่ทำงานอยู่ที่จังหวัดอำนาจเจริญแล้ว เพียงแต่ไม่เคยเห็นตัวจริงของท่านสักที
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสไปกราบท่านอีกหลายครั้ง และได้ทราบว่าท่านเป็นลูกศิษย์ของทั้งหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตอีกทั้งยังเคยพำนักและร่วมบุกเบิกถ้ำขามกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของพ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งสองรูป จึงได้กราบเรียนขออนุญาตเพื่อเขียนประวัติของท่านโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่ ปฏิปทาทาและจริยาวัตรอันงดงามของพระเถระผู้ใหญ่ในสายกรรมฐาน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังต่อไป
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>เนื้อหาใน โฮมเพจ นี้นำมาจาก หนังสือ "สุขินทริยบูชา" ที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ซึ่งเนื้อหาในหนังสือได้รวบรวมมาจากการสัมภาษณ์หลวงตาพวง สุขินทริโย ทั้งที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม อ. ป่าติ้ว จ. ยโสธร และเมื่อท่านมาพำนักที่วัดนรนารถ กรุงเทพมหานคร โดยนำเค้าโครงบางส่วนจากหนังสือโลกทิพย์ ส่วนที่สองเป็นประสบการณ์ที่หลวงตาพวงท่านบันทึกไว้เองในช่วงจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีฐานใน ส่วนที่สามเป็นพระธรรมเทศนาของท่านที่เคยจัดพิมพ์มาก่อนโดยคณะศิษยานุศิษย์
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: medium none" vAlign=top width=655>ท้ายที่นี้สุดขอขอบพระคุณ คุณ ฐิติมา ศรีวัฒนกุล ที่ช่วยจัดทำ โฮมเพจ หากท่านผู้ใดประสงค์จะนำไปพิมพ์ เผยแผ่เป็นธรรมทาน กรุณาพิมพ์ได้ตามความประสงค์โดยมิต้องขออนุญาตแต่อย่างใด แต่หากพิมพ์เพื่อจำหน่ายขอสงวนลิขสิทธิ์
    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 51pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: medium none; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 51pt" vAlign=top width=655>พงศธร พอกเพิ่มดี
    Pongsadhorn@yahoo.com
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]
    ชีวิตในเพศบรรพชิต
    [​IMG]
    พรรษาที่ 1 (พ.ศ. 2491) อุปสมบท ณ โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจาร์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจาร์ฝั้น อาจาโร เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดป่าท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 2 (พ.ศ. 2492) ย้ายไปจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    พรรษาที่ 3 (พ.ศ. 2493) หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพ และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว ไปจำพรรษากับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 4-5 (พ.ศ. 2594-2495) จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    พรรษาที่ 6 (พ.ศ. 2496) หลวงปู่ฝั้น อาจาโรเกิดนิมิตระหว่างนั่งสมาธิในกลางพรรษาว่าเห็นถ้ำที่สว่างไสว เหมาะแก่การปฏิบัติ จึงได้ไปค้นหาจนพบถ้ำขาม แล้วได้บุกเบิกจนเป็นวัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนครในปัจจุบัน ในพรรษานั้น หลวงตาพวง สุขินทริโยได้ไปบุกเบิกถ้ำขามและจำพรรษาที่นั่น
    พรรษาที่ 7-8 (พ.ศ. 2497 - 2498) กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 9 (พ.ศ. 2499) กลับบ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะโยมบิดาเสียชีวิต ประกอบกับพระอาจารย์บุญช่วย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน ที่เคยเป็นพระอาจารย์สมัยบวชเป็นเณร เกิดอาพาธ จึงอยู่ดูแลรับใช้ปรนนิบัติ
    พรรษาที่ 10 (พ.ศ. 2500) พระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี มรณภาพ ไม่มีพระภิกษุดูแลวัด ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน เพื่อดูแลวัด
    พรรษาที่ 11 (พ.ศ. 2501) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในในอย่างเป็นทางการ
    พรรษาที่ 12-18 (พ.ศ. 2502-2508) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีฐานในจนมีความเจริญรุ่งเรือง
    พรรษาที่ 19 (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ราชทินนาม (พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย)
    พรรษาที่ 20 (พ.ศ. 2510) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี
    พรรษาที่ 21 (พ.ศ. 2511) เนื่องจากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลาชธานี ไม่มีเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดและชาวบ้านไปนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
    พรรษาที่ 22 (พ.ศ. 2512) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลในเมือง อ.ยโสธร
    พรรษาที่ 23 (พ.ศ. 2513) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ราชทินนาม พระครูอมรวิสุทธิ์
    พรรษาที่ 24 (พ.ศ. 2514) พัฒนาวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
    พรรษาที่ 25 (พ.ศ. 2515) อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี ยกฐานะเป็นจังหวัด ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดยโสธร (โดยไม่ได้เป็นเจ้าคณะอำเภอมาก่อน)
    พรรษาที่ 26 (พ.ศ. 2516) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ราชทินนาม พระสุนทรธรรมภาณ และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดยโสธรอย่างเป็นทางการ
    พรรษาที่ 27-33 (พ.ศ. 2516-2523) จำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
    พรรษาที่ 34 (พ.ศ. 2524) หลังจากบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร เสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัด กม.3 ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
    พรรษาที่ 35-46 (พ.ศ. 2525-2536) กลับมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธรโดยตลอด พัฒนาวัดศรีธรรมาราม จนเจริญก้าวหน้าและได้รับจนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกระดับเป็นพระอารามหลวง ในปี พ.ศ. 2532
    พรรษาที่ 47 (พ.ศ. 2537) ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ราชทินนาม พระราชธรรมและได้รับพระราชทานธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537
    พรรษาที่ 51 (พ.ศ. 2541) ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)
    พรรษาที่ 52 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร และจำพรรษาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน
    [​IMG]
    [​IMG]
    1. ชาติภูมิ
    หลวงตาพวง สุขินทริโย ถือกำเนิดที่ บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเดิมคือ ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ มีนามเดิมว่า ด.ช.พวง ลุล่วง เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้
    1) นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม)
    2) นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม)
    3) นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม)
    4) หลวงตาพวง สุขินทริโย
    5) หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ เจ้าอาวาสวัดจำปาศิลาวาส ต.นาซอ อ. วานรนิวาส จ.สกลนคร
    6) นางจำปา ป้องกัน
    ต้นตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดา มารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือหลวงปู่สรวง สิริปุญโญหลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบัน
    สภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ไม่ได้ทำไร่มันสำปะหลังหรือปลูกปอเช่นในปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐาน ยังมีอาชีพการทำหมอนขิด ที่มีชื่อเสียง ส่งออกขายทั่วประเทศ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
    ครอบครัวของหลวงตาถือได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความเป็นอยู่สบาย ไม่เดือดร้อน มีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีนาอยู่ 3 แปลง แต่จำไม่ได้ว่ามีแปลงละกี่ไร่ โดยมีลูกๆ ช่วยกันทำนา นอกจากนั้นก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชนบท หลวงตาเองก็ได้ช่วยบิดา มารดา ทำนามาตั้งแต่เด็ก ๆ และหากมีเวลาว่างก็จะนำวัวควายออกไปเลี้ยงเป็นประจำเพื่อแบ่งเบาภาระของโยมบิดามารดา
     
  4. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    ภาพหลวงปู่แตงอ่อน กัลยาณธัมโม กับหลวงตาพวง สุขินทริโย
    ในงานวันรำลึกองค์หลวงปู่มั่น ที่วัดป่าภูริทัตถิราวาส จ.สกลนคร
    ------------------------------------------------------------------
    ต่อ.......​


    1. ชาติภูมิ
    หลวงตาพวง สุขินทริโย ถือกำเนิดที่ บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเดิมคือ ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ มีนามเดิมว่า ด.ช.พวง ลุล่วง เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้
    1) นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม)
    2) นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม)
    3) นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม)
    4) หลวงตาพวง สุขินทริโย
    5) หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ เจ้าอาวาสวัดจำปาศิลาวาส ต.นาซอ อ. วานรนิวาส จ.สกลนคร
    6) นางจำปา ป้องกัน
    ต้นตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดา มารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือหลวงปู่สรวง สิริปุญโญหลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบัน
    สภาพความเป็นอยู่ของบ้านศรีฐานในสมัยนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ไม่ได้ทำไร่มันสำปะหลังหรือปลูกปอเช่นในปัจจุบัน ในสมัยก่อนชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีสัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณ ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นชาวบ้านศรีฐาน ยังมีอาชีพการทำหมอนขิด ที่มีชื่อเสียง ส่งออกขายทั่วประเทศ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง
    ครอบครัวของหลวงตาถือได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีความเป็นอยู่สบาย ไม่เดือดร้อน มีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีนาอยู่ 3 แปลง แต่จำไม่ได้ว่ามีแปลงละกี่ไร่ โดยมีลูกๆ ช่วยกันทำนา นอกจากนั้นก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในชนบท หลวงตาเองก็ได้ช่วยบิดา มารดา ทำนามาตั้งแต่เด็ก ๆ และหากมีเวลาว่างก็จะนำวัวควายออกไปเลี้ยงเป็นประจำเพื่อแบ่งเบาภาระของโยมบิดามารดา
    2. ปฐมวัย
    บิดามารดาของท่านมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเพลทุกวันมิได้ขาด ในวัยเด็กของหลวงตาพวง สุขินทริโย ติดตามบิดา มารดาเข้าวัดเป็นประจำ ทำบุญตักบาตรทุกเช้า หรือไม่ก็นำอาหารไปถวายพระที่วัดแทนบิดามารดา ชีวิตมีความผูกพันกับวัดมาตั้งแต่เล็ก ๆ ได้เห็นการดำรงสมณเพศของภิกษุสามเณรในวัดที่มีความสงบ สำรวม จริยาวัตรที่งดงาม จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์
    เมื่อ ด.ช.พวง ลุล่วง อายุครบเกณฑ์ บิดามารดาก็ส่งเข้าเรียนชั้นปฐมศึกษาภาคบังคับที่โรงเรียนประชาบาลในหมู่บ้านศรีฐานนั่นเอง ช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน และช่วยเหลือกิจการงานของครอบครัว ด.ช.พวง มักจะไปเที่ยวเล่นในวัดใกล้ ๆ กับโรงเรียน ผิดวิสัยกับเด็กทั่วไป ช่วยพระเณร ปัดกวาดเช็ดถู กุฏิศาลา หรือช่วยกิจการงานต่าง ๆ เช่น ล้างถ้วย ล้างชาม ในวัดศรีฐานใน เป็นประจำ ด้วยอุปนิสัยใจคอของ ด.ช.พวง ลุล่วง ที่มีนิสัยขยัน ขันแข็ง ไม่เกียจคร้าน ว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาทของบิดามารดา ครูอาจารย์ จึงเป็นที่รักและเอ็นดูของบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ และพระเณรในวัดเป็นอย่างมาก

    [​IMG]


     
  5. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    3. พบพระอาจารย์สอ สุมังคโล
    ชีวิตของ ด. ช.พวง ลุล่วง ในช่วงวัยเยาว์ ได้แวะเวียนมาช่วยพระเณรในวัดศรีฐานใน เป็นประจำ บางครั้งก็พักค้างคืนที่วัด บิดา มารดาเห็นว่าบุตรชายของตนมีความสนใจในพระพุทธศาสนา ก็ส่งเสริมโดยมิได้ห้ามปรามแต่อย่างใด เด็กชายพวงได้พบกับ
    พระอาจารย์สอ สุมังคโล พระลูกวัดในวัดศรีฐานใน มีอายุเพียง 26 ปี แม้จะบวชได้เพียง 6 พรรษา แต่พระอาจารย์สอ สุมังคโล เป็นพระที่เคร่งครัดในพระวินัย มีความรู้แตกฉานทั้งทางด้านปริยัติและมีวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด เคารพครูบาอาจารย์ มีจิตใจแน่วแน่ในการปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นและตั้งใจอบรมสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา จนเป็นที่นับถือของคนทั่วไป
    พระอาจารย์สอ สุมังคโล ได้เห็นถึงความสนใจในพระพุทธศาสนาของเด็กชายพวง ลุล่วง นอกจากนั้นท่านยังได้เห็นแววของเด็กชายพวง ลุล่วงว่าเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนได้เป็นอย่างดี เห็นทีจะมีวาสนา บารมี สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อน จึงเมตตาอบรมสั่งสอนให้รู้หลักในการปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ สอนให้สวดมนต์ นั่งวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั่งเด็กชายพวง สามารถสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น ได้ตั้งแต่ยังไม่บวชเณรเสียอีก
    ในช่วงเวลานั้นเองที่พระอาจารย์สอ กำลังจะไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์องค์สำคัญในสายวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขณะนั้นหลวงปู่เสาร์ จำพรรษาอยู่ที่วัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดบนเกาะกลางลำน้ำมูล ในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์สอต้องการคนติดตามไปอุปัฎฐากในระหว่างการเดินทาง เพราะโดยปกติแล้วพระสายกรรมฐาน ไม่สามารถถือเงินได้ ท่านจึงได้เอ่ยปากขอกับพ่อเนียม บิดาของ ด.ช.พวง เพื่อให้ ด.ช.พวงติดตามไปรับใช้ในช่วงที่จะธุดงค์ ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์
    ด.ช.พวง ลุล่วง ในวัย 14 ปี จบชั้นประถมศึกษาภาคบังคับพอดี ยังไม่มีภาระหน้าที่อะไรที่สำคัญนอกจากช่วยงานที่บ้าน พ่อเนียมจึงกลับมาถามว่าอยากไปธุดงค์รับใช้ปรนนิบัติพระอาจารย์สอหรือไม่ ด.ช.พวง ทราบความประสงค์ของพระอาจารย์สอ และด้วยความอยากจะไปดูความเจริญในจังหวัดอุบลราชธานี จึงตัดสินใจติดตามพระอาจารย์สอในการเดินทางไปปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่เสาร์ในทันทีโดยมิได้ลังเล
    [​IMG]
    4. ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ให้ติดตามปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์สอ สุมังคโล แล้ว การออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์สอก็เริ่มต้นขึ้น ด้วยการเดินทางจาก อ.คำเขื่อนแก้ว (ในสมัยนั้น) ไปยัง อ.พิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี โดยมีจุดหมายปลายทาง คือการปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
    ในสมัยนั้นยังไม่มีรถประจำทางต้องอาศัยรถของกรมทางหลวงไปลงที่อำเภออำนาจเจริญ เพื่อขึ้นรถประจำทางไปยังตัวเมืองอุบลราชธานี แวะพำนักที่วัดบูรพารามในเมืองอุบลราชธานี หลังจากนั้นก็ลงเรือไฟต่อไปยังอำเภอพิบูลมังสาหาร แวะพักที่วัดภูเขาแก้ว รุ่งเช้าข้ามลำน้ำมูลไปวัดดอนธาตุ ใช้เวลาการเดินทางกว่า 3 วันกว่าจะถึงวัดของหลวงปู่เสาร์ ต้องผ่านเส้นทางที่ทุรกันดารเต็มไปด้วยอุปสรรคและความลำบาก แต่ด้วยจิตใจที่มีความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่น ไม่ย่อท้ออุปสรรค และด้วยบุญบารมีที่สะสมมาตั้งแต่อดีตชาติ การออกเดินธุดงค์ในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งในจิตใจให้กับเด็กชายพวง ลุล่วงมากขึ้นไปอีก
    เมื่อเดินทางร่วมกับพระอาจารย์สอ สุมังคโล มาถึงวัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ได้สร้างขึ้น และจำพรรษาเป็นวัดสุดท้ายในบั้นปลายชีวิตของท่าน วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะอยู่กลางลำน้ำมูลใน อ.พิบูลมังสาหาร ไม่มีสะพาน มีน้ำล้อมรอบทุกทิศทาง การเดินทางจะต้องไปโดยเรือเท่านั้น มีภูมิประเทศที่เป็นสัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง พระอาจารย์สอ สุมังคโล ก็ได้พาไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ เพื่อเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติในเวลาต่อมา
    หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "หลวงปู่เสาร์มีอุปนิสัยไม่ค่อยพูด ชอบสันโดษ ท่านจะเทศน์สั่งสอนเมื่อจำเป็น ในช่วงที่หลวงตาอยู่กับท่านนั้น สุขภาพของท่านไม่ค่อยแข็งแรง การอบรมสั่งสอนญาติโยม ตลอดจนพระเณรต่าง ๆ ท่านได้มอบให้หลวงพ่อดี ฉันโน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) ให้อบรมสั่งสอนแทน"
    หลวงปู่เสาร์เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในการออกธุดงค์ช่วงแรกๆ ของหลวงปู่มั่น ท่านทั้งสองมักจะออกธุดงค์ไปด้วยกัน ตามจังหวัดต่าง ๆแถบภาคอีสาน ท่านชอบไปไหนมาไหนด้วยกันทั้งในและนอกพรรษา พอถึงช่วงกลางอายุของท่าน เวลาจำพรรษามักแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก เพราะต่างฝ่ายต่างมีลูกศิษย์จำนวนมาก จำเป็นต้องแยกกันอยู่เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยอย่างเพียงพอ
    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ได้บันทึกคำบอกเล่าของพระอาจารย์มั่นเกี่ยวกับพระอาจารย์เสาร์ ในหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ไว้น่าสนใจว่า เดิมหลวงปู่เสาร์ ปรารถนาเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามาก ๆ ในรู้สึกประหวัด ๆ ถึงความปรารถนาเดิมเพื่อเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัย เสียดาย ไม่อยากไปนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐาน ของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่าง ๆ อีกต่อไป พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านบรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้ นอกจากนั้นท่านยังไม่ชอบพูด ชอบเทศน์ เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไป ประโยคที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า "ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียลมหายใจไปเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์" และ "เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ" แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิ ไม่สนใจกับใครอีกต่อไป
    ลักษณะท่าทางของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล มีความสง่าผ่าเผยน่าเคารพเลื่อมใสมาก ผู้ที่พบเห็นจะเกิดความรู้สึกสบายใจ เย็นใจ ไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านก็มีลูกศิษย์มากมายเหมือนหลวงปู่มั่น ด.ช.พวง ลุล่วง มีโอกาสเป็นศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ ในช่วงที่ติดตามพระอาจารย์สอ สุมังคโล ในครั้งนี้เช่นกัน
     
  6. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    สุขินทริยบูชา ๐๒
    ชีวประวัติ พระราชธรรมสุธี (พวง สุขินทริโย)
    คัดลอกจาก http://www.geocities.com/sukhintariyo/
    [​IMG]
    [​IMG]

    6. หลวงปู่เสาร์มรณภาพ
    ระหว่างที่หลวงปู่เสาร์และคณะสงฆ์ได้พักอยู่บริเวณรุกขมูลในอำเภอท่าเปลือยประมาณหนึ่งเดือนนั้น พอเริ่มเข้าช่วงเดือน 4-5 อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง ฝนตกมากขึ้น ทำให้อาการของหลวงปู่เสาร์กำเริบ มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ฉันอาหารไม่ได้ ทางแพทย์และทางคณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่เสาร์มีอาการหนักมาก เห็นควรที่จะรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ ที่พร้อมกว่านี้ คณะสงฆ์จึงได้พา หลวงปู่เสาร์เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี โดยตั้งใจจะพาหลวงปู่เสาร์ลงเรือไฟจาก อ.ท่าเปลือย ไปนครจำปาศักดิ์ และนั่งรถโดยสารต่อไปยัง จ.อุบลราชธานี ระหว่างทางเมื่อล่องมาถึงเมืองป่าโมกข์ ประเทศลาว ก็ค่ำพอดี จึงได้แวะพักค้างคืน รุ่งขึ้นประมาณ 05.00 น. ก็ล่องเรือไฟต่อ
    หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "วันนั้นรีบเดินทาง ข้าวปลาก็ไม่ได้เตรียม เพราะลูกศิษย์คิดว่า ระหว่างทางคงจะมีที่ขายอาหารแต่เรือไฟไม่ได้จอดพัก จึงมีแค่ข้าวเหนียวกับปลาแห้งถวายพระเณรองค์ละปั้น ใช้เวลาล่องเรือตลอดทั้งวัน จนกระทั่งประมาณ 5 โมงเย็นจึงได้เดินทางถึงนครจำปาศักดิ์"
    "ถึงนครจำปาศักดิ์เป็นเวลาพลบค่ำพอดี คณะสงฆ์จึงหามหลวงปู่เสาร์ขึ้นไปพักที่วัดศิริอำมาตย์ บนฝั่งริมแม่น้ำโขง เมื่อถึงศาลาวัด หลวงปู่เสาร์ท่านบอกให้นำท่านไปกราบพระประธาน คณะสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ก็นำท่านไปกราบพระประธานที่อยู่บนศาลาแห่งนั้น ท่านลุกนั่งกราบพระประธานในท่าเบญจางคประดิษฐ์ ระหว่างที่ท่านกราบพระประธานเสร็จท่านลุกไม่ขึ้น ลูกศิษย์พยายามประคองขึ้นท่านก็หมดลม มรณภาพลงในอิริยาบถกราบพระประธานตอนนั้นพอดี" (ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2484) รวมสิริอายุได้ 82 ปี 3 เดือน 1 วัน
    คณะสงฆ์ที่ติดตามไปด้วยต่างเศร้าโศกเสียใจ บางองค์ถึงกับร้องไห้ด้วยสูญเสียพระเถรานุเถระผู้ยิ่งใหญ่ อันเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรในสายวิปัสสนากรรมฐาน ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นแบบอย่างให้พระสงฆ์ในรุ่นต่อ ๆ มา ได้ดำเนินรอยตาม
    คณะสงฆ์ที่ติดตามหลวงปู่เสาร์ได้จัดการเก็บศพของท่านไว้ที่วัดวัดศิริอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ระหว่างนั้นก็ได้วิทยุแจ้งให้ทางหลวงปู่สิงห์ ขนตยาคโม และพระมหาปิ่น ปัญญาพโล ให้จัดรถไปรับศพของท่านกลับมาเพื่อบำเพ็ญกุศลที่วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    คณะศิษย์ได้นำศพหลวงปู่เสาร์กลับประเทศไทยเพื่อบำเพ็ญกุศล และได้จัดงานพิธีพระราชทานเพลิงศพให้กับหลวงปู่เสาร์ในเดือนเมษายนถัดมา (พ. ศ. 2485) โดยมีศิษยานุศิษย์ทั้งพระวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่น ตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่มีความเลื่อมใสศรัทธาเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก การมรณภาพของหลวงปู่เสาร์ในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในพุทธศาสนิกชนชาวไทย
    ระหว่างการนำศพหลวงปู่เสาร์กลับมายังวัดบูรพาราม จ.อุบลราชธานี นั้น พระอาจารย์สอ สุมังคโล และ ด.ช.พวง ลุล่วง ไม่ได้ติดตามคณะไปจนถึงตัวเมืองอุบลราชธานี แต่ได้แวะพำนักที่วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
     
  7. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]
    7. หลวงตาพวง ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
    ด้วยวัยเพียง 14 ปีของ ด.ช.พวง ลุล่วง ที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น แต่ได้มีความแตกต่างจากเด็กชายวัยเดียวกัน มีความสนใจและศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มเปี่ยม อีกทั้งมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ทรหด อดทน ซึ่งได้แสดงให้เห็นตั้งแต่การออกติดตามพระอาจารย์สอ และคณะของหลวงปู่เสาร์ไปนครจำปาศักดิ์ ซึ่งต้องเผชิญความยากลำบากและอันตรายนานัปการ ก็มิได้ย่อท้อแม้แต่น้อย ตลอดเวลาเกือบ 1 ปีที่ได้ติดตามพระอาจารย์สอ ด.ช.พวง ลุล่วง ได้รับใช้ปรนนิบัติรับใช้ครูบาอาจารย์ ด้วยการล้างเท้า เช็ดบาตร กรองน้ำ ต้มน้ำ เย็บจีวร สังฆาฏิ ตลอดจนได้รับการอบรมข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ และการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน
    พระอาจารย์สอได้พิจารณาเห็นว่า ด.ช.พวง ลุล่วงเป็นผู้ที่มีจิตใจแน่วแน่มั่นคงในพระพุทธศาสนา ได้ผ่านการฝึกอบรมมาพอสมควรแล้ว จึงได้จัดการบรรพชาให้เป็นสามเณรที่วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร ซึ่งเป็นเพียงวัดเดียวบริเวณนั้นที่มีพระอุปัชฌาย์อยู่ ในเดือนมีนาคม 2484
    หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "ตอนที่จะบวชเป็นเณร ไม่ได้คิดอะไร แล้วแต่พระอาจารย์สอจะพิจารณา ท่านพาทำอะไรก็ทำ เพราะได้มอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์แล้ว ให้บวชก็บวช พาไปที่ไหนก็ไป โยมบิดามารดาก็ได้อนุญาตให้แต่เบื้องแรกก่อนที่จะติดตามพระอาจารย์สออยู่แล้ว"
    หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรพวง ลุล่วงได้จำวัดอยู่ที่วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ และปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์สอ สุมังคโลเป็นเวลากว่า 2 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังวัดบูรพาราม อ.เมืองอุบลราชธานีเพื่อกราบคารวะศพหลวงปู่เสาร์
    นับได้ว่าเป็นบุญบารมีของสามเณรพวง ลุล่วงที่ได้สะสมมาแต่ชาติปางก่อน ที่ได้มีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธศาสนาตั้งแต่เยาว์วัย ก่อนที่จะได้บวชเข้าสู่ร่วมพระกาสาว-พัสตร์ก็ได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับคณะหลวงปู่เสาร์ในช่วงชีวิตสุดท้ายของท่าน ได้เรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์นับตั้งแต่นั้นมา
     
  8. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    8. กลับบ้านเกิดครั้งแรก
    เมื่อสามเณรพวง พำนักอยู่ที่วัดภูเขาแก้ว อ. พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี กับพระอาจารย์สอเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังวัดบูรพาราม อ.เมืองอุบลราชธานี เพื่อกราบคารวะศพหลวงปู่เสาร์ แล้วพระอาจารย์สอได้พาธุดงค์กลับวัดศรีฐานในเพื่อให้สามเณรพวงได้มีโอกาสได้ศึกษาพระปริยัติธรรม
    เมื่อกลับมาถึงวัดศรีฐานในซึ่งเป็นบ้านเกิดของสามเณรพวง โยมบิดา มารดา ได้เห็นลูกชายของตนได้บวชเป็นเณรก็อนุโมทนาและดีใจเป็นที่สุด ไปวัดทำบุญตักบาตรสามเณรพวงเป็นประจำทุกวันมิได้ขาด
    พระอาจารย์สอ สุมังคโล ได้สั่งสอนอบรมให้ท่องบทเรียนต่าง ๆ จนคล่องแคล่ว แล้วยังมีพระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในให้การ อบรมสั่งสอนเพิ่มเติมอีกแรงหนึ่ง สามเณรพวงได้มีโอกาสศึกษาพระปริยัติธรรมจนสามารถสอบผ่านนักธรรมตรีและนักธรรมโทอย่างรวดเร็ว
    ในช่วงนี้เองสามเณรพวงยังมีสหายที่สำคัญอีกรูปคือ สามเณรบุญเพ็ง ซึ่งขณะนี้คือพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีฐานในด้วยกัน หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "อาจารย์เพ็งท่องหนังสือดี มีความจำแม่น จำหลักธรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว" นอกจากนั้นก็ยังมีพระอาจารย์สิงห์ทอง.ธัมมวโรที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมในวัดเดียวกัน เห็นได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นพระเถรานุเถระที่มีวาสนา บารมีต่อกันมาในอดีตชาติจนกระทั่งมาถึงในชาติปัจจุบัน
    พระอาจารย์สิงห์ทอง หลังจากที่อยู่จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน สักพักก็ได้เดินทางไปศึกษาปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่มั่น จนกระทั่งมรณภาพในช่วงเครื่องบินตกที่ดอนเมืองพร้อม ๆ กับครูบาอาจารย์อีกหลาย ๆ องค์ ได้แก่ พระอาจารย์จวน กุลเสฏโฐ พระอาจารย์วัน อุตตโม เป็นต้น
    พระอาจารย์สิงห์ทอง มีศิษย์ที่ท่านได้เคยสั่งสอนอบรม จนกระทั่งเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเป็นนักปฏิบัติที่ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางในเวลานี้อีกคนหนึ่ง ก็คือ คุณหมอ อมรา มลิลา
    ส่วนพระอาจารย์สอ สุมังคโล ได้พำนักที่วัดศรีฐานในอยู่อีกหนึ่งพรรษา จากนั้นจึงได้เดินทางร่วมกับสามเณรบุญเพ็ง ไปปฏิบัติธรรมร่วมกับหลวงปู่มั่น วัดป่าบ้านหนองผือ (ภูริทัตตาราม) บ้านหนองผือ จ.อุดรธานี พำนักอยู่กับหลวงปู่มั่นประมาณ 1 พรรษา และมรณภาพลงด้วยไข้ป่าที่วัดหลวงปู่มั่นนั่นเอง
     
  9. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    9. อยากสึก
    "เห็นเพื่อน ๆ เขาพากันสึกก็เลยอยากสึกมั่ง แต่พอไปกราบขอลาอาจารย์บุญช่วย ท่านไม่อนุญาต ท่านบอกจะสึกก็สึก แต่ขอให้สอบได้นักธรรมเอกเสียก่อนแล้วค่อยสึก"
    เป็นช่วงหนึ่งของชีวิตสามเณรพวง ลุล่วงที่บรรพชาได้พรรษาที่ 3 สามารถสอบนักธรรมโทผ่านแล้ว ได้เห็นเพื่อน ๆ หลายรูปที่สึกออกมาใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน ด้วยความเป็นวัยรุ่น สามเณรพวงจึงอยากสึกบ้าง จึงได้ไปกราบขอลาสิกขาบทจากอาจารย์บุญช่วย เจ้าอาวาส ท่านกลับไม่อนุญาต และขอให้สอบนักธรรมเอกให้ได้เสียก่อน สามเณรพวงจึงล้มเลิกความตั้งใจที่จะสึกไปในที่สุด คงเป็นเพราะบุญญาบารมีที่มีมาแต่ชาติปางก่อน แม้จะมีอุปสรรคครั้งนั้นแต่ก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี
    พระอาจารย์บุญช่วยได้ไปเสาะแสวงหาพระอาจารย์ที่มีความรู้แตกฉานด้านภาษาบาลี มาสั่งสอนอบรมพระเณรในวัดศรีฐานในให้มีความรู้มากขึ้น สามเณรพวงก็ได้มีโอกาสศึกษาภาษาบาลีจนสามารถแปลหนังสือธรรมบทซึ่งเป็นภาษาบาลีได้ถึง 2 เล่ม นอกจากนั้นสามเณรพวงก็ยังได้ใช้เวลาปฏิบัติธรรม ภาวนาไม่ได้ขาด จนทำให้มีความเจนจัดในข้อวัตรทั้งปริยัติและปฏิบัติอีกด้วย นับจากนั้นหลวงตาพวงก็ไม่ได้เกิดความรู้สึกอยากสึกอีกเลยจวบจนปัจจุบัน
     
  10. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    --------------------------------------------------------------------------

    10. ไปพระธาตุพนมกับพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
    หลวงตาพวงเล่าว่า "ช่วงที่เป็นเณรพรรษาที่ 2 พำนักอยู่วัดป่าศรีฐานในร่วมกับ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร (วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลฯ) ท่านได้พาเดินธุดงค์ไปนมัสการพระธาตุพนม ที่ จ.นครพนม คณะเดินทางประกอบด้วย พระอาจารย์สิงห์ทอง พระเพ็ง(ปัจจุบันลาสิกขาบท ยังมีชีวิตอยู่) สามเณรพวง และสามเณรขุน คนบ้านบ่อชะเนง อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ
    การเดินทางต้องเดินด้วยเท้า ผ่านดงบังอี่ อำเภอคำชะอี ผ่านภูเขาลำเนาไพรเต็มไปด้วยภยันตรายจากสิงสาราสัตว์ต่างๆ รอนแรมไปถึง 6 คืนกว่าจะถึงพระธาตุพนม ระหว่างทางก็ต้องแวะพักค้างคืนตามสำนักสงฆ์หรือถ้ำในป่า
    เมื่อเดินทางไปถึงบ้านตากแดด อ.คำชะอี จ.อุบลราชธานี(ในขณะนั้น) เป็นเวลาค่ำพอดี จำเป็นต้องหาที่พักเพื่อค้างแรม พระอาจารย์สิงห์ทองและคณะได้สอบถามชาวบ้านว่ามีวัดอยู่บริเวณนี้หรือไม่ ชาวบ้านก็บอกว่ามีสำนักสงฆ์อยู่ในถ้ำบนภูทอก มีหลวงตาอยู่กับเณรเพียง 2 รูป พอจะไปพักอาศัยที่นั่นได้ พระอาจารย์สิงห์ทองจึงได้พาคณะไปขอพำนักที่สำนักสงฆ์บริเวณดังกล่าว หลวงตาเจ้าสำนักสงฆ์มิได้ขัดข้องประการใด จัดที่เสนาสนะให้คณะที่ร่วมเดินทางพักในถ้ำบนภูทอก ที่พักเป็นแคร่ไม้ไผ่ ห่างกันประมาณ 3-4 วา ตามจำนวนพระเณร
    หลังจากที่เดินทางกันมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย ทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ก็เตรียมแยกย้ายกันจำวัดพักผ่อน เมื่อทุกรูปประจำเสนาสนะของตนเอง ก็ได้ยินเสียงงูใหญ่ คาดว่ายาวประมาณ 4-5 วา เสียงเหมือนเกร็ดงูสัมผัสกับไม้ดังเอี๊ยด เอี๊ยด ๆ มาตลอดทาง พระอาจารย์สิงห์ทองก็ตะโกนบอกว่า งู งู ให้เณรเร่งจุดคบไฟ เพราะสมัยก่อนไม่มีไฟฉาย เมื่อจุดคบไฟเสร็จกลับไม่พบอะไร จึงพากันแยกย้ายกันนอน สักพักก็ได้ยินเสียงเหมือนงูเลื้อยมาอีกเป็นครั้งที่ 2 ผ่านไปทางเดินจงกรม พระอาจารย์สิงห์ทองจึงตะโกนบอกให้จุดไฟอีกครั้ง เมื่อจุดเสร็จก็ไม่พบอะไรอีก อาจารย์สิงห์ทองได้พิจารณาดูแล้วจึงบอกว่า ไม่ใช่งูหรอก จริง ๆ แล้วเป็นพระภูมิเจ้าที่ ท่านมาถามข่าวถามคราว พวกเราที่เดินทางมาพักอยู่บริเวณนี้ พระอาจารย์สิงห์ทองจึงเตือนให้ทุกคนไหว้พระสวดมนต์ แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้ พักอยู่ที่นั้นสองคืน มิได้ยินเสียงเช่นนั้นอีกเลย
    จากนั้นเดินทางต่ออีกสองวัน แวะพักที่บ้านดงมอญ อ.มุกดาหารและบ้านต้นแหน อ.นาแก จ. นครพนม รุ่งขึ้นถึงพระธาตุพนม พำนักที่วัดเกาะแก้ว อ.พระธาตุพนม อยู่ที่นั่นประมาณหนึ่งสัปดาห์ จึงเดินทางกลับ เส้นทางที่ใช้ในการเดินทางกลับนั้นใช้เส้นทางเลียบตามฝั่งแม่น้ำโขง ค่ำที่ไหนก็นอนที่นั่นจนกระทั่งถึงอำเภอมุกดาหาร มีรถประจำทางจึงโดยสารรถประจำทางมาจนถึงวัดป่าศรีฐานใน จ.ยโสธร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2007
  11. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ----------------------------------
    [​IMG]
    พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญาพโล
    วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    -------------------------------------------------------


    11. ไปอยู่กับหลวงปู่สิงห์และหลวงปู่ปิ่น
    ในช่วงที่สามเณรพวงบวชเป็นพรรษาที่ 4 นั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เว้นว่างจากการสอบนักธรรมต่าง ๆ บ้านเมืองอดอยาก แร้นแค้น ข้าวยากหมากแพง หลวงตาพวงท่านเล่าให้ฟังว่า "ช่วงนั้นชาวบ้านอดอยาก ไม้ขีดไฟกลักละ 10 บาท น้ำมันตะเกียงลิตรละหลายร้อยบาท"
    ระหว่างนั้นพระลีซึ่งพำนักอยู่ที่วัดศรีฐานในเช่นเดียวกัน (ปัจจุบันสึกออกมา ถึงแก่กรรม) ชวนออกธุดงค์ไปจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้ขออนุญาตพระอาจารย์บุญช่วยออกธุดงค์ไปกับคณะโดยออกเดินทางด้วยเท้าไปจังหวัดศรีสะเกษ พำนักที่วัดป่าศรีสำราญ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ประกอบกับเกิดโรคฝีดาษระบาดที่บ้านศรีฐาน ทางบ้านจึงบอกไม่ให้กลับ สามเณรพวงพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งพระสัมฤทธิ์ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดป่าศรีสำราญได้ชวนสามเณรพวงให้ไปศึกษาอบรมธรรมกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และพระมหาปิ่น ปัญญาพโล ซึ่งจำพรรษาร่วมกันที่วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี สามเณรพวงเห็นว่าน่าจะเกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพราะหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และพระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นครูบาอาจารย์ในสายกรรมฐานที่สำคัญ มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จึงตัดสินใจเดินทางไปร่วมปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สิงห์และพระมหาปิ่น
    หลวงตาพวงท่านเล่าให้ฟังว่า "ช่วงที่อยู่กับหลวงปู่สิงห์นั้นดีมาก หลักธรรมคำสั่งสอนที่ท่านได้รับล้วนแต่ดีมาก ท่านได้พาสวดมนต์นั่งสมาธิ ในวันพระท่านจะเทศน์อบรมตลอดคืน ไม่นอน ถ้าหากง่วงนอนหลวงปู่สิงห์ก็จะพาสวดสรภัญญะ พอให้หายง่วงก็จะพานั่งสมาธิต่อ เป็นเช่นนี้เป็นประจำตลอดพรรษา มีญาติโยมมารักษาศีล ฟังธรรมจากพระอาจารย์สิงห์เป็นจำนวนมาก" ส่วนพระมหาปิ่น ปัญญาพโล ช่วงนั้นอาพาธอยู่ไม่ได้ออกอบรมสั่งสอนญาติโยมเท่าใดนัก
    สามเณรพวง ลุล่วง ได้ไปอยู่ปฏิบัติธรรม อุปัฏฐากครูบาอาจารย์หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมและหลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นเวลา 1 พรรษา ตลอดระยะเวลาจำพรรษาได้ศึกษาอบรมเพิ่มเติมจากครูบาอาจารย์ทั้งสองจนมีความรู้แตกฉานในข้อวัตรปฏิบัติ และการปฏิบัติภาวนา
    หลังจากออกพรรษาเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพญี่ปุ่นขอยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 สามเณรพวง ลุล่วงได้กราบลาพระอาจารย์ทั้งสองกลับวัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว เพื่อมาเล่าเรียนทางปริยัติต่อ
    พระอาจารย์บุญช่วย ธัมมวโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน ได้อบรมสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆเพิ่มเติม อีกทั้งยังได้หาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในภาษาบาลีมาสอนสามเณรพวงและเพื่อนๆ ให้มีความรู้แตกฉานจนสามารถสอบนักธรรมเอกได้ในปีนั้น
     
  12. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    12. พบหลวงปู่มั่นครั้งแรก
    พระอาจารย์บุญช่วยได้พิจารณาเห็นว่า สามเณรพวง ลุล่วง ได้ศึกษาความรู้ทางด้านปริยัติพอสมควรระดับหนึ่ง ต้องการให้มีความรู้ทางด้านปริยัติเพิ่มเติมให้มากขึ้นกว่านี้ จึงตั้งใจว่าจะส่งสามเณรพวง ไปศึกษาปริยัติธรรมให้แตกฉานยิ่งขึ้นที่วัดศรีเทพ จ.นครพนม ซึ่งมีพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เจ้าอาวาสและเป็นเสาหลักในการเผยแผ่ความรู้ด้านปริยัติและการศึกษาธรรมบาลี ขณะนั้น โดยระหว่างทางก็จะแวะนมัสการพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตที่สกลนครก่อน
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระสงฆ์ที่มีความสำคัญในสายปฏิบัติกรรมฐาน มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เล่าขานว่าท่านเป็นผู้ที่มีจริยาวัตรงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ฉลาดรอบรู้ในการเทศน์ และสามารถรู้วาระจิตคนได้หมด ลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ปฏิบัติธรรมกับท่าน ล้วนกลัวท่านทุก ๆ คน เพราะคิดสิ่งใดไม่ดีท่านจะรู้หมด เป็นผลให้ลูกศิษย์ของท่านต้องสำรวมจิต ระมัดระวัง และตั้งใจในการปฏิบัติธรรมยิ่งนัก
    ครั้นเมื่อเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ พระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร พร้อมทั้งสามเณรพวง ลุล่วงก็ตรงเข้าไปกราบหลวงปู่มั่นทันที หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า เมื่อกราบท่านแล้วหลวงปู่มั่นท่านก็ถามขึ้นทันทีว่า "ตั้งใจจะปฏิบัติหรือตั้งใจเรียน ถ้าตั้งใจปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติเอาจริงเอาจัง ถ้าจะเรียนก็ต้องไปเรียน ไปหาสำนักเรียน ทำเล่นไม่ได้นะ จะไปทางไหนก็ต้องตัดสินใจ"
    ผลที่สุดก็สามเณรพวง ลุล่วงตัดสินใจเลือกปฏิบัติกรรมฐาน....... "สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกปฏิบัตินั้นเป็นเพราะในคำเทศน์ของหลวงปู่มั่น ท่านรู้วาระจิตของหลวงตาหมดทุกอย่าง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เล่าให้ฟังเลย เพราะทีแรกพระอาจารย์บุญช่วยกำลังจะส่งไปเรียนปริยัติธรรมที่วัดศรีเทพ จ.นครพนม แต่แวะมากราบหลวงปู่มั่นเสียก่อน แล้วท่านก็เทศน์เรื่องปริยัติและเรื่องกรรมฐานต่าง ๆ จึงเกิดศรัทธาในคำสั่งสอนของท่านในที่สุดก็ตัดสินใจอยู่ศึกษาอบรมกับหลวงปู่มั่นต่อไป"
    นับเป็นบุญญาบารมีของสามเณรพวงที่ได้มีโอกาสมากราบหลวงปู่มั่นก่อนเดินทางไปเรียนทางด้านปริยัติ ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านจนเกิดซาบซึ้งและมุ่งมั่นในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานตามแนวทางคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น เลิกล้มความตั้งใจในการเรียนทางด้านปริยัติทันทีเพราะพิจารณาเห็นตามคำแนะนำของหลวงปู่มั่น
    ในช่วงแรกสามเณรพวงต้องออกไปอยู่วัดป่าท่าสองคอน ซึ่งเป็นวัดสาขาอยู่ใกล้ๆกับวัดหลวงปู่มั่น และยังอยู่ห่างจากวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนครเพียง 3 กม. เวลาลงปาติโมกข์บรรดาพระเณรจะมารวมกันที่วัดป่าอุดมสมพรซึ่งขณะนั้นเป็นสำนักสงฆ์ หลวงปู่ฝั้นยังไม่ได้ไปอยู่
    ถึงแม้ว่าวัดป่าท่าสองคอน จะอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดป่าบ้านหนองผือซึ่งเป็นที่พักของหลวงปู่มั่น แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาเดินทางด้วยเท้าข้ามภูเขาตลอดทั้งวันกว่าจะถึงวัด ซึ่งต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะในการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างวัดท่าสองคอน กับวัดป่าบ้านหนองผือ สามเณรพวงมิได้ย่อท้อ หมั่นเพียรเดินทางไปฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นเป็นประจำ ที่วัดป่าท่าสองคอนแห่งนี้ พระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานใน ก็ได้มาพำนักเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมกับสามเณรพวงด้วย
     
  13. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    13. เป็น "สุขินทริโยภิกขุ"
    ช่วงที่พำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในปีที่ 2 สามเณรพวง ลุล่วง มีอายุครบ 20 ปีพอดี ได้เวลาที่จะบวชเป็นภิกษุ ประกอบกับมีสามเณรที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกันอีก 3 รูป ก็จะเข้าอุปสมบทด้วย แต่สำนักสงฆ์ที่พำนัก และบริเวณใกล้เคียงไม่มีพระอุโบสถ อันเป็นสถานที่ประกอบพิธีในการอุปสมบท เพราะสำนักปฏิบัติธรรมของสายพระอาจารย์มั่นไม่เน้นที่จะสร้างถาวรวัตถุ หากแต่เน้นการปฏิบัติจริงในการเข้าถึงธรรม ซึ่งเป็นแก่นที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ศิษย์ของหลวงปู่มั่นจึงได้จัดหาสถานที่สำหรับอุปสมบท โดยเลือกที่สำนักสงฆ์บ้านหนองโดก ตอนหลังได้ยกฐานะเป็นวัดป่าหนองโดก อยู่ในตำบลช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนครเป็นสถานที่สำหรับอุปสมบท
    การจัดเตรียมการอุปสมบทในครั้งนั้นได้จัดบนพระอุโบสถกลางลำน้ำ โดยนำเรือพายที่อยู่บริเวณนั้นมาจอดเรียงรายชิดติดกันหลาย ๆ ลำ แล้วได้นำแผ่นกระดานไม้มาปูเรียงบนลำเรือติดกันจนเป็นแพขนาดใหญ่ที่พอจะประกอบพิธีกรรมในการอุปสมบทได้
    การอุปสมบทของสามเณรพวงครั้งนี้ มีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พระภิกษุสงฆ์ที่เข้าร่วมพิธีในการอุปสมบทในครั้งนี้ นับว่าเป็นพระอริยสงฆ์ที่ทรงภูมิปัญญาทางธรรมเป็นอย่างยิ่ง ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีศีลธรรมจริยาวัตรที่งดงาม และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระศาสนาในด้านวิปัสสนากรรมฐานของสายหลวงปู่มั่น ในเวลาต่อมา
    สามเณรพวง ลุล่วง ได้รับฉายาในทางพระพุทธศาสนาว่า "สุขินทริโย" ซึ่งแปลว่า"ผู้มีความสุขเป็นใหญ่"
    ------------------------------------------------------
    [​IMG]

    1.พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล ) วัดโพธิ์สมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์
    ------------------------------------------------------------------------------
    [​IMG]

    2.หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ (วัดป่านิโครธราราม อ.หนองวัววอ จ.อุดรธานี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ----------------------------------------------------------------------------------
    [​IMG]
    3.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ) เป็นอนุสาวนาจารย์
     
  14. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    14. เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น
    หลวงปู่มั่นเป็นพระอาจารย์สายกรรมฐานที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด เหล่าบรรดาภิกษุสามเณรทั่วทุกสารทิศต่างปรารถนาที่จะเป็นลูกศิษย์ของท่าน แต่การที่จะเข้ามาเป็นลูกศิษย์ของท่านได้นั้นต้องผ่านการพิจารณาจากหลวงปู่มั่นและต้องเข้าคิวกันยาวมาก หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "ได้มีโอกาสมาปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่มั่นด้วยความบังเอิญจริง ๆ เพราะโดยปกติแล้ว พระภิกษุที่จะได้เข้ามาอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้นจะต้องจองคิวกันยาวมาก และจะต้องได้รับอนุญาตจากหลวงปู่มั่นก่อนด้วย พระภิกษุบางรูปที่วัตรปฏิบัติไม่เรียบร้อยบางครั้งก็ไม่มีโอกาสได้จำวัดที่วัดป่าบ้านหนองผือ"
    ด้วยบุญญาบารมีของพระพวงที่จะได้มีโอกาสมาปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่มั่น ในช่วงนั้นกำลังจะมีการสร้างถานหรือส้วมให้หลวงปู่มั่นใหม่ไว้บนกุฏิ เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง จึงได้หาพระหนุ่ม ๆ ที่มีกำลังวังชาดี ๆในละแวกนั้น มาช่วยในการก่อสร้าง พระพวงในวัยหนุ่มจึงมีโอกาสได้มาช่วยในการสร้างถานในครั้งนั้น กับพระภิกษุโสม โกกนัทโฒ ทั้งสองรูปจึงได้เข้ามาอยู่ในวัดป่าบ้านหนองผือโดยอาศัยศาลาวัดเป็นที่พักอาศัย
    ด้วยเหตุบังเอิญขณะนั้นมีการสร้างวัดใหม่ห่างจากวัดป่าบ้านหนองผือประมาณ 100-200 เส้น แต่มีพระจำพรรษาเพียงรูปเดียว ชาวบ้านจึงได้มานิมนต์พระภิกษุในสำนักของพระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาด้วย หลวงปู่มั่นจึงได้ให้พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร (ปัจจุบันอยู่ จ.อุดรธานี) ซึ่งจำพรรษากับหลวงปู่มั่นและมีพรรษามากแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดแห่งนั้น อาจารย์อ่อนสาขัดไม่ได้ จึงทำให้มีกุฏิว่างลง 1 แห่งพอดี แต่เนื่องจากพระพวงได้มาพร้อมกับพระอาจารย์โสม โกกนทโฒ จึงต้องรอกุฏิอีก 1 หลัง ประจวบเหมาะกับมีพระอาพาธด้วยโรคท้องร่วงอีก 1 รูปมีอาการค่อนข้างมาก หลวงปู่มั่นได้ให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทำให้กุฏิว่างอีก 1 หลัง
    หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "ตอนเย็นวันนั้น ขึ้นไปกราบหลวงปู่มั่น ท่านได้ให้ไปอยู่กุฏิที่ว่าง ถ้าหากพระทั้งสองรูปยังอยู่ก็คงไม่ได้กุฏิอยู่ บังเอิญโชคดี จึงได้อยู่รับใช้ท่าน ถ้าหากพระสองรูปไม่ได้ออกจากวัด ก็คงจะไม่ได้อยู่ปรนนิบัติหลวงปู่มั่น"
    ด้วยบุญญาบารมีโดยแท้ พระภิกษุพวงจึงได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่มั่นและฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งเป็นพรรษาครั้งสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ตลอดพรรษา ท่านได้ให้โอวาท สั่งสอน อบรม ข้อวัตร ปฏิบัติต่างๆจนเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติสืบมาจนปัจจุบัน
     
  15. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976

    15. นั่งสมาธิจนตัวลอย
    หลังจากที่ได้รับการชี้แนะแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงปู่มั่น สามเณรพวงได้ลองนั่งวิปัสสนากรรมฐานตามคำแนะนำของหลวงปู่มั่น ผลของการนั่งสมาธิครั้งนั้น ปรากฏในจิตว่าตัวเบาเป็นปุยนุ่น ลอยไปในอากาศ จนกระทั่งถอนจิตออกจึงทราบว่าจิตลอยขึ้นไป เป็นผลจากการที่จิตรวมเป็นหนึ่ง เกิดสมาธิระดับอุปปาจารสมาธิ และคงจะเป็นอานิสงส์มาแต่ครั้งก่อนที่เคยมีบุญบารมีได้ฝึกปฏิบัติมา จึงสามารถรวมจิตเป็นสมาธิได้อย่างรวดเร็ว
    ด้วยผลการปฏิบัติจากการได้รับคำชี้แนะจากหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "รู้สึกซาบซึ้ง ดื่มด่ำในรสพระธรรมเป็นอย่างมาก และตั้งใจว่าจะไปกราบเรียนหลวงปู่มั่นว่าจะขอบวชตลอดชีวิต แต่เปลี่ยนใจไม่ไปกราบเรียนท่านเพราะคิดว่าถ้าหากทำไม่ได้คงไม่ดี แต่ในจิตใจก็แน่วแน่มั่นคง มุ่งมั่น ในการฝึกวิปัสสนากรรมฐานให้แตกฉานต่อไป นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา"
    "ช่วงที่ปฏิบัติกับหลวงปู่มั่น การปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอุปสรรคอะไร แต่ก็มีบ้างที่มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องผู้หญิง ด้วยความเป็นพระหนุ่ม ๆ ก็มีความต้องการเช่นเดียวกับชายหนุ่มกับหญิงสาวทั่ว ๆ ไป ทุกคน คือ ราคะโทสะ โมหะ ศัตรูที่เกิดขึ้นก็เป็นที่จิตใจ ซึ่งก็เป็นธรรมดาในการปฏิบัติ ปัจจุบันก็ผ่านมาหมดแล้ว ก็ได้อาศัยธรรมของครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงปู่มั่นท่านเทศน์ อสุภกรรมฐานให้ฟังทุกวัน แล้วก็พิจารณาทำใจให้เข้มแข็ง เข้าใจความจริง สามารถผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาได้" หลวงตาพวงเล่าให้ฟังด้วยความเมตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008
  16. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    16. พระภิกษุร่วมพรรษา
    หลังจากที่ได้ย้ายแหล่งพำนักจากวัดป่าบ้านสองคอนมาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ กับพระอาจารย์มั่นแล้ว พระภิกษุพวงก็ได้รับหน้าที่ในการดูแลปรนนิบัติหลวงปู่มั่นโดยใกล้ชิด อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำสั่งสอนในข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย ตลอดจนการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างลึกซึ้ง
    นอกจากได้อยู่ร่วมพรรษากับหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของท่านแล้ว ยังมีเพื่อนพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกหลายองค์และเป็นพระที่มีภูมิจิตภูมิธรรมสูงอีกหลายรูปที่อยู่ร่วมพรรษาในเวลานั้น เท่าที่หลวงตาพวงจำได้ ได้แก่
    1. พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปัณโณ (วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี)
    2. พระอาจารย์วัน อุตตโม (มรณภาพแล้ว) วัดถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    3. พระอาจารย์ทองอยู่
    4. พระอาจารย์เนตร กันตสีโล
    5. พระอาจารย์แตงอ่อน กัลญาณธัมโม (วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)
    6. พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส (วัดโพธิ์ชัยมะนาว จ.ร้อยเอ็ด)
    7. พระอาจารย์เนียน
    8. พระอาจารย์อร่าม สุสิทขิโต (หลวงปู่คำไพ) (วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย)
    9. พระอาจารย์คำพอง ติสโส (มณภาพแล้ว) วัดถ้ำกกดู่ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    10. พระอาจารย์พล
    11. พระอาจารย์หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้ว) วัดภูจ้อก้อ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
    12. พระอาจารย์ศรี มหาวีโร (วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด)
    13. พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติสาโร (มรณภาพแล้ว) วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    14. พระอาจารย์เดิน
    15. พระอาจารย์เคน
    16. พระอาจารย์สีหา
    17. พระอาจารย์อุ่น
    18. พระอาจารย์คำดี
    19. พระอาจารย์แดง
    20. พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม (วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย)
    21. พระอาจารย์สังวาลย์
    22. พระอาจารย์โสม โกกนัทโฒ
    23. พระอาจารย์สีหา
    24. พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต (วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู)
    25. สามเณรอำพล
    26. สามเณรสี
    27.หลวงปู่บัว สิริปุณโณ (มรณภาพแล้ว) วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008
  17. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    17.หลวงปู่มั่น มรณภาพ
    ในพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ท่านมีอาการไข้ไอเรื้อรังมาตลอด ท่านได้บอกให้ศิษย์ทั้งหลายให้ทราบว่า การเจ็บป่วยของท่านครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแต่ลมหายใจที่จะรอวันตายไปเท่านั้น เช่นเดียวกับไม้ที่ตายยืนต้น แม้จะรดน้ำพรวนดินเพื่อให้ผลิดอกออกใบ ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ รออยู่พอถึงวันโค่นล้มลงจมดินเท่านั้น
    ข่าวการอาพาธของท่านได้แพร่กระจายออกไป ใครทราบข่าวไม่ว่าพระภิกษุสามเณรหรือฆราวาส ก็หลั่งไหลพากันมาเยี่ยมมิได้ขาดสาย
    อาการอาพาธของหลวงปู่มั่นเริ่มหนักขึ้นเป็นลำดับ พระภิกษุสามเณรในวัด ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาไม่ได้พากันนิ่งนอนใจ จึงได้จัดเวรคอยดูแลหลวงปู่มั่นบนกุฏิของท่าน 2 รูป และใต้ถุนกุฏิ 2 รูปมิได้ขาด ในช่วงนี้เองพระพวงก็ได้สลับผลัดเปลี่ยนกับพระภิกษุรูปอื่นๆ คอยปรนนิบัติหลวงปู่มั่นโดยตลอด
    พอออกพรรษา ครูบาอาจารย์พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็ทยอยมาเยี่ยมท่านมากขึ้นเป็นลำดับ อาการของท่านก็หนักเข้าไปทุกวัน ศิษยานุศิษย์รุ่นอาวุโสอาทิ หลวงตามหาบัว หลวงปู่กงมา หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่เทศน์ หลวงปู่อ่อน ได้เรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหลาย เพื่อเตือนให้ทราบถึงอาการของท่าน และแจ้งให้ทราบว่าหลวงปู่มั่น ท่านได้ดำริที่จะให้นำตัวท่านไปที่สกลนคร ไม่อยากมรณภาพที่นี่ เพราะจะทำให้บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายที่นี่ต้องตายไปด้วย เนื่องจากจะต้องมีคนจำนวนมากมาร่วมงาน จะต้องฆ่าสัตว์เป็นอาหาร
    เดิมทีเดียวบรรดาญาติโยมบ้านหนองผือมีความประสงค์ว่าจะให้ท่านมรณภาพที่นี่ พวกเขาจะเป็นผู้จัดการศพเอง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยากจนเพียงไรก็ตาม แต่ด้วยความเคารพในหลวงปู่มั่นจึงได้ปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงปู่มั่นแต่โดยดี
    บรรดาญาติโยมก็ได้ช่วยกันเตรียมแคร่เพื่อหามท่านจากวัดป่าบ้านหนองผือไปสกลนคร โดยได้แวะพักระหว่างทางที่วัดป่าดงภู่ เป็นเวลา 9 วัน บรรดาญาติโยมในจังหวัดสกลนคร อาราธนานิมนต์ท่านเดินทางต่อ ก่อนเดินทางได้นำแพทย์ไปฉีดยาให้หลวงปู่มั่นเพื่อระงับเวทนา เมื่อฉีดยาเสร็จก็นำท่านขึ้นรถไปต่อยังวัดป่าสุทธาวาส อ.เมืองสกลนคร ระหว่างการเดินทางท่านไม่รู้สึกตัวเลย จนกระทั่งเวลาประมาณ เที่ยงคืนถึงตีหนึ่ง (ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492) ในคืนนั้นท่านก็มรณภาพอย่างสงบ ยังความโศกเศร้าเสียใจของบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายทั้งพระและฆราวาส นับเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชนไทย
    พระพวงติดตามคณะไปด้วย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกับพระรูปอื่นๆในการดูแลหลวงปู่มั่น ตลอดการเดินทางจวบจนวาระสุดท้ายของหลวงปู่ นับเป็นอีกครั้งในชีวิตของพระพวงที่อยู่ในช่วงเหตุการณ์สำคัญของพระเถรานุเถระที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งองค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008
  18. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    18.พระพวง อาพาธหนัก
    หลังจากหลวงปู่มั่นมรณภาพแล้ว คณะสงฆ์พิจารณาตั้งศพของท่านเพื่อบำเพ็ญ และรอพระราชทานเพลิงศพ 100 วัน ระหว่างนั้นพระพวงเห็นว่าพอมีเวลาว่าง จึงเดินทางกลับบ้านศรีฐานเพื่อเยี่ยมโยมบิดามารดา พอกลับถึงบ้านศรีฐานเริ่มมีอาการไข้หนาวสั่น ซึ่งเกิดจากได้รับเชื้อไข้ป่าหรือไข้มาเลเรียตั้งแต่วัดป่าบ้านหนองผือ อาการหนักมากขึ้นเรื่อยๆ หลวงตาเล่าให้ฟังว่า "ป่วยเป็นไข้ป่า อยู่ครึ่งเดือน จนผมร่วงหมด ต้องไปตามหมอมาฉีดยาให้ เพราะยังไม่มีโรงพยาบาลยโสธร"
    หลังจากฉีดยาแล้วพระพวงสลบไปไม่ได้สติเกิดนิมิตรขึ้น หลวงตาเล่าให้ฟังต่อว่า "พอฉีดยาเสร็จก็สลบไปไม่ได้สติ เกิดนิมิตรเห็นมีคนมาหามหลวงตาไปใส่ในเรือล่องไปตามแม่น้ำโขง ไม่ทราบเขาจะเอาไปไหน มองเห็นดวงไฟลิบๆสีเขียวอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่ล่องเรือเท่าไรก็ไม่ถึงสักที รู้สึกเหมืนล่องเรือกว่า 3 ชั่วโมงแล้วก็ยังไม่ถึง จนกระทั่งฤทธิ์ยาเริ่มคลายจึงค่อยๆมีสติขึ้น เริ่มมองเห็นหลังคากุฏิที่มุงด้วยหญ้าแฝก ขณะเดียวกันก็ยังรู้สึกโยกเยกเหมือนนอนอยู่ในเรือ สีเขียวที่มองเห็นนั้นกลายเป็นแสงไฟจากตะเกียงที่ตั้งอยู่ในกุฏิ พอพลิกตัวโยมบิดาถามว่าอาการเป็นอย่างไรบ้าง จึงเริ่มรู้สึกตัวหายใจได้ หลังจากนั้นอาการก็ทุเลาเป็นปกติ แล้วก็เดินทางไปร่วมในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่น" นี่เป็นอีกเหตุการหนึ่งที่พระพวงยังจำได้โดยมิลืมเลือนจวบจนปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008
  19. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976

    [​IMG]

    19. ไปอยู่กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    หลังจากเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว บรรดาพระเณรในสายของท่านก็มีความระส่ำระสาย ขาดที่พึ่งทางใจ ขาดเสาหลักอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เปรียบเสมือนขาดร่มโพธิร่มไทรให้พึ่งพิง
    พระพวงก็เช่นเดียวกัน หลังจากที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ ได้ตัดสินใจไปอยู่ปฏิบัติกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชให้ อีกทั้งยังมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างดี
    หลวงตาพวงเล่าให้ฟังว่า "หลวงปู่ฝั้นท่านมีปฏิปทาเหมือนหลวงปู่มั่น แต่ท่านไม่เคร่งเหมือนกับหลวงปู่มั่น มีพระเณรไปอยู่กับหลวงปู่ฝั้นอยู่มาก ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็เช่น พระอาจารย์สุวัจ สุวัจโน ที่ จ.บุรีรัมย์ พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อคำดี วัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน นอกจากนั้นจำชื่อไม่ได้ บางองค์ก็มรณภาพไปแล้ว"
    ตอนแรกก็ไปอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุนาเวง ต.พังขว้าง อ.เมือง จ.สกลนคร ซึ่งแต่เดิมเป็นที่พักสงฆ์ ซึ่งหลวงปู่พรหม จิระปุณโย (วัดป่าประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี )ไ ปสร้างไว้ มีผู้พยายามจะแย่งกรรมสิทธิ์ไป พระอาจารย์ฝั้นต้องต่อสู้ด้วยธรรมอันยอดเยี่ยมของท่าน จึงสามารถรักษาวัดนี้ไว้ได้ ท่านได้ตั้งชื่อวัดว่าวัดป่าภูธรพิทักษ์ เพราะระลึกถึงความช่วยเหลือของตำรวจภูธรในสมัยนั้น
    ปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติเมื่ออยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้น หลวงตาพวงบอกว่า "ปฏิปทาต่าง ๆ ก็เหมือนอยู่กับหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่ฝั้นท่านเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้นท่านก็เอาปฏิปทาของหลวงปู่มั่นมาปฏิบัติ"
    "การปฏิบัติในช่วงนั้น หลวงปู่ฝั้นท่านเทศนาอบรมธรรมวินัย พาภาวนาปฏิบัติธรรม ในวันพระก็จะทำความเพียรนั่งสมาธิตลอดคืน"
    พระพวงได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ฝั้นที่วัดป่าภูธรพิทักษ์แห่งนี้ถึง 6 พรรษาได้สั่งสมประสบการณ์ทั้งในข้อวัตรปฏิบัติ การเจริญภาวนา ตลอดจนการดูแลปกครองคณะสงฆ์ ได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาใช้ในปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008
  20. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]
    ท่านพระอาจารย์วัน อุตโม
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (ถ้ำพวง) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    ---------------------------------------------------------------------------------------

    20. เหตุอัศจรรย์ที่ถ้ำเป็ด อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    ในหน้าแล้งราวพรรษาที่ 7 ของพระพวงนั้น หลวงปู่ฝั้นได้พาคณะอันประกอบด้วยมีหลวงปู่ฝั้น พระพวง สุขินทริโย และเณรอีก 1 รูป ไปธุดงค์ตามป่าเขาต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสถานที่อันเป็นสัปปายะเหมาะในการทำความเพียร การฝึกฝนอบรมตนเองในการธุดงค์ในป่า จะต้องเผชิญกับภยันตรายต่างๆ มากมายย่อมทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว อดทน
    หลังจากที่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขา ได้เดินทางไปถึงถ้ำแห่งหนึ่งเรียกว่า ถ้ำเป็ด ห่างจากถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ของพระอาจารย์วัน อุตตโม ประมาณ 3 กิโลเมตร หลวงปู่ฝั้นได้พาไปอยู่ที่นั่น 8 เดือน ไปอยู่ครั้งแรกมีความยากลำบากมาก เพราะไกลจากหมู่บ้าน ต้องใช้ระยะเวลานานในการลงมาบิณฑบาตเพราะระยะทางห่างจากหมู่บ้านถึง 5 กิโลเมตร
    หลวงตาพวงเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนั้นว่า "มีอยู่วันหนึ่งเณรที่อยู่ร่วมด้วยเนื่องจากอายุยังน้อย ชอบเล่นตามประสาเด็ก ๆ ในช่วงกลางวันก็ปีนขึ้นไปบนเขาแล้วลองปาก้อนหินดูว่าจะขว้างแล้วไปตกไกลไหม ก็ลองปาดู 4-5 ก้อน หลวงปู่ฝั้นอยู่ข้างล่างได้ยินเสียงก้อนหินจึงเรียกเณรลงมาถามว่าปาก้อนหินใช่ไหม หลวงปู่ฝั้นก็เตือนว่าทีหลังอย่าทำ การมาอยู่ป่าเขาจะต้องสงบสำรวม ต้องมีกิริยามารยาทที่เรียบร้อย จะเล่นคะนองเช่นนั้นไม่ได้ ท่านได้อบรมสั่งสอนในเรื่องอื่น ๆ อีก แล้วก็ให้เณรไปปัดกวาดทำความสะอาดกุฏิ อาบน้ำ เตรียมตัวปฏิบัติธรรม
    พอตกกลางคืนในคืนนั้น ประมาณเที่ยงคืน ขณะที่ทุกรูปจำวัดหมดแล้ว ได้ยินเสียงดัง กับ กับ กับ เหมือนม้าวิ่งมาอย่างรวดเร็ว จนถึงบนชานของกุฏิเณรซึ่งอยู่ข้างล่าง เณรได้ยินเสียงดังกล่าว ตกใจกลัวจนตัวสั่นจะร้องก็ร้องร้องตะโกนไม่ออก ในขณะที่หลวงปู่ฝั้นก็ได้ยินเสียงม้าวิ่งเช่นเดียวกัน จึงตะโกนเรียก "เณร เณร" แต่ก็ไม่ได้ยินเสียงตอบ ท่านจึงออกจากกุฏิที่อยู่ข้างบนลงมาดูเณร เพราะกลัวว่าเสือจะคาบเณรไปกิน
    เมื่อมาถึงกุฏิจึงเห็นเณรนั่งตัวสั่นอยู่ ในขณะที่ข้างนอกก็ไม่พบสัตว์หรืออะไรเลย หลวงปู่ฝั้นจึงบอกว่า "เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์เตือนใจถึงการปฏิบัติตัว ให้มีความสำรวมกาย วาจา ใจ ในการออกธุดงค์ในที่ต่าง ๆ เพราะทุก ๆ ที่ ล้วนแล้วแต่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูแลอยู่."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...