จิตบังคับบัญชาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้...จะอบรมจิตได้อย่างไร???

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 27 มกราคม 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    จากที่คุยกันในกระทู้เดิม

    ครับ ก็เชิญทุกท่านแสดงคคห.ครับ
    จิตที่ไหนครับบังคับบัญชาไม่ได้???
    อะไรที่บังคับไม่ได้ย่อมอบรมไม่ได้เช่นกันนะครับ ...
    ส่วนผมคงเหมือนเดิมนะครับ จะมาตอบวันละครั้งเหมือนเดิมนะครับ
    และไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นของเก่าหรือสัญญาเก่าไปนะครับ
    เพราะศาสนาพุทธไม่ขึ้นกับกาลเวลาครับ

    ;aa24
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    สิ่งที่เราคุยกันอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วกว่า๒๕๐๐ปี
    และได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    ฉะนั้นย่อมมีการแตกแขนงออกไปมากมาย เป็นหลายลัทธิ หลายความเชื่อ
    แต่เราควรที่จะมีหลักเทียบเคียงโดยใช้เหตุผล หรือ พุทธพจน์

    ปัจจุบันที่พบโดยมาก มักพูดกันว่า
    จิตบังคับบัญชาไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ ห้ามแทรกแซง

    พระพุทธองค์ทรงสอนให้อบรมจิตให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง
    ถ้าจิตบังคับบัญชาไม่ได้ หรือควบคุมไม่ได้ จะอบรมได้อย่างไร???
    ซึ่งเป็นการขัดกับพุทธพจน์นะครับ

    ;aa24
     
  3. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ฟังอย่างเดียวดีกว่า
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    อริยสัจ ๔ ประการ ได้แก่
    ๑. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ที่ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยาก
    ๒. สมุทัย เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา คือความทะยานอยาก
    ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหาให้สิ้นเชิง
    ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่อริยมรรค ๘ ประการ

    อริยสัจ ๔ ประการนี้ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงแสดงไว้อย่างชัดแจ้งในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดปัญจักวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันนี้เรียกว่า "สารนาถ" ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ที่เราเรียกวันนี้ว่า "อาสาฬหบูชา"พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปฐมเทศนา" คือ การเทศกัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ปฐมเทศนามีหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกอย่างสมบูรณ์ คำว่า "สัจจะ" แปลว่า ความจริง มี ๔ ประการ คือ
    ๑. สมมุติสัจ ความจริงโดยการสมมุติ คือความจริที่ไม่เป็นจริง เพียงแต่เราสมมุติขึ้นเท่านั้น

    ๒. สภาวสัจ ความจริงโดยสภาวะ คือความจริงที่เป็นจริง ซึ่งได้มาจากการค้นคว้าวิจัย ทดลองจนสามรถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น

    ๓. อันติมสัจ ความจริงขั้นสุดท้าย หมายถึงความจริงที่ได้วิเคราะห์จนถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไรจริงยิ่งไปกว่านั้น

    ๔. อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐทำให้ผู้ปฏิบัติหลุดพ้นจากกองกิเลสทั้งหลายกลายเป็นหระอริยเจ้า

    อริสัจข้อที่ ๑ ทุกข์
    คำว่า "ทุกข์" นี้ ตามความหมายทั่วไป ก็หมายถึงความทุกข์มาน ความเจ็บปวดความโศกเสร้า เสียใจ แต่คำว่าทุกข์ใน

    อริยสัจข้อที่ ๑ นี้ เป็นความทุกข์ที่แฝงทัศนะทางพุทศาสนาเกี่ยวกับชีวิตและโลกเอาไว้ ย่อมมีความหมายทางปรัชญาที่ลึกซึ้งกว่า เป็นที่ยอมรับกันว่า คำว่า ทุกข์ ในอริยสัจ ข้อที่ ๑ นั้น รวมถึงความหมายของทุกข์ตามปรกติธรรมดา เช่น ทุกข์ทรมาน ความเจ็บ ปวด เข้าไว้ด้วย และรวมถึงความคิดที่ลึกซึ้งเข้าไปด้วยกันด้วย เช่น ความไม่แน่นอน ความว่างเปล่า ความไม่สมหวัง ความไม่มีแก่นสาร เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสทุกข์ไว้ในธรรมจักกัปปวัตนสูตร ตอนที่ว่าด้วยอริยสัจได้แบ่งทุกข์ออกเป็น ๒ ประการคือ

    ๑. สภาวทุกข์ ทุกประจำ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ และความตาย เป็นทุกข์
    ๒. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร ได้แก่ ความเศร้าโศก เสียใจ ร่ำไห้ รำพัน ความผิดหวัง เป็นทุกข์

    อริยสัจข้อที่ ๒ สมุทัย
    สมุทัย คือ เหตุเกิดทุกข์ อันเกิดจากตัณหาคือ ความอยากที่มุอยู่ในจิตใจของแต่ละคนทำให้คนเกิดทุกข์ในขณะที่ลีทธิต่าง ๆสอนว่า ความทุกข์นั้นเกิดจากพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์ บันดาลให้มนุษย์เป็นไปต่าง ๆ กัน แต่พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่ตัณหา คือความอยากเท่านั้นว่าทำให้คนเกิดทุกข์
    ตัณหา ๓ ได้แก่
    ก. กามตัณหา อยากได้กามคุณ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จัดเป็นกามตัณหา
    ข. ภวตัณหา อยากได้ในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ค. วิภวตัณหา อยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น เช่นอยากหนีภาวะที่คับแค้น

    อริยสัจข้อที่ ๓ นิโรธ
    นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การสละ การสลัดออก ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพานนั่นเอง คำนิยามของ นิพพาน หมายถึง การดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา ความว่า ความปล่อยวาง ความไม่อาลัย "ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืออุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ คือ นิพพาน"

    อริยสัจข้อที่ ๔ มรรค
    มรรค แปลว่า หนทาง หมายถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มรรคนี้เป็นทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะมีทางปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปคือ

    ๑.ประเภทที่หย่อนเกินไป ร่างกายและจิตใจหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามารมณ์ เรียนว่า กามสุขัลลิกานุโยค

    ๒. ประเภทที่ตึงเกินไป มีการทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ทุกข์ทรมานอย่างหนักเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    การบำเพ็ญทั้งสองวิธีนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงทดลองมาแล้วตอนบำเพ็ญทุกรกิริยาก่อนตรัสรู้ เมี่อทดลองจนถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่พ้นทุกข์จึงได้ค้นพบวิธีปฏิบัติใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่หย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป เป็นการปฏิบัติอยู่ในสายกลาง ทางสายกลางนี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
    ๑. ความเห็นชอบ
    ๒. ความดำริชอบ
    ๓. การเจรจาชอบ
    ๔. การงานชอบ
    ๕. เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. พยายามชอบ
    ๗. ระลึกชอบ
    ๘. ตั้งใจชอบ

    อริยสัจทั้ง ๔ ประการนี้ ถือว่าเป็นหลักคำสอนที่คลุมธรรมทั้งหมด โดยเฉพาะทางสายกลางทั้งหมดนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงสายกลางนี้ตลอดมาเป็นระยะเวลานาน แก่บุคคลหลายประเภทที่แตกต่างกัน ตามกำลังสติปัญญาและความสามารถของแต่ลบุคคลที่จะเข้า
    ใจและปฏิบัติตามพระองค์ได้การปฏิบัติตามมรรค ๘ ประการ หรือทางสายกลางนี้ต้องทำให้เกี่ยวเนื่องกันครบทุกข้อ แต่ละข้อเป็นทางปฏิบัติที่
    สัมพันธ์กัน มรรคทั้ง ๘ ประการนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การอบรมฝึกฝนตนตามหลักสูตรของพระพุทธศาสนาซึ่งมีสาระ
    อยู่ ๓ ประการ คือ
    ก. การประพฤติตามหลักจรรยา (ศีล)
    ข. การฝึกฝนอบรมทางใจ (สมาธิ)
    ค. การให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง (ปัญญา)

    หลักการรู้อริยสัจ ๔
    การรู้อริยสัจนั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ในการรู้ที่แน่นอนตายตัว การรู้อริยสัจที่ถือว่าจบเกณฑ์นั้น จะต้องรู้ ๓ รอบ รู้ในญาณทั้ง ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ เรียกว่า ปริวัติ ครั้งละ ๔ รวมเป็น ๑๒ ครั้งดังนี้

    รอบที่ ๑ สัจจญาณ คือรู้ว่า
    ๑. ทุกข์มีจริง ชีวิตคลุกเคล้าด้วยควมทุกข์จริง
    ๒. สมุทัย เป็นเหตุเกิดทุกข์จริง
    ๓. นิโรธ ความดับทุกข์มีจริง
    ๔. มรรค เป็นทางไปสู้ความดับทุกข์จริง

    รอบที่ ๒ กิจจญาณ คือรู้ว่า
    ๑. ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
    ๒. สมุทัย เป็นสิ่งที่ควรละ
    ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ควรทำให้แจ้งขึ้นในใจ
    ๔. มรรค ควรบำเพ็ญให้เกิดขึ้น

    รอบที่ ๓ กตญาณ คือรู้ว่า
    ๑. ทุกข์ เราได้กำหนดรู้แล้ว
    ๒. สมุทัย เราได้ละแล้ว
    ๓. นิโรธ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
    ๔. มรรค เราได้บำเพ็ญให้เกิดมีครบถ้วนแล้ว

    เอาเรื่องอริยสัจจ๔ อันมีรอบสาม อาการ๑๒ มาให้อ่านกันครับ


    http://www.geocities.com/sakyaputto/ariyasat.htm


    ;aa24
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ค ค ค คือ ว่า

    ข ข ข ขอ อนุญาติครับ

    คือว่า

    คำว่า บังคับบัญชาได้ นั้นหมายถึง ได้อย่างใจในบัดดล อันนี้ก็ขอยกตัวอย่าง
    ประกอบเช่น "จงบรรลุนิพพานบัดเดี๋ยวนี้ นะเจ้าจิต" แบบนี้จะเห็นว่าทำไม่ได้

    ต ต ต แต่ว่า

    คำว่า บังคับบัญชาได้ นั้นหมายถึง พออบรมไปเรื่อยๆ ดั่งบ่มะม่วง อันนี้ก็ขอยก
    ตัวอย่างประกอบเช่น "จงเพียรปฏิบัติเป็นพหุลีกตา นะเจ้าจิต" แบบนี้จะเห็นพอ
    เป็นไปได้บ้าง บางคนก็อาจจะทำไม่ได้เลยโดยเฉพาะกลุ่มนอกเขตสัมมาทิฏฐิ เช่น
    นก หนู หมู หมา ซึ่งพวกนี้มีจิต แต่เอามาอบรมอย่างไรก็ไม่ไหว
     
  6. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    คุณนิวรณ์ ไม่ต้อง ข ข ข เขิร หรอก พูดมาเหอะ อิอิ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ก ก ก ก เกรงใจพี่ภูติอะฮับ

    ;aa8
     
  8. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    และที่สำคัญนะ ที่บอกว่า ทำมัยเรา ๆ จึง copy จิตอรหันต์ของพระท่านไม่ได้ เหตุผล เพราะจิตของเรายังไม่ดีพอ เท่าพระอรหันต์ แต่จะสามารถรับได้ในกรณีที่พระอรหันต์ท่านแผ่เมตตามาให้เรา นั่น ถึงมีการแผ่เมตตาเกิดขึ้นงัยคะ
     
  9. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ท่านไปแล้ว อิอิ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    5555 ตลกดี ท่านนิวรณ์กล่าวดีแล้ว

    บังคับบัญชาไม่ได้ แต่อบรมได้ เปรียบดัง กระแสน้ำ จะบังคับไปในทิศทางไม่ได้ แต่ถางทางให้น้ำไหลไปได้

    ทีนี้ จิตนี้ ต้องอบรม ต้องถางทาง แต่เมื่อเป็นที่สุดแล้ว จิตที่ไม่โดนอกุศล มากลุ้มรุม
    จิตก็เป็น จิตอย่างสมบูรณ์ เป็น ธาตุรู้บริสุทธิ์ ซึ่งจะหมายความว่าบังคับได้หรือเปล่าก็ ไม่แน่ใจ

    เพราะเป้าหมายสุดท้าย คือการไม่ได้บังคับให้มันเป็นอะไร มันต้องเป็นไปตามธรรม
    จะไปบังคับทำไม
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ขอโทษทีมาช้าไป...
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    อ่าน จนลมออกกระหม่อม....ดีนะไม่ออกหู
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    โดน...
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ....สัมมาทิฐิ ....ผมเข้าใจว่า การตั้งตนอยู่ในความดี
    ....สัมมาสมาธิ....ผมเข้าใจว่า เกิดจาก สัมมาสติที่ตั้งมั่น เรียก สัมมาสมาธิ(คือเกิด สัมมาสติ ที่ต่อเนื่อง ถี่ขึ้น )

    .....สัมมาสติ ....ผมเข้าใจว่า สติที่ประกอบด้วยปัญญาในขณะจิตนั้น (สติที่เอื้อต่อมรรค ผล นิพพาน)
    .....สมาธิ ...จิตตั่งมั่น
    .....วิปัสนา...การรู้แจ้ง
    ...สมถะ....อารมณ์ที่จดจ่อ เพ่ง จ้อง ในอารมณ์ นั้นๆ
    ...ทุกข์ .... เป็นของทำให้ลำบาก
    ...อนิจจัง...ความไม่เที่ยงทนต่อสภาพไม่ได้
    ...อนัตตา...บังคับไม่ได้
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ท่านธรรมภูติ เห็นว่า กายนี้ ใจนี้ เป็นทุกข์บ้าง สุข บ้างหรือเปล่า หรือเป็นว่าเป็น ทุกข์ ผสมกับสุข แต่ผมเห็นว่า กายนี้ ใจนี้ เป็นทุกข์ล้วนๆ
    ส่วนการที่ท่านบอกว่าบังคับได้ มันก็ทำได้แค่ขณะช่วงนั้น ระหว่างนั้น ไม่สามารถ บังคับได้ตลอดไป ผมจึงได้เข้าใจว่า มันบังคับไม่ได้ ...
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    คุณลองทำให้ดูหน่อยได้มั้ยครับ???
    วิธีสลัดตัวเองให้ออกจากตัวเอง
    ที่เราทำได้แน่ๆก็คือสลัดเสื้อผ้าออกจากตัวเราเองได้นะครับ
    ไม่ว่าจะกี่ชุดก็แล้วแต่หรือยากเย็นแค่ไหน เราทำได้
    แต่เราจะสลัดตัวเราให้ออกจากตัวเราเองนั้น ขาดเหตุผลและเป็นไปไม่ได้ครับ
    .......ข้างบนที่ท่านถามไว้
    คุณลองทำให้ดูหน่อยได้มั้ยครับ???
    วิธีสลัดตัวเองให้ออกจากตัวเอง
    ......ขั้นแรกที่ผมเคยทำมาน่ะครับ
    ..1.พยายามรักษาศีลข้อเดียว ศีลข้อเดียวที่ผมพยายามคือ รักษา ใจ ให้อยู่ในความดีไว้ ถึงแม้ว่า บางครั้งจะไม่ได้เต็มร้อย แต่ก็พยายามไว้ครับ
    ...2. ก่อนนอน ผมพยายามสวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิให้สงบ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำทุกวันแต่ก็พยายามทำครับ
    3.ผมพยายามทำกิจวัตรให้ตรงต่อเวลา เช่น กิน ขี้ หลับ นอน ตื่น พยายามทำให้เป็นเวลาครับ อาจจะไม่ร้อยเปอร์เซ็น แต่ก็พยายามครับ
    4.ผมฝึก สติ เพื่อให้เกิด สัมมาสติ ในเวลาดูหนัง ดูละคร หรือฟังเพลง เช่น เวลาดูละคร หากละครช่วงนั้นเศร้า ก็จะหัดสังเกตุใจ ทีมี ยินดียินร้าย หรือเฉยๆ ต่อการดูละคร ผมก็ ชำเรือง ดูที่ใจแบบห่างๆไม่ไปเพ่ง เหมือนกับว่า เรานั่งอ่านหนังสืออยู่หน้าบ้าน มีคนเดินผ่าน ก็ชำเรืองดูด้วยหางตา แต่ไม่ได้ไปนับคนที่เดินผ่าน แค่ดูเฉยๆ แต่จิตใจก็จดจ่อในการอ่านหนังสือ และรู้เมื่อคนเดินผ่าน แรกๆจะฝึกแบบนี้ครับ ฝึกไปเรื่อยๆ ว่างผมก็ทำสมาธิ ทำทานบ้างตามกาลสมัย....
    วิธีของผมแบบนี้น่ะครับ ที่ผมพยายามทำอยู่เพื่อสลัดตัวเองออกจากตัวเองน่ะครับ......
    ...ที่เราทำได้แน่ๆก็คือสลัดเสื้อผ้าออกจากตัวเราเองได้นะครับ ไม่ว่าจะกี่ชุดก็แล้วแต่หรือยากเย็นแค่ไหน เราทำได้ ....

    ประโยคนี้ในความเข้าใจท่านธรรมภูมิ หากคิดว่า กายนี้ เป็นเหมือนเสื้อผ้า เราฝึกปฎิบัติธรรม มาเพื่อ ให้เป็นเสื้อชุดสุดท้าย จะได้ไม่ต้องเปลี่ยน ชุดอีก ผมก็คิดเช่นนั้น...
    คราว นี้หากเปรียบเสื้อผ้าเหมือนร่างกาย แล้วจิตล่ะครับ จะเปลี่ยนไหม เปลี่ยนแต่เสื้อผ้าที่เปรียบเหมือนกาย แล้วไม่เปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปรียบเหมือนจิตบ้างเหรอครับ...[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2009
  17. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,152
    ค่าพลัง:
    +3,821
    ข้าแต่ข้าเจ้าเอย
    ใยมิเคยรู้ทุกข์สุข
    เพียงดูมันล้ำรุก
    ทุกและสุขที่คิดกัน
    .
    เป็นไงแล้วเป็นไง
    ทุกแค่ไหนสุขไรกัน
    อย่างนี้คือทุกนั่น
    แล้วอย่างนั้นคือสุขดี?
    .
    ใครตั้งมาตรฐาน
    ว่าเทพมารว่าเลวดี
    อันใครแล้วใครนี้
    ได้จำกัดกำหนดความ??
    .
    ทุกสุขก็ของมัน
    เพียง......นั้นไปคิดตาม
    กี่ชาติ ต่อกี่ยาม...
    ฤๅจะพ้นซึ่งเวรา-*-.....(เกี่ยวตรงไหนวะ-*-)
    .
    .
    .
    พวกเราแค่ทำหน้าที่ของเราไปเอง...ทำไม....คุณต้องมา....
    ตราหน้าพวกเรา......ว่าทำให้คุณรู้สึกทุกข์..................
    ทำไม.....ต้องคาดหวัง.....ให้พวกเรา......เป็น............
    สิ่งที่เรียกว่า............................................สุข...
    .
    .
    คุณคิดไปเองนิคะ....ว่าทุกข์....
    คุณคิดไปเองนิคะ....ว่าสุข......
    .
    .
    คุณแค่บัญญัติความหมายขึ้นมาเอง......
    .
    --
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2009
  18. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,152
    ค่าพลัง:
    +3,821
    บัญชา...อบรม.....
    55+
    ขำ..................
    .
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณจ้อนครับ ยินดีนะครับที่แวะมาตอบ
    แต่การสนทนาธรรมที่ดีควรอยู่ในหลักเหตุผลนะครับ
    และมีที่รองรับคำสนทนานั้นด้วย

    แต่ที่ผ่านๆมาคุณเล่นรับรองตัวคุณเองเบ็ดเสร็จ
    โดยที่บางครั้งยังวางตัวเหนือกว่าจอมศาสดาสัมมาสัมมาพุทธเจ้าเสียอีก
    อันเป็นสิทธิส่วนบุคคลคงไม่มีใครห้ามคุณพูดได้นะครับ
    แต่บาปกรรมที่คุณทำโดยการบิดเบือนพุทธพจน์นั้น
    ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลอีกเช่นกันที่คุณจะต้องรับเองไปเต็มๆเช่นกันนะครับ
    ใครก็ช่วยคุณไม่ได้อีกเช่นกัน

    นอกจากคุณจะไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษเท่านั้น
    ซึ่งคุณเองก็เพียรย้ำอย่างหนักแน่นมาเสมอๆว่าอะไรๆก็ไม่มีตัวตนทั้งนั้น
    บาปบุญคุณโทษก็เช่นกันไม่มีตัวตน
    ฉะนั้นคุณเองก็ไม่มีตัวตนเช่นกัน
    แล้วกรรมที่ไม่มีตัวตนทำจะถูกตนได้อย่างไร
    เพราะอะไรๆก็ไม่มีทั้งนั้น
    อันนี้เป็นลัทธินอกพุทธศาสนา มีมาก่อนพุทธศาสนาเสียอีก

    ผมเข้าเรื่องนะครับ ผมก็ได้ชี้แจงมาเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันนะครับว่า
    คุณแปลคำว่า
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    คุณบังคับไม่ให้ตาไปดูรูปลามกได้มั้ยครับ???
    เมื่อมีคนมายืนด่าว่าคุณ ๆสามารถเดินหนีเพื่อไม่ฟังได้มั้ยครับ???
    เมื่อกลิ่นที่หอมจรุงใจมาเตะจมูกคุณ ๆเดินเลี่ยงเพื่อไม่ดมได้มั้ยครับ???
    เมื่อรสชาติอาหารไม่ถูกลิ้น หยุดกินได้มั้ยครับ???
    เมื่อมีคนมาขอกอดคุณ ๆไม่ให้เค้ากอดได้มั้ยครับ???
    เมื่อมีเรื่องไม่ชอบใจเกิดขึ้น
    คุณสามารถหยุดคิดเรื่องไม่ชอบใจ แต่ไปคิดเรื่องชอบใจแทนได้มั้ยครับ???
    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...