จิตวิญญาณ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 21 กรกฎาคม 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    [​IMG]


    วัดอโศการาม ๒๕๐๓
    จากหนังสือ “ท่านพ่อลี ธัมมธโร”
    ชมรมพุทธศาสน์ กฟผ. พิมพ์เผยแพร่
    ในการประกอบกิจการงานต่างๆ วิริยะ ความเพียร และ ขันติ ความอดทน เป็นสิ่งที่พุทธบริษัททั้งหลายควรจะต้องปลูกฝังให้บังเกิดมีขึ้นในตนของตนอยู่เสมอ เพราะสิ่งนี้ในสมัยก่อนก็ดี สมัยนี้ก็ดี บางคนเป็นผู้อ่อนการศึกษา บางท่านถึงกับอ่านหนังสือไม่ออกสักตัวเดียวไม่ได้ศึกษาในทางปริยัติเลย เมื่อมามีความพากเพียรปฏิบัติ สามารถที่จะอ่านหนังสือไทยออกท่องหนังสือได้บางทีก็ถึงกับมีสิทธิเข้าสอบตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียนเขาก็ได้ อย่างนี้ก็เคยปรากฏ ฉะนั้นจึงควรสำนึกในใจว่า สิ่งทั้งหลายหมดโลกนี้ย่อมสำเร็จมาได้จากความพากเพียร ให้สำนึกอย่างนี้ เราจะเป็นมนุษย์ประเภทไหนก็ตาม จะเป็นผู้ฉลาดมากหรือเป็นผู้โง่มาก อ่อนการศึกษาอ่อนการสังคมก็ตาม ถ้ามีธรรมะข้อนี้ประจำจิตใจของตนอยู่ตราบใด บุคคลนั้นมีหวัง ถ้าบุคคลใดฉลาดก็ตาม รู้มากตามตำรับ แก่สังคมก็ตาม แต่หากขาดความพากเพียรอย่างเดียว ไม่มีหวังที่จะให้สำเร็จลุล่วงไปในจุดหมายของตน ไม่ว่าแต่ในส่วนทางธรรม แม้ในทางโลกก็เหมือนกัน อันนี้พุทธบริษัททั้งหลายผู้มุ่งต่อความสุขอันเลิศ กล่าวคือพระนิพพาน อันนี้แหละเป็นแม่เหล็กสำคัญ ให้ถือเป็นตัวที่หนึ่ง ตัวที่สองนั้นไม่สำคัญเท่าใดนัก แต่เป็นคู่มือกำกับ ถ้าตัวแรกมันเกิดขึ้น ตัวที่สองมันก็พลอยเกิด คือ ได้แก่ขันติ ทั้งสองตัวนี้แหละ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ว่าถ้าเป็นผู้มีความพากเพียร ขันติมันก็มีในตัว เพราะเหตุใด? คนผู้มีความพากเพียรต้องมีอันตรายมากีดขวางเป็นธรรมดา แต่ถ้าเพียรจริงๆ สิ่งนั้นมันก็ดับ ทีนี้เพียรจริงๆ มันสำเร็จมาจากความอดทนเหมือนกัน ถ้าไม่มีความอดความทน เพียรมันก็ไปไม่รอด ถ้ามีความเพียรประจำจิต มันครอบไปถึงตัวขันติด้วย ฉะนั้น คุณธรรมสองตัวนี้ ให้ถือว่าความอดทนเป็นตัวที่สอง ความพากเพียรเป็นตัวที่หนึ่ง เมื่อมีความเพียรประจำตนอยู่อย่างนี้เป็นนิจ สิ่งที่เรามุ่งหวังนั้นจะอยู่ลึกอยู่ไกลสักเพียงใดก็ตาม พระพุทธเจ้าของเราก็ได้ทรงพยากรณ์ล่วงหน้า ว่าคนนั้นจะสมหวังของเขาได้ ฉะนั้น จึงได้เปล่งพุทธภาษิต รับรองให้พวกเรา เพื่อประกอบความเพียรอันนั้นว่า “วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ” บุคคลที่จะพ้นไปจากโลกบรรลุถึงพระนิพพาน ต้องอาศัยความเพียรเป็นรากเหง้า ความเพียรจัดเป็นเครื่องดึงดูด ผลักดันบุคคลผู้นั้น ให้ก้าวไปสู่พระนิพพาน นี่พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ก่อน แต่มิจฉาทิฏฐิซึ่งเกิดขึ้นจากอำนาจกิเลส มันตอบโต้วาทะของพระพุทธองค์ คือ หมายความว่าไม่เชื่อ มันเชื่อตัวของมันเองเสียโดยมาก ไม่เชื่อคำรับรองของนักปราชญ์ ฉะนั้น มันจึงจะต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ในโลกนี้ คือ อาศัยเชื่อแต่ตัวของตัวเอง ตัวของตัวเองมันก็เป็นตัวกิเลส ตัวกิเลสนี้แหละ มันเป็นเครื่องกีดกันห้ามศรัทธาเรามิให้เกิดความเชื่อในวาทะที่พระองค์ทรงทายไว้ มิให้เราเชื่อในวาทะของพระองค์ที่ทรงทายทักว่าบุคคลจะพ้นไปจากทุกข์ ต้องสำเร็จมาจากความพากเพียร เป็นแต่ได้ยิน แต่มันไม่รู้เรื่อง คือเชื่อตั้งแต่แค่หู ความรู้ไม่ได้เข้าไปถึงดวงจิต ฉะนั้น มันจึงแตกสามัคคีกัน ตัวของมันคนเดียวน่ะมันแตกความสามัคคีกัน คือ เมื่อเราได้ฟังแค่หู มันก็รู้ไปเสียอย่างหนึ่ง แต่เมื่อมันตรึกตรองทางจิตใจ มันก็รู้ไปเสียอีกอย่างหนึ่ง ไม่ค่อยจะตรงกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แหละ จึงเกิดความลังเลสงสัย ไม่แจ่มชัดในดวงจิต ข้อปฏิบัติของเราจึงมีอาการลุ่ม ๆ ดอนๆ ผิดๆ ถูก ๆ จึงกลายเป็นไปโดยอาการเช่นนั้น อันนี้ก็คือ อาศัยดวงจิตของบุคคลทั้งหลายนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเฉพาะ มันก็มีใจอันเดียวสำหรับคน ๆ หนึ่ง แต่ทีนี้ เรื่องราวของใจ ทำไมมันถึงมากนัก อันนี้มันเป็นปัญหาซับซ้อนกันอยู่เพราะเหตุใด เพราะว่าถ้าเราดูเผิน ๆ ว่าตัวของคน ๆ หนึ่ง ก็มีจิตอันเดียว เราก็รู้กันแค่นี้ แต่อีกนัยหนึ่งท่านบอกว่า เรื่องของจิตวิญญาณนี้มันมากมายเหลือหลาย ไม่สามารถจะคณนานับว่ามันมีอาการมากน้อยเพียงไร บางแห่งท่านก็แสดงไว้อย่างนี้ เป็นเหตุให้คิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งว่า มันเป็นไปได้อย่างไร แล้วก็มาหวนดูนอกแบบก็ได้ความว่า ร่างกายของคนหนึ่งๆ มันไม่ใช่วิญญาณตัวเดียว มันหลายวิญญาณ วิญญาณของตนจริงๆ นั้นน่ะ หาไม่ค่อยจะพบ วิญญาณซึ่งมีอยู่ในตัวเรานี้แหละมันอาจจะมีตั้ง ๓ วิญญาณ โดยย่อมี ๓ วิญญาณ
    หนึ่งวิญญาณของตัวเราจริงๆ ที่อุบัติมาบังเกิดในครั้งแรก ซึ่งไม่มีวิญญาณอื่นมาเจือปน ในครั้งปฏิสนธิวิญญาณดวงเดียวเท่านั้น มีมากเหมือนกัน แต่ว่ามันตายเสียในเวลาจะมาเกิดนั้น มันนับไม่ถ้วนเหมือนกันน่ะวิญญาณ แต่วาสนาบารมีบุญกรรมตกแต่ง แย่งกันเกิด เกิดไม่ทัน ตายกลางทางเสียมากมาย
    ทีนี้เมื่อวิญญาณจริง ๆ ของเรามาเกิดขึ้น เป็นบุญของเราที่ได้ตั้งตัวขึ้น เมื่อเรามาเกิดเป็นวิญญาณขึ้นอย่างนี้ มันก็แก่ขึ้น ๆ รูปร่างลักษณะก็แก่ มันก็เริ่มมีวิญญาณอื่นมาแทรก เข้ามาแทรกซึ่งเราไม่รู้สึกตัว มาดูกันให้มันชัดเจน เวลาเราเติบโตขึ้นมา ตัวอย่างเช่น บางทีมีตัวสัตว์ออกมาจากท้อง ตัวยาวตั้งศอก นี่มันอะไรกันนั่นน่ะ นั่นแหละมันตัววิญญาณนั่นเอง ไม่ใช่ตัวอื่นนี่เห็นชัดๆ หรือนอกจากนั้นที่เขาเรียกว่าเชื้อโรค อย่างโรคบางชนิด มันเป็นตัวทีเดียว เกิดเป็นกลุ่มเป็นก้อน อย่างหนอน เขาบอกว่ามีถึง ๘ ครอก มี ๑๒ จำพวก ซึ่งมีอยู่ในสรีระร่างกายของเรา นี่ลองคิดดูชิว่ามันเป็นตัวอะไร มันก็คือตัววิญญาณนั่นเองแหละ มันถึงเป็นได้อย่างนั้น เมื่อวิญญาณไม่มี มันจะมีตัวสัตว์ขึ้นมาได้อย่างไร ตัวสัตว์มันเกิดขึ้นจากตัววิญญาณ ต่อนั้นเราก็เห็นชัดเจน บางทีมันก็ไต่ออกมาตามบาดแผลเยอะแยะในสรีระร่างกายของเรา ออกมาตามตา ตามหู ตามจมูก ตามฟัน บางทีก็ออกมาจากลำไส้นั่นน่ะ บางทีก็ออกปาก บางคราวก็ออกทวารหนัก เป็นตัวยุ่งไปหมด นี่มันตัวอะไรกัน นี่แหละคือตัววิญญาณ
    วิญญาณอันนี้เห็นชัด แต่วิญญาณอีกอย่าง หนึ่งซึ่งเป็นของลึกลับ ยังไม่มีรูปปรากฏให้เห็นได้ชัด นอกจากผู้ปฏิบัติทำจิตใจของตนให้เกิดวิชา นั่นวิญญาณซึ่งมาแอบอาศัยอยู่ในสรีระร่างกายของเรา ยังมีอีกพวกหนึ่ง วิญญาณของเราจริง ๆ นั่นอีกชนิดหนึ่ง มีตัวเดียวเท่านั้น วิญญาณที่มาแอบอยู่ในร่างกายของเรา อันนี้ก็บอกไม่ถูกว่ามากน้อยเพียงไร บอกไม่ได้ วิญญาณที่มีรูปปรากฏเป็นตัวเป็นตนมันก็มาก วิญญาณที่ยังไม่มีรูปปรากฏ แต่มาอาศัยรูปของเรา ก็บอกไม่ถูกว่ามันมากน้อยเพียงไร นี่เมื่อเป็นเช่นนี้ก็รวมเรียกว่า จิตวิญญาณนั่นน่ะ มันมีอยู่ ๓ จำพวก
    เมื่อเรื่องราวมันมากอย่างนี้ ท่านจึงสอนว่า อย่าไปเข้ากับตัวมันล่ะ มันไม่ใช่ตัวของเรามันไม่ใช่เรื่องของเรา บางทีจิตของเรามันไม่มีอะไรเลย แต่มันจะเป็นไป ใจก็ไม่อยากเป็นแต่เรื่องมันจะเป็นไป นั่นแหละวิญญาณบ้าๆ บอ ๆ นั่นแหละ มันเข้ามาแทรกแชง มาซึมซาบถึงกับวิญญาณของเรา เราก็เป็นไปตามมัน สัตว์บางพวกมันมาแอบอยู่ในร่างกายของเรา มันยังไม่มีรูปปรากฏ สัตว์พวกนี้มันก็โกรธเป็นเหมือนกัน โลภเป็นเหมือนกัน หลงเป็นเหมือนกันเกลียดเป็นเหมือนกัน รักเป็นเหมือนกัน เมื่อมันเกิดขึ้นของมัน บางทีมันอยู่ใกล้เรา ตัววิญญาณของเราก็คล้ายเป็นไปกับมันด้วยโดยไม่รู้สึกตัว นี่เรื่องจิตมันถึงได้มากมาย มันเป็นได้ก็ลองคิดกันตื้นๆ ว่า สมมุติว่าลูกของเรากับลูกเองเรามันนั่งทะเลาะกันอยู่ต่อหน้า มันก็พลอยจะทำใจของเรานั้นให้ใจเราเสียไปด้วย ซึ่งเราไม่ได้ทะเลาะกับมันเลย มันก็เนื่องถึงกัน ในที่สุดก็พลอยบาดหมางไปกับเขาด้วย นี่ท่านจึงว่า “ยํ เว เสวติ ตาทิโส” เมื่อไปอยู่ใกล้กับบุคคลชนิดไหน เราย่อมเป็นไปด้วยบุคคลชนิดนั้น นี่ท่านก็ทรงตรัสไว้แล้ว ว่าเป็นจริงอย่างนั้น ฉะนั้น ท่านจึงให้พินิจพิเคราะห์ ว่า ใจของเรามันหลาย ๆ ใจน่ะ มันอาจเป็นใจของสัตว์ มันไม่ใช่ใจของเราเป็น เขาเป็น แต่เรามันอยู่ใกล้เขา ก็พลอยจะโอนเอียงไปกับเขาเหตุนี้ท่านจึงสอนว่ามันเป็น อนัตตา วิญญาณมันเป็นอนัตตา อย่าไปยุ่งกับมัน ต้องอาศัยความพากเพียร อดทนข่มมันไว้ ถ้ามันหายไปเมื่อไร ใจก็สบายเบิกบานขึ้น ก็มันไม่ใช่เรื่องของเรานี่มันเรื่องของเขาต่างหาก ถ้ามันเรื่องของเรา เวลามันเป็น เราก็ควรจะเบิกบานพอใจ หายแล้วก็ควรจะเบิกบานพอใจ บางสิ่งบางอย่าง เวลามันเกิดขึ้นในจิตนั้นน่ะ มันก็ยินดีไปด้วยบางคราวบางคราวเปล่าไม่ยินดี มันแย่งกันอยู่อย่างนี้แหละ บางทีวิญญาณอื่นมันหลายตัว มันหลายความคิด มันมากกว่าเรา เราก็พลอยเป็นไปกับมัน เมื่อเป็นไปกับมัน เราก็พลาด เมื่อพลาดกระทำผิดลงไป ทีนี้มันก็มาเกิดความเสียใจขึ้นทีหลัง นั่นเราทำไปตามเขานะ ไม่ใช่เราทำไปตามใจเรา นี่ให้สำเหนียกรู้อย่างนี้ จึงเรียกได้ว่าเรารู้เรื่องของวิญญาณ ท่านกล่าวสั้นๆ ตัดใจความไว้ อย่างที่เราฟังกันยาก วิญญาณมันไม่ใช่ตัวของเรานะ ท่านพูดแค่นี้ฟังไม่ออกเลย มันจะออกอย่างไรล่ะ ใจไม่ตั้งเป็นสมาธิ ก็ฟังคลุมกันไป ก็นึกได้แต่ว่า วิญญาณก็มีแต่ใจของเรา นึกได้แค่นี้แหละ ทีนี้มันก็เข้ากับตัวละซี อันนั้นมันก็เป็นเรา อันนี้มันก็เป็นเรา มันก็เข้ากับตัวละซีมันจึงไม่รู้เรื่องวิญญาณ นี่เมื่อเรารู้จักวิจารพิจารณาดูอย่างนี้ ว่าวิญญาณของเราจริง ๆ เป็นอย่างไรมันซื่อสัตย์สุจริตต่อเราจริงๆ น่ะมีไหม ถ้าหากว่าเราชอบอย่างนี้ มันถูกมันดี แล้วเราก็ทำตามความคิดเห็นจนสำเร็จ นั่นแหละเรียกว่าเชื่อตน ทีนี้เราทำอย่างนี้ แต่เราก็ไม่ค่อยชอบใจ อยากจะทำบ้าง ไม่อยากจะทำบ้าง นี่มันแบ่งส่วนเช่นนี้ ก็พึงทราบว่า เราไปเสพคนพาลเข้าไปแล้วแหละ ไปเสพวิญญาณบางอย่างซึ่งมาชักชวนเอาเสียแล้ว ตอนนี้เราต้องอดทน ต้องอดกลั้น ต้องกักต้องขัง ความรู้อันนั้นให้อยู่คงที่ คือ ตั้งสติ กำหนดวิจารดูว่าวิญญาณตัวนี้แหละ มันเป็นตัวไหนแน่มันเป็นตัววิญญาณของเราจริงๆ หรือ หรือเป็นวิญญาณอื่นเข้ามาแทรก ทำให้วิญญาณของเราล้มไปตาม เมื่อล้มไปตาม ทำกรรมที่ผิดล่วงแล้วเสียใจ อันนี้เรียกว่า ถูกวิญญาณหลอก ที่ท่านบอกว่าวิญญาณมันไม่ใช่ของเรา มันเป็นอนัตตา ท่านพูดอย่างนี้ แต่เราคงนึกออก นี่วิญญาณอันหนึ่งคือจำพวกวิญญาณของเราจริงๆ วิญญาณของเราจริง ๆ มันซื่อสัตย์ต่อเรา สมมุติอย่างนี้ว่า พรุ่งนี้เราจะไปวัดหรือไปฟังเทศน์ นี่ไปวัดไปฟังเทศน์ทำความดี มันเป็นความดีที่เราชอบใจ ให้ผลแก่เราจริง แน่ชัดในใจ แต่พรุ่งนี้มันแปรไปเสียแล้วละ คือมันแปรไป ก็พึงทราบเสียเถิดว่า วิญญาณของเรามันไปเจือกับวิญญาณอะไรเข้าเสียแล้ว ต้องสำเหนียกอย่างนี้ อย่าไปนึกว่าเป็นตัวเราจริงๆ ไอ้ความคิดใหม่จะมาเลิกความดีนี้ ไม่ใช่ตัวเราหรอก มันโกงต่อตัวของตัวเอง มันไม่ใช่เราละ ธรรมดาตัวของเราเองน่ะ มันไม่โกงตัวเองหรอก มันซื่อสัตย์ เมื่อมันตั้งจิตในจุดอะไรที่เป็นความดี มันต้องทำให้สำเร็จ ได้ผลความดีเกิดขึ้นเบิกบานใจ นั่นลักษณะอย่างนี้เป็นจิตวิญญาณของเราจริงๆ ซื่อสัตย์คือตัวของเราได้จริง ไม่โกง โดยมากคนเราน่ะมันโกงเสียโดยมาก ไม่ใช่ตัวโกงนะ ตัวมันดี แต่มันมีวิญญาณอื่นมาแทรกซึม มันเลยพาเราโกงไปด้วย นั่นท่านจึงบอกว่า “อเสวนา จ พาลานํ” ถ้าใครไปเสพกับวิญญาณนั้นบ่อย ๆคนนั้นเสีย “ปณฺฑิตานญฺจ” ให้ทำจิตของตนคงที่ อย่างเราคิดจะสร้างความดี ให้มันดีเรื่อย จนได้ทำความดีให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย นั่นแหละเป็นตัวเรา วิญญาณอื่นไม่เข้ามาแตะต้อง ถ้าหากว่ามีความคิดล้มเลิกท้อถอย ปล่อยความพากเพียร นั่นพึงทราบเถิด เราไปเสพคนพาล ไปเสพวิญญาณอื่นนอกไปจากตนเสียแล้วและ ให้เข้าใจอย่างนี้ นี่จำพวกหนึ่ง
    แต่ถ้าจะพรรณนาถึงเรื่องวิญญาณที่อาศัยอยู่ในร่างกายเรา มันมาก วิญญาณที่อาศัยอยู่ มีอยู่สองลักษณะ บางวิญญาณมันตรงกับเรา บางวิญญาณมันไม่ตรงกับเรา อย่างเราอยากทำความดี เปรตผีบางจำพวกมันก็อยากสร้างความดี แต่มันสร้างไม่เป็น มันเลยมาอาศัยร่างกายของเราพาทำความดี อย่างนี้ก็มี วิญญาณบางอย่างมันมาก็เพื่อจะเป็นผู้มาสังหารล้างผลาญความดีของเรา นั่นคือ อาจจะเป็นศัตรูของเราแต่ชาติก่อน เราเคยเบียดเบียนเขา เราเคยสังหารเขา เราเคยกักกันเขา เราเคยตัดความดีของเขา เขาพยาบาทเรา มาพยายามคอยห้ามมรรคข้อปฏิบัติของเราไม่ให้เจริญก้าวหน้า มันจะมากระซิบกระซาบว่า หยุดเถอะๆ มันจะตาย หรือมันจะยาก มันจะจน ฝนมันจะตก แดดมันจะร้อน มันเช้าเกินไป มันสายเกินไป มันก็ว่าเรื่อยไปแหละ นี่วิญญาณบางพวกซึ่งเป็นศัตรูแก่เรา มันไม่ตรงกับเราก็มี บางวิญญาณก็เป็นญาติเป็นมิตรเป็นเพื่อนเป็นคนรักใคร่นับถือ จะมาทำบุญทำกุศลก็ทำไม่ได้ ก็มาอาศัยอยู่ในร่างกายของเรา เพื่อจะได้ไหว้พระสวดมนต์บ่นคาถากับเขาบ้าง อย่างนี้ก็มี ฉะนั้น จิตของเราน่ะบางคราวก็เหมือนกับผียักษ์ มันไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่มันก็เป็นไปได้ทั้งๆ ที่เราไม่ชอบ มันก็เป็นบางคราวก็เหมือนกับเทวบุตรเทวดาใจดี เขาด่าโคตรแม่ก็ไม่โกรธ บางคราวคำพูดไม่น่าโกรธ โกรธน่าเกลียดจนได้ เรื่องวิญญาณมันเป็นอย่างนี้ สับสนปนเปกันอย่างมาก มันมีมาแทรกในร่างกายของเรา ให้พึงทราบโดยอาการอย่างนี้
    วิญญาณอีกจำพวกหนึ่ง มันก็เป็นเจ้ากรรมเจ้าเวร มันมากินเนื้อของเรา ให้แหว่งไปบ้าง กินจมูกขาดไปบ้าง ทำลายรูปโฉมให้เสียรูปร่าง กินหูขาดไปบ้าง บางทีกินริมฝีปากบ้างล่างเหลือไว้แค่ฟันให้อับอายขายหน้า บางทีก็กัดหูไปข้างหนึ่ง บางทีก็กัดจมูกโหว่ไปถึงหน้าผากบางทีก็กัดตา บางทีก็กัดมือ กัดตีน บางทีกัดไปทุกแห่งทุกหนนั่นแสละ ทำให้เปื่อยพัง เป็นเชื้อโรคนี่พวกเจ้ากรรมเจ้าเวรเหล่านี้แหละ แต่ก่อนเราก็คงจะทำกับเขาไว้ ในชาตินี้มันจึงตามมาเล่นงานเรา ซึ่งเป็นตัววิญญาณชัดๆ คือตัวหนอนเป็นต้น ตัวหนอนมันก็มาช่วยกินอาหารในไส้เรา แต่ก่อนเราก็คงจะไปแย่งกินเนื้อเขาบ้าง กินหนังเขาบ้างบัดนี้มันก็มากินเนื้อกินหนังเรากินกินหมด มึงมีอะไร กูกินให้หมด นี่เราจะรักษายังไง มันมากินข้างนอกให้แลเห็น ไล่ให้มันหนี ผ่าไปกินในกระเพาะ ผ่าไปกินในลำไส้ ผ่าไปอยู่ถึงข้างในตัวเรา เอาละซีทีนี้ มันแย่ มองไม่เห็น กำจัดได้ยาก นี่มันก็เล่นงานเราเรื่อยไป กิน ๆ เข้าไป กินไปตามลำไส้ กินไปตามกระเพาะ กินไต กินตับ กินปอด กินไปตามเลือด กินเส้นโลหิต กินขน กินไปจนหมดทุกอย่างทุกอัน กินข้างนอกกลายเป็นโรคผิวหนัง กินข้างใน ก็เป็นตัวหนอนเป็นตัวโรค ก็เล่นงานเราอยู่เรื่อยไป มันเองมันก็รบกัน มันหลายจำพวกนี่ หนอนมีตั้ง ๑๐๘ จำพวกอย่างพิสดาร เมื่อมันอยู่มากๆ มันก็ย่อมทะเลาะกันเป็นธรรมดา มันก็ยุ่งกันอยู่ในบ้านของเรานั้นแหละ เราจะทนไหวที่ไหนเล่า บางคราวก็เป็นไปกับมันไม่รู้ตัว เป็นไปได้เพราะอะไร พวกมันมากเหลือเกิน มันทนไม่ไหว พวกสัตว์ในร่างกาย บางทีมันก็โกรธกัน ตีกัน มันทะเลาะกัน เดินทางสวนกัน เจอะกันเข้า มันก็ตีกัน กัดกัน ทำให้เราคันหลัง คันหน้ายิบ ๆ แยบๆ นั่นแหละพวกหนอนมันตีกันละ เดินไปในตัวของเราเหมือนกับพื้นแผ่นดิน นี่แหละ เส้นโลหิตมันเป็นถนน สัตว์มันก็เดินไปตามเส้นโลหิต ตัวโน้นก็เดินมา ตัวนี้ก็เดินมา เจอะกันเข้า บางทีก็สนทนากัน มันพูดกันละซีทีนี้ บางทีพูดกันไม่รู้จักหยุดนอนค้างคืน ขี้ก็ตรงนั้นแหละ กินก็ตรงนั้นแหละ เอ้า ! เกิดเป็นตุ่มเป็นต่อมขึ้นมาแล้ว นั่นแหละมันเป็นกระต๊อบสำหรับอาศัยของพวกตัวสัตว์ ตัววิญญาณมันก็เป็นไปกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไปแหละ ร่างกายเรามันก็เหมือนกับโลก อย่างในโลกเรามีทะเล มีต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์ มีพื้นแผ่นปฐพี ร่างกายเราก็เหมือนกัน เส้นโลหิตทุกเส้น มันเป็นทางเดินของสัตว์ มันเดินตามเส้นโลหิตก็มี เดินตามเส้นลม เดินตามเส้นไฟ เส้นบางเส้นเป็นเส้นตัน ไม่มีโพรง นั่นเปรียบเหมือนถนนตัน เส้นที่มีโพรง ลมมันเดิน เลือดมันเดิน ก็เหมือนกับแม่น้ำ ห้วยหนองคลองบึง ทางเดินเรือ เรือมันเดิน ก็มีพวกที่ไปเรือ ทีนี้เรือมันชนกันเข้า มันเป็นอย่างนี้ เหตุนี้คนเราจึงเจ็บที่ถนนที่นี้ ปวดแข้งปวดขา เจ็บเส้น เจ็บเอ็น บีบไปเถิด นวดไปเถิด นี่เรื่องของวิญญาณ ที่มันอาศัยอยู่ในร่างกายของเรา บางพากมันก็อยู่ตามหลุมตา บางพวกก็อยู่ตามหลุมหู บางพวกก็อยู่ในรูจมูก บางพวกก็อยู่ในปาก อยู่ในลำคอก็มี อยู่ตามเหงือกก็มี พวกเหล่านี้มันก็เหมือนกับคนเรานั่นแหละ แต่เราฟังภาษากันไม่ออก มันทำมาหากิน มีอาชีพ มีลูกมีเมีย มีที่อยู่ที่อาศัย มีทางเดินสัญจรในร่างกายของเรายุ่งไปหมด นี่ตัววิญญาณซึ่งอยู่ในสังขารของเรา มันเกิดสงครามกันก็ได้เหมือนกัน เกิดรบอย่างมดคำมดแดง มันรบกันไปน่ะ เคยเห็น บางทีจิ้งจกกับเขียดรบกันก็มี ในร่างกายเราก็เหมือนกัน หนีไปพ้นที่ไหน สัตว์ที่อยู่ตา มันก็ถือว่าบ้านของมัน สัตว์ที่อยู่หู มันก็ถือว่าบ้านของมัน สัตว์ที่อยู่ตามเส้น มันก็ถือว่าบ้านของมัน บางทีก็ไปแทรกแซงแย่งที่อยู่กัน เกิดเรื่องเกิดราว นี่เวทนามันเกิดจากพวกวิญญาณก็มี นี่มันถึงได้เป็นไปโดยอาการต่าง ๆ บางชนิดมันเกิดโรคเกิดภัย บางชนิดมันคอยเกิด วิญญาณที่ยังไม่มีรูปมันก็คอยอาศัยเลือดของเราในร่างกายตั้งขึ้นเป็นต่อม เช่น ฝีบ้าง แผลบ้าง กลายเป็นตัวหนอนขึ้นมาในที่นั้น นี่มันได้รูปปรากฏก็เห็นตัว ถ้ายังไม่ปรากฏมันก็ไปเที่ยว เสียวๆ วิบๆ แวบๆ ยิบๆ แยบๆ คันหน้าคันตา นี่เป็นเรื่องของวิญญาณทั้งนั้น
    เหตุนั้นสรุปแล้ว ก็มีอยู่ ๓ พวก ๓ ฝูง ฝูงใหญ่ ๆ ทั้งนั้นแหละ ฝูงหนึ่งก็คือ พวกสัตว์ซึ่งมีรูปอาศัยในร่างกายของเราพวกหนึ่ง วิญญาณซึ่งยังไม่มีรูปอาศัย แต่อาศัยร่างกายของเราอย่างหนึ่ง อีกอันหนึ่ง คือจิตวิญญาณของเราจริง ๆ มันถึงมี ๓ พวก สามจำพวกนี้น่ะมันคลุกกันหมด อะไรมันเป็นวิญญาณของสัตว์ที่มีรูป ไม่รู้ อะไรมันเป็นวิญญาณของสัตว์ยังไม่ได้ตั้งรูปปรากฏ ไม่ทราบ อันใดที่เป็นตัวจิตวิญญาณของเราจริงๆ ก็ไม่รู้ นี่จะไปรู้ขันธ์ห้าได้อย่างไรกัน “วิญฺญาณกฺขนฺโธ” น่ะ จะไปรู้ได้อย่างไร ที่ว่าวิญญาณไม่ใช่ตัวตนไปรู้แต่วิญญาณ ๆ เท่านั้น มันรู้อย่างเชือกที่มันหย่อน ๆ ยาน ๆ มันลากดิน นี่คำที่ว่ารู้วิญญาณ ที่เรียกเป็นอนัตตาก็เหมือนกัน ผู้ตามเขาว่า นี่เมื่อเรามีปัญญา มีปัญญาญาณเกิดขึ้นในจิต จึงจะรูเรื่องของวิญญาณที่ท่านกล่าวว่า ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อย่างที่ท่านแสดงว่า จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ นี่ที่จะรู้ได้ถึงอาการ ๓ อย่างนี้ ต้องอาศัยความรู้อย่างว่านี้ อย่างที่รู้จักว่า จักขุธาตุ ตาของเรามันมีวิญญาณกี่ชนิด มันมีวิญญาณกี่ชนิด ตาเราเมื่อมันไปเห็นรูปปรากฏ รูปที่ปรากฏนั้น ที่มันมีความรู้ขึ้นน่ะ มันเป็นความรู้ของเราจริงๆ หรือ หรือเป็นความรู้ของวิญญาณที่มาแทรกซึ่งยังไม่มีรูปปรากฏ หรือเป็นวิญญาณที่มีรูปปรากฏมาแทรก มันจึงทำจิตของเราให้ลังเลเรรวน ไม่ค่อยจะแน่นอน นี่วิญญาณที่เกิดในตา ๓ จำพวก จำพวกที่มันไปเห็นรูป มันแสดงท่าทีกี่ชนิด นี่ที่แสดงท่าทีน่ะ มันเป็นวิญญาณของเราจริง ๆ หรือ หรือเป็นวิญญาณของสัตว์บางจำพวก หรือเป็นวิญญาณของสัตว์ไม่มีรูปปรากฏ ไม่รู้ ไม่รู้เรื่อง เมื่อไม่รู้เรื่องอย่างนี้ ที่เรียกว่า “จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ” รู้ได้ที่ไหน ไม่ได้ ไม่มีความรู้ ไม่มีปัญญา ไม่มีญาณ “โสตธาตุ” หูของเราซึ่งเป็นบ่อเกิดของวิญญาณ วิญญาณตัวไหนมันมาเกิดก่อน รู้ไหม ไม่รู้ วิญญาณของเราจริงๆ หรือ ที่มันออกมา หูนั่นได้ยินเสียงนั่นน่ะ มันเป็นสัตว์มาแอบอิงอาศัยฟังหรือ หรือเป็นสัตว์ที่ไม่มีรูป หรือเป็นวิญญาณของเราจริงๆ ตรวจดูให้มีความรู้เสียก่อน ผลที่มันเกิดขึ้น พึงทราบเถิดว่า เมื่อเราได้ยินเสียง เราชอบใจ แต่เสียงนั้นไม่ดี แต่ชอบใจ นี่มันไม่ใช่วิญญาณของเรา มันไม่ซื่อสัตย์ต่อเรา นี่เสียงบางอย่าง มันเป็นสิ่งที่ดีที่ชอบ แต่เราไม่พอใจนั่นก็พึงถือว่า มันไม่ใช่วิญญาณของเรา มันคงจะมีอะไรมาแอบแฝง ต้องสำรวจดู นี่มันมีหลายจำพวก บางทีเราไม่พอใจเสียง แต่มันเป็นเรื่องที่ถูกที่จริง แต่เราไม่พอใจ นี่เราก็เลยถือว่าเรื่องพอใจ หรือไม่พอใจเป็นเราไปเสียหมด ไม่เคยคิดว่า วิญญาณเป็นอนัตตา ไม่เคยคิด เมื่อเป็นอย่างนี้ ทีนี้หูมันก็หนวก ตัวไม่ได้ฟัง พวกเปรตมาแอบอาศัยฟัง ไม่รู้ มันจะจำได้ที่ไหน จิตมันไม่ได้ติดตัว มันไม่ได้ฟัง เปรตมันมาฟัง ผีมันมาฟัง อสุรกายมาแทรก ตัวเราเองก็ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจตัวเราจริงๆ ไม่ได้ฟัง ไม่ได้วิตก วิจาร ได้แต่พวกฝูงมาร ผีเปรต หรืออสุรกาย มาแอบแฝง เลยถือว่าเป็นตัวเราไปเสียหมด จึงเรียกว่าตามืดเป็นอวิชชา หูก็ตึงเป็นอวิชชา นี่คือไม่รู้จักเรื่องของวิญญาณ
    “จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ” นี่มีอยู่ ๓ อย่าง เมื่อตามันเห็นรูปปั๊บ วิญญาณอะไรมันออกไป เคยตรวจไหม เปล่า ไม่เคยตรวจเลย ไม่รู้ว่าเป็นวิญญาณของเราจริงหรือไม่จริง เป็นวิญญาณของพวกสัตว์มาอาศัยแอบจริงหรือไม่จริง วิญญาณของสัตว์ที่มีรูปหรือไม่มีรูป มีหรือเปล่า จริงหรือไม่จริง ไม่เคยรู้เลย ก็ไม่เคยรู้เลยอย่างนี้จะเป็นผู้รู้ได้อย่างไร
    “โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ” ไม่รู้ นี่ไล่เรื่อยไปแหละ
    “ฆานธาตุ” ก็เหมือนกัน“ฆานธาตุ” คือจมูกเป็นบ่อเกิดของกลิ่น เป็นบ่อเกิดของจิตวิญญาณ วิญญาณของเราน่ะ บางทีมันชอบกลิ่นอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามทางธรรม มันก็แสวงหากลิ่นนั้น ให้สำเร็จเป็นบุญเป็นกุศลขึ้น บางคราวก็ล้ม เป็นแต่ชอบ แต่มันล้มความคิด ไม่ทำตามความคิดของตัว บางคราวมันก็ไม่ชอบ ตัวอย่างเช่น กลิ่นบางอย่างมันไม่รอบแต่มันก็ทำเอา กลิ่นบางอย่างมันชอบแต่มันไม่เอา บางสิ่งบางอย่างกลิ่นมันชอบ จิตของเราก็ชอบ ถูกต้อง เรื่องของกลิ่นมันก็มีอยู่กลิ่นมันเกิดจากจมูก วิญญาณมันก็เกิดจากจมูกเหมือนกัน มันอาศัยจมูกของเรา ไม่รู้กี่ร้อยวิญญาณ บางทีมันรู้ก่อนเราอีก มันส่งข่าวให้เราหลงไปเลยก็มี กระซิบกระซาบ ปลุกปลอบดวงจิตของเราให้หลงไปตาม เราก็หลับตาไปตามมัน เหมือนหมีกินผึ้ง หลับตาแล้วก็กินไปเถิด ดูดกินแต่น้ำผึ้ง ลืมตาก็ไม่ได้ ผึ้งมันจะต่อยเอากระบอกตา เราก็เหมือนกัน เมื่อวิญญาณมันมากระซิบกระซาบว่า ไปเถิด ไปกับมัน ว่าแต่ตัวเราเป็น ว่าแต่ตัวเราไป มันเอาตัวอะไรมาเข้าแทรกแล้วก็ดึงไปเหมือนกับคนทรงเจ้าทางผีนั่นแหละ มันก็ว่าไปตามเรื่องของมัน มันเป็นอย่างนี้แหละ
    “ชิวหาธาตุ” ลิ้นเป็นบ่อเกิดของรส รสมันมาสัมผัสในลิ้น เกิดความรู้สึกขึ้น เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณที่มันเกิดขึ้นน่ะ วิญญาณอะไรมันเกิดก่อน วิญญาณของสัตว์มันอยู่ตามเกสรของลิ้นเราก็มี มันอาจจะรู้ดีกว่าเราก็ได้ ตัวอย่างเช่น อย่างนี้กินไม่ได้ แต่มันอยากกิน ไอ้ที่มันอยากกินนั้นน่ะเพราะอะไร บางทีเราไม่อยาก แต่วิญญาณของสัตว์มันอยาก ขืนกินเข้าไปเกิดโรค ทั้งๆ ที่เรารู้อยู่ แต่มันก็อยากกิน นี่เรียกว่าหลงรส หลงวิญญาณ
    วิญญาณมันมีอยู่ ๓ ชนิด ดังกล่าวแล้ว มันเป็นวิญญาณของเราหรือเปล่า ไม่เคยสำรวจ หรือมันเป็นวิญญาณของพวกที่ยังไม่มีรูป หรือเป็นวิญญาณที่มีรูปตั้งอยู่ ปรากฏขึ้นที่ในปากของเรา ไม่ทราบ เมื่อไม่ทราบอย่างนี้ คนเรามันถึงพูดกันป่นๆ ปี้ๆ พวกผีเหล่านี้มันพาพูด พูดกันให้เราซัด ให้เราแส่ ตัวเจ้าของจริงๆ มันไม่อยากพูด แต่มันก็พูด นั่นแน่ะ เราไปเสพคนพาลวิญญาณอสูรกาย ไม่ทราบ จนเรานั้นเสียไปแล้วถึงทราบภายหลัง อย่างนี้มันถึงเสียท่า จึงเรียกว่าไม่รู้จักวิญญาณในขันธ์ห้า แล้วก็สวด “วิญฺญาณํ อนัตตาๆ ตาๆ” กันเรื่อยไป แต่ไม่รู้อะไรเลย นี่เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจึงเรียกว่า อวิชชา ทีนี้ในส่วนกายของเราก็เหมือนกัน กายเราเป็นบ่อเกิดของผัสสะ ผัสสะมากระทบกายเข้า มันรู้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ทราบ ความทราบในผัสสะทั้งหมดนั้นท่านเรียกวิญญาณ มันเป็นวิญญาณของใครก็ไม่เคยสำรวจ เลยถือว่า เราหนาวจริงๆ บางทีก็เลยถือว่า เราร้อนจริง ๆ นี่บางทีมันไม่ใช่เราสักนิด เหมือนกับคนถูกผีสิงน่ะ คนถูกผีสิงเป็นยังไงเหมือนคนไม่เคยกินเหล้า พอผีเข้าสิงปั๊บ มันดื่มเหล้าสองสามแก้ว กินอย่างสนุกสนาน ถ้าออกไปล่ะ คนที่ไม่เคยกินเหล้าเมาแย่ เพราะอะไร เพราะมันมีวิญญาณอื่นเข้ามาสิง ตัวจริงๆ มันไม่เคยกินเหล้า แต่มันกินเวลาวิญญาณอื่นเข้ามาสิง ดวงจิตของเราก็เหมือนกันนั่นแหละ เมื่อมีวิญญาณพวกนี้มันกำเริบขึ้น ถึงแม้เราไม่ต้องการ มันก็ทำ วิญญาณบางพวกมันชอบหนาว วิญญาณบางพวกมันชอบร้อน คือสัตว์บางพวกอยู่ในโลกเหมือนกัน บางพวกชอบอากาศร้อน บางพวกชอบอากาศหนาว บางพวกชอบกินของแข็ง บางพวกชอบกินของอ่อน อย่างตัวด้วง ตัวบุ้ง มันกินของแข็ง สัตว์ในตัวเราก็เหมือนกัน บางตัวกินกระดูก กินของแข็ง กัดเนื้อขาดเป็นชิ้นๆ ไปเลย บางพวกกินน้ำ บางพวกชอบร้อน บางพวกชอบหนาว ทีนี้พอมันหนาวขึ้นมา เราก็ว่าหนาวจริง ๆ ไม่เคยนึกว่าอะไรพาหนาว ถ้ามันรอนจริง ๆ อะไรพาร้อนก็ไม่ทราบ เราก็ว่าแต่เราเป็น ว่าเราเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เรากลายไปเป็นผีกับเขาเมื่อไรไม่ทราบ
    นี่ท่านเรียกว่า ไม่มีปัญญาความรู้ไปรู้ไปหลงวิญญาณ ไม่ถูกกับพุทธบรรหารกล่าวว่า วิญญาณมันไม่ใช่ตัวของเรา ไม่ถูกเลย ตัวเราจริง ๆ มันมีตัวหนึ่ง มันไม่ยุ่งยากวุ่นวายอย่างนี้ นี่ส่วนในใจของเราน่ะ ก็เช่นเดียวกัน ถูกผีอะไรสิงมันก็เป็นไปได้ต่างๆ ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่นึกคิดในดวงจิต อารมณ์ที่เป็นเหตุให้คิดให้นึก มันเกิดจากเหตุ มันอาจจะมีพวกวิญญาณอื่นเข้ามากระแทกกระเทือน ความคิดของสัตว์ที่มีรูป คิดมาถึงตัวเรา วิญญาณของสัตว์ที่ไม่มีรูปบางอย่างมีข้อผูกพันกับเรา แล้วก็ทำให้จิตของเราเป็นไปด้วยนี่อันนี้ก็พึงทราบเถิดว่าอ้อ มันมีเรื่องแทรก เรื่องที่มาแทรกนั้นมันเป็นเรื่องอารมณ์ของคนอื่น เป็นอารมณ์ของสัตว์ เป็นอารมณ์ของเทวดา เป็นอารมณ์ของพวกวิญญาณที่เป็นอสุรกาย เราก็ต้องอ่านให้มันทราบ เมื่อทราบได้เช่นนั้นดวงจิตของเรามันก็ไม่มีเรื่องมาก จิตมันมีดวงเดียว วิญญาณก็มีตัวเดียว ไม่มาก เมื่อหนึ่ง มันก็ต้องหนึ่ง ทีนี้ หนึ่งมันกลายเป็นสอง เป็นสามไปเรื่อย ถ่ายทอดกันไม่รู้จักจบ นี่จึงเรียกว่า ปิดทวาร อวิชชาปิดตา ไม่รู้จักวิญญาณที่สร้างบ้านอยู่ในลูกตา อวิชชาปิดหู พวกวิญญาณสัตว์มาสร้างบ้านอยู่เต็มหูหมด อวิชชาปิดจมูก พวกวิญญาณของสัตว์มาสร้างบ้านอยู่ในจมูก ปิดลิ้น วิญญาณของสัตว์มาสร้างบ้านสร้างเมืองอยู่ในลิ้น ปิดกาย วิญญาณของสัตว์ทั้งหลายสร้างบ้านอยู่ทั่วไปทุกขุมขน ส่วนวิญญาณของตนตัวเดียวเท่านั้น สู้เขาไม่ไหว เหตุนั้นความพากเพียรของเราจึงย่อหย่อน เพราะไม่รู้เรื่องราวของเขาเหล่านี้ นี่คือว่า มันมาปิดหู ตา จมูก ลิ้น กาย จิต มองไม่เห็นทิศเห็นแนว คุณธรรมจึงไม่มาเกิดขึ้น เมื่อเรามาทำลายล้างผลาญบ้านช่องของอวิชชาเสียได้ ที่นี่รู้เรื่อง ไม่ต้องทำอะไรหรอก “อเนกชาติ สํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ” เมื่อเรามาพิจารณาดูซึ่งเรื่องราวต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ให้รู้แจ้งชัดเห็นจริง “อเนกชาติ สํสารํ” เรื่องราวของสัตว์ที่มาเกิดในบ้านของเรา ไม่มีที่สิ้นสุด มันมาทะเลาะวิวาทกันวุ่นวายไปหมด มันเรื่องมาก มันชอบมาจูงจิตของเราให้เสียหายไปด้วยประการต่างๆ
    เมื่อเรามาพิจารณาให้เห็นโดยอาการอย่างนี้ ก็เกิดนิพพิทา ความเบื่อหน่าย “จกฺขุสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ” เบื่อตา เป็นนิพพิทาญาณเกิดขึ้น “รูเปสุปิ นิพพินฺทติ” เบื่อรูป “จกฺขุวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อวิญญาณ มันรำคาญจริง ๆ มันเป็นสิ่งรบกวนหัวใจของเราจริงๆ เบื่อหน่าย “นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ วิราคา วิมุจฺจติ” คายทิ้ง ตาคายรูป ตาคายวิญญาณ คายทิ้งเหลือกิน “โสตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ” เบื่อหู “สทฺเทสุปิ นิพฺพินฺทติ” เบื่อเสียง ทีนี้ “โสตวิญญาเณปิ นิพฺพินฺทติ” เบื่อวิญญาณ “วิราคา วิมุจจติ” คายทิ้ง ตาคายรูป รูปไม่ติดตา ตาทะลุ มองเห็นด้วยตาหลายสิบโยชน์ คายเสียง หูทะลุ ฟังเทวดาคุยกันได้ จมูกคายกลิ่น หอมฟุ้งทั่วโลก ความดี เมื่อมันคายแล้ว ก็หอมฟุ้ง ลิ้นคายรส ไม่กลืนกินซึ่งรส คายวิญญาณ กายคายสัมผัส ความร้อนไม่ติคดวงจิต ความเย็นไม่ติดดวงจิต อ่อน แข็ง ต่างๆ ในร่างกาย ไม่ติด ไม่เซิบ คายเรื่อยไปจนถึงมโนวิญญาณ ดวงจิตคายความดี ไม่ยึดถือทิฏฐิ ว่าเป็นของ ๆ ตน ดวงจิตคายอกุศลคือความชั่ว ไม่ให้รั่วไหลไปอาบดวงจิต คายความรู้ต่างๆ ว่านั่นเป็นวิญญาณของสัตว์ที่มีรูป นั่นเป็นวิญญาณของสัตว์ที่ไม่มีรูป นั่นเป็นวิญญาณของเรา จริง ๆ คายทิ้งทั้งหมด นั่นแหละเรียกว่า “วิญฺญาณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ” เบื่อหน่ายในวิญญาณ เบื่อหน่ายในอารมณ์ “วิราคา วิมุจฺจติ” คายทิ้ง ไม่กลืนเสลด ไม่ให้มาติดคอ ตาไม่กลืนรูป หูไม่กลืนเสียง จมูกไม่กลืนกลิ่น ลิ้นไม่กลืนรส กายไม่กลืนสัมผัส ดวงจิตไม่กลืนกินอารมณ์ “วิมุจฺจติ” พ้น ไม่เกี่ยวข้องกังวลวุ่นวาย นี่แหละเรียกว่า เป็นผู้ที่จะใกล้ต่อพระนิพพาน “วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ” เมื่อเราปฏิบัติได้เช่นนี้ เราก็ทราบชัดว่าสิ่งนั้นเป็นวิญญาณของสัตว์ สิ่งนั้นเป็นวิญญาณของเรา ปล่อยวางไม่ยืดถือ แล้วก็รู้ได้ว่าเราพ้นไปจากวิญญาณทั้งหมด ๓ จำพวก วิญญาณของสัตว์มีรูป ไม่ใช่วิญญาณของเรา วิญญาณของสัตว์ไม่มีรูป ไม่ใช่วิญญาณของเรา วิญญาณของเราที่มีความรู้ ไม่ใช่ตัวของเรา ปล่อยวางไปตามสภาพ นั่นแหละจึงเรียกว่า เป็นผู้รู้จักขันธ์ห้า อายตนะทั้งหก นี่จึงจะพ้นไปจากโลก เปิดตา ตามองเห็นไปได้ไกล เหมือนเป็นกำแพงหรือฝาบ้าน เราสามารถที่จะมองไปได้ไกลหลายสิบวา เมื่อตาเราไม่ติดรูป เราก็สามารถที่จะเกิดตาทิพย์ มองเห็นไกล หูไม่ติดเสียง ฟังเสียงได้ไกล จมูกไม่ติดกลิ่น ดมกลิ่นเทวดา ไม่ต้องไปดมกลิ่นมนุษย์ให้มันรำคาญจมูก รสไม่ติดลิ้น กินยาทิพย์ กินอาหารทิพย์ ใจไม่ติดสัมผัส เราก็อยู่ด้วยความสบายกายสบายจิต นั่งที่ไหนก็สบาย หนาวก็สบาย ร้อนก็สบาย นั่งที่อ่อนก็สบาย นั่งที่แข็งก็สบาย ร่างกายจะแตกก็สบาย ถูกแดดเผาก็สบาย หายจากผัสสะ ดวงใจก็คายจากอารมณ์ นี่จิตนั้นก็พ้น ดวงจิตก็จะพ้นไปจากขันธ์ทั้งห้า วิญญาณ ๓ จำพวก ก็จะไม่ได้มาหลอกลวง ดวงใจของบุคคลผู้นั้น ก็จะพ้นทุกข์ จะถึงซึ่งบรมสุขอันเลิศ กล่าวคือ พระนิพพาน
    นี่แสดงมาในเรื่องวิญญาณ จงพากันสำเหนียกศึกษาให้เกิดวิชาความรู้ขึ้นในตนของตนได้ นี่จึงเรียกว่ารู้โลก วิญญาณที่เป็นรูปปรากฏเป็นกามโลก นับแต่นรกถึงสวรรค์ วิญญาณที่ไม่มีรูปปรากฏเป็นอรูปพรหม วิญญาณของตนเองนั่นแหละคือถึงพระนิพพาน เมื่อรู้วิญญาณ ๓ ประการนี้ก็ชื่อว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต” ไปดี มาดี อยู่เย็นเป็นสุขสนุกสบาย สัตว์ทั้งหลายมันก็เบาใจละซีทีนี้ เบายังไง เราให้มัน สัตว์ไหนที่มันต้องการกิน กินเข้าไป ไม่ต้องหวงแหน มันจะกิน จะชอบอะไร กินเข้าไป เอามันจะกินแบบไหน ช่างหัวมัน ว่าอย่างงั้น ไม่ยึด มันชอบกินไส้ กินเข้าไป มันชอบกินขี้ กินเข้าไป มันชอบกินเลือด กินเข้าไปไม่หวงไม่แหน วิญญาณพวกไหนจะเอายังไปตามชอบใจ มันก็เป็นเสรีภาพ มันก็ปกครองพวกมันเอง ไม่ต้องแย่งกัน มันก็พลอยจะได้รับความดีไปจากเรา วิญญาณล้วนๆ ที่อยู่ในร่างกายเราเหมือนกัน มันก็อยู่เป็นอิสระ เราก็อยู่เป็นอิสระ ต่างคนต่างอยู่ บ้านใครๆ อยู่ ข้าวใครๆ กิน อู่ใครๆ นอน ก็ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างสบายเท่านั้นเองแหละ นี่เรียกว่า “ภควา”
    แยกรูปออกจากตา แยกตัวออกจากรูป แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกหูออกจากเสียง แยกเสียงออกจากหู แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกกลิ่นออกจากจมูก แยกจมูกออกจากกลิ่น แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกลิ้นออกจากรส แยกรสออกจากลิ้น แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกกายออกจากผัสสะหรือสัมผัส แยกสัมผัสออกจากกาย แยกวิญญาณออกจากกาย แยกอารมณ์ออกจากจิต แยกจิตออกจากอารมณ์ แยกวิญญาณออกจากจิต ไม่ยึดถือว่านั้นเป็นตน นี้เป็นตน นั่นชื่อว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ไม่ยึดสิทธิ์ในสิ่งทั้งหลายทั้งหมด คนนั้นก็จะพ้นไปจากโลกจากสงสาร เป็น อาสวักขยญาณ เกิดขึ้นในดวงจิต ฉะนั้น เมื่อพวกเราทั้งหลาย ได้ฟังนี้ ก็ควรจะนำไปพินิจพิจารณา โยนิโสมนสิการใคร่ครวญ ให้เข้าใจแจ่มแจ้งเกิดขึ้นในตน ก็จะเป็นหนทางพ้นไปจากทุกข์ อาศัยความพากเพียร ความหมั่น ความขยันหมั่นเพียรอยู่เป็นนิจ สำหรับที่จะต้องฟอกดวงจิตวิญญาณของตนให้ทราบชัด จึงจะเป็นไปเพื่อความผ่องใสสะอาด ฉะนั้นในวันนี้ ซึ่งได้แสดงเรื่องวิญญาณมา ก็จะยุติลงเสมอเพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2009
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ด้วยความหวังดีจากใครคนหนึ่งสู่ใครอีกหลายคน อนุโมทนาครับ
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แปลกดีนะครับ ไม่รู้จะทำไปทำไมมันได้อะไรก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน หลวงพ่อท่านก็สอนมาดีแล้วผมก็ไม่เข้าใจเลยว่า หลวงพ่อท่านมีปัญญามากเอาชนะข้าศึกคือกิเลสได้จริง เห็นอยู่มีใกล้ตัวเรามากเรื่องราวก็เหมือนจะเกิดเมื่อไม่นานเลย เพราะกิเลส จริงๆที่ทำให้เรา ตามืดบอดจนลืมไม่ขึ้น ไม่ยอมให้เราเข้าใจ น่ากลัวจริงๆครับ ทางมีมากมายครับสุดแล้วแต่ว่าจะไปทางไหนครับ ค่อนข้างชัดเจนครับ พิจารณาก่อนครับ

    ๕. มักขะ คือการลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือเมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้น เป็นต้น
    ๖. ปลาสะ คือการตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีกว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่า รู้ดีกว่า ถ้าให้เราทำ เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้
    ๗. อิสสาคือความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่แล้ว หรือเรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากัน แต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจ ทนไม่ได้ก็มี
    ๙. มายา คือเจ้าเล่ห์หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือจริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณี ใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มาก แต่ของคุยแสดงว่ารู้มาก เป็นต้น
    ๑๐. สาเถยยะ คือการโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเรา เมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข
    ๑๑. ถัมภะคือความดื้อ ความกระด้าง ยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง ใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง
    ๑๒. สารัมภะคือการแข่งดี มุ่งแต่จะเอาชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกันก็อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้
    ๑๓. มานะคือความถือตัว ทะนงตน
    ๑๔. อติมานะ คือการดูหมิ่นท่าน ความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขา ทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น

    พวกนี้นี้แหละมันหลอกล่ออยู่ มันผสมโรงกับวิปัสสนูกิเลส เพราะมันตัดไม่ขาดตั้งแต่แรกแล้วครับ เลยกลายเป็น

    ๑ โอภาส เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจะเกิดความสว่างในทางใจ ความสว่างนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อความสว่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไร ให้รีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแนะวิธีแก้ไข ครูอาจารย์นั้นต้องมีความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิเป็นอย่างดี จึงจะช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความรู้ในทางนี้ ก็จะส่งเสริมตอกย้ำให้ทำในวิธีนี้ต่อไป ผู้ได้รับผลที่ผิด ๆ ก็ตกอยู่กับผู้ทำสมาธิเอง


    ๕ ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า เป้ฯคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข


    ๖ อธิโมกข์ น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที

    ๑๐ นิกันติ มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง

    น่ากลัวจริงๆครับ น่ากลัวมากๆ ถ้าผมเป็นก็ขอให้หาทางออกให้ไวๆเลยครับ ท่านอื่นก็เช่นกันครับแต่ไม่ได้คิดว่าใครเป็นนะครับ ต้องใช้จิตดูจิตเอาครับจึงจะทราบว่ามีอะไรในนั้น
    อนุโมทนาครับ สู้ต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    [​IMG]

    [​IMG]

    ๒๘ พระอรหันต์ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
    ที่อัญเชิญพระธาตุมาบรรจุ ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม (ยกเว้นท่านพ่อลีและหลวงตามหาบัวที่บรรจุเกศาแทน)
    หลวงตาเป็นผู้เลือกเองทั้ง ๒๗ องค์(ซึ่งไม่รวมหลวงตาเอง) ว่าเป็นผู้ควรแก่การนำเข้ามาบรรจุในธุตังคเจดีย์
    ๑.หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล วัดดอนธาตุ จ.อบุลราชธานี
    ๒.หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร
    ๓.หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    ๔.หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    ๕.หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    ๖.หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย
    ๗.หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย
    ๘.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
    ๙.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    ๑๐.หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี
    ๑๑.หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    ๑๒.หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ จ.สกลนคร
    ๑๓.ท่านพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    ๑๔.หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม
    ๑๕.หลวงปู่สาม อกิญฺจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์
    ๑๖.หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
    ๑๗.หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    ๑๘.หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    ๑๙.หลวงพ่อมหาเขียน ฐิตสีโล วัดป่ารังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์
    ๒๐.หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี
    ๒๑.หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี
    ๒๒.หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
    ๒๓.หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์
    ๒๔.พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร(ภูทอก) จ.หนองคาย
    ๒๕.พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร
    ๒๖.หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร
    ๒๗.หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี
    ๒๘.หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) จ.ขอนแก่น

    ขอสิริมงคลจงบังเกิดแก่สาธุชนทั้งหลายครับ
    พุทธัง สาระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สาระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สาระณัง คัจฉามิ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  5. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100

    แยกรูปออกจากตา แยกตัวออกจากรูป แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกหูออกจากเสียง แยกเสียงออกจากหู แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกกลิ่นออกจากจมูก แยกจมูกออกจากกลิ่น แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกลิ้นออกจากรส แยกรสออกจากลิ้น แยกวิญญาณออกจากตน
    แยกกายออกจากผัสสะหรือสัมผัส แยกสัมผัสออกจากกาย แยกวิญญาณออกจากกาย แยกอารมณ์ออกจากจิต
    แยกจิตออกจากอารมณ์ แยกวิญญาณออกจากจิต

    ท่านพ่อลี อธิบาย..
    ท่านสอนให้มีวิชาในการแยกระหว่าง
    อายตนะภายในกับอายตนะภายนอกห้รู้เท่าทัน

    เพื่อให้มีวิชารู้เท่าทันใน
    อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทวารทั้ง 6 ในการรับรู้
    ไม่ให้หลงในอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่เข้ามากระทบสัมผัสทางทวารทั้ง 6

    แยกจิตออกจากอารมณ์ แยกวิญญาณออกจากจิต

    การ
    แยกจิตออกจากอารมณ์ เพื่อไม่ให้จิตหลงในอารมณ์เข้ามาปรุงแต่งให้เกิดสังขาร ทำให้เกิดทุกข์

    การแยกวิญญาณออกจากจิต
    เพราะวิญญาณไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่่วิญญาณ จิตเป็นธาตุรู้ วิญญาณเป็นการรับรู้ ท่านจึงสอนไม่ให้จิตหลงไปในการรับรู้ของวิญญาณ

    เหตุผล: ถ้าวิญญาณกับจิตเป็นสิ่งเดียวกัน ทำไมท่านจึงสอนให้แยกจากกัน
    เพราะท่านสอนให้พิจารณาตามความเป็นจริง จิตคือจิต วิญญาณคือวิญญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  6. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ข้อมูลนี้ หากมีผู้ไม่เข้าใจในธรรมเรื่องจิตวิญญาณ
    กรุณาเรียนถาม หลวงพ่อทอง จันทสิริ เจ้าอาวาสวัดอโศการาม
    ท่่านเป็นหลานท่านพ่อลี

    หรือ พระอาจารย์บุญกู้ รองเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ
    ท่านเป็นพระศิษย์ใกล้ชิดท่านพ่อลี อุปัฐฐากท่านพ่อลีจนวาระสุดท้าย
    และเป็นผู้บันทึกธรรม เรื่องจิตวิญญาณ

    ตัวผมเคยบวชอยู่วัดอโศการามหลายพรรษา
    และหลวงพ่อทอง จันทสิริ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์
    ส่วนพระอาจารย์บุญกู้ ผมเป็นลูกศิษย์ท่านรับใช้ใกล้ชิด
     
  7. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ผู้ใดต้องการธรรมะของท่านพ่อลี หรือของพระอริยสงฆ์ท่านอื่นๆ เป็นแผ่นMP3 แจกฟรี หรือยืมหนังสือธรรมะ

    ติดต่อได้ที่ พระอาจารย์ทวี บรรณารักษ์ห้องสมุดวัดอโศการาม
    ทุกวัน เวลา 12.00 น. - 15.00 น. เว้นวันพระสวดปาฏิโมกข์
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ครับไม่ต้องแปลมากครับหลวงพ่อท่านสอนตรงตัวครับ พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อท่านกล่าวดีแล้วครับ ถ้าขยายอธิบายเพิ่มเติมจะกลายเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นท่าน นอกเสียจากหลวงพ่อท่านกล่าวอะไรผิดจึงกล่าวเสริมแต่ที่ผมเอามาเป็นคำกล่าวของหลวงพ่อท่านครับ และความหมายก็ตรงๆครับ พิจารณาก่อนทำอะไรลงไปครับ ผมเอาตามที่ท่านสอนแหละครับ เรื่องอื่นนั้นไม่สำคัญนักครับ เพราะอ่านแล้วนัยว่าน่าศึกษาปฏิบัติมากกว่าครับ ไม่เข้าใจก็คงต้องไปถามท่านที่วัดแหละครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  9. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    การนั่งสมาธิภาวนาสวดมนต์ ที่วัดอโศการาม

    ทุกวัน
    เวลา 09.00น.-09.30น. ทำวัตรเช้า
    เวลา 16.00น.-17.00น. ทำวัตรเย็น
    เวลา 20.00น.-22.00น. สวดมนต์และนั่งสมาธิ

    ก่อนวันพระ และวันพระ และหลังวันพระ
    เวลา 09.00น.-09.30น. ทำวัตรเช้าและฟังธรรมเทศนานั่งสมาธิ
    เวลา 15.00น.-22.00น. สวดมนต์ทำวัตรเย็นและฟังธรรมเทศนานั่งสมาธิ
    เวลา 20.00น.-22.00น. สวดมนต์และนั่งสมาธิ
     
  10. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    อยากให้รีบมาถามเร็วๆ..จะได้รู้คำตอบ อย่ารับปากแล้วไม่มาจะผิดสัจจะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  11. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ข้อมูลที่ผมเอามาอธิบาย ก็เอามาจากคำเทศนาสอนของครูบาอาจารย์ที่ท่านเทศนาสอน และได้กราบเรียนสอบถาม ไม่ได้คาดเดาหรือคิดเอาเองแบบบางคน
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เพื่ออะไรครับ ไม่ต้องตอบครับ ให้สมกับผู้มีการปฏิบัติครับ อนุโมทนาครับ
     
  13. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถ้าท่านยังเลอะเทอะอยู่อย่างนี้คงไม่ต้องฝึกแล้วครับ เพราะว่าหลวงปู่ท่านไม่ประสงค์ที่จะฝึกให้ลูกศิษย์ของท่านเป็นคนถือตน ยกตนข่มท่าน หรอกครับ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็ต้องอาศัยเวลาความเพียรครับ ขอให้ท่านพิจารณาด้วยครับ
    อนุโมทนา
     
  14. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    หรือว่าคนอื่นผิดไม่ดี ท่านถูก..เพราะว่า..คิดเห็นไม่ตรงกัน

    หลายคนที่เข้ามาอ่านจะพิจารณาได้เอง คุณไม่ต้องมาตัดสินคนอื่นหรอก
     
  15. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ลองอ่านดู..มีประโยคไหน ที่ยกตนข่มท่าน..รู้สึกจะไม่มีนะ

    ผมอ่านดูหลายเที่ยว..มีแต่ให้ไปสอบถามครูบาอาจารย์..

    และมีการท้าพิสูจน์ความจริง..ให้มาสอบถามธรรมะกับตัวบุคคลคือ ครูบาอาจารย์..

    และถ้าผู้อ่านสงสัยให้ไปสอบถาม ไม่ให้คาดเดาจะผิดพลาดได้
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เมื่อถึงเวลาผมต้องไปแน่นอนครับท่านนักปฏิบัติท่านจะเป็นอย่างไรก็สุดแล้วแต่ท่านครับ เพราะถึงไปก็อาจไม่ได้เจอท่าน แล้วแต่ว่าเวลาจะมาถึงเมื่อไหร่ครับ ท่านอย่าได้เป็นห่วง ไม่ใช่การคาดคะเนครับ และไม่ใช่การสอบถาม ต้องเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติครับ ขอท่านพิจารณาอีกทีครับ เรื่องถูกผิดผมเคยกล่าวแล้วว่าไม่อยู่ในวิสัยของผมในตอนนี้แต่มันไม่เป็นสาระต่อการสนทนาครับ ธรรมะของหลวงพ่อท่านว่าไว้ชัดเจนครับ ต้อง โยนิโสมนสิการ ครับ หากท่านเป็นนักปฏิบัติจริงก็คงเข้าใจความหมายของกระผมผู้น้อยอวุโสนะครับ
    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  17. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    จิตก็จิต จิตก็ว่าเป็นนามขันธ์

    นิพพานก็นิพพาน นิพพานไม่เรียกจิต ^-^
     
  18. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    โสดาผลก็โสดาผล ไม่ได้บัญญัติว่าจิต เรียกว่าผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  19. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คุนกำลังทำอยู่เลย
     
  20. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เรื่องจิต เรื่อง วิญญาน สันยา สังขาร เวทนา เนี่ย
    ไม่เหนต้องถามใครเลย ทำเองก้เห็นเอง ท่าทำแล้วเห็นว่าไม่ตรงตามพุทพจก้ไม่ต้องเชื่อ
    ต้องเชื่อเพราะปัญญาเกิด เกิดแล้วจะแสดงอาการของจิตให้เห็นเอง

    หรือจะเชื่อแบบของคุณก้ได้เชื่อเพราะฟังเชื่อเพราะเป็นอาจารย์ เชื่อเพราะตรงกับความพอใจของตน เชื่อเพราะยังไม่รู้จริงเห็นจริง อันนี้อ่ะถูกกับจิตคุนเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...