เรื่องเด่น จิตหลุดพ้น ๑๒ ขั้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 20 กันยายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969

    ?temp_hash=fa240ff60846ad0f71832901ab21a84d.jpg


    จิตหลุดพ้น ๑๒ ขั้น

    *********
    [๙๘๒] ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว…
    ........
    ข้อความบางตอนในสารีปุตตสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=281
    ดูเพิ่มในอรรถกถาสารีปุตตสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423

    คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นพระเสขะ

    คำว่า เป็นผู้มีสติ ได้แก่ สติ ความตามระลึกถึง ... สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค นี้ ตรัสเรียกว่า สติ ภิกษุประกอบพร้อมด้วยสตินี้ ... ภิกษุนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า เป็นผู้มีสติ

    คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว อธิบายว่า
    ๑. จิตของภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากนิวรณ์ทั้งหลาย
    ๒. จิตของภิกษุผู้บรรลุทุติยฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากวิตกและวิจาร
    ๓. จิตของภิกษุผู้บรรลุตติยฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากปีติ
    ๔. จิตของภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากสุขและทุกข์
    ๕. จิตของภิกษุผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
    ๖. จิตของภิกษุผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ... จากอากาสานัญจายตนสัญญา
    ๗. จิตของภิกษุผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... จากวิญญาณัญจายตนสัญญา
    ๘. จิตของภิกษุผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็พ้น หลุดพ้นหลุดพ้นด้วยดีจากอากิญจัญญายตนสัญญา
    ๙. จิตของภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และกิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกับวิจิกิจฉาเป็นต้นนั้น
    ๑๐. จิตของภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกับกามราคานุสัยเป็นต้นนั้น
    ๑๑. จิตของภิกษุผู้เป็นพระอนาคามี ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
    ๑๒. จิตของภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และนิมิตทั้งปวงในภายนอก รวมความว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว
    ............
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทสมหานิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ (ฉบับมหาจุฬาฯ)
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16
    ดูเพิ่มใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทส
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=881&p=2

    ?temp_hash=fa240ff60846ad0f71832901ab21a84d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จะทำให้แจ้งนิพพานได้
    *************
    [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก ตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ๖- ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้

    ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    .............
    สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=319

    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่าคณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน.
    บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
    บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา.
    บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
    บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
    บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
    อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=339

    HjQL6tbDKE7jcEIuoGgcTeCx2vQkkgyXnN5_kLwiptIL&_nc_ohc=riKTJAzugDsAX-lrqvF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พระไตรปิฎกศึกษา

    สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ
    **********
    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ

    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
    ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑

    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ
    .............
    ข้อความบางตอนใน สัทธรรมปฏิรูปกสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
    http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=16&A=5846

    ดูเพิ่มเติมใน อรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531

    lXIccjJkyqTAraw2I0q1C_Iek-RNyy6Mg4YL6TDAwbki&_nc_ohc=mLtHqs6lQxYAX92nJNK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย
    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย
    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย
    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย
    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย
    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
    อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย
    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย
    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย
    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย
    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย
    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย
    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย
    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย
    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย
    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย
    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย
    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย
    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย
    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อุปนิสสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=19

    บทว่า ยถาภูตญาณทสฺสนํ แปลว่า ความเห็น กล่าวคือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง.

    ทรงแสดงวิปัสสนาอย่างอ่อน ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น.

    จริงอยู่ วิปัสสนาอย่างอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง.

    คำว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ สังขารปริเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ.

    บทว่า สมาธิ ได้แก่ สมาธิที่มีฌานเป็นบาท.

    จริงอยู่ สมาธินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาอย่างอ่อน.

    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุปนิสสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=68

    #สมาธิ #ความรู้เห็นตามเป็นจริง #ปัญญา

    q_QhTsJ1K7ngovhDq0MXXbv8yIb50fxBNrWhULMRLyNC&_nc_ohc=8DGBZ-UjhU0AX-Mvf2o&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ศีลย่อมส่งผลต่อ ๆ ไปจนถึงพระนิพพาน
    ********
    [๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีอวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีปราโมทย์ไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เรา’ การที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอกายของเราจงสงบ’ การที่บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติมีกายสงบนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีกายสงบไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเสวยสุข’ การที่บุคคลผู้มีกายสงบ เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีสุขไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอจิตของเราจงเป็นสมาธิ’ การที่บุคคลผู้มีสุข มีจิตเป็นสมาธินี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง’ การที่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิรู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด’ การที่บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา

    บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องตั้งใจว่า ‘ขอเราจงทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะ’ การที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา

    นิพพิทาและวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

    ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาและวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์

    สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

    สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์

    ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์

    ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

    ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

    อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์

    ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์

    ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมให้ธรรมทั้งหลายบริบูรณ์ เพื่อออกจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น อย่างนี้แล
    .....................
    เจตนากรณียสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=2

    6WgFmk8cnnqsphdnX45n2pagdzDQXKntdYYJBINyNVXg&_nc_ohc=gwqeVKEL4tEAX_GPJvm&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ (เหตุปรารภความเพียร) ๘ ประการนี้

    อารัมภวัตถุ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ

    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๑

    ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้วเมื่อทำงาน ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
    อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒

    ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทางการที่เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่ายอย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๓

    ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางแล้วเมื่อเดินทาง ก็ไม่สามารถจะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้
    อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๔

    ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯนี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕

    ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเราเบา ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๖

    ๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้นอย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗

    ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๘

    ภิกษุทั้งหลาย อารัมภวัตถุ ๘ ประการนี้แล
    …………..
    ข้อความบางตอนใน กุสีตารัมภวัตถุสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งความเกียจคร้านและเหตุปรารภความเพียร
    อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=153

    -u5jtrpjpafqq-difqgjofaujgrpyfsfotbzwool-_nc_ohc-ukq1tnjazywax8db3zb-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=8d96251bc5d2a793ceadef314cfe6d7a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=06756dba8819ac468f749d45530e5f81.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จะทำให้แจ้งนิพพานได้
    *************
    [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก ตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ๖- ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    .............
    สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=319
    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่าคณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน.
    บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
    บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา.
    บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
    บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
    บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
    อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=339
    6FhXc3Qr0pejTafKYpt_vbCxHREqkYqrH8CA9HyHDqyP&_nc_ohc=2fMMxJPmxPkAX9m1ZP8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...