" จิตแท้ จิตดั้งเดิม " หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฝันนิมิต, 4 พฤษภาคม 2011.

  1. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]

    ถอดเทป
    พระธรรมเทศนาเรื่อง

    "จิตแท้ จิตดั้งเดิม"


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    โหลดฟังได้ที่

    http://www.fungdham.net/sound/put.html


    "ขออโหสิกรรมด้วยนะคะ
    หากมีการสะกดคำที่ผิด
    โปรดแจ้งไว้ในบร์อดเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไปคะ
    อนุโมทนาสาธุ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • CD109-63.wma
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      112
    • CD109-64.wma
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      115
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2011
  2. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ..จิตแท้ จิตดั้งเดิม..


    แล้ว ณ โอกาสนี้ จึงขอ้ถือโอกาสด้วยการนำท่านทั้งหลายมานั่งสมาธิ
    การนั่งสมาธิเป็นการปฎิบัติ สมาธิภาวนาในท่านั่ง
    ในเมื่อเรานั่งลงไปแล้ว รู้อารมณ์ จิต ของตัวเอง
    นึกว่าพระพุทธเจ้าก็อยู่ที่จิตของเรา
    พระธรรมก็อยู่ที่จิตของเรา พระสงฆ์ก็อยู่ที่จิตของเรา
    พระพุทธเจ้าก็คือจิตรู้ของเรา
    พระธรรมก็คือ จิตที่มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี
    พระสงฆ์ก็คือเจตนาตั้งใจจะละความชั่ว ปฤติดีอยู่ตลอดเวลา
    จิตของเราเป็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยกันแล้วทุกคน
    แต่ว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ของเรามันยังมีพลังน้อย เพิ่งเริ่มเป็นแสงริ๊บรี่เล็กกว่าแสงหิ่งห้อยนิดหนึ่ง
    อย่างงั้นเราจึงมาตั้งใจปฎิบัติภาวนา
    เพื่อให้แสงพุทธธรรมนั้นสว่างไสวขึ้นในจิต
    ด้วยการบริกรรมภาวนา ด้วยการพิจารณาสิ่งต่างๆ
    เกี่ยวกับเรื่อง กายและใจ ในจิตของเรา
    ด้วยการตามรู้อารมณ์จิตของเรา ด้วยความมี สติสัมปชัญญะ
    ขอบอกอย่างตรงไป ตรงมาว่า
    การทำสมาธิภาวนานี้
    เพื่อฝึกฝนอบรมจิตให้มีพลังงาน
    คือสมาธิความตั้งมั่นมีสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้า
    ว่องไวต่อการรับรู้สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม
    แม้ว่าเราจะภาวนาทำจิตให้มีสมาธิลึกซึ้งสักเพียงใดก็ตาม
    จุดมุ้งหมายอยู่ที่ว่า ทำให้จิตมีความมั่นคง ต่อการทำความดี
    มีสติสัมปัสชัญญะพิจารณาให้รู้รอบคอบ
    ไม่ใช่ปฎิบัติอย่างผู้งมงายนี้อยู่กันที่ตรงนี้
    ส่วนเรื่องกิเลสที่มีอยู่ในจิตในใจของเรานั้น
    อย่าเพิ่งไปพยามละให้มันเสียเวลา
    แต่เรามาสร้างพลังสมาธิ คือความมั่นคง สติปัญญา ความเฉลียวฉลาด รอบรู้ให้มันเกิดขึ้นในจิตของเราให้ได้
    คือทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    ลักษณะของจิตที่เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตสงบนิ่ง สว่างไสว ใส่สะอาดเหมือนกระจกเงา
    เมื่อจิตของท่านผู้ใดเป็นอย่างนั้น
    เราสามารถที่จะรู้ว่า จิตแท้ จิตดั้งเดิม จิตที่เป็นพุทธะ นั้นมันเป็นอย่างไร
    เมื่อพุทธะยังไม่ปรากฎเด่นชัด
    เราก็ต้องพยามปฎิบัติเรื่อยไป หากจิตมีความมั่นคง
    มีสติมั่นคง ความสง่างกระจ่างแจ้ง
    มองเห็นจริงต่างๆมันจะบังเกิดขึ้นเอง
    ถ้าหากเรายังทำสมาธิ อบรมสติสัมปัสชัญญะยังไม่ดีพอ
    หรือยังไม่มีพลังงานพอที่จะใช้การได้
    แม้ว่าเราอยากจะรู้จะเห็นอะไรมันก็เหมือนคนธรรมดา
    คนตาบอดมองไม่เห็นอะไรแล้วมันจะไปรู้ไปมองเห็นอะไรได้อย่างไร
    ข้อนี้ฉันใด
    จิตที่ยังมืดมน เกิดกิเลสทั้งหลายมันปิดบัง ถูกความปราถนาลามกมันปิดบังอยู่ภายในจิตแล้วมันก็มืดมิด
    ไม่ให้เรามองเห็นสิ่งใดๆตามความเป็นจริง
    ก็ได้ไปมองเห็นสิ่งที่พระพุทธเจ้านั้นได้สละทิ้งไปแล้ว
    เช่น ลาภ ยศ สรรเสิญ สุข เป็นต้น
    เพราะนั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านได้สละทิ้งหมดแล้ว
    ที่นี้เรามามองเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นของดีวิเศษไปยึดไปปรารถนาอยู่ในสิ่งนั้นเท่านั้น
    ความปรารถนามันก็ปิดบังดวงตาไม่ให้เห็นธรรมอันละเอียด
    คือไม่ได้มองเห็นธรรมอันถูกต้องมองไปที่ไหนก็ได้แต่เห็น
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นที่น่ารักไคร่ ชอบใจ
    ส่วนดวงจิตที่สะอาดสว่าง สงบ โดยจะมองไม่เห็นเพราะกิเลสเหล่านี้มันปิดบัง
    ดังนั้นการปฎิบัติธรรม
    หรือหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
    เรื่องมีกฎเกณที่เราควรจะเอาใจใส่ ศึกษาให้เข้าใจ
    กฎหมายปกครองบ้านเมืองก็ยังมีแม่บท
    แม่บทของกฎหมายก็คือรัฐธรรมนูญ
    รัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมืองนั้น้เป็นตัวบทกฎหมาย
    ศาสนาพุทธ แบบของการปฎิบัติและคำสอนก็ต้องมีตัวแม่บท
    ตัวแม่บทของศาสนาพุทธก็คืออะไร ใครรู้มั้ย
    เพราะฉนั้นต้องพยามทำความเข้าใจตัวแม่บทของศาสนาพุทธอยู่ที่มนุษย์ธรรม
    มนุษย์ธรรมอันนั้นคือศีล 5
    ศีล 5 ข้อนี้ละก็คือแม่บท
    เป็นกฎเกณที่ชาวพุทธผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะต้องยึดเป้นหลักปฎิบัติ
    ถ้าปฎิบัติตามแม่บทนี้ไม่ได้อย่าไปกล่าวถึงที่เราจะต้องปฎิบัติให้มันได้มรรคผลนิพพานไม่มีทาง
    ถ้าศีล 5 ไม่ดี ความเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์
    เพราะฉนั้น ศีล 5 นี้จึงเป็นคุณธรรม ปรับพื้นฐานความเป็้นมนุษย์ ให้สมบุรณ์
    “…..“
    ขาว นางชี ภิษุสงฆ์ สามเณร ยังมีการด่ากัน ตำหนิติเตียนกันเพ่งโทษกัน
    แล้วก็เกิดทะเลาะวิวาสกันขึ้นมาเพราะไม่มีศีล 5
    ศีล5 มันไม่บริสุทธิ์ จึงด่ากันได้ ตำหนิกันได้ ติเตียนกันได้
    บางทีใครๆ ทำอะไรขึ้นมา ก็ไปเดือดร้อนถึงตัวเอง
    กินข้าวอิ่มแล้ว เลอออกมาจนได้ยินเข้าไปเดือดร้อน
    เขาเลออยู่ที่คอ ที่ปากเขา นี้หรือ
    “….“
    ที่ตัวเองยังไม่มีศีล 5 จึงได้เที้ยวไปยกโทษ ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ เอามาเป็นปัญหาให้เกิดเรื่อง้ต้องถกเถียงกัน
    เพราะฉนั้น หลักการปฎิบัติที่นี่ อาตมะจึงย้ำ
    ย้ำๆๆ
    อยู่ที่ศีล 5 ข้อเท่านั้น ทำไมจึงต้องย้ำอยู่ที่ศีล 5 ข้อ
    เพราะบริวารของอาตมะยังไม่เลิกทะเลาะกัน
    พวกที่ศีล 5ไม่บริสุทธิ์ สะอาดแล้วมันจะไปปฎิบัติธรรมขั้นสูงได้อย่างไร
    เพราะฉนั้นจึงจำเป็นจะต้องย้ำอยู่ที่ศีล 5 ใครจะว่าหลวงตาพุธไม่มีภูมิก็ตามใจ
    เพราะพิจารณาดูแล้วบาปกรรมทั้งหลายที่เราทำลงไปนั้น
    ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการปฎิบัติ ผิดศีล5 ที่จะต้องไปตกนรก
    เมื่อวานนี้พวกท่านทั้งหลายยังไม่ได้ สมาทาน ศีล 8 ก็้รับทานข้าวกันอยู่
    บางคนแก่จนจะเข้ากระโลงแล้วก็ยังอุตส่าเอาแป้งมาพัดหน้า
    ยังแถมเขียนคิ้ว ทาปากเข้าไปด้วย ก็ยังได้ไม่เห็นจะต้องไปตกนรก
    ใครจะประดับตกแต่ง จะทานข้าวเย็น หรือจะฟ้อนรำ ขับร้องประโคมดนตรี
    ดูการละเล่นต่างๆก็ดูได้ ทำได้ แต่ไม่มีโทษถึงต้องตกนรก
    ถ้าหากใครระเมิดศีล5 ข้อใดข้อหนึ่งตกนรกทันที
    นี้คือแม่บทของศาสนาพุทธนี้ มันอยู่ที่ตรงนี้
    ต้องพากันทำความเข้าใจให้ดี
    หากว่าผู้บวชในพระพุทะศาสนานี้ไม่สังวรในศีล 5 ข้อ นี้ปฎิบัติศีล5 ข้อนี้ยังไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี
    แม้ว่าเราจะต้องไปปฤติปฎบัติ 10 ศีล 227 หรือศีล 8 มันก็พัง
    เพราะตัวแม่บทที่เป็นพื้นฐานมันไม่มั่นคง
    เพราะฉนั้น พระพุทธเจ้าได้สอนว่า ให้เราละบาป
    ละบาป ละอย่างไร ก็ละที่ศีล 5 นั้น เดะใครไม่ทำผิดศีล5 ข้อใด ข้อหนึ่ง
    ได้ชื่อว่า ละบาป ได้เด็ดขาด
    เมื่อได้มาละบาปใดๆ ได้เด็ดขาดแล้ว
    ผลเพิ่มของบาปมันก็ไม่มีสิ
    เมื่อวานนี้ทุบหัวปลาต้มยำรับทานอยู่
    แต่วันนี้หยุดแล้ว แล้วกหยุดต่อไป จนชั่วชีวิต บาปมันก็อยู่เพียงเท่านั้นแหละ
    แค่ทุบหัวปลา เพราะเราไม่ได้ทุบมันอีก นี้พูดง่ายๆ ฟังให้มันเข้าใจ
    เราก็เอาไปพิจารณา ตรวจตราศีลของตัวเอง ว่าเราบริสุทธิื บริบูรณ์ดีมั้ย
    เมื่อปฎิบัติได้ ก็เป็นแผนการ ของการตัดผลเพิ่มของบาปไม่ให้มากขึ้นเท่าไรมันก็อยู่เพียงเท่านั้น
    ทีนี นอกจากจะเป็นการตัดตอน ผลเพิ่มของบาปแล้ว
    ยังเป็นอุบายบั่นทอนพลังของกิเลสให้ลดน้อยลง
    หรือหมดไป ปฎิบัติอย่างไรเล่าท่าน
    ก็ตรวจจาก ระลึกถึงศีล
    ปาณาติบาท
    มุสาวาส

    ..
    ..
    ..
    ต่อ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2011
  3. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    พระพุทธเจ้าไม่ฆ่า ไม่ด่า ไม่ตี
    เราก็หยุดทันที
    ถ้าจิตใจมันโลภ มันอยากได้โน้น อยากได้นี้
    ถ้ามันเป็นทางที่ได้โดยชอบทำแล้ว ก็ให้โลภไป
    อยากได้อะไรก็แสวงหาเอาด้วยลำแข็ง
    แต่ให้มันถูกต้องตาม ศีลธรรมกฎหมาย
    แต่ว่าอย่าให้มันผิดศีลข้อ อทินนาทาน
    เจ้าหนุ่ม เจ้าสาว ทั้งหลายเกิดรักเกิดชอบกัน
    ก็อย่าไปรักชอบล่วงเกิน จิตใจของพ่อของแม่ผู้ปกครองงดเว้นกันที่ตรงนี้
    ใครไม่อยากจะโกหกหลอกลวงก็นึกถึงศีลข้อ มุสาวาส
    ใครมัวเมาในเล่นหวยบัตร หวยเบอร์เล่นการพนัน สุรายาเมา
    ก็นึกถึงศีลข้อสุรางดเว้นทันที
    ตั้งใจเอาไว้ว่ามันจะเป็นอย่างไก็ตาม ฉันจะหยุด ฉันจะงด ฉันจะเว้น
    ฉันเป็นลูกศิษของพระพุทธเจ้าแล้วนี้
    ต้องตั้งใจให้มันแน่วแน่ว่าเราจะละบาปตามคำสั่งของพระพุทธเจ้า
    ถ้าเราละไม่ได้เว้นไม่ได้
    เราจะเป็นลูกศิษของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
    นี้คือหลัก และกฎเกณในการละความชั่ว หรือละความบาป
    นี้มันอยู่กันที่ตรงนี้
    ถ้าละบาปได้ตามกฎเกณของศีล 5 ได้แล้วหายห่วงไม่ต้องไปกังวลอะไรอีก
    ก็มีศีล5 บริสุทธิ์ บริบูรณ์ มันก็ตัดกรรม ตัดเวร
    การตัดเวรก็คือว่าการยุติการทำกรรม
    ยุติการทำกรรมที่ชั่ว ที่กระทำให้เกิด เวรอาฆาตพยาบาทจองเวรซึงกันและกัน
    มันก็หมดเท่านั้น
    คือว่าสิ่งใดที่มันจะเป็นกรรมเป็นเวร ที่ชั่วจะให้ผลน้อย ก็หยุดมันทันที ไม่ต้องไปหาพระที่ไหนมาเสก มาเป่าให้หมดกรรมหมดเวร มันไม่มีความหรอก
    การตัดกรรมตัดเวร
    ก็คือการหยุดทำบาปตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ วินาทีนี้ อันนี้เป็นการตัดกรรมตัดเวร
    เพราะฉนั้น หลักของการตัดกรรม ตัดเวรอยู่ที่ตรงนี้
    เมื่อเราตัดกรรมตัดเวรได้เด็ดขาด
    จิตของเรานี้มันสงบไปแล้ว 50 เปอร์เซ็นแล้วน่ะ โยมน่ะ
    สงบอย่างไร
    เพราะมันไม่มีความหวาดระแวง ว่าคนโน้นเขาจะมาทำร้าย คนนี้เขาจะมาทำร้าย
    ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ สะอาดดีเนี๊ยะ
    เป็นผู้ยอมเสียสละชีวิตเพื่อ ชีวิตของคนอื่น
    ชีวิตเลือดเนื้อในการของเราสละเสียหมดแล้ว
    แม้จะเข้าไปในป่าเสือมันก็ไม่กิน เพราะเสือมัน่ไม่อยากกินของที่เขาทิ้งแล้ว มันจะกินแต่ของที่เขาหวงเท่านั้นเอง
    เพราะฉนั้น เรามาเป็นนักปฎิบัติ ต้องทำความเข้าใจในแม่บท ของศีลในพระเดชที่เราจะพึงปฎิบัติอย่างเคร่งครัด แล้วก็ตั้งใจ ทำสมาธิภาวนาโดยวิี่ธีการต่างๆ ที่เราคร่องตัว
    และชำนิ ชำนาญ มาแล้ว ให้จิตมันมีความมั่นคง
    ทีนี้สำหรับวิธีการทำสมาธิในวันนี้ ก็ขอแนะไว้ 2 วิธี
    วิธีหนึ่งต้องบริกรรมภาวนา
    “พุทโธ พุทโธ“
    เอาไว้ทุกลมหายใจ ไม่เฉพราะเวลาที่เรามานั่งอยู่เดี๋ยวนี้
    ยืน เดิน นั่ง นอน รับทาน ดืม ทำ พูด คิด
    ท่อง พุทโธ พุทโธ พุทโธ ได้ตลอดเวลา
    เวลาเราพูดมีสติ เวลาเราคิดมีสติ เมื่อเราท่องพุทโธแล้วมันเป็นอุบายทำจิตให้มีสติสัมปชัญญะ
    แล้วก็มีพลังของสมาธิบังเกิดขึ้น จิตมีเข้มแข็ง สติต้องไวรู้ทันตามต่อไปเราอาจจะไม่ต้องท่องพุทโธก็ได้
    กำหนดตามรู้ ยืน เดิน นั่ง นอน รับทาน ดืม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ จนกระทั้งมันเป็นเองโดยอัตโนมัติ
    ทีนี้ประโยชน์อะไรที่เราจะต้องมากำหนดตามรู้
    ตามยืน เดิน นั่ง นอน รับทาน ดืม ทำ พูด คิด เป็นอุบายวิธี ฝึกหัดจิต ของเราให้มีความสำรวม
    เมื่อเรามีสติรู้ อยู่กับสิ่งเหล่านี้
    “จักขุบาสังวะโรสาธุ เราก็ได้สำรวมตา
    สาธุโสเนนะสังวะโร เราก็ได้สำรวมหู
    อาเนนะสังวะโรสาธุ เราก็ได้สำรวมจมูก
    เจวหายะสังวะโรสาธุ เราได้สำรวมลิ้น
    กาเยนะสังวะโรสาธุ เราได้สำรวมกาย
    มโนสาสังวะโรสาธุ เราได้สำรวมจิต“
    ( อาจพิมผิดบ้างขออโหสิกรรมให้ด้วย ท่อนไหนเขียนผิด โปรดแจ้งเพื่อแก้ไขคะ)
    การสำรวมนั้นคือเจตนาทั้งใจ คอยระแวด ระวัง
    เป็นอุบายให้เกิดสติสัมปัสชัญญะเพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นอารมณ์จิต
    เมื่อจิตมีอารมณ์สิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึกย่อมเพิ่มพลังงานขึ้นมา
    ทำให้ศีลบริสุทธิ์สะอาด เพราะเรามีสติคอยระมัดระวังอยู่
    ตาเห็นรูป มีสติ
    หูได้ยินเสียงมีสติ
    จมูกได้กลิ่นมีสติ
    ลิ้นได้รสมีสติ โดยเฉพาะเรื่องลิ้น ได้อาหารที่มีรสได้ถูกปากไม่ถูกปากไม่สำคัญ
    ถ้ามันอร่อยก็กินให้มันมากๆ ถ้ามันไม่อร่อยก็กินแต่น้อยๆ
    อย่าไปคิดน้อยอก น้อยใจแล้ว่อย่าบ่นทำแค่นี้กายถูกต้องสำพัสก็มีสติ
    สมองคิดก็มีสติ เอาสติตัวเดียวคอยกำกับระมัดระวังอยู่
    เพียงว่าเรามีสติคอยระวังอยู่อย่างนี้
    มันก็เป็นอุบายวิธีให้กายวาจาและใจของเราเป็นปกติ
    กายปกติ ไม่ฆ่า ไม่ลัก ไม่ขโมย ไม่ประฤติผิดในข้อกาเมสุมิฉาจาน
    ไม่ดืมน้ำเมา กายาของเราไม่พูดปด ไม่ส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูด เพ้อเจ้อเหลวไหล ใจของเราไม่เพ่งเล็งในสมบัติของคนอื่น ไม่อยากได้สมบัติของคนอื่น
    ไม่พยาบาทอาฆาทเคียดแค้นใคร
    มีใจมีความเห็นชอบ เรียกว่าสัมมาทิฐิ
    จะว่ามีบาปมีบุญ มีสุข มีทุกข์ มีีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์มี
    ผู้ปฎิบัติตามคำสอนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ จิตย่อมมีสมาธิ มีสติปัญญา
    ได้ความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมะตามกฎแห่งความเป็นจริง
    คือรู้อนิจจัง ทุข์ขัง อนัตตา รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค
    เมื่อจิตมีพลังงานดีแล้วมันจะรู้ของมันเองไปหมดนั้นแหละ
    แต่นี้เราปฎิบัติยังไม่ถึง
    ยังไม่ได้ แต่เราอยากจะรู้มากๆ รู้มากๆแล้วก็ได้แต่คุยกัน กลายเป็นคนตาบอดคุยสูง
    เพราะฉนั้น เราอย่าหัดเป็นคนตาบอดคุยสูง
    นักปฎิบัติทั้งหลายโดยส่วนใหญ่มีคนตาบอด คุยสูง
    ผู้ที่ทำตัวเป็นนักปฎิบัติ เป็นกรรมฐาน ถ้าหากว่าเราปฎิบัติสมาธิ
    สมาธิยังไม่เกิด จิตยังไม่เป็นสมาธินี้ เราจะคุยไม่ได้หรอก
    ถ้าขืนคุยก็มีแต่เรื่องโกหก มนุษย์ในโลกนี้ใครหนอจะโกหกได้แนบเนียนเกินผ้าผืนดำๆไม่มี เพราะฉนั้นให้ระวัง
    ครูบาอาจารย์ของเราท่านย้ำนัก ย้ำหนาว่าเอาสมาธิให้มันได้
    เอาสมาธิให้มันได้ ที่นี้การทำสมาธิ ทำอย่างนี้เด้อ
    ก็ไปลองทำดูเถอะ ใครไม่เชื่อก็้รับฟังไว้ ทำไว้ดู วันนี้ก็มีแม่ชีคนหนึ่ง ไปถามว่า ทำไมจิตใจมันมีแต่ความฟุ้งซ่าน มันไม่สงบสักที ว่าอย่างนั้น
    สงสัยจะไปโดนใครโกหกมาละมั้ง ว่าจิตมันฟุ้งซ่าน นั้นเป็นอย่างนี้ก่อน
    ศีลอบรมสมาธิ ศีลนี้หมายถึงศีลที่บริสุทธิ์ อย่างต่ำศีล 5 กาย วาจา บริสุทธิ์ ปราศจากโทษ
    เมื่อมานั่งสมาธิแล้วจิตก็สงบเป็นสมาธิได้ง่าย
    สมาธิที่มีศีลเป็นเครื่องประกันความปลอดภัยมันทำให้เกิดปัญญา ทีนี้
    คำว่าปัญญาที่เกิดขึ้นมานี่ มันไปรู้พระไตรปิฏกจบทั้ง 84000 พระ ธรรมขัณอย่างงั้นหรือเปล่า
    อย่าไปเข้าใจผิดอย่างนั้น
    ปัญญาที่มันเกิดขึ้น มันก็คือความคิดไม่หยุดนั้นเอง
    แต่จะเป็นความคิดอะไรก็ได้ มันจะคิดไม่หยุด
    พอไม่ได้ตั้งใจคิดมันก็คิดของมันขึ้นมา
    ตั้งใจคิดมันก็คิดของมันขึ้นมา
    เพราะที่เราไปเข้าใจผิดว่าความคิดนั้นคือความฟุ้งซ่าน
    แล้วเราก็อยากให้จิตมันหยุดคิด
    เพราะเราติดความสงบ

    ..
    ..
    ..
    ต่อ


    [​IMG]
     
  4. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ติดความนิ่งของจิต แต่แท้ที่จริงคำภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    ที่ท่องเอาไว้นั้นนะ มันอะไรเสียอีก มันคือความคิดนั้นแแหละ
    ทีนี้เมื่อภาวนา พุทโธ พุทโธ
    หัดคิดภาวนา พุทโธ พุทโธ จนคล่องตัว ชำนิชำนาญแล้ว
    สมาธิมันเกิดเด้ พอสมาธิมันเกิดขึ้นมานิดหน่อย
    ก็ทิ้งพุทโธ ที่มันตั้งใจคิดอยู่นั้น แล้วไปคิดอย่างอื่นขึ้นมา
    ความคิดอย่างอื่น นั้นก็คือความคิดเหมือนกันกับ พุทโธ นั้นแหละ
    เพราะฉนั้น เมื่อจิตมีความคิดขึ้นมาเอง ปล่อยให้มันคิดไปเลย
    ปล่อยให้มันคิดไปแล้วเอาอย่างนี้
    ตั้งใจเอาไว่ว่า เอ้า เอ้า เธอจะคิดไปถึงไหน ฉันจะตั้งใจดูแก
    คิดไปเหนือไปใต้
    คิดไปนรกคิดไปสวรรค์
    คิดไปบ้าน
    คิดไปช่อง
    คิดไปเที้ยวไหน
    เที้ยวแคร์ เที้ยวสาว
    ไปลักไปขโมย คิดไปจี้ ไปปล้น
    ตามมันไป ตามมันไป รู้มันไป มันจะไปถึงไหน
    ที่นี้เราเอาความคิดมาเป็นอารมณ์ของจิต
    กำหนดสติ ตามรู้ รุ้ รู้ รู้มันไป
    เมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้มีพลังแก่กล้าขึ้น
    ผลมันจะเกิดขึ้นเป็น 2 อย่าง
    ถ้าสติตามทันตามคิดทุกขณะจิต คิดไป ดูไป คิดไป ดูไป
    ตัวคิดไม่หยุดนั้นคือวิตก
    สติรู้พร้อมในขณะที่จิตมีความคิด นั้นคือตัววิจารณ์
    จิตคิดไม่หยุดเรากำหนดดูมันเรื่อยไป
    แต่เดี๋ยวปิติ มันก็บังเกิดขึ้น คิดไปดูไป คิดไปดูไป
    กายก็เบา จิตก็เบา
    หนักๆเข้า กายก็สงบ จิตก็สงบ
    มันสงบอย่างไรมันคิดอยู่ไม่หยุด มันสงบอย่างไร
    เอาคำภีไหนมาพูด
    มันคิดอยู่มันสงบ เพราะจิตตัวรู้ สติตัวรู้ มันเป็นปกติ ไม่มีความยินดี ไม่มีความยินร้าย
    ในความคิดนั้น คิดแล้วก็ปล่อยวางไป
    อารมณ์กับจิตมันดูดซึมซาบ สติที่ไปกำหนดรุ้ อยู่ที่ความคิด
    “…………….”
    อย่างแน่วแน่มั่นคง รุ้ทันทุกขณะจิตเขาเรียกว่าอะไร
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานไม่ใช่หรือ
    เล่าถึงสังโยชโง่ไม่เข้าท่า ความคิดที่มันคิดอยู่ไม่หยุด
    สติไปตั้งอยู่ที่ความคิด กำหนดรู้ที่ความคิดตลอดไป นี้แหละ ตัวนี้แหละที่เขา เรียกว่า ธรรมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    นักปฎิบัติทั้งหลายโง่มานานแล้ว
    เพราะฉนั้น ทำความเข้าใจสะให้ดี ท่านอาจารย์เสาร์ ท่านพูดเป็นคติเตือนใจไว้ว่า
    “เมื่อก่อนนี้ จิตของข้ามันสงบสว่างไสว แต่เดี่ยวนี้มันมีแต่ความคิด ทำไม่สงบสักที “
    นี่อาจารย์ใหญ่เปิดคัมภีเอาไว้อย่างนี้ ทำไมลูกศิษ ถึงไม่จดจำคำสอนของอาจารย์
    เอ่อ เอาสินั้น เรามาสอนกรรฐานอยู่นี้
    เกือบ 20 ปี หรือ 20 ปีแล้ว
    ยังหาคนเอา ดิบ เอาดีไม่ได้เพราะไม่เชื่อครูบาอาจารย์ อาจารย์ใหญ่ท่านว่า
    “เวลานี้จิตข้าไม่สงบ มีแต่ความคิด”
    ก็ถามท่านว่า
    “จิตมันเสื่อมหรืออย่างไร”
    “อ่าวถ้ามันนิ่งสงบอย่างเดียวมันก็ไม่ก่าวหน้าสิ ”
    ท่านว่าอย่างนี้
    เพราะฉนั้นเราเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์ สังเกตดูให้ดี
    ถ้าขณะใดจิตของเรามีการคิด ก็ปล่อยให้มันคิดไป
    แต่ต้องมีสติกำหนดตามรู้ไป
    ถ้ากำหนดตามรู้ไป
    แล้วถ้ามันนิ่งว่างเข้าไป

    [​IMG]


    (ตอนที่ 2)
    ก็ปล่อยให้มันว่าง
    อย่าไปคิดอะไรขึ้นมา
    อย่าไปตั้งใจคิด
    แต่ถ้ามันคิดขึ้นมาเองแล้วให้ดูมันทันที ไล่กันไปอย่างนี้
    เราธรรมชาติของจิตถ้ามีอารมณ์สิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
    จิตของเราก็จะมีความมั่นคงต่อการจดจ่องดูอารมณ์ที่เกิดดับอยู่
    สติสัมปชัญญะก็รู้พร้อมอยู่ จิตคิดไปเอง
    สติกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ
    แล้วก็มีปิติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่งซึ่งเรียกว่า เอกัคคตา
    ให้จิตดำเนินอยู่ในระดับนี้มีความมั่นคงไม่หวั่นไหว
    ถ้าได้ชานที่ 1 ซึ่งเรียกว่า ปฐมชาน
    เพราะฉนั้นจิตเดินขั้นสมถะก็ดีวิปัสนาก็ดี
    มันก็อศััยองค์ชานนั้นแหละเป็นเครื่องหนุน
    ที่นีเวลาเราพิจารณาไป บริกรรมภาวนาไป
    สติมันคิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เรารู้สึกในบางครั้ง
    เราจะให้มันหยุดคิด มันก็ไม่ยอมหยุด
    ที่มันได้วิตก วิตกก็คือความคิด
    ความคิดอันใดมีสติรู้พร้อมในขณะจิตนั้น เรียกว่า จิตได้วิตก วิจารณ์
    เป็นองค์ประกอบของชาน เป็นองค์ที่1 และองค์ที่2
    ของชานทีนีเมื่อมีการประกอบ องค์ 1 องค์ 2 แล้ว
    จิตมันซึมซาบในอารมณ์ของชานนั้น
    ถ้าเกิดมีปิติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง จิตกำหนด้รู้อารมณ์
    “…….“
    โดยที่ไม่ได้คิด เพลินไป สงบไปๆ มันเกิดความกลัว ถ้าดูไป เพลินไป
    มันเกิดสว่างขึ้นมา

    . .
    .
    .
    ..
    ต่อ

    [​IMG]
     
  5. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    แล้วถ้ามันเกิดสว่างขึ้นมาแล้ว
    มันเกิดฉ่ายหนังขึ้นมาให้ดู จิตมันฉายหนังให้ดู
    เมื่อมันสว่างไสว แล้วกระแสมันส่งออกไปข้างนอก
    บางทีมันก็มาเป็นจอสี่เหลี่ยมอยู่ข้างหน้า แล้วมีรูปภาพอะไรต่างๆขึ้นมา
    ในขณะนั้นจิตของใครที่ฝังแน่น ผูกพันกับสิ่งใดๆเมื่อก่อนเข้าสมาธิ มันก็จะแสดงมโนภาพเป็นตนเป็นตัวขึ้นมาให้เรามองเห็นเหมือนกับเรานั่งดูโทรทัศนั้นแหละ
    บางทีคนที่มีความโชคดีก็เห็นเป็นเลขไหลเข้ามา
    ออกจากสมาธิก็วิ่งไปซื้อ นั้นคือดอกไม้พญามาร
    พิจารณาดูให้ดีเด้อนักปฎิบัติทั้งหลาย
    เมื่อไม่นานมีสาวๆคนหนึ่งมาจากกรุงเทพ
    เข้ามาถามว่าเมื่อก่อนหนูนั่งสมาธิจิตมันสงบสว่าง
    อยู่มาวันหนึ่งภาวนาไปแล้วมันเห็นเลข หวยเบอร์ เลข 3 ตัวออกมา
    ออกจากสมาธิมาแล้วก็เลยไปซื้อหวยถูกจริงๆ
    ทีนี้พอเสร็จแล้วภายหลังมาภาวนาแล้ว มันไม่เป็นอย่างเก่าเลย
    ก็เลยเกิดสงสัยว่าทำไมถึงเป็นอย่างงั้น
    เอ้ามันก็เป็นอย่างนั้นสิ ก็ตัวไปผิดศีล
    คนซื้อหวย ซื้อเบอร์นี้ คนขาก็้ผิดกฎหมาย คนซื้อก็ผิดกฎหมาย
    ในเมื่อไปขโมยซื้อมันก็เป็น อทินนาทาน
    ศีลข้ออทินนาทานมันไม่บริสุทธิ์มันวิบัติแล้ว มันจะพัฒนาได้อย่างไร
    อย่าไปเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยน่ะ
    นักปฎิบัติควรจะได้พิิจารณาให้มันซึ้งๆ
    เอาพูดมามากแล้ว ต่อไปนี้
    เรามาตั้งใจบริกรรมภาวนาทำสมาธิให้จิตใจมันสงบิ้นิ่งเป็นสมาธิ
    ขอให้ทุกท่านกำหนดบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    ไว้ในใจถ้าหากผู้ที่หัดภาวนาใหมถ้า พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    ถ้าจิตมันทิ้งพุทโธ ไปคิดอย่างอื่น
    ก็ให้ดึงมาหาพุทโธ แล้วท่องพุทโธ พุทโธ พุทโธไปใหม่
    สำหรับผู้ที่ ภาวนาพุทโธมาจนคล่องตัวจิตมันมีความคิดอ่านมาแล้วปล่อยให้มันคิดไป
    แต่สังเกตดู ถ้ามันอยู่ในลักษณะที่เบากาย เบาใจอารมณ์เป็นที่สบาย
    ก็ปล่อยให้มันไปมันไป แต่ให้สติมี กำหนดตามรู้ นี้เคล็ดของการปฎิบัติมันอยู่ตรงนี้
    ทีนีอะไรมันจะเกิดขึ้น กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ ตัวสั่น ตัวโยก ตัวโครง
    หรือลมหายใจทำท่าจะขาดหายไป
    หรือมีอะไรจะเกิดขึ้นให้กำหนดเฉยอยู่
    กำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียวในชัวโมงนี้ให้ตัดสินใจเด็ดขาดว่า
    อะไรเกิดขึ้นฉันจะไม่สนใจทั้งนั้น
    ฉันจะดูจิตของฉันอย่างเดียวเท่านั้น
    แล้วก็ตั้งใจบริกรรมภาวนาไป
    ผู้ที่เคยพิจารณาอะไรจนคล่องแล้ว
    ก็้พิจารณาไปตามที่ตนถนัดก็แล้วกัน
    จึงจะรู้วาระของจิต
    เรากำหนดรู้จิตของเราในท่าใด
    เช่นไปเดินจงกรม ขณะที่เดินจงกรม ก็กำหนดอารมณ์ภาวนาเหมือนกับขณะที่เรานั่ง
    เช่น นั่งภาวนา พุทโธ พุทโธ
    เดินจงกรมก็ พุทโธ พุทโธ ยุบเหนอพองหนอ
    แล้วแต่ถนัด เมื่อไรเดินกำหนดจิต ก็ภาวนาพุทโธ พุทโธ
    เวลานอนไป ก็พุทโธ พุทโธ จนกว่าจะนอนหลับ
    ตื่นขึ้นมาเมื่อไรก็นึกพุทโธเอาไว้ทันที นี้ให้ปฎิบัติอย่างนี่ตลอดไป
    ถ้าผู้ใดสมาธิมาสำรวมจิต สำรวมใจฉเพราะเวลานั่งหลับตาสมาธิพุทโธๆ
    พอออกจากที่นั่งสมาธิไปแล้วเราไม่ค่อยเอาใจใส่ตัวเอง
    ควรให้ฝึกสติมันจะไม่คุ้ม
    เพราะเวลานั่งสมาธิของเรามันน้อยเกินไป
    เพราะนั้นต้องหัดทำใจให้มีสมาธิอยู่ทุกขณะจิตทุกลมหายใจ
    นอนหลับลงไปแล้วก็ให้มันมีสมาธิอยู่
    เช่นมันจะไปเองเมื่อเรา ฝึกอบรมให้คล่อง ให้ชำนิชำนาญแล้ว
    บางที บางคนภาวนาหนักๆเข้าจิตมันสงบสว่าง
    เวลานอนแล้วจิตมันก็สงบสว่างอยู่
    บางทีเข้าใจว่านอนไม่หลับก้มีแท้ที่จริงจิตมันเป็นสมาธิ จิตสมาธินี
    ถ้าเราฝึกให้มันคล่อง ชำนิชำนาญแล้วการนอนไม่มีหรอก
    นอนก็นอนแต่กาย แต่แล้วจิตมันไม่ยอมนอน
    พอนอนหลับปุ๊บลงไปมันก็สว่างรู้ อยู่ในจิตสงบ จิตมันอยู่ในสมาธิ
    บางทีนักภานารู้เท่าไม่ถึงการนึกว่าตัวเองนอนไม่หลับ
    สงสัยตัวเองอยู่เรื่อย
    ถ้าใครสงสัยคล่องใจก็ ให้ทดสอบพิจารณาดู
    ถ้านอนลงไปแล้วมันไม่หลับตลอดคืน
    ตื่นขึ้นมาแล้ว มันง่วงมั้ย มันเพลียมั้ย มันอ่อนมั้ย
    นี่ให้กำหนดหมายรู้อย่างนี้
    ถ้าหากว่ามันไม่ง่วง อ่อนเพลีย กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ
    แล้วไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    นั้นแสดงว่าจิตมันอยู่ในสมาธิ กายมันได้่นอนหลับอย่างเต็มที่
    ในเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ทำให้กายเบา ทำให้จิตเบา ทำให้กายสงบ จิตสงบ เมื่อกายเบาจิตเบา กายสงบ จิตสงบ
    เราก็ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สิ่งแปลกๆทั้งหลายเหล่านี้มันกำลังเกิดขึ้น
    ที่เรานอนลงไปแล้วไปกำหนดจิต จิตมันหลับแล้วมันสว่าง
    บางทีมีคนมาปลุกเราไม่รู้สึกตัว ที่นี้เรารู้สึกตัวตื่นขึ้นมา
    เพื่อนมาถามนอนหลับรึเปล่า ไม่ได้นอนหลับ อ่าวไม่ได้นอนหลับ ทำไมปลุกไม่ตื่น
    แล้วเราก็จะสงสัยตัวเอง ถ้าจิตอยู่ในสมาธิ ขั้นอัปนาสมาธิใครจะมาปลุกอย่างไงมันก็ไม่ตื่นหรอก
    เอาไฟมาจี้มันก็ไม่รู้สึกเจ็บ ถ้าคนภาวนาพร้อม ไม่อธิฐานจิตเอาไว้ว่าไม่ถึงเวลานั้นเขาจะออกสมาธิในช่วงที่ไม่ถึงเวลาที่เขากำหนดไว้นี่
    ใครจะมาทำอะไรมันไม่รู้สึกตัว
    อ่าวนี้อันหนึ่งละที่ทำให้นักปฎิบัติต้องสงสัย
    ถ้าหนึ่งเมื่อจิตสงบบ่อยๆเข้าทีหลังมามันสงบลงนิดหน่อยความคิดมันก็ฟุ้งๆขึ้นมาก็ไปกำหนดจิตของเราฟุ้งซ่านให้สังเกตดูให้ดี
    เมื่อจิตมีความคิดให้กำหนดดู ให้มันรู้สึกว่าเอ่อ
    ความคิดมันช้วยให้เราสบาย ก็ปล่อยให้มันคิดไป
    เมื่ออีกใจหนึ่ง เมื่อทำสมาธิแล้วมันนอนไม่หลับ
    นี้สงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคประสาทหรือเปล่าก้จะวิ่งไปหาหมอ
    หมอก็จะหาว่าเอาเป้นโรคประสาทก็จะฉีดยาระงับโรคประสาทเข้าให้ ก็เดี่ยวมันจะเป็น สะลึม สะลือ อยู่เป็นเดือนเป็นปี
    อันนี้หลวงพ่อเคยเจอมาแล้วก็จะเตือนท่านทั้งหลายเอาไว้ ว่ามีเหตุการอย่างงั้นขึ้นก็ให้สำรวมระวัง
    ให้สังเกตดูให้ดีถ้าจิตมันมีความฟุ้ง
    ถ้ามันทำให้เราสบายก็ดูไป
    แล้วทำให้เกิดมีปิติ เกิดมีความสุข เกิดมีความรู้ธรรม
    เห็นธรรมขึ้นมาก็ปล่อยให้มันคิดไปให้มันรู้ไป
    มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างงั้น ถ้าลักษณะของมันจะเป็นอย่างนี้ .
    .เมื่อเราภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ
    จิตมันรู้สึกว่า บางทีมันรู้สึกว่าชาตามตัวนิดหน่อย
    เราจะรู้สึกว่ากายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ วู๊บวาบ ลงไปนิ่งสว่างโพร่งขึ้นมา
    เพราะฉนั้นวันนี้จึงพาสวด ธรรมจักรกัปปวัตรนสูตร
    เรื่องราวในธรรมจักรกัปปวัตรนสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมจักรกัปปวัตรนสูตรให้ภิกษุปัญจักวัคคีฟังที่ป่าอิติปัจจะนะลุขถาญวัล
    ขึ้นต้นด้วยดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนกฎ 2 อย่าง ที่พวกเธอทั้งหลายไม่ควรส่องเสพ
    ส่วน 2 อย่างนั้น
    คือ กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโคการ่ประกอบตนให้พัวพันในกามสุข หมายถึงการทำตนให้สบายจนเกินไป
    เช่นอย่างเห็นแก่หลับ เห็นแก่นอน เห็นแก่กิน เห็นแก่เที้ยวอะไรพวกเหล่านี้กามสุขัลลิิกานิโรททั้งนั้น อัตตะกิละมะถานุโยโค การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก
    ทีนี้พอปล่อยจิตให้ตกอยู่ในอำนาจของราคะ โทสะ โมหะ คิดใหม่ๆ
    ทำความไม่สบายใจ่ในโอวาทคำสังสอนครูบาอาจารย์
    ทนความหิวไม่ได้ อะไรพวกหมู่นี้ มันเป็นอัตตะกิละมะถายุโยชทั้งนั้น
    อารมณ์ใดที่ทำให้เราคิดไปไม่พอใจนั้นคืออัตตะกิละมะถานุโยช หิวการประกอบตน
    ทรมานตนด้วยวิธิใดต่างๆ
    2 อย่างนี้บรรพชิตไม่ควรทำ
    ควรปฎิบัติตามทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ให้พอดิบพอดี บริโภคอาหาร ก็โภชเนยะกัลนุกา
    รู้จักประมาณในการบริโภคไม่มากนัก ไม่น้อยนัก อากานุยานิโยช
    ประกอบความเพียรอินทรี สังวรสำรวมในอินทรี ให้มันอยู่ในระดับกลางๆ
    โดยไม่รู้สึกว่าเป็นการ่ทรมานและไม่ควรสบายจนเกินไป อันนี้เรียกว่า มัชชิมาปฐิปฐา ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงทุกข์
    มีเกิดทั้งหลาย ความเกิดมันเป็นทุกข์ ความแก่มันเป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์
    โสตะปฐิเทวะ ความโศรกเศร้าร่ำไร
    เวทนานังก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น นี้พระองค์ชี้ทุกข์ให้มองเห็น
    แล้วก็ทุกข์นั้นเกิดขึ้นได้เกิดการความไม่พอใจ ก็วิภาวะตัณหา สุขเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นเกิดความพอใจ ก็กามตัณหา
    เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตมันมีกามตัณหา วิภาวะตัณหา วิภาวะตัณหา นั้นมันก็มีทั้งสุข ทั้งทุกข์นั้นแหละคลุกเคล้ากันไป
    ทุกข์นี้คือทุกอริยะสัจจัง ทุกขังอริยสัจจังคือทุกข์อริยะสัจ
    ในเมื่อพระภิกษุปัจจัควัคคีฟังจบลง จิตของท่านอัญญาโกญฑัญญะ
    เป็นสมาธิก้าวรู้ลงไปมืดปั๊บสว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน
    อันแรกมันรู้อยู่เฉยๆ มันรู้อยู่ที่จิต การกำหนดรู้นิ่งอยู่ที่จิตเฉยอยู่นั้นเป็นญาณ
    จิตกำลังมีญาณจะหยั่งรู้
    ถ้าจิตนิ่งอยู่ในสมาธิเพิ่มพลังงานขึ้นมีพลังแก่กล้าเกิดเป็นความคิดขึ้นมา
    เรียกว่าปัญญา
    ปัญญาอุปจาระสมาธิเกิดขึ้นแล้ว จิตมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก ในเมื่อมีพลังแก่กล้าขึ้น
    ก็สามารถกำหนด ปัญญาคือความคิดที่เกิดดับอยู่นั้นให้แน่อย่างความรู้แจ้งเห็นจริง
    วิชาอุปจาระสมาธิ วิชาเกิดขึ้นแล้ว วิชชารู้แจ้งเห็นจริงคือ ศาสนาแห่งความรู้ ก้าวเข้าไปสู่สมาธิขั้นละเอียดอีก
    ดับซึ่งอาโลโกอุปะการิ จิตรู้แจ้งเห็นจริง สมาธิแก่กล้า เกิดความสว่างไสว
    นั้นเป็นอาโลเประสมาธิ ทีนี้จิตของผู้ปฎิบัติแล้วไปเข้าสู่จิตสมาธิอันละเอียด
    ก็มองเห็นสิ่งใด สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปธรรมดา
    อันนี้ความรู้ธรรมะถึงขั้นละเอียดมันเป็นอย่างนั้น
    ท่านอัญญาโกญฑัญยะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ในสิ่งใด สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา
    ทีนี้พระพุทธเจ้าก็สอนต่อไปว่า นอกจากทุกไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป
    ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ให้มันชัดแจ้ง ให้มันรู้ชัดแจ้งแล้วก็ควรไปกำหนดรู้ว่าความคิดเราได้กำหนดไว้แล้ว
    สมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่ใช่การยินดี การยินร้าย
    ซึ่งเรียกว่า กามตัณหา ภาวะตัณหา วิภาวะตัณหา
    ในเมื่อกำหนดรู้แล้ว กำหนดละมาหาสังคธรรม
    แต่แท้ที่จริงไม่ได้กำหนดละหรอก
    มันตั้งใจละเอาไม่ได้ ในเมื่อจิตมันรู้เองแจ่มแจ้งชัดเจน


    .
    .
    .
    .
    [​IMG]
     
  6. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    มันก็ควานหาเหตุว่าทุกข์มันมาจากไหนเหนอ
    อ๋อ
    มันเกิดมาจากความยิดดี มันเกิดมาจากความยินร้าย
    ความยินดี ความยินร้ายมันเกิดอยู่ที่จิตนี้
    ท่านก็กำหนดจิตดูความยินดี ความยินร้าย ในเมื่อดูไป
    ดูมามันก็ จิตมันมีพลังแก่กล้าขึ้น
    มันก็กลายเป็นความเป็นกลาง
    ตัดกระแสความยินดี ความยินร้ายได้เด็ดขาด
    ท่านจึงว่า สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ
    ในเมื่อละได้แล้วจิตมันจะรู้ว่าเราละได้แล้ว
    ในเมื่อละกำหนดไปไม่เด็ดขาดจิตเป็นตัวปกติ ปกติรู้ ตื่น เบิกบาน
    ความยินดี ยินร้าย กามตัณหา ภาวะตัณหา วิภาวะตัณหา
    ดับไปหมดแล้วมันจะเป็นอะไรเสียอีกละ
    มันคือนิโรธะเป็นตัวดับนั้นเอง
    คำว่านิโรธะอย่าไปเข้าใจว่า จิตก็ดับ อารมณ์ก็ดับ อะไรๆก็ดับๆไม่มีเหลือไม่ใช่อย่างนั้นเด้อ

    จิตมันมีความคิด มีิปัญญารู้คิดพิจารณาอยู่
    แต่ความยินดี ยินร้ายไม่มี ถ้าความยินดี
    ความยินร้าย มันดับไปแล้วทุกข์มันจะมาจากไหน
    ในเมื่อไม่มีความยินดี ความยินร้าย ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มารบกวน
    จิตเป็นกลางมีความเที่ยงธรรม
    ท่านก็มองเห็นทางที่จะปฎิบัติต่อไปอะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้
    อะไรดับไปกำหนดรู้
    คือสักแต่ว่ารู้ รู้ แล้วก็ปล่อยไป
    ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด มันก็เป็นมัทชิมาปฎิฐาเท่านั้น
    ญานันตะทะนะเนวัชชะนะทะนังอุปะการิ
    ทีนี
    ญานันตะทะนะเนวัชชะนะทะนังอุปะการิ
    “………………“
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    สิ่งที่มันเกิดดับอยู่กับจิตมันเป็นสิ่งที่ควรเพียงแต่กำหนดรู้อยู่เพียงอย่างนั้น
    อย่าไปพยามดับมัน
    อย่าไปพยามละมัน
    กำหนดรู้
    ทำให้ค่าของจิตนั้นมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก
    ในเมื่อมีพลังแก่กล้าขึ้น
    มันจะทำหน้าที่ละความของมันเอง
    เพราะฉนั้นใครในเมื่อพลังจิตถึงสมาธิปัญญายังไมถึงพร้อมเอกายนมรรค
    อย่าริละกิเลส เป็นอันขาด สูจะเป็นบ้าตาย
    เพราะฉนั้น ทางที่ถูกที่ต้อง ทำศีลให้บริสุทธิ์ ทำจิตให้บริสุทธิ์
    ทำปัญญาคือการเห็นให้บริสุทธิ์
    ทำจิตให้บริสุทธิ์มันเป็นอย่างไร
    เพียงแค่นั่งสมาธิภาวนาก็ได้เพิ่นว่า ต้องยศสรรเสริญ ไม่ได้เพิ่นว่า ภูมิผู้มาอุปถัม อุปทาก มุ่งตรงต่อผู้กระทำความดี
    มันก็พูดที่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างเดียว
    ภาวนาว่าเอ่อ ภาวนาไม่ยุ่งกัน ไม่แผ่เมตตาไปทางญาตทางโยม ก็เป็นบาปสายนั้น
    ยุ่งยากทางโยมอีก โตๆทุเรียนเป็นห่อๆไม่ใส่บาตรเด้ออย่าไปว่าอย่างนั้น
    อันนั้นมันเป็นต้นบริสุทธิ์ ให้นั่งสมาธิ แล้วเอ่อ
    ให้โยมมาวัดมากๆ
    ให้เขาเอาเงินมาช้วยเหลือสร้างวัดมากๆ
    ขอปัจจัยสู่วัดประเคนให้มากๆ
    ในเมื่อเขามาประเคนแล้ว ก็ทะเลาะกันแย่งกันให้มากๆ
    นี่ๆ
    ทีนี่ใจมันไม่บริสุทธิ์
    จิตมันไม่บริสุทธิ์
    เพราะไม่ปฎิบัติมุ่งตรงต่อธรรมะคำสอน

    .
    .
    .
    ..
    .
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2011
  7. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ไปมุ่งตรงต่อความนิยมชมชอบที่ได้จากประชาชน
    ไปมุ่งตรงต่อลาภของนี้มันจะบังเกิดขึ้นโน้น
    อันนั้นพระพุทธเจ้าท่านทิ้งแล้ว
    อย่าไปทำเดนมนุษย์ คิดแค่ว่า
    ทำอย่างไรใจมันจึงจะสงบ ทำอย่างไรใจมันจึงจะสงบ
    ทำอย่างไรมันจะวิ่งหนีตัวกิเลสลูกสาวพญามารได้ นางตัณนา นางราคา นางสาวรี
    ทำให้มันมาฮ้อมล้อมอยู่ทำไงหนีมันพ้น เอากันที่ตรงนี้
    เพราะฉนั้น ห้ามคิด ห้ามไปดึงนางเอาไว้
    นึกหา วิธีการที่ตั้ง จิตที่ตั้งไว้เสร้จแล้วมันก็มีสมาธิ
    ถ้าเราไปตั่งใจเอาไว้ปราถนาสิ่งที่เป็นอามิต ไม่ใช่คุณธรรม
    ในเมื่อเป็นเช่นนั้นจิตมันไปติดอยู่ที่อามิต อามิตมันแย่งกันได้
    คุณธรรมไม่มีใครแย่งได้หรอก
    เพราะฉนั้นคนปฎิบัติเก่งๆ
    ตั้งหน้าตั้งตาปฎติปฎิบัติ ของใคร ของเราไป
    ใครจะเป็นไง ช่างใคร
    ใครจะลงนรก
    ใครจะขึ้นสวรรค์ ก็ช่างใคร
    เรามากลัวว่าเราจะลงนรกฝ่ายเดียวเท่านั้น
    ตั้งใจปฎิบัติเข้า
    นี่มันอยู่ที่ตรงนี้
    เพราะฉนั้น น่าอย่าไปกลัวเลย
    ใครจะลงนรกก็ช่างใครสิ
    ถ้าคนทั้งโลกจะลงนรกหมด
    เราก็นั่งอยู่บนสวรรค์นั่ง นั่งอยู่ตัวคนเดียว
    เอ นางเทวดาจะฮ้อมล้อม ก็ไม่มีผู้พระเดชพระอินทร์องค์ไหนมาแย่งเด้
    มันจะไม่ดีเหรอ
    เพราะฉนั้นอย่าไปกลัวคนอื่นเขาจะลงนรก
    กลัวเรานี้จะลงนรก
    บางทีเราไปกลัวคนอื่นเขาจะลงนรกอีตอนที่เขาไม่ปฎิบัติตามนี้
    เราก็น้อยอกน้อยใจ บางทีเผลอไปด่าเขามั้ง
    ไปประจานเขามั้งนั้นตัวนรกใหญ่เลยนั้น
    เพราะฉนั้นอย่าไปก่อเรื่องก่อราวให้คนอื่นต้องเดือดร้อน
    อ่าวแล้ววันนี้ี้การอบรมเกี่ยวกับเรื่องสมาธิวิปัสสนาก้เห็นว่าสมควรแก่การะเวลา
    เอาตอนต่อๆไปก็ค่อยทำเข้าปฎิบัติ

    ( หลังจากนั้น หลวงปู่กล่าวกับพระเณร)



    ....สาธุ อนุโมทนามิ....


    [​IMG]
     
  8. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    ....ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ
    แล้วเจอกันในการถอดเทปต่อไปค่ะ สาธุ....


    ^ ^


    [​IMG]
     
  9. ืืNitchakarn

    ืืNitchakarn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2011
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +0
    อนุโมทนาสาธุค่ะ :D ขอบคุนน่ะค่ะที่นำสิ่งดีๆมาให้ได้รู้ ได้เห็น
     
  10. มณฑาสวรรค์

    มณฑาสวรรค์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +2
    อนุโมทนา สาธุค่ะ ขอบคุณสำหรับธรรมทานที่นำมาเผยแพร่ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...