จุดแตกต่างที่สำคัญที่สุด ระหว่าง สติปัฏฐาน กับ สมถกรรมฐาน คืออะไร ?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นะมัตถุ โพธิยา, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    จุดแตกต่างที่สำคัญที่สุด
    ระหว่าง สติปัฏฐาน กับ สมถกรรมฐาน คืออะไร ?

    ขอท่านผู้รู้เมตตากรุณาชี้แนะด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ครับ
     
  2. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014
    สิส

    สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ไม่ว่าเราจะเข้าญานแบบไหน
    มีชื่อเรียกว่าอะไร สุดท้ายแล้ว เมื่อมันเกิดญานขึ้นมา
    ญานเหล่านั้นจะมีวิธีการทำ หรือ วิธีการเข้า ที่เหมือนๆกัน
    ไม่มีแตกต่างกันเลย แต่ สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ

    ถ้าเราฝึกเข้าญาน ไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม
    ญานที่เราเข้าไป ทำให้เรา
    สุขใจ จะเรียก
    ญานเหล่านั้นว่า
    สมถะญาน หรือ สมถกรรมฐาน

    แต่ญานไหนฝึกแล้ว ทำให้มี
    สติอยู่กับปัจจุบัน
    จะเรียกญานแบบนี้ว่า
    สติปัฏฐานสี่ หรือ
    สติปัจจุบันทั้งสี่อย่าง คือ
    1 มีสติปัจจุบันอยู่กับ การพิจารณา กาย
    2 มีสติปัจจุบันอยู่กัน การพิจารณา เวทนา
    3 มีสติปัจจุบันอยู่กับ การพิจารณา จิต
    4 มีสติปัจจุบันอยู่กับ การพิจารณา ธรรม

    ดังนั้นจะแยกได้ว่า
    ญานไหนทำแล้วสุขใจ จะเรียกว่า สมถะกรรมฐาน
    ญานไหนทำแล้วมีสติ จะเรียกว่า สติปัฏฐาน

    ทั้งนี้ หากอยากจะฝึกไปทางไหน
    ก็จะต้องฝึกการ น้อมนำ ให้ได้ก่อน
    ต้องรู้จัก กฏแห่งพระไตรลักษณ์ หรือ
    กฏแห่งกรรม หรือ กฏแห่งอิทัปปัจยตา หรือ
    กฏแห่งการเกิดแล้วดับ หรือ สุดท้ายคือ
    กฏแห่งการดับอย่างเดียว คือ ทุกสิ่งดับหมด
    หรือ กฏแห่งพระนิพพาน นั่นเอง
     
  3. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    พอจะช่วยกรุณายกตัวอย่าง อานาปานสติ ได้ไหม ? ครับ ว่า

    ทำอย่างไรเป็นสมถะ(สุขใจ) และ ทำอย่างไรเป็นสติปัฏฐาน(มีสติ)

    ขอบพระคุณมาก ครับ
     
  4. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ขอยกตัวอย่างเรื่องการฝึกดูลมหายใจของตนเอง

    เมื่อฝึกใหม่ๆ หรือ ฝึกแรกๆ จะมีทางให้เลือกทางเดียว
    คือ เข้าญานแล้วสุขใจ คือ ช่วงใหม่ๆนี้ จะทำให้แค่
    สมถะ อย่างเดียว คือ พอฝึกเข้าญาน เดี๋ยวก็จะเกิดความสุข ขึ้นมาในใจของเรา ทั้งตอนที่เข้าญานอยู่
    และ ตอนที่ออกญานไปแล้ว


    แต่พอฝึกได้ชำนาญเมื่อไหร่ คือ ประมาณการว่า
    ใช้เวลาไม่เกิน สิบนาที ก็เข้าญานสุขใจได้
    นี่เรียกว่า คล่องแคล่วระดับหนึ่ง ให้ลองเอาใจของเรา
    ไปจับที่เวทนาภายในกาย เช่น ความปวดเมื่อย
    ความเมื่อยล้า ปวดตรงไหนก็รีบส่งจิตตามไปดู
    ตรงนั้น แล้วภาวนาในใจว่า กายนี้เป็นทุกข์ๆๆๆ
    พอมันเลิกจากตรงนี้ ไปโผล่ที่อื่นอีก ก็ทำแบบเดิมอีก
    ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ นี่จึงเรียกว่า สติภาวนา หรือ
    สติปัจจุบัน หรือ สติปัฏฐานสี่ หรือ สติปัจจุบันสี่อย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2019
  5. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    ถ้ารู้ลมหายใจ อยู่เรื่อยๆ (ไม่ใช่นั่งกรรมฐาน) ในระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน

    อย่างนี้ ถือว่า เป็น สมถะ หรือ สติปัฏฐาน ? ครับ
     
  6. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    สังขาร เป็นได้ทั้งรูปและนาม สังขารกาย สังขารจิต
    จิตกับกาย ทำงานควบคู่กัน

    เวทนา เป็นได้ทั้งรูปและนาม เวทนากาย เวทนาจิต
    เวทนากับสัญญา ทำงานควบคู่กัน สัญญานี้อยู่ในส่วนธรรม

    พอมาเรียกรวมๆ ก็ กาย เวทนา จิต ธรรม
    สติ/รู้/ญาณ เป็น ฐานการรู้ในเรื่องราวอาการต่างๆของทั้ง รูปและนาม

    ปัจจัยนั้นมีได้ทั้งที่เข้ามากระทำแล้วเป็นเหตุ กับ เข้ามากระทำแล้วไม่เป็นเหตุ
    ร่างกายนี้ไม่ใช่เหตุแห่งทุกข์
    แต่เป็นปัจจัยที่เข้ามากระทำให้เป็นได้ทั้งสุขและทุกข์และเฉย
    ทุกข์เป็นส่วนของวาระจิต ส่วนวาระกายมันเป็นไปของมันอย่างนั้น

    สมมุติ มีผู้หญิงคนหนึ่งมีผมยาวสลวยและรักผมมากเพราะทำให้แลดูสวย
    พอโดนจับโกนหัวไปที น้ำตาไหลพรากเลยเสียดายเส้นผม
    หากสังเกตตามความเป็นจริง หนังหัวมันทุกข์ รากผมมันทุกข์ หรือ ทุกขจิต

    จิตมีความเป็นตน กายมีความเป็นตัว
    ใช่คน ใช่สัตว์ ใช่บุคคล ใช่เรา ใช่เขา ก็ใช่ตามที่จิตถือครองกาย
    จิตถือครองกายแบบไหนสภาพธรรมารมณ์ก็จะแปรสภาพไปตามกายนั้นๆ
    องค์ฌานมีสภาพความเป็นตัวหากจิตถือครององค์ฌานสภาพธรรมารมณ์
    ย่อมไม่ถูกเจือด้วยธรรมารมณ์แบบกายหยาบ
    กาย/ตัว เมื่อถูกเปลี่ยน ลมหายใจจะถูกแปรสภาพไปโดยธรรมชาติของมันเอง

    อนิจจัง เป็นสภาพการเปลี่ยน กาย
    ทุกขัง เป็นสภาพ จิต/ตน ที่เข้าไปถือครอง
    อนัตตา เป็นสภาพ การยอมรับสภาพตามความเป็นจริง

    สติรู้ เป็น ฐาน
    การทำความเข้าใจสภาพ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นส่วน ปัญญา

    กรรมฐานกองอื่นๆ โดยส่วนตัวผมก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมากนะ
    โดยส่วนตัวผมชอบกายคตาสติ แต่ก็มองว่ากรรมฐานกองต่างๆก็อยู่ในองค์รวมเดียวกันนี้หละ
    คือก็ยังไม่พ้นไปจากเรื่อง กาย เวทนา จิต ธรรม

    ขึ้นอยู่กับว่าจะหนักไปทางสังเกตส่วนไหนหรือใช้งานเน้นไปทางด้านไหน
     
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    การรู้ลมหายใจ อยู่เรื่อยๆ ในระหว่างการทำงานปกติ เป็น การเข้าญาน นั่นเอง
    ยังไม่ใช่ สติปัฏฐาน ยังเป็น สมถะ อยู่

    แต่ถ้าอยากจะให้เป็น สติปํฏฐาน
    ก็จะต้องเพิ่ม ความรู้สึกถึงความทุกข์
    หรือ ความรู้สึกถึงความไม่เที่ยง
    หรือ ความรู้สึกถึงสิ่งสมมุติ
    เมื่อคิดถึงแต่สามอย่างนี้ได้บ่อยๆ
    จนสุดท้ายก็ปล่อยวางทีละอย่างๆ
    จนปล่อยหมด ไม่เหลืออะไรให้ปล่อยอีก
    ก็จะจบกิจไปได้
     
  8. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    ตัวระลึก ก็เป็นตัวนึกคิดอันหนึ่ง
    ลมหายใจนั้นมีทางเข้าและทางออกอยู่ในทางเดียวกันคือปลายจมูก

    ระลึกถึงกองลมก็เป็นนึกคิดถึงกองลมเป็นส่วนสังขาร
    ระลึกนึกคิดถึงกองลม ก็รับรู้อยู่ในกองลม เป็นส่วนวิญญาณ/รับรู้/ผู้รู้
    ก็จะพอสังเกตได้ว่า สังขารเป็นอาหารปรุงเชื้อให้กับตัววิญญาณ
    หรือ การระลึก/นึกคิด เป็นเหตุให้เกิดการรับรู้

    หากเริ่มด้วย ระลึก/นึกคิด ทางเข้าอยู่ที่ปลายจมูก
    ลมออกก็หยุดอยู่แค่ที่ปลายจมูก ก็คือการระงับดับสังขารมาหยุดอยู่แค่ที่ปลายจมูก
    เมื่อสังขารถูกระงับ วิญญาณ/รับรู้ ก็ย่อมถูกระงับไปด้วย

    การมีฐานเป็นที่ตั้งมั่นหยุดอยู่แค่ที่ปลายจมูก เป็น สมถะ
    การเข้าใจกระบวนการตามความเป็นจริง เป็น วิปัสสนา

    สมถะก็ควบคู่ไปกับวิปัสสนา
     
  9. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    ถ้าจะทำสติปัฏฐาน อย่างเดียว ให้ชำนาญก่อน
    ต่อมาภายหลัง จึงยกขึ้นสู่ วิปัสสนา

    ทำอย่างนี้ จะได้ไหม ? ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2019
  10. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    สติรู้เป็นฐานการรู้เรื่องทั้งรูปและนาม

    สติรู้ + สัมปชัญญะ ในฝ่ายรูป เป็นส่วนสัมปชัญญะร่างกาย

    สติรู้ + สัมปชัญญะ ในฝ่ายนาม เป็นส่วนสัมปชัญญะนามกาย

    การดำรงอยู่ตามสภาพที่ตั้งมั่นของสัมปชัญญะนั้นๆเป็นส่วน สมถะ
    เป็นส่วนธรรมารมณ์ ธรรมชาติของสภาพธรรมารมณ์คือมันจะไม่รู้ตัวของมันเอง
    เพราะมันเป็นของมันไปอย่างนั้นตามสภาพ
    โดยธรรมชาติ เวลาเราเห็นข้างหน้าเราจะไม่เห็นข้างหลัง เวลาเห็นข้างหลังจะไม่เห็นข้างหน้า
    ในองค์ฌานก็ทำนองเดียวกันกับการเห็นตอนเห็นนามกายจะไม่เห็นธรรมารมณ์ทางร่างกายในฝ่ายที่เป็นรูปธรรม ธรรมารมณ์ในฝ่ายรูปธรรมมีนิวรณ์ 5 ในฝ่ายนามกายไม่มีนิวรณ์ 5
    สัมปชัญญะ/ความรู้สึก/เห็น/ผู้ดู ก็ตัวเดียวกัน

    อาการที่เข้าใจตามสภาพความเป็นจริงของธรรมารมณ์ต่างๆจากสติรู้
    ที่ได้จากการรู้ตามความเป็นจริงของเนื้อสัมปชัญญะต่างๆ เป็น วิปัสสนา
    เป็นอาการ รู้โดยที่ไม่ต้องคิด เป็นการรู้พร้อมในแบบองค์รวมเหมือนเวลารู้ทั่วทั้งร่างกาย
    เรานั้นก็ไม่ได้มาจัดอันดับว่าจะรู้ในร่างกายส่วนไหนก่อนส่วนไหนหลัง
    เวลารู้เราก็รู้พร้อมทั้งร่างกายเลย

    สติปัฏฐาน 4 นั้นมีทั้งความเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา อยู่ในตัวเองอยู่แล้วครับ

    สติรู้ + สัมปชัญญะ ที่ได้มาก็มีเหตุมาจาก
    การรู้ทั่วทั้งร่างกาย ทั่วทุกอิริยาบถ ให้ได้สม่ำเสมอ
     
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,606
    ค่าพลัง:
    +3,014

    ได้เหมือนกันครับ คือ แรกๆก็ให้เน้นทำสติ
    หรือ ทรงสติ อย่างเดียวก่อน
    ต่อมา พอชำนาญแล้ว ก็ค่อยยกเข้าสู่
    พระไตรลักษ์สามอย่าง คือ ไม่มีเที่ยงแท้
    หรือ มีแต่ความทุกข์ หรือ ไม่มีอะไรเลย

    พิจารณาสามอย่างนี้ จึงเรียกว่า วิปัสสนา
    จะเป็น การเปิดทางสู่การบรรลุธรรม นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2019
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ คำตอบอย่างพื้น ๆ ที่คนปกติทั่วไปพอจะเข้าใจได้ ก็คือ

    +++ สติปัฏฐาน = สติเป็นสมาธิ (ปัฏฐาน แปลว่า มั่นคง ตั้งมั่น เป็นสมาธิ)
    +++ สมถกรรมฐาน = เป็นกรรมฐานที่ สมถะ (ไม่เอาอะไรเลย)(มักจะไม่มีสติ)

    +++ ส่วนใหญ่จะ "ไร้สติ" โดน "อารมณ์ฌาน" ครอบงำ สำหรับผู้ที่ฝึก "สมถะ" ที่ไม่มีผู้รู้จริงช่วยเหลือ
    +++ เมื่อโดน "อารมณ์ฌาน" ครอบงำไปแล้ว มักทำอะไรไป "โดยไม่รู้ตัว (ขาดสติ)"

    +++ คำตอบคร่าว ๆ แค่นี้ก่อนก็แล้วกัน นะครับ
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ถ้า "อยู่กับลมหายใจ" เป็นสมถะ
    +++ ถ้า "อยู่กับ รู้ ที่รู้ลมหายใจ" เป็นสติปัฏฐาน
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ สติปัฏฐาน เป็น วิปัสสนา อยู่แล้วในตัวมันเอง ไม่ต้องยกอะไรทั้งนั้น
     
  15. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    ขอขอบพระคุณอย่างสูง กับ...ทุกท่านๆที่กรุณาเข้ามาให้ความรู้ที่ยอดเยี่ยมมากๆ...หลายอย่าง ในกระทู้นี้

    นับว่า เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง...กับ ผู้ที่ได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้ ครับ
     
  16. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    621
    ค่าพลัง:
    +2,268
    สติ กับ สมาธิ(สมถะ)
    พระธรรมเทศนา โดยพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
    ตอนที่ 241 เรื่องสติกับสมาธิ
    วันจันทร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
    ณ วัดราชธรรมวิริยาราม 3 เมืองแอดแมนตัน รัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา


    คลิกชม
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ง่ายๆครับ เอา ตามกิจวัตรประจำวัน ในชีวิตของเรานี่แหล่ะ
    ขอยกตัวอย่าง นะครับ กิน ขี้ ปี้ นอน
    ...
    กิน....เพราะ อยาก หิว หมดแรง..มีทุกข์กายทุกข์ใจเกิด...พอได้กินปุ๊บ พอใจ ปิติ สุขเกิด ก็ แซบโว้ยๆๆๆๆ...เนี่ย..สมถะ...แต่ถ้าเรา เอาสติตามรู้ รู้ตามว่า หิว ว่ากิน ว่าแซบโว้ยๆๆ...เนี่ยสติปัฏฐาน

    ขี้...เพราะอยากระบายออก ทุรนทุราย อดกลั้น ทรมาน...พอได้เข้าห้องน้ำ...พราวด....เบาโว้ยๆๆ หมดทุกข์โว้ยๆๆๆ..เนี่ยสมถะ...แต่ถ้าเราเอาสติตามรู้การปวดขี้ การได้ขี้ รู้ว่าทุกข์หมดไป..รู้ว่า เบาโว้ยๆๆๆเนี่ย สติปัฏฐาน

    ปี้....เพราะ อารมณ์หื่น อยาก กระสันต์ หาที่ระบาย...จะช่วยตัวเองหรือ ให้เมียช่วย..เมื่อได้ระบาย ถ่ายอารมณ์ไคร่นั้นออก เพลีย เมื่อย หมดแรง..เนี่ย สมถะ
    แต่ถ้าเอาสติรู้ตาม ตามรู้อารมณ์หื่นของตน จนได้ระบายออก จนอารมณ์อยากนั้นหมดไป..รู้ว่าจนหมดแรงโว้ย..ๆๆ เนี่ย สติปัฏฐาน

    นอน..เพราะ ง่วง เพลีย อยากพักผ่อนกายใจ..ไปนอน หลับเพื่อลืมโลก..เนี่ยสมถะ แต่ถ้าเอาสติตามรู้รู้ตามตั้งแต่ตนง่วงจนไปนอน จนหลับ จนตื่น ..รู้ตื่น เนี่ยสติปัฏฐาน...
    ...
    เสพอารมณ์ตามธรรมชาติของอารมณ์เป็น สันโดษ เป็นสมถะ..จะเป็นสมถะต้องไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ เบียดเบียนตนเองได้..เสพเพื่อให้อารมณ์นั้นหมดไป ดับไป
    สติปัฏฐานเนี่ย...รู้ทันการเสพอารมณ์ของตน ตั้งแต่ต้นจนจบนะ เอาเฉพาะเสพอารมณ์ตนเองนะ..ไม่เบียดเบียนผู้อื่น.

    ทีนี้สติปัฏฐาน..ว่าเราจะครอบสติรู้ทันได้ครบทั้งสี่ฐานหรือไม่ กาย เวทนา จิต ธรรม เราก็ต้องฝึก และพยายามให้รู้ครอบทั้งสีฐานพร้อมกัน

    ความจริง สมถะ แปลว่า...เอาออก...โดย มีเจตนาเพื่อ..พ้นจากสิ่งนั้น..แล้วแต่วิธีที่จะเอาออก เน้น ..ต้องเอาออกให้ได้ ไม่เน้นวิธีการ
    สติปัฏฐานสี่ เป็นการเอาออก เหมือนกัน แต่เอาออกโดยรู้ทัน ตั่งแต่ต้นจนจบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2019
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    สติปัฏฐานสี่ นั่นแหล่ะ ครบแล้ว ทั้ง สมถะและวิปัสสนา...สงบ พร้อม รู้ตามความจริง..ของกาย เวทนา จิต ธรรม อยู่แล้ว..ไม่ต้องไป ยก เพื่อ วิปัสสนาใดใดอีกเลย...ต้องครบ สี่ฐานนะ ..จึงถือว่า ครบทั้ง สมถะและวิปัสสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2019
  19. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เป็น อานาปาณสติ...แต่ถ้าเรารู้ ตัวทั่วพร้อม ทุกกิจ ที่ทำไปด้วย ของกายและความคิด ก็จะเป็นสติปัฏฐาน ครบเลยครับ

    สมถะ..คือ หาทางตัด...อารมณ์ความคิด คว่มรู้สึกให้น้อยที่สุด
    สติปัฏฐานคือ...รู้ทันวิธีการ ตัดอารมณ์ ความคิดความรู้สึก ตามดู ตามรู้..ให้ครบ เกิดขึ้นตั้งอยู่ ดับไป ครบสามลักษณะ..ก็จะเกิดปัญญาครับ

    อย่าไปคิดเอาเองนะครับ..อย่าไปคิดว่า นี่เป็นไตรลักษณ์ อย่าไปสรุปว่า นี่คือไตรลักษณ์....แค่เรา รู้ทัน ดูตั้งแต่ต้นจนจบครบ ได้ นี่คือ ดูพร้อมรู้ทัน ไตรลักษณะ...มันจะ..ซึมซาบด้วยความเข้าใจของมันเอง

    อย่า คิด อย่าสรุป อย่าน้อม...ว่า เป็นไตรลักษณ์..แบบนี้ สอนผิดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2019
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ไอ้การไปภาวนาว่า กายนี้เป็นทุกข์ๆๆๆๆ..ก็อย่าไปติงต๊องตามนะครับ พวกนี้มัน..ภาวนาไม่เป็น...
    เขาให้ ฝึกสติดูกาย ตามความเป็นจริง ดูความไม่เที่ยงทั้งหลายที่เกิดในกาย เกิดจาก อายตนะกาย..ดูมันเกิด มันตั้งอยู่ มันดับไป..ดูเฉยๆ ไม่ต้องไปแทรกแซง...จะมานั่งบ่นว่า กายไม่เที่ยง กายเป็นทุกข์ นี่พวก....ติงต๊อง

    เราเอาสติตามดูตามรู้ สติมันจะเห็นความไม่เที่ยงเอง เบื่อหน่ายเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2019

แชร์หน้านี้

Loading...