ชมรมคนเกิดขึ้น-แรม 15 ค่ำ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย รัชนีพร, 29 พฤษภาคม 2014.

  1. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    ผมเกิดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑(วันออกพรรษา) ครับ
    ความสามารถพิเศษ บุญฤทธิ์ ลงมาจากชั้นดุสิต ครับผม
    ภารกิจพิเศษ มาเชิญทุกท่านในกระทู้นี้ไปเกิดในยุคผมครับ




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 สิงหาคม 2014
  2. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    ตามหาเจ้าของกระทู้ครับ ไปอยู่ไหนเอ่ย ผมโมทนาบุญกับคุณด้วยครับ
    ที่มีความปรารถนาและเจตนาดีในการรวมกลุ่มกันทำความดีครับ เป็นกำลังใจให้ครับ
     
  3. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    วัตถุประสงค์ในการทำสมาธิคือสะสมพลังจิต
    พลังจิตมี 2 อย่างคือ
    1.พลังจิตธรรมชาติหรือเรียกว่าพลังเฉลี่ยมี 40 % ซึ่งใช้หมดไปในชีวิตประจำวันเติมพลังด้วยการกินอาหารและการนอนหลับหรืออื่นๆ
    2. พลังจิตหลักมี 60% สามารถติดตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติเกิดจากการทำสมาธิไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร (เช่นคนที่มีของเก่าแล้วมาทำสมาธิจะก้าวหน้าเร็ว)คือได้สะสมมาแล้วจะเพิ่มการทำสมาธิคือเพิ่มพลังจิตการที่มีพลังจิตสูงมากนั่นหมายความว่าจะทำงานได้มีประสิทธิภาพกลับกันถ้าคนไม่มีพลังจิตก็มักไม่พบความสำเร็จหรือขาดพลังจิตมากก็จะเป็นโรคประสาท
     
  4. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    การทำสมาธิโดยการนั่ง-ยืน-เดิน-นอน นั้นจุดมุ่งหมายต้องการเปลี่ยนอิริยาบทเป็นการออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดสุขภาพกายและสุขภาพใจและไม่เลือกเวลา
    การทำสมาธิเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกายและใจ เพราะอิริยาบทนี้มีความสำคัญต่อกายเป็นอย่างยิ่งหากขาดอิริบาบทอย่างใดอย่างหนึ่งจะถือว่าเป็นคนพิการทันที และก็จะกระทบไปถึงใจด้วย
    ตัวอย่างเช่น โยคีบางจำพวกทรมานร่างการเพื่อหวังบรรลุ ไม่กินไม่นอนจนพิการ
     
  5. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    หลักการทำสมาธิเพื่อสะสมพลังจิตง่ายๆ
    1. กำหนดฐานจิตซึ่งมี 5 ฐานคือ ปลายจมูก-หน้าผาก-บริเวณหน้า-หัวใจ-สะดือ
    สำหรับผู้ที่เริ่มให้ลองเลือกฐานแล้วปฏิบัติดูถ้าทำแล้วรู้สึกสบายคือใช่แต่ถ้าลองทำแล้วรู้สึกอึดอัดหรือไม่เป็นสมาธิเลยให้เปลี่ยนได้แต่ถ้าได้แล้วห้ามเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอีก(มีเพื่อนที่วางไว้ที่หัวใจแล้วใจเต้นแรงมากและอึดอัดแล้วลองเป็นมาที่สะดือแล้วสบายเลยเลือกวางไว้ที่สะดือ)สำหรับผู้เขียนวางไว้ที่หน้าผากค่ะ
    2. คำบริการผู้เขียนใช้คำว่าพุทโธ หมายถึงผู้รู้ ความคิดต่างๆเป็นร้อยเรื่องพันเรื่องให้เลือกพุทโธ บางครั้งเวลาทำสมาธิจิตคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ให้ดึงจิตมาที่พุทโธ ทำก่อนนอนหรือตื่นนอนวันละ 30 นาทีตอนแรกอาจไม่ถึง 30 นาทีแต่ถ้าทำไปทุกวันเรื่อย 30 นาทีเร็วมาก
    การทำส่ิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยความพยายามให้ดีที่สุดหรือตั้งใจจะทำส่ิ่งนั้นให้ดำเนินต่อไปโดยบรรลุผลโดยไม่ทอดทิ้งโดยให้ใจเป็นตัวสั่งการความตั้งม
    ใจต้องมีความพร้อม
    1. พร้อมด้วยศรัทธาคืิิอต้องมีความเชื่อเป็นหลักประกัน ต้องมีความเชื่อก่อน
    2. พร้อมด้วยปัญญา คือความรอบรู้ ความเข้าใจในเหตุผล เช่นสมาธิเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์สามารถทำให้เราได้รับความสุข
    3. เป็นเรื่องที่ต้องเอาจริง ต้องตั้งใจทำสมาธิให้เกิดผล
    4. ต้องมีใจตั้งมั่นเพราะสมาธิเป็นนามธรรมมองไม่เห็น
     
  6. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    กิจกรรมช่วงเข้าพรรษาคือเดินจงกลม 30 นาทีและนั่งสมาธิ 30 นาที
    ออกพรรษาทอดกฐินวัดสีมุมบูรพาราม ต.สีมุม อ.เมือง นครราชสีมา วัดนี้สร้างเมื่อสร้างเมื่อปี 2114 อายุ 443 ปีค่ะ
    ใครจะร่วมบุญเชิญนะคะ มี บุญกฐิน-เหรียญโปรยทาน-อาหารโรงทาน
    ในวันที่ 12 ตุลาคม 2557 หรือมาร่วมงานยินดีมากค่ะ ติดต่อ 082-4785650
    หรือดูดวงตลอดชีพ หนึ่งพันบาท(ตลอดชีพหมอพรนะคะไม่ใช่คนดู) เพื่อร่วมเป็นผู้ก่อสร้างใบบุญ ธรรมสถาน (ในหนังสือประวัติสร้าง)หรือร่วมบริจาคเท่าไรก็ได้แต่หนึ่งพันบาทขึ้นไปมีรายชื่อในหนังสือค่ะ
     
  7. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    วาสนานั้นเป็นไปตามอัธยาศัย บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต
    เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  8. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    ทำไมองคุลีมาลถึงฆ่าคนได้ 999 คน
    ในอดีตชาตินานมาแล้ว องคุลีมาลได้ถือกำเนิดเป็นเต่าใหญ่ และวันหนึ่ีงมีเรือประมงอัปปางซึ่งมีชาวประมง 6-7 คนกำลังลอยคอและพยุงตัวเพื่อไม่ให้จมน้ำ ด้วยจิตแห่งความเมตตาเต่าใหญ่ได้เข้าช่วยเหลือชาวประมงกลับสู่ฝั่งและล้มนอนด้วยความเหนื่อยแรง ชาวประมงเกิดความโลภจึงช่วยกันฆ่าเต่าและชำแหละเนื้อไปขายในหมู่บ้านมีหลายครัวเรือนรวมแล้ว 1,000 คนพอดี ชาวบ้านซื้อเนื้อเต่าไปกินด้วยว่าเป็นของแปลกและหายากเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์อายุยืนกินเนื้อเต่าแล้วทำให้อายุยืนและไม่มีโรคภัย

    มีเพียงเด็กหญิงอายุ 9 ขวบคนเดียวที่ไม่ยอมกินเนื้อเต่าแม้พ่อ-แม่จะบังคับอย่างไรเธอก็คายออกทิ้งด้วยสงสารเต่า อาจด้วยจิตวิญญานที่ร่วมกันในอดีตทำให้เธอเกิดมาเป็นแม่ขององคุลีมาล
     
  9. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    16 สิงหาคม 2557 เป็นการเรียนการสอนวันแรกหลักสูตรครูสมาธิรุ่น 35 รุ่นพลังพิเศษ เป็นกำลังใจให้ทั้งอาจารย์-พี่เลี้ยง-และนักศึกษาทุกคนค่ะ
     
  10. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ครับ
    ขอให้ความรู้การเจริญพระกรรมฐาน(สมถะภาวนา)แก่สมาชิกที่เข้ามาอ่านหน่อยครับ ไม่มีเจตนาที่จะอวดตนครับ
    แค่ต้องการให้ความรู้จริงๆครับ เพราะเห็นท่านเจ้าของกระทู้ให้ความรู้ธรรมะได้ดีมาก
    หลังจากผมปฏิบัติมาแปดปีทำทุกวันไม่มีวันหยุด มากบ้างน้อยบ้าง จับจุดหรือได้เทคนิคการทำสมาธิได้สองอย่างครับ คือ
    ๑.ต้องทำอย่างต่อเนื่องไม่หยุด หมายถึงทำทุกวันครับ
    ๒.ทำแบบอารมณ์สบายไม่เคร่งเครียด
    ถ้าทุกท่านทำตามนี้ผมรับรองว่าจะสามารถทรงอารมณ์ได้อย่างต่ำฌาณ๑ ครับ การทำสมาธิจะทำแบบลืมตา หรือหลับตาก็ได้
    สามารถทำได้ทุกอริยาบทครับ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ท่านกล่าวไว้ว่าสมาธิที่ได้จากการเคลื่อนที่ไม่มีเสื่อมครับ
     
  11. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    สมถะและวิปัสสนา

    เป็นเรื่องเข้าใจยากขอเวลาเรียบเรียงก่อนนะ
     
  12. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    วัดสีมุมบูรพาราม ขึ้นรถหน้าคลังใหม่ได้ไหมคะ สายอะไร ถ้ามีโอกาสอาจจะไปร่วมบุญด้วยได้ ตอนนี้ยังยืนยันไม่ได้ขอข้อมูลก่อนค่ะ ขอบคุณ
     
  13. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    วัดสีมุมบูรพาราม

    พรไม่แน่ใจค่ะ แต่ถ้านั่งรถสองแถวหน้าตลาดแม่กิมเฮงหรือหน้านอริสสีแดงสาย 12 วัดเลียบสุดสายแล้วเดินมาที่ปั้มแก็สที่ติดโฮมโปร์โคราชคือสถานชั่วคราว ใบบุญ ธรรมสถานหรือรถสองแถวสีขาว วัดเลียบ(ข้างรถ)ผ่านติดโฮมโปร์โคราชติดต่อพรก่อนเดินทาง 082-4785650 แล้วเดินทางไปพร้อมกันหรือถ้ามีโอกาสอยากให้เดินทางไปที่วัดและพูดคุยกับพระครู เบอร์พระครู 081-8781708 หลังเที่ยงท่านไม่รับแขก เบอร์วัด 044-959134
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2014
  14. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    สมถะและวิปัสสนา

    วันนี้ได้มานั่งอ่านและเรียบเรียงจะเขียนเนื้อหาเยอะมากซึ่งมีอยู่ในหลักสูตรครูสมาธิของพระธรรมมงคลญาณ(พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร) เล่ม 3 ทั้งเล่มให้ไปหาอ่านเองแล้วกัน
    ก่อนจะไปถึงสมถะและวิปัสสนา ให้คุณช่วยเขียนเรื่อง ฌานและญาณ พอเข้าใจเพื่อให้ความรู้แก่ท่านอื่นด้วยค่ะ
     
  15. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517

    ได้ครับด้วยความยินดี ผมเพิ่งกลับมาจากดูงานภาคเหนือ ขอเวลานิดเดียวครับ
     
  16. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    ฌาน หมายถึงกำลังสมาธิ ประกอบด้วย
    1.ปฐมฌาน 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาน

    1.ปฐมฌานมีองค์ 5 คือ
    วิตก (ความตรึก )การจดจ่ออยู่แต่ในการบริกรรมหรือการภาวนา เช่น พุทโธๆแบบหนักแน่น
    วิจาร (ความตรอง)การผ่อนคลายจากการวิตกข้างต้นลงได้ มีสติรู้บริกรรมได้แบบพริ้วไหวแผ่วเบา
    ปิติความเอิบอิ่มใจที่เกิดขึ้นแสดงออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น เห็นแสง กายสั่นโยกคอนเป็นต้น
    สุขความสุขกายสบายใจ กายเบาใจเบาเหมือนปุยนุ่น ไม่รู้สึกเจ็บปวด (กายละเอียดลมหายใจละเอียดกายหยาบหายไป)
    เอกัคคตารมณ์จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ แบบหนึ่งเดียว มีสติรู้อยู่เพียงลำพังไร้ซึ่งความคิดใดๆรบกวน (ตกอยู่ในห่วงแห่งภวังคจิต)

    2.ทุติยฌานมีองค์ 3 คือ
    ปิติคือความเอิบอิ่มใจ
    สุขความสุขกายสบายใจ
    เอกัคคตารมณ์จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    ได้แก่การที่เราสามารถละ วิตก , วิจาร ลงได้นั่นเอง
    กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้า ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ได้ตามลำดับโดยไม่ต้องมานั่ง วิตก วิจารอีก

    3.ตติยฌานมีองค์ 2 คือ สุข และเอกัคคตารมณ์
    เพราะปิติสงบระงับไป ความสุขจึงมี จิตของผู้ปฏิบัติเยือกเย็นและสงบมากยิ่งขึ้น
    กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึง สุข และเอกัคคตารมณ์ได้ตามลำดับโดยไม่ต้องมานั่ง วิตก วิจารและปิติอีกก้าวข้ามไปสุขได้โดยพริบตาเดียวความชำนาญแบบนี้เรียกว่า ตติยฌาน

    4.จตุตถฌานมีองค์ 2 คืออุเบกขา และเอกัคคตา
    แม้ความสุขจะหายไปแต่ใจจะปรากฏเป็นอุเบกขาคือการวางเฉยเพิ่มเข้ามา ที่เรียกว่า เป็นอุเบกขาฌานอันเป็นอาการของปัญญาปรากฏขึ้นภายในจิตพร้อมกับเอกัคคตาคือจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่หวั่นไหว
    กล่าวคือการที่เราชำนาญพอนั่งปุ๊ปสามารถเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ ได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งบริกรรม วิตก วิจาร ปิติและสุขอีกก้าวข้ามไปเอกัคคตารมณ์ ได้โดยในพริบตาเดียวความชำนาญแบบนี้เรียกว่าจตุฌาน

    สรุปการทำให้ครบองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตารมณ์ ได้เรียกว่าเข้าถึง ปฐมณาน
    การชำนาญสามารถละ วิตก วิจาร เข้าถึง ปิติได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า ทุติยณาน
    การชำนาญสามารถละ ปิติเข้าถึงสุขได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า ตติยณาน
    การชำนาญสามารถละ สุข เข้าถึงเอกัคตารมณ์ ได้ภายในพริบตาเดียวเรียกว่า จตุตถณาน (ณาน4)
    ฌานทั้ง 4 ประการนี้ท่านเรียกว่า รูปฌาน
     
  17. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    อรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวม ๔ อย่างด้วยกัน<O:p</O:p
    อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญสำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริง ตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือ ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่างเป็นสำคัญ

    . อากาสานัญจายตนะ <O:p</O:p
    อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอากาสานัญจายตนะนี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือ(ปล่อย)ไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญว่า กสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญ(ได้แก่) ความสุข ความทุกข์ (ซึ่ง)เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็นต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศไว้โดยกำหนดใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ (อารมณ์วางเฉย จัด)เป็นฌาน ๔ (แต่อยู่)ในอรูปฌาน <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๒. วิญญาณัญจายตนะ <O:p</O:p
    อรูปฌานนี้กำหนดวิญญาณ(คือตัวรู้)เป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนดอากาศจากอรูปฌาน(ที่หนึ่ง)เดิมเป็นปัจจัย แล้วถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิตที่รูปอาศัยอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตามแต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะวิญญาณ(คือตัวรู้)เป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (แล้วละ)ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาด กำหนดวิญญาณคือถือวิญญาณ ตัวรู้ ซึ่งเป็นเสมือนจิต โดยคิดว่าเราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่นไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์ (อารมณ์วางเฉย)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๓. อากิญจัญญายตนะ <O:p</O:p
    อรูปฌานนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ (ให้เป็นบาทฐานที่ตั้ง)ในวิญญาณัญจายตนะ แล้วเพิกวิญญาณคือ(ปล่อย)ไม่ต้องการวิญญาณ(ตัวรู้)นั้น คือคิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้นการไม่มีอะไรเลยเป็นการปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิตไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปฌานนี้ <O:p</O:p

    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ<O:p</O:p
    เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่ามีสัญญา(ความจำได้)ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา(จำไม่ได้)ก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้(ทั้ง)วิญญาณ(และหน่วยความจำ คือไม่มีการประมวลผล) ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำเสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาความจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใดๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ หรือที่เรียกว่า สมถกรรมฐาน มีสูงสุดเพียงเท่านี้คือ ถ้านับตามนัยแห่งพระสูตร ก็จะได้เป็นรูปฌาน ๔ กับอรูปฌาน ๔ ถ้านับตามนัยแห่งพระอภิธรรมก็จะได้เป็นรูปฌาน ๕ กับอรูปฌาน ๔ รวมเรียกว่า สมาบัติ ๘ นั่นเอง<O:p</O:p
    สำหรับสมาบัติ ๘ นี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะได้เคยศึกษามาแล้ว ในสำนักของดาบสทั้งสอง ได้แก่ อุทกดาบส และอาฬารดาบส ทรงเห็นแล้วว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงอำลาจากดาบสทั้งสอง มาแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ ซึ่งเรียกว่า สมถกรรมฐาน (หรือเรียกอีกอย่างว่า สมถภาวนา) เพียงอย่างเดียว จึงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔ ที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน (หรือเรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนาภาวนา) เท่านั้น จึงจะเป็นหนทางพ้นทุกข์ ถึงซึ่งสันติสุข คือ พระนิพพานได้ <O:p</O:p
     
  18. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    ญาณ แปลว่า หยั่งรู้
    ๑ ทิพจักขุญาณแปลว่าตาทิพย์ คือ สามารถเห็นผี พรหม เทพเทวดาได้
    ๒ จุตูปปาตญาณแปลว่าญาณล่วงรู้สืบประวัติการเกิดของสิ่งมีชีวิต ว่าก่อนมาเกิดคนนี้เป็นใคร มาจากไหนเป็นต้น
    ๓ เจโตปริยญาณแปลว่า ญาณล่วงรู้ทราบวาระจิตใจคนอื่นดูใจได้นั่นเอง
    ๔ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณแปลว่า ญาณระลึกชาติ ก็คือระลึกชาติย้อนไปดูได้
    ๕ อตีตังสญาณแปลว่า ญาณทราบอดีตในความหมายว่าย้อนอดีตไปนานแสนนานก็ทราบได้
    ๖ อนาคตังสญาณแปลว่าญาณทราบอนาคต ในความหมายว่าเล็งดูอนาคตแล้วทราบอนาค ตได้
    ๗ ปัจจุปปันนังสญาณแปลว่าญาณทราบปัจจุบัน เช่น ตอนนี้คนนี้ทำอะไรอยู่ เป็นต้น
    ๘ ยถากัมมุตาญาณแปลว่าญาณทราบเหตุผลตามกรรม เช่น กรรมอะไรส่งผลให้เรามีความสุข ความทุกข์
     
  19. รัชนีพร

    รัชนีพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +1,038
    คุณ tbravo เขียนได้ดีมากค่ะ ขอเพิ่มเติมแผนผังการทำสมาธิ(ของหลักสูตรครูสมาธิ)
    จิตปกติ-บริกรรม-ปฐมฌาน-ทุติยฌาน-ตติยะฌาน-จตุตถะฌาน-จุดพลังอำนาจ
    เมื่อถึงจุดพลังอำนาจไปทางซ้ายคือ วิชาฌาน-รักษาโรค-รู้ดกาลข้างหน้าฯ-ระลึกชาติ
    ขวาคือ วิปัสนาญาณ-อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา
    ลงสู่สมาธิลึกเข้าภวังค์ฌาน-อาสาจายตนะฌาน-วิญญาณัญจายตนะฌาน-อากิญจัญญายตนะฌาน-เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน
    สรุป ฌาน 1-4 สมาธิตื้นสะสมพลังจิต
    5-8 สมาธิลึกใช้พลังจิต
     
  20. tbravo

    tbravo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +517
    อย่าเน้นแต่กำลังสมาธิเพียงอย่างเดียว ต้องใช้วิปัสนาญาณควบคู่ด้วย แล้วนำสังโยชน์ ๑๐ โดยเฉพาะข้อ ๑ ถึง ๓ มากำกับ
    เพื่อการเข้าล่วงสู่อารมณ์พระโสดาบันเป็นเบื้องต้น
    ๑.สักกายทิฏฐิ ให้คิดไว้เสมอว่าชีวิตเรานี้เราต้องตายแน่นอน
    ๒.วิจิกิจฉา เราจะไม่ลังเลสงสัยในความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ๓.สีลัพพตปรามาส เราจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ศีลด่าง ศีลพร้อย

    ทั้งหมดนี้เป็นคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ
    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ครับ

    เคล็ดลับการเป็นพระโสดาบันอยู่ที่ข้อ ๓ ให้เราใช้อธิศีลคือเราจะไม่ทำผิดศีลด้วยตัวเอง
    เราจะไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นผิดศีลเช่นเรากลัวยุงกัด เรากลับใช้คนอื่นมาตบยุงแทน เป็นต้น
    และเราจะไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำผิดศีลเช่น เห็นผู้อื่นตกปลาตัวใหญ่ได้เราไปดีใจกับเขาด้วยเท่ากับเราโมทนาบาปกับเขา เป็นต้น

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...