ชะตากรรมลำน้ำโขงยุคโลกาภิวัตน์เชียงรุ้งถึงเชียงแสน

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 พฤศจิกายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ชะตากรรมลำน้ำโขงยุคโลกาภิวัตน์'เชียงรุ้งถึงเชียงแสน'

    ชะตากรรมลำน้ำโขง ยุคโลกาภิวัตน์ "เชียงรุ้งถึงเชียงแสน"

    จุฬาลักษณ์ ภู่เกิด



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    เรือสินค้าขึ้น-ล่องตลอด 24 ชม.เชื่อมเศรษฐกิจ 6 ประเทศ (ภาพเล็ก)สะพานแขวน หนึ่งในความทันสมัยของเชียงรุ้งในปัจจุบัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>"การเปลี่ยนแปลง" เป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะจิต ไม่ว่าในโลกธรรมชาติ หรือ สังคม

    แม้ใครอยากยื้อยุดฉุดอดีตไว้ แต่ก็ไม่อาจฝืนความเป็นไปดังกล่าวได้ ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ การพยายามทำความเข้าใจ "ราก" ที่มาของตน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพยายามทำความเข้าใจความเป็นไปของโลกที่เปลี่ยนแปลง เพื่อมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ

    "เชียงรุ้ง" หรือ "เชียงรุ่ง" หรือ "จิ่งหง" ในภาษาจีน เมืองหลวงของแคว้นสิบสองปันนา แห่งมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ในปี 2006 ก็เช่นกัน

    ใครที่หวังจะมาเยือนเพื่อหา "ราก" ของตนเองในฐานะที่นี่เคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติไทลื้อ ชนเผ่าที่เป็นบรรพบุรุษของพลเมืองในหลายประเทศของอุษาคเนย์ ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว ไทย ก็อาจต้องผิดหวังกับสิ่งที่เห็น

    จากสิบสองปันนาที่มีชัยภูมิทางเศรษฐกิจอันโดดเด่น เพราะเป็นชุมทางการค้าระหว่างจีนกับนครรัฐในดินแดนสุวรรณภูมิทั้งหลายในอดีตอันเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ชาวไทลื้อดำรงความเป็นชนชาติสืบเนื่องมายาวนานกว่า 2,000 ปี และมีราชสำนักที่เข้มแข็ง ซึ่งเพิ่งเผยตนสู่สายตาชาวโลกตามนโยบายของทางการจีนหลังยุคสงครามเย็น ในฐานะที่เป็น "เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา" ที่มีไทลื้อเป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่ยังรักษาอารยธรรมและความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้ค่อนข้างเหนียวแน่นท่ามกลางระบอบปกครองอันเข้มงวดของจีนคอมมิวนิสต์

    มาใน พ.ศ.นี้ สิบสองปันนาและเชียงรุ้งถูกกำหนดให้มีจุดขายอยู่ที่การเป็นเมืองท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการของจีนที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วถึงปีละ 15% อันเป็นส่วนสำคัญให้เศรษฐกิจจีนภายใต้ระบบทุนนิยมพุ่งทะยานอย่างยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่เช่นปัจจุบัน <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    สถูปเก่าแก่ที่ยังหลงเหลือ ขณะที่พระราชวังโบราณในบริเวณเดียวกันถูกรื้อทำลายไปพร้อมๆ กับระบอบกษัตริย์ของสิบสองปันนาในยุคที่จีนครอบครอง

    (บน)ส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทลื้อที่วัดเตา

    (ล่าง)ชาวไทลื้อแห่งบ้านเตาต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่นก่อนทำบุญร่วมกัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ใครที่เคยเยี่ยมเยือนเชียงรุ้งเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มาวันนี้อิทธิพลของจีนฮั่นที่เป็นผู้ปกครอง ได้แปรเปลี่ยนเมืองอันสงบสันติริมแม่น้ำล้านช้าง (อีกชื่อของแม่น้ำโขง) ให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยสีสัน และตึกสูงทันสมัยที่มากมายไปด้วยร้านรวงซึ่งเน้นขายสินค้าเอาใจนักช็อปปิ้งเป็นหลัก

    ตามตำนาน ที่มาของชื่อเมืองเชียงรุ้งนั้น เกี่ยวโยงกับพุทธประวัติ โดยกล่าวกันว่าเมื่อครั้งองค์พระสัมนาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งโขงแถบนี้ เป็นเวลารุ่งอรุณของวันใหม่พอดี ผู้คนจึงพากันเรียกเมืองนี้ว่าเชียงรุ่ง หรือเมืองแห่งรุ่งอรุณ

    ชาวไทลื้อส่วนใหญ่จึงเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด นิยมสร้างวัดในแทบทุกชุมชน ทั้งยังตกแต่งด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงาม

    แต่อนิจจา หลังจากสิบสองปันนาตกเป็นประเทศราชของจีน โบราณสถาน วัดวาอารามจำนวนมากถูกทำลายทิ้งในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นผลจากการบูรณะซ่อมแซมหลังทางการเริ่มเห็นคุณค่าทั้งในแง่วัฒนธรรมและการเป็น "จุดขาย" สำหรับการท่องเที่ยว

    ซึ่งประการหลังอาจทำให้ชาวพุทธอย่างเราๆ สะท้อนใจหากได้มาเห็นเธคทันสมัยในรูปลักษณ์ของโบสถ์อันสวยงาม หรือได้ชมการแสดงชุดอลังการ "พาราณสี" ที่เอาความเป็นพุทธมาเป็นไฮไลต์ผ่านเทคนิคและนาฏลีลาอันน่าเร้าใจในโรงละครของรัฐอันเป็นภาคบังคับสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องมาดู

    เหมือนพยายามยึดโยงความเป็นเมืองพุทธไว้อย่างสุดความสามารถ แต่...นึกไปนึกมา ที่เห็นและเป็นไปในสังคมไทยเวลานี้ ก็ไม่ต่างกันนัก ด้วยเป็นการสัมผัสคุณค่าของพุทธอย่างผิวเผินโดยมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง

    การไปค้นหา "ราก" ของสิบสองปันนาและ "ราก" ของตัวตนเราเองภายใต้การนำทีมของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ แห่งโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากมูลนิธิโตโยต้า และบริษัทโตโยต้า (ประเทศไทย) จำกัด ครั้งนี้ จึงต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งเพื่อซอกซอนหาที่ที่เราจะได้สัมผัสกับอารยธรรมไทลื้อที่ยังหลงเหลือ

    จนได้พบว่าเสน่ห์ของสิบสองปันนาคือการลัดเลาะไปตามหมู่บ้านในชนบทและพูดคุยกับชาวบ้านด้วยภาษาคำเมืองที่ยังสื่อกันพอเข้าใจ

    วันที่เราไปถึงวัดเตาในชนบทของเมืองฮาม หรือ กันหลันป้า ในภาษาจีน เลียบน้ำโขงจากเชียงรุ้งลงมาไม่ไกล ตามที่นัดหมายไว้กับชาวบ้านนั้น แทบจะเป็นช่วงเวลาอันสั้นๆ ช่วงเดียวที่ได้สัมผัสกับน้ำใจและความผูกพันฉันบ้านพี่เมืองน้องอันบริสุทธิ์ที่ยังคงหลงเหลือ ผ่านวัฒนธรรม วิถีความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่ดูคุ้นเคย

    แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เห็น ซึ่งสะท้อนถึงการเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคโลกาภิวัตน์ของหมู่บ้านที่มีเอกลักษณ์แบบไทลื้อดั้งเดิมนี้ก็คือ ในจำนวนบ้านเรือนกว่า 86 หลังที่มีรูปทรงแบบบ้านล้านนาทางเหนือของไทย มีถึง 60 หลังที่มีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อดึงพลังจากธรรมชาติมาใช้โดยเฉพาะในยามฤดูหนาว ด้วยต้นทุนไม่ถึง 10,000 บาทต่อหลังคาเรือน

    ไม่นับโทรศัพท์มือถือที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันในแทบทุกครัวเรือนที่ยังอยู่กันแบบ "พอเพียง"

    เชียงรุ้งในปัจจุบันอาจจะเป็นภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเห็นเด่นชัดสุดของชุมชนริมสองฝั่งโขง เพราะเมื่อเราล่องลงมา 220 กม. ตามลำน้ำโขงถึงท่าเรือเชียงแสนของไทย มองผิวเผินดูเหมือน 2 ฝั่งโขงอันยาวเหยียดจะยังคงมีวิถีเช่นเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นวิถีตามธรรมชาติหรือความเป็นอยู่ของชนเผ่าทั้งของจีน พม่า และลาว ก่อนจะเข้าเขตไทย

    แต่ในความเป็นปกติ น้ำโขงวันนี้กลับกำลังเผชิญอันตรายจากภัยคุกคามอย่างน่าเป็นห่วง

    ภัยคุกคามแม่น้ำสายหลักของอุษาคเนย์ที่มีความยาวถึง 4,909 กม. ซึ่งไหลผ่านถึง 6 ประเทศ คือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนามขณะนี้ ในมุมมองของ ดร.ชาญวิทย์ก็ไม่พ้นภัยคุกคามจากกระแสโลกาภิวัตน์ สะท้อนผ่านการเข้ามาตักตวงใช้ประโยชน์ของ "จีน" ซึ่งครอบครองน่านน้ำโขงไว้มากสุดใน 2 ยุทธศาสตร์ใหญ่ คือ การระเบิดเกาะแก่งเพื่อเปิดเส้นทางการเดินเรือขยายตลาดลงสู่ใต้ของจีน และการสร้างเขื่อนขนาดมหึมาในจีนเพื่อการ "พัฒนา"

    ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 2 ยุทธศาสตร์ใหญ่ดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือของนานาประเทศในสารพัดโครงการได้ "ข่มขืนชำเรา" ธรรมชาติและระบบนิเวศ รวมทั้งความเป็นอยู่ของผู้คนในอัตราเร่งที่ยังเป็นที่ถกเถียงว่าคุ้มหรือไม่กับความเสียหายมหาศาลที่ตามมา โดยเฉพาะผลกระทบที่คนตัวเล็กตัวน้อยเกือบ 100 ล้านคนใน 5 ประเทศที่เหลือจะต้องแบกรับ ขณะที่คนในเมืองใหญ่ริม 2 ฝั่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์

    ปัญหาที่ว่าผู้คนเหล่านี้ รวมทั้งลำน้ำโขงในฐานะ "สายเลือดสำคัญของอุษาคเนย์" จะอยู่รอดหรือไม่ในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นประเด็นที่นำไปสู่การจัดสัมมนาทางวิชาการครั้งสำคัญ "แม่น้ำโขง-สาละวิน : ผู้คน ผืนน้ำและสุวรรณภูมิของอุษาคเนย์" ซึ่ง มูลนิธิโครงการตำราฯจะเป็นโต้โผหลัก ในระหว่างวันที่ 23-24 พฤศจิกายนนี้ ที่โรงแรมเซ็นทรัล ดวงตะวัน จ.เชียงใหม่

    ทั้งนี้ ก็เพื่อระดมข้อคิดเห็นและองค์ความรู้ให้กว้างที่สุดเพื่อนำมาช่วยเยียวยาแม่น้ำโขงและวิถีแห่งอุษาคเนย์ให้สามารถดำรงคุณค่าอยู่ได้ให้ยาวนานที่สุดในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์



    Ref.
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01141149&day=2006/11/14
     

แชร์หน้านี้

Loading...