ชาติปางก่อน ของ พระอาจารย์จันทา ถาวโร

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 11 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอหนองบัวลำภูจังหวัดอุดรธานี เมื่อเดือนกุมภา-พันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะศิษยานุศิษย์ ได้ร่วมใจกันจัดทำหนังสือชื่อ “อนาลโยวาท” ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล ในการพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว และได้แจกจ่ายเป็นอนุสรณ์ให้แก่บรรพชิตและฆราวาสทั้งหลายที่ไปในงานพระราชทานเพลิงศพ

    ปรากฏว่าหนังสือ “อนาลโยวาท” ที่รวบรวมคำสอนของหลวงปู่ขาวไว้หลายกัณฑ์ เป็นคำสอนอันสุดวิเศษทรงคุณค่าดุจ “เพชรมณีน้ำเอก” ที่ได้เปิดเผยถึงอุบายธรรมภาคปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง ซึ่งอาจจะถือเป็นเคล็ดลับหรือรหัสมหัศจรรย์สำหรับเปิดช่องทางที่จะนำไปสู่แดนแห่งความพ้นทุกข์ก็ว่าได้

    ศรัทธาสาธุชนจำนวนมากที่ได้หยิบยืมจากผู้อ่านมาอ่านแล้ว ต่างมีความต้องการอยากจะได้หนังสือ “อนาลโยวาท” ไว้เป็นสมบัติของตนบ้าง สำหรับศึกษาปฏิบัติและประดับไว้ในตู้หนังสือ ต่างก็เรียกร้องต้องการขอซื้อไปทางวัดถ้ำกลองเพลทั้ง ๆ ที่หนังสือนี้พิมพ์แจกฟรี

    แต่ปรากฏว่า ทางวัดถ้ำกลองเพลได้แจกหนังสือเล่มนี้ไปหมดแล้ว ทางวัดยังไม่ได้ดำริจะจัดพิมพ์ขึ้นใหม่แต่อย่างใด อาจจะเป็นเพราะต้องใช้ทุนรอนในการจัดพิมพ์เป็นเงินจำนวนมากก็เป็นได้ ในหนังสือ “อนาลโยวาท” เล่มนี้ มีเทศนาธรรมกัณฑ์พิเศษแถมไว้อยู่กัณฑ์หนึ่ง ผู้เทศนาคือ “พระอาจารย์จันทา ถาวโร” เทศนาธรรมเรื่อง

    “การปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่ขาว อนาลโย”

    ท่านพระอาจารย์จันทา เทศน์กัณฑ์นี้ ได้เล่าถึงปฏิปทาการดำเนินของท่านพระอาจารย์จันทาเอง ตอนที่ได้อยู่ใกล้ชิดปฏิบัติธรรมกรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้งพิสดารอัศจรรย์ ควรแก่การน่ารู้น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

    ได้มีท่านผู้อ่านจำนวนมากเขียนจดหมายไปถึงกองบรรณาธิการ เพื่อจะขอทราบว่า

    พระอาจารย์จันทา ถาวโรเป็นพระธุดงค์มาจากไหน? เหตุใดจึงไม่มีชื่อเสียงเรียงนามปรากฏอยู่ในหมู่ครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสายท่านหลวงปู่มั่น ?
    พระอาจารย์จันทาบวชเรียนมาตั้งแต่เมื่อไร ? บรรลุธรรมแล้วใช่ไหม ?

    ดังนั้น เพื่อสนองความต้องการของท่านผู้อ่านผู้เขียนจึงได้ออกสืบหาท่านพระอาจารย์จันทา ถาวโร ที่เล่าลือมีกิตติศัพท์ฟุ้งขจรในความเป็นผู้ทรงภูมิจิตภูมิธรรม และยังเป็นผู้ชอบ “เก็บตัวเงียบ” ประดุจช้างเผือกในป่าลึก

    นับเป็นความยากลำบากพอสมควร ที่จะได้เรื่องราวปฏิปทาชีวิตการปฏิบัติกรรมฐานของท่านพระอาจารย์จันทา เนื่องจากท่านเป็นพระป่าที่สันโดษ แม้ท่านจะมีเมตตากรุณาเป็นปุเรจาริก คือมีเมตตากรุณาเป็นปกติ แต่ท่านก็ชอบเก็บตัวเงียบ ๆ ไม่อยากจะให้คนรู้จักมากนัก

    ท่านชอบความสงบเงียบ เจริญวิเวก ไม่อยากจะแสดงตน ไม่ชอบให้มีรูปภาพของท่านและเรื่องราวปรากฏต่อสาธารณชน

    เหตุผลของท่านพระอาจารย์จันทา ท่านถือว่าท่านเป็นพระป่าเป็นพระบ้านนอก ไม่ได้เข้าเรียนชั้นประถม มีการศึกษาน้อย พูดภาษาภาคกลางไม่ค่อยจะถูก จนเคยมีศรัทธาญาติโยมบ่นว่า ท่านพระอาจารย์จันทาเทศน์ไม่เป็นภาษา ฟังไม่รู้เรื่อง !

    [​IMG]“อาตมามีการศึกษาน้อย พูดได้แต่ภาษาอีสาน จึงพูดภาษากลางไม่ค่อยจะถูกเลย

    ตอนไปเทศน์ที่ปากคลองตลาด โยมผู้หญิงนางหนึ่งร้องขึ้นว่า ท่านอาจารย์พูดอะไรไม่รู้ ฟังไม่รู้เรื่อง
    อาตมาเป็นพระป่าธรรมดา ๆ บ่มีความสำคัญอีหยังดอก อย่าสนใจอาตมาเลย โยมมานั่งภาวนากับอาตมาดีกว่า จะได้บุญได้กุศลเป็นไหน ๆ ”

    ผู้เขียนได้กราบเรียนชี้แจงแสดงเหตุผลหลายประการ ขอเอาเรื่องราวการปฏิบัติธุดงคกรรมฐานในชีวิตของท่าน เพื่อจะนำมาเปิดเผยในหนังสือ “ตายแล้วไปไหน” เล่มนี้ โดยมี ท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม วัดเทิงเสาหิน ได้ช่วยเจรจาอีกแรงหนึ่ง

    ในที่สุดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ในพระพุทธศาสนา ท่านพระอาจารย์จันทาก็ได้ยอมเล่าถึงชีวิตการปฏิบัติภาวนาของท่านให้ฟัง

    “ได้ฟังแล้วก็เอาไปปฏิบัตินะฝึกปฏิบัติอบรมขัดเกลาจิตใจตัวเองให้เป็นกำไรชีวิต อย่าฟังเอาแต่สนุกสนานว่าอาตมาผจญภัยอะไรบ้างในการเดินธุดงค์ ? การปฏิบัติธรรมสมาธิวิปัสสนานี้ เมื่อทำแล้วมันอัศจรรย์ชวนให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสจริง ๆ ”

    ท่านพระอาจารย์จันทาบอกผู้เขียนฉันเมตตากรุณา และท่านยังได้อนุญาตให้นำธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษของท่านในหนังสือ “อนาลโยวาท” ลงในหนังสือเล่มนี้ได้ด้วย

    ดังนั้น เพื่อเป็นการปูพื้นฐานประวัติของท่านพระอาจารย์จันทา ถาวโร ก่อนที่จะได้ทราบรายละเอียดในลำดับต่อไป ขอเชิญท่านผู้อ่านได้สดับเทศนาธรรมกัณฑ์พิเศษของท่านพระอาจารย์จันทาเสียก่อน เป็นเบื้องต้น
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ธรรมเทศนากัณฑ์นี้ ท่านพระอาจารย์จันทา ถาวโร เทศน์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๕ และได้นำลงในหนังสือ “อนาลโยวาท” หน้า ๑๓๑ ถึงหน้า ๑๔๗ มีใจความดังนี้


    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" id=table1 border=3 borderColor=#800000 width="95%" bgColor=#e8e2d7><TBODY><TR><TD>
    “ได้มาอยู่กับ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ระยะ พ.ศ. ๒๕๐๑ (สองพันห้าร้อยหนึ่ง) มอบตัวเป็นศิษย์ใกล้ชิด ปรนนิบัติท่านทั้งวันคืนไม่ลดละ กราบเรียนท่านว่า


    หลวงปู่...ผม (หมายถึงท่านพระอาจารย์จันทา) ใคร่รู้ธรรม เห็นธรรม และปฏิบัติธรรมของจริงจากหลวงปู่ ขอหลวงปู่จงเมตตาถ่ายทอดความรู้ ที่จะให้เกิดมรรคเกิดผลต่อไป ก่อนจะลงมือปฏิบัตินั้น จะทำวิธีการอย่างใดก่อน ?

    ขอหลวงปู่จงเมตตาแนะนำพร่ำสอน !

    หลวงปู่ขาวพอใจรับเป็นศิษย์ ท่านพูดว่า การทำความเพียรในทางศาสนานี้ จะให้จิตเข้าสู่ความสงบได้เร็วนั้น ท่านเคยทำมาแต่เมื่อครั้งท่านไปอยู่เชียงใหม่ ๑๔ ปี

    ก็ทำวิธีใด ? ไม่มีทางอื่นไกลมีแต่อดนอน ผ่อนอาหาร เอาเพียงอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น
    การฉันอาหารนั้นก็น้อย เพราะอาหาร (มากไป) จะทับธาตุ

    พระเณรที่จะก้าวหน้า ต้องเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นในการทำความเพียร ไม่ห่วงอาลัยในสังขารร่างกาย จะเป็นจะตายอย่างไรเป็นเรื่องของสังขาร (ร่างกาย)

    ถึงจะห่วงอาลัย (สังขารร่างกาย) มันก็ไม่มีดีที่จะไปอยู่ด้วย

    ฉะนั้น จงปล่อยวางสังขาร (ร่างกาย) ลง เหมือนของที่มาอาศัย

    ท่านหลวงปู่ขาวสอนให้ทำใจให้ขาวสะอาด ให้ใจเย็นเหมือนน้ำ ให้ใจหนักเหมือนแผ่นดิน ให้ใจอ่อนนิ่มเหมือนผ้าเช็ดเท้า
    ท่านสอนให้ทำใจเหมือนกับไฟ

    ไฟเป็นของร้อน เราทำความเพียรต้องรีบร้อนทั้งกลางวันกลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ลดละ ไม่ให้กาลเวลาล่วงไปเปล่า ๆ
    ท่านสอนให้ทำใจเหมือนลม ลมเป็นของเบาและเย็น

    ก่อนที่จะเดินจงกรมก็ดี ยืนภาวนาก็ดี นั่งภาวนาก็ดี ท่านหลวงปู่ขาวให้ตั้งสัจจะไว้ ความเพียรจึงจะไม่ลดละ และไม่ถอยหลัง
    ท่านสอนให้ชำระใจให้ผ่องใส สะอาด ปล่อยวางความอยาก ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ ปล่อยความยึดถือขันธ์ (ขันธ์ ๕) ธรรม ๒ ประเภทนี้ทำให้เวียนตายเวียนเกิด และบันดาลให้ใจไม่อาจเข้าสู่ความสงบ

    นี่ท่านหลวงปู่ขาว สอนขั้นแรก

    ความเพียรต้องอยู่คู่สติ

    ฟังท่านสอนแล้ว เลยตั้งสัตยาธิษฐานต่อ พระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ตั้งใจมั่นว่า

    ข้าพเจ้าจะทำความเพียรบูชาพระรัตนตรัย ขอจงเป็นไปในธรรมะเท่าที่จะทำได้ แล้วก็ตั้งสัจจะครั้งแรก จะไม่นอน ๖ วัน ๖ คืน เอาแต่ยืน เดิน นั่ง

    ข้าวก็เว้นวันฉัน วันไหนฉัน ก็ฉันเพียง ๕ คำ ๑๐ คำ ๑๕ คำ

    จะเข้าสู่ทางเดินจงกรมก็ยกมือไหว้พุทโธ ธัมโม สังโฆ สรณัง คัจฉามิ ตั้งสติประคองจิตในอิริยาบถ เดินจงกรม ตั้งสัจจะว่าจะเดินนานเท่าใดแล้วก็ทำเช่นนั้น

    การตั้งความเพียรต้องมีสัจจะ จึงจะเป็นความเพียรของนักปราชญ์เจ้าทั้งหลาย

    ตั้งสัจจะแล้ววางมือซ้ายเหนือพกผ้า (เหนือสะดือ) มือขวาทับก้าวขาขวา ว่าพุทโธ ก้าวขาซ้าย ว่าธัมโม ก้าวขาขวา ว่าสังโฆ เดินพอดี ๆ ไม่เร็วไม่ช้า ถึงสุดทางแล้วเวียนขวากลับหลัง

    เดิน ๓ รอบแรกว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ อยู่เสมอ

    เดินตั้งแต่รอบที่ ๔ ไปเปลี่ยนเป็น “พุทโธ” เอาอารมณ์เดียว ก้าวขาขวาว่า พุท ก้าวขาซ้ายว่า โธ เดินถึง ๑ ชั่วโมงแล้วยืนภาวนา กำหนดรักษาจิตอยู่กับพุทโธ ให้เป็นอารมณ์ของสติ ลมเข้าว่า พุท ลมออกว่า โธ อยู่อย่างนั้น ไม่ส่งจิตไปอื่น รักษาอิริยาบถยืนอยู่

    เมื่อถึง ๑ ชั่วโมงแล้วก็ออกจากที่ไปยกมือไหว้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ สรณัง คัจฉามิ เดินไปขึ้นกุฏิหรือสถานที่อาศัย ขณะเดินไปก็ให้มีสติ

    หลวงปู่ขาวท่านสอน ความเพียรอยู่คู่กับสติ ขาดสติเมื่อไรก็ขาดความเพียรเมื่อนั้น

    เมื่อไปถึงที่พักแล้วต้องปัดกวาดให้สะอาด เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของสะอาด

    ทำความสะอาดเสร็จแล้วถ้าเป็นตอนเย็นก็ทำวัตรเย็น จากนั้นก็บำเพ็ญภาวนา อบรมจิตใจให้อยู่กับธรรมะ เอาธรรมะเป็นเครื่องฟอกจิตใจ
    ใจของเราเที่ยวเกิดเทียวตายภพน้อยภพใหญ่ มีแต่ไปกินอารมณ์ของโลก คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ท่านจึงสอนให้เจริญธรรมเป็นเครื่องฟอก

    ใจมีสนิมเป็นเครื่องปิดครอบงำ สนามนั้นดำมืด ได้แก่ โลภะราคะ โทสะ โมหะ อวิขขา ตัณหา สนิมแต่ละก้อนนี้เหนียวแน่นติดครอบงำจิตใจมาหลายภพหลายซาติแล้ว

    เรามาทำความเพียรเพื่อชำระสนิมนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ลับมีดพร้าด้วยความเพียร ด้วยความอดทน ด้วยสติปัญญาฉลาด ลับไปนาน ๆ สนิมก็หลุดออก มีดนั้นก็คมนี้ฉันใด ใจก็ฉันนั้น

    เมื่อไหว้พระสวดมนต์เสร็จ ก็ตั้งจิตแผ่ส่วนบุญให้เจ้าบุญเจ้าคุณ คือ บิดา มารดา และผู้มีพระคุณต่าง ๆ ตลอดจนสรรพสัตว์ที่เป็นเพื่อนเกิด แก เจ็บ ตาย เสร็จแล้วชำระใจให้ผ่องใส ปล่อยความอยากและอุปาทานออกจากใจ

    อิริยาบถของการทำความเพียร

    จากนั้นหลวงปู่ขาวท่านสอนให้เอาของอ่อนๆ รองก้นให้สูงกว่าทางหัวเข่า (ที่นั่งสมาธิอยู่) เพื่อเวทนาขันธ์จะได้ไม่เกิดเร็ว และนั่งได้นาน (คือจะได้ไม่ปวดเจ็บเหน็บชาแข้งขาก้นกบเวลานั่งสมาธิ) แล้วยกมือขึ้นไหว้ครู พุทโธ ธัมโม สังโฆ สรณังคัจฉามิ

    หลวงปู่ขาวท่านว่า ครูสอนมนุษย์และเทพยดาที่จะพาไปพระนิพพานก็คือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ นี่แหละ นอกจากนั้นไปก็ไม่มี

    จากนั้นเอาขาขวาเต็ง (ทับ) ขาซ้าย มือขวาเต็ง (ทับ) มือซ้าย ร่างกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า บริกรรม พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ จบ

    ไม่ให้ก้ม ไม่ให้เงย ไม่ให้เอียงซ้าย ไม่ให้เอียงขวา ถ้าก้มเงย เอียงซ้าย เอียงขวาแล้ว ใจจะไปกังวลกับธาตุขันธ์ ใจจะไม่สงบ
    ท่านสอนให้ร่างกายให้อ่อน วางใจให้อ่อน

    บริกรรมพุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ จบแล้ว ย่นเอาแต่ พุทโธ เป็นอารมณ์เดียว ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกคือ ลมเข้าว่า พุท ลมออกว่า โธ อ่อน ๆ นิ่ง ๆ ลองกลั้นใจดู ใจมันไม่ขาด (ตาย) ดอก มันถอนขึ้นเอง เอาพอปานกลาง

    ลมเข้าว่าพุท ลมออกว่าโธเข้ายาวออกยาว เข้าสั้นออกสั้น ให้มีสติรู้อยู่ ทีนี้ให้ยืนและเดิน ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง มีสติกำกับคอยรักษาจิตอยู่กับพุทโธและกาย

    ทีนี้เวทนาขันธ์เกิดขึ้น มึนชาก็ดี ปวดร้อนแสบเย็นก็ดี ท่านสอนไม่ให้ลูบคลำ ไม่ให้เกา ไม่ให้พลิกตัวกระดุกกระดิก ไม่ให้ขยับเปลี่ยนอิริยาบถแก้ทุกข์ ถ้าทำอย่างนั้นปฏิบัติไปร้อยปีก็ไม่เห็นธรรมะ ท่านว่าเพราะเราติดสุข !

    ความสุขเป็นเครื่องปิดบังทุกข์ เรามาทำความเพียร มานั่งทับทุกข์ เดินทับทุกข์ ยืนทับทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นเผากาย มันก็เผาใจด้วย
    ทุกข์เปรียบเหมือนโซ่ ใจเปรียบเหมือนลิง กายเหมือนหลักตอ ผูกลิงไว้กับหลักตอมันก็ไม่ไปไหน เส้นที่๑ ได้แก่ สติ เส้นที่ ๒ ได้แก่ ทุกข์

    การอบรม (เจริญภาวนา) ทำให้จิตใจมีความเพียรและอดทน กล้าหาญชาญชัย ไม่หวั่นไหวในชีวิตสังขาร เพราะเห็นว่าเป็นของไม่ยั่งยืน ไม่นานก็จะแตกดับไปตามเหตุปัจจัย

    ท่านให้มีสติอยู่กับพุทโธ เป็นอารมณ์ของสติ เมื่อล่วงไปถึงชั่วโมงได้ เราก็ชนะทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดจากขันธ์

    (หมายความว่า เมื่อนั่งสมาธิเกิดปวดแข้งขาหลังเอวอย่างแสนสาหัส ท่านไม่ให้เปลี่ยนท่านั่งอย่างเด็ดขาด ให้กับฟันสู้ตายลูกเดียว ตายเป็นตาย ขอเอาชีวิตนี้บูชาพระรัตนตรัย )

    เมื่อเราชนะ “ทุกขเวทนาขันธ” ได้ ก็ได้ชื่อว่า ชนะตน

    เมื่อชนะตน ก็ชื่อว่าชนะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ !

    ก็ได้ชื่อว่า ทำใจเป็นปราชญ์ผู้มีความเพียร อดทนต่อต้านเวทนาขันธ์ได้

    ทีนี้ (พระอาจารย์จันทา) ก็ยกมือไหว้ครู พุทโธ ธัมโม สังโฆ สรณัง คัจฉามิ เร่งรัดความเพียรอยู่อย่างนั้น ๖ วัน ๖ คืน เมื่อจบเขตที่ตั้งสัจจะไว้ก็พักผ่อน นอนแบบสีหไสยาสน์ คือนอนกำหนดภาวนาเหมือนตอนนั่งนั่นแหละจิตอยู่กับพุทโธ มีสติระวังจิตอยู่เสมอ
    แล้วพิจารณากาย เป็นอนุโลม ปฏิโลม ทวีขึ้นทวนลง (ให้จิตสงบเป็นสมาธิเสียก่อนจึงพิจารณากาย) ให้เห็นว่าอยู่ในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    ถ้าจิตถอน (ออก) ก็มาพิจารณาอีก กลับไปทวนมา (พิจารณาซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่เกียจคร้าน เพื่อให้จิตเคยชินและจดจำคุ้นเคยเป็นการทวนกระแสกิเลสตัณหาจะเรียกว่าทรมานจิตก็ได้)

    สอบอารมณ์ธรรม

    ทีนี้ก็ไปกราบเรียนศึกษากับหลวงปู่ขาวว่า

    หลวงปู่ ผมทำความเพียรมา ๖ วัน ๖ คืน ถึงคืนที่ ๖ หมดเขตที่ตั้งสัจจะไว้แล้ว นอนภาวนาทับข้างขวา เห็น (นิมิตในสมาธิ) แขนขวาหนังขาดแตกออกเป็นร่องกระดูกโผล่ขึ้นมา

    ผมเอามีดปาดแล่หนังออกหมดตัว เหลือแต่ตาไม่ได้ปาด ก็ดึงเอาตาออก ดึงไม่ขาดก็เลยวางหนังทิ้ง หนังก็เลยไปปก (หุ้ม)กายอีก จากนั้นใจก็เข้าสู่ร่างเดิม

    ผมก็พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาไม่ใช่ของเรา พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า จิตมันถอน (ออกมาจากสมาธิ) ผมทำอย่างนี้ถูกหรือผิด ?

    หลวงปู่ขาวบอกว่า

    ความอยากนั้นมันห้าว (หาญ) เกินไป เอาความอยากออกหน้านั้นไม่ถูก ธรรมะทางกรรมฐานนี้เป็นของเกิดเองเป็นเอง มันจะเกิดขึ้นเป็นขึ้นก็เพราะเราทำความเพียรเกิดถูกทาง

    อย่าไปตั้งความอยากอยู่หน้าทำอย่างนั้นมันไม่เป็น ไปไหน ๆ มันได้เพียงแค่นั้นแหละ

    ต้องไม่เบื่อหน่าย ถ้ามันเกิดมันจะค่อยขาดไป แตกไปไป เน่าไปเอง ผลสุดท้ายเหลือแต่กระดูก แล้วก็เพ่งอยู่อย่างนั้น หรือกำหนดเอาไฟเผา ถ้าทำได้แล้วไม่เหลืออะไรสักชิ้น

    ให้กำหนดจิตเข้ามาสอน จิตนี้แหละเทียวเกิดเทียวตาย ภพน้อย ภพใหญ่ ก็ได้แต่สังขารร่างกายที่เป็นของแก่เจ็บตายอยู่อย่างนี้แหละทุกชาติทุกภพ

    เอาใจสอนใจ เมื่อใจรู้ ใจเห็น ใจแจ้ง ใจฉลาด ใจก็เลยไม่ห่วงอาลัยในชีวิตสังขาร

    ใจจะปล่อยวางอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นขันธ์ ๕ เมื่อวางได้แล้ว วิมุตติธรรม คือธรรมอันเยี่ยมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ได้แก่มรรคผลนั้น จะอุบัติขึ้นเป็นสมบัติของเรา

    นี้คือหลวงปู่ขาวท่านได้แนะนำพร่ำสอนอาตมา (พระอาจารย์จันทา)

    ๑๐ วัน ๑๐ คืนกับการฝึกตน

    ตั้งแต่นั้นอาตมาก็ได้ความรู้เบื้องต้น ก็เลยตั้งสัจจะอีกว่า ต่อไปจะเอา ๑๐ วัน ๑๐ คืน จะยืน เดินนั่ง ไม่ยอมนอน ! อาตมาตั้งสัตยาธิษฐานต่อหน้าหลวงปู่ขาว ท่านบอกอาตมาว่า

    เออ ! เอาเลย ข่มความเพียรกล้าหาญชาญชัย ไม่ว่าพระเณร เถนชี อุบาสกอุบาสิกา ไม่ห่วงอาลัยในชีวิตสังขารร่างกาย จะเป็นผู้รู้ธรรมเห็นธรรมได้เร็วเหมือนกับเดินทางลัด เท่าที่ผมเอง (หลวงปู่ขาว) ทำมาอย่างนี้ !

    อาตมา (พระอาจารย์จันทา) ตั้งสัจจะแล้วก็ปฏิบัติธรรม ๑๐ วัน ๑๐ คืน ยืนก็มีแต่ทุกข์ เดินก็มีแต่ทุกข์ นั่งก็มีแต่ทุกข์ นอนไม่เอา (ไม่นอน)

    ข้าวก็เว้นวันฉัน คือเว้น ๒ วันจึงฉัน ฉันข้าวแต่น้อย ทีนี้ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะกายไม่ได้อาหาร

    อาหารสำคัญนอกจากข้าวแล้วก็คือนอนนั่นแหละ ทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นอาหารสำคัญของกาย !

    ปฏิบัติกรรมฐานมาถึงคืนที่ ๗ จิตมันก็สงบ คือยืนภาวนาอยู่ ขณิกสมาธิเกิดขึ้นเฉียด ๆ พลันอุทกปีติได้เกิดขึ้น มีอาการขนพองสยองเกล้า และแสงสว่าง (โอภาส) ก็เกิดขึ้น ธรรมทั้ง ๓ อย่างนี้คอยจะเกิดอยู่เสมอ

    ทีนี้ก็พิจารณาในสภาพร่างกายนี้ว่า เหมือนกับตอไม้ที่เขาตัดยอดไปแล้วมันตายแล้ว ไม่นานตอไม้ก็จะถูกแดดเผาบ้าง ฝนกรำบ้าง ลมพัดบ้าง ก็จะผุพังลงเป็นดิน ร่างกายของเราก็ฉันนั้น ไม่นานก็จะแก่ แก่แล้วก็จะเจ็บ เจ็บแล้วก็จะตาย ตายแล้วก็ลงนอนทับแผ่นดิน ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสาร

    อาตมาพิจารณาแล้วพิจารณาเล่า จนปัสสาวะไหลออกมาไม่รู้สึกตัว

    อันนี้แหละคือทุกข์มันเผา ธรรมทั้ง ๓ ครอบงำไว้ ใจเพลิดเพลินในการพิจารณาธรรม ปัสสาวะไหลออกมาก็ไม่รู้ !
    ธรรมะคือร่างกาย ท่านสอนให้พิจารณาให้เห็นว่า ร่างกายนี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทั้งตนเองและบุคคลอื่นก็เหมือนกันหมด

    พิจารณาซ้ำซากอยู่เช่นนี้ ยกเว้นแต่เวลาหลับ (หลับในสมาธิยืน เดิน นั่ง คือไม่ยอมเอนหลังลงแตะพื้น) น้อมลงสู่สัจธรรมทั้ง ๔ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ทั้งสิ้นและบุคคลอื่น พิจารณาอยู่อย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่ลดละ ไม่เกียจคร้าน

    ล่วงเข้าคืนที่ ๘ ทีนี้ทุกข์แสนทุกข์ แต่ใจไม่ไปไหน ใจอยู่กับกาย พิจารณากายอยู่อย่างนั้น

    เห็นว่า กาเยกายานุปัสสี วิหรติ กายก็สักแต่ว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลเราเขา ! พิจารณาแล้วพิจารณาเล่าอยู่อย่างนี้ ถึงคืนที่ ๘ จิตก็รวมเข้าเป็นมรรคสมังคี มีอารมณ์เดียว สติปัญญาทับกายกับจิตแน่น

    ไม่นานจิตก็วางพุทโธ แล้วก็วางลม วางร่างกาย เวทนามีเท่าไรก็หายไปหมด จิตร่วมลงสู่ความสงบ

    สติกับจิตตามทันกันอยู่ ไม่ว่าช้าหรือเร็ว พอจิตลงไปถึงฐานแล้ว แสงสว่าง (โอภาส) ก็เกิดขึ้นเหมือนกับกดสวิตช์ไฟฟ้า กลางคืนเหมือนกลางวัน ร่างกายไม่รู้หายไปไหน ข้าวของที่มีอยู่หายไปหมด

    ความเจ็บปวดจะมากเท่าใดก็หายหมด เพราะร่างกายไม่มีแล้ว

    นี้คืออำนาจความสงบ จิตเป็นสมาธิมันครอบงำได้หมด

    พอจิตถอนออก ก็ยกจิตขึ้นสู่ธรรมทั้ง ๔ เกิดก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ พิจารณาอนุโลมปฏิโลมทั้งภายในภายนอก คือตัวเราเองและคนอื่นเหมือนกันหมด ไม่ช้าก็เกิดนิมิตเห็นตัวเองตายลงต่อหน้า

    ร่างของตัวเองนอนหงายอ้าปาก น้ำเน่าน้ำหนองไหล หนังก็แตกออก ทั้งร่างกายก็เปื่อยเน่า น่าเกลียดสกปรก ไม่นานก็เหลือแต่โครงกระดูก ก็ใช้สติเพ่งดูอยู่ พอเพ่งนานเข้าโครงกระดูกก็สาบสูญกลายเป็นดิน เหลืออยู่แต่โลกว่าง ๆ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา
    เมื่อเห็นนิมิตอย่างนั้น ก็น้อมจิตเข้ามาสอนจิตว่า นี้แหละเราเทียวเกิดเทียวตาย อยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ก็ล้วนแต่มาได้สังขารชาติภพเป็นของที่แก่ ที่เจ็บ ที่ตาย แล้วก็สูญลงดินหมด

    นี้แหละอย่าได้ประมาท อย่าได้หลงยึดเอาว่า สังขารนี้เป็นตัวตนเราเขา มิฉะนั้นจะเป็นเครื่องปิดบังทุกข์ ไม่ให้เห็นโทษเห็นภัยในความคิด เกิด แก่ เจ็บ ตาย จงเห็นว่าไม่มีสาระแก่นสาร ไม่ยั่งยืน ไม่มีความหมาย

    เมื่อสอนจิตอย่างนี้ จิตก็รู้เห็นตาม เกิดสังเวชสลดน้ำตาไหลเพราะเราหนอเป็นเหตุแห่งทุกข์ ที่เราเป็นเหตุก็เพราะตัณหาความอยากและยึดถือข้อหนึ่ง เพราะเราประมาทอีกข้อหนึ่ง

    ได้พบเห็นนักปราชญ์เจ้าทั้งหลาย ที่อุบัติมาในโลกก็ไม่ได้ยินดี มัวแต่สะสมอารมณ์ของโลก จะยากจนหรือมั่งมีก็ตามที เรื่องธรรมะของพระพุทธเจ้าควรให้เกิดบุญเกิดกุศล ! มรรคผล ธรรมวิเศษนั้นไม่ทำหรือทำก็แต่น้อย ทำบาปหรืออารมณ์ของโลกนั้นมากกว่า ดังนั้นจึงต้องท่องเที่ยวเกิด ๆ ดับ ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่อย่างนี้ !

    ต่อนั้นไปก็พิจารณาธรรมะนั้น ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เกิดนิมิตต่าง ๆ ก็จึงกำหนดไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า เวียนเกิดเวียนตาย ภพน้อยภพใหญ่ ภายในภายนอก สัตว์ในโลก ๓ หนีไปไม่พ้น จะพ้นได้ก็แต่นักปราชญ์เจ้าทั้งหลายผู้ไม่ประมาท ไม่ลืมตน มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านเห็นว่า เทียวเกิดเทียวตายเป็นทุกข์โทษภัยใหญ่ ท่านจึงทำความเพียรชำระสนิมคือ โลภ โกรธ หลง อวิชชา ตัณหา ออกจากใจจนได้ ไปพระนิพพาน โลก๓ ท่านไม่กลับมาอีก

    อาตมาพิจารณาสอนใจอย่างนั้น พิจารณาโดยอนุโลมปฏิโลมจนรุ่งแจ้ง

    ชาติภพอสรพิษ

    ครั้นเมื่อไปภิกขาจารทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็เข้ากราบเรียนศึกษากับหลวงปู่ขาวอีก กราบเรียนว่า

    หลวงปู่ ผมตั้งสัจจะทำความเพียรมาได้ ๘ คืน จิตครั้งแรกได้นิมิตเห็นตะขาบคู่หนึ่งวิ่งเข้ามาหาตัวหนึ่งร้อง “อด ๆ ” อีกตัวหนึ่งร้องว่า “ทุกขังอริยสัจจัง” ผมก็กลัวจิตถอน

    เข้าที่อีก จิตรวมอีก คราวนี้มีงูเภาคู่หนึ่ง (งูพิษชนิดหนึ่ง) วิ่งเข้ามาหา ตัวหนึ่งร้องว่า “วิริเยทุกขัมจะ เจติ” ตัวที่ ๒ ร้องว่า “ธัมโมหเว รักขติ ธัมมะจาริง”

    ผมจะพิจารณาอย่างไรต่อไป ? นิมิตที่เกิดขึ้นนี้มันเป็นของภายนอกหรือภายในจะให้ผมทำอย่างไรกับนิมิต ?
    หลวงปู่ขาวก็บอกว่า

    อย่าไปย่าน (อย่าไปกลัวหรืออย่าไปยั่น) ! นิมิตที่เกิดขึ้น ตะขาบก็ดี งูก็ดี เป็นเรื่องภพชาติก่อนที่เราเคยเสวยมา (ชาติก่อนของพระอาจารย์จันทา)

    ให้กำหนดถามพระธรรมได้แก่ผู้รู้ คือผู้ไม่ตาย ได้แก่ดวงใจนี้แหละ ! เขาเป็นตัวเทียวเอาภพชาติอยู่ในสังสารวัฏนี้ไม่หมดสิ้น เขาไม่หลงไม่ลืม กำหนดถามเขา(ถามจิต) นั่นแหละเขาจะบอกเอง !

    ถามเขา (ถามจิตหรือดวงใจซึ่งก็คือพระธรรม) ว่านี่คืออะไร ? เขาจะบอกว่า นั่นแหละชาติภพที่เคยเสวยมาแล้ว

    ถามว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นอย่างนั้น ? เขา (จิต) จะบอกว่าเพราะกลืนกินยาพิษ

    อะไรคือยาพิษ ?

    คือโลภะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา นี้แหละโลกคือหมู่สัตว์มียาพิษทั้ง ๕ ก้อนนี้อยู่ในใจแล้ว จะทำให้ลืมตน ทำความชั่วด้วย กายวาจา จิต ประพฤติตนเป็นคนพาลสันดานหยาบช้า คบพาลภายนอกทำความชั่วด้วย กาย วาจา จิต

    เมื่อสังขารร่างกายหมดสันตติการสืบต่อแล้วก็จะลงสู่สภาพเดิมคือตาย เจ้าตัวใจคือตัว ซึ่งได้กอบโกยเอาหีนทรัพย์ คือบาปเต็มที่แล้ว บาทกับกิเลสก็ผูกศอรั้งเข้าท้องตะขาบและงูนั้น

    เพราะยาพิษเป็นของร้อนจึงต้องไปเกิดชาติภพอสรพิษที่เป็นของร้อน

    นี้แหละจงกำหนดถาม (จิตซึ่งก็คือพระธรรมและพระพุทธะนั่นเอง )

    ครั้นอาตมาปฏิบัติตาม (ที่หลวงปู่ขาวบอก) ก็ได้ความเป็นเช่นนั้นจริง ๆ (ในธรรมสมาธิหรือญาณรู้) อาตมาก็เกิดความสังเวชสลดใจ

    พิจารณาต่อไปก็ได้ปัญญารอบรู้ในชาติภพที่เป็นมา (ระลึกชาติได้)

    โอ้ อนิจจา ! พระพุทธเจ้าสอนว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงทั้งเราและเขาเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติกันมาไม่จบสิ้น

    เมื่อระลึกรู้ได้อย่างนี้ ใจก็เลยมีสติ มีศรัทธา มีความเพียรมีความกล้าหาญชาญชัย ไม่หวั่นไหวในชีวิตสังขาร (ของตัวเองอีกต่อไป ตั้งใจแต่จะทำความเพียรเอาชนะกิเลสและขันธ์ ๕ ให้จงได้

    พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า สอนจิตให้รู้แจ้งความจริง จิตก็สังเวช สลด น้ำตาไหล

    พอดีจิตถอน (จากสมาธิ) ก็กำหนดใหม่พิจารณาสังขารร่างกาย ก็เห็นแต่เกิดมาแล้วแก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตายเท่านั้นพิจารณาแล้วพิจารณาเล่าได้ความชัดแจ้ง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2011
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" id=table1 border=3 borderColor=#800000 width="95%" bgColor=#e8e2d7><TBODY><TR><TD>พระพุทธองค์ทรงเทศน์โปรด

    เมื่อล่วงถึงคืนวันที่ ๑๐ ก็ตั้งสัจจะต่ออีก ๑ คืน ๑ วัน ทำความเพียรยืน เดินและนั่งไม่ลดละ ไม่หวั่นไหว เพราะใจชนะใจ !

    ใจมีความเพียร ความอดทนความกล้าหาญชาญชัยน่าอัศจรรย์ ใจเห็นธรรมแล้ว ! ไม่อยากอยู่ในโลกนี้อีกต่อไป ! เพราะกลัวการเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ ลำบาก (เหลือเกิน)

    ได้นิมิตเห็นพระนิพพาน เห็นพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงเทศน์ว่า

    ให้พิจารณาชาติ ความเกิดเป็นทุกข์

    ชรา ความแก่เป็นทุกข์

    พยาธิ ความป่วยไข้เป็นทุกข์

    มรณะ ความตายเป็นทุกข์

    ทั้งภายในคือตัวเรา และภายนอกคือคนอื่น

    ให้พิจารณาโดยอนุโลมปฏิโลม ในสกนธ์กายนี้ รูปกายเป็นมูลฐานโรงงานใหม่สำหรับผู้มีสติปัญญาจะมาค้นคว้าขุดค้นหาของดีมีมนุษยสมบัติ (การเกิดเป็นมนุษย์) สวรรคสมบัติ (การเกิดในสวรรค์)พรหมโลกสมบัติ (การเกิดในพรหมโลก)

    เครื่องกลั่นกรองมูลฐานได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ๘ ปฏิบัติกรรมฐาน โพชฌงค์ ซึ่งจะกลั่นกรองเอาขี้แร่ออกจากโรงงานแล้วก็จะเหลือแต่ของดี คือ แก้วพุทโธ แก้วธัมโม แก้วสังโฆ

    ส่วนขี้แร่คือ โลภะ โทสะโมหะ คัดออกหมดแล้วเหลือแต่ของดี ได้ชื่อว่าตน เมื่อได้ตนแล้วชื่อว่าหมดสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ เป็นผู้พ้นทุกข์จากการเกิดแก่เจ็บตาย

    นี้แหละพระพุทธเจ้าเทศน์โปรด

    อย่าลดละทิ้งทิวาและราตรี

    จงเป็นผู้มีความเพียรหาทางพ้นทุกข์ทั้งกลางวันกลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ลดละ

    เมื่อมีความเพียรไม่วันใดก็วันหนึ่ง จะรู้ธรรมเห็นธรรมของจริง

    จงกำหนดปล่อยวางร่างกาย อย่าได้ยึดถือ เมื่อสิ้นลมแล้วก็ลงนอนทับแผ่นดิน ไม่เผาก็ฝังเท่านั้น ไม่มีสาระแก่นสารอันใด

    ผู้มีความเพียรมีปัญญาจึงจะได้ประโยชน์จากสังขารร่างกายมูลฐานโรงงานใหญ่นี้ ถ้าไม่มีความเพียรไม่มีปัญญา ไม่ขุดค้นซอกซอนหาของจริงก็ย่อมจะไม่ได้อะไร

    จงพิจารณา เมื่อจิตรวมเป็นสมาธิแล้วให้รีบเร่งค้นคว้าหาของจริง น้อมพิจารณาสัจธรรม ๔ เมื่อเห็นว่าเกิดทุกข์ แก่ทุกข์ เจ็บทุกข์ ตายทุกข์ ก็จะปรากฏของจริงให้เห็น (นิมิตในสมาธิพิจารณา) เห็นร่างกายจะเปื่อยเน่าสาบสูญลงเป็นดิน

    แล้วจากนั้นให้ชำระใจที่เศร้าหมองไม่ผ่องใส ใจที่จะอยากยึดหลง จงชำระออกไปให้หมดด้วยพลังสติ และด้วยพลังความเพียรปัญญา ชำระล้างออกไปให้หมดด้วยศีล เมื่อชำระหมดแล้ว วิมุตติธรรมไม่น้อยก็มากจะบังเกิดขึ้น

    ถ้าวิมุตติธรรมไม่บังเกิด ก็เป็นเพราะอินทรีย์ยังอ่อนอยู่ แต่ก็เป็นบุญเป็นกุศลอยู่เสมอ อันว่าความเพียรที่ทำไว้จะเป็นนิสัยปัจจัยไปในภายหน้า เดือนนี้เดือนหน้าปีนี้ปีหน้า ชาตินี้ชาติหน้า ต่อเนื่องกันเหมือนลูกโซ่

    ความดีความชั่วอยู่กับเราผู้กระทำ ทำดีและทำจริงก็ได้ความดีและความจริง ทำไม่ดีและทำไม่จริง ความไม่ดีและความไม่จริงก็อยู่นั่นแหละ ก็น้อมจิตลงสู่สัจธรรมทั้ง ๔ พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า

    พิจารณาไม่นาน พระธรรมก็ส่งภาพ (นิมิต) ให้เห็นว่า นอนตายหันหลังอยู่ มีเสียงพูดขึ้นว่า

    สัพเพ อิเม ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว

    เมื่อได้ยินดังนั้นก็น้ำตาไหล สังเวช เพราะเราเองเป็นเหตุในการท่องเที่ยวเกิด ๆ ดับ ๆ ได้มาแล้วเสียไป ไม่มีอะไรคงที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก ภายในคือธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ภายนอกคือ สามี ภรรยา บุตรธิดา บิดามารดา ญาติพี่น้อง และสมบัติทั้งปวง

    พิจารณาแล้วก็เห็นสิ่งทั้งปวงนี้ เปื่อยเน่าสาบสูญลงเป็นดินหมดไม่มีเหลือ
    เปรตตัวใหญ่ หัวใหญ่

    ตอนนี้พระธรรมพูดขึ้นอีกว่า

    จงพิจารณาให้ได้ธรรมะสอนตนว่า มรณะ อสุภะ สุญตะ กรรมฐาน ๓ ข้อนี้ให้น้อมไปพิจารณาทุกลมหายใจเข้าออก ให้จิตใจหน่ายคลายความกำหนัดจากการยึดมั่นว่า ขันธ์ ๕ เป็นตน และตนเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในตน และตนมีในขันธ์ ๕

    วิมุตติธรรมจะเกิดเป็นสมบัติแก่ผู้พิจารณา !

    เมื่อเห็น (นิมิต) อย่างนั้น ก็สอนใจตนว่า นี้แหละเทียวเกิดเทียวตาย ภพน้อยภพใหญ่ ใจสอน ใจให้รู้ ทั้งรู้ทั้งเห็น ทั้งแจ้ง สิ้นสงสัย ไม่ห่วงอาลัยในชีวิตสังขาร

    มีแต่ตั้งใจทำความเพียรพยายาม เอาชนะกิเลสและขันธ์ ๕ ชำระใจผ่องใส เมื่อจิตรวมลงสู่ความสว่างสงบอีกครั้ง ทีนี้เห็น (นิมิต) เปรตตัวใหญ่หัวใหญ่ ! จึงถามพระธรรมว่า นี่อะไรน่ากลัว ?

    พระธรรมก็บอกว่า นี้แหละชาติภพที่ท่าน (พระอาจารย์จันทา) เคยเสวยมาแล้ว เพราะประพฤติเป็นพาลสันดานหยาบช้า คบพาลภายนอก ทำความชั่วด้วยกาย วาจา จิต ครั้นเมื่อแตกกายทำลายเบญจขันธ์ กรรมชั่วก็พาไปเกิดเป็นเปรตตัวใหญ่หัวใหญ่อย่างที่เห็นนี้แหละ !

    เหตุเพราะในอดีตชาติมีมานะถือตัวหัวดื้อ ไม่ยอมฟังคำสอนของนักปราชญ์ ไม่ละทิ้งอัตตาตัวตน มีแต่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ และไม่ยอมละทิ้งความชั่วทั้งปวง เห็นการกระทำความชั่วเป็นของสนุกของดีมั่งมีศรีสุข

    ด้วยเหตุนี้แล ท่านต้องเสวยบาปชั่ว ตายแล้วเกิดเป็นเปรตอยู่อย่างนั้นถึง ๕๐๐ ชาติ พ้นจากนั้นก็ไปเกิดเป็นมนุษย์ต่ำช้าลามกเป็นที่อับอายขายหน้ากลางโลก

    เศษบาปกรรมแต่ชาติปางก่อน ติดตามมาให้เกิดเป็นมนุษย์ รูปร่างน่าเกลียด ร่างผิดปกติต่าง ๆ น่าอับอายขายหน้า มีแต่คนรังเกียจ แม้แต่ตัวเองก็รังเกียจตัวเอง แต่ก็หนีตัวเองไม่พ้นจำต้องกล้ำกลืนฝืนทนก้มหน้ารับกรรมไปด้วยความตรอมตรมระทมใจแสนสาหัส

    สิ่งทั้งปวงนี้เพราะเราเองเป็นเหตุ เป็นผู้สั่งสมดีชั่วใส่ตัวเอง จึงต้องได้เสวยวิบากกรรมอย่างนั้น เมื่อสอนตนดั่งนี้แล้วก็รู้สึกสังเวชจนน้ำตาไหล จึงชำระใจให้ผ่องใสแล้วยึดพุทโธเจริญสติต่อไป ไม่นานจิตรวมสงบเป็นสมาธิอีก แสงโอภาสเกิดขึ้น

    คู่เวร คู่กรรม

    ในแสงสว่างนั้น นิมิตเห็นตัวเองเป็นหมีใหญ่ มีเมียและมีลูก๒ ตัว พากันทำรังอาศัยอยู่บนต้นไม้ใหญ่ วันหนึ่งเสือโครุ่งใหญ่มากินลูกกับเมีย หมีพ่อกลับมาพบจึงเกิดการต่อสู้กับเสือขึ้น ต่อสู้กันจนตายทั้งคู่ เสือกับหมีเลยกลายเป็นคู่เวรกัน

    ชาติต่อมาตนเองมาเกิดเป็นหมูป่าตัวใหญ่ มีเขี้ยวแหลมผงาด เสือตัวนั้นตามมาเกิดเป็นเสือใหญ่อีก พอเห็นกันด้วยอำนาจวิบากกรรมที่เคยเป็นคู่เวรกัน จึงวิ่งเข้าสู้กันจนล้มตายลงทั้งคู่

    มาคำนึงว่า (จิตวิญญาณคำนึง) ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากคู่เวรคู่กรรมไปได้ พลันก็เห็นลิงนอนอยู่บนปลายไม้สูง เสือไม่มีทางจะขึ้นต้นไม้ไปกินลิงได้ จึงอธิษฐานไปเกิดเป็นลิง ก็ได้เกิดเป็นลิงจริง ๆ

    เสวยชาติเป็นลิง มีเมียมีลูกเป็นลิง อยู่มาวันหนึ่งเห็นพระอรหันต์ท่านมาเที่ยวแสวงวิเวกตามราวป่า มีพวกมนุษย์ พวกครุฑ พวกนาค พากันร่วมทำบุญถวายภัตตาหารพระอรหันต์

    ตนเองเป็นลิง จึงปรึกษาลูกเมีย หาดอกไม้และผลไม้มาบูชาใส่บาตรด้วยจิตเลื่อมใส อธิษฐานขอให้อานิสงส์ได้ทำบุญครั้งนี้ จงได้พ้นกำเนิดจากความเป็นสัตว์เดรัจฉานเถิด

    ต่อมาเมื่อดับจากชาติลิงแล้วได้มาเกิดเป็นมนุษย์ในศาสนาของพระเจ้าสัทธาเวศภู ก็มีศรัทธาออกบวชเป็นพระ ตั้งใจศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์นั้น และทำการเผยแผ่ศาสนา สร้างบารมีเป็นปฐมเหตุครั้งที่ ๒

    ตอนนี้เอง ขณะที่จิตรวมเป็นนิมิตรูปพระภิกษุ ทันใดพระธรรมก็บอกว่า นี้แหละบุพเพชาติปางก่อนที่ท่านได้ทำมา เป็นพระภิกษุในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์นั้น

    ตอนที่ท่านเป็นพระนั้นมีจิตใจเป็นนักปราชญ์เหมือนพระเวสสันดร ได้ลาภสักการะมา ก็แจกจ่ายให้ทานแก่สมณะพราหมณ์ผู้มีศีล ท่านได้เผยแผ่พระศาสนาจนสิ้นลมดับขันธ์ในผ้าเหลือง

    ด้วยอานิสงส์ของการทำตนเป็นคนดีในพระศาสนา จึงส่งผลให้ท่านได้มาบวชเป็นพระอีกในชาตินี้ ทั้งนี้แล้วแต่เหตุปัจจัย คือการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้องทุกอย่าง ทำความเพียรไม่ขาดวรรคไม่ขาดตอน ทั้งวันทั้งคืนยืนเดินนั่งนอนเผากิเลสอยู่เสมอ

    ถ้าบุญแต่เก่าก่อนมาสมทบได้สมดุล ก็ตัดวัฏทุกข์ ไปนิพพานได้ ถ้าขาดเหตุ แต่ปัจจัยเต็มแล้ว บวชมาแล้วไม่ได้ปฏิบัติธรรมก็ไปนิพพานไม่ได้ ต้องพร้อมทุกอย่างจึงไปได้ เหตุอ่อนปัจจัยมากก็ไม่ได้ เหตุมากปัจจัยอ่อนก็ไม่ได้ มันต้องพร้อมกัน

    ที่ไปยังไม่ได้ ก็ไม่ต้องน้อยเนื้อต่ำใจ การทำความดีในศาสนาของพระพุทธเจ้าไม่มีเสียเปล่า ย่อมเป็นบ่อเกิดของอริยทรัพย์คือบุญกุศล

    บุญกุศลเป็นเหตุ มรรคผลธรรมวิเศษเป็นผล เกิดจากบุญกุศลในศาสนานี้ทั้งนั้น จะพ้นหรือไม่พ้นจงทำไป

    สืบเนื่องแต่ภพก่อน

    ถามพระธรรมว่า ชาตินี้จะสึก หรืออยู่ในพรหมจรรย์ตลอดไป ? พระธรรมตอบว่า ภพก่อนเป็นอย่างไร ภพนี้ก็อย่างนั้น ความปรารถนาและความประพฤติปฏิบัติธรรมถูกต้องมาทุกภพชาติ จึงได้มาพบปราชญ์ชาติผู้ดี มีศีลธรรม แนะนำพร่ำสอนความประพฤติปฏิบัติ แสวงหาทางออกจากโลกไม่ลดละ

    ทราบแล้วก็ได้ความปีติอิ่มเอิบใจ จึงชำระใจให้ผ่องใสเจริญสติต่อไปอีก ยึดพุทโธเป็นอารมณ์ จิตรวมพรึบลงอีก เกิดแสงสว่างเห็นนิมิตเป็นจระเข้ใหญ่นอนอยูในถ้ำ จึงถามพระธรรมว่า นี้คืออะไร ?

    พระธรรมบอกว่า นี้คือชาติภพของท่านที่เคยเสวยมาแต่ก่อนเพราะสมัยเป็นมนุษย์กินแต่ของดิบ ๆ ลาบควาย ลาบวัว แกล้มสุราเมรัยอยู่เสมอ ในจิตใจก็ไม่มีศีลธรรมของมนุษย์

    พุทโธ ธัมโม สังโฆ ศีล ๕ ไม่ประพฤติปฏิบัติทำตนเหมือนสัตว์เดรัจฉาน ทำความชั่วในที่ลับที่แจ้ง เมื่อขาดใจตายแล้วกรรมชั่วพร้อมทั้งกิเลสจึงนำไปเกิดภพชาติไม่ดี เสวยวิบากกรรมอยูอย่างนั้น

    ถามพระธรรมว่า มีอายุเท่าใด ? พระธรรมตอบว่า เป็นหมื่น ๆ ชาติ
    จึงถามอีกว่า เพราะเหตุใดจึงนานนัก ? ตอบอีกว่า เพราะโลกสัตว์มีกิเลสกรรมเป็นเครื่องครอบงำจิตใจ มีความห่วงอาลัยหลงยึดติดอยู่ในภพนั้น ๆ จึงต้องเสวยวิบากกรรมอยู่หลาย ๆ ชาติ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาได้

    จึงเพ่งพิจารณานิมิตจระเข้ใหญ่ เห็นจระเข้แสดงอาการเจ็บไข้สังขารอันเป็นของไม่เที่ยง จระเข้เจ็บป่วยร้องครวญครางเจ็บปวดด้วยโรคาพยาธิเบียดเบียนน้ำตาไหล

    ในที่สุดจระเข้ก็รากเลือดออกมาจนขาดใจตาย ร่างกายเปื่อยเน่าซึมซาบสาบสูญลงเป็นดิน เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนอะไรอีกต่อไป

    บังเกิดความสลดจิตได้ปัญญาว่า มิใช่แต่สังขารเท่านั้นที่ไม่เที่ยง แม้การเกิดแก่เจ็บตายเปลี่ยนชาติเปลี่ยนภพก็ไม่มีวันจบสิ้น ถ้าตราบใดยังมีกิเลสครองใจอยู่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า กำเนิด ๔ คติ ๕ ก็อยู่ในโลก ๓ นี้เองไม่ใช่ที่อื่น

    จะเป็นผู้กำเนิดดี คติดี ต้องมีเหตุผลดี เหตุคือการประพฤติปฏิบัติต้องดี ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ลดละไม่ประมาท จึงจะได้กำเนิดดีคติดีต่อไป เมื่อเห็นอย่างนี้ก็สอนใจให้รู้ให้เห็น ให้เบื่อหน่าย

    จึงชำระใจให้ผ่องใส เจริญพลังสติยึดพุทโธเป็นอารมณ์ต่อไป ไม่นานจิตรวมลงเป็นสมาธิอย่างแน่นแฟ้น เสวยสุขสบาย

    พระธรรมเกิดที่หัวใจอีกเตือนว่า อย่าติดสุข มันไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่เห็นธรรม จงพิจารณาว่า นี้เป็นภพชาติละเอียด สังขารปรุงแต่งละเอียด เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร

    แต่ก่อนเราอยู่ในภพอันหยาบ สังขารอันหยาบ ตายจากภพนั้นชาตินั้น มาสู่ภพชาติสังขารละเอียด ไม่นานภพนี้ชาตินี้ก็จะดับเหมือนอย่างที่ผ่านมาแล้ว ตราบใดยังไม่สิ้นกิเลสก็จะต้องเกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ตราบนั้น ทั้งภายในภายนอกโดยไม่ต้องสงสัย

    พระพุทธเจ้าก็ได้เห็นอย่างนี้จึงตรัสรู้ เบื่อหน่ายในชาติภพสังขาร พระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายก็เห็นอย่างนี้เหละ ท่านจึงได้ปล่อยวางอุปาทาน ถอนตัณหาเหตุแห่งทุกข์ ท่านก็หมดโทษทุกข์ภัย ไม่เกิดแก่เจ็บตายอีก อันนี้เป็นของสำคัญ

    ต่อแต่นั้นก็พิจารณาสังขารซ้ำ ๆ ซาก ๆ เห็นว่าเป็นของเกิด แก่.เจ็บ ตาย เลือกไม่ได้ตามใจหมาย พระธรรมบอกว่า จงยึดอินทรีย์ ๕ สติ ๔ รักษาไว้ให้ดี อันนี้เป็นกำลังใจข้อหนึ่ง ข้อสองท่านไม่พึงให้อาหารคนอื่นยิ่งกว่าตน เรื่องคนอื่นนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่แต่ไม่สำคัญมาก
    เพราะเหตุใด ?

    เพราะเหตุว่าคนอื่นนั้น แม้จะเลี้ยงดูดีอย่างไร เขาก็แตกดับอยู่อย่างนั้น อื่นอยู่อย่างนั้น อื่นเพราะมันแก่ อื่นเพราะมันเจ็บ อื่นเพราะมันตาย อันนี้แหละท่านจงให้อาหารพอควร

    ส่วนอาหารของตนคือ บุญกุศล มรรคผล ธรรมวิเศษ จงรีบกอบโกยเอาอริยทรัพย์มอบให้เป็นอาหารอร่อย อาหารอันเยือกเย็นสบาย อาหารที่ไม่มีภัย ไม่มีเวร จงเร่งบำเพ็ญขวนขวายทั้งกลางวันกลางคืน

    ตนคือใจ ใจคือตน ผู้มีสติปัญญาฉลาดในการขุดค้นในมูลฐานคือสังขารร่างกายนี้ จะได้อาหารพิเศษคืออริยทรัพย์ และมรรคผลธรรมวิเศษจากโรงงานอันใหญ่นี้ พิจารณาแล้วพิจารณาเล่าใจก็เบิกบานแจ่มใส
    ที่เบิกบานแจ่มใสเพราะเกิดกำลัง ๕ คือ ศรัทธากำลัง วิรยะกำลัง สติกำลัง สมาธิกำลัง ปัญญากำลัง ไม่หวั่นไหวในชีวิตสังขารตั้งใจทำความเพียรเผากิเลสทั้งวันคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ประมาท

    ๓ วัน ในถ้ำผาบิ้ง

    ตั้งสัจจะขึ้นไปถ้ำผาบิ้ง (อยู่ในเขตวัคถ้ำกลองเพล)

    ขึ้นไปอยู่ถ้ำนี้เร่งความเพียรไม่กินข้าว ๓ วัน ไม่ยอมนอน เอาแต่ยืน เดิน นั่ง

    คืนที่ ๓ เดินจงกรมตั้งแต่๑ ทุ่มถึง ๓ ทุ่ม จิตรวมสงบขณะเดินอยู่ นิมิตเกิดขึ้น เหมือนกับเดินไม่ได้เหยียบดิน ตัวเบาโหวงดุจปุยนุ่นลอยลม ละเอียดสุขุมจริง ๆ รู้สึกเย็น เบาใจ เบากาย เย็นกาย เย็นใจ ละเอียดประณีต

    ได้เพ่งพิจารณาขณะเดินอยู่จึงรู้ว่าเหยียบดิน พลังสติสมบูรณ์ ไม่ได้หลงนิมิตแต่อย่างใด เมื่อถึง๔ ทุ่มก็เข้าที่พัก ไหว้พระย่อ ๆ ไม่นาน จิตก็ปล่อยวางพุทโธรวมลงสู่ความสงบพรึบ

    นิมิตในสมาธิเกิดขึ้นอีก เป็นนิมิตที่แปลกประหลาดกว่าทุกครั้ง จึงกำหนดจิตถามพระธรรมว่า ธรรมะนี้มาจากอะไร ?

    นิมิตนั้นแสดงภาพเป็นสายโซ่ขวางหน้า สายโซ่นั้นมีลูกน้อยลูกใหญ่ (ห่วงน้อยห่วงใหญ่) ความหมายคือลูกน้อยลูกใหญ่ของสายโซ่นั้น คือการทำดีในพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่าเดินจงกรม ยืนภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ ให้ทาน รักษาศีลภาวนาเหล่านี้ ล้วนเป็นบ่อเกิดของรายได้คือบุญกุศลมรรคผลธรรมวิเศษทั้งนั้น ไม่เสียความหวังถ้าได้ปฏิบัติไป ทางอื่นไม่มี มีเท่านี้

    ลูกโซ่น้อยใหญ่ยังหมายถึงข้อวัตรน้อยใหญ่ ทำน้อยทำมากไม่ผิดหวัง ตอนนี้ก็ลุกออกจากกายนี้ (หมายถึงจิตหรืออทิสสมานกายออกไปจากร่างของพระอาจารย์จันทา)

    รู้สึกใจมืด ไม่พอใจในการกระทำความดีบูชาพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ เพราะเห็นว่าทำน้อยไป จึงเอามีดมาปาดเนื้อหนังเอ็นกระดูก (เป็นภาพนิมิตในสมาธิ) ออกบูชาแก้วทั้ง ๓ ประการ เพื่อแลกอริยทรัพย์

    ไม่รู้สึกห่วงอาลัยในชีวิตสังขาร ไม่เจ็บไม่ปวด ปาดเอาเนื้อหนังมังสาไปบูชาพระรัตนตรัยจนหมดสิ้น

    พลันพระธรรมปรากฏขึ้นที่หัวใจบอกว่า สังโยชน์ ๑๐ ปัจจัย๑๐ จงละ จงถอน ด้วยการเพียรบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ๘ สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน โพชฌงค์ ๗ บำเพ็ญทานให้ครบ

    ให้เป็นเครื่องกลั่นกรองกิเลส นำออกจากทุกข์ได้โดยไม่ต้องสงสัยสักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส ปล่อยวางให้สิ้น จะได้พ้นจากการท่องเที่ยวในวัฏสงสารต่อไป

    ข้อสำคัญจงละจงวาง ด้วยการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญาและอย่าได้ประมาทจะได้พ้นทุกข์ไปตามองค์พระพุทธเจ้า

    ความยินดีในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์โทษภัยใหญ่ จงเอาชนะให้ได้เสียในชาตินี้ ต่อจากนั้นก็นั่งเจริญสมาธิธรรมเสวยสุขอยู่จนคืนยันรุ่ง รู้สึกเบาสบายร่างกายไม่มี เพราะ (นิมิต) ได้ปาดเอาเนื้อหนังมังสาไปบูชาพระรัตนตรัยจนหมดสิ้นแล้ว

    รุ่งสางสว่างแจ้งก็เดินลงมาจากถ้ำผาบิ้ง ขณะเดินมาตามทางจิตรวมพรึบสงบลงอีก เกิดวิปัสสนาปัญญาสอนจิตให้พิจารณาธาตุ ๔ ขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นภาระหนักทั้งภายในและภายนอก เป็นภาระอยู่ทุกลมหายใจ จงพิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่าย

    หมู่สัตว์ทั้งหลายพากันแบกธาตุขันธ์เป็นภาระอันหนัก ให้ปล่อยวางเสีย ด้วยการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรค ๘ ตัวเหตุสิ่งที่จะหลอกลวงใจให้เราหลง ทนทุกข์ไปตามธาตุขันธ์ เปรียบเหมือนน้ำกับใบบัว

    ใจเปรียบเหมือนน้ำ ธาตุขันธ์เปรียบเหมือนใบบัว ทั้งสองอย่างอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้ยึดติดกัน นี้แหละคือจิตของพระอริยเจ้า ท่านอยู่ด้วยธาตุขันธ์แต่ไม่ได้ยึดถือ แม้ธาตุขันธ์เป็นทุกข์ ก็ไม่ได้เป็นทุกข์ไปด้วย เพราะจิตปล่อยวางภาระอันหนักไปแล้ว

    ขณะเดินลงจากถ้ำผาบิ้ง ฟังพระธรรมสอนใจก็สลดสังเวชน้ำตาไหล เห็นจริงตามไปหมด เกิดความห้าวหาญองอาจไม่หวั่นไหว ทำกิจวัตรเสร็จแล้วจึงไปบิณฑบาตมาขบฉัน จากนั้นก็ไปกราบเรียนหลวงปู่ขาวว่า

    ผมภาวนาเมื่อคืนนี้ที่ถ้ำผาบิ้ง รู้สึกแปลกประหลาดกว่าทุกครั้ง ได้มอบกายถวายชีวิตต่อพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ ตลอดชีวิต ปาดเนื้อแล่หนังตัวเองถวายบูชาพระรัตนตรัยหมดสิ้น ไม่คิดกลับมาสู่โลกอีกแล้ว

    หลวงปู่ขาวฟังแล้วก็พูดว่า อ้อ ! พ้นทุกข์ได้สำเร็จอรหันต์แล้วหรือ ?

    อาตมาตอบว่า ยัง ! หลวงพ่อ ยังอยู่ ! ยังไม่พ้นดอก (ยังไม่พ้นทุกข์) แต่ครั้งนี้แปลกประหลาดกว่าทุกครั้งในการเจริญสมณธรรม ได้เพียรพยายามจนสุดวิสัย

    หลวงปู่ขาวพูดว่า อ้อ! ผมก็ดีใจ เห็นท่าน (พระอาจารย์จันทา) นั่งภาวนาอยู่มีแสงสว่าง (โอภาส) อยู่คืนยันรุ่ง ผมก็ดีใจว่า ท่านจะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ดีใจมาก ๆ

    โอ ! บุญมาก คนนี่หนอ ไม่เหมือนกัน !

    หลวงปู่ขาวพูดว่าอย่างนั้น อาตมาก็ไม่ดีใจและไม่เสียใจ มีแต่ความปีติอิ่มเอิบในธรรมที่ได้ปฏิบัติ

    หลวงปู่ขาวท่านสอนไว้ว่าก่อนจะทำความเพียรให้ละความอยากและละอุปาทานนี้เป็นข้อสำคัญ !

    เมื่อจิตรวมสงบเป็นสมาธิธรรม และเกิดนิมิตขึ้นนั้น หลวงปู่ขาวท่านสอนให้พิจารณา และให้กำหนดถามพระธรรมคือผู้ไม่ตาย ซึ่งนั่นแหละคือผู้รู้ที่ท่องเที่ยวเอาชาติเอาภพอยู่ไม่จบสิ้น !

    ธรรมะทั้งหมดที่อาตมาได้บรรยายมานี้ ไม่ได้รู้เห็นด้วยตนเองหรอกนะ ต้องอาศัยหลวงปู่ขาวท่านแนะนำพร่ำสอนทั้งนั้น รวมทั้ง หลวงปู่ทับ วัดป่าแพงศรี อำเภอกมลาไสย หลวงปู่บัว สิริปุณโณ และหลวงปู่ขาวนี้เป็นองค์ที่ ๓ ซึ่งท่านก็สอนอย่างเดียวกัน

    นั่นคือให้กำหนดถามพระธรรม แล้วพระธรรมก็จะบอกให้รู้ นี้แหละเป็นของสำคัญแท้ นี้แหละคือธรรมะที่ได้ประพฤติปฏิบัติมา

    นับตั้งแต่อาตมาได้ติดตามหลวงปู่ขาวมาอยู่วัดถ้ำกลองเพล ปี พ.ศ.๒๕๐๑ (สองพันห้าร้อยหนึ่ง) ได้อยู่กับท่านมาตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งหลวงปู่ขาวมรณภาพ ก็นับเป็นเวลานานหลายปีอยู่

    ธรรมภาคปฏิบัติที่อาตมาได้อธิบายมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ พอจะเป็นเค้าเงื่อนให้ท่านทั้งหลายนำไปโอปนยิโก น้อมนำไปปฏิบัติ ฝึกหัดจิตใจของตนให้ตรงต่อหลักของศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรค ๘ โพชฌงค์ ๗ และอุปการธรรมข้ออื่น ๆ (ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗) รับรองว่าท่านทั้งหลายจะไม่ผิดหวัง !

    บุญกุศลมรรคผลธรรมวิเศษจะตกเป็นมรดกปกคลุมคุ้มเราต่อไปโดยไม่ต้องสงสัย “

    เทศนาธรรมกัณฑ์พิเศษของท่านพระอาจารย์จันทาจบลงเพียงเท่านั้น ท่านผู้อ่านเมื่อได้อ่านดูโดยพิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว ก็จะได้ประจักษ์แจ้งว่า ท่านพระอาจารย์จันทาเป็นพระป่าปฏิบัติกรรมฐาน ที่ปฏิบัติเด็ดเดี่ยวเอาจริง !

    และผลของการปฏิบัติธรรมเป็นประการใด ท่านก็ได้รับการพยากรณ์จากท่านหลวงปู่ขาวแล้ว ดังประโยคคำพูดที่ท่านหลวงปู่ขาวได้อุทานว่า

    “อ้อ ! ผมก็ดีใจ เห็นท่านนั่งภาวนาอยู่ มีแสงสว่างอยู่คืนยันรุ่ง ผมก็ดีใจว่า ท่านจะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ! ดีใจมาก ๆ โอ ! บุญมาก คนนี่หนอ ไม่เหมือนกัน !”

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ให้ไว้เป็นแบบอย่าง

    ต่อไปนี้ เป็นเรื่องส่วนตัวและปฏิปทาการปฏิบัติธรรมของท่านพระอาจารย์จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย ที่ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟัง สำหรับเป็นคติตัวอย่างแก่ศรัทธาสาธุชนผู้เริ่มแรกใคร่ที่จะปฏิบัติธรรมบ้าง

    ปฏิบัติเพื่ออะไร ?

    เพื่อถอนตนขึ้นจากหล่มเลนแห่งกิเลสตัณหา อันมีโทษดุจขุมเพลิงเผาไหม้ ที่เราท่านส่วนใหญ่พากันลุยเล่นคลุกเคล้าเร่าร้อนเกลือกกลั้วอยู่ทุกวี่ทุกวัน โดยที่ไม่ได้เห็นโทษเพราะอวิชชาความไม่รู้จริงบังตา

    ส่วนการปฏิบัติธรรมนี้ เป็นทั้งหัตถ์ทิพย์ที่จะช่วยฉุดเราท่านให้ถอนตนหลุดพ้นขึ้นจากขุมเพลิงกิเลสตัณหา และเป็นธรรมโอสถอันวิเศษ ที่จะช่วยดับพิษร้อนถอนพิษร้ายให้เย็นฉ่ำชุ่มชื่น และชำระความโสโครกของกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ

    ผลที่สุดก็คือ เราท่านจะได้รับความสงบสุขอันประณีต ความสุขจากธรรมะ ซึ่งเป็นความสุขที่ล้ำเลิศกว่าสุขใด ๆ !

    “อาตมามีเมียมีลูกแล้ว จึงได้ลาครอบครัวออกบวช เพราะได้ลิ้มรสความรักแล้วเห็นว่า ความรักเป็นความทุกข์อันแสบเผ็ดร้ายกาจ เป็นพิษร้ายแก่ชีวิตจิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น

    ความสุขที่เกิดจากความรักความเสน่หา เป็นความสุขเหมือนได้กินส้มตำ แสบเผ็ดเอร็ดอร่อย แต่ผสมยาพิษเข้าไปด้วย ทำให้เกิดอาการอึดอัดท้องไส้ปั่นป่วน ทุกข์ทรมานในภายหลัง

    คนเราใคร ๆ ก็ปรารถนาความสมหวังในชีวิตรัก แต่เมื่อรักกันอยู่ด้วยกันแล้ว ความรักไม่เคยให้ความสมปรารถนาแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความปรารถนาเลย เพราะความรักนั้นเป็นธาตุที่ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีสุขน้อย แต่มีทุกข์มาก !”
    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่าด้วยสุ้มเสียงนุ่มนวล ท่ามกลางกระแสลมพัดพลิ้วยามใกล้เพล วันขึ้นปีใหม่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๑ ณ กุฏิกำมะลอ หอฉันปูฟากไม้ไผ่ มุงด้วยหญ้า ตั้งอยู่ในทุ่งใกล้หมู่บ้านเมืองเอก ดอนเมือง กรุงเทพฯ

    ที่นั่นเป็นที่พักสงฆ์ชั่วคราวของ “โลกทิพย์”

    เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ที่สงัดวิเวกร่มเย็นห่างจากคลองประปาไม่กี่วา รอบพื้นที่ทอดแผ่อยู่ด้วยผืนทุ่งอันไพศาล ภูมิภาคยามแดดแจ่มใส ทอดตาแลไกลไปเด่นโพลนผุดโผล่ของหมู่บ้านจัดสรรและอาคารระฟ้าไกลลิ่วที่โน่นที่นี่ทำให้คาดเดาว่าอีก ๑๐ ปีข้างหน้าย่านนี้เห็นจะกลายเป็นป่าคอนกรีตไปหมดแน่


    ชาติกำเนิด



    ท่านพระอาจารย์จันทาเป็นชาวร้อยเอ็ด เกิดที่บ้านแดง หมู่ที่ ๘ ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากวัดในเมืองไปประมาณ ๔ กม. ไม่ไกล วัดบูรพานี้สังเกตง่าย เพราะมีพระพุทธรูปยืนสูงที่สุดในประเทศไทย
    ท่านเกิด พ.ศ.๒๔๖๕ (สองพันที่ร้อยหกสิบห้า) วันเสาร์ เดือน ๓ เป็นปีกระต่ายอดหญ้า เหตุเพราะว่าเป็นหน้าร้อนแห้งแล้งมากหญ้าตายหมด กระต่ายเลยอดอยากไม่มีหญ้ากิน

    โยมพ่อชื่อ นานสังข์ ไชยนิตย์

    โยมมารดาชื่อ นางเหลี่ยม ชมภูวิเศษ

    มีบุตรธิดา ๖ คน เป็นหญิง ๑ ท่านพระอาจารย์จันทาเป็นบุตรคนที่ ๔
    อาชีพของครอบครัวทำนา เมื่อถึงหน้าแล้งก็ปลูกแตง ปลูกผักสวนครัว ปลูกยาสูบ และออกทอดแหหาปลาในแม่น้ำชี พวกเด็ก ๆ ส่วนมากเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเป็นงานหลัก

    สมัยนั้นเมื่อ ๖๐ กว่าปีมาแล้ว บ้านเมืองยังไม่เจริญ การเรียนหนังสือตามบ้านนอกชนบทหัวเมืองไกล อาศัยเรียนตามวัดกับพระสงฆ์องค์เจ้า โรงเรียนประถมศึกษามีน้อย และทางราชการก็ไม่ค่อยบังคับเข้มงวดให้เรียนหนังสือเท่าไรนัก

    จึงปรากฏต่อมาว่า คนเฒ่าคนแก่ส่วนมากอ่านหนังสือไม่ได้ เพราะตอนเป็นเด็กไม่ได้เข้าเรียนหนังสือนั่นเอง

    ตอนเป็นเด็กท่านพระอาจารย์จันทา ไม่ได้เรียนหนังสือเหมือนกัน มัวแต่ไปเที่ยวเล่นกับเพื่อน ๆ เลี้ยงวัวเลี้ยงควายอยู่ตามทุ่งนา จึงอ่าน ภ. ข. ก.กา ไม่กระดิกหูเอาเสียเลย โทษของการที่ไม่ได้เรียนหนังสือ

    ต่อมาพอเป็นผู้ใหญ่จะบวชพระก็แทบบ้าตาย เพราะต้องท่องคำขานนาค ต้องท่องเจ็ดตำนาน ท่องคำไหว้พระสวดมนต์และอาราธนาศีล คนอ่านหนังสือบ่ได้จะท่องได้ยังไง

    แล้วทำยังไงถึงได้บวช ?

    ยังไม่ตอบข้อนี้ เล่าถึงการเจริญวัยของท่านต่อไปเสียก่อน

    ชีวิตลูกทุ่งที่ราบสูงผ่านไปตามฤดูกาล ปีแล้วปีเล่า ร้อน ฝนและหนาว ได้ปั้นท่านให้เป็นชายหนุ่มร่างบึกบึนคนหนึ่ง ไม่หล่อ แต่ก็ไม่ขี้ริ้ว รูปร่างหน้าตาพอไปวัดไปวาได้ ทำงานเข้มแข็งขยัน

    ทำงานได้ทั้งวันขุดดินทำคันนา แบกพร้าเข้าป่าตัดฟืนเลื่อยไม้ไม่มีเหนื่อย จนเป็นที่เล่าลือไปทั่วหมู่บ้านในเรื่องความขยันขันแข็งของท่าน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฤทธิ์แม่ม่าย

    <TABLE id=table3 border=0 align=left><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>พระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อายุได้ ๒๓ ปี เป็นหนุ่มฉกรรจ์กำยำเต็มตัว ปีนั้น พ.ศ. ๒๔๘๘ กามเทพเล่นกลเอากับชีวิตเข้าให้ เกิดไปรักไปชอบแม่ม่ายผัวตาย มีลูกติด ๓ คน !

    เป็นแม่ม่ายอายุมากกวาก็จริง แต่ก็มีฐานะร่ำรวย ได้สมบัติจากพ่อแม่ไว้มากมายแต่ผู้เดียว !

    “เราเป็นผู้บ่าวหรือพ่อหนุ่มบ้านนอก ความรู้บ่มี อ่านหนังสือบ่ออก ไม่ได้เป็นคนฉลาดอะไร ก็คิดว่าได้แม่ม่ายเป็นเมียแล้ว สมบัติของนางต้องตกมาเป็นของเราวันยังค่ำ

    ไอ้เรามันคิดอยากจะได้ครองสมบัติเขา ก็เลยตัดสินใจแต่งงานกับแม่ม่ายลูกสาม”

    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่าถึงตอนนี้พลางหัวเราะน้อย ๆ ท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม วัดเทิง (เสาหิน) ที่นั่งรวมอยู่ด้วยได้เอ่ยขึ้นยิ้ม ๆ ว่า

    “ผู้บ่าวหนุ่มลูกทุ่ง คิดหวังรวยทางลัด”

    ท่านพระอาจารย์จันทาหัวเราะตอบว่า

    “แม่นแล้ว ! เป็นผู้บ่าวจ้อย ๆ ได้แม่ม่ายเป็นเมีย สงสัยชาติก่อนผมจะเคยเป็นญาติกับนางอมิตดา เมียของพราหมณ์เฒ่าชูชก ตามตำนานว่านางอมิตดาเคยเอาดอกไม้เหี่ยว ๆ ไปบูชาพระในชาติก่อน พอมาเกิดในชาติต่อมานางอมิตดาเลยได้ผัวแก่ คือเฒ่าชูชก ! ชาติก่อนโน้นผมอาจจะเคยบูชาพระด้วยดอกไม้เหี่ยว ๆ ก็ได้ ชาตินี้เลยมาได้แม่ม่ายอายุแก่กว่าเป็นเมีย"

    แต่งงานอยู่กินมีความสุขกับแม่ม่ายแล้ว หนุ่มจันทาวัย ๒๓ ไม่ได้ลดละความขยันขันแข็งในการทำมาหากิน ตอนนั้นเมียมีท้องตั้งครรภ์ได้ ๓ เดือน ท่านได้ไปทอดแหที่แม่น้ำชีกับชาวบ้านจำนวน ๒๐ คน ใช้แหขนาด ๑๐ ศอก จำนวน ๒๐ ปาก ลอยเรือหลายลำออกไปที่วังน้ำปลาชกชุม

    “พวกเราหว่านแหลงไป ๒๐ปากเป็นวงกว้าง ฝูงปลาใหญ่น้อยวิ่งชนแหดังตึ้กตั้กมากมาย ต่างก็ร้องไชโยโห่ฮิ้วดีไจกันใหญ่ว่า รวยปลาแน่แล้ววันนี้ แต่เมื่อลากเอาแหขึ้นมา น่าอัศจรรย์ ไม่ได้ปลาสักตัว ปลาหนีออกจากร่างแหไปได้หมด ไม่น่าเป็นไปได้เลย ทั้งๆ ที่แหก็ไม่ได้ขาดแต่อย่างใด”

    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่า ได้ทำการทอดแหอยู่ตลอดวันยังค่ำ ปลาติดแหทุกครั้ง ดิ้นพล่าน ส่งเสียงร้องเหมือนฝูงอึ่ง แปลกมาก ครั้นลากแหขึ้นทีไร ปลาหายหมด จนเพื่อนบางคนเข้าใจว่าผีน้ำพรายน้ำกลั่นแกล้งเอา ทำให้ไม่ได้ปลาสักตัว

    ค่ำมืดแล้วพากันกลับบ้านหน้าเหี่ยวผิดหวังไม่ได้ปลา เมื่อมาถึงบ้าน เมียแม่ม่ายเห็นไม่ได้ปลาสักตัว ก็ร้องด่าหนุ่มจันทาเสีย ๆ หาย ๆ เป็นการใหญ่ หาว่าทอดแหไม่เป็น ทำมาหากินไม่เจริญ เป็นผัวเฮงซวย โง่เซอะเป็นกระบือ เป็นหมู เป็นอะไรต่ออะไร เรียกว่า ด่าไม่เลี้ยง

    “โอ ! นี่คือทุกข์ครั้งแรก ทุกข์ทางใจอันแสบเผ็ด ที่ได้รับจากเมียรัก เราทั้งเหนื่อยทั้งหิวข้าว เพราะที่ทำงานหนักทอดแหมาทั้งวัน เมื่อมาโดนเมียด่าสาดเสียเทเสียเช่นนี้ มันชอกช้ำ หัวใจเหี่ยวเหมือนใบตองกล้วยถูกน้ำร้อนลวก”
    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่าถึงความหลังในอดีตยิ้ม ๆ

    แต่แล้วเราก็ต้องตกตะลึง เมื่อแม่เมียรักเอาข้องสำหรับใส่ปลาของเราไปวางลง แล้วนางก็ขึ้นยืนคร่อม ถลกผ้าซิ่นขึ้น แล้วปัสสาวะลงใส่ข้องใส่ปลา เสียงปัสสาวะของนางดังซ่า ๆ นางก็แผดเสียงร้องว่า มันต้องอย่างนี้ถึงจะได้มีโชคได้ปลาเต็มข้อง กูปัสสาวะใส่ให้มึงเอาโชคเอาชัยนะยะ ต่อไปนี้ปลาในแม่น้ำชีจะต้องกระโดดเข้าใส่ข้องเพราะหลงเสน่ห์ของกู !

    การกระทำของเมียแม่ม่ายอายุแก่กว่าครั้งนี้ ทำให้หนุ่มจันทาทั้งตื่นตระหนกตกใจ และเศร้าเสียใจอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรกในชีวิต แต่ก็ไม่กล้าปริปากโต้เถียงเพราะตนอายุน้อยกว่า และยังเกรงศักดิ์ศรีของเมียอีกด้วย

    ก็ได้แต่เฝ้ากล้ำกลืนฝืนใจข่มความเศร้าโศกไว้ในอก พูดไม่ออกเหมือนคนใบ้ ร้องไห้ก็ไม่ได้เพราะตนเป็นลูกผู้ชาย !

    วันรุ่งขึ้นก็ไปทอดแหที่แม่น้ำชีอีกกับเพื่อนบ้าน ปลาติดแหมากมายดิ้นพล่านส่งเสียงร้องเหมือนฝูงอึ่ง แต่พอลากแหขึ้นมาปลาก็หนีหายหมดเหมือนเมื่อวานนี้ เป็นอยู่อย่างนี้ทั้งวันจนค่ำ

    กลับถึงบ้านไม่ได้ปลาเลยสักตัว เมียก็ด่าอีกอย่างสาดเสียเทเสียและยังลากเอาของใส่ปลาไปปัสสาวะใส่อีก !

    หนุ่มจันทาแสนจะช้ำใจ แต่ก็พูดไม่ออก ร้องไห้ก็ไม่ได้

    ต่อมาวันที่ ๓ ไปทอดแหที่แม่น้ำชีอีก เหตุการณ์เหมือนวันก่อน คือไม่ได้ปลาอีก เหมือนมีอาถรรพณ์อะไรเช่นนั้น ! เมื่อกลับถึงบ้านก็โดนเมียด่าไม่เลี้ยงอีกเช่นเคย และปัสสาวะรดข้องปลาอีก !

    คราวนี้หนุ่มลูกทุ่งจันทาเหลืออดเหลือทน สุดที่จะอดกลั้นต่อไป ขันติก็กลายเป็นขันแตก ศักดิ์ศรีความเป็นชายชาตรีก็ระเบิดตูมหมดสิ้นความกลัวเมียอีกต่อไปแล้ว จึงกระโดดเข้าถีบข้องใส่ปลาปลิวกระเด็นไป พร้อมกับร้องด้วยโมโหโทโสว่า

    “ทำบัดสีบัดเถลิงแบบนี้ ผีสางเทวดาต้องสาปแช่งแน่ ๆ แกกับฉันอยู่กินกันต่อไปก็ไม่มีทางเจริญดอก เลิกรากันเสียเถอะ !"

    ฝ่ายเมียแม่ม่ายกำลังมีโทสะแรงกล้าก็สวนตอบมาทันที

    “ดีแล้ว ! เลิกกันก็เลิก ไม่เป็นไร ผัวก็เหมือนเสื้อผ้า กูหาเอาใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ เชิญแกไปจากบ้านกูเร็ว ๆ !”

    ก็เป็นอันว่า ชีวิตความรักและการแต่งงานก็พังพินาศลงเพียงเท่านี้ อยู่กินกันได้ปีเดียวเท่านั้น ตอนเลิกกันนี้เมียกำลังตั้งครรภ์ได้ ๓ เดือน เรียกว่าทิ้งลูกฝากไว้ในท้องเมียให้นางเลี้ยงดูเอาเอง

    "ตอนเลิกกับเมียเราอายุได้ ๒๔ พออายุ ๒๕ เราก็ออกบวชเลย ชีวิตนี้พอแล้วสำหรับความรัก ไม่ขอรักใครอีกแล้ว ไม่อยากมีเมียอีกแล้วในชาตินี้ เราบอกตัวเองตอนนั้นนะ”

    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่ายิ้ม ๆ ท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม ได้กล่าวแทรกขึ้นเสียงดัง ๆ ว่า

    “ถ้าเมียไม่ปัสสาวะใส่ตะกร้าข้องปลาท่านก็ไม่ได้บวช ควรถือว่าเมียมีส่วนช่วยส่งเสริมบารมีธรรมให้เจริญในชาตินี้ !”

    ท่านพระอาจารย์จันทายิ้มน้อย ๆ

    “เมื่อบวชแล้วก็สบาย มันเบาโหวงโล่งอกโล่งใจไปหมดเลย

    คนเรานี่นะ ขอให้กล้าตัดสินใจเลิกละเรื่องกามราคะให้มันเด็ดขาดลงไปจริง ๆ เถอะ เมื่อเลิกได้แล้ว มันหมดห่วงหมดความเร่าร้อนทุรนทรายไปหมดสิ้นเลย สบาย สบายจริง ๆ ถ้าไม่เชื่อจะทดลองดูก็ได้นะโยม”
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อุปสรรคสำคัญในวันบวช

    ตอนนี้มาเล่าถึงเวลาจะบวช

    ปีนั้นหนุ่มจันทาอายุได้ ๒๕ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อจะบรรพชาอุปสมบทก็เอาขันดอกไม้ใส่ธูปเทียนไปเที่ยวขอขมาลาโทษผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านตามธรรมเนียม

    จากนั้นโยมพ่อโยมแม่ก็พาหนุ่มจันทาไปที่วัดบ้านแดง มอบตัวให้กับหลวงพ่อนัน ตาปโส เจ้าอาวาสเพื่อฝึกขานนาค ถือศีล ๘ อยู่วัดหัดท่องหนังสือสวดมนต์เจ็ดตำนาน ตลอดจนพิธีสงฆ์ต่าง ๆ

    “ถ้าท่องไม่ได้หมด ก็บวชไม่ได้ !”

    หลวงพ่อนันบอกอย่างนี้ เพราะเป็นธรรมเนียมการบรรพชาอุปมบททางอีสานถือเคร่งครัดมาก

    กรรมละซีทีนี้ !

    จะทำยังไง อ่านหนังสือไม่ออกสักตัว เพราะไม่ได้เข้าเรียนหนังสือที่ไหนมาก่อน จะท่องบ่นคำสวดมนต์ไหว้พระ คำขานนาคได้อย่างไรกัน ?

    ร้อนถึงพระเณรในวัด ที่อ่านหนังสือได้ท่องสวดมนต์ได้คล่องแล้ว ต้องมาช่วยหนุ่มจันทาด้วยการสอนด้วยปากเปล่า ให้หนุ่มจันทาท่องปากเปล่า

    คนไม่เคยเรียนหนังสือ ไม่เคยท่องบ่นจดจำอะไรมาก่อนเลย ตั้งแต่เกิดมา จนอายุได้ ๒๕ เข้าเกณฑ์เบุญจเพส อยู่ ๆ ให้ท่องหนังสือ มันจะไหวหรือ ?
    “ตอนนั้นอาตมากลุ้มใจมาก ทุกข์มาก ท่องหนังสือแล้วมันจำไม่ได้เอาเสียเลย นี้คือวิบากกรรมหรือโทษที่ไม่ได้เรียนหนังสือแท้ๆ ”

    ท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม ได้กล่าวแทรกขึ้นว่า

    “หลวงปู่บัว สิรินปุณโณ บิดาของอาตมา ตอนที่หลวงปู่บัวจะบวซนั้นท่านอ่านหนังสือบ่ได้เหมือนกัน เพราะไม่เคยเรียนหนังสือ อาตมาเป็นพระแล้ว ตอนนั้นต้องสอนท่านให้หัดอ่านหนังสือ หัดท่องขานนาค สอนยังไงหลวงปู่บัวก็จำไม่ได้ อาตมาสอนจนอ่อนใจ จนเผลอหลับไปทุกครั้ง”

    “หลวงปู่บัวท่องอยู่นานไหมขอรับถึงได้บวช ?”

    ผู้เขียนเรียนถาม ท่านพระอาจารย์เพ็งตอบว่า

    “หลวงปู่บัวต้องไปเรียนไปฝึกอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่เขาสะแกราช จังหวัดนครราชสีมาอยู่ถึง ๓ ปี จึงสามารถอ่านหนังสือได้ ท่องขานนาคได้ ท่องสวดมนต์ได้จึงได้บรรพชาอุปสมบท”

    “กว่าจะได้บวชถึง ๓ ปี นับว่าหลวงปู่บัวมีความเพียรมาก”

    "หลวงปู่บัวเล่าให้อาตมาฟังในภายหลังว่า ชาติก่อนโน้นหลวงปู่บัวเคยเกิดเป็นหมู เอาแต่กินแต่นอน มันสมองมีน้อย โง่มาก ครั้นพอมาเกิดเป็นคนชาตินี้ก็เลยโง่อีก ไม่ได้เรียนหนังสือ กว่าจะเรียนเขียนอ่านออกได้แทบแย่”

    หนุ่มจันทาถึงแม้จะหัวสมองทึบ แต่ก็มีความตั้งใจแรงกล้า ศรัทธาที่จะบวชเรียนให้ได้ จึงพากเพียรฝึกหัดท่องจำคำขานนาค และสวดมนต์ไหว้พระอย่างหามรุ่งหามค่ำ อยู่เป็นเวลานานพอสมควร ในที่สุดก็สามารถท่องจำได้สำเร็จ
    จากนั้นได้เดินทางไปบรรพชาอุปสมบทที่วัดบ้านปลาฝา อยู่ใกล้ ๆ กับวัดบ้านแดง

    หลวงพ่อเภา เป็นพระอุปัชฌาย์ จำฉายาของท่านไม่ได้ พระอนุสาวนาจารย์และกรรมวาจาจารย์ก็จำชื่อไม่ได้

    “อาตมาบวชสมัยนั้น บวชบ้านนอก เป็นพระบ้านนอก อุปัชฌาย์ก็เป็นพระโบราณ ไม่ได้ถือเคร่งทางภาคปฏิบัติธรรม ท่านก็ไม่ค่อยจะสนใจอาตมา ฝ่ายอาตมาก็จำฉายาท่านไม่ได้ แม้แต่เวลาอาตมาไปขอเอาใบสุทธิ ท่านก็ไม่ยอมให้ เพราะกลัวอาตมาจะหนีไปอยู่วัดอื่น ต่อมาอาตมาก็ต้องแอบหนีไปจริง ๆ จึงได้ไปธุดงค์”
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ทับ ผู้เกรียงไกร

    ท่านพระอาจารย์จันทา จำพรรษาอยู่วัดบ้านแดง บ้านเกิด ๒ ปี ได้พยายามหัดเขียนเขียนอ่านหนังสืออย่างเต็มความสามารถ โดยมีพระเณรในวัดช่วยเป็นครูสอน แต่ก็เขียนอ่านไม่ได้เลย จำได้แต่คำสวดมนต์ไหว้พระเท่านั้น
    ปีต่อมา ได้ย้ายไปอยู่วัดบ้านขมิ้นใกล้ ๆ กัน ๑ พรรษา

    ที่วัดบ้านขมิ้นนี้มีผู้เล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ทับ วัดป่าแพงศรี อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีฤทธิ์เดชเก่งกล้ามาก อยู่สายปฏิบัติกรรมฐานสำเร็จลุน แต่ตอนหลังยอมลดทิฐิมานะลง ยอมรับนับถือเอาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตเป็นครูกรรมฐานสายโลกุตระ สมควรที่พระอาจารย์จันทาจะได้ไปฝากตัวอยู่กับหลวงปู่ทับ เพื่อศึกษาเล่าเรียนเป็นพระธรรมกรรมฐาน จึงจะเจริญ อย่ามัวมาเป็นพระบ้านนอกไร้การศึกษาอยู่อย่างนี้เลย จะขาดทุนสูญโญหมด บวชแล้วก็ตายเปล่า ๆ ไม่ได้ประโยชน์ตน และไม่ได้ประโยชน์ทางเผยแผ่สืบทอดพระศาสนาเลย

    พระอาจารย์จันทาได้ฟังแล้วก็เห็นจริงด้วยทุกประการ เห็นจะเป็นด้วยบุพวาสนาแต่หนหลังดลบันดาล ทำให้เกิดความร้อนใจ ใคร่จะได้เดินทางไปนมัสการหลวงปู่ทับเป็นที่สุด !

    วันต่อมา เมื่อเตรียมเครื่องบริขารพร้อมแล้ว ก็รีบออกเดินทางจากวัดบ้านขมิ้นไปยังอำเกอกมลาไสย ข้ามทุ่งนาป่าดอนไป ด้วยจิตใจอันปลื้มปีติยินดี ที่จะได้พบกับครูบาอาจารย์ ผู้เป็นนักปราชญ์บัณฑิตคงแก่เรียน และทรงคุณวิเศษมีฤทธิ์เดช

    เมื่อไปถึงวัดป่าแพงศรี ก็เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่ทับด้วยความเคารพเลื่อมใส ปลาบปลื้มใจจนแทบจะพูดอะไรไม่ออก ดูคล้ายกับว่าหลวงปู่ทับจะรู้ล่วงหน้าแล้ว ท่านให้การต้อนรับแสดงความเมตตากรุณารับไว้เป็นลูกศิษย์ โดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใดเลย

    ตอนที่ท่านพระอาจารย์จันทาไปอยู่ด้วยนั้น ท่านหลวงปู่ทับอายุได้ ๗๐ เศษแล้ว อายุอ่อนกว่าท่านหลวงปู่มั่น ท่านพระอาจารย์จันทาเล่าว่า

    “หลวงปู่ทับมีเมตตากรุณามาก ท่านสอนกรรมฐานให้อาตมาตามแนวของท่านหลวงปู่มั่นทุกอย่าง ท่านสอนอย่างละเอียดลออจริง ๆ สอนคนบ้านนอก พระบ้านนอกอย่างอาตมา ให้เกิดใหม่ เป็นคนใหม่ เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่อาตมาไม่เคยรู้มาก่อนเลย”
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ร่วมทางกับพระอาจารย์จันทร์

    ฝึกกรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ทับ ๑ ปี เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้กราบลาท่านไปแสวงวิเวก ผ่านทุ่งนาป่าดอน ขึ้นภูพานไปทางสกลนคร เดินเท้าเปล่าไปตามทางสัญจรของชาวบ้าน ยังไม่กล้าบุกเข้าป่าทึบดงเสือดงช้าง เพราะความรู้ทางจิตตภาวนายังอ่อนหัดไม่ประมาทในชีวิต

    แสวงวิเวกไปถึงบ้านม่วงไข่ผ้าขาว เขตอำเภอสว่างแดนดิน ได้พบปะทำความรู้จักกับพระอาจารย์จันทร์ ซึ่งจาริกธุดงค์มาจากจังหวัดยโสธร

    หลังจากได้สัมโมทนียกถาและแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นในการปฏิบัติธรรม.จนเป็นที่ชอบใจสบอัธยาศัยซึ่งกันและกันแล้ว ก็ตกลงใจร่วมกันเดินธุดงค์ขึ้นไปทางเพชรบูรณ์

    พระอาจารย์จันทร์ เป็นชาวบ้านขั้นใดใหญ่ จังหวัดยโสธร บวชเรียนมาได้ ๑๑ พรรษา ส่วนท่านอาจารย์จันทา เพิ่งได้ ๔ พรรษา เมื่อเดินธุดงค์ไปด้วยกันหลายวันเข้า ได้อยู่ใกล้ชิดสนิทสนม ก็ค่อยได้รู้จักนิสัยใจคอและภูมิจิตภูมิธรรมกันขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าเริ่มได้เห็น “หน้าตาดั้งเดิม” ได้บ้างแล้ว
    ท่านพระอาจารย์จันทาติดขัดการเจริญกรรมฐานข้อใด ก็ได้สอบถามเอาจากพระอาจารย์จันทร์ แต่ปรากฏว่าพระอาจารย์จันทร์อธิบายให้ฟังไม่ได้ แถมยังแสดงความไม่พอใจอีกด้วย ลักษณะของพระอาจารย์จันทร์ดูจะเป็นพระ “นักท่องเที่ยว” มากกว่าที่จะเป็นพระปฏิบัติกรรมฐาน

    เมื่อไปถึงเพชรบูรณ์ ได้จำพรรษาอยู่ด้วยกันที่วัดบ้านเฉลียง เป็นสถานที่สัปปายะวิเวกดีพอสมควร เหมาะสำหรับบำเพ็ญกรรมฐาน ท่านพระอาจารย์จันทาได้เร่งความเพียรในพรรษานั้น เดินจงกรมและนั่งสมาธิอย่างมีมานะ เอาจริง
    แทนที่จะส่งเสริม การณ์กลับเป็นไปว่า พระอาจารย์จันทร์ชอบเบียดเบียนทางกายและทางวาจา ไม่เห็นด้วยกับการเจริญกรรมฐาน พูดตรง ๆ ก็คือกลั่นแกล้งนั่นแหละ เกรงว่าท่านพระอาจารย์จันทาจะได้ดี มีความรู้เกินหน้าตน !
    แต่ท่านพระอาจารย์จันทาก็วางเฉย ใช้ขันติดวามอดกลั้น ไม่แสดงปฏิกิริยาขัดเคืองแต่ประการใด คงให้การเคารพนับถือพระอาจารย์จันทร์เสมอต้นเสมอปลาย และให้อภัยในการเบียดเบียน ที่ท่านจงใจเจตนากระทำต่อตน
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พิษไข้มาเลเรีย

    ที่วัดบ้านเฉลียงปีนั้น ตรงกับเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันเพ็ญ หลังจากฉันข้าวเข้าแล้ว เวลาประมาณ ๗ โมง อากาศหนาวเย็นไม่มากนัก พอสบาย ๆ ท่านพระอาจารย์จันทากำลังยืนห่มคลุมผ้าให้เรียบร้อย เป็นปริมณฑล เตรียมตัวจะไปฟังเทศนาธรรมซึ่งเป็นวันธรรมสวนะ

    ทันใดนั้น โรคไข้มาลาเรียทีซุ่มซ่อนอยู่ในสังขารร่างกายก็กำเริบขึ้นกะทันหัน พิษไข้มาลาเรียแล่นขึ้นสู่สมองอย่างแรงกล้า ทำให้ท่านพระอาจารย์จันทาปัสสาวะหลั่งไหลเรี่ยราดออกมา พร้อมกับล้มตึงลงทั้งยืนสิ้นสติสัมปชัญญะ !

    “ครูบาเป็นอะไร?”

    สามเณรน้อยรูปหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ ร้องขึ้นด้วยความตื่นตระหนกตกใจ

    ท่านพระอาจารย์จันทาได้เล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ให้ผู้เขียนฟังว่า

    “อาตมาไม่รู้เรื่องเลย พิษไข้มาลาเรียมันกำเริบวูบขึ้นมาแล้วทำให้หมดสติไปเฉย ๆ ก่อนจะหมดสติล้มลงนั้น ไม่มีอาการหนาว ไม่มีอาการสั่นแต่อย่างใดทั้งสิ้น มันเป็นมาลาเรียประเภทร้ายแรงขึ้นสมอง ทำให้สมองหยุดทำงานทันทีทันใด เหมือนเราดับเครื่องยนต์ของรถยนต์ทำนองนั้นแหละ พอสมองหยุดทำงาน อาตมาก็ล้มตึง เหมือนต้นไม้ถูกโค่นให้ล้มลง ไม่รู้สึกตัวเลยจริง ๆ ”

    อุบาสิกานวลจันทร์ ภราดรเสรี เป็นพยาบาลระดับปริญญา ที่นั่งบันทึกเทปอยู่นั้นได้นมัสการเรียนให้ท่านพระอาจารย์จันทาทราบว่า

    “ตามหลักวิชาการแพทย์ คนเป็นไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ถ้าหากไปอาบน้ำ จะเกิดอาการกำเริบขึ้นฉับพลันทันที ล้มลงหมดสติไปเลยเจ้าค่ะ”
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านสิ้นลมแล้ว

    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่าต่อไป

    “เมื่ออาตมาล้มลงไปแล้ว เณรได้วิ่งไปตะโกนบอกพระ บอกญาติโยมที่ศาลาว่า ครูบาจันทาล้มหมดสติ ไม่รู้เป็นอะไร ทั้งพระทั้งญาติโยมก็พากันวิ่งมามุงดู ตกอกตกใจไปตามกัน โยมคนหนึ่งวิ่งไปตามหมอมาดูอาการ

    หมอยาคนนี้เป็นตำรวจเก่าอยู่ในหมู่บ้านนั้นเอง รักษาโรคฉีดยาได้พอสมควร จะเป็นหมอเถื่อนหรือเปล่าไม่รู้

    พระเณรและญาติโยมเล่าให้อาตมาฟังทีหลังว่า หมอตำรวจเก่าตรวจดูอาการ เอาหูฟังเสียงหัวใจเต้นแล้วบอกว่า ครูบาจันทาถูกมาลาเรียขึ้นสมอง เล่นงานเอาเสียแล้ว หัวใจเต้นอ่อนแทบไม่ได้ยิน ยังอีกประมาณ ๕ นาที ก็จะหมดลมถึงแก่มรณภาพอย่างแน่นอน

    โยมอาวุโสคนหนึ่งบอกหมอว่า ไหน ๆ ก็จะหมดลมถึงแก่มรณภาพอยู่แล้ว จัดการฉีดยาเลย ลองเสี่ยงดู บางทีอาจจะไม่ตายก็ได้ พระเณรก็สนับสนุนให้ฉีดยา หมอก็ลงมือฉีดยาให้อาตมา

    พอฉีดยาปั๊บ อาตมาก็หมดลมเลย หมอเอาเครื่องฟังตรวจดูก็บอกว่าหัวใจหยุดเต้นแล้ว"
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เพื่อนนำทางหลังความตาย

    พอหมดลม หัวใจหยุดเต้นแล้ว แต่ดวงใจหรือจิตของอาตมายังอยู่ในร่างกาย จิตยังไม่ได้ออกไปจากร่าง จิตมันยังห่วงอาลัยจะกลับคืนร่างอีก

    ทีนี้ไม่นานมีเพื่อนคนหนึ่งมาจากไหนไม่รู้ มายืนอยู่ใต้กุฏิกุฏินี้ไม่สูงไม่ต่ำ เป็นกุฏิ ๒ ห้อง เพื่อนที่มายืนอยู่ข้างล่างนี้ รูปร่างเขาสวยงามมาก

    เพื่อนรูปร่างสวยงามคนนี้ได้ร้องบอกอาตมาว่า เพื่อน ๆ ออกจากเรือนไฟไหม้ มันจะไหม้ทับหัวอยู่แล้ว รีบ ๆ ออกมา !

    พอได้ยินเช่นนี้ ดวงใจหรือกายทิพย์ก็ออกจากร่างอาตมาปั๊บเลย กายทิพย์ของอาตมาออกไปยืนอยู่ข้าง ๆ เพื่อนรูปร่างสวยงามคนนั้นแหละ

    เพื่อนคนนั้นบอกว่า ร่างกายนี่แหละ คือเรือนที่เราอาศัยอยู่มาตั้งแต่วันแรกเกิดจนถึงวันนี้ ตอนนี้มันถูกไฟไหม้แล้ว หมดที่พึ่งพิงอาศัยต่อไปไม่ได้แล้ว เรือนกายนี้ถูกไฟพยาธิเผาไหม้เอา

    ตอนนี้เอง กายทิพย์ของอาตมาก็ได้เห็นว่า พวกญาติโยมชาวบ้าน ช่วยกันจัดการกับซากศพของอาตมา ที่นอนตายอยู่นั้น พวกเขาได้เอาสบงจีวรออกแล้วอาบน้ำให้ศพ เอาน้ำหอมน้ำขมิ้นมาชโลมลูบไล้ และทำอะไรต่ออะไร ตามวิธีทำศพนั่นแหละ กายทิพย์ของอาตมาก็ยืนมองดูอยู่อย่างนั้นแหละ ความรู้สึกตอนนั้นเฉย ๆ

    พวกชาวบ้านหามศพอาตมาออกจากกฏิ เอาไปนอนที่บนศาลา เอามุ้งมากางให้หนึ่งหลัง ป้องกันแมวไม่ให้เข้าไปรบกวนศพ กายทิพย์ของอาตมาได้ถามเพื่อนรูปร่างสวยงามนั้นว่า เราจะไปไหนอีกล่ะ?

    เพื่อนผู้นั้นก็บอกว่า เราพากันไปเที่ยวชมภูมิประเทศตามยถากรรมกันดีกว่า อาตมาก็ตกลงไป

    รู้สึกว่าไปสบาย เดินสบายกายไม่หนัก กายเบาว่องไว ไม่เหนื่อย ไม่หิวโหย ไม่ร้อนไม่หนาว

    ไปถึงระหว่าง ๒ หมู่บ้านทางโน้นเป็นภูเขาด้านหนึ่ง ทางนี้เป็นดงเป็นป่าบ้านหนึ่ง แต่มีสนามเล่นอยู่ตรงกลาง กว้างมาก เพื่อนบอกอาตมาว่า เราหยุดเล่นกับเขาที่สนามนี้เสียก่อนเถอะ อย่าเพิ่งรีบร้อนไปที่อื่นเลย

    อาตมาก็เล่นกับพวกเขา ซึ่งก็คือพวกผีนั่นแหละ เล่นสนุกกันไปจนถึงตี ๓ ตี ๔ ของเมืองผี กลางวันของเรา เป็นกลางคืนของเขา
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลับเรือนเก่า

    พวกเขาบอกว่า เล่นมาจนจะค่ำแล้วเลิกเถอะ เขาก็เลิกกันกลับไปหมด อาตมาก็ถามเพื่อนว่า ทีนี้เราจะไปไหนกันอีกดีล่ะ?

    เพื่อนก็บอกว่า

    ไม่รู้ซี เรามาใหม่ไม่รู้ทางไป ถ้าไปข้างหน้าก็เป็นป่าเป็นดง ไปข้างหลังก็เป็นภูเขาใหญ่ เรากลับคืนสู่เรือนหลังเก่าเดี๋ยวนี้ดีกว่า เพราะเรือนหลังเก่า มีบุญก้อนหนึ่งรักษาไว้ ไม่ให้เรือนเน่าเปื่อย เหมือนเกลือเค็มหมักเนื้อสดไว้ไม่ให้เน่านั่นแหละ แต่เราหนีมาเที่ยวไกลมากนะ ถ้าเดินกลับไปจะไม่ทัน เพราะชาวบ้านเขาจะเอาไฟเผาเรือนของเราหรือฝังเสียก่อน เอ้า ! เรารีบวิ่งกลับไปกันเร็วเข้า

    อาตมาก็วิ่งตามเพื่อนกลับไป รู้สึกวิ่งไม่หนักเลย ตัวเบาหวิวเหมือนปุยนุ่นถูกลมพัดปลิวไปเร็วที่สุด แล้วข้ามดงข้ามภูเขาเลากามาแบบลมพัด

    พอมาถึงซากศพที่นอนอยู่ในมุ้งบนศาลาวัด เพื่อนก็บอกอาตมาว่า
    เข้าไปนั่งใกล้ ๆ เรือนกายซิ ตั้งสติให้นึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ตลอดจนคุณของบิดามารดา อุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ขอให้ช่วยให้เข้าเรือนกายได้สำเร็จ ให้นึกถึงบุญเก่าด้วย บุญเก่าที่เคยสร้างสืบมาแต่ปางก่อนด้วยนะ
    นึกถึงบุญเก่าให้ดี ๆ บุญเก่าที่เราเคยสร้างไว้ในครั้งสมัยศาสนาพระพุทธเจ้าสิขี นั่นเป็นบุญกุศลก้อนแรก หรือปฐมครั้งแรกของเราได้สร้างบารมีเป็นสัตว์โลก ได้ถือบวชเนกขัมมะบารมีตลอดจนวันตาย ชาวบ้านช่วยกันห่อศพของเราด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ เข้ากองไฟเผาไหม้ไป เราสร้างสมบารมีไว้เต็มเปี่ยมในชาติโน้น มารวมกันเข้ากับชาตินี้ที่ได้บวชเป็นพระอีกได้ ๕ พรรษานี้แล จะช่วยให้เราเข้าสู่เรือนร่างเดิมได้

    อาตมาก็ตั้งสติระลึกตามที่เพื่อนผู้นั้นบอก

    พอตั้งสติได้ก็เข้าร่างไปปั๊บเลยทีเดียว เรียกว่ากายทิพย์กลับเข้าสู่ร่างเดิมที่ปฎิสนธิ

    ตอนที่กายทิพย์ของอาตมาเข้าร่างเดิมแล้ว ก็ได้หันมาทางข้างหลังดูเพื่อนผู้นั้น ปรากฏว่าเพื่อนได้หายวับไป ความรู้สึกบอกว่า เพื่อนผู้นั้นไม่ใช่ใครที่ไหน หากคือบุญก้อนเก่าและบุญก้อนใหม่ของอาตมานั่นเอง

    บุญก้อนที่ว่านี้ได้เนรมิตเป็นรูปเพื่อนขึ้นมา จะเรียกว่าเป็นภูตเทียมอีกกายหนึ่งของอาตมาก็ได้ เพราะจิตเป็นธาตุรู้อันมหัศจรรย์ มันย่อมจะทำอะไร ๆ ได้แปลกประหลาดมหัศจรรย์ได้เสมอ

    เพื่อนผู้นั้นหรือภูตเทียมได้หายวับเข้ามาอยู่ในเรือนกายหยาบของอาตมานี้เอง โดยที่เพื่อนได้แปรเปลี่ยนเป็นเตโชไฟธาตุสำหรับเผาเรือนกายให้เกิดความอบอุ่นขึ้น บุญกุศลทั้งเก่าและใหม่ได้ช่วยกันโยงใยไม่ให้ร่างเปื่อยเน่า

    บุญกุศลที่เราสร้างไว้จึงสำคัญยิ่งนัก เมื่ออาตมาล้มตายไป บุญก็ได้เนรมิตภูตเทียมขึ้นร่างหนึ่งให้เป็นเพื่อน พาเที่ยวไปให้ความรู้ และบุญอีกส่วนก็ทำหน้าที่รักษาร่างกายที่หมดลมแล้วให้สดชื่นไว้ไม่ให้เน่าเปื่อย”
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฟื้นคืนชีพ

    “เมื่อภูตเทียมเข้าร่างกาย กลายเป็นเตโชธาตุเผากายให้อบอุ่นแล้ว อาตมาก็เริ่มรู้สึกทางกายหยาบว่า ตรงปลายเท้าทั้งสองข้าง เกิดอาการคันยุบยิบซู่ซ่าคล้ายตะคริวหรือเหน็บชากำลังจะคลายออกอย่างนั้นแหละ อาการนี้แผ่ไปทั่วร่างกาย เริ่มเคลื่อนไหวร่างที่เป็นซากศพได้

    ลืมตาขึ้นพบว่า เป็นเวลารุ่งอรุณของวันใหม่ ท้องฟ้ากำลังรุ่งสางสว่างแจ้ง เสียงนกแซงแซวมันร้องว่า

    สายแล้ว แจ้งแล้วสว่างแล้ว ตื่นเถอะ ตื่นเถอะ สว่างแล้ว !

    อาตมารู้สึกประหลาดใจที่นกแซงแซวร้องเป็นภาษาคนได้ มารู้ตอนหลังว่า ฟังภาษานกออก เพราะเกิดญาณรู้ขึ้นเองในตอนนั้น”

    อาตมาหัวใจหยุดเต้น สิ้นลมหายใจตายไปเมื่อวานนี้ เวลาเช้า ตอน ๗ โมงเศษ ได้ตายมา ๑ วัน ๑ คืนหย่อน ๆ

    ขณะที่อาตมานอนฟังเสียงนกแซงแซวร้องนี้ ก็เป็นเวลาเดียวกับพวกโยมชาวบ้านหลายคน ที่อยู่เฝ้าศพคบงัน เล่นหมากรุก หมากเสือกินหมูกันมาทั้งคืน ได้ปรึกษากันเอ็ดอึงว่า สว่างแล้วจะเผาศพหรือจะฝังลงหลุมดี

    ญาติโยมชาวบ้านส่วนใหญ่ลงความเห็นกันว่า ต้องรอให้พระอาจารย์จันทร์กลับมาจากธุระเสียก่อน เมื่อพระอาจารย์จันทร์สั่งให้เผาก็เผา สั่งให้ฝังก็ต้องฝัง เพราะอาจารย์จันทร์กับอาจารย์จันทาธุดงค์มาด้วยกัน

    อาจารย์จันทร์เป็นชาวยโสธร ส่วนอาจารย์จันทาเป็นชาวร้อยเอ็ดไม่รู้อยู่บ้านไหน ญาติพี่น้องเป็นใครก็ไม่รู้

    อาตมาฟื้นแล้ว นอนฟังญาติโยมปรึกษากันเรื่องจัดการศพของอาตมา ก็ให้นึกขำเกือบหัวเราะ แล้วก็นึกคิดต่อไปว่า อัศจรรย์จริงหนอ เราหมดลมตายไปตั้งแต่เมื่อเช้าวานนี้ จิตวิญญาณออกจากร่างไปเที่ยวกับเพื่อน ซึ่งเป็นภูตเทียมหรือกายทิพย์อีกร่างหนึ่ง ไปเที่ยวทั้งวันทั้งคืน เพิ่งจะกลับมาเข้าร่างแล้วก็ฟื้นขึ้น

    การที่เราสามารถกลับมาเข้าร่างเดิมได้ ก็เป็นด้วยอำนาจลึกลับมหัศจรรย์ของบุญกุศลที่สร้างไว้แท้ ๆ นอกจากบุญกุศลแล้วไม่มีสิ่งอื่นใดจะพาจิตวิญญาณของเรากลับคืนเข้าสู่ร่างได้อีกเลย ! บุญจึงมีความสำคัญยิ่งใหญ่มหาศาลด้วยประการฉะนี้ !

    ต่อไปนี้เราจะทำแต่บุญกุศลจะไม่ทำบาปด้วยประการทั้งปวงอย่างเด็ดขาด
    เพราะได้เห็นอานิสงส์ของบุญกุศลมากมายถึงปานนี้

    อาตมาได้ตั้งจิตปฏิญาณในใจว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะถวายชีวิตพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนาตลอดวันสิ้นลมปราณ

    ข้อ ๒ ขึ้นชื่อว่าความชั่วใด ๆ เราจะละเว้นให้หมดสิ้น

    ข้อ ๓ ความดีใด ๆ อันที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้คนอื่นและตนเอง ได้รับแต่ผลดีงามถูกต้องในศีลธรรม เราจะแนะนำพร่ำสอนเขาและเราเองให้กระทำ

    ข้อ ๔ เราจะทำแต่บุญกุศลเท่านั้น ในชีวิตนั้นไม่ทำสิ่งอื่นอย่างเด็ดขาด เพราะเราได้เห็นพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ ของบุญกุศลแล้ว จนหมดสิ้นความสงสัยใด ๆ

    ข้อ ๕ ชาวโลกเขาว่าโลกเจริญพัฒนาสูงสุดอย่างไร และโลกเสื่อมทรามลงอย่างไร เราจะไม่ตื่นเต้นในธรรมคู่คือเจริญและเสื่อม จะวางเฉยด้วยตปธรรม เราจะปีติปราโมทย์สำราญเบิกบานใจ ในการสร้างสมบุญกุศลในศีลวินัยนี้เท่านั้น เมื่อสร้างสมได้เต็มเปี่ยมแล้ว เราก็จะปล่อยวางบุญกุศล ดำเนินภาวนาเข้าสู่พรมแดนโลกุตรธรรม

    เมื่ออาตมาอธิษฐานปฏิญาณเสร็จแล้ว จึงลุกขึ้นนั่งอย่างโงกเงกตามแบบคนเพิ่งฟื้นไข้บ่มีแรงนั่นแหละ อาการลุกขึ้นนั่งของอาตมาทำให้มุ้งไหวยวบ เท่านั้นเองใครคนหนึ่งก็ร้องขึ้นว่า

    ผีครูบา !

    ญาติโยมที่คุยกันเอ็ดอึงอยู่นั้นคงจะเหลียวมาดูพร้อมกัน ตอนนี้แหละเสียงตึงตังบนศาลา แย่งกันวิ่งหนีกระโจนโครมครามลงจากศาลา หลายคนร้องไม่เป็นภาษาด้วยความตกใจกลัว วิ่งกันสนั่นหวั่นไหวไปทั่วลานวัด

    ผีครูบาจันทาเฮี้ยนโว้ย ลุกขึ้นเป็นผีดิบ !

    พวกญาติโยมที่วิ่งตาแหกแตกตื่นหนีเข้าหมู่บ้านไปก็มี ที่วิ่งขึ้นกุฏิปิดประตูเงียบก็มี ที่วิ่งไปตั้งหลักอยู่ตรงประตูวัดก็มี

    นานเกือบครึ่งชั่วโมงนั่นแหละ ถึงได้มีโยมใจกล้าคนหนึ่งเดินเลียบ ๆ เคียง ๆ เข้ามาใกล้ศาลาแล้วร้องเรียกอาตมาว่า ครูบา ๆ เป็นคนหรือเป็นผี

    อาตมาก็ออกจากมุ้งยืนขึ้นบอกไปว่า เป็นคนน่ะซี่ !

    โยมร้องถามเสียงสั่น ๆ อีกว่า ครูบาสบายดีแล้วหรือ?

    อาตมาก็ตอบว่า เออ ! สบายดีแล้ว ฟื้นขึ้นมาแล้ว บ่แม่นผีดิบผีสุกอีหยังดอก !

    โยมยกมือไหว้ปลก ๆ ร้องว่า

    แหม ! ผมใจหายหมดเกือบตาย กลัวผีครูบามากเกือบจะวิ่งหนีเข้าบ้านแล้วซี ไปอย่างไรมาอย่างไรกันเนี่ย? ตายไปวันหนึ่งคืนหนึ่งตัวเย็นเหมือนน้ำแข็งแบบนี้ ไม่เคยเห็นมีใครฟื้นคืนชีพได้เลย ครูบาเป็นผีไปแล้วกลับมาได้อย่างไรกัน?
    บุญกุศลน่ะซี พากลับมาส่งจากเมืองผี

    เมื่อท่านพระอาจารย์จันทาบอกอย่างนั้น โยมแกก็ยกมือขึ้นเหนือเกล้า โมทนาสาธุด้วยความปีติยินดี

    ตอนนี้เองญาติโยมที่พากันแตกตื่นวิ่งหนีแทบเหยียบกันตาย เริ่มทยอยกลับมา ต่างก็หัวร่อขบขันซึ่งกันและกัน ที่ตาแหกแตกตื่นกลัวผีท่านครูบา

    เมื่อท่านพระอาจารย์จันทาตายไปแล้วฟื้นคืนชีพกลับมาในปีนั้น เป็นที่โจษขานเล่าลือกันมากในเพชรบูรณ์
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เที่ยวเมืองชาวทะเลกับหลวงพ่อห้อ

    การตายแล้วฟื้นครั้งนั้น ทำให้อาการป่วยไข้หายไป ร่างกายแข็งแรงดีขึ้น ท่านพระอาจารย์จันทาอยากจะออกเที่ยววิเวกอีกครั้นเมื่อออกพรรษาแล้วจึงไดกราบลาพระอาจารย์จันทร์ เที่ยววิเวกไปตามลำพังตามสมณวิสัยของพระธุดงคกรรมฐาน

    ได้ขึ้นรถไฟไปเชียงใหม่เที่ยววิเวกอยู่ ๙ วันแถวป่าเขาดอยสุเทพ ได้อารมณ์ภาวนาดีมาก จิตรวมเป็นสมาธิเป็นประจำและได้นิมิตแปลก ๆ แต่แล้วพิษมาลาเรียได้กำเริบขึ้นอีก

    หมอที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ฉีดยาให้จนหายดีแล้ว จึงขึ้นรถไฟกลับมาลงที่สถานีบ้านภาชี พักอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานีหนึ่งคืน พอวันรุ่งขึ้นก็ขึ้นรถไฟไปลงที่ขอนแก่น ค่าโดยสารรถไฟแต่ละเที่ยวนั้น ทางศรัทธาชาวบ้านเป็นผู้ซื้อตั๋วโดยสารให้ทุกครั้ง

    เมื่อลงรถไฟที่ขอนแก่นจะไปสกลนคร ไม่มีผู้ใดจ่ายค่าโดยสารรถให้ จึงเดินแสวงวิเวกไปเรื่อย ๆ ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างหนัก

    ในระหว่างทางได้พบกับหลวงพ่อห้อ เที่ยวธุดงค์มาจากอำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรฯ ได้สนทนาแลกเปลี่ยนธรรมปฏิบัติเป็นที่สบอัธยาศัยกัน

    หลวงพ่อห้อบอกว่า กำลังจะไปจำพรรษาที่ศรีราชา เป็นการเปลี่ยนสถานที่วิเวก จากดงดอยป่าหนาดงทึบทางภาคอีสานและภาคเหนือ เป็นไปทางทะเลเสียบ้าง ถ้าท่านพระอาจารย์จันทาอยากจะไปด้วยก็ไม่ขัดข้อง

    พระอาจารย์จันทาตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยเห็นทะเล เคยเห็นแต่ในรูปภาพ ก็คิดอยากจะเห็นทะเลและภูมิประเทศบ้านเมืองขนบธรรมเนียมประเพณีทางหัวเมืองชายทะเลบ้าง จึงตกลงใจขอไปด้วย

    หลวงพ่อห้อ พาขึ้นรถไฟที่ขอนแก่นไปลงกรุงเทพฯ ต่อรถยนต์ไปชลบุรีในวันนั้นเลยทีเดียว ถึงชลบุรีตอน ๖ ทุ่ม หลวงพ่อห้อพาเข้าพักที่วัดใหญ่แห่งหนึ่งในตัวเมือง จำชื่อวัดไม่ได้

    รุ่งเช้าขึ้นจะออกไปบิณฑบาตแต่เจ้าอาวาสวัดนี้ได้ห้ามไว้ว่า

    “อย่าไปบิณฑบาตเลย ไม่ได้ข้าวหรอก ผมอยู่วัดนี้มา ๓๐ ปีแล้ว ผมไปบิณฑบาตไม่ได้อะไรเลย ข้าวสักทัพพีก็ไม่ได้ คนเมืองชลบุรีใจบุญสุนทานมีน้อย ส่วนมากไม่สนใจในการทำบุญทางพระศาสนา เพราะคนส่วนมาก ชาติก่อนเป็นปลาในทะเล ได้มาเกิดเป็นมนุษย์อยู่เมืองชลบุรีในชาตินี้ ดังนั้นทางวัดต้องอาศัยโรงครัว จึงพอมีข้าวเลี้ยงพระเณรในวัดไปวัน ๆ

    ท่านพระอาจารย์จันทาได้ยืนยันที่จะไปบิณฑบาต เพราะการออกบิณฑบาตนี้ ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จบิณฑบาตทุกเช้า เป็นพุทธจริยาที่จะทรงโปรดประชากรทุกชั้นวรรณะมิได้เลือกหน้า

    พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสมณศากยบุตรลูกของพระพุทธเจ้าโดยทางธรรม จักต้องเจริญรอยตามบาทพระพุทธองค์ คือออกโคจรบิณฑบาตเช่นเดียวกัน เพื่อรับการใส่บาตรจากชาวบ้านชาวเมือง กระทำทานได้บุญกุศล

    เจ้าอาวาสได้กล่าวอีกว่า

    “เมื่อพวกท่านจะไปบิณฑบาตจริง ๆ ก็นิมนต์เสี่ยงบารมีไปดูเถอะ”

    ท่านพระอาจารย์จันทาและหลวงพ่อห้อ ก็ออกจากวัดไปบิณฑบาตในเมืองชลบุรี ปีนั้นตรงกับ พ.ศ.๒๔๙๔ (สองพันสี่ร้อยเก้าสิบสี่) หรือเมื่อ ๓๖ ปีมาแล้ว สมัยนั้นเมืองชลบุรียังไม่เจริญรุ่งเรืองใหญ่โตเหมือนปัจจุบันนี้ ยังเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่

    ออกจากวัดมาได้ไม่ไกลก็เลี้ยวเข้าไปในตรอกแห่งหนึ่ง เห็นศพคนตายอยู่ในห้องแถวเก่า ๆ มีญาติพี่น้องเฝ้าศพอยู่ ท่าทางเศร้าโศกเงียบหงอย เพื่อพวกเขามองมาเห็นพระบิณฑบาตก็ทำเฉย ๆ ท่านพระอาจารย์จันทากับหลวงพ่อห้อเดินผ่านไป

    “อาตมารู้สึกประหลาดใจที่บ้านมีคนตาย แต่พวกญาติพี่น้องเห็นพระแล้ว ไม่ใส่บาตรทำบุญให้กับคนตาย ถ้าเป็นทางเหนือทางอีสานแล้ว เขาจะร้อง นิมนต์ก่อน ตุ๊เจ้า นิมนต์ก่อน ครูบา แล้วรีบเอาข้าวมาใส่บาตรอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย แต่รายนี้ที่เมืองชลพวกเขาเฉย ๆ ”

    ท่านพระอาจารย์จันทากล่าว แต่ท่านพระอาจารย์เพ็งได้ให้ความเห็นว่า ครอบครัวคนตายนั้น อาจจะเป็นคนจีนที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา จึงไม่สนใจหรือไม่เข้าใจในเรื่องทำบุญตักบาตรให้คนตาย

    การเที่ยวบิณฑบาตในเช้าวันนั้น ได้ไปทั่วทุกตรอกซอกซอยในเมืองชลบุรี และเลยลงไปถึงหมู่บ้านแถบชายทะเลด้วยแต่ก็ไม่ได้ข้าวสักทัพพีเดียว ไม่มีคนใส่บาตรเลย

    ครั้นกลับมาถึงทางสี่แยกใกล้วัด จึงมีชายหนุ่มคนหนึ่งใสบาตรให้ข้าว ๑ ทัพพี เขาพนมมือถามนอบน้อมว่า

    “ผมไม่เคยเห็นท่านอาจารย์ทั้งสององค์มาก่อนเลย ท่านอาจารย์นุ่งสบงห่มจีวรสีดำคล้ำ สะพายบาตรใบใหญ่อย่างนี้ เป็นพระมาจากไหนขอรับ?”

    ท่านพระอาจารย์จันทาตอบฉันเมตตาจิต

    “มาจากภาคอีสานเมืองบนโน้น ที่นั่งห่มสีกรักนี้เป็นพระธุดงคกรรมฐานสายของท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ”

    ชายหนุ่มคนนั้นสีหน้าตื่นเต้นปีติปราโมทย์ร้องว่า

    “โอ ! เคยได้ยินแต่ชื่อเสียงเพิ่งเห็นตัวจริงพระธุดงค์สายท่านพระอาจารย์มั่นวันนี้เอง ผมขอบุญด้วยขอรับ”

    “ขอให้บุญจงเป็นของคุณโยมเถิด”

    ท่านพระอาจารย์จันทา และหลวงพ่อห้อ บิณฑบาตกลับถึงวัดเวลาประมาณ ๙ โมงเช้า เจ้าอาวาสวัดมาเปิดฝาบาตรดูแล้วหัวเราะกล่าวว่า

    “ผมบอกท่านทั้งสองแล้ว คนเมืองนี้ไม่ชอบทำบุญใส่บาตรหรอก ผมได้สั่งทางโรงครัวของวัดให้ทำอาหารไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อถวายพวกท่าน ขอให้ผมได้ทำบุญกับพระธุดงคกรรมฐานอย่างพวกท่านเถิด”

    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่าว่า เจ้าอาวาสวัดนี้น้ำใจดีงามเหลือเกิน ใจบุญใจกุศล รูปร่างคล้ายพวกขุนนางในวัง

    เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้วเจ้าอาวาสยังได้ถวายค่ารถโดยสารให้อีก เป็นพระบ้านหรือคามวาสีที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก

    หลังจากปีนั้นมา พุทธศาสนาในชลบุรีรุ่งเรืองขึ้นเป็นอันมาก ทางราชการ พ่อค้า คหบดี และประชาชนได้ร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูพัฒนาพระศาสนาอย่างขนานใหญ่

    ชาวบ้านชาวเมืองหันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนามากมาย นิยมทำบุญตักบาตรพระเณร ได้ข้าวปลาอาหารคาวหวานล้นบาตรทุกวัน พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของชาวชลบุรี

    เมื่อชาวชลบุรีทำบุญตักบาตรกันทุกวันนี้ ก็เหมือนหว่านข้าวกล้าลงในเนื้อนา ข้าวกล้าย่อมงอกเงยไพบูลย์งอกงาม คือย่อมได้บุญได้กุศลใหญ่ เป็นเหตุปัจจัยให้ร่ำรวยเจริญรุ่งเรืองทันตาเห็นในชาตินี้

    ดังจะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ชลบุรีเจริญพัฒนารุ่งเรืองเป็นหัวเมืองชั้นเอก ชาวบ้านชาวเมืองอยู่ดีกินดีมีสุข พระพุทธศาสนาก็รุ่งเรืองประเทืองใจ ควรแก่การโมทนาสาธุการ
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์ลุน วัดวิเวการาม

    ที่ศรีราชาหลวงพ่อห้อพาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดวิเวการาม เจ้าอาวาสวัดชื่อ พระอาจารย์ลุน เป็นพระธุดงคกรรมฐานชาวจังหวัดอุบล ฯ

    ท่านพระอาจารย์จันทากล่าวว่า ท่านทำความเพียรได้รับความสงบดีมาก แต่แปลกที่ว่าธาตุขันธ์ไม่ถูกกันกับอาหารไทยแบบภาคกลาง ฉันข้าวหุงและอาหารจืดอาหารผัดต่าง ๆ แล้วท้องเสีย แต่ถ้าวันใดได้ฉันข้าวเหนียวกับปลาร้า ธาตุขันธ์ท้องไส้จะดีมาก ร่างกายกระชุ่มกระชวย ซาบซ่านแข็งแรง แปลกพิลึก

    เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้กราบลาท่านพระอาจารย์ลุน เดินทากลับมาพักอยู่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่อยู่วัดวิเวการามศรีราชาแล้วท้องร่วงท้องเสียเพราะอาหารไทย เมื่อมาถึงวัดป่าสาลวันแทบไม่มีแรงเดินบิณฑบาต
    แต่เมื่อแข็งใจไปบิณฑบาตในตลาดโคราช ได้ข้าวเหนียวกับปลาร้ามาฉันแล้ว ปรากฏอัศจรรย์ว่า ร่างกายแข็งแรงขึ้นทันตาเห็น อาการท้องเสียหายไปเป็นปลิดทิ้ง
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รับโอวาทจากหลวงปู่บัว

    พักอยู่วัดป่าสาลวัน ๒-๓ วัน ได้ขึ้นรถไฟมาลงที่จังหวัดอุดรฯ จากนั้นก็ขึ้นรถยนต์ไปอำเภอหนองวัวซอ ลงจากรถเดินไปยังวัดบ้านหนองแซง นมัสการหลวงปู่บัว สิริปุณโณ (บิดาของท่านพระอาจารย์เพ็ง พุทธธัมโม)

    ได้ฟังเทศน์ฟังธรรมรับการอบรมจากท่านหลวงปู่บัวพอประมาณ สอนเน้นหนักเรื่อง “สติ” ท่านกล่าวว่า

    “การปฏิบัติธรรมมุ่งหวังความพ้นทุกข์ ขอให้มีสติรู้เท่าทันเป็นปัจจุบันอารมณ์อยู่ทุกลมหายใจเข้าออกเถอะน่า สติรู้ตัวเดียวนี้แหละจะทำให้เราเกิดญาณจักษุรู้แจ้งหมดโลกหมดจักรวาล”

    ท่านหลวงปู่บัว สิริปุณโณเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูงที่ได้รับคำชมเชยจาก หลวงปู่ขาว อนาลโยวัดถ้ำกลองเพลว่า

    “ท่านบัวนี้ เป็นผู้วิเศษองค์หนึ่งนะ !”

    ปีที่ท่านพระอาจารย์จันทาไปรับการอบรมอยู่กับหลวงปู่บัวนี้ พ.ศ.๒๔๙๕ และต่อมาอีก ๒๓ ปี (ยี่สิบสามปี) ท่านหลวงปู่บัวได้อำลาสังขารมรณภาพในปี พ.ศ.๒๕๑๘ อัฐิของท่านได้กลายเป็นพระธาตุ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สาวงามชาวภูไทชวนให้สึก

    ท่านพระอาจารย์จันทาพักรับการอบรมจากหลวงปู่บัวไม่นาน ก็กราบลาท่านออกธุดงค์ต่อไป เที่ยววิเวกไปตามแถวภูพานสกลนคร และได้เข้าจำพรรษาอยู่กับ ท่านพระอาจารย์สีลา โพธิโก วัดป่าโชติการาม ตั้งอยู่เชิงเขาภูเหล็ก สมัยนั้นท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ยังไม่ได้ไปอยู่ที่ภูเหล็ก (วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม)

    วัดป่าโชติการามเชิงเขาภูเหล็ก เป็นที่สัปปายะสงัดวิเวกดีมาก ท่านพระอาจารย์จันทาอยู่ที่นี่ถึง ๓ พรรษา แถบย่านภูเหล็กนี้มีชาวภูไทอยู่กระจัดกระจายเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาดีมาก สาวภูไทนั้นงามนักเหมือนสาวทางเชียงใหม่ทางลำพูน ผิวขาวปานไข่ปอก

    สาวภูไทมาถวายจึงหันในตอนเช้า มีหลายนางที่งามแบบสาวบ้านป่าตาหวานเยิ้ม ส่งสายตาให้ แล้วนิมนต์ให้ท่านพระอาจารย์จันทาลาสิกขาสึกออกไปเป็นฆราวาส

    “จะให้อาตมาสึกไปทำอีหยังล่ะโยม ?”

    ท่านพระอาจารย์จันทาถามแต่คำตอบที่ได้รับนั้นทำเอาสะดุ้งเพราะสาวภูไทตอบว่า

    “จะเอาไปเป็นผัว !”

    ท่านพระอาจารย์จันทาตอบว่า

    “ฮ่วย ! ผู้ชายหนุ่ม ๆ มีมากมายหลายหมู่บ้าน ทำไมพวกโยมไม่เอาเขาเป็นผัว ? อาตมาเป็นพระ กว่าจะได้บวชก็ยาก บวชมาแล้วก็ศึกษาภาวนาด้วยความยากลำบาก ขอให้พวกโยมช่วยกันหวงแหนอาตมาไว้ในพระศาสนาให้เป็นพระสงฆ์องค์เจ้าเอาบุญต่อไปเถอะ”

    สาวงามภูไทตอบเสียงหวานตามประสาซื่อตรงไม่มีจริตมายาว่า

    “ไม่อยากได้ผู้ชายชาวบ้านเป็นผัว เพราะไม่ทำให้เจริญ อยากได้แต่ครูบาไปเป็นผัว จะพาร่ำรวยเจริญรุ่งเรือง ครูบาเป็นผู้มีบุญ เป็นเจ้าศีลเจ้าธรรม ผู้ใดได้ไปเป็นผัว ถือว่ามีวาสนาสูงแท้”

    “ก่อนที่จะมาบวชนี้ อาตมามีครอบครัวแล้วนะโยม มีลูกชาย๑ คน อาตมาจึงไม่ใช่หนุ่มสด ๆ หากเป็นพ่อม่ายมาบวชเป็นพระ”

    คำตอบนี้ทำให้สาวงามภูไทหน้าเสียกราบลากลับไป และไม่มาวัดอีกเลย เพราะธรรมเนียมทางภาคพื้นนั้น สาว ๆ มีความรังเกียจพ่อม่ายไม่อยากเข้าใกล้เพราะถือว่า พ่อม่ายเป็นตัวอัปมงคลนั่นเอง !
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภูเหล็กแดนศักดิ์สิทธิ์

    ภูเหล็ก นี้ ตามประวัติเล่าว่าแต่ก่อนเคยศักดิ์สิทธิ์และสำคัญมาก ที่ถ้ำเล็ก ๆ แห่งหนึ่งห่างจากถ้ำพวงประมาณ ๑๐ เมตร เคยมีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อ “พระนรสีห์” มานิพพานที่นั่น

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตสมัยไปวิเวกที่บนภูเหล็ก เวลาจะเข้าใกล้ถ้ำที่พระนรสีห์อรหันต์นิพพาน ท่านพระอาจารย์มั่นจะสั่งให้ลูกศิษย์ถอดรองเท้าตามอย่างท่าน เป็นการแสดงความคารวะสถานที่อย่างเคร่งครัดเพราะถือว่ามีเทพยดาเฝ้ารักษาสถานที่แห่งนี้อยู่

    และที่บริเวณถ้ำพวง ภูเหล็ก ก่อนนี้มีช่องหนึ่งลึกลงไปใต้ภูเขา ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมเคยไปวิเวกที่นั่น พบด้วยญาณจักษุว่า ช่องใหญ่ลึกมาก อยู่ไม่ไกลจากถ้ำพวง เป็นถ้ำพญานาคมันพ่นพิษใส่ท่านเป็นการขับไล่ ท่านเลยเอาก้อนหินมาปิดช่องทางนั้นอย่างแน่นหนา แต่ตอนหลังไม่ทราบอยู่ตรงไหนเพราะพื้นราบเรียบกันไปหมด

    ท่านพระอาจารย์จันทาเล่าว่า

    “อาตมาไปเจริญภาวนาที่ภูเหล็ก ตรงที่นั้นเป็นหน้าผาดิ่งลงมาอยู่คนละด้านภูเขากับถ้ำพวง สมัยนั้นเป็นดงหนาป่าทึบกว้างใหญ่ มีพวกโซ่ พวกภูไทอยู่กันห่าง ๆ กระจัดกระจาย”

    ป่าใหญ่แถวนั้นผีสางเทวดาดุร้ายมาก จะไม่เชื่อก็ไม่ได้ เพราะอาตมาได้ประสบมาจริง ๆ เรื่องผีเรื่องเทพนี้อาตมาเจอมามากจนหายสงสัยแล้ว”

    “ป่าภูเหล็ก อำเภอส่องดาว (สมัยนั้นเป็นเพียงตำบล) ชาวบ้านกลัวกันมาก ใครขืนไปถางป่าทำไร่หรือตัดไม้มาปลูกบ้าน เป็นต้องถูกฝูงผีรุมเล่นงาน ตายทันตาเห็นในวันนั้น ถ้าไม่ตายก็ป่วยเรื้อรังเป็นปี ๆ ผอมหัวโต”
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นิมิตสมาธิ

    “อาตมาจะขอนำนิมิตในสมาธิมาเล่าให้ฟัง เพื่อให้ผู้อ่านถือเอาเป็นคติไว้พิจารณาศึกษาต่อไป

    คืนหนึ่งตอนเที่ยงคืน อาตมาทำความเพียรภาวนาจิตรวมสงบลงเป็นสมาธิธรรม ได้ยินนิมิตเสียงผู้หญิงหลายคนร้องไห้ดังสนั่นหวั่นไหวไปทั้งป่า

    จากนั้นก็เป็นนิมิต พวกผู้คนชาวบ้านทั้งหญิงและชายจำนวนมาก ถือคบไต้จุดสว่างไสวเดินออกจากป่ามาพบอาตมา พวกเขาเล่าให้ฟังว่า ผู้หญิงในหมู่บ้านออกลูก แต่แล้วก็ถูกผีปอบกินเด็กที่คลอดใหม่ ๆ พวกหมอมนต์คาถาอาคมในหมู่บ้านไล่ผีปอบไม่ออก อยากจะขอน้ำมนต์ของอาตมาไปไล่ผีปอบ
    นิมิตนี้แปลกมาก จิตบอกอาตมาว่าพวกเขาเป็นผี แต่เหตุใดในหมู่พวกผีถึงได้มีผีปอบเข้าสิงพวกผีด้วยกันอีก มันเป็นเรื่องผีซ้อนผี อาตมาก็ทำน้ำมนต์ให้ไป
    เมื่อพวกเขากลับไปก็มองเห็นว่า บ้านเมืองของพวกเขาอยู่ตามกอหญ้า อยู่ตามต้นไม้ อยู่ตามซอกหินแคบ ๆ อยู่ตามถ้ำใหญ่ ๆ ต้นไม้ทุกต้นมีบ้านเรือนใหญ่บ้างเล็กบ้าง อยู่แน่นไปหมด

    อาตมาได้กำหนดจิตถามพวกเขาก็ได้คำตอบว่า พวกผีที่มีบ้านเรือนอยู่ตามกอหญ้า เป็นเพราะมีเวรมีกรรม ถ้าไปอยู่ต้นไม้ใหญ่ก็เกิดอาการร้อนเหมือนอยู่ในกองไฟ อยู่ไม่ได้ เพราะวาสนาไม่ถึง

    พวกผีที่อยู่บนต้นไม้ใหญ่ ๆ เป็นพวกมีบุญพอสมควร เป็นกึ่งผีกึ่งเทวดา พวกที่อยู่ในถ้ำเป็นเทวดาก็มี เป็นกึ่งเทวดาก็มี เป็นเปรตอสุรกายก็มี พวกนี้หน้าตาท่าทางการแต่งกายเหมือนคนบ้านนอกทั่วไป

    เมื่อพวกนี้ไปแล้ว นิมิตที่เห็นเป็นปราสาทเงินปราสาททอง งามระยิบระยับ ลอยอยู่เหนือยอดเขาภูเหล็ก พวกที่อยู่บนปราสาทนี้ หน้าตาผ่องใส แต่งตัวเรียบร้อยมีสง่าราศีเหมือนชาวกรุง ไม่ได้ใส่ชฎาแต่งองค์ทรงเครื่องเหมือนยี่เก แต่งเหมือนชาวกรุงสมัยใหม่ดี ๆ นี่เอง พวกเขาลงมาจากปราสาทเหมือนเดินมาธรรมดา

    พอมาถึง พวกเขาก็กราบไหว้อาตมา กิริยามารยาทเรียบร้อย พูดจาพาทีอ่อนโยนทั้งหญิงและชาย ขอไตรสรณคมน์ ปฏิญาณตนนับถือพระรัตนตรัย และขอศีล ๕ ไปปฏิบัติ

    เหตุเพราะว่าสมัยเป็นมนุษย์เคยรักษาศีล ๕ เคร่งครัด ทำบุญให้ทาน เมื่อตายแล้วจึงได้มาเกิดอยู่บนวิมานเงินวิมานทองลอยอยู่เหนือภูเหล็ก

    เมื่ออาตมาให้พระไตรสรณคมน์และศีล ๕ แล้ว พวกเขาก็กราบลาไป พวกนี้เป็นเทวดาชั้นอากาศเทวา

    เมื่อพวกเทพกลับไปบนภูเหล็กแล้ว นิมิตมาอีกเป็นผู้หญิงชาวบ้าน ใช้ด้ามเสียมคอนตะกร้าเดินผ่านหน้าอาตมาไป พลางเอื้อนแอ่วเสียงไพเราะเศร้า ๆ ว่า ผู้ข้าจะขึ้นไปเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงตัวไหม ใครผู้ใดอยากจะมาเล่นแอ่วหมอลำให้สนุก กินแกงปลาร้าอึ่งกับนางก็เชิญได้ นางร้องแอ่วลำขึ้นไปบนภูเหล็ก

    “นิมิตบอกว่า ผู้หญิงนางนี้เป็นผีพวกหนึ่ง สมัยเป็นมนุษย์เป็นหมอฟ้อนรำ ผีฟ้าแบบเข้าทรง ครั้นเมื่อตายจากมนุษย์ก็มาเกิดเป็นผีอาภัพ จะไปเป็นเทวดาก็ไปไม่ได้ จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ไม่ได้”

    นิมิตที่เล่ามานี้ จะเป็นเพราะจิตละเอียดสุขุมปรุงแต่งเล่นสนุก ๆ หรือเป็นเรื่องจริง ก็ขอให้ท่านผู้อ่านผู้มีปัญญาไปศึกษาภาวนาพิสูจน์ดูเอาเองเถิด
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำนักดงหม้อทอง

    ออกพรรษาปีนั้นแล้ว (พ.ศ.๒๔๙๗) ก็ได้ข่าวว่า ท่านหลวงปู่ขาว อนาลโย และ ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้บุกป่าฝ่าดงใหญ่เข้าไปทำความเพียรภาวนาอยู่ในดงหม้อทอง อำเภอวานรนิวาสซึ่งเป็นดงหนาป่าทึบ มีถ้ำใหญ่ ๆ อยู่มาก มีภูผาโขดหินและพลาญหินสวยงาม ทั้งสัตว์ป่าดุร้ายก็ชกชุมทั้งเสือทั้งช้าง เหมาะที่จะช่วยพระกรรมฐานกำราบกิเลสให้อ่อนราบลง
    พระอาจารย์จันทาได้เดินทางไปกราบนมัสการท่านหลวงปู่ขาวและท่านพระอาจารย์จวน ขอฝากตัวเป็นศิษย์รับการอบรมอยู่ด้วย

    ดงหม้อทองนี้ท่านพระอาจารย์จวนเพิ่งมาอยู่ได้ ๑ พรรษา (มาอยู่ปี ๒๔๙๖) มีพระ ๒ องค์และเณร ๑ องค์ ได้ชักชวนญาติโยมช่วยกันตัดถนนออกจากดงหนาป่าทึบแห่งนี้มายังบ้านดู่บ้านมายใช้เวลา ๓ เดือน จึงสำเร็จพอให้เกวียนและรถผ่านเข้าออกได้

    ออกพรรษาแล้วในปีนั้น ท่านพระอาจารย์จวนจึงพาท่านพระอาจารย์สอน อุตตรปัญโญ เดินทางไปยังวัดอรุณรังษี จังหวัดหนองคาย นิมนต์ท่านหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่นั่นให้มาเจริญวิเวกภาวนาที่สำนักดงหม้อทอง มีพระติดตามมาด้วยอีก ๗-๘ องค์ ผ้าขาวหรือชีปะขาว ๒ คน แม่ชี๔-๕ คน
    จึงเป็นอันว่าพรรษานี้ ปี ๒๔๙๗ ท่านพระอาจารย์จันทาก็ได้อธิษฐานเข้าพรรษาพร้อมกับคณะหลวงปู่ขาวพอดีที่ดงหม้อทอง

    วัตรปฏิบัติประจำวันคือ ฉันมื้อเดียว เสร็จแล้วต่างองค์ต่างก็แยกกันไปทำความเพียร ตามอุบายของตนที่เห็นว่าแยบคาย พอถึงบ่าย ๓ โมง ช่วยกันกวาดลานสำนัก แล้วจึงไปรวมกันสรงน้ำหลวงปู่ขาว

    จากนั้นพากันไปสรงน้ำตัวเองให้เบาสบาย แล้วจึงไปฉันน้ำร้อน และกลับไปเดินจงกรมและต่างองค์ต่างก็สวดมนต์

    ครั้นถึงตอนใกล้พลบค่ำจึงไปรวมกันที่ศาลา ใครมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติธรรมก็เรียนถามหลวงปู่ขาว

    บางวันหลวงปู่ขาวก็เทศน์ บางวันก็ไม่เทศน์ เพียงแต่สนทนาธรรม แต่ในวันพระนั้นพระเณรเถนชีต้องมาหมดเพื่อฟังธรรมของหลวงปู่ขาว
     

แชร์หน้านี้

Loading...