ชีวประวติหลวงปู่เทศน์ นิโรธรังสี บรรพชา ธรรมเทศนา รูปภาพหลวงปู่เทศก์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย newhatyai, 6 ตุลาคม 2007.

  1. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    บุญคุณของพุทธศาสนา
    เมื่อมาคิดถึงครูบาอาจารย์ และพระผู้ใหญ่แต่ปางก่อนมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ท่านนำพระศาสนาก็ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วก็มีใจกล้าหาญขึ้นมาว่า เราคนหนึ่งก็ได้นำพระศาสนามาได้โดยลำดับ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นคนแล้วยังบวชในพระพุทธศาสนา ยังได้ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ เมื่อเขาทำอัญชลีกรรมกราบไหว้หรือทำทานวัตถุต่าง ๆ ก็นึกถึงตนเสมอว่าเขากราบไหว้อะไรเขากับเราก็เช่นเดียวกัน คือ เป็นก้อนดิน น้ำ ลม ไฟ เหมือนกัน แท้จริงอย่างน้อยเขาก็เห็นแก่ผ้ากาสาวพัตร์ อันเป็นเครื่องหมายของพระอรหันต์แล้วจึงกราบไหว้ พระศาสนาอยู่ได้ด้วยความเชื่อถืออย่างนี้ถึงแม้จะไม่เห็นจริงจังด้วยใจของตน แต่เชื่อด้วยความเห็นที่สืบ ๆ กันมา
    เราคิดถึงบุญคุณของพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง แต่บวชมาก็นานแล้ว ศาสนาได้ปรนปรือตัวของเราให้เป็นคนดีตลอดเวลา ศาสนามิได้แนะนำสอนให้เราทำความชั่วแม้แต่น้อย แต่ถึงขนาดนั้นพวกเราก็ยังฝ่าฝืนคิดจะทำชั่วอยู่ร่ำไป ที่อยู่ ที่นอน เสื่อหมอน มุ้งม่าน และอาหารการกินทุกอย่างที่เราบริโภคใช้สอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแต่เป็นของพุทธศาสนาทั้งนั้น ยาแก้รักษาโรคภัยไข้เจ็บก็เป็นของผู้มีศรัทธาในพระศาสนาสละมาทำงานทั้งนั้น เราบวชมาเป็นพระครั้งแรกก็ต้องอาศัยผ้ากาสาวพัสตร์อีนเป็นเครื่องหมายของท่านผู้วิเศษที่อุปัชฌาย์อาจารย์ให้แก่เราแล้วทั้งนั้น (อุปัชฌาย์อาจารย์ก็เป็นเพียงตัวแทนพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็ล้วนแล้วแต่ยึดเอาพระรัตนไตรมาเป็นหลักเดียวกันทั้งนั้น) เมื่อได้เครื่องอันทรงวิเศษนี้แล้ว เขาก็กราบไหว้ทำบุญสุนทานจนเหลือหลาย เราไม่ตายอยู่มาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ก็เพราะศาสนา พุทธศาสนามีคุณอเนกอนันต์มหันต์เหลือที่จะพรรณนานับแก่ตัวของเราพร้อมโลกทั้งหมดด้วยกัน
    เมื่อเราได้มาอยู่ที่นี่หรือที่ไหน ๆ ก็ตาม เมื่อกำลังทางกายมีอยู่เราก็ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาไว้เป็นหลักฐาน ตามสมควรแก่อัตตภาพของตนเมื่อเราแก่แล้วเราไม่มีกำลังกายพอจะก่อสร้างได้ ญาติโยมเขามีศรัทธาบริจาคทรัพย์ เราก็เอาทรัพย์นั้นมาก่อสร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนาแทนตัวต่อไป ถ้าหากมีเหลือพอเฉลี่ยให้แก่วัดอื่น ๆ ได้เราก็เฉลี่ยไป แต่ไม่ยอมเป็นทาสของอิฐ ปูน หรือไม้ แต่ไหนแต่ไรมาเพราะเราเห็นของเหล่านั้นเป็นภายนอก ของเหล่านั้นจะสร้างให้สวยสดลดงามสักปานใดจะหมดเงินกี่ร้อยล้านก็ตาม หากตัวของเราไม่ดี พฤติกรรมเหลวไหลแล้ว ของเหล่านั้นไม่มีความหมายเลย แก่นพุทธศาสนาแท้มิใช่อยู่ที่วัตถุ แต่หากอยู่ที่ตัวผู้ประพฤติต่างหาก อันนี้เป็นหลักใจของเรา การบวชที่ได้นามว่า เนกขัมมะ เพื่อละกามทั้งหลาย ตั้งใจปฏิบัติตามสัจธรรมคำสอนของพุทธเจ้า เพื่อพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้นจึงไม่ควรที่จะนำเอาตัวของตนไปฝังไว้ในกองอิฐกองปูนโดยแท้

    บุญคุณของบิดามารด
    คนเกิดมาได้ชื่อว่าเป็นบุญคุณของกันและกัน บุตรธิดาเป็นหนี้บุญคุณของบิดามารดา บิดามารดาเป็นหนี้ใหม่ของบุตรธิดา ต่างก็คิดถึงหนี้ของกันและกันโดยที่ใคร ๆ ไม่ได้ทวงหนี้ แต่หากคิดถึงหนี้เอาเองแล้วก็ใช้หนี้ด้วยตนเองตามความสำนึกของตน ๆ บางคนก็น้อยบ้างมากบ้าง เพราะหนี้ชนิดนี้เป็นหนี้ที่ตนหลงมาทำให้เกิดขึ้นเอง ไม่มีใครบังคับและค้ำประกัน บางคนคิดถึงหนี้สินที่ตนมีแก่บิดามารดามากมายเหลือที่จะคณานับ แต่เกิดจนตายบิดามารดาถนอมเลี้ยงลูกด้วยความเอ็นดูทุกอย่าง เป็นต้นว่า นั่ง นอน ยืน เดิน พูดจา ต้องอาศัยบิดามารดาสั่งสอนทุกอย่าง เวลาเกิดโทสะฟาดตีด้วยไม้หรือฝ่ามือก็ยังมีความระลึกตัวอยู่ว่า นี่ลูกนะ ๆ บางทีตีไม่ลงก็ยังมี มันเป็นสัญชาติญาณของสัตว์ผู้เกิดมา บิดามารดาย่อมมีความรักบุตร แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ยังมีความรักลูกโดยไม่ทราบความรักนั้นว่า รักเพื่ออะไร และหวังประโยชน์อะไรจะช่วยเหลืออะไรแก่ตนบ้าง ลูก ๆ ก็ทำนองเดียวกันนี้ แต่สัตว์มันยังรู้หายเป็นรักกันชั่วประเดี๋ยวประด๋าว รักกันแต่ยังเล็ก ๆ เมื่อเติบโตแล้วก็ลืมกันหมดมนุษย์นี้รักกันไม่รู้จักหาย ถึงตายแล้วก็ยังรักกันอยู่อีก ตายแล้วมันคืนมาได้อย่างไร มนุษย์คนใดไม่รู้จักบุญคุณบิดามารดา แลไม่สนองตอบแทนบุญคุณของท่าน มนุษย์ผู้นั้นได้ชื่อว่าเลวร้ายกว่าสัตว์เดรัจฉานเสียอีก
    เราบวชแต่ยังเล็กไม่ได้หาเลี้ยงบิดามารดาเหมือนกับคนธรรมดา แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านด้วยเพศสมณ ตอนนี้เราคุยโม้อวดโตได้เลยว่า เราเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย ได้บวชแต่เล็กมิได้เลี้ยงบิดามารดาเหมือนคนธรรมดาสามัญทั่วไป แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านทั้งสองด้วยทัศนะสมณะเพศอันเป็นที่ชอบใจของท่านเป็นอย่างยิ่ง ระลึกถึงอยู่เสมอว่า ลูกของเราได้บวชแล้ว ๆ ถึงอยู่ใกล้หรือไกลตั้งพันกิโลเมตรก็มีความดีใจอยู่อย่างนั้น แล้วก็สมประสงค์อีกด้วย ตอนท่านทั้งสองแก่เฒ่าลงเราก็ได้กลับมาสอนท่านให้เพิ่มศรัทธาบารมีขึ้นอีกจนบวชเป็นชีปะขาวทั้งสองคน (แท้จริงท่านก็มีศรัทธาอยู่แล้ว เรามาสอนเพิ่มเติมเข้ากระทั่งมีศรัทธาแก่กล้าจนได้บวชเป็นชีปะขาว) และภาวนาเดความอัศจรรย์หลายอย่าง ทำให้ศรัทธามั่นคงขึ้นไปอีก เราสอนไปในทางสุคติ ท่านทั้งสองก็ตั้งใจฟังโดยดีเหมือนอาจารย์กับศิษย์จริง ๆ เต็มใจรับโอวาททุกอย่าง ท่านไม่ถือว่าลูกสอนพ่อแม่ บิดาบวชเป็นชีปะขาวอยู่ได้ ๑๗ ปี จึงถึงแก่กรรม อายุได้ ๘๒ ปี มารดาเสียทีหลังบิดา ตอนจะตายเราก็ได้แนะนำสั่งสอนจนสุดความสามารถ เราได้ชื่อว่าได้ใช้หนี้บุญคุณของบิดามารดาสำเร็จแล้ว หนี้อื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว ท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เราก็ได้ทำฌาปนกิจศพให้สมเกียติของท่าน และตามวิสัยของเราผู้เป็นสมณะอีกด้วย
    ดีเหมือนกันที่เราบวชอยู่ในพุทธศาสนาและอยู่ได้นานถึงปานนี้ ได้เห็นความเปลี่ยนของสังขารร่างกายพร้อมทั้งโลกภายนอกด้วย ได้เห็นอะไรหลายอย่างทั้งดีและชั่วเพิ่มปัญญาความรู้ของเราขึ้นมาอีกแยะ นับว่าไม่เสียทีที่เกิดมาร่วมโลกกะเขา คิดว่าเราเป็นหนี้บุญคุณของโลก เราเอา ดิน น้ำ ไฟ ลม ของเขามาปั้นเป็นรูปเป็นกายแล้วเราจึงได้มาครองอยู่ มาบริโภคใช้สอยของที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งนั้นของเราแท้ ๆ ไม่มีอะไรเลย ตายแล้วก็สละปล่อยทิ้งไว้ในโลกทั้งนั้น บางคนไม่คิดถึงเรื่องเหล่านี้จึงหลงเข้าไปยึดถือเอาจนเหนียวแน่นว่าอะไร ๆ ก็ของกู ๆ ไปหมด ผัวเมีย ลูกหลาน ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของกูทั้งนั้น แม้ที่สุดของเหล่านั้นที่มันหายศูนย์ไปแล้วหรือมันแตกสลายไป ก็ยังไปยึดว่าของกูอยู่ร่ำไป

    กิจที่ไม่ควรกระทำ และกรรมก็ไม่ควรก่อสร้าง

    แต่เกิดมาแล้วก็จำยอมทำ เพราะคนผู้เกิดมาได้อัตตภาพอันนี้ อันได้นามชื่อว่า สังขาร จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นธรรมดาไม่มีใครสักคนเดียวที่อยากเป็นเช่นนั้น จะแก่หง่อมเฒ่าชราจนกระทั่งไปไหนไม่ได้แล้วก็ตามก็ยังไม่อยากตาย อยากอยู่เห็นหน้าลูกหลานต่อไป เมื่อตายลงคนที่อยู่ข้างหลังแม้แต่ลูกหลานก็ไม่ยอมเก็บศพไว้ที่บ้าน อย่างนานก็ไม่เกิน ๑๕ วัน โดยส่วนมากแล้วจะต้องเอาไปเผาทิ้ง นั่นได้ชื่อว่า กิจไม่ควรทำ เพราะคนที่เราเคารพนับถือแท้ ๆ แต่เอาไปเผาทิ้ง จึงเป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่ก็จำเป็นต้องกระทำ และไม่มีใครจะเอาผีไว้ในบ้านให้เฝ้าเรือน
    การที่ไม่ควรก่อสร้างนั้น เมื่อตายแล้วจะเป็นใครก็ตาม เป็นบิดา มารดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว หรือญาติคนอื่น ๆ เช่น ครูบาอาจารย์ที่เรารพนับถืออย่างไรก็ตาม เมื่อตายแล้วจะต้องมีการทำฌาปนกิจศพ การทำศพนี้จะต้องใช้คนและสิ่งของมาก ไม่เหมือนเมื่อเกิด เกิดนั้นมีสองคน ตายายเท่านั้นก็สำเร็จได้ นี่จะต้องเลี้ยงแขก เลี้ยงคน เลี้ยงพระ เลี้ยงสงฆ์ หรือหาของมาถวายพระอีกด้วย นับว่าเป็นภาระแก่ผู้ยังอยู่ที่มีฐานะค่อนข้างฝืดเคืองมิใช่น้อย เมื่อไม่มีก็ต้องไปยืมพี่ยืมน้องเป็นหนี้สินสืบไป การเป็นหนี้เช่นนี้ไม่มีรายได้อะไรเลย มีแต่จะขาดทุน เว้นแต่ผู้ใจบุญจริง ๆ เอาบุญนี้มาเป็นกำไร แต่ถึงอย่างไรก็ได้ชื่อว่า เป็นของไม่ควรกระทำ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาเฉพาะหน้าขิงผู้ที่มีชีวิตอยู่ก็จำเป็นต้องทำ


     
  2. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    บทสรุป
    นับแต่อุปสมบทมาเป็นเวลา ๕๗ พรรษา เราได้บำเพ็ญแต่กรณียกิจสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและเพื่อคนอื่นตลอดมา คือได้ออกเที่ยวธุดงค์ตั้งแต่ได้อุปสมบทพรรษาแรกได้ติดตามครูบาอาจารย์ประกอบกิจวัตร และตั้งใจฝึกหัดตามคำสอนของท่านโดยลำดับไม่มีกิจธุระอย่างอื่นที่ต้องทำ จึงได้มีโอกาสบำเพ็ญเพียรภาวนาดีมาก พอพรรษาต่อมาได้แยกตัวออกไปต้องรับภาระมาก มีหมู่เพื่อนคอยติดตามอยู่เสมอ และจะต้องเป็นภาระในการอบรมสั่งสอนญาติโยมเป็นประจำ เพราะสมัยนั้นพระกัมมัฏฐานมีจำนวนน้อย พอเห็นองค์ใดมีลูกศิษย์ติดตามมากหน่อย เขาก็ถือว่าเป็นอาจารย์ แล้วก็แห่กันไปหาองค์นั้น ถึงอย่างนั้นก็ดีเรามิได้ท้อแท้ใจในการทำความเพียร ดูเหมือนเป็นเครื่องเตือนสติของเราให้ทำความเพียรกล้าแข็งขึ้นไปเสียอีก ตกลงประโยชน์ของเราก็ได้ คนอื่นก็ไม่เสีย
    การทำประโยชน์ให้แก่คนอื่นอันเป็นประโยชน์ได้ที่แท้จริงนั้น จะต้องทำประโยชน์ของตนให้ได้เสียก่อน แล้วนำเอาประโยชน์ของตนให้ได้เสียก่อน แล้วนำเอาประโยชน์นั้นออกแจกให้แก่คนอื่น หากคนอื่นเขาไม่รับของเราก็ไม่เสียหายไปไหน อันนี้เป็นกรณียกิจที่แท้จริงของเรา นับแต่เราได้บวชมาในพุทธศาสนาได้กระทำมามิได้ ขาดตลอดเวลา
    การเกิดจะต้องลำดับในบิดามารดาเดียวกัน ใครเกิดก่อนก็เรียกว่าพี่ เกิดทีหลังก็เรียกว่าน้อง แต่การตายไม่อย่างนั้น ใครจะตายก่อนตายหลังก็แล้วแต่กรรม บุญกรรมของใครของมัน บางทีน้องตายก่อนพี่ก็ที ตายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเกิดเป็นพี่น้องกันอีก ก็แล้วแต่บุญกรรมจะส่งให้ไปเกิดในที่ใดเหมือนกัน บางคนทำชั่วอาจเกิดเป็นเปรตอสูรกาย หรือตกนรกหมกไหม้อยู่ในอเวจีก็มี บางคนทำดีจิตใจผ่องใสบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกองทุกข์ถึงพระนิพพานก็มีเอาแน่ไม่ได้ ดังโยมบิดามารดาของเราผู้ถึงแกกรรมไปแล้ว ท่านทั้งสองนั้น เราคิดว่า ไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณของท่านอีกแล้ว ใช้หนี้กันหมดเสียที เพราเราเป็นลูกผู้ชายคนสุดท้องของท่าน ได้ทำกิจอันสมควรแก่สมณะให้แก่ท่านทั้งสองทุกอย่าง ไม่มีการบกพร่องแต่ประการใด ถึงแม้ท่านทั้งสองก็คงคิดเช่นนั้นเหมือนกัน คงไม่คิดจะทวงเอาหนี้สินจากเราอีกแล้ว เพราะสมเจตนาของท่านแล้วทุกประการ
    อาจารย์คำดี พี่ชายคนหัวปีนั้นเรารักยิ่งกว่าลูกสุดสวาทน่าเสียดายมาถึงแก่กรรมเมื่อเราไม่อยู่ ไปจำพรรษาที่จังหวัดจันทบุรี ไม่ได้ทำศพสนองบุญคุณให้สมกับความรักของท่าน นอกจากนั้นพี่ ๆ ทุกคนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เราก็ได้อบรมสั่งสอนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมตามสมควรแก่นิสสัยวาสนาของตน ๆ เมื่อตายก็ได้เป็นที่พึ่งทางใจอย่างดี ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วได้ปฏิบัติตามสติกำลังของตน
    นางอาน พี่สาวคนที่สอง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ อายุได้ ๘๘ ปี
    นางแนน เชียงทอง พี่สาวคนที่สาม ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ อายุได้ ๙๐ ปี
    นายเปลี่ยน พี่ชายคนที่สี่ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุได้ ๘๐ ปี
    นางนวล พี่สาวคนที่ห้า ถึงแก่กรรมเมือ พ.ศ. ๒๕๑๖ อายุได้ ๗๙ ปี
    พระเกต ที่ชายคนที่หก ถึงแกกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ อายุได้ ๔๘ ปี พรรษา ๑๔
    ทั้งหมดเราได้ทำฌาปนกิจให้สมเจตนารมณ์ของผู้ตายแล้วทุกประการยังเหลือเรากับน้องอีกคนหนึ่ง แล้วคราวนี้ใครเล่าจะทำศพให้แก่เรา เราขอตอบไว้ก่อนว่า ผู้ที่ยังถือว่าของกู ๆ นั่นแหละจะทำให้


    อัตตโนประวัติแต่เริ่มมาจนอายุหกรอบครึ่งก็เห็นจะจบลงเพียงแค่นี้


    ต่อมา เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ท่านอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้ย้ายที่จำพรรษาจากวัดหินหมากเป้งมาจำพรรษาที่วัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ระหว่างที่ท่านอาจารย์เทสก์จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำขามนี้ ท่านได้มีอาการอาพาธบ่อยครั้ง จนมามรณภาพอย่างสงบ เมื่อเวลาประมาณ ๒๑.๔๕ น. ของวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ ที่วัดถ้ำขามนี้ ยังความโศกเศร้าอาลัยให้แก่สานุศิษย์ของท่านท่กระจายกันพำนักอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศเป็นอย่างยิ่ง
    พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หรือที่ประชาชนเข้าใจกันทั่วไป เรียกจนติดปากว่า หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีปฏิปทาแตกต่างจากพระกัมมัฏฐานสาย พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไป อีกแบบหนึ่งเนื่องจากท่านได้สนองงานพระศาสนาทั้งฝ่ายบริหาร ทั้งฝ่ายปฏิบัติ นับว่าจะได้ทำหน้าที่ศาสนาทายาทที่สมบูรณ์ดียิ่ง น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีผลงานด้านการเขียนหนังสือธรรมะภาคปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ และจากการภาวนาของท่านเองมากหมายหลายเรื่องรวมไปถึงการสนทนาธรรม-ถามตอบปัญหาภาคปฏิบัติทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสสนใจใคร่ที่จะศึกษาและปฏิบัติตาม สามารถจึงค้นคว้าให้เกิดประโยชน์ตามที่ประสงค์ได้ไม่ยากเลย จึงเป็นมรดกทางธรรมชิ้นสำคัญที่หลวงปู่ได้ฝากไว้ให้ผู้ใฝ่ธรรม เป็นเสมือนครูอาจารย์ผู้บอกแนะแนวทางปฏิบัติไว้ให้อย่างถูกต้อง แต่มิได้หมายความว่า หลวงปู่เป็นเจ้าของแห่งธรรมะ ธรรมะที่ท่านได้แสดงไว้ล้วนมาแต่พระบรมครู คือพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงต่างหาก ซึ่งพระองค์เป็น ธมฺมสามิ คือ เจ้าของแห่งพระธรรม ถึงหากพระธรรมจะมีปรากฏอยู่โดยธรรมชาติ เมื่อพระองค์ทรงค้นพบและรู้แจ้งแทงตลอดสัจธรรมทั้งหลายก่อนผู้ใดในโลก พระองค์จึงเป็นเจ้าของแห่งพระธรรมด้วยประการฉะนี้
    ส่วนมรดกทางด้านวัตถุธรรม ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างมหาศาลหลวงปู่ได้ ฝากเอาไว้เป็นจำนวนมาก จะเห็นได้ในตอนท้ายประวัตินี้แล้ว จึงกล่าวได้อย่างภาคภูมิใจที่สุดว่าพระสงฆ์ทรงคุณค่า ทั้งด้านปฏิบัติทั้งด้านการช่วยเหลือสังคม เป็นเนื้อนาบุญที่อุดมสมบูรณ์หาข้อบกพร่อง ผิดพลาดไม่มีเลยนั้น ไม่มีพระสงฆ์รูปใดยิ่งไปกว่า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แน่นอน
    ศพหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๙ ปรากฏว่า พระสงฆ์หลายพันรูป ประชาชนเป็นแสน ๆ คน ต่างไปร่วมชุมนุมสักการะศพมากเป็นประวัติการณ์ ก่อให้เกิดบันดาลสิ่งมหัศจรรย์หลายประการทุกฝ่ายอนุโมทนาสาธุการชื่นชมในบารมีอย่างสุดซึ้ง
     
  3. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    อนุสรณ์สถานของท่านอาจารย์เทสก์ เทสรังสี (ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว)
    จังหวัดหนองคาย
    อำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    วัดหินหมากเป้ง

    - อุโบสถ
    - มณฑป
    - ศาลาเทสรังสี
    - ภาพจิตรกรรม ฝาผนัง
    - ศาลาจงกรม
    - ลานมณฑป
    - ศาลาเล็กข้างศาลาเทสรังสี
    - หอกลาง
    - กุฏิเสนาสนะ
    - กำแพงวัดทิศใต้และทิศตะวันตก
    - หอสมุด
    - หอพระหุ่นขี้ผึ้ง
    - หอระฆัง
    - ตำหนักรับรองสมเด็จพระสังฆราช
    - วิหารหอพระ
    - อาคารรับรองพระเถระ ๑
    - อาคารรับรองพระเถระ ๒
    - อาคารรับรองพระเถระ ๓
    - อาคารรับรองพระเถระ ๔
    - อาคารรับรองพระเถระ ๕
    - อาคารรับรองฆราวาสชาย
    - ระบบประปาพร้อมโรงกรองและถังจ่าย
    - เมรุและศาลาพักศพ
    - ศาลากลางน้ำ
    - พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร
    - ห้องน้ำหญิง หน้าโรงครัว
    - ศาลาแม่ชี
    - กุฏิแม่ชี
    - กุฏิคุณแม่น้อย
    - กุฏิรับรองอุบาสิกา

    บ้านโคกซวก

    - สะพานข้ามห้วยซวก


    บ้านไทยเจริญ

    - ศาลาอเนกประสงค์เทสรังสี

    โรงเรียน (.พระพุทธบาท)
    - ศาลาพระพุทธบาท
    - พระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น


    วัดลุมพินี

    - ศาลาการเปรียญและซื้อที่ดิน


    วัดวังน้ำมอก

    - ศาลาราชนิโรธรังสีอนุสรณ์ ๓๓

    วัดถ้ำฮ้าน (.ด้านศรีสุข)
    - ต่อเติมศาลา
    โรงเรียน (.โพธิ์ตาก)
    - โรงเรียนบ้านโพธิ์ตาก

    โรงเรียนโพธิรุกขาราม (. โพธิ์ตาก)
    - สมทบทุนสร้างศาลา

    วัดป่าสามัคคีธรรมาวาส (. โพนทอง)
    - ซ่อมแซมศาลา

    วัดโพธิ์ศรีวนาราม (. หนองปลาปาก)
    - สมทบทุนอุโบสถ


    ห้องสมุดศรีเชียงใหม่

    - ห้องสมุดประชาชน


    อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษาศรีเชียงใหม่

    - อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษา

    อำเภอท่าบ่อ จ. หนองคาย
    วัดอรัญญวาสี
    - อุโบสถ
    - ภาพเขียนครูบาอาจารย์ ๑๔ รูป
    - ศาลา
    - หอนาฬิกา
    - วิหารประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่
    - กุฏิเทสก์รังสี (กุฏิเจ้าอาวาส)
    - กุฏิเรือนแถว ๒ ชั้น
    - บ้านพักอุบาสิกา ๒ หลัง
    - ห้องสุขา ๒๒ ห้อง
    - ถังน้ำประปา
    - กำแพงรอบวัดและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัด
     
  4. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

    - ตึกสงฆ์อาพาธ
    - บริจาคที่ดิน ๓ ไร่ ๕ ตารางวา
    - บริจาคเครื่องมือแพทย์ ๕ รายการ


    อำเภอท่าบ่อ

    - สมทบทุนสร้างที่ว่าการอำเภอ


    วัดป่าจันทราราม

    - สมทบทุนสร้างศาลา


    อำเภอสังคม จ. หนองคาย

    โรงพยาบาลสังคม
    - หอพระพุทธมงคลสารประภากรมุนี
    - บริจาคเงินปรับปรุงพัฒนา
    - บริจาคซื้อที่ดิน

    อำเภอเมือง จ. หนองคาย

    วัดศรีเมือง
    - สมทบทุนสร้างสร้างอุโบสถ


    โรงพยาบาลหนองคาย

    - บริจาคเครื่องมือแพทย์

    อำเภอโพนพิสัย จ. หนองคาย

    วัดโพธิการาม

    - วิหารปู่เทสก์ เทสรังสี

    อำเภอบึงกาฬ จ. หนองคาย

    - สมทบทุนตึกสงฆ์เทิดพระเกียรติ ๖๐ พรรษา

    จังหวัดอุดรธานี

    อำเภอบ้านผือ จ. อุดรธานี
    วัดป่านาสีดา
    - อุโบสถ
    - เมรุเผาศพ

    วัดป่ากุดงิ้ว (บ้านผักบุ้ง)
    - ศาลาการเปรียญ

    วัดศรีราษฎร์บำรุง (บ้านผักบุ้ง)
    - อุโบสถ


    วัดป่านิโรธรังสีฯ

    - บ้านพักรับรองอุบาสิกา


    บ้านกลางใหญ่

    - เมรุเผาศพ


    ถ้ำพระนาผักหอก

    - ศาลาบำเพ็ญบุญ (แท้งค์น้ำด้านล่าง)
    - ศาลาการเปรียญ
    - บ้านพักอุบาสิกา พร้อมทั้งสร้างทางลูกรังเข้าวัดระยะทาง ๖.๕ กิโลเมตรด้วย


    โรงเรียน

    - ซุ้มประตู
    - หอสมุด
    - หอพระ
    - ถังน้ำสูง
    - โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ (อาคาร ๑)
    - โรงอาหาร
    - โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ (อาคาร ๒)


    วัดป่าสาระวารี

    - บริจาคสร้างสะพานไปอุโบสถ


    วัดพระพุทธบาทบัวบก

    - ศาลานิโรธรังสีอนุสรณ์

    อำเภอเมือง จ. อุดรธานี

    วัดโพธิสมภรณ์
    - อาคารรับรองพระเถระอนุสรณ์
    - ศาลาบำเพ็ญกุศล (ศาลา ๓ พระอาจารย์)


    โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร

    - อาคารจริยศึกษา

    จังหวัดขอนแก่น

    โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    - หอสงฆ์อาพาธ

    จังหวัดกาฬสินธุ์

    วัดประชานิยม (. เมือง)
    - ศาลาวิหารเทสรังสี

    จังหวัดอำนาจเจริญ

    วัดป่าสำราญนิเวศ
    - สมทบทุนสร้างพระตำหนักสมเด็จ (อาศรมอบรมจิต)

    จังหวัดอุบลราชธานี

    วัดสุทัศนาราม
    - กุฏิ
     
  5. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ธรรมเทศนาของพระอาจารย์นิโรธรังสี
    ธรรมที่ควรปฏิบัติ
    แสดง ณ วัดเจริญสมณกิจ ภูเก็ต
    วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.. ๒๕๐๖ ตอนเช้า

    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธมฺโม สุจิณฺโน สุขมาวหาติ
    ณ บัดนี้ จะได้แสดงธรรมิกถา พรรณนาศาสนาคำสั่งสอนของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เพิ่มพูนบุญราศีแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ได้พากันมาประชุมในสวนสถานที่นี้ เพราะวันนี้เป็นวันวันธรรมะสวนะต่างก็พากันตั่งจิตคิดว่าจะทำบุญกุศล น้อมกาย วาจา ใจ ของตนเข้ามาสู่สวนสถานที่นี้แล้ว ได้บริจาคทำบุญเป็นเบื้องต้น ต่อมาก็ได้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ตามกำลังศรัทธาของตน ๆ ต่อไปนี้จึงตั้งใจฟังธรรมิกถาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นเครื่องอบรมบ่มอินทรีย์ เพิ่มพูนบุญบารมีของตนให้แก้กล้าขึ้นโดยลำดับ
    แท้จริงธรรมะเป็นเครื่องอบรมบ่มอินทรีย์ได้เป็นดีที่สุด ธรรมะเป็นเครื่องชำระจิตใจทำให้ผ่องใสสะอาด ธรรมะคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำตนของเราผู้ประพฤติตามให้เป็นคนดีขึ้นโดยลำดับ เพราะฉะนั้น เป็นการจำเป็นที่สุดที่เราจะต้องฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ถ้าหากไม่มีธรรมเป็นเครื่องแทรกซึมเซาเข้ากับจิตกับใจ จิตใจของเรามันจะหันเหไปทางอื่น คือ ไปทางโลกเสียส่วนมาก เพราะคนเกิดขึ้นมาในโลก จิตก็ต้องไปกับโลก ความคิดความเป็นอยู่ด้วยประการต่าง ๆ มันหันเหไปทางโลกมากทราบดีอยู่แล้วว่า โลกเป็นทางหมุนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด โลกเป็นบ่อเกิดของเครื่องเดือดร้อน โลกเป็นทางนำมาซึ่งความฉิบหาย ไม่มีทางที่สิ้นที่สุด มนุษย์ชาวโลกทั้งหลายที่เกิดมาในโลก จิตติดอยู่กับโลก หมุนเวียนขึ้นอยู่กับโลก เสื่อมสูญอยู่ไปกับโลกอย่างนี้ตลอดกัปตลอดกัลป์แต่ไหนแต่ไรมา หากเราไม่รู้สึกนึกถึงตัวเสียเลยและไม่รู้จักโทษของมันเสียเลย เราก็จะพากันจมอยู่ในเรื่องเครื่องหมุนเหล่านั้นหรือกองทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น
    เพราะฉะนั้น จงพากันหันมาสนใจพระธรรมเทศนาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นเครื่องอบรมบ่มอินทรีย์ดังอธิบายมาแล้ว ธรรมะซึ่งจะอธิบายในวันนี้มี ๒ กระทง อย่างที่ยกขึ้นเป็นอุเทศ คาถาว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธมฺโม สุจิณฺโน สุขมาวหาติ. แปลเนื้อความโดยย่นย่อง่าย ๆ ว่า บุคคลผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมตามรักษา และธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำให้เกิดความสุข นี้ความโดยย่นย่อในพระคาถานั้น พึงจำอุเทศคาถาเบื้องต้นโดยย่อ ๆ เท่านี้เสียก่อน
    ต่อไปนี้จะได้อธิบายคำว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมรักษา จะแยกข้อความนี้ออกให้เห็นชัดว่า การประพฤติธรรม ๑ ธรรมย่อมตามรักษาผู้นั้นด้วยเหตุใด ๑
    ธรรม ในที่นี้หมายถึงสุจริตธรรม ไม่ใช่หมายเอาทุจริตธรรม แท้จรองมี ๓ ประการ คือ สุจริตธรรม หรือเรียก กุศลธรรม ทุจริตธรรม หรือเรียก อกุศลธรรม และ อัพยากตธรรม หรือเรียก ธรรมเป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว
    ที่จะอธิบายในวันนี้ว่าถึงเรื่อง กุศลธรรม คือ สุจริตธรรม ซึ่งเป็นเครื่องรักษาบุคคลผู้ประพฤติดีให้ดีได้ ธรรมนั้น หากจะว่าโดยทั่วไปแล้วเป็นของกว้างขวางมากสภาวะที่ทรงไว้ซึ่งคุณงามความดี มีอยู่ในโลกนี้คลอดเวลา เรียกว่า ธรรม พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม บุคคลจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ตาม แต่ธรรมมีอยู่เช่นนั้น
    คิดดูเหมือนกันกับว่าไฟเป็นของมีอยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา ไฟเป็นของร้อน เด็กหรือผู้ใหญ่ใครรู้หรือไม่ก็ตาม ไปถูกต้องเข้าจำเป็นจะต้องร้อนหรือไหม้ได้ไม่เลือกหน้า บุญและบาปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใครทำลงไปแล้วต้องได้รับผลตอบแทนตามกำลังแห่งการกระทำของตน ๆ ทำดีได้รับผลความดี เป็นความสุข ทำชั่วได้รับผลความชั่ว เป็นความทุกข์ ไม่ได้เลือกว่ากลางวันกลางคืน หรือว่าคนชั้นใดวรรณะใด คนประเภทไหน ทำลงไปต้องได้รับผลเช่นเดียวกันทั้งหมด
    คำว่า ธรรม ในที่นี้หมายถึงเรื่องของมีอยู่ เป็นอยู่ นี่แหละธรรม ที่จะอธิบายในวันนี้เรียกว่ากุศลธรรม ซึ่งถือเอาความหมายคำว่า ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม ธรรมย่อมตามรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติ กุศลธรรมคือความดี หมายถึง เรื่องความดีโดยเฉพาะ
    คำว่า ดี ในที่นี้ก็กินความกว้างอยู่เหมือนกัน แต่จะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ความดีนั้น ถ้าหากว่าทำลงไปแล้วทำตนของตนให้ได้รับความสุขความสบาย ทั้งแก่คนอื่นก็ได้รับความสุขความสบาย ไม่เป็นเรื่องเบียดเบียนตนและคนอื่น ไม่ทำความเดือดร้อนให้แก่ตนและคนอื่น อันนี้เรียกว่า ความดีหรือ กุศลธรรม การประพฤติสุจริตธรรม
    ชักตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆอย่างเช่นพระพุทธเจ้าทรงเทศนาฆราวาสธรรมเรียกว่า สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ
    ๑. ทาน การให้ การเสียสละ
    ๒. ปิยวาจา วาจาอ่อนหวาน
    ๓. อัตถจริยา ทำประโยชน์ให้แก่กันและกัน
    ๔. สมานัตตตา คือการทำตนให้เป็นสม่ำเสมอ
    นี่แหละธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านแสดงว่าเป็นธรรมสุจริต เราจะเห็นได้ว่าสุจริตธรรมมีความหมายว่าไม่ทำตนและตนอื่นให้เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่นไม่ทำทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ตนและคนอื่น
    ทาน การให้ การสละ ลองคิดดู ธรรมดาการให้ ใครจะดีรับความเดือดร้อน ตนไม่มีจะให้ทานได้ที่ไหน ตนต้องมีเสียก่อน ตนมีแล้วต้องเหลือกินเหลือใช้จึงค่อยให้ทาน ถ้าไม่เหลือกินเหลือให้ก็ให้ทานไม่ได้ มันจะเดือดร้อนตรงไหน สำหรับผู้ให้ทานไปแล้วมีแต่ปลื้มปีติอิ่มใจในความดีของตนเสมอ ผู้ที่รับทานเล่าจะเดือดร้อนตรงไหน เขาได้แล้วก็จะมีแต่ความพออกพอใจปลื้มปีติแสดงความยินดีอย่างยิ่งในการที่เขาได้รับสงเคราะห์จากผู้ให้ นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับทานจะแสดงความเคารพนับถือผูกสัมพันธ์กับผู้ให้อย่างไม่มีวันลืม สมกับพุทธพจน์ว่า ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ นี่ข้อทีแรก ที่เรียกว่า ธรรม คือทำให้เกิดเป็นความสุจริตไม่ใช่ทุจริต
    ปิยวาจา คือ วาจาที่อ่อนหวานนิ่มนวล ชวนให้ระลึกถึงซึ่งกันและกัน ลองคิดดู คนใดมีวาจาสัมมาคารวะก็ดี หรือมีวาจาอ่อนหวานนิ่มนวลก็ดี เขาก็จะพูดถึงอยู่เสมอ เขาจะปรารภกล่าวขวัญอยู่เสมอว่า ยายคนนั้น ตาคนนั้น แกช่างพูดดี นิ่มนวล และอ่อนหวานน่าชมน่ารัก น่าเคารพนับถือ หรือน่าสังคม เราเองก็ไม่มีความเดือดร้อน เพราะจิตไม่คิดประทุษร้ายหมายมาดในการที่จะพูดชั่ว นี่ก็แปลว่าเป็นธรรมอันหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็นสุจริตธรรม ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น
    อัตถจริยา การทำสิ่งที่ให้เกิดประโยชน์แก่กันและกัน ไม่ว่าในทางโลกและทางธรรม ย่อมเป็นความดีแก่ตนและคนอื่น จึงจัดเป็นกุศลธรรมส่วนหนึ่ง
    สมานัตตตา ยิ่งเป็นของสำคัญนัก การทำตนให้เสมอต้นเสมอปลาย อย่าให้เป็นคนโรคเส้นประสาท ตอนเช้าดี ตอนบ่ายกลับโกรธกลับร้าย ตอนบ่ายดี ตอนเช้ากลับร้ายกลับโกรธ คนแบบนี้เขาเรียกว่าโรคเส้นประสาท ใครจะพูดอะไรกระทบไม่ได้ มันจะวูบวาบออกไปทันที อันไฟกองนั้นมันคอยที่จะติดเชื้ออยู่เสมออะไรมาถูกไม่ได้ อันนั้นเรียกว่าโรคเส้นประสาท คนแบบนั้นเรียกว่าคนยังไม่เสมอต้นเสมอปลาย คบค้าสมาคมกับหมู่เพื่อน เข้าสังคมยากที่สุด เขาจะติดต่อสังคมได้ยาก เพราะเขากลัวเสียแล้ว จงทำตนให้เป็นคนสม่ำเสมอ ลองคิดดูคนที่เขาหวาดกลัวอยู่เสมอนั่นนะไม่เป็นความสุขแก่ตนและคนอื่นเลย เราเองเห็นเขาแสดงปฏิกิริยาอันน่าหวาดกลัวไม่อยากคบค้าสมาคมแล้ว เราก็ชักกระดาก ๆ เหมือนกัน ทีหลังมาถ้าหากว่าเราทำให้สม่ำเสมอ ไม่ว่าคนชั้นต่ำชั้นสูงหรือจะมีฐานะอยู่เชนไรก็ตามคบค้าสมาคม พูดจาสนทนากัน ถือว่าเป็นมนุษย์ด้วยกัน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน เกิดจากกิเลสคือราคะตัณหา มีกิเลสโลภโกรธหลงเท่ากัน เกิดขึ้นมาในที่อสุภปฏิกูลสกปรกโสโครกเหมือนกัน มาเป็นสัตว์โลกเหมือนกัน เราถือเช่นนี้แล้วสบายใจไปมาหาใคร เข้าหาใคร สังคมสมาคมกันไม่มีกระดากกระเดื่อง จิตใจของเราก็เรียบร้อย คนที่สามคมกับเราก็ไม่มีระแวงระวัง ไม่มีการเกรงอกเกรงใจ สนทนากันอย่างดีที่สุด คนนั้นจะไปตกบ้านใดเมืองใด อยู่ในสถานที่ใด ๆย่อมได้รับความอุปการะอุดหนุนค้ำจุนในสถานที่นั้น ๆ ถ้าหากทำได้อย่างนี้เรียกว่าประพฤติสุจริตธรรม วางตนให้สม่ำเสมอ การวางตนให้สม่ำเสมอนี้เป็นข้อ ๔ ในสังคหวัตถุธรรม
    นี่อธิบายเรื่องธรรมยืดยาวมาเสียแล้ว โดยเฉพาะก็คือมี ๔ ข้อ ที่เรียกว่า ทาน ก็ไม่เป็นเครื่องเบียดเบียนตนและคนอื่น ปิยวาจา คำพูดที่อ่อนหวาน อัตถจริยา การทำให้เป็นประโยชน์แก่กันและกัน สมานัตตตา ทำตนให้สม่ำเสมอทั้ง ๔ ประการนี้ไม่เป็นเครื่องเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น นี่แหละคำว่า ธรรม
    คราวนี้ใครเป็นคนรักษาธรรม จะให้ใครมารักษา จ้างคนอื่นรักษาให้ไม่ได้ไม่เหมือนวัตถุอื่น เพราะธรรมเป็นของมีอยู่ที่ตนทุกคนแล้ว ฉะนั้น ทุกคนต้องรักษาด้วยตนเองทั้งนั้น ใครรักษาในที่ใดก็มี ธรรมสิทธิ์ ในที่นั้น เหมือนกับพื้นปฐพีแผ่นดินนี่แหละ เป็นของกว้างขวางใหญ่โต มีมาตั้งแต่กัปแต่กัลป์ เป็นของมีอยู่อย่างนี้ ถ้าใครเข้าไปจับจองและปกปักรักษาทำสถานที่นั้นให้เกิดผลประโยชน์ขึ้นในสถานที่นั้นเรียกว่าที่ของตน มีกรรมสิทธิ์ปกครอง ธรรมก็เป็นสาธารณะแก่สัตว์ทั่วไปเช่นเดียวกัน คราวนี้ถ้าเราไปครอบครองธรรม คือ เรารักษาตามนัยที่อธิบายมานี้ คือ ให้เป็นของสุจริต ธรรมนั้นจะเป็นของตนขึ้นมา เราก็มีอิสระรักษาธรรมไว้ได้ เราก็เป็นเจ้าของธรรมนั้น ผลของการรักษาธรรมนั้นเกิดขึ้นก็เป็นกรรมสิทธิ์แก่ตนเอง อย่างเดียวกับผลไม้ที่เกิดจากสวนที่เราปลูกสร้างขึ้นเองจะเป็นของใคร ก็ตกลงเป็นของตนอยู่ดี ใครจะเอาไปได้ เราต้องมีกรรมสิทธิ์เต็มที่ในที่สวนซึ่งทำผลประโยชน์ให้แก่เราคือให้เราได้ร่ำได้รวย เรามีอันอยู่อันกิน การรักษาธรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือว่า เรารู้จักธรรมแล้ว เรารักษาธรรม ธรรมนั้นก็ต้องตามรักษาเรา เหมือนกันกับผลไม้ที่ให้ผลแก่เราผู้สร้างสวนเช่นนั้น นี่แหละการปฏิบัติธรรมให้ผลอย่างนี้ จึงว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี บุคคลผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมตามรักษา ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ผู้ประพฤติธรรมดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ไม่มีใครนำมาให้แต่ที่อื่นที่ไกลเลย เกิดขึ้นในที่นั้นเอง
    เมื่อเราประพฤติธรรมสุจริตแล้ว ความสุขก็ต้องเกิดขึ้นที่กาย วาจา ใจ ของตน ไม่มีการเดือดร้อน เนื้อความก็ย้ำของเก่านั่นเอง เป็นแต่ข้อแรกแสดงถึงอำนาจของธรรมสามารถรักษาผู้ประพฤติธรรมมิให้เป็นคนเลว คือรักษาธรรมที่เป็นสุจริตแล้วธรรมที่เป็นทุจริตก็เกิดขึ้นไม่ได้ คนนั้นก็เป็นคนดี ไม่ตกไปเป็นคนเลว ข้อท้ายแสดงถึงอานิสงส์ของการประพฤติธรรมที่ที่สุจริต ผลคือความสุขก็พลอยได้รับตามมาด้วย เป็นอันว่าได้รับผลของสุจริตธรรมเหมือนกันทั้ง ๒ ข้อ เพราะฉะนั้น ทุก ๆ คนจงพากันมาคิดถึงตนในด้านที่จะปฏิบัติต่อไป
    การที่เราจะรักษาธรรมนั้น เราจ้างให้คนอื่นมารักษาให้ไม่ได้ และเราไม่ต้องใช้เครื่องมืออื่นไกล ไม่ต้องไปหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพราะเครื่องมือวิทยาศาสตร์เดิมของเรามีอยู่แล้ว นักวิทยาศาสตร์คู่แรกคือ บิดามารดาของเราผลิตไว้ให้ครบครันแล้ว เครื่องมือเหล่านั้นมี ๓ อย่างเท่านั้น ไม่มากมายเลย คือ กาย วาจา และใจ นำมาใช้ในการที่เราจะปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดีขึ้นมา การที่ว่ารักษาก็คือ การปฏิบัติตามโอวาทคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า การรักษา หรือ การปฏิบัติธรรม การปฏิบัติไม่ได้เอาอื่นไกล เอากายของเรานี่
    เช่นการทำสังคหวัตถุในการทำ ทาน ดังได้อธิบายมาแล้ว มิใช่เอาที่อื่นทำ เอาของเรานี่แหละ ทำด้วยไม้ด้วยมือของเรานี่แหละ มีสิ่งใดยกยื่นส่งให้ แจกจ่ายให้เป็นทาน ก็ที่ตัวของเรานี่เอง ไม่ได้ไปหามาจากอื่น
    ปิยวาจา การพูดจาอ่อนหวาน ก็ไม่ได้ยืมคำพูดใครมา ถึงสมัยใหม่เขาใช้ไมโครโฟน มันก็ออกไปจากปากคนดี ๆ นี่แหละ แต่ว่าเพิ่มเสียงให้ดังขึ้นหน่อยเท่านั้น เราเอาปากของเรานี่แหละพูดไพเราะอ่อนหวาน หรือจะพูดชั่วก็ต้องปากนี่แหละพูด จึงว่ามีครบแล้วเครื่องที่เราจะต้องทำ ที่เราจะต้องรักษา ที่เราจะต้องปฏิบัติธรรม
    อัตถจริยา การทำประโยชน์แก่กัน ไม่ว่าจะโดยทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ก็ดี ก็ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ของเดิมเราทั้งนั้น
    สมานัตตตา คือการปฏิบัติตนให้สม่ำเสมอ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อในบังคับกาย วาจา ได้แล้ว มันก็สม่ำเสมอ แสดงว่ามาจากใจที่ฝึกฝนอบรมทรมานดีแล้วนั่นเป็นผู้บัญชากาย วาจา ให้ทำ ให้พูด เมื่อเราฝึกฝนหรือทรมานได้แล้ว มันก็สม่ำเสมอทั่วไป นี่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างนี้
    เมื่อสรุปรวมใจความแล้ว ให้คิดดูดังอธิบายมานี้ ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นของน่าพิจารณาและน่าปฏิบัติหรือไม่ ถ้าเราปฏิบัติได้แล้วเราจะดีเพียงใด ดีกว่าเราจะพากันนิ่งนอนใจ ให้มันเป็นไปตามยถากรรม คนเราหากไม่มีการทำอะไรเสียเลย ผลอะไรก็ไม่เกิดขึ้น แต่ทุกคนที่จะไม่ทำอะไรเสียเลยไม่มี เมื่อเกิดขึ้นมาในโลกแล้วต้องทำ ไม่ดีก็ต้องชั่ว ไม่บาปก็ต้องบุญ หากว่าเราไม่มีธรรมและไม่เข้าใจในธรรม โดยนัยดังอธิบายมานี้ เมื่อเราไม่ปฏิบัติธรรม ใจของเราที่จะเขวไปในทางทุจริต จะทำความชั่ว เพราะฉะนั้นเราอย่าปล่อยวางเลย ไหน ๆ เครื่องไม้เครื่องมือ คือ กาย วาจา และใจของเราก็มีอยู่แล้ว ธรรมที่เราจะปฏิบัติให้ดีขึ้นก็มีอยู่ครบมูลบริบูรณ์แล้ว จงอุตสาหะ วิริยะ ตั้งหน้าพากันฝึกหัดปฏิบัติ เป็นหน้าที่ของตนทุก ๆ คน
    หากไม่ปฏิบัติปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเสียเปล่า ตายแล้วเราจะไม่ได้ปฏิบัติอีก จะไม่ได้ฝึกฝนอบรมอีก เกิดขึ้นมาทีหลังก็จะเป็นเด็ก และกว่าจะรู้ภาษาก็เป็นเวลาอีกมิใช่น้อย ตั้ง ๑๐ ปี ๒๐ ปีขึ้นไป หรือบางที ๔๐
     
  6. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ธรรมที่บุคคลปฏิบัติดีแล้ว

    แสดง ณ วัดเจริญสมณกิจ ภูเก็ต
    วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.. ๒๕๐๖ ตอนค่ำ
    เมื่อตอนเช้าได้อธิบายถึงธรรมที่ควรปฏิบัติอันจะนำผลคือความสุขสงบมาให้ ได้ยกเป็นอุเทศคาถาขึ้นว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธมฺโม สุจิณฺโน สุขมาวหาติ ผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมตามรักษา ธรรมที่ปฏิบัติดีแล้วนำสุขมาให้ ตอนเช้านี้ได้อธิบายเป็นสาธารณะทั่วไป คราวนี้จะอธิบายเฉพาะพวกเราที่เป็นนักปฏิบัติให้เข้าถึงจิตถึงใจ
    แท้จริงธรรมที่พวกเราปฏิบัติอยู่นั้น มิได้ปฏิบัตินอกเหนือออกไปจากกาย วาจา ใจ เมื่อตอนเช้าได้อธิบายว่า กาย วาจา ใจ นี้เป็นเครื่องมือสำหรับปฏิบัติธรรม ทั้งที่เป็นสุจริตและทุจริต ต้องใช้เครื่องมือกาย วาจา ใจ นี้ทั้งนั้น แต่ได้อธิบายโดยย่อ คราวนี้ การภาวนาไม่ได้ทำกิจการงานด้วยกายอย่างนั้น แต่เรานั่งภาวนาทำกายให้เป็นปกติ ไม่มีทุจริตอะไร วาจาก็เช่นเดียวกัน ปิดเลยไม่ต้องพูด แต่ทำกิจด้วยทางใจอย่างเดียว และได้อธิบายแล้วเหมือนกันว่า คำว่า ธรรม ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสภาพที่ทรงไว้ซึ่งของดีแต่อย่างเดียว เรียกว่า ธรรม และธรรมที่ว่านี้จะต้องใช้เครื่องมือ ๓ อย่างดังกล่าวมาปฏิบัติเหมือนกัน แต่มันเป็นเครื่องที่ละเอียดกว่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า สามารถดำเนินให้ถึงขั้นอริยภูมิได้ เช่น มรรค ๘
    มรรค ๘ การงานที่เราทำด้วยกายมี ๓ คือ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ เพียรชอบ ๑
    ที่ทำด้วยวาจามี ๑ คือ เจรจาชอบ
    ที่ทำด้วยใจมี ๔ คือ ความเห็นชอบ๑ ดำริชอบ๑ ตั้งสติชอบ๑ ทำใจให้ตั้งมั่นชอบ ๑
    เวลานั่งภาวนาสงบอยู่ ไม่น่าจะเรียกว่าการทำงานด้วยกาย วาจา เลย ส่วนใจนั้นสมควรแท้เพราะมีงานเต็มมือ อธิบายว่า เพราะการทำความสงบแห่งกายไม่มีการเกะกะวุ่นวายกีดขวางใคร ๆ นั่นเอง จึงเรียกว่า การงานชอบ มิใช่ไปทำการค้าขายหาอาชีพอะไรที่ไหน
    ความเป็นอยู่ก็ชอบเช่นกัน เมื่อการงานชอบแล้ว ความเป็นอยู่ก็ชอบตามกันไป คือความเป็นอยู่ไม่เปล่าเสียจากประโยชน์ และไม่ให้เกิดโทษแก่ใคร แม้แต่ลมหายใจเข้าออกก็มิได้ปล่อยให้ล่วงพ้นไปโดยมิได้พิจารณา ความเป็นอยู่ของผู้มีชีวิตอยู่ไม่ตาย แต่ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้แก่ใคร และมีสติเป็นไปกับด้วยลมหายใจอยู่อย่างนี้ จะไม่เรียกว่าเป็นอยู่โดยชอบอย่างไร
    การพยายามชอบ ประกอบแต่กิจที่ควร ละสิ่งที่ไม่ควรเสีย พยายามรักษาความดีของตนไว้ ก็มีแต่ทางจะดียิ่ง ๆ ขึ้นไป จะไม่เรียกว่าเพียรชอบอย่างไร นี่คือการงานของผู้เจริญมรรค ๘ ทางกาย
    ส่วนทางวาจานั้น พูดไม่มีเสียง แต่บ่นพึมพำอยู่ในใจด้วยตนเองคนเดียว คือ วิตก ตรึกในเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ เพราะการที่จะพูดออกมาได้ต้องวิตกเสียก่อนถ้าไม่มีวิตกก่อน พูดออกมาไม่ได้ศัพท์ได้แสงเลย เช่น คนละเมอ เป็นต้น วิตกก่อนจึงพูดออกมาได้ วาจาชนิดนี้ไม่เป็นภัยแก่สังคมเลย จึงเรียกว่า วาจาชอบ
    ส่วนการงานของใจ ใช้ความคิดความเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล อันจะเป็นประโยชน์แก่ตนและส่วนรวมที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น เห็นว่ารูปขันธ์อันนี้มีเกิดขึ้นด้วยอำนาจเหตุปัจจัย มีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมเป็นที่ตั้ง แล้วเดือดร้อนกระสับกระส่ายอยู่ด้วยทุกข์นานัปการ เมื่อเห็นรูปภัยร้ายแรงอย่างน่ากลัว จิตก็คิดอยากจะพ้นจากกองทุกข์ ด้วยการพยายามละปล่อยวางในอุปาทานขันธ์อันนั้นเสีย ตั้งสติจดจ่อพิจารณาเฉพาะสติสมโพชฌงค์ ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณญาณ เห็นสังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง จนให้เกิดวิมุติหลุดพ้น จึงเรียกว่า ความเห็นชอบ ไม่วิปริต เป็นกิจของจิตโดยเฉพาะ
    สรุปแล้วคนเราเกิดมาในโลกนี้ ใครจะทำอะไร ๆสำเร็จได้ก็ต้องใช้เครืองมือ ๓ อย่างนี้ทั้งนั้น การปฏิบัติธรรมหรือรักษาธรรมก็ต้องใช้เครื่องมือ ๓ อย่าง ดังกล่าวมา
    คราวนี้ธรรมย่อมตามรักษาผู้ประพฤติสุจริตธรรมได้อย่างไร ณธรรมมิใช่ตำรวจและลูกจ้างใครพอที่จะมาปกปักรักษา ได้อธิบายมาแล้วว่า ธรรมคือสภาพของดีของจริงหรือสภาพที่ทรงไว้ซึ่งของดีของจริง มิได้เป็นตนเป็นตัว หากจะเป็นตนเป็นตัวก็คือตัวของคนเราแต่ละคนนี่แหละ เมื่อเราประพฤติสุจริตทั้งสาม คือ กาย วาจา ใจ ดังอธิบายมาในมรรค ๘ นั้นแล้ว ใครจะมาตามรักษาเรา เมื่อเราทำสุจริตอยู่แล้วไม่ต้องให้คนอื่นมารักษา ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ที่เขารักษากัน ล้วนแล้วแต่เป็นของไม่ดีทุจริตทั้งนั้น เขาจึงต้องรักษากัน เช่น คนเป็นไข้ เป็นแผล เด็กซน ผู้ใหญ่ทุจริต เป็นนักโทษทำผิดกฎหมาย ฯลฯ และอะไรต่ออะไรอีกมากทำนองนี้ทั้งนั้น ส่วนคนดี ๆ ไม่มีแผล เด็กสุภาพเรียบร้อย ผู้ใหญ่ก็ตั้งอยู่ในสุจริต ไม่มีใครทำผิดกฎหมายบ้านเมือง ใครจะออกกฎหมาย ใครจะควบคุมใคร ทุกคนทำตนเป็นตนสุจริตอยู่แล้ว ก็เรียกว่า สุจริตนั่นเองตามรักษาคนไม่ให้ทำชั่ว (ดังได้อธิบายมาแล้วในมรรค ๘) เมื่อทำถูกต้องตามนั้นแล้ว นอกจากธรรมที่เป็นสุจริตเกิดขึ้นรักษาตัวเองแล้ว ยังเป็นมรรควิถีทางดำเนินงานให้พ้นจากทุกข์ ไม่ต้องรักษาอะไรต่อไปอีกด้วย
    ปัญหาต่อไปที่ว่า ธรรมที่บุคคลปฏิบัติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้อย่างไร ข้อนี้ก็มีผลสืบเนื่องมาจากข้อต้นเหมือนกัน คำว่านำสุขมาให้นั้น เป็นแต่โวหารสำนวนคำพูดเฉย ๆ แท้จริงความสุขนั้นมิได้มีคนใดใครคนอื่นนำมาให้ แต่หากสุขเกิดขึ้นจากการประพฤติธรรมที่เป็นสุจริตนั่นเอง การประพฤติก็ต้องใช้เครื่องมือ ๓ อย่างดังอธิบายมาแล้วในข้อก่อน เมื่อกาย วาจา ใจ ประพฤติอยู่ในสุจริต ๓ ประการ คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ และไม่หลง ผลคือความสุขไม่เดือดร้อนก็เกิดขึ้นมีขึ้นที่กาย วาจา ใจ นั่นเองเปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีผล เมื่อบุคคลปลูกลงไปในพื้นดินที่ดี ถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว ผลของมันก็จะออกมาให้เราได้รับประทานตามประสงค์ มิใช่ผลจะเอามาจากที่อื่นที่ไกล แต่เป็นผลเกิดขึ้นที่ต้นของมันเอง เพราะเราปลูกลงในที่ดินดีถูกต้องตามหลักวิชา ธรรมที่เราปฏิบัติดีแล้วก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    บางคนอาจเข้าใจผิด คิดผิดว่า เราก็ปฏิบัติธรรมเป็นสุจริตดีอยู่แล้ว แต่ไฉนไม่ได้รับความสุข โรคภัยไข้เจ็บเอย การอาชีพก็ลำบากขาดแคลน ได้อะไรก็มีแต่คนมาลักขโมยฉ้อโกงเอาไป คนบ้านใกล้เรือนเคียงหมู่เพื่อนเห็นว่าเราทุจริตคิดคดโกง นิ่งเฉยไม่ได้โต้ตอบก็ดูเหมือนจะกำเริบขึ้นทุกที ธรรมที่เราไว้นั้นเห็นจะไม่จริงกระมัง ธรรมเป็นของจริง พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วไม่มีคำสอง โรคภัยไข้เจ็บเป็นของได้มาจากความเกิด ความแก่ และความตายก็เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วว่า เรื่องเหล่านั้นเป็นทุกข์ มิใช่มิได้แสดงไว้
    ที่เราเห็นว่าเป็นทุกข์ก็ถูกแล้ว เห็นตรงตามพุทธวจนะคำสอนของพระพุทธองค์แล้วนี่ แต่เรายังเห็นไม่ตลอด เห็นเพียงผลของการกระทำทุจริตเท่านั้น เมื่อเข้าใจตลอดเข้าไปถึงมูลเหตุของทุกข์อย่างนี้แล้ว เราก็จะได้เสียจากการกระทำทุจริตต่อไป แล้วจะได้ทำแต่กรรมที่เป็นสุจริต
    ที่เราประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจนั้น ก็ถูกต้องแล้ว จะไปสงสัยอะไรความสุจริตที่เราประพฤติอยู่นั้น อย่างน้อยเราก็จะได้รับความสุขเพราะความไม่มีวิปฏสารเดือดร้อนในใจที่เรามิได้มองเห็นความชั่วของตน ดีกว่าผู้ทำความชั่วแล้วได้ลาภยศ ทุกข์ที่เราได้รับอยู่เดี๋ยวนี้เป็นผลกรรมคือความชั่วที่เราได้ทำไว้แล้วแต่อดีต เราจะหยิบยกให้ใครไม่ได้ เพราะเป็นของตนทำไว้เอง หากเข้าใจโดยนัยนี้แล้วเรายินดีพอใจกับผลกรรมที่เราได้กระทำไว้แล้ว ก็ไม่เกิดความทุกข์เดือดร้อนเหมือนกับเราได้อัตภาพเป็นหญิงเป็นชายมาแต่ละคน ใครจะมีรูปร่างลักษณะผิวพรรณเช่นไร ต่างคนก็พอใจยินดีกับความได้ของตน ๆ แล้วก็สบายใจ
    ส่วนเรื่องความทุกข์อื่น ๆ มีอาชีพฝืดเคือง และมีผู้คนเบียดเบียน เป็นต้น เหล่านั้นไม่มีปัญหา เมื่อมีการเกิดมาอยู่ในหมู่เขาเหล่านั้นแล้ว จำเป็นจะต้องเป็นไปตามเรื่องของเขา เพราะเป็นกันมาอย่างนั้นก่อนเราจะมาเกิดนี้แล้ว โลกเร่มีหนาวมีร้อนประจำอยู่แล้ว เราเกิดมาภายหลังไม่อยากถูกร้อนถูกหนาวกับเขา เราก็มีปัญญาหาเครื่องปกปิดกำบังเอาเอง ร้อนและหนาวมิใช่จะมีแต่โทษอย่างเดียวคุณก็มีมากเหมือนกัน คนเราไม่มีธาตุ ๔ ก็ตายเท่านั้นเอง ไฟใช้หุงต้มกินก็ได้ไหม้บ้านไหม้เรือนเผาคนก็ตาย ใช้ไม่เป็นใช้ไม่ถูกเรื่องก็เลยให้โทษ จะไปโทษไฟไม่ได้ต้องโทษตัวเอง
    ธรรมก็เช่นกัน เมื่อปฏิบัติไปยังไม่ทันอะไรคอยแต่จะทวงเอาผล หาได้คิดถึงตนไม่ว่าเราสาควรจะได้รับผลตอบแทนแล้วหรือยัง พอทำทานสักนิดสักหน่อยก็หวังอยากได้ลาภได้รวยเป็นเศรษฐี อยากได้ถูกหวยลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ เมื่อไม่สมปรารถนาก็หาว่าบุญไม่มี รักษาศีลเพียงวัน ๒ วัน ก็คิดจะให้ได้ความสุขไปสวรรค์นิพพาน เมื่อมีทุกข์เกิดความเดือดร้อนขึ้นก็หาว่าศีลไม่ช่วย ปฏิบัติภาวนาพอหลับตาลงก็อยากจะเห็นนางฟ้า นางสวรรค์ เมื่อไม่เห็นก็หาว่าภาวนาเป้นของไม่จริง
    สรุปแล้ว คนเราจะทำอะไรสักนิด คอยแต่จะทวงหนี้บุญคุณถ่ายเดียว ไม่คิดถึงการกระทำของตนว่าผิดถูก สมควรแก่คุณค่าหรือไม่ เมื่อไม่ได้สมหวังก็เกิดความท้อถอย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ตัณหาคือความอยาก เป็นทุกข์
    ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน พอปฏิบัติเข้าคิดอยากจะให้ธรรมมารักษา คอยให้รางวัลสุขอยู่เรื่อยไป มิได้คิดถึงการกระทำตนว่าผิดหรือถูก สมควรแก่คุณค่าที่จะได้รับหรือไม่ เมื่อไม่ได้ผลสมหวังก็เกิดความท้อถอย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ความอยากมันเป็นทุกข์ แต่เรากลับยินดีไปคว้าเอาความอยากมาเป็นความสุขเสีย มันเลยตรงกันข้ามเสียทุกอย่าง พรพะองค์ตรัสว่า ทุกข์เป็นของควรพิจารณา แต่เราเบือนหน้าหนีทุกข์เสีย ตัณหาความทะยานอยากเป็นของควรละ แต่เรากลับชอบ ฉะนั้นธรรมะตามรักษาและให้ความสุขแก่เราได้อย่างไร เพราะเหตุคือการปฏิบัติก็ไม่ตรงจุดประสงค์อยู่แล้ว ผลอันนั้นจะพึงได้ก็ยิ่งจะห่างไกลกันมาก
    ทาน มิใช่เรื่องปรารถนา แต่เป็นการสละ ที่ร่ำรวยและมีความสุขเพราะผลพลอยได้ต่างหาก
    ศีล ก็เหมือนกัน มิใช่เป็นความสุข แท้จริงคือเป็นการทรมานแก้ตัวที่ตนทำความชั่วมาแล้ว สังวรระวังเพื่อจะได้ไม่ทำชั่วอีกต้อไปอีก ที่พรรณนาว่าคุณรักษาศีลแล้วตายไปได้สุคติถึงพระนิพพานก็เป็นผลพลอยได้ต่างหาก
    ภาวนา ก็มิใช้เรื่องปรารถนา แต่มันเป็นเรื่องสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ของที่มีอยู่ เวลาภาวนาก็ทำเหมือนกับไม่มี ถ้ายังปรารถนาอยากเห็นนั่นเห็นนี่อยู่แล้วมิใช่ภาวนา เป็นพาวนพาวุ่นพาเวียนต่างหาก ที่เห็นนางฟ้าเทวดาเป็นผลพลอยได้จากการสละนั้นต่างหาก และก็มิใช่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงในการภาวนานั้นด้วย
    จุดมุ่งหมายของการภาวนาแท้คือการพิจารณาเห็นอัตภาพขันธ์อันนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีสภาวะเกิดดับอยู่อย่างนั้น จนจิตสลดสังเวช เบื่อหน่าย คลายความกำหนัดยินดีในรูปนาม ปล่อยวางอุปาทานเสียได้ด้วยอำนาจวิปัสสนา นั่นจึงจะเรียกว่า ภาวนา
    สรุปรวมแล้ว เมื่อเราประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยกาย วาจา ใจ จะเป็นทาน การเสียสละให้ก็ดี ศีล การงดเว้นจากความชั่วแล้วระวังสังวรทรมานตนเองไม่ให้ทำความชั่วอีกก็ดี ภาวนา ซึ่งเป็นการประพฤติธรรมภายในใจอันรวมเข้าในมรรค ๘ ที่ถูกต้องแล้ว ย่อมสละสิ่งทั้งหมด แม้แต่รูปนามอัตภาพของตนก็สละสิ้นก็ดี สุจริตธรรมที่เราประพฤติถูกต้องนั้นแลที่ตามรักษาเรามิให้เราละเมิดหลงลืมทำความชั่วอีกอันจะเป็นผลให้เราได้รับความทุกข์เช่นเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
    ผู้ที่สละความชั่วทุจริตเพราะเห็นเป็นโทษภัยอย่างร้ายแรง แล้วกลับมาทำความดีมีสุจริต ๓ เป็นต้น แม้ถึงจะเป็นการทรมานฝ่าฝืนจิตใจที่เคยเลวร้ายมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำให้เขาได้รับความทุกข์เดือดร้อนต่อไป เปรียบเหมือนกับผ่าหัวฝีเอาน้ำเน่าออกล้างชะให้สะอาดแล้ว ถึงแม้จะเป็นทุกข์เจ็บปวดบ้าง ต่อไปก็จะมีแต่ความสบาย
    ฉะนั้น พวกเราที่ใคร่ต่อธรรมปฏิบัติจึงควรสนใจในเรื่องนี้ให้มาก การปฏิบัติสุจริตธรรมมิใช่เป็นการลำบาก เพราะสุจริตธรรมก็มีไว้ให้พวกเราปฏิบัติอยู่แล้วเครื่องไม้เครื่องมือที่เราจะปฏิบัติก็มีครบครันบริบูรณ์ เราจะปฏิบัติหยาบละเอียดขั้นไหนก็มีสิทธิเสรีเต็มที่ ไม่ต้องเกรงใจใคร ผลอันจะพึงได้ก็รอท่าอยู่แล้วข้างหน้าโน้น
    ยังเหลืออย่างเดียวคือตัวของเราผู้จะลงมือทำการปฏิบัติกันเท่านั้น ปฏิบัติกันเมื่อไร ถ้าทำถูกต้องดังอธิบายมาแล้วย่อมได้รับผลเห็นประจักษ์ไม่เลือกกาลเวลา
    แสดงมาในธรรมิกถาก็สมควรแก่เวลา เอวํ ฯ
     
  7. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    คุณค่าของกาลเวลา

    แสดง ณ วัดเจริญสมณกิจ ภูเก็ต
    วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.. ๒๕๐๖ ตอนเช้า
    อจฺจยนฺติ อโหรตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ
    อายุ ขียติ มจฺจานํ กุนฺนทีนํว โอทกนฺติ ฯ
    วันนี้เป็นวันดิถีที่ ๑๔ ค้ำ แห่งกาฬปักษ์ ถ้าจะนับวันเข้าพรรษามาก็ได้เดือนครึ่งพอดี พุทธบริษัทผู้ตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างก็พากันรีบเร่งปฏิบัติศีลธรรมแข่งกับเวลา ตามกำลังศรัทธาของตน ๆ กาลเวลาเป็นเครื่องเตือนสติของตนของผู้ไม่ประมาทได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น วันนี้จะได้แสดงธรรมมิกถาพรรณนาถึงเรื่อง คุณค่าของกาลเวลา ต่อไป
    กาลเวลาเป็นของมิใช่จะให้ประโยชน์แก่โลกทั่วไปเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้อื่นมีปัญญาสนใจในธรรมปฏิบัติรีบเร่งฝึกหัดใจของตน ๆ ให้ทันกับเวลาอีกด้วย แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ต้องขึ้นอยู่กับกาลเวลาทั้งนั้น เช่น ดินฟ้าอากาศ ฤดู ปี เดือน ต้นไม้ ผลไม้ และธุรการงานที่สัตว์โลกทำอยู่ แม้แต่ความเกิด ความแก่ ความตาย ถึงแม้สิ่งเหล่านี้จะเป็นประอยู่ตามหน้าที่ของเขาก็ตาม แต่ต้องอยู่กับกาลเวลาไม่ปรากฏแล้ว สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้จะไม่ปรากฏเลย จะมีแต่สูญเรื่อยไปนั้น
    กาลเวลาได้ทำประโยชน์ให้แก่ชาวโลกนี้มิใช่น้อย ชาวกสิกรก็ต้องอาศัยวัสสันตฤดูปลูกพืชพันธุ์ในไร่นาของตน ๆ เมื่อฝนไม่ตกก็พากันเฝ้าบ่นว่า เมื่อไรหนอพระพิรุณจะประทานน้ำฝนมาให้ ใจละห้อย ตาก็จับจ้องดูท้องฟ้า เมื่อฝนตกลงมาให้ต่างก็พากันชื่นใจระเริงด้วยความเบิกบาน แม้ที่สุดแต่ต้นไม้ซึ่งเป็นของหาวิญญาณมิได้ก็อดที่จะแสดงความดีใจด้วยอาการสดชื่นไม่ได้ ต่างก็พากันผลิตดอกออกประชันแข่งขันกัน ชาวกสิกรตื่นดึกลุกเช้าเฝ้าแต่จะประกอบการงานของตน ๆ ตากแดดกรำฝน ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเย็นร้อนอนาทร ชาวพ่อค้าวาณิชนักธุรกิจก็คอยหาโอกาสแต่ฤดูแล้ง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและขนส่ง เมื่อแล้งแล้วต่างก็พากันจัดแจงเตรียมสินค้าไม่ว่าทางน้ำและทางบก
    ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศล ก็พากันมีจิตใจจดจ่อเฉพาะเช่นเดียวกันว่า เมื่อไรหรอจะถึงวันมาฆะ-วิสาขะ-อาสาฬหะ เวียนเทียนประทักษิณนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย เมื่อไรหรอจะถึงวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา-เทโวโรหณะตักบาตรประจำปี วันทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เนื่องด้วยกาลเวลาทั้งนั้นและเป็นวันสำคัญของชาวพุทธเสียด้วยเมื่อถึงวันเวลาเช่นนั้นเข้าแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายไม่ว่าหญิงชายน้อยใหญ่ แม้จะฐานะเช่นไร อยู่เช่นไรก็ตาม จำต้องสละหน้าที่การงานของตน เข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร อย่างน้อยวันหนึ่ง หากคนใดไม่ได้เข้าวัดทำบุญสังสรรค์กับมิตรในดังกล่าวแล้วถือว่าเป็นคนอาภัพ
    ส่วนนักภาวนาเจริญสติปัฏฐานย่อมพิจารณาเห็นอายุสังขารของตนเป็นของน้อยนิดเดียว เปรียบเหมือนกับน้ำตกอยู่บนในบัว เมื่อถูกแสงแดดพลันจะให้เหือดแห้งอย่างไม่ปรากฏ แล้วก็เกิดความสลดสังเวช ปลงปัญญาสู่พระไตรลักษณญาณกาลเวลาจึงว่าเป็นของดีมีประโยชน์แก่ทุก ๆชั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้นว่า อจฺจยนฺติ อโหรตา ชีวิตํ อุปรุชฺฌติ ดังนี้เป็นต้น แปลว่า โอ้ชีวิตเป็นของน้อย ย่อมรุกร่นเข้าไปหาความตายทุกที เหมือนกับน้ำในแม่น้ำน้อย เมื่อถูกแสงพระอาทิตย์แล้ว ก็มีแต่จะแห้งไปทุกวัน ฉะนั้นฯ โดยอธิบายว่า ชีวิตอายุของเรา ถึงแม้ว่าจะมีอายุอยู่ได้ตั้งร้อยปี ก็นับว่าเป็นของน้อยกว่าสัตว์จำพวกอื่น ๆ เช่น เต่าและปลาในทะเล เป็นต้น ซึ่งเขาเหล่านั้นมีอายุตัวละมาก ๆ เป็นร้อย ๆ ปี ตั๊กแตนแมลงวัน เขามีอายุเพียง ๗-๑๐ วัน เขาก็ถือว่าเขามีอายุโขอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราเห็นว่าเขามีอายุน้อยเดียว
    ผู้มี อัปปมาทธรรม เป็นเครื่องอยู่ เมื่อมาเพ่งพิจารณาถึงอายุของน้อยพลันหมดสิ้นไป ๆ ใกล้ต่อความตายเข้ามาทุกที กิจหน้าที่การงานของตนที่ประกอบอยู่จะไม่ทันสำเร็จ ถึงไม่ตายก็ทุพพลภาพเพราะความแก่ แล้วก็ได้ขวนขวายประกอบกิจหน้าที่ของตนเพื่อให้สำเร็จโดยเร็วพลัน กาลเวลาจึงอุปมาเหมือนกับนายผู้ควบคุมกรรมกรให้ทำงานแข่งกับเวลา ฉะนั้น ฯ
    ทาน การสละวัตถุสิ่งของที่ตนมีอยู่ให้แก่บุคคลอื่น นอกจากผู้ให้จะได้รับอิ่มใจเพราะความดีของตนแล้ว ผู้รับยังได้บริโภคให้สอยวัตถุสิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์แก่ตนอีกด้วย นับว่าไม่มีเสียผลทั้งสองฝ่าย แต่กาลเวลาที่สละทั้งชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ไม่เป็นผลแกทั้งสองฝ่าย คือกาลเวลาก็หมดไป ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เสื่อมสูญไป ยังเหลือแต่ความคร่ำคร่าเหี่ยวแห้งระทมทุกข์อันใคร ๆ ไม่พึงปรารถนาทั้งนั้น นอกจากบัณฑิตผู้ฉลาดในอุบายน้อมนำเอาความเสื่อมสิ้นไปแห่งชีวิตนั้นเข้ามาพิจารณาให้เห็นสภาพสังขารเป็นของไม่เที่ยง จนให้เกิดปัญญาสลดสังเวช อันเป็นเหตุจะให้เบื่อหน่ายคลายเสียจากความยึดมั่นในสังขารทั้งปวง ฉะนั้น ทานการสละให้ปันสิ่งของของตนที่หามาได้ในทางที่ชอบให้แก่ผู้อื่นในเมื่อกาลเวลากำลังเอาฆ่าชีวิตของเราไปอยู่ จึงเป็นของควรทำเพื่อชดให้ชีวิตที่หมดไปนั้นให้ได้ทุน (คือบุญ) กลับคืนมา
    การรักษาศีลก็เป็นทานอันหนึ่ง เรียกว่า อภัยทาน นอกจากจะเป็นการ จาคะ สละความชั่วของตนแล้ว ยังเป็นการให้อภัยแก่สัตว์ที่เราจะต้องฆ่าและสิ่งของที่เราจะต้องขโมยเขาเป็นต้นอีกด้วย นี่ก็เป็นการทำความดี เพื่อชดใช้ชีวิตของเราที่กาลเวลาคร่าไปอีกด้วย ผู้กระทำชั่ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้มีหนี้ติดตัว ผู้มีหนี้ติดตัวย่อมมีความทุกข์เดือดร้อน ฉะนั้น บาปกรรมชั่วเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ แต่ผู้ใดทำลงไปแล้วแม้คนอื่นทั้งโลกเขาจะไม่เห็นก็ตาม แต่ความชั่วที่ตนกระทำลงไป แล้วนั่นแล เป็นเจ้าของมาทวงเอาหนี้ (คือความเดือดร้อนภายหลัง) อยู่เสมอ ยิ่งซ้ำร้ายกว่าหนี้ที่มีเจ้าของเสียอีก
    เป็นที่น่าเสียดาย บางคนผู้ประมาทแล้วด้วยยศ ด้วยลาภก็ตาม ไม่ได้นึกคิดถึงชีวิตอัตภาพของตน กลัวอย่างเดียวแต่กาลเวลาจะผ่านพ้นไป แล้วตัวของเขาเองจะไม่ได้ทำความชั่ว ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดีแล้ว เช่น สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร เป็นต้น นำเอาชีวิตของตนมรายังเหลืออยู่นั้นไปทุ่มเทลงในหลุมแห่งอบายมุขหมดบุญกรรมนำส่งมาให้ได้ดิบได้ดี มีสมบัติอัครฐานอย่างมโหฬาร เตรียมพร้อมทุกสิ่งทุกอย่างไม่ขัดสน แต่เห็นความเหล่านั้นเป็นเรื่องความทุกข์ไป สู่ความชั่วอบายมุขไม่ได้ กาลเวลาอายุเป็นของที่มีค่ามากเหลือไว้ แทนที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์และความสุข คนผู้ประมาทแล้วกลับนำไปใช้ในทางที่เกิดโทษทุกข์ จมดิ่งลงสู่อบายมุขอย่างน่าใจหาย สมกับพุทธภาษิตว่า เย ปมตฺตา ยถา มตา คนผู้ประมาทแล้วเป็นอยู่ก็เหมือนตายแล้ว ดังนี้ เพราะบุคคลผู้เช่นนั้น ถึงมีชีวิตอยู่นอกจากจะไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาระให้แก่คนแล้ว ยังจะเป็นภัยแก่สังคมเป็นอันเป็นอันมากอีกด้วย คนผู้ตายไปแล้วไม่เคยเป็นภัยแก่ใครเลย คนผู้ประมาทแล้วแล้วซิเป็นภัยแก่สังคมมาก ภัยเหล่านี้ย่อมเกิดจากผู้มีชีวิตอยู่แต่ประมาทแล้ว คือ ความโลภ ทะยานอยากได้ทำให้หน้ามืดไม่มีขอบเขตจนเป็นเหตุทำความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น ความโกรธ มุละทุ เหี้ยมโหด เพ่งแต่โทษ ของคนอื่น หาเรื่องทะเลาะค่าว่าฆ่าตีไม่มีดีกับใคร ๆ โมหะ ความหลงมัวเมาเข้าใจผิด คิดในสิ่งที่ดีว่าชั่ว สิ่งที่ชั่วว่าดี สิ่งที่ผิดเห็นเป็นถูก แต่สิ่งที่ถูกหลับเห็นเป็นผิด ไม่เข้าใจความเป็นจริง ดันทุรังถือรั้นเอาแต่ใจของตน เหล่านี้ก็ดี ย่อมเป็นภัยแก่สังคม
    คนประมาทดังกล่าวมานี้ เข้าในสังคมใดย่อมก่อความไม่สงบวุ่นวายขึ้นสังคมนั้น จนเป็นเหตุให้สังคมเขาเอือมระอา แต่ตัวเองเห็นว่าเป็นของเด่นอยู่เสมอ ภัยทั้งหลายเหล่านี้ย่อมเกิดจากคนประเภทดังกล่าวแล้วทั้งนั้น
    อนึ่ง ท่านเปรียบกิเลส สามกองนั้นไว้อย่างน่าฟังว่า นตฺถิ ตณฺหาสมา นที แม้น้ำน้อยใหญ่ที่ไหลไปไม่มีเวลาหยุด เสมอด้วยความโลภทะยานอยากได้ของคนไม่มี นตฺถิ โทสสโม กลิ ความผิดของบุคคลผู้กระทำผิดอย่างร้ายแรง เสมอด้วยความโกรธไม่มี นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ ข่ายทั้งหลายที่ดักสัตว์ทุก ๆ ชนิด (ถึงแม้จะวิเศษและทันสมัยอย่างไรก็ตาม) เสมอด้วยความหลงไม่มี ดังนี้
    เมฆหมอกที่ปกคลุมแสงพระจันทร์พระอาทิตย์ ถึงแม้จะมืดมิดสักปานใดก็ยังมีเวลาฉายจ้าออกมาได้เวลาหนึ่ง แต่กิเลสสามกองนี้ เมื่อได้เข้าจับหัวใจของใครแล้ว ต้องมืดมิดปิดบังอย่างน่ากลัว
    ความโลภความทะยานอยากได้มี่ขอบเขต เป็นกิเลส เหมือนน้ำฝนตกจากที่สูง ไหลท่วมท้นที่อยู่ของคนแล้วก็ไหลท่วมท้นที่อื่น ๆ ต่อไปจนเป็นอันตรายแก่พืชผลได้ ความโลภไม่รู้จักอิ่มของคนก็เหมือนกัน มีล้นเหลือแล้วไม่รู้จักพอ ยังอยากได้ของคนอื่นร่ำไป ทั้งที่ของตนมีอยู่มากมาย ถึงแม้ความหิวแทบตาย บางทียังไม่ยอมสละทรัพย์ออกใช้จ่ายไปยังเสียดาย เป็นทุกข์แทนเขา จนอดริษยาเขาไม่ได้ก็มี
    ความโกรธเป็นเหมือนกับไฟ ย่อมไหม้เชื้อไม่เหลือ แม้แต่ของสด ๆ ก็ไหม้ความโกรธเมื่อเกิดขึ้นที่หัวใจของใครแล้วทำให้เหี้ยมโหดกักขฬะกล้าแข็งยิ่งนัก ไม่เลือกว่าหน้าอินทร์หน้าพรหม หรือผู้มีพระคุณอย่างไรก็ตาม มันโกรธได้ไม่เลือกหน้าหากมีศาสตราวุธอย่างวิเศษแล้วก็สามารถสังหารโลกอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ให้แหลกเป็นจุณไปด้วยแรงฤทธิ์ของมันในชั่วพริบตาเดียว
    ความหลงที่เรียกว่าโมหะ มีลักษณะเหมือนเมฆหมอก ถึงแม้มันจะเป็นของเย็นก็ครอบคลุมได้ทั้งน้ำและไฟ แล้วไหลลอยไปตามลม กล่าวคือ เมื่อจิตทะยานอยากจนให้เกิดความโลภขึ้นมาแล้ว หลงก็พลอยสนับสนุน คิดเอาแต่ได้ ไม่เลือกหน้าว่าควรหรือไม่ควร ลักขโมย ปล้นจี้ วิ่งราว ฆ่าเจ้าของทำได้ทั้งนั้น ไม่คิดถึงโทษทุกข์ทั้งของตนและของตนอื่น ปิดบังสติสัมปชัญญะ มิได้คิดถึงคุณและโทษ ตั้งหน้าแต่จะกอบโกยเอาด้วยหน้าตามึนซาไม่มียางอายอย่างเดียว ถึงความหลงจะไม่แสดงความพิษร้ายแรงเจ็บแสบ แต่หลงก็ได้เข้าไปแทรกสนับสนุนให้ความโกรธเห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด ไปเข้าข้างตัวส่วนเดียวจนได้ ทำให้ความโกรธ มีกำลังแข็งกล้า ถึงกับหน้าเขียวเสียงสั่น ลบล้างศรัทธาปัญญาและศีลธรรมอันดีงามที่เคยได้อบรม มาหมด ในเมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้วก็ยังปรากฏอยู่อย่างเดียว นั่นคือ ตายักษ์หน้ามาร อากัปกิริยาของปีศาจ ความเกรี้ยวกราดของจอมพาล ความกล้าหาญอย่างโง่ ๆ ความหลงนี้ย่อมเข้าครอบคลุมได้ในที่ทุกสถาน ไม่ว่าบ้านหรือวัดรัฐสถาน แม้ราชสำนักมันก็ไม่กลัว ความหลงมันเข้าไปทรงอำนาจอิทธิพลเที่ยวป้วนเปี้ยนไปหมด
    กิเลส ๓ กองนี้ เมื่อเข้าไปหมักหมมดองอยู่ในใจของคนใดแล้ว ย่อมทำให้ใจของคนนั้นเสื่อมคุณภาพลงทุกที เหมือนสนิมเกิดขึ้นในเหล็กแล้วกัดเหล็กให้สึกกร่อนไป ฉะนั้น
    ด้วยเหตุนี้ทุก ๆ คน จึงควรคิดถึงกาลเวลาอันมีค่า ที่เราอยู่ได้ไม่ตายเพราะกาลเวลายังเหลืออยู่ไว้ให้เราใช้ให้เป็นประโยชน์ และอย่าได้เข้าใจว่ามันยังเหลืออยู่มากนัก แท้จริง วันคืนเดือนปีที่เรานับกันว่าได้เท่านั้นเท่านี้นั้น มิใช่เรานับของที่ได้ แต่เรานับของที่เราหมดไป เหมือนกับคนเดินทาง ข้างหลังมีแต่จะยาวออกไป ข้างหน้าสั้นเข้า ๆ ทุกที อายุที่เรานับอวดอ้างกันนักหนาว่า ข้าได้ ๕๐ -๖๐-๗๐ ปีนั้น เป็นการนับอายุที่หมดไปแล้ว ไม่ได้กลับคืนมาให้เรานับอีกส่วนที่ยังเหลืออยู่ไม่มีใครรู้สักคนว่ายังอีกมากน้อยเท่าไร โจรขึ้นขโมยของบนเรือน เจ้าของไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่แต่เฉพาะของที่หายไปเท่านั้น ส่วนที่ยังเหลือเจ้าขิงบ้านไม่เคยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเลยฉันใด การนับอายุก็นับได้แต่ส่วนที่หมดไป ส่วนที่ยังเหลือไม่มีใครรู้เลยฉันนั้น
    ผผู้มาพิจารณาถึงอายุของตนว่าเป็นของมีประมาณน้อยและไม่มีเครื่องหมายไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ย่อมเสื่อมสิ้นสูญไปกับ วัน คืน เดือน ปี แล้ว จึงควรเป็นผู้ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้น
    อนึ่ง ผู้มาพิจารณาถึงกาลเวลาอันกลืนกินอายุชีวิตของตนให้หมดสิ้นสูญไป ๆ อยู่เสมอ ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญมรณสติกัมมัฏฐาน หากปัญญาญาณยังไม่แก่กล้าสามารถจะถอนอุปาทานขันธ์ได้อย่างเด็ดขาด ก็ยังจะเป็นเครื่องบรรเทาความมัวเมาประมาท ให้ลดหย่อนลงบ้างตามโอกาสอันสมควร แล้วจะได้ปรารภถึงคุณงามความดี มีการทำทาน รักษาศีล ภาวนา เป็นต้น ละความชั่ว ความผิดทุจริตต่าง ๆ ที่เคยทำมาแล้วและกำลังทำอยู่ก็ดี ไม่สามารถจะทำต่อไป ตามวิสัยของผู้ไม่ประมาท ก็จะเป็นประโยชน์โสตถิผลทั้งแก่ตนและส่วนรวมตลอดทั้งโลกนี้และโลกหน้า ถ้าอาศัย อัปปมาทธรรม คือความไม่ประมาทเจริญไม่ขาดจนให้ชำนาญ ปานประหนึ่งว่ายานพาหนะอันจะนำตนไปสู่มัคควิถีแล้ว จะมีจิตแกล้วกล้าสามารถต่อสู้มัจจุราชภัยอาจหวังได้ชัยชนะในที่สุด เพราะผู้ย่อมสละทุกสิ่งแม้แต่ชีวิตก็ยอมพลีไม่มีอาลัยเพื่อความบริสุทธิ์ของใจแล้ว อารมณ์ทั้งหลายแหล่ก็ปราศจากไปไม่มีเหลือ ต่อแต่นั้นจิตก็จะตั้งมั่นเข้าถึงขั้นภาวนาสมาธิ
    โดยนัยดังแสดงมาก็ควรแก่เวลา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

     
  8. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ภาวนา - สมาธิ

    อบรมพระภิกษุสามเณรในวัดเจริญสมณกิจ ภูเก็ต

    วันที่ ๗ กันยายน พ
    .. ๒๕๐๖ ตอนค่ำ

    การฟังเทศน์ในแนวภาวนา ที่จะให้หายสงสัยกันเด็ดขาดเป็นของทำได้ยาก ถ้าหากพวกเราภาวนาไม่เป็น ผู้ภาวนาเป็นแล้ว ยึดอุบายภาวนาของตนให้เป็นหลักไว้ดีแล้ว ท่านจะเทศน์อะไร ใครจะว่าที่ไหน ใจมันไม่ได้ยึดเหนี่ยว แต่อุบายนั้น ๆ จะมาเข้ากับอุบายของเรา ทำให้เกิดความสว่างแจ่มแจ้งหายสงสัยไปเอง สำหรับผู้ที่ยังภาวนาไม่เป็น จิตจะต้องส่ายหาอุบายมาเป็นเครื่องอยู่ของตน แล้วก็จะลังเลใจ พอได้รู้จากตำรา ได้ข่าวจากคนพูด คิดนึกโดยคาดคะเนว่านั้นดีนี่ดี ที่โน้นอาจารย์มีชื่อเสียงโด่งดัง แล้วก็วุ่นวายคาดหมายไปต่าง ๆ นานา จับหลักอะไรไม่ได้ ยิ่งคิดยิ่งส่งก็ยิ่งแต่จะเกิดความสงสัย ทำจิตใจให้วุ่นไปหมด
    เพราะหลักธรรมที่แท้มิได้เกิดจากความคิดที่ส่งออก แต่เกิดจากการคิดค้นตรงเข้ามาหาของจริงที่มีอยู่ในตัวนี้ เมื่อเราค้นเข้ามาหาของจริงในตัวนี้แล้ว จิตก็เป็นสมาธิ(คือคิดค้นอยู่ในที่อันเดียว) ต่อนั้นไปทุกส่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามารัศมีของจิตก็จะกลายเป็นอุบายให้เกิดเป็นธรรมไปทั้งหมด
    มีตัวอย่างสมัยครั้งพุทธกาล บัณฑิตสามเณรอายุ ๗ ขวบ ลูกศิษย์ของท่านพระสารีบุตร ได้เห็นเขาขุดเหมืองเข้านา ได้เห็นเขาถากไม้ เห็นเขาดัดลูกศร ท่านน้อมเข้ามาฝึกอบรมจิตของท่านให้มันเป็นไปตามบังคับ ให้เหมือนเขาบังคับของซึ่งหาวิญญาณมิได้เหล่านั้นให้เป็นไปตามประสงค์ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็สิ่งทั้งสามนั้นเป็นธรรมอะไร วัตถุของภายนอกทั้ง ๆ แต่เมื่อท่านน้อมนำเข้ามาพิจารณาเป็นอุบายอบรมภายในใจของท่านเอง เลยได้ผลอย่างสุดยอด
    พุทธวจนะคำสอนของพระองค์มีมากถึงแปดหมื่นสี่พันธรรมขันธ์ ตามที่ท่านกำหนดไว้แต่ละหมวดละข้อ หรือแต่ละขันธ์ ล้วนแต่เป็นของดี ท่านโบราณาจารย์เคยปฏิบัติได้รับผลสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น จึงได้รวมตั้งไว้เป็นปริยัติ เพื่อเป็นบทศึกษาแก่อนุชนสืบมา
    ธรรมเป็นของดีแล้ว แต่เราปฏิบัติดียังไม่พอที่จะเป็นรากฐานให้เกิดธรรมของดีได้
    มรรค ๘ ผล ๔ นิพพาน ๑ เป็นของผู้ปฏิบัติที่มีสัมมาสมาธิเป็นรากฐานอริยสัจธรรมทั้งสี่ คือ ทุกข์ ๑ สมุทัย ๑ นิโรธ ๑ มรรค ๑ เป็นวิชาของสัมมาสมาธิอย่างถูกต้อง
    ทุกข์ ทั้งหลาย มีชาติทุกข์เป็นต้น มีอยู่ แต่ผู้จะเข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี
    สมุทัย มีความทะเยอทะยานอยากในความใคร่เป็นต้น มีอยู่ แต่ผู้จะเห็นโทษในสมุทัยนั้นแล้วละเสียไม่มี
    นิโรธ คือความเข้าไปดับซึ่งราคธรรมเป็นต้น มีอยู่ แต่ผู้จะเข้าไปดับไม่มี
    มรรคมีองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางยังผู้ดำเนินตามแล้วให้พ้นทุกข์ได้ มีอยู่ แต่ผู้จะดำเนินตามไม่มี ทางจึงเป็นทางว่างหาผู้สัญจรไม่มี ก็เพราะขาดสัมมาสมาธิอันเป็นรากฐานที่มั่นคง
    ความจริง อริยสัจคือทุกข์และสมุทัย มีอยู่พร้อมแล้วในตัวของเราทุก ๆ คน ทั้งทุกขสัจมีชาติเป็นต้น ทุก ๆ คนก็มีมาแล้วทั้งนั้น แต่คนเราไม่ทำความรู้ ปล่อยวางละเมินไปเสีย เห็นว่ามันเป็นของไม่ดี ไม่น่าพอใจ ไม่อยากได้ ก็เลยไม่สนใจ ไม่นำมาพิจารณา แต่หาได้รู้ไม่ว่านั่นเป็นของจริงของประเสริฐ เมื่อเกิดขึ้นในดวงใจของบุคคลใดแล้ว ผู้นั้นถึงแม้จะเป็นปุถุชนก็จะกลายเป็นพระอริยเจ้า ไปตามเอาแต่สุขจอมปลอมมากลบทุกข์ที่แท้จริงไว้ เวลาทุกข์ที่แท้จริงประดังปรากฏออกมาจริงจังเข้า สุขหลบหน้าหายตัวไปหมด ช่วยอะไรไม่ได้ ปล่อยให้เราเดือดร้อนเป็นทุกข์อยู่แต่คนเดียว โทษแห่งการไม่นำเอาทุกข์มาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง มันเป็นเสียอย่างนี้
    ผู้ที่นำเอาทุกข์มาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริงแล้ว ทุกข์ทั้งหลายจะไม่เข้ามาเบียดเบียนเขาได้ เพราะความรู้จริงเห็นจริงเสียแต่เบื้องต้น ทุกข์เลยเป็นของธรรมดาเป็นสภาวธรรมมีอยู่ประจำโลก ทุกคนเกิดขึ้นมาแล้วหนีไม่พ้น ใครจะร้องไห้เป็นทุกข์หรือไม่ ทุกข์มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น ทางที่จะพ้นได้ มิใช่เมื่อทุกข์มาถึงเข้าแล้ว เป็นทุกข์ร้องไห้คร่ำครวญ แต่จะต้องละตัวเหตุคือความทะเยอทะยานอยาก มีอยากใคร่ในกาม เป็นต้นเสีย ที่เรียกว่า สมุทัย คือความทะเยอทะยานอยากใคร่ในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่แล้วในใจของพวกเราทุก ๆ คน แต่พวกเราเห็นสมุทัยเป็นของหวาน ไม่เข้าใจว่าเป็นของศัสตรายาพิษ จึงพากันรับประทานเข้าไปด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินมาก แต่เมื่อมันทำพิษติดคอเข้าแล้ว ทุก ๆ คนจะพากันดิ้นด้าวระทมทุกข์ ต่างก็ช่วยอะไรกันไม่ได้
    เมื่อเหตุและผลของจริงเบื้องต้นมีอยู่ในตัวของเราอย่างนี้แล้ว แต่เราไม่เอามาพิจารณาให้รู้เห็นตามเป็นจริง เหตุและผลอันไม่มีอยู่ในตัวของเรา (คือนิโรธและมรรค) แต่เราจะต้องเจริญให้เกิดมีขึ้น เมื่อเราไม่เจริญก็เกิดมีไม่ได้ นี่พูดถึงเรื่องภาวนาไม่เป็นมันเป็นเสียอย่างนี้
    แต่เมื่อผู้ภาวนาเป็น มีสัมมาสมาธิเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในรัศมีของจิต ก็จะกลายเป็นอุบายให้เกิดปัญญารู้แจ้งเป็นธรรมไปหมด ดังแสดงมาแล้วข้างต้น เหตุและผลอันไม่มีอยู่ในตัวของเรา (คือนิโรธและมรรค) เราไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่นมาเจริญอีกแล้ว แต่มันเป็นการเจริญมรรค (คือความเห็นชอบตามเป็นจริง) อยู่แล้ว เมื่อเจริญเกิดขึ้นแล้ว ความโง่ความเขลาในความอยากทั้งหลายมันก็หมดไปเอง
    ฉะนั้น จะขอบอกให้ทราบอีกทีว่า เมื่อจะฟังเทศน์เอาอุบายภาวนาหาความสงบจนให้เกิดสัมมาสมาธิกันจริง ๆ แล้ว ขออย่าได้ไปตื่นเต้นส่งส่ายไปหาเรื่องอุบายนั่นนี่หรือวิธีนั้นวิธีนี้ให้มันยุ่งไปมากเลย ไม่เป็นผลดอก การภาวนาเป็นเรื่องตัดภาระให้น้อยลงทุก ๆ วิถีทางจนไม่เหลือ วิถีทางจนไม่เหลือ แม้แต่อารมณ์ที่เรายกขึ้นพิจารณาอยู่นั้นก็จะต้องเปลี่ยนสภาพไป เป็นอารมณ์ของภาวนาโดยเฉพาะ มิใช่อารมณ์อุบายยกขึ้นมาพิจารณาอย่างเบื้องต้น แต่มันเป็นของจริงเกิดจากภาวนาโดยเฉพาะ ซึ่งผู้ภาวนาเท่านั้นจะรู้ได้ด้วยตนเอง
    การทำภาวนามี ๒ วิธีด้วยกัน ได้เคยอธิบายให้ฟังมาแล้วหลายครั้งว่า
    วิธีที่ ๑ เราปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมดไม่ให้มีอะไรเหลืออยู่ที่ใจ พร้อม ๆ กับอัดลมหายใจเข้าไปแล้วปล่อยวางลมหายใจออกมา แล้วตั้งสติกำหนดเอาแต่ผู้รู้ จะไปตั้งอยู่ตรงไหนแล้วแต่ความถนัดของตน แบบนี้ทำได้ง่ายสบายแต่ไม่มีหลักหนักแน่น ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็ส่ายไปตามอารมณ์ที่ตนชอบเสีย
    วิธีที่ ๒ ให้หยิบเอาอารมณ์อันใดก็ได้ซึ่งเป็นอารมณ์ที่มันเคยทำความกระเทือนใจให้เราเกิดความสลดสังเวช จิตของเราเคยไปจดจ่ออยู่เฉพาะในเรื่องนั้นมาแล้ว เช่น เราพิจารณาเห็นโทษทุกข์ในความเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เป็นต้น เรายกเอาเรื่องนั้นมาพิจารณาค้นคว้าทบทวนกลับไปกลับมาไม่ให้จิตแลบออกไปจากเรื่องนั้น จนเข้าไปรู้เรื่องความเป็นอยู่ เป็นมาและเป็นไป ของในเรื่องนั้นละเอียดถี่ถ้วน แล้วจะเกิดมีอาการ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ณ ที่นั้นอย่างแปลกประหลาด คือ
    ความชัดเจนแจ่มแจ้งอันมิใช่เกิดแต่ความนึกคิดคาดคะเนและได้สดับศึกษามาจากคนอื่น แต่มันเป็นความรู้ที่ชัดเจนอันประกอบด้วยปีติปราโมทย์ ที่เกิดเองเป็นเองอันใคร ๆ จะแต่งเอาไม่ได้ ๑
    มิฉะนั้นจิตก็จะหดตัวเข้าไปนิ่งสงบเฉยอยู่ โดยไม่คิดอะไร แม้แต่ความคิดที่คิดค้นอยู่นั้นก็พักหมด ๑
    บางทีสงบนิ่งเข้าไปอยู่ในที่แห่งหนึ่งเฉพาะจิตอย่างเดียว บางทีก็รู้อยู่เฉพาะตัว แต่ความรู้อันนั้นมิใช่รู้อย่างที่เราจะพูดกันถูก หรือบางทีก็ไม่รู้ตัวเสียเลย คล้าย ๆ กับหลับที่เรียกว่า จิตเข้าภวังค์ อาการเหล่านั้นใคร ๆ จะทำเอาไม่ได้ แต่เมื่อภาวนาถูกต้องดังแสดงมาแล้ว มันก็จะเกิดขึ้นมาเอง ๑
    อาการทั้งสามอย่างนี้มิใช่จะเกิดเหมือนกันหมดทุก ๆ คนและทุก ๆ อาการก็หาไม่ บางคนก็เป็นและเป็นครบ บางคนก็เป็นอย่าง ๒ อย่าง เรื่องของการภาวนานี้พิสดารมาก หากจะนำมาพรรณนาไว้ ณ ที่นี้ จะเป็นหนังสือเล่มเขื่องเล่มหนึ่ง ที่แย้มให้เห็นเพียงเล็กน้อยนี้ก็เพื่อแนะให้ทราบว่าผู้ภาวนาเป็นแล้วจะเป็นไปอย่างนั้น
    แบบที่ ๒ ที่ให้หยิบเอาความเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ขึ้นมาพิจารณานี้ เป็นการหยิบสมถะและวิปัสสนาไปในตัว ถ้าผู้ที่มีนิสัยวาสนาแล้วเป็นไปได้รวดเร็ว ถ้านิสัยพอประมาณปานกลาง บางทีก็จะหนักไปในทางสมถะ จิตเข้าหาความสงบ มีอาการ ๓ อย่างดังแสดงมาแล้ว ถึงอย่างไร การพิจารณาอย่างนี้ย่อมมีคุณานิสงส์มาก เพราะพิจารณาให้เห็นสภาวะเป็นจริง ถึงได้ปัญญาขั้นละเอียด แต่ก็ยังรู้เท่าเข้าใจตามความเป็นจริง แล้วค่อย ๆ ถอนวางอุปาททานลงได้โดยลำดับ
    การยกเอาความเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ขึ้นมาพิจารณานั้น เป็นอุบายของการภาวนาโดยแท้ อย่างได้สงสัยว่าเราไม่ได้ภาวนา อุบายภาวนา คือการที่หยิบยกเอากัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา เมื่อจิตแน่วแน่ลงสู่อารมณ์อันเดียวจนเข้าเป็นภวังค์ เรียกว่าจิตเข้าถึงภาวนาแล้ว ฉะนั้น การที่เรายกเอาความ เกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ขึ้นมาพิจารณา จิตของเราจดจ่ออยู่ในเรื่องนั้นอยู่อย่างเดียว เรียกว่าเรากำลังเจริญภาวนาอยู่แล้ว ขอให้ยินดีพอใจในจิตของตนที่เป็นอยู่นั้นเถิด จิตก็จะได้แน่วแน่และเกิดปีติปราโมทย์จนละเอียดลงไปโดยลำดับ ผู้ไม่เข้าใจเรื่องภาวนามักจะสงสัยไปต่าง ๆ นานา แล้วก็ปรุงแต่งไปว่าภาวนาจะต้องเป็นอย่างนั้น เห็นอย่างนี้ แล้วจัดระดับชั้นภูมิของตน ๆ ไว้ก่อนภาวนา เมื่อจิตไม่เป็นไปตามสังขาร ก็เลยฟุ้งซ่านเกิดความรำคาญ สังขารเป็นผู้ลวง จะไปแต่งภาวนาไม่ได้ โดยเฉพาะแล้ว สังขารเป็นอุปสรรค แก่การภาวนาอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อยังละสังขารไม่ได้ตราบใดแล้ว ไม่มีหวังจะได้ประสบรสชาติของการภาวนาเลย ที่สุดฟังเทศน์หรือยกอุบายใดขึ้นมาพิจารณาก็ไม่เป็นผล มีแต่ความลังเลใจ ธรรมทั้งหลายแปดสี่พันพระธรรมขันธ์ก็จะไม่มีคุณค่าแก่เขาแม้เท่าที่เขาได้ส่ายตาไปมองดูรูปที่สวย ๆ ขณะแวบเดียว
    ผู้ที่ท่านช่างคิดค้นหาข้อเท็จจริงทั้งหลาย ท่านไม่ใช้สัญญาออกหน้า แต่ท่านใช้เหตุผลและปรากฏการณ์เฉพาะหน้าเข้าค้นคว้าพิจารณาจึงได้ผลสมประสงค์ ธรรมหรือวิธีเจริญกัมมัฏฐานมิใช่เป็นของมีโครงการอะไร ขอแต่ให้หยิบยกเอาเหตุผลหรือสิ่งปรากฏการณ์นั้น ๆ มาพิจารณาให้เข้าถึงหลักของจริงก็เป็นอันใช้ได้ ที่มีพิธีรีตอง และโครงการมาก ๆ นั้น ล้วนแต่ว่าตามความจริงของท่านที่ท่านได้ทำสำเร็จมาแล้ว ทั้งนั้น ฉะนั้น ยิ่งนานและมีผู้ค้นพบของจริงมากเข้าเท่าไร วิธีและโครงการหรือตำราก็ยิ่งมากขึ้นจนผู้ศึกษาภายหลังทำตามไม่ถูก ก็เลยชักให้สงสัย บางคนพาลหาว่าตำราไม่ได้เรื่องอย่างนี้ก็มี
    ถ้าหากทำตามดังแสดงมาแล้ว คือยกเองของจริง เช่น เกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย ขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จนเกิดเป็นภาวนาสมาธิขึ้นมาแล้ว โครงการหรือวิธีทั้งหลายแหล่ จะมากสักเท่าไร ก็เป็นแต่เพียงกระจกเงาเท่านั้น หาใช่ตัวจริงไม่ด้วยเหตุนี้ สาวกของพระพุทธองค์จึงได้สำเร็จมรรคผลด้วยอุบายแปลก ๆ ไม่เหมือนกัน
    ขนาดแสงไฟในดวงเทียมจะมีธรรมอะไร ใคร ๆ เขาก็ใช้กันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองก็ไม่เห็นจะวิเศษวิโสได้สำเร็จมรรคผลอะไร แต่ภิกษุชื่อ ปฎาจารา จุดเทียนบูชาในวิหาร แล้วเพ่งดูแสงเทียน ยึดเอาอาการแสงเทียนพลุ่งขึ้นด้วยกำลังแรงไฟแล้วย่อยยับ ๆ ลงมาด้วยความอ่อนกำลังของมันเองอยู่อย่างนั้นเป็นอารมณ์ น้อมเข้ามาเทียบกับอายุขัยและวัยในอัตภาพของตน จนเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตต ในสังขารทั้งหลาย ที่สุดจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะไฟนั้น นี้เป็นตัวอย่าง ท่านยกเอาแสงเทียนขึ้นมาพิจารณา เห็นเป็นของไม่เที่ยงตามลักษณะที่มันพลุ่งขึ้นแล้วบ่อย ๆ หดตัวลงตามเป็นจริง แล้วหมดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง ธรรมอื่น ๆ ไม่ต้องไปตามพิจารณา แต่มันปรากฏชัดในที่แห่งเดียวแล้ว
    บัณฑิตสามเณรลูกศิษย์ท่านพระสารีบุตร ท่านเห็นเขาไขน้ำใส่นามันไหลไปตามเหมือง ท่านนำมาพิจารณาว่า น้ำเป็นของไม่มีจิตใจ แต่ก็ไหลไปตามคลองได้ตามประสงค์ จิตของเราเมื่อทรมานให้อยู่ในอำนาจก็จะทำได้ เห็นเขาถากไม้ดัดลูกศร เขาหลิ่วตาข้างเดียวดูที่คดที่ตรง ท่านก็นำมาพิจารณาว่า ผู้ฝึกจิต ถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่าง ก็จะสงบไม่ได้และไม่เห็นสภาพจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็มีกำลังเบ่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริงได้ ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นของควรละ ผลที่สุดท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะอุบายอันนั้น นี่แหละความละเอียดและเป็นธรรมมิใช่อยู่ที่อุบาย แต่อยู่ที่จิตอบรมถูกจนจิตเป็นภาวนาสัมมาสมาธิแล้ว อุบายทั้งหลายที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณานั้น ไม่ว่าหยาบและละเอียด ก็จะได้ปัญญามีคุณค่าให้สำเร็จมรรคผลเป็นที่สุดเช่นเดียวกัน
    ฉะนั้น ทุก ๆ คนเมื่อเราหยิบยกเอาอุบายอันใดขึ้นมาพิจารณาเห็ดชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว แม้แต่ครั้งเดียวก็ตาม ขออย่าให้ทอดทิ้ง ให้นำเอาอุบายนั้นแหละมาพิจารณาอีก จิตจะเป็นอย่างทีเคยเป็นมาแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอได้ทำเรื่อยไปจนให้ชำนาญ
    ข้อที่ควรระวังก็คือ อย่าให้เกิดความโลภในอุบายภาวนา เมื่อภาวนาไม่เป็นก็ยิ่งโลภใหญ่ อยากได้แต่อุบาย เห็นว่าอันนี้ไม่ดี อันอื่นจะดีกว่า แล้วก็ส่ายหาหยิบเอาโน่นบ้างเอานี่บ้างมาพิจารณา เจริญสมถะเห็นว่าเป็นของทึบ เป็นคนโง่บ้าง เจริญวิปัสสนาสำเร็จเร็ว อะไรต่ออะไร ผลที่สุดเอาอะไรเป็นแก่นสารไม่ได้ ความโลภและความเป็นคนรู้มากเป็นภัยแก่การภาวนาอย่างยิ่ง ได้เคยอธิบายให้ฟังมามากแล้วว่า อย่าเป็นคนมักมากในอุบายภาวนา เมื่ออุบายใดได้แล้วขอให้เจริญอยู่ในอุบายนั้นเรื่อย ๆ ไป อุบายใดเป็นเหตุให้เราชอบคิดและสนใจ ซึ่งเป็นของมีอยู่ในตัวของเรานี้ อันนี้แหละเป็นของความเจริญ เช่น ความแก่ เจ็บ ตาย และทุกข์ทั้งหลายที่เราได้ประสบอยู่เสมอ ๆ ที่จริงเรื่องเหล่านี้เป็นอุบายภาวนาที่ดีที่สุด และเราทุกคนเคยได้กำหนดพิจารณามาแล้ โดยตัวของท่านไม่รู้ว่าเราเจริญภาวนาอยู่แล้ว เพราะเป็นของง่าย ประสบอยู่กับตัวเอง ก็เลยเห็นเป็นของไม่สำคัญอะไร ไม่ดำเนินติดต่อ ทิ้งเสีย แล้วไปแสวงหาอุบายอันหาสาระมิได้อันอื่นโน้น ผลที่สุดก็เหลว ของง่าย ๆ มีอยู่ภายในกาย ในใจ เป็นของมีคุณค่ามาก
    นโม, พุทธัง, อรหัง เป็นบทเรียนเบื้องต้นของการจะบำเพ็ญคุณงามความดีในพุทธศาสนาทั้งผอง เพราะเป็นเบื้องต้นและเห็นเป็นของง่าย จึงได้กลายเป็นขี้ปากของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเสีย สวดไปเถิดกี่จบ ๆ ก็หาได้รู้ตัวไม่ว่า เรากล่าวอะไร ว่าอะไร เพื่อประโยชน์และสำคัญได้อย่างไร
    ฉะนั้น โบราณจารย์ท่านจึงมีวิธีสอนกัมมัฏฐานหลายอย่าง เช่น สอนให้พิจารณา ปัญจกกัมมัฏฐาน ว่า เกสา, โลมา, นขา, ทันตา, ตโจ เมื่อว่าเสียจนชินคล่องปากคล่องใจ แต่ยังไม่เกิดความสนใจ ท่านจึงได้พิจารณาทวนถอยหลังอีกว่า ตโจ, ทันตา, นขา, โลมา, เกสา ถ้ายังไม่ได้ผล จิตใจยังไม่จดจ่ออยู่เฉพาะ ท่านให้ว่าแยกคือว่า เกสา, นขา, ตโจ ข้ามกันไปสลับกันมาอย่างนี้ เป็นต้น ส่วนพิจารณาอานาปานสติก็ทำนองเดียวกันนี้
    สรุปความแล้วว่า ทำอย่างไรจิตใจจะจดจ่ออยู่เฉพาะในอุบายนั้น ๆ เท่านั้นเมื่อสิ่งใดเป็นของง่ายเราก็ไม่สนใจ ฉะนั้นท่านจึงมีวิธีทำให้ยากขึ้นเพื่อจะได้สนใจแล้วจิตจะได้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นการภาวนาสมาธิ นี่เป็นเบื้องต้น เมื่อเราทำไปจนให้ชำนาญ คือ ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น จนเป็นเหตุให้จิตหยุดนิ่งเพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะในอารมณ์เดียว ที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของตนโดยเฉพาะ ซึ่งมีปัญญาญาณเป็นเหมือนกับประทีปตามส่อง ให้พิจารณาอยู่ในที่ทุกสถาน นี่เป็นผลของความชำนาญในการพิจารณาดังกล่าวแล้ว ถ้าปัญญาญาณดังว่านั้นไม่มี ไม่เกิดขึ้นในที่นั้น เป็นแต่เพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะอารมณ์กัมมัฏฐานของตน คือ มิได้ยึดเอาความรู้และอุบายของใครมาพิจารณา แต่มันเป็นความรู้ความชัดเจนของมันเองอยู่อย่างนั้นแล้ว จิตจะรวมใหญ่ คือมีการวูบวาบเข้าไปแล้วตั้งเฉยอยู่ ถ้าหากสติอ่อนอาจลืมตัวเข้าภวังค์เลย ถ้าสติยังอยู่จะเพียงแต่นิ่งเฉยโดยปราศจากนิวรณ์ทั้งหมด จะถึงอัปปนาสมาธิได้ก็ตอนนี้ สมาธิตอนนี้มีเรื่องวิจิตรพิสดาร เมื่อจะนำมาอธิบายก็จะมากเกิดต้องการที่แสดงมานี้เพื่อให้เห็นความสำคัญของการยกเอาของอันเดียว ไม่โลภในอุบายภาวนาแต่เจริญภาวนาให้ชำนาญเท่านั้น
    ความชำนาญเป็นของสำคัญมาก ตามหลักท่านเรียกว่า วสี มี ๕ อย่างด้วยกัน คือ
    ชำนาญในการยกอุบายอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ทันท่วงที ๑
    ชำนาญในการเข้าสมาธิ ๑
    ในการออกจากสมาธิ ๑
    ในการตั้งอยู่ของสมาธิ ๑
    ในการกำหนดรู้อารมณ์ของสมาธิ ๑
    ความชำนาญนี้ ถึงแม้ไม่ครบทั้ง ๕ ชำนาญแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็สามารถยังภาวนาสมาธิให้มั่นคงอยู่ได้ นี่ว่าตามวิถีของสมาธิ ถ้าจะว่าตามวิถีของปัญญาแล้ว ผู้ได้ปัญญาอันเกิดจากสมาธิ พิจารณาเห็นสรรพสังขารทั้งหลายตกลงปลง สู่พระไตรลักษณญาณแล้ว ถึงแม้อุบายนั้น ๆ จะเกิดโดยวิธีใดก็ตาม ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด ภายในหรือภายนอก ปัญญาดวงนั้นจะต้องเอามาตัดสินลงสู่พระไตรลักษณะเหมือนกันทั้งหมดไม่ผิดแปลกกันเลย
    พระไตรลักษณญาณเป็นเหมือนกับยานพาหนะของพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย อุบายภาวนาสมาธิถึงแม้จะมีมากอย่างแปลกต่างออกไป ก็เป็นไปตามวิถีของอุบายภาวนาสมาธิเท่านั้น แต่ปัญญาญาณต้องมีพระไตรลักษณญาณเป็นหลักยืนโรงเป็นเครื่องตัดสิน
    อนึ่ง ขอแนะไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า ภาวนาสมาธินี้ ถ้าเราฝึกหัดเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนอื่น หรือเพื่อเพียงปาฏิหาริย์อำนาจศักดิ์สิทธิ์อย่างเดียวแล้ว พึงหัดให้ชำนาญในวสี ๕ ดังแสดงมาแล้ว จึงจะสำเร็จ แต่ไม่เข้าถึงปัญญาดังกล่าวแล้ว เพราะ ปัญญาญาณเป็นโลกุตระทางให้พ้นจากทุกข์ ฉะนั้น อุบายภาวนาสมาธิจึงไม่จำเป็นให้เกิดอยู่เฉพาะในขอบเขตจำกัดอย่างเดียว จะเกิดโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม ถ้ามีพระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องตัดสินอยู่ตลอดเวลาแล้ว เป็นอันใช้ได้ อุบายภาวนาสมาธิที่เกิดในวิถีต่าง ๆ กัน เช่น เกิดจากตาเห็นรูป หูฟังเสียงเป็นต้นก็ดี หรือจิตที่เป็นภาวนาสมาธิแปลก ๆ ต่าง ๆ หยาบละเอียดไม่เหมือนกันก็ดี แทนที่จะเป็นเครื่องบั่นทอนอุบายภาวนาสมาธิหรือปัญญาให้เสื่อมทรามลง แต่กลับให้เป็นผู้ฉลาดในอุบาย และรู้รสชาติของวิถีภาวนาสมาธิตลอดถึงเป็นการชำนาญอาจหาญในการใช้พระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องตัดสินอีกด้วย
    นักปฏิบัติที่ปฏิบัติมานาน ๆ แล้ว ภายหลังกลับเสื่อมเสีย ก็เพราะเหตุไม่ชำนาญในวลี ๕ และไม่เข้าใจในเรื่องความเปลี่ยนแปลงของอุบายภาวนาสมาธิ หรือบางทีก็ไปหลงในฤทธิ์ ในปาฎิหาริย์ความศักดิ์สิทธิ์จนเลยเถิด เข้าสมาธิดังเดิมไม่ได้ ถึงแม้ผู้มีปัญญาญาณใช้พระไตรลักษณ์เป็นเครื่องตัดสินในทุกกรณีก็ตาม แต่เมื่อจิตเปลี่ยนสภาพ คือมีอาการไม่คงที่เช่นเคย ก็ยังเกิดสงสัย เข้าใจว่าจิตของตนเสื่อมเสียแล้ว
    ฉะนั้น จึงขอสรุปความย่อเพื่อจำง่ายอีกทีว่า การฟังเทศน์ในแนวภาวนา ที่จะให้เข้าใจดีต้องภาวนาเป็นเสียก่อน ถ้ามิฉะนั้นจะไม่หมดสงสัย อุบายภาวนาอะไรก็ได้ ขอให้ตั้งใจจดจ่อคิดค้นหาเหตุผลของจริงในสิ่งที่ได้ประสบ แล้วน้อมเข้ามาพิจารณาให้เห็นชัดแจ้งภายในตัวของตนจนเป็นสัจธรรม อุบายทั้งหลายขออย่าให้ส่งไปภายนอก จงหาเอาสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวของเรา เช่น ความเกิด - แก่ -เจ็บ - ตาย เป็นต้น ถึงอุบายภายนอกจะเกิดขึ้นก็ให้น้อมเข้ามาในตัว
    การหัดภาวนามีวิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งปล่อยวางเอาเฉย ๆ ไม่ให้จิตไปเกาะเกี่ยวอะไรทั้งหมด ทำให้จิตว่างเปล่าเฉย ๆ วิธีนี้ทำได้ง่าย แต่ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วจิตก็จะส่ายไปตามอารมณ์ที่ชอบใจ เรียกว่า สมถะ โดยเฉพาะ อีกวิธีหนึ่ง ต้องหยิบยกเอาอารมณ์สิ่งที่เราชอบมาคิดค้น เป็นต้นว่าทุกข์ซึ่งเราได้เคยประสบมาแล้ว มาคิดค้นจนจิตจดจ่ออยู่เฉพาะในเรื่องเดียวนั้น นี่เป็นการทำ สมถะวิปัสสนา ไปพร้อมกันในตัววิธีนี้จิตจะหยาบหรือละเอียดก็มีหลักหนักแน่นอยู่ได้นาน ข้อสำคัญขอให้เข้าใจว่าการที่เราหยิบยกเอาทุกข์เป็นต้นขึ้นมาพิจารณาอยู่นั้น มันเป็นภาวนาและเป็นธรรมแล้วพอใจเลื่อมใสในการที่เราทำถูกต้องนั้น อย่าได้สงสัยส่ายหาอุบายโน่นนี่อื่นอีก
    ข้อสำคัญประการสุดท้าย ใครจะหัดภาวนาทำสมาธิแบบไหน ได้อุบายอย่างไรก็ตาม ขอได้ทำให้ชำนาญ ถ้าหัดให้ชำนาญแล้วจะใช้ในทางอำนาจปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์อย่างไรก็ย่อมได้สมประสงค์ แต่เป็นไปในทางโลก ถ้าเป็นไปในทางธรรมแล้ว อุบายภาวนาสมาธินั้นจะเป็นอย่างนั้นยืนตัวหรือไม่ก็ตาม แต่จะต้องมีปัญญาญาณใช้พระไตรลักษณ์ตัดสินอยู่เสมอ อุบายใดจะเกิดขึ้นโดยวิธีใด ภายนอกภายในหยาบละเอียดไม่ว่า อุบายนั้นจะต้องลงมาตัดสินด้วยพระไตรลักษณญาณเสมอเมื่อเป็นเช่นนั้น ขออย่าได้สงสัยว่าทำไมหนอจิตของเราไม่ยึดอุบายเก่าคงที่ละเอียดตามเดิม เรื่องนี้มันมีเหตุผลมากอย่างดังที่อธิบายมาโดยย่อแล้ว จะเห็นได้ เพราะอารมณ์การสำรวม ความกล้าหาญ การตั้งสติ เป็นต้น ในเบื้องต้นก่อนที่เราจะทำภาวนาเข้าสมาธิ ถึงอย่างไร ๆ เมื่อมีพระไตรลักษณญาณเป็นพนักงานควบคุมตัดสินอยู่แล้ว ขออย่าได้สงสัย
    อธิบายมาวันนี้ พูดถึงสมาธิภาวนาโดยเฉพาะ แต่ก็เห็นว่ายืนยาวพอสมควร หากพากันภาวนาเป็นไปแล้วก็จะพอจับเค้าความได้และดำเนินตามโดยไม่ผิดพลาดแล้วสามารถจะรักษาสมาธิภาวนาของตนไว้ให้มั่นคงต่อไป
    แสดงมาด้วยประการฉะนี้ฯ
     
  9. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    คุณของศีล


    แสดง ณ วัดเจริญสมณกิจ ภูเก็ต


    วันที่ ๑๑ กันยายน พ.. ๒๕๐๖ ตอนค่ำ
    อนุสนธิธรรมเทศนาสืบเนื่องมาแต่ตอนเช้านี้ ซึ่งมีใจความโดยย่อว่า ศีล เป็นเบื้องต้นของการทำความดีทั้งปวง ๑ ศีลเป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งปวง ๑ และศีลเป็นหัวหน้าของธรรมทั้งหลาย ๑
    อธิบายตอนเช้านี้นั้นเป็นสาธารณะทั่วไป บัดนี้จะอธิบายต่อเฉพาะพวกเราที่เป็นพระเป็นเณร เพื่อให้เห็นคุณประโยชน์ของศีล
    ศีล ท่านแสดงไว้มีอรรถ ๔ ด้วยอรรถว่า ความปกติ ๑ ด้วยอรรถว่า เป็นของเย็น ๑ ด้วยอรรถว่า เป็นของสูง ๑ ด้วยอรรถว่า ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ๑
    ข้อ ๑ ว่าเป็นปกติ นั้น เพี้ยนมาจากสิลา (คือหิน) ธรรมดาของหินแล้วไม่มีการงอกการเกิดอีก สภาพของมันเป็นอยู่เช่นไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป ศีลก็เหมือนกัน ที่ท่านแสดงว่าผู้ล่วงละเมิดในศีลข้อนั้น ๆ จะต้องได้รับโทษอย่างนั้น ๆ ตายตัวเลยทีเดียว ใครจะทำเมื่อไร ณ ที่ไหน โทษของการล่วงละเมิดศีลจะต้องมีอยู่เท่าเก่าไม่ลดหย่อนเลย ถ้าผู้ใดมาปฏิบัติตามศีล งดเว้นจากข้อห้ามนั้น ๆ แล้ว กาย วาจา ใจ ของผู้นั้นจะต้องเป็นปกติไปด้วย คือ ได้แก่ ไม่ล่วงละเมิดในศีล
    ข้อ ๒ ว่าเป็นของเย็น นั้น แปลว่าเย็น อธิบายว่าศีลมีจุดมุ่งหมายมิให้เบียดเบียนกัน ไม่ว่ามนุษย์สัตว์ทั้งหลายทั่วไป เมื่อไม่มีการเบียดเบียนกันแล้วก็อยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน ผู้ใดปฏิบัติตามศีล เอาศีล มาสวมคุ้มครองตนไว้ ผู้นั้นก็เป็นผู้เยือกเย็นกายเย็นใจ คือ ไม่มีเวรมีภัย มนุษย์สัตว์ทั้งหลายก็พลอยเย็นไปตามด้วย
    ข้อ ๓ ว่าเป็นของสูง นั้นแปลมาจากศีรษะ แปลว่าสูง อธิบายว่าศีลเป็นคุณธรรมที่สูงเหนือจากความชั่วอกุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นของต่ำช้าเลวทราม ผู้นำเอาศีลคือข้อห้ามต่าง ๆ มาปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นแล้ว ความประพฤติและจิตใจของผู้นั้นก็พลอยสูงไปตามด้วย
    ข้อ ๔ ที่ว่าผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว นั้น ศีลทุกข้อเป็นกัลยาณธรรม น่าสรรเสริญเพราะปราศจากโทษ ไม่มีความชั่วบาปธรรม เมื่อผู้ใดนำเอาศีลมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อนั้น ๆ แล้ว ผู้นั้นก็จะเป็นที่น่าชมเชยสรรเสริญไปด้วย
    ได้แสดงไปแล้วเมื่อตอนเช้านี้ว่า ศีลเป็นเบื้องต้นก้าวแรกของผู้จะทำความดีทั้งปวง ถ้าเว้นข้ามศีลข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมดเสีย จะทำความดีให้ก้าวขึ้นไปสู่ชั้นสูงไม่ได้เลย ศีลเปรียบเหมือนรากแก้วของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากรากแก้วแล้วจะอยู่ยืนนานและงอกงามต่อไปไม่ได้เลย
    ผู้จะบวชเป็นพระเณรในพระพุทธศาสนาได้ก็ต้องมีศีลเป็นมูลฐาน บวชเข้ามาแล้วไม่ตั้งอยู่ในศีล วินัย พุทธบัญญัติจะมีอะไรเป็นเครื่องหมาย พุทธมามกะบริษัทถ้าไม่มีศีลแล้ว ก็เป็นเพียงแต่ทายกทายิกาเท่านั้นเอง ตอนเช้านี้จึงได้บอกว่าจงพากันมาเป็นพระกันบ้าง อย่าได้ปล่อยให้วันพระล่วงไป ๆเสียเปล่าเลย แต่ตัวของเราไม่เป็นพระกันสักที ๗ วันเป็นพระกันเสียทีหนึ่งก็ยังดี หรือจะบวชพระอยู่ตลอดชีวิตก็ยังได้ ไม่เห็นเป็นของลำบากอะไรเลย ผู้เป็นพระด้วยการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ แล้วเย็นกายเย็นใจ ด้วยเราไม่ได้มองเห็นโทษเพราะละเมิดในศีลข้อนั้น ๆ และไม่ได้กลัวต่อคำครหาติเตียนของตนอื่นในเรื่องโทษของศีล
    ไฟที่ติดลุกลามร้อนระอุอยู่ทั่วโลกทุกวันนี้ก็เพราะไม่มีศีล คนผู้ไม่มีศีลจะอยู่ในฐานะใด ๆ และสถานที่ใด แม้จะอู่บนปราสาทอันสูงเยี่ยมเทียมเมฆก็ไม่มีความเย็นใจ คนอื่นเขาไม่เห็น ไม่รู้ และไม่ได้กล่าวโทษติเตียน เป็นแต่เขาพูดกันเรื่องความชั่ว เรื่องคนไม่มีศีล พอได้ยินเข้ามามันชักให้ร้อนแปล๊บเข้ามาในใจของเราแล้ว
    ผู้ทำปาณาติบาตเป็นผู้มีจิตปราศจากเมตตา หาความเย็นมิได้ ไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ขนาดหนักย่อมรุมร้อนเผาจิตใจให้คิดแต่จะประทุษร้ายสัตว์และคนอื่น บางครั้งทั้ง ๆ ที่เขาเหล่านั้นไม่ได้ทำผิดอะไรเลย จะเห็นได้ เช่น บางคน เที่ยวฆ่าสัตว์ ตีศีรษะเขาด้วยความคึกคะนองอันมิใช่วิสัยของธรรมดาสามัญชน แต่แสดงถึงจิตใจนั้นต่ำเลวที่สุดยิ่งกว่ายักษ์ มันตรงกันข้ามกับผู้มีศีลแล้ว ไม่เพียงแต่จะงดเว้นจากโทษนั้น ๆ ตามพุทธบัญญัติ แต่จิตยังประกอบด้วยเมตตาอารีมีพรหมวิหารธรรมอันเย็นฉ่ำเข้าไปแทนอยู่อีกด้วย
    พวกเราผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อมาพิจารณาดูศีลในตัวเราว่าเวลานี้เรามีศีลเป็นรากฐานพอที่จะทำความดีให้ยิ่งขึ้นไปได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง ถ้าเห็นว่ายังบกพร่องอยู่ จงพากันรีบเร่งชำระสะสางให้สะอาดบริสุทธิ์เสีย แล้วจะได้ประกอบความดีอื่น ๆ ที่ยังจะต้องกระทำอยู่มาก เพิ่มพูนให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าเห็นว่าศีลของตนบริสุทธิ์แล้ว ก็จะได้เกิดความปราโมทย์ในใจว่า ตัวของเราช่างโชคดีบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาไม่เสียผล เราคนหนึ่งในจำนวนที่เดินตามรอยยุคลบาทของพระพุทธเจ้าใจของเราก็จะได้หนักแน่นในพระพุทธศานายิ่ง ๆ ขึ้นไสมนัยแห่ง อริยธนคาถาว่า
    ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา

    ลีสญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ฯ
    เป็นอาทิ ซึ่งแปลเอาใจความเพื่อแนวปฏิบัติของพวกเราทั้งหลายว่า ผู้ใดมีความเชื่อมั่น ไม่หวั่นไหวในพระพุทธศาสนาแล้ว จึงจะมีศีลอันดีงาม
    ตามคำสรรเสริญของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ต่อนั้นจึงจะเลื่อมใสใจแน่วแน่ในพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์เพราะเข้าถึงศีลอันดีงาม รู้รสชาติของศีลด้วยกัน และได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้เห็นความปฏิบัติที่ซื่อตรงแล้ว ผู้เป็นเช่นว่านี้ ปราชญ์ทั้งหลายท่านกล่าวว่าเป็นผู้ไม่จนอริยทรัพย์ เกิดมามีชีวิตเป็นของไม่ไร้ค่า
    ฉะนั้น ผู้มีปัญญามาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ก็ควรประกอบด้วยความเชื่อ มีศีล และเลื่อมใสเห็นในธรรมเนือง ๆ ดังนี้
    การบวชด้วยการรักษาศีลทุกประเภท ตั้งแต่ ศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้นไป จัดได้ชื่อว่าเป็นพระตามชั้นตามภูมิของตน ๆได้เคยแสดงให้ฟังมาแล้วว่า มิใช่เป็นพระได้แต่เฉพาะผู้บวชนุ่งห่มผ้าเหลืองเท่านั้น ผู้นุ่งห่มผ้าสีต่าง ๆ ก็เป็นพระได้เหมือนกัน เช่น พระอริยะ ๓ จำพวกเบื้องต้น ถ้าพากันโยนพระเข้าวัดมอบให้แก่ผู้นุ่งห่มเหลืองทั้งหมดแล้ว ชาวบ้านเลยไม่ต้องประกอบคุณงามความดีอะไรกันเลย เข้าวัดเมื่อไรจึงทำความดีกันเมื่อนั้น ออกจากวัดแล้วความดีเหล่านั้นก็ฝากไว้ที่วัดก่อน มาเข้าวัดทีหลังจึงมาทำต่อ ถ้าผู้นาน ๆ จึงเข้าวัดก็เลยลืมที่ต่อเสีย โดยมากมักเข้าใจผิดกันเสียอย่างนี้ เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา เวลาสึกออกไปแล้ว จึงไม่เห็นผิดแปลกอะไรกับคนผู้ไม่ได้บวชเสียเลย ความเห็นผิดเข้าใจผิดย่อมเป็นเหตุให้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรทั้งเวลาบวชอยู่และสึกออกไปแล้วหลายอย่าหลายงประการ บวชแบบนี้เรียกว่าเป็นการบวชบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา หาบุญกุศลไม่ได้
    ถ้าเข้าใจถูกต้องว่าพระพุทธศาสนาเป็นเหมือนกับหัวใจของเรา เราจะดำรงชีพอยู่ได้ก็เพราะอาศัยคุณของพระศาสนา ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราโดยเฉพาะที่จะต้องบำรุงพระศาสนาทุก ๆ วิถีทาง ศีลก็เป็นเส้นโลหิตใหญ่เส้นหนึ่ง ซึ่งเราจะงดเว้นไม่รักษาเสียเลยย่อมไม่ได้ เมื่อเขาใจอย่างนี้แล้ว บวชอยู่หรือสึกออกไป แม้แต่เป็นฆราวาสอยู่ การที่รักษาศีลตามภูมิของตน ๆ ย่อมไม่เป็นของแปลก จรรยามารยาทและคุณธรรมอย่างอื่นอันจะเป็นเครื่องเทิดทูนพระศาสนาให้ถาวรวัฒนาย่อมกระทำได้โดยความเต็มใจ สมกับปราชญ์ฝ่านพม่าเขากล่าวว่า
     
  10. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
  11. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    รวมรูปภาพหลวงปู่เทศก์ ครับ

    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height=1291 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" colSpan=5 height=93>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD></TR><TR><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD></TR><TR><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD></TR><TR><TD width="20%" height=217>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=217>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=217>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=217>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=217>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD></TR><TR><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=216>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD></TR><TR><TD width="20%" height=219>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=219>
    [​IMG]
    </TD><TD width="20%" height=219> </TD><TD width="20%" height=219> </TD><TD width="20%" height=219> </TD></TR><TR><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD><TD width="20%" height=19> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    และผมต้องขออภัยด้วยน่ะครับ ที่ข้อมูลเยอะเกินไปน่ะครับ
    ขอบคุณ ข้อมูลครับ
     
  12. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    ผมขออนุโมทนาในความตั้งใจจริงของคุณจริงๆ หาได้ยากยิ่งถ้าไม่ได้เกิดจากความเทิดทูนเหนือเกล้า อนุโมทามิ สาธุ
     
  13. Reliquiae

    Reliquiae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,184
    ค่าพลัง:
    +2,639
    อนุโมทนาครับ ที่นำประวัติหลวงปู่มาให้อ่านกันอย่างละเอียด สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. puttiwong

    puttiwong สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอรับMP 3 หลวงปู่เทสรังสี

    ส่งที่นายพุฒิวงศ์สิริ ไชยยศ
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
    ศูนย์ราชการอำเภอวานรนิวาส
    อำเภอวานรนิวาส
    จังหวัดสกลนคร
    47120
    เพราะว่าหลวงปู่เทสก์รังสี เป็นอาจารย์ผมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...