"ชีวิตอัยการ"ในเจ้าหญิงนักกฎหมายของไทย

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 17 พฤศจิกายน 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>"ชีวิตอัยการ" ในเจ้าหญิงนักกฎหมายของไทย

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    หากย้อนประวัติศาสตร์ไป เราจะพบว่าต้องย้อนไปไกลร่วมร้อยปี ถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กว่าจะพบเจ้านายที่ทรงงานในฐานะ "นักนิติศาสตร์"

    ซึ่งเจ้านายพระองค์นั้นก็คือ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์" พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

    แต่ในปัจจุบันเรามีเจ้านายอีกพระองค์ที่ทรงทุ่มเททั้งพระทัยและพระวรกาย ให้แก่งานด้านนิติศาสตร์อย่างจริงจัง นั่นก็คือ "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา" หรือ "พระองค์ภา" ของปวงชนชาวไทยนั่นเอง



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงงานด้านกฎหมายในคณะผู้แทนไทย ณ สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ทรงเป็นอาจารย์สอนกฎหมายในระดับปริญญาโทของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    และปัจจุบันทรงงานในฐานะอัยการ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี

    "ถ้ารวมเวลาทั้งหมด รับราชการเป็นอัยการมาได้สองปีแล้ว เข้ามาในระยะเริ่มแรกอยู่ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อน พูดง่ายๆ ก็คือเป็นเทรนนี เด็กฝึกงานนั่นเอง

    มีหลักสูตรการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พอครบหนึ่งปีก็ถือว่าได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นอัยการเต็มตัว

    รุ่นที่อบรมด้วยกันคือรุ่น 39 มีทั้งหมด 60 คน ก็จะถูกส่งไปรับราชการตามจังหวัดต่างๆ กระจายไปทั่วประเทศไทย ณ ขณะนี้" พระองค์ภา ประทานสัมภาษณ์ผ่านรายการเจาะใจ

    พร้อมกันนี้ทรงเล่าถึงการทรงงานให้ฟังว่า งานที่ทรงปฏิบัติมีลักษณะเหมือนที่เคยฝึกหัดทำงาน ทำอยู่ในสำนักงานอัยการส่วนของจังหวัด ส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่มีโทษสูงเกินกว่าสามปีขึ้นไป

    คดีจะหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฆ่า พยายามฆ่า ข่มขืน คดีอาญาทั่วไป และก็มีคดียาเสพติด ส่วนหนึ่งก็เป็นคดีตาม พ.ร.บ.ต่างๆ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้

    "ความประทับใจในการทำงาน คงเป็นเรื่องของคดีไปอยู่ต่างจังหวัด เขาพูดภาษาถิ่น(ภาษาอีสาน) ก็อาจจะมีความพยายามในการเข้าใจพอสมควร แต่เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจเขาและชินมากขึ้น ชีวิตที่อุดรฯ นอกจากทำงานก็ไปวิ่ง ขี่จักรยาน ร่วมงานกับเพื่อนๆ ในสำนักงาน ไปเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง เท่าที่มีอยู่ก็มีความสุขมากทีเดียว"

    พระองค์ภา มีรับสั่งเล่าถึงการดำเนินชีวิตใน จ.อุดรธานี

    พร้อมกันนี้ก็รับสั่งเล่าถึงการทรงงานในฐานะทรงเป็นทูตขอยูนิเฟมด้วยว่า ทรงเห็นว่าเรื่องความรุนแรงต่อสตรีเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในสังคมไทย โครงการเป็นโครงการต่อต้านความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ

    จึงมีพระประสงค์รณรงค์ให้สังคมไทยยอมรับว่ามีสิ่งเหล่านี้อยู่ในสังคมและมีหนทางที่จะแก้ไข การศึกษาขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายและแม้แต่สังคมต้องช่วยกันดูแล


    "โดยส่วนตัว คิดว่าปัญหานี้น่าจะเริ่มแก้ไขกันจากขั้นพื้นฐานของจิตใจ คือเริ่มจากการศึกษา การปลูกฝังภายในบ้านว่าการทำความรุนแรงต่อผู้อื่นนั้นจริงๆ แล้วไม่ว่าสตรีหรือไม่ก็ตาม เป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดปัญหาทั้งตนเองและผู้อื่นในระยะยาวต่อไป"



    ติดตามเรื่องราวของเจ้านายนักกฎหมายของชาวไทยได้ในรายการเจาะใจ ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 พร้อมพระอิริยาบถง่ายๆ สบายๆ ไม่ถือพระองค์ วันที่ 20 พฤศจิกายนนี้

    -------------
    [​IMG]
    http://www.komchadluek.net/2008/11/17/x_lady_i001_231540.php?news_id=231540

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    พระภาระ"พระองค์ภา" ทูตยูนิเฟม-งานอัยการ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ในเดือนของการรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงต่อสตรี รายการเจาะใจ บริษัท เจเอสแอล ได้รับพระกรุณาธิคุณอย่างสูงจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประทานสัมภาษณ์พิเศษถึงเรื่องชีวิตการทรงงานในหน้าที่ "ทูตสันถวไมตรี" ของกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเฟม เพื่อรณรงค์ในประเด็นการหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยรายการจะออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา 22.25 น. ทางททบ. 5

    "ที่ทำให้ตัดสินใจมาเป็นทูตของยูนิเฟม มองเห็นว่าเรื่องความรุนแรงต่อสตรีเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมไทย ไม่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมใดๆ เพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อเกิดผลกระทบที่สูญเสียมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล ทรัพยา กรทางเศรษฐกิจ จิตใจ ความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติบ้านเมือง ความรุนแรงต้องยุติ และมีการรณรงค์ให้สังคมยอมรับว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงและมีหนทางแก้ไข การศึกษาขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมาย และแม้แต่สังคมช่วยดูแลกันเอง

    จริงๆ แล้วโครงการนี้มองถึงความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย การฆ่ากันตาย การข่มขืน รวมไปถึงการคุกคามทางด้านจิตใจ สติปัญญา การกดขี่ข่มแหงในด้านอื่นๆ ประเด็นหนึ่งที่สำคัญในประเทศไทยคือความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งอาจจะเป็นกรณีสามีทำร้ายภรรยา พ่อแม่ทำร้ายลูก บางทีมักจะเป็นปัญหาที่มองไม่เห็นจากบุคคลภายนอก และหาทางแก้ไขเยียวยาได้ยาก ส่วนนี้จะมาสอดรับกับพระราชบัญญัติความรุนแรงในครอบครัวที่มีการประกาศใช้ได้มาครบรอบหนึ่งปีแล้วที่จะเข้าไปจัดการปัญหาความรุนแรงในครอบครัวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และหวังว่าให้เป็นหนทางเยียวยาแก้ไขและสมานฉันท์ปรับปรุงให้มีความสามัคคีกันได้มากขึ้น <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นั่นจึงเป็นที่มาที่ทำให้เกิดโครงการ "หนึ่งเสียงของท่าน ช่วยยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง

    สำหรับโครงการแรกคือการรวบรวมลายเซ็นของผู้ที่มีความตั้งใจทั้งหลายที่จะสนับสนุนโครงการนี้ อย่างที่ปรากฏในโปสการ์ด ในเว็บไซต์ ที่หลายท่านร่วมออกเสียงกันไปแล้ว การออกเสียงคือการแสดงจุดยืนอันมั่นคงว่าในสังคมไทยเราไม่ต้องการความรุนแรงต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดๆ

    โดยทางส่วนตัว คิดว่าปัญหานี้น่าจะเริ่มแก้ไขกันจากขั้นพื้นฐานของจิตใจ คือเริ่มจากการศึกษา การปลูกฝังภายในบ้านว่าการทำความรุนแรงต่อผู้อื่นนั้นจริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นสตรีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดปัญหาทั้งตนเองและผู้อี่นในระยะยาว

    อยากจะขอความร่วมมือของประชาชนทุกๆ คนให้ตระหนักถึงปัญหา อย่านิ่งดูดายกับปัญหา ไม่ว่าจะสิ่งเล็กน้อยประการใดที่จะช่วยกันได้ ปลูกฝังจิตสำนึกดีๆ ต่อกันได้ก็อยากจะเริ่มจากตรงนั้นก่อน บางทีอาจจะมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในทางวิชาการ ในแง่มุมไม่ว่าจะเป็นกฎหมายและในทางสังคมศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืนต่อไป"

    ในรายงานดังกล่าว พระองค์ภาทรงประทานสัมภาษณ์ถึงการทรงงานในฐานะอัยการที่จังหวัดอุดรธานีอีกด้วย

    "ถ้ารวมเวลาทั้งหมดรับราชการเป็นอัยการมาได้เป็นระยะเวลาสองปีแล้ว เข้ามาในระยะเริ่มแรกก็จะอยู่ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อน พูดง่ายๆ ก็คือ เทรนนี่ เด็กฝึกงานนั่นเอง มีหลักสูตรการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พอครบหนึ่งปีก็ถือว่าได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นอัยการเต็มตัว แล้วก็จะมีการส่งไปรับราชการตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ในรุ่นเดียว กันที่อบรมคือรุ่น 39 จะมีรวมตัวเองเป็น 60 คน กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ณ ขณะนี้

    ที่อุดรฯ ก็เพิ่งไปอยู่ตั้งแต่เมษายนปีนี้ อยู่ได้ 6-7 เดือนแล้ว ทำงานจันทร์-ศุกร์ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ บางทีก็อยู่ที่โน่น ถ้าไม่มีงานอะไรก็ไม่ได้เข้ามากรุงเทพฯ จะเข้ากรุงเทพฯ ก็เข้ามางาน เข้ามาหาเพื่อนฝูงบ้าง

    ลักษณะงานเป็นงานที่เคยทำมา จะอยู่ในสำนักงานอัยการส่วนของจังหวัด จะเป็นคดีที่มีโทษสูงเกินกว่าสามปีขึ้นไป คดีจะหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฆ่า พยายามฆ่า ข่มขืน คือคดีอาญาทั่วไปตามปกติ และคดียาเสพติด ส่วนหนึ่งก็เป็นคดีตามพ.ร.บ. ต่างๆ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้

    สไตล์การทำงานขึ้นอยู่ว่าพยานเป็นใคร เป็นคดีลักษณะไหน ถ้าเป็นคดีที่ใช้ความนุ่มนวล เช่น ผู้เสียหายอายุน้อย หรือเป็นคนที่มีจุดอ่อน เป็นสตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศก็คงจะเบาๆ กับเขานิดหนึ่ง แล้วแต่ลักษณะคดี

    ความประทับใจในการทำงานคงเป็นเรื่องของคดีไปอยู่ต่างจังหวัด เขาพูดภาษาถิ่น ก็อาจจะมีความพยายามในการเข้าใจเขาพอสมควร แต่เดี๋ยวนี้ก็เข้าใจเขาและชินมากขึ้น"

    แม้จะดำรงพระยศ พระเจ้าหลานเธอฯ แต่พระองค์ภาทรงใช้ชีวิตเรียบง่าย ที่พักเป็นเรือนพักรับรองของกองทัพอากาศ พักอยู่ในเขตกองบิน 23 ติดสนามบิน ไม่ไกลจากสำนักงานมาก ตรัสว่าขับรถไปห้านาทีก็ถึงแล้ว สบายทีเดียว สะดวกมาก น้ำไหล ไฟสว่าง

    "ชีวิตที่โน่นนอกจากทำงาน ก็ไปวิ่ง ขี่จักรยาน ร่วมงานกับเพื่อนๆ ในสำนักงาน ไปเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง"

    เมื่อพิธีกรทูลถามถึงความสะดวกสบาย แตกต่างจากในวังหรือไม่นั้น พระองค์ภาตรัสว่า "เท่าที่มีอยู่ก็มีความสุขมากทีเดียว"


    -------------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBd09DMHhNUzB4Tnc9PQ==
     
  3. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    "ชีวิตอัยการ" ของเจ้าหญิงนักนิติศาสตร์



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>นับจากที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงได้เริ่มทรงงานด้านกฎหมายในคณะผู้แทนไทย ณ สหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ก ทรงเป็นอาจารย์สอนกฎหมายในระดับปริญญาโทของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันทรงงานในฐานะอัยการ ที่สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี

    "รับราชการเป็นอัยการมา 2 ปีแล้ว เริ่มแรกอยู่ในตำแหน่งอัยการผู้ช่วย พอครบหนึ่งปีก็ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นอัยการเต็มตัว รับราชการตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย" พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประทานสัมภาษณ์พิเศษให้กับรายการ "เจาะใจ" ของบริษัทเจเอสแอล ถึงเรื่องชีวิตการทรงงาน <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ล่าสุดพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเลือกทรงงานที่จังหวัดอุดรธานี พระองค์ทรงตรัสว่า อยู่ที่จังหวัดอุดรธานีได้ 6-7 เดือนแล้ว ทำงานจันทร์-ศุกร์ หยุดเสาร์-อาทิตย์

    "ลักษณะงานจะเป็นคดีที่มีโทษสูงเกินสามปีขึ้นไป คดีจะหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ พยายามฆ่า ข่มขืน คดีอาญาทั่วไปตามปกติ และก็เป็นคดียาเสพติด คดีตาม พ.ร.บ.ต่างๆ เช่น พ.ร.บ.ป่าไม้ ซึ่งสไตล์การทำงานขึ้นอยู่ว่าพยานเป็นใคร เป็นคดีลักษณะไหน" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระองค์ยังตรัสถึงการใช้ชีวิตที่ จ.อุดรธานีด้วยว่า ที่พักเป็นเรือนพักรับรองของกองทัพอากาศ พักอยู่ในเขตกองบิน 23 ติดสนามบิน ไม่ไกลจากสำนักงานมาก ขับรถไปห้านาทีก็ถึงแล้ว ชีวิตที่โน่นนอกจากทำงาน ก็ไปวิ่ง ขี่จักรยานไปเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง เท่าที่มีอยู่ก็มีความสุขมากทีเดียว

    แม้จะทรงงานหนัก แต่พระองค์ก็ยังทรงรับเป็นทูตสันถวไมตรี ให้กับกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ UNIFEM รณรงค์การหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง

    "เรื่องความรุนแรงต่อสตรีเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมไทย คิดว่าปัญหานี้น่าจะเริ่มแก้ไขจากขั้นพื้นฐานของจิตใจ คือเริ่มจากการศึกษา การปลูกฝังภายในบ้านว่าการทำความรุนแรงต่อผู้อื่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นสตรีหรือไม่ก็ตามเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดปัญหาทั้งตนเองและผู้อื่นในระยะยาวได้ด้วย"

    หลักการและแนวพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภานั้น คนไทยสามารถยึดเป็นแบบอย่าง และน้อมนำไปปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม

    ติดตามเรื่องราว "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา" พร้อมพระอิริยาบถง่ายๆ ในรายการ "เจาะใจ" วันที่ 20 พฤศจิกายนนี้

    ------------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lad01181151&sectionid=0115&day=2008-11-18
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...