ชี้โทษพระขับรถถึงขั้นขับออกจากวัด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 10 มกราคม 2014.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติย้ำ คำสั่งห้ามพระภิกษุ-สามเณรขับขี่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์บนถนนสาธารณะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ กำหนด
    โทษฝ่าฝืนตั้งแต่ตักเตือนจนถึงขั้นให้ออกจากวัด เผยพบพฤติกรรมนี้มากทางภาคเหนือ ตักเตือนแล้วหลายครั้งแต่ไม่ได้ผล คาดช่วยลดการครอบครองรถส่วนตัวของพระสงฆ์ในอนาคตได้ ระบุต่อไปพระสะพายกล้องถ่ายรูปอาจโดนด้วย
    เมื่อวันที่ 9 มกราคมนี้ นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีเมื่อวันที่ 8 ม.ค. ที่ประชุมคณะสงฆ์ได้มี
    การออกประกาศคณะสงฆ์หนเหนือเรื่องการห้ามพระภิกษุและสามเณรขับขี่รถยนต์และรถจักรยานยนต์บนถนนหลวงหรือในที่ชุมชน เนื่องจากเป็นภาพที่ไม่เหมาะสม ขัด
    ต่อสมณสารูปของพระสงฆ์โดยทั่วไป ซึ่งได้กำหนดบทลงโทษไว้ตั้งแต่ว่ากล่าวตักเตือนตามระดับชั้นการปกครอง และหากผิดซ้ำซากจะมีการภาคทัณฑ์ ห้ามทำเรื่องเสนอ
    เลื่อนสมณศักดิ์เป็นเวลา 3 ปี การพิจารณาความดีความชอบต่างๆ ในสายการปกครอง หรือหากกระทำซ้ำซากจนไม่สามารถตักเตือนได้ ก็อาจจะลงโทษถึงขั้นขับออกจากวัด
    หรือให้ขาดจากความเป็นพระ ว่าคำสั่งของคณะสงฆ์ดังกล่าวที่ออกมานั้น ถือเป็นการกำชับไม่ให้ภิกษุหรือสามเณรกระทำเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของพระสงฆ์
    เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีภิกษุและสามเณรหลายรูป โดยเฉพาะภาคเหนือ เอาความสะดวกเข้าว่า ไม่อยากไปรบกวนผู้อื่น จึงขี่รถจักรยานยนต์หรือขับรถยนต์ออกไปบน
    ถนนหลวงเพื่อทำธุระข้างนอกวัด อันเป็นภาพที่ไม่เหมาะสมต่อวงการพระสงฆ์ไทยโดยรวม ที่ผ่านมามีการตักเตือนแล้วหลายครั้งแต่ไม่ได้ผล จึงจำเป็นต้องออกประกาศดัง
    กล่าว
    "พอประกาศนี้ออกไปมีหลายฝ่ายยังสงสัยว่าเป็นการบังคับใช้เฉพาะพื้นที่หรือไม่ และสามารถอนุโลมให้กรณีใดบ้าง ขอย้ำว่าประกาศฉบับนี้จะบังคับใช้
    กับพระภิกษุและสามเณรทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะภาคเหนือซึ่งพบปัญหานี้มากกว่าที่อื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคของพระสงฆ์ทั่วไป และหากเจ้าคณะ
    ปกครองพบการกระทำผิด ก็สามารถใช้ดุลพินิจตักเตือนและลงโทษได้เลย แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาเรื่องของเจตนาเป็นสำคัญ เช่น พระบางรูปอาจขับรถยนต์หรือจักรยานยนต์
    พ่วงข้างเพื่อนำขยะไปทิ้งนอกวัดใกล้ๆ ขับรถเพื่อขนอุปกรณ์การทำบุญของวัด หรือกระทั่งการที่พระขี่ม้าบนดอยซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นตามลักษณะพื้นที่ ก็ควรต้องอนุโลมให้
    แต่สำหรับพระที่ขับขี่รถบนถนนสาธารณะจนสร้างความเดือดร้อนไม่สบายใจให้แก่ประชาชนอย่างนี้ต้องตักเตือนและลงโทษต่อไป" ผอ.พศ.กล่าว
    นายนพรัตน์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีพระสงฆ์ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมอยู่จำนวนมาก โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเหมือนกับประชาชนทั่วไป แทนที่จะปฏิบัติอยู่
    ในความสำรวม อีกทั้งพบว่าพระบางรูปมีรถยนต์เอาไว้ในครอบครองของตนเอง ซึ่งประกาศนี้ก็ใช้บังคับในกรณีนี้ด้วย เพื่อลดการครอบครองรถยนต์ของพระสงฆ์ในอนาคต
    รวมถึงพระที่สะพายกล้องถ่ายรูปในที่สาธารณะก็ควรต้องมีการควบคุมเช่นกัน อย่างไรก็ดี ประกาศดังกล่าวยังได้ขอความร่วมมือพระภิกษุไม่ควรไปโบกรถขอโดยสารร่วม
    กับรถยนต์ของประชาชนที่สัญจรไปมา เนื่องจากอาจสร้างความรำคาญและลำบากใจให้แก่เจ้าของรถ รวมทั้งเคยมีพระบางรูปใช้โอกาสนี้ให้ประชาชนไปส่งตามที่ต่างๆ
    ก่อนขอปัจจัย อ้างเป็นค่ารถกลับวัดอีกด้วย อีกทั้งยังมีมิจฉาชีพใช้ช่องทางนี้ปลอมเป็นพระสงฆ์สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อพระพุทธศาสนาใน
    ภาพรวม ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวความจริงมีอยู่ในระเบียบคณะสงฆ์อยู่แล้ว เพียงแต่นำมาบังคับใช้เพื่อกำชับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของพระสงฆ์อีกครั้ง รวมถึงเพิ่มบทลงโทษ
    ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นดังกล่าว
    ด้านพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ กิตฺติจิตฺโต หรือหลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม ที่ก่อนหน้านี้เคยตกเป็นข่าวโด่งดังเกี่ยวคดีครอบครองรถ
    ยนต์หรูยี่ห้อ “จากัวร์ แพนเธอร์” กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การออกประกาศฉบับดังกล่าวของทางคณะสงฆ์นั้น ไม่ได้เป็นการห้ามพระภิกษุขับรถเสียทีเดียว เพียงแต่เป็นการ
    ห้ามขับไปในที่สาธารณะเท่านั้น เนื่องจากเมื่อประชาชนพบเห็นจะดูไม่งาม ถือเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดเป็นโลกวัชชะ คือชาวโลกติเตียน แต่อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศ
    นั้นพระภิกษุที่ไปจำพรรษาอยู่ก็ไม่สามารถที่จะหาลูกศิษย์มาขับรถให้ได้ง่ายนัก จึงจำใจต้องขับด้วยตนเอง กรณีนี้ก็เห็นว่าจะมีการอนุโลมให้ รวมถึงพระที่ขับขี่ภายใน
    บริเวณวัดหรือเพื่อปฏิบัติงานของวัดด้วย ทั้งนี้ ข้อห้ามดังกล่าวไม่ได้มีบัญญัติไว้ในวินัยของสงฆ์ ซึ่งปกติพระภิกษุและสามเณรส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีพฤติกรรมเช่นนั้นอยู่แล้ว
    อาจพบบ้างก็เป็นแค่ส่วนน้อยเท่านั้น อาทิ ในจังหวัดทางภาคเหนือจะเห็นพระขี่รถจักรยานยนต์ไปบนถนนสาธารณะก็ทำให้เป็นการดูไม่ดี ไม่สมควร
    "แม้อาตมาจะมีรถยนต์อยู่ในครอบครอง แต่อาตมาก็ไม่ได้เป็นผู้ขับรถด้วยตัวเอง ทุกครั้งที่จะออกไปธุระหรือกิจนิมนต์ที่ไหน ก็จะมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นผู้ขับ
    รถพาไปเสมอ อาตมารู้ดีว่าการขับรถเองไม่เหมาะสมกับสถานภาพของสงฆ์ อีกอย่างหนึ่งอาตมาก็ขับรถเองไม่เป็นอยู่แล้วด้วย และรถยนต์ของอาตมาก็มีเอาไว้เพื่อรับกิจ
    นิมนต์นอกสถานที่ซึ่งอยู่ห่างไกล เพื่อความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้นเท่านั้น" หลวงพี่น้ำฝนกล่าว

    ชี้โทษพระขับรถถึงขั้นขับออกจากวัด | ไทยโพสต์
     

แชร์หน้านี้

Loading...