ช่วยแปลความฝันให้ด้วยค่ะ" สุ สัง สัง วิ สะ ทา ยะ"

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย Jasmin99999, 5 มีนาคม 2013.

  1. Jasmin99999

    Jasmin99999 วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    972
    ค่าพลัง:
    +3,331
    คือฝันว่าหมาสีขาวกัดทั้งข้อมือข้อเท้าเป็นแผล แล้วเจ้าของเขาก็เอาด้ายสีขาวมาผูกข้อมือให้ ในฝันเรากลับภาวนาคาถาดังที่บอกข้างต้น พอตื่นมาเราก็ยังภาวนาคำนั้นอยู่
    เลยอยากทราบว่าความฝันนี้แปลว่าอะไรและคาถานี้คือคาถาอะไรคะ
     
  2. naphatchon

    naphatchon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +163
    ทุกขลาภครับฝันนี้มีร้ายแต่ก็มีดีตามมา
     
  3. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    คาถานี้เป็นบทมนตร์เฉพาะตัวของคุณครับ เรียกกันว่าพีชมนตร์
    ยกนิทานมาเล่าให้ฟัง
    เหมือนอย่างคนนอกวรรณะเป็นที่รังเกียจแก่พราหมณ์ แต่ทำดีพระศิวะพอพระทัยพระองค์โปรดมากเลยให้พีชมนตร์ให้ภาวนา
    ครั้งหนึ่งพราหมณ์เลี้ยงกันงานใหญ่มีขนมนมเนย คนผู้นี้น้อยใจเลยแอบเป่าพีชมนตร์ อาหารกลายเป็นกบเป็นคางคก พรามหณ์เห็นตกใจเลยต้องเชิญผู้นั้นมาร่วมด้วย เค้าจึงแอบเป่าพีชมนตร์อีกครั้งกลายเป็นอาหารตามเดิม

    ในฝันนี้อาจเป็นบอกเหตุว่ามีผู้ใกล้ตัวมาทำร้าย หรือแอบใส่ความให้เดือดร้อน
    แล้วมีใครซักท่านเมตตามาบอกว่าจะช่วยเลยนิมิตและบอกคาถาให้หากเดือดร้อนในยามนี้ครับ
     
  4. Jasmin99999

    Jasmin99999 วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    972
    ค่าพลัง:
    +3,331
    อ๋อ...เป็นอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณมากค่ะ ต่อไปจะเอามาเป็นคำภาวนาค่ะ

    แต่ก่อนก็เคยฝันเห็นอีกคาถานึง จำได้จนเท่าเดี๋ยวนี้ว่า "วัฎฏะ วัฎฏะ มหาทานิ" ยังไม่รู้เหมือนกันว่าแปลว่าอะไร
     
  5. chollada

    chollada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +484
    คุณnamittaคะ ช่วยแปลคาถาได้มาจากหนังสือฉบับหนึ่งท่านว่าให้ท่องอยู่เสมอๆว่า พุทธา อะเนนา มลิยา สุสังคเยมิ ดิฉันท่องอยู่ไม่กี่ครั้งจำได้ทันที แต่อยากรู้ความหมายค่ะ
     
  6. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    "คาถาสาริกาลิ้นทองอีกชุดหนึ่ง
    พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ
    พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ
    พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ
    อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต

    ใช้สวดภาวนาหากต้องการให้คนรักใคร่ พูดจาเป็นเสน่ห์ ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง" อันนี้คัดมาจากในเน็ต



    แต่อันนี้มาจากตำราสวดมนต์ตั๋นทางเหนือ

    "คาถาทั้ง ๓ นี้ มีคำแปลเป็นภาษาไทยดังนี้

    ๑. พุทฺธา อนูนามริยา สุสงฺขเย
    พุทฺธา อนีนาสุหลา ธิสงฺขเย
    พุทฺธา ริโย๑ เฆ มกุ ลกฺขกปฺเป๒
    วนฺทามิ เต สูรนรกฺกเม สเม.

    ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เสด็จอุบัติใน ๗ อสงไขย ๑๒๕,๐๐๐ พระองค์ เสด็จอุบัติใน ๙ อสงไขย ๓๘๗,๐๐๐ พระองค์ เสด็จอุบัติใน ๔ อสงไขย ๑๒ พระองค์ เสด็จอุบัติในแสนมหากัปป์ ๑๕ พระองค์ รวมทั้งสิ้น ๕๑๒,๐๒๗ พระองค์ ซึ่งมีพระคุณเสมอกันทุกพระองค์ (หรือมีสังสารทุกข์ระงับแล้ว)




    ๑ ควรเป็นรูปพหูพจน์ว่า ริยา แต่เห็นเป็น ริโย ทุกฉบับจึงใช้ตามนี้ก่อน แต่ถ้าเป็น ริโย ควรสนธิกับศัพท์
    หลังว่า ริโยเฆ โดยตัดบทสนธิว่า ริยา+โอเฆ ตามนัยนี้โอฆศัพท์เป็นสังเกตสังขยาใช้แทนจำนวนสี่ เพราะโอฆะมี ๔ คือ กาโมฆะ, ภโวฆะ, ทิฏโฐฆะ, อวิชโชฆะ
    ๒ เป็น ลกฺขกปฺปเก ก็



    ๒. พุทฺธา อนูนานมรา ภยายํ๑
    ชยมฺหิ พุทฺธา อนุนาฆโสสา
    พุทฺธา วรา เช นลิ ลกฺขกปฺเป๒
    วนฺทามิ เต ฆมฺมนุภารเนเก.

    ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เสด็จอุบัติใน ๑๔ อสงไขย ๒๕๐,๐๐๐ พระองค์ เสด็จอุบัติใน ๑๘ อสงไขย ๗๗๔,๐๐๐ พระองค์ เสด็จอุบัติใน ๘ อสงไขย ๒๔ พระองค์ เสด็จอุบัติในแสนมหากัปป์ ๓๐ พระองค์ รวมทั้งสิ้น ๑,๐๒๔,๐๕๔ พระองค์



    ๓. พุทฺธา อนูนานุนิมา ชรายํ๓
    พุทฺธา อนูนาชวณาปิ จคฺเค
    ตเกสุ โชวา นจุ ลกฺขกปฺเป๔
    วนฺทามิ เต ชญฺปทาภินาเร.๕

    ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เสด็จอุบัติใน ๒๘ อสงไขย ๕๐๐,๐๐๐ พระองค์ เสด็จอุบัติใน ๓๖ อสงไขย ๑,๕๔๘,๐๐๐ พระองค์ เสด็จอุบัติใน ๑๖ อสงไขย ๔๘ พระองค์ เสด็จอุบัติในแสนมหากัปป์ ๖๐ พระองค์ รวมทั้งสิ้น ๒,๐๔๘,๑๐๘ พระองค์



    ๑ ควรเป็น ภเยสุ เพราะเป็นวิเสสนะของ อสงฺเขยฺเยสุ หรือเป็น ภยมฺหิ แต่สังขยากับนามต่างลิงค์กันก็มีได้
    ในบาลีกำหนดให้จำนวนตั้งแต่ ๑๙ - ๙๘ เป็นอิตถีลิงค์เอกพจน์อย่างเดียวแต่ในที่นี้เป็นจำนวน ๑๔ ถือ
    เป็นเรื่องแปลก ลางทีสังขยาประเภทนี้อาจจะไม่นิยมลิงค์และพจน์ก็ได้โปรดสังเกตคำว่า เฆ, เช เป็นต้น
    ไม่เป็น เฆสุ, เชสุ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอำนาจฉันท์บังคับแต่คำว่า ตเกสุ ในคาถาที่ ๓ ประกอบเป็นรูป
    พหูพจน์ได้ถูกต้อง บางครั้งคงต้องการให้สวดสะดวก (สุขุจฺจารณ) หรือคล่องปาก (มุขารุฬฺห) กระมัง?
    อย่างคำว่า ริโย ก็ไม่เป็น ริยา หรือจะถือว่าบทเหล่านี้เป็นอุตตรปทโลปสมาสที่ลบบทเบื้องปลาย โดย
    คำว่า เฆ ก็ดี เช ก็ดี มาจากคำว่า ฆอสงฺเขยฺเย และ ชอสงฺเขยฺเย ดังนี้ก็ได้
    ๒ เป็น ลกฺขกปฺปเก ก็มี
    ๓ ควรเป็น ชเรสุ หรือ ชรมฺหิ
    ๔ เป็น ลกฺขกปฺปเก ก็มี
    ๕ เป็น ชญฺปทาภนาเร ก็มี



    เป็นการแต่งตามวัณสังขยาเพื่อสรรเสริญพระพุทธเจ้าทั้งปวง ตามแบบฉบับนักปราชญ์บาลีล้านนาครับ
    "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...