เรื่องเด่น ฌาน... ความสุขในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 9 มิถุนายน 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    มรรค นี้ ใช้ได้ตั้งแต่ รอบเล็กไปถึงรอบใหญ่

    เลือกเอาตามความละเอียด และ ความแจ้ง อันเกิดจาก ธัมมวิจยในตน
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถูกแล้วโลกุตรฌานกับโลกียฌานมันคนละเรื่องกันเลย สำหรับผมเห็นเรื่องโลกียฌานเป็นเพียงเที่พักจิตพักใจ เพราะมีเพียงสุขกับสงบหรือความหมายอีกนัยคือ จำกัดอารมณ์ ผัสสะและเวทนาด้วยสติที่เพ่งลงไป จึงมีองค์ประกอบตามที่ได้ทราบกันถ้วนทั่วในพุทธบัญญัติ ทั้งขณะเป็นโพธิสัตว์และเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ใครจะทราบได้ว่าความเหมือนในความต่างของสองฌานนี้เป็นอย่างไร ไม่กล่าวเพราะ กิเลสจะพาลหลอกผู้อื่นไปอีก แต่ข้อสังเกตขณะที่พระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์อยู่นั้น ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ทรงเข้าปฐม ทุติย ตติย จตุตถ ฌานตามลำดับ จึงน้อมจิตไปสู่วิชชาทั้งสาม และอภิญญา๖ โดยเฉพาะลำดับที่ ๖ อาสวะขยญานนั้น หลังจากนั้นพระองค์ก็ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว การเวียนเกิดเวียนตายก็สิ้น
    จากตรงนี้ผมเห็นว่าคำว่าโลกุตรฌานคือการนำผลของฌาน คือ ความสงบ สงัดจากกามทั้งหลาย หมายถึงปราศจากกิเลส แสดงว่า ก่อนจะพิจารณาธรรมใดๆก็ตามถ้าว่าตามพระไตรปิฏกจริงๆก็ต้องทำให้จิต สงบ สงัดจากกาม หรือปราศจากกิเลสก่อนจึงพิจารณาธรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น สติปัฏฐาน ๔ หรืออะไรก็ตามถ้าต้องการเพื่อให้เห็นธรรมนั้นตามจริง
    อนุโมทนาครับ
     
  3. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ที่จริงมันก็จริงนะครับ อย่างเวลาเราว่างๆ เช่นรอรถติดมาก เหตุข้างหน้าเราไม่รู้ จส.100 ยังไม่มีรายงาน ไม่รู้ว่าจะต้องติดในรถไปถึงเมื่อไหร่ ไม่ขยับเลย

    พี่ตรงประเด็นบอกว่า อานาปาณสติ จับลม 2ปื้ด ผ่องใส สบาย ความเบื่อมันหายจริง
    เหมือนเปลี่ยนจากตัวรู้เบื่อ ไปรู้สงบแทน
    พี่นิวรณ์ว่า ดูความเบื่อมันเกิด มันก็เป็นสภาวะนึงที่เกิดขึ้น จากสัญญาเก่าว่าเราควรจะไม่ต้องเจอรถติด ควรจะไปเรื่อยๆ ดูสักพักเหมือนเราเห็นมัน ยังไม่ทันจับเข้าไตรลักษณ์ ไม่เที่ยงหนอเลย มันก็หายเบื่อเองแฮะ

    แล้วอย่างนี้ พี่ตรงประเด็นมีความเห็นว่าอย่างไรครับ
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,622
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,194
    ท่านอาจานขันธ์ครับ ภาษาพูดบางครั้งทำให้เข้าใจได้ยาก
    ยินดีครับที่ชี้แนะ ผมอาจสื่อไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร
    การที่จะสงบจากกุศลได้นั้น ต้องมีปัญญาใช่มั้ย?
    ถ้าไม่มีปัญญาจะปล่อยวางกุศลต่างๆได้หรือ?

    ขณะที่จิตจะสงบลงไปเป็นลำดับนั้น
    จิตจะต้องค่อยๆปล่อยวาง(วิปัสสนา)อารมณ์ต่างๆออกไปเป็นลำดับเช่นกัน
    สภาวะที่สงบเงียบลงไปนั้น เป็นการพิจารณากายในกายเป็นภายในอยู่
    จิตก็ยังรู้อยู่ตลอดเวลาว่า ขณะนี่ปล่อยวางองค์ธรรมอะไรออกไปได้บ้าง

    ขณะเมื่อจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวถึงขีดสุด
    เรา(จิต)ก็จะเห็น(พิจารณา)สภาวะจิตที่ปราศจากอารมณ์เป็นเช่นใด
    เมื่อจิตถอยออกมา เพื่อพิจารณากายในกายเป็นภายนอกบ้าง สลับกันไป
    จิตย่อมเห็นความแตกต่างระหว่าง ความสงบระงับในขันธ์๕ กับความฟุ้งซ่านไปตามขันธ์๕เช่นกัน...

    ;aa24
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ข้ออนุญาติเสนอความเห็นที่ผมเล็งเห็นว่ามีความสับสน

    สติปัฏฐาน ๔เป็นนิมิตของสมาธิ

    คำว่า นิมิต นั้น โดยปรกติจะแปลว่า เป็นเครื่องรู้ เป็นสิ่งที่อาศัยเพื่อการรู้

    แต่คุณตรงไปเด็นเกิดสับสนคำศัพท์ เพราะไปตั้งคำถามในใจว่าสมาธิเกิดได้อย่างไร
    อยู่ถ่ายเดียว พยายามหาที่มาของสมาธิเพียงด้านเดียว จึงมองไม่ออกว่า ประโยค
    ที่พูดถึงที่มาของสมาธิ คือ สัมมัปปธาน ซึ่งจะเป็นเรื่องเนื่องกับศีล

    ส่วนประโยคที่พูดว่า สติปัฏฐานเป็นนิมิตของสมาธิ นั้นจึงหมายถึง เมื่อจิตมีสมาธิ
    แล้วให้นำออกมารู้สติปัฏฐาน ซึ่งจะตรงกับสำนวน "เมื่อออกจากสมาธิแล้วให้ทำ
    วิปัสสนา" ในกรณีสายบริกรรมจะไม่เอาสมาธิที่มีมาทำสติปัฏฐาน แต่จะมุ่งเน้น
    เอาสมาธิมาออกคำบริกรรม เพื่อมุ่งให้สมาธิแก่รอบจนสนิทเสียก่อน แล้วจึงค่อย
    เอามาออกรู้ในส่วนสติปัฏฐาน

    แต่จริงๆแล้ว จิตที่มีสมาธิ(มีพลัง)นั้น มีเท่าไหร่ก็เอาออกมารู้สติปัฏฐานแทนคำบริกรรม
    ก็ได้ และให้ผลอย่างเดียวกัน เพราะสติปัฏฐานในขณะที่สมาธิไม่แก่รอบก็คือการออก
    คิด การออกคิดก็คือตัวเดียวกันกับคำบริกรรม แต่ผลของสมาธิจิตที่แนบแน่นภายหลัง
    นั้น หากเกิดจากการมุ่งทำคำบริกรรมให้หายไป ก็จะได้สมาธิที่แก่รอบเท่านั้น ยังเหลือ
    งานออกรู้ในสติปัฏฐานอยู่ หากไม่ออกรู้งานในส่วนสติปัฏฐานผลจะทำให้เกิดสมาธิไม่
    ต่างจากสมาธิที่เกิดก่อนการทำสติปัฏฐาน พูดอีกนัยคือ ได้ผลเป็นสมาธิที่เกิดก่อนพระ
    พุทธศาสนาเกิด

    งานออกรู้สติปัฏฐานจึงเป็นงานหลัก งานหลักตรงนี้ พระบางท่านเห็นว่า ต้องทำที
    หลังการเกิดสมาธิที่แนบแน่นแล้วเท่านั้น พระบางท่านเห็นว่าไม่จำเป็นสามารถเอา
    สมาธิเท่าที่มีออกรู้สติปัฏฐานได้เลย สมาธิหากแนบแน่นก็จะบริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะ
    ไปพร้อมกันในตัว ต่างจากการมุ่งเน้นสมาธิให้แนบแน่นก่อนแล้วค่อยเจริญสติปัฏฐาน
    เข้าไปทีหลัง จึงเกิดคำว่า ทางตรง(ทำสติปัฏฐานควบไปเลย) กับ ทางอ้อม(วกมาทำสติ
    ปัฏฐานทีหลัง)

    เมื่อ ระบุ สติปัฏฐาน คือ สิ่งออกรู้ ของจิตที่มีสมาธิ ตรงนี้ก็จะทำให้คลายความสงสัย
    ในประเด็น แล้ว สติปัฏฐานไปเกี่ยวกับฌานได้อย่างไร? ได้ด้วย

    และความแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดของ ฌาณนอกศาสนา กับ ฌาณที่เกิดจากสติปัฏฐาน
    คือ ฌาณนอกศาสนานั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนๆนั้นจะต้องอยู่นิ่งๆ ฌาณยิ่งสูงก็ยิ่งนิ่ง ไม่มี
    สติสัมปชัญญะในการออกมาเดินเหิน ซึ่งต่างจากฌาณที่เกิดจากสติปัฏฐานซึ่งจะมีสติ
    สัมปชัญญบริบูรณ์ยิ่ง สามารถเดินเหินและใช้ชีวิตตามปรกติได้เหมือนคนธรรมดาๆ จึง
    ทำให้เป็นนาบุญที่เป็นประโยชน์สามารถสอนธรรมะได้ พร้อมสลัดคืนธรรมแก่ผู้สนใจธรรมได้

    แล้วในบรรดาสติปัฏฐานทั้ง4 หากผู้ใดนำสมาธิมาออกรู้ในส่วน ธรรมานุสติปัฏฐาน เป็น
    วิหารธรรม ก็จะเป็นบุคคลที่มีประโยชน์ต่อโลกมากที่สุด เพราะสามารถสอนธรรมได้อย่าง
    ปราณีต ไม่ต้องอาศัยธรรมชนิดตื่นข่าวเป็นเครื่องล่อใจให้เกิดศรัทธา และเห็นธรรม เพราะ
    ไม่มีอะไรจะมีคุณไปกว่า แสงอันเกิดจากองค์ปัญญา
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    การดูเบื่อ ก็คือ คนที่มีภาวนาอินทรีย์แก่รอบในการเห็นองค์ธรรมนั้น และ
    ความเบื่อเป็นธรรมส่วนนิวรณ์ คุณ PSI จึงทำ ธรรมานุสติปัฏฐาน อยู่
    ผลจึงเกิดการตัดด้วยองค์ปัญญา แต่ก็ยังถือว่าเป็นโลกียะปัญญา เพราะ
    ยังไม่ใช่การพิจารณาเห็นที่อริยสัจจอันเกิดจากจิต ยังไม่เห็นความไม่เที่ยง
    ในจิต เนื่องจากยังรักสิ่งทีเรียกว่าจิต และเห็นจิตนำความสุขมาให้

    การที่เห็นจิตนำความสุขมาให้ ตัวนี้เป็น สักกายทิฏฐิ ทำให้เกิดการกระทำ
    กรรมชนิดเข้าฌาณจิต เพราะฌาณจิตนำความสุขมาให้จิต ตรงนี้จึงทำให้
    จิตยึดการดูลมเพื่อเป็นวิหารธรรม

    ซึ่งเมื่อพิจารณาลงไปจะเห็นว่า จิตจะเลือกข้างทำวิหารธรรมเข้าสู่ฌาณจิต
    หรือ จิตจะเข้าสู่การเห็นธรรมานสติปัฏฐาน นั้นเลือกไม่ได้ มันจะพิจารณา
    ของมันไปเองโดยไร้การบังคับ แต่การที่มันมีทางเลือกก็เนื่องมาจากเรา
    อบรมจิตไว้เนืองๆ

    พี่ PSI ก็พิจารณาเอาตามแต่สะดวกว่า จะเดินไปทางไหนให้มาก ให้เกิดเนืองๆ

    ถ้าเลือก สติปัฏฐาน4 แนะนำว่า อย่าเลือกกอง อะไรปรากฏในปัจจุบันก็เลือก
    พิจารณาอันนั้นก่อน อย่าลังเล

    ไม่เลือกได้ไหม...ไม่ได้หรอก อย่ารำคาญใจ

    ไม่รำคาญใจได้ไหม ไม่ได้หรอก อย่าฝุ้งซ่าน....

    ไม่ฝุ้งซ่านได้ไหม..ไม่ได้หรอก อย่าท้อถอย

    ไม่ท้อถอยได้ไหม..ไม่ได้หรอก อย่ายึดมั่นในนาม

    * * * *

    แต่ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ออกรู้ไปทางไหน ผลอันเกิดจากจิตห่างอกุศลธรรม
    สงัดจากกาม เกิดขึ้นได้จากสองทางนั้น ทางแรกเป็นสุขอันเกิดจากฌาณมาก่อน
    ส่วนที่สองเป็นสุขอันเกิดจากการรู้ทุกขไปตรงๆ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมได้
    ด้วยองค์ปัญญา(สุขก็สั้นลง ทุกข์ก็สั้นลง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ข้อกังขาเรื่อง อภิญญา บางประการ :

    หลายครั้งที่นักปฏบัติมีใจน้อมไปในอภิญญา จึงมีความคิดแล่นไปว่า ต้องกระทำฌาณ
    ให้เกิดก่อนเท่านั้น ใครก็ตามไม่ทำฌาณให้เกิดก่อน ก็มีโอกาสพลาดไม่ได้อภิญญาใดๆ

    ตรงนี้ ขอชักชวนคนที่มีศรัทธาเกินประมาณ ลองสดับ เพื่อความจางคลายในทิฏฐิบาง
    ประการนั้น

    ในพระสูตรมีการกล่าวถึง ภิกษุณเอทัคคะท่านหนึ่ง ในอรรถกถานั้นบรรยายว่าเป็นผู้
    ได้ปฏิสัมภิทาญาณเมื่อบรรลุธรรม และธรรมที่บรรลุนั้นก็แค่ โสดาบันเท่านั้น ในอรรถ
    กถายังกล่าวด้วยว่า เป็นบุคคลที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณครบโดยจิตไม่เกิดฌาณขึ้นเลย
    ไม่ต้องอาศัยฌาณแต่อย่างใด

    ความนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร จะเป็นจริงได้ไหม อันนี้ก็ต้องให้สาธุชนพิจารณาด้วยศรัทธา
    เอาเอง

    อรรถกถาอธิบายว่า ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณโดยที่จิตไม่ต้องทำฌาณเลยนั้น เป็นเพราะ
    ในอดีตชาติอันไกลโพ้นเกินกว่าสาวกใดๆจะระลึกขาติได้ถึง ท่านเคยทำบุญกับพระปัจเจก
    พุทธเจ้ามาก่อน และบุญที่ได้ทำนี้เป็นผลให้ได้ปฏิสัมภิทาญาณ

    ตรงนี้ไม่ได้กล่าวขึ้นเพื่อให้มุ่งหวัง ส้มหล่น

    แต่กล่าวขึ้นเพื่อให้คลายความยึดมั่นถือมั่นเรื่องฌาณลงเสียบ้าง ซึ่งน่าจะ
    เป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ เพราะท่านๆ จะได้วาง เจตนา ได้บ้าง เพื่อ
    ให้สอดคล้องคำพระที่ว่า "เมื่อหมดเจตนาสมถะก็จะเกิด" (สมถะตัวนี้
    อย่าลืมว่าคือ สัมมาสมาธิ ไม่ได้หมายถึง ฌาณ แณณ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  8. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    พิจารณา(วิปัสสนา) เพื่อให้เกิด ฌาณ
    VS
    ทำฌาณ เพื่อให้เกิด การพิจารณาที่มีประสิทธิภาพ(วิปัสสนา) ???

    น่าสนใจ...
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เริ่มต้นถูกแต่ต้น

    VS

    กูขอผลัดวันประกันพรุ่งการเริ่มต้นถูกไว้ทีหลัง

    [ ไม่ได้ว่าทำไม่ถูกนะ เพราะคำว่า ถูก ไม่ได้หมายถึง ถูกที่สุด ถูกโป๊ะเช๊ะ
    เพราะ ถูกที่สุด ถูกโป๊ะเช๊ะ ไม่มี ต่อให้ทำแบบแรก หรือ แบบหลัง ก็ยัง
    มีความประมาทได้ทั้งคู่ หากความประมาทเกิดขึ้นแล้วก็ปิดทางตัวเองไป
    แล้วแต่ต้น ต่อให้ทำได้ถึงที่สุดก็ไม่เกิดผล ]

    [ โดยเฉพาะคนที่ยังปฏิบัติอยู่ ยังต้องอาศัยความเชื่อ แต่กลับใช้ความ
    เชื่อตามที่ฟังมาไปก่อ ความจานลายที่ปากแล้ว ก็เป็นอันเปล่าประโยชน์
    ไป ทำอะไรๆก็ไม่ขึ้น ความจัดเจน ความคิด ก็ กระพร่องกระแพร่ง พูด
    ออกมาแต่ละทีมีแต่การแสดง อุปปาทาน ยกตัวอย่างเช่น อย่างนั้น อย่าง
    นี้ ....น่าสนใจนะ หรือ อย่างนั้น VS(รบกับ) อย่างนี้ เป็นต้น ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แนวทางการปฎิบัติภาวนาในศาสนาพุทธ ทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้

    1. แนวสมถยานิก หรือสมาธินำปัญญา หรือแนวพระป่า ในพระไตรปิฎก
    จะเรียกว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า คือการที่ทำสมถะจนถึง
    ฌานสองขึ้นไป แล้วเอาผู้รู้ที่เกิดในฌานมาเจริญวิปัสสนา

    2. แนววิปัสสนายานิก หรือปัญญานำสมาธิ ในพระไตรปิฎกจะเรียกว่า
    เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า คือการเจริญสติ ตามรู้กาย
    ตามรู้ใจ ตามความเป็นจริงเลย เพราะขณะเจริญสติจะเกิดการสลับระหว่าง
    สมถะและวิปัสสนาครับ

    3.แนวสมาธิควบปัญญา ในพระไตรปิฎกจะเรียกว่า เจริญสมถะและวิปัสสนา
    ควบคู่กันไป ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน

    4. แนวนี้ไม่รู้จะเรียกอะไรแต่ในพระไตรปิฎกเรียกว่า ใจของภิกษุปราศจาก
    อุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิด
    ดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่

    โดยทั้งสี่แนวทางมีอยู่ใน ยุคนัทธสูตร พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ซึ่งพระอานนท์ได้
    กล่าวถึง ภิกษุที่บรรลุอรหันต์ในสำนักท่านที่มีอยู่ 4 แนวทาง


    “สมถะ” เป็นอุบายสงบใจจากกิเลสนิวรณ์ ส่วน “วิปัสสนา” เป็นอุบายเรืองปัญญา ให้เกิดปัญญา ดังกล่าวมาแล้ว เพื่อจะได้ปหานสังโยชน์ได้ ทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นคู่กัน เป็นไปด้วยกัน ไม่ได้แยกกัน และพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึง “วิชชา” ซึ่งเป็นเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด ท่านทั้งหลายคงได้ยินว่าหลวงพ่อสดท่านเทศน์ให้ฟังว่า วิชชาภาคิยะ มีอยู่ ๒ อย่างนะ คือ พระโยคาวจร จะเจริญวิชชาเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด ต้องทั้งสมถะและวิปัสสนา พูดกันอย่างง่ายๆ เลยว่า
    สมถะ อบรมจิตให้ละกามราคะได้ พ้นจากราคะ
    วิปัสสนา อบรมปัญญา ให้ละอวิชชา
    มูลรากฝ่ายเกิด​
    แต่ว่าปัญญาจะเจริญไม่ได้ ถ้าจิตชุ่มด้วยราคะ เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมถะกำจัดราคะ ปัญญาและวิปัสสนาถึงจะเจริญได้ เพราะฉะนั้น สมถะกับวิปัสสนาเป็นของคู่กัน

    จากบทความของใครบางคนที่น่าสนใจในเรื่องนี้
    อันที่จริงผมก็ไม่ทราบอะไรมากหรอกครับ เพียงแต่อยากให้ท่านที่กำลังทำความเพียรอยู่นั้นชี้ให้เห็นหน่อยว่า สติปัฏฐานทั้งสี่ที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่อง นิมิตของสมาธิคล้ายๆสัญญาทั้งหลาย หากว่าเป็นความเห็นในสภาวะที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันของแต่ละสิ่งที่พิจารณาทางปัญญา ไม่ว่าจะหยาบหรือละเอียด อย่างหยาบคือไม่ลึกหมายถึงสิ่งที่เป็นอยู่และเห็นได้รู้สึกได้โดยแท้จริงเมื่อมีเหตุให้สิ่งนั้นกระทบ เช่น คนที่ชอบดูหนังโป้หรือมีราคะจริต พอมันละเอียดเข้าเราก็หาเหตุที่ทำไมมันถึงยังมีอยู่ความรู้สึกหรืออนุสัยสันดานนั้นแม้จะไม่เห็นไม่มีสิ่งใดมากระทบ มันยังมีอยู่เพราะสติรู้ว่ามีหลายครั้งที่มันวิ่งเข้ามาที่จิต ดังนั้น การเข้าใจว่าการพิจารณาธรรมคือการสร้างนิมิตนั้นหรือเป็นนิมิตของสมาธิว่าง่ายๆคือ สัญญารมณ์ ถูกสร้างขึ้นด้วยความทรงจำแล้วยังไม่ใช่ด้านปัญญาครับ อภิญญาอะไรนั้นข้ามไปก่อนเพราะของเหล่านั้นจิตจะต้องปราศจากกิเลสในระดับหนึ่งจริงๆเฉียดจะหลุดพ้น หรือไม่ก็หลุดพ้นแล้ว จึงจะมีได้ อันนี้ตามความเข้าใจของผมนะครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  11. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    คัมภีร์อรรถกถาที่กล่าวถึง เรื่องการบรรลุโสดาบัน พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ โดยไม่อาศัยฌาณใดๆนั้น เราต้องพิจารณาให้ชัดว่า ที่ว่าได้ฌาณ หมายถึงอะไร เป็นวสีหรือไม่?

    การสัมปยุตธรรมขององค์มรรค ไม่อาจหลีกเลี่ยงสัมมาสมาธิไปได้เลย
    ดังนั้น สมาธิต้องมีแน่นอนในขณะจิตนั้น แต่ สมาธินี้ จะใช่ตัวเดียวกับฌาณหรือไม่

    ตามความเห็นอันเล็กน้อย สมาธิที่มุ่งหมายไปในทางสงบ ว่าง จึงจะเป็นฌาณ โดยเพ่งไปที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง มีรูปสี่ อรูปอีกสี่
    แต่ถ้าหากเป็นสมาธิที่มุ่งหมายไปเพื่อเป็นบาทฐานของการเจริญวิปัสสนา เพื่อคลายอุปาทานออกไป สมาธินี้จะไม่ใช่เป็นฌาณ หากแต่เป็นองค์ สัมมาสมาธิ

    ส่วนที่กล่าวว่า "เมื่อหมดเจตนาสมถะก็จะเกิด" ตรงนี้ดูเหมือนพาจิตไปไหลไปสู่การตามรู้จนจิตเข้าถึงความสงบ หรือ รู้อย่างมีสมาธิ ซึ่งก็คือ สิ่งที่รู้คืออารมณ์ของสมาธิ โดยปราศจากเจตนา ซึ่งก็มีผลในแง่ของความสงบ ตั่งมั่น
    แต่ไม่อาจทำให้เกิดปัญญาอันใดได้ เพราะจิตไปแช่กับการตามรู้อยู่แบบนั้น ในส่วนของปัญญายังพร่องอยู่

    เพื่อให้เกิดปัญญา เจตนาในการเจริญวิปัสสนาหรือพิจารณาสังขารธรรมทั้งหลาย ขาดไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้น จนกว่าจิตจะชำนาญจึงลดเจตนาลง เพราะฝึกจิตไว้ดีแล้ว

    โปรดพิจารณา...
     
  12. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    เป็นการสรุปประเด็นเพื่อการพิจารณาสำหรับนักเดินทาง
    อย่าคิดเยอะ...
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เป็นการสะดุดสะเก็ดเพื่อให้พิจารณาสำหรับนักเดินทาง

    อย่าทำมาก

    [ ใจที่แล่นไปว่าพระ เพลาๆ ได้หรือยัง ]
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อีกเรื่องหนึ่ง จากพระสูตรทั้งหลายเท่าที่ผมทราบนั้น ฌานที่เป็น ปฐม จนถึง จตุตถฌาน นั้นเป็นฌานสมาธิ ในพระพุทธศาสนาครับ มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบและรู้ด้วยพระองค์เอง ส่วนอรูปฌานทั้งหลายนั้นเป็นของฤษีและดาบสครับ ผมจึงสรุปว่า ฌานที่๑ ถึง ๔ นั้นเป็นของเราชาวพุทธครับ ลองอ่านดูในหลายๆพระสูตรขณะที่พระองค์บำเพ็ญทุกขกิริยาดูก็จะทราบครับ ว่าอากาสานัญจา วิญญาย และอากิญจัญญาย นั้นได้จากอาฬารดาบส และ สัญญาเนวสัญญา นั้นได้จาก อุทกะดาบส ครับ ดังนั้นตัวฌานทั้งสี่กับสัมมาสมาธิก็ควรจะเป็นสิ่งเดียวกันครับและการจะเข้าสู่สมาธิดังกล่าวนั้นก็จะต้องอาศัยหลักที่มีในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หรืออื่นๆแต่อาศัยลักษณะที่คล้ายๆกัน ด้วยสติและสัมปัชชัญญะ อันนี้จริงไหมก็ลองให้ผู้ที่มีพระไตรปิฏกอยู่ในมือหรือผู้ที่อ่านมามากช่วยพิจารณาด้วยครับ ผู้ที่ปฏิบัติได้แล้วไม่ต้องพิจารณาเรื่องนี้เพราะจะพิจารณาไปหาอะไรเมื่อรู้แล้วทราบแล้ว...ล้อเล่นครับ ก็ลองพิจารณาดูครับ
    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  15. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ปกป้องอาจารย์
    VS
    ปกป้องพระธรรม

    สรุปให้....
    ทุกฝ่ายมีเจตนาดีเป็นพื้น แต่ควรสนทนาให้เกิดประโยชน์และเป็นธรรม
    มิควรนำทิฐิในการเพ่งเล็งต่อตัวบุคคลมากล่าวเพื่อให้การสนทนาธรรมเกิดโทษ
    ควรนำข้อธรรมที่ขัดแย้ง สงสัย และไม่ตรงใจ ยกขึ้นมาสนทนา โดยปราศจากการเพ่งโทษ สนทนาด้วยเหตุผล
    เพื่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ได้ธรรม


    เปลี่ยนเวทีรบ (VS)
    เป็นเวทีธรรม ..............

    ยกพุทธพจน์เป็นบรรทัดฐาน ไม่หลงทาง มีแผนที่
    ยกอาจาริยาวทขึ้นมาชี้แนวทาง มีคนชี้ทิศชี้ทาง หาจุดที่ตนเองยืนอยู่ได้เจอ
    ยกการปฏิบัติที่รู้เห็นมาอธิบายตามความเข้าใจ ติดขัดตรงไหน ผิดตรงไหนได้ธรรมกลับไป เข้าสู่เล้นทางได้หรือเดินต่อไปสะดวกขึ้น

    พิจารณาธรรมด้วยจิตเป็นอกุศล ปิดบังธรรม ขวางธรรมขวางโลก
    พิจารณาธรรมด้วยจิตที่มีกุศลเป็นพื้น ปัญญาเกิดได้

    โมทนาต่อเมตตาจิต ของทุกท่าน สาธุ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มกราคม 2010
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ปกป้องพระ[ 1 ในบริษัท4] จากพวกปากพาจน [ ประโยชน์เกิดกับพระ หรือ กับคนปากพาจนเล่า ]

    VS

    ปกป้องพระธรรม [ ธรรมะ คือ สันติ สามัคคี ตรงไหนหรือที่เรียกว่า ปกป้องสันติ สร้างความสามัคคี ]


    สรุปให้

    เราเป็นเพื่อน ถึงเพื่อนจะเกิดขี้กลาก ขี้เกลื้อน เราก็ไม่รังเกลียดที่จะจับต้อง สะกิด
    แผลนั้นให้ตกสะเก็ดออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดจากตัว

    * * * *

    ทำไม พวกคุณ จึงมองผิดไปจาก ความหวังดีระหว่างเพื่อน

    เพราะใจพวกคุณนั้น มุ่งโจมตีพระ อยู่อย่างหมายมั่น จึงม้องพ้นข้ามโอฆะนี้มาไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  17. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    คัมภีร์มัชฌิมานิกายอุปริปัณณาสก์ ปรากฏหลักฐานว่า อภิญญานอกศาสนาให้บรรลุมรรค ผล ไม่ได้ ดังนี้
    พาหิรปพฺพชฺชา หิ อปฺปลาภา, ตตฺถ มหนฺโต นิพฺพตฺเตตพฺพคุโณ นตฺถิ,อฏฺสมาปตฺติปฺามตฺตกเมว โหติ. อิติ ยถา คทฺรภปิฏฺิโต ปติตสฺส มหนฺต ทุกฺข น โหติ, สรีรสฺส ปสุมกฺขนมตฺตเมว โหติ, เอว พาหิรสมเย โลกิยคุณมตฺตโตว ปริหายติ, เตน ปุริม อุปทฺทวทฺวย น เอว วุตฺต. สาสเน ปน ปพฺพชฺชา มหาลาภา, ตตฺถ จตฺตาโร มคฺคา จตฺตาริ ผลานิ นิพฺพานนฺติ มหนฺตา อธิคนฺตพฺพคุณา[7]

    ผมไม่เข้าใจว่าสมาบัติในที่นี้ (อฏฺสมาปตฺติ) ท่านทั้งหลายตีความว่าอย่างไร หมายถึง สมาธิที่มีองค์ฌานครบ ๕ รวม สติ-สัมปะชัญญะ หรือ สมาธิที่ไม่ใช่แบบนั้นเพราะบางท่านก็เหมารวมกันหมดเลย ขอความกรุณาครับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ยกพุทธพจน์เป็นบรรทัดฐาน ไม่หลงทาง มีแผนที่
    ยกอาจาริยาวทขึ้นมาชี้แนวทาง มีคนชี้ทิศชี้ทาง หาจุดที่ตนเองยืนอยู่ได้เจอ

    ท่านเปรียบได้ดีครับ...สาธุ...
     
  19. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    สมาธิในทิฐิและความคิดของกระผม


    สมาธิก็มีหลายระดับ ระดับที่เจตนาเพื่อไม่ตกภายใต้อำนาจอกุศลธรรม โดยอยู่ในกุศลธรรมเป็นฐาน มีวิตกวิจาร มีความคิด โดยอาศัยความคิดในกุศลนี้เป็นทางเดินเพื่อปล่อยวางและปัญญาในทางที่ควรที่ถูก เรียกว่าสมาธิให้เกิดความคิดและการพิจารณาที่ออกจากกุศลจิต

    สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ทางกาย อารมณ์ทางใจ พึ่งพาอาศัยอารมณ์ต่างๆอันได้แก่สุข และเป็นกลาง มีอารมณ์เดียวที่บางท่านเรียกว่าไม่มีความคิด เรียกว่าสมาธิในอารมณ์ที่ถูกที่ควร

    จนถึงระดับสมาธิที่ตั้งมั่นได้ด้วยตัวเองโดยไม่พึ่งพาอาศัยอารมณ์ใดๆ มีแต่สภาวะที่รู้อยู่ต่อเนื่องตลอดสาย อย่างไม่มีตัวไม่มีตนใดๆ .....

    ที่กล่าวมาจากทิฐิส่วนตัว .....
    ยินดีรับคำชี้แนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มกราคม 2010
  20. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    คิดเยอะไปจริงๆแล้ว

    ไม่มีแม้แต่น้อยที่จะไปว่าพระ

    ข้อความที่แสดงไปข้างต้น ต้องการชี้ประเด็น เรื่อง ฌาณ สมาธิ สมถะ วิปัสสนา เท่านั้น...
     

แชร์หน้านี้

Loading...