เรื่องเด่น ฌาน... ความสุขในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 9 มิถุนายน 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    สติ จึงต้องระลึกได้แม่นยำ ว่าอารมณ์แบบนั้นๆ สังขาร ธรรม แบบนั้นๆ เราผ่านมา

    ถ้าเป็นพวกเลื่อนลอย นี่ มันจะไม่มีทางรุ้ได้เลยว่า ตรงหรือไม่ตรง เพราะมันเอาแต่เข้าใจ แต่มันไม่ได้ผ่านมา

    สติสำคัญมาก ธรรมละเอียดเป็นชั้นๆ ต้องมองให้ดี ให้แม่นยำ ว่าสภาวะใจตนเป็นอย่างไร
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เมื่อไหร่ที่คุณ ใช้การดูที่ใจได้มากกว่า การปฏิบัติแล้วมาเทียบเคียงไปเรื่อยๆ

    ก็จะพบว่า ตัณหา108 ประการนั้น ตรงเผงอยู่

    ความตรงเผงนี้จะเห็นได้ก็ด้วยการปฏิบัติ การปฏิบัติของคุณยังหย่อน
    จึงไม่อาจชี้ให้เห็นได้ว่า มีหรือไม่มี เพราะคุณยังอาศัยคิด ไม่ใช่อาศัย
    การดูด้วยธรรม
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    โดนจังๆ
    ท่านอาจารย์มหาลัย อย่ายอม
     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อย่ายอมกิเลสนะ ครับ อย่ายอมมัน อย่าให้มันมาครอบงำจิตใจ ต้องเอาชนะมันให้ได้
    สาธุครับ
     
  5. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ขอบคุณกองเชียร์ทั้งหลาย...

    คุณนิวรณ์ อย่ากล่าวในสิ่งที่ผมไม่ได้กระทำ

    ก็บอกอยู่นี่ว่า พูดเรื่อง ฌาณ สมาธิ วิปัสสนา

    คุณก็ยกมาว่า ผมกล่าวตำหนิพระ

    ผมก็บอกว่า ผมไม่ได้คิดเช่นนั้นเลยตอนกล่าวเรื่อง ฌาณ สมาธิ วิปัสสนา

    แต่คุณยกมา ผมก็นึกไปถึงพระ แล้วสิ่งที่ระลึกได้ คือ เห็นใจพระพอสมควร

    แต่ก่อน ผมกล่าวตำหนิ

    ปัจจุบัน ไม่คิดตำหนิแล้ว เพราะเข้าใจว่า การปฏิบัติย่อมเกิดปัญญาที่แตกต่างกันได้ ถ้ายังไม่ถึงมรรคแท้ ระหว่างทางเดินแห่งวิปัสสนาญาณ จะเกิดวิปัสสนูบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

    คุณนิวรณ์ก็จะยัดข้อหาผมให้ได้ซะเหลือเกิน ว่าผมตำหนิพระ หรือ มีใจตำหนิพระ

    ก็บอกอยู่นี่ว่า ไม่ได้คิดแบบนั้น

    คุณก็ยังอ้างธรรมภายนอกภายใน อุปาทานขันธ์ให้มันวุ่นวาย เพื่อจะยัดข้อหาผมให้ได้

    สนทนากับคุณ เหมือนพายเรือวนอยู่ในอ่าง ไร้สาระ...
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    อ้อ ถ้าพิจารณาให้ดี พระที่ผมพูดไป
    1 รดน้ำกรดพระพุทธรูป
    2 สอนผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน
    3 อวดอ้าง ว่าขึ้นไปโปรดเทวดา อ้างว่า ตนมีบารมีจะทำให้ยุคนี้มีอรหันต์มากที่สุด
    อ้างอะไรต่อมิอะไรอีกมาก

    แล้วถ้ามีมาอีก นายขันธ์ก็ต้องพูดอีก อย่างน้อยทำให้พุทธศาสนิกชนลังเล ไม่เลือกไปเต็มตัว ก็ถือว่า ความสำเร็จในธรรมจะเกิดขึ้นได้ต่อคนเหล่านั้น

    พวกคนที่มาระงับไอดีผม นี่แหละ ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ เอง
     
  7. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 8 คน ( เป็นสมาชิก 6 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>วิมุตติ, kengkenny, Bull_psi </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อกี้เห็นสองสามคน

    ตอนนี้เป็น 8 คน แระ หุๆๆๆๆ

    ไปก่อนนะครับ

    ฝากอาจารย์ขันธ์ด้วย นิวรณ์ห้านี่ร้ายเหลือ โดยเฉพาะ อุจทจะกุกุตจะ
     
  8. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ขอเสริมอีกนิด เพื่อให้เป็นข้อสังเกตุ

    พระสุปฏิปัณโณ ไม่นิยมกล่าวอวดอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาร เช่น เหาะเหิรเดินอากาศ ตะลุยเมืองใต้บาดาล เดินบนน้ำได้ อะไรทำนองนี้...
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    นายนิวรณ์ นี่สงสัยกินเอ็มร้อยห้าสิบ
    ไม่มีลิมิตจริงๆ

    หลักการ และ อุบายธรรม ในการเข้าถึงธรรมอันเป็นวสี คือ บ้างก็หานิมิต ที่ตนชำนาญ
    บ้างก็หาคำพูดที่ตนฟังแล้ว ซึ้งในสัจธรรม บ้างก็หาความรู้สึกที่ตนนึกแล้วเกิดสัจธรรมในตน
    ให้จดจำ สัญญาเหล่านั้นไว้ ก็ดี จะสบช่องให้ตนปฏิบัติธรรมได้ง่าย

    แล้วสัญญาเหล่านั้นแหละ บางคนสะสมมานาน ชำนาญกับสัญญาเหล่านั้น
    พอสบช่องปั๊บ แทงตลอดเลย
    ดังเช่น ตอนที่พระศาสดา บอกให้ พระจฬปัณฑก ( จำผิดหรือเปล่าไม่ทราบ) ลูปผ้าขาว
    ลูบผ้าขาว ปัี๊บ บรรลุอรหันต์เลย ทั้งๆ ที่โง่อยู่แท้ๆ

    ดังนั้น สัญญาบางสัญญานี่ นำเราไปสู่สัจธรรมได้ ให้พิจารณาสัญญานั้นบ่อยๆ

    อย่างผมนี่ เวลา นึกถึง ไม้ปักกลางน้ำ จิตนิ่งได้เลย
    บ้าง ก็ สุญญต นิมิต นี่ก็ทำจิตเข้าสู่ ความนิ่งได้เลย เป็น

    นี่ต้องดูว่า เรามีสัญญาอะไรที่นำไปได้

    จำเอาไว้
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    นี่ญาณยังไม่แก่กล้า ไม่เช่นนั้นจะบอกให้ว่า ใครสบช่องตรงไหน

    เพราะ ญาณนั้นเป็น สัพพัญญูญาณ ผมเลยไม่อาจจะมีได้

    แต่ละคนต้องสำรวจตนเอง คือ จะต้องมีสติกำักับ สังเกตตนว่า เวลาเห็นอะไรแล้วทำให้จิตใจ ซึ้งในสัจธรรมตรงนั้น
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านอาจานนิวรณ์ครับ ที่ท่านตรงประเด็นยกมาก็ถูกแล้วนิ
    สติปัฏฐานเป็นนิมิตหมายของสัมมาสมาธิเท่านั้น
    เพราะเป็นสัมมาสติ สักแต่เป็นที่ระลึกรู้ สักแต่ว่าที่อาศัยเท่านั้น

    ท่านเอาอะไรมาเปรียบเทียบระหว่าง
    "และความแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดของ ฌาณนอกศาสนา กับ ฌาณที่เกิดจากสติปัฏฐาน
    คือ ฌาณนอกศาสนานั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนๆนั้นจะต้องอยู่นิ่งๆ ฌาณยิ่งสูงก็ยิ่งนิ่ง ไม่มี
    สติสัมปชัญญะในการออกมาเดินเหิน ซึ่งต่างจากฌาณที่เกิดจากสติปัฏฐานซึ่งจะมีสติ
    สัมปชัญญบริบูรณ์ยิ่ง สามารถเดินเหินและใช้ชีวิตตามปรกติได้เหมือนคนธรรมดาๆ จึง
    ทำให้เป็นนาบุญที่เป็นประโยชน์สามารถสอนธรรมะได้ พร้อมสลัดคืนธรรมแก่ผู้สนใจธรรมได้"

    ท่านครับการเปรียบเทียบแบบนี้ เรื่องของฌานเสียหายหมดสิ
    มีที่ไหนผู้ที่ได้รูปฌาน และอรูปฌานมิต้องอยู่นิ่งทั้งวันไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะทำแล้วขาดสติ

    ท่านเอาอะไรมาพูด เคยลองสมาทานดูแล้วหรือไง ถึงกล้าพูดได้แบบเจื่อยแจ้ว
    ผู้ที่ได้รูปฌานและอรูปฌานนั้น การทำอะไรก็มีสติสัมปชัญญะเช่นกัน แต่ไม่ใช่สัมมาสติเท่านั้นเอง
    เพราะยังต้องยึดอารมณ์ฌานที่ตนเองได้อย่างเหนียวแน่น
    ในขณะเดินเหินหรือทำอะไร ยังต้องระลึกถึงอารมณ์ฌานที่ตนได้เนื่องจากกลัวว่าอารมณ์นั้นจะจืดจางไป

    ส่วนฌานที่เป็นสัมาสมาธินั้น ที่ต้องเอาสติปัฏฐานมาเป็นนิมิตหมายของสมาธินั้น ก็เนื่องจากว่า
    อารมณ์ในสติปัฏฐานนั้น เป็นอารมณ์ที่ทำให้เห็นพระไตรลักษณ์ได้ชัดเจน
    จึงเป็นเพียงที่สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัย(นิมิตหมาย)เท่านั้น โดยไม่ต้องยึดเอานิมิตหมายเหล่านั้น
    เป็นเพราะจิตปล่อยวางนิมิตหมาย จิตจึงได้สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์เหล่านั้น(ตั้งมั่นด้วยลำพังตนเอง)
    ในขณะที่ดำเนินชีวิตประจำวัน ต้องมีสติสัมปชัญญะคอยระลึกรู้อยู่ที่สติปัฏฐาน(ฐานที่ตั้งของสติอย่างต่อเนื่อง)

    "เอาสมาธิเท่าที่มีออกรู้สติปัฏฐานได้เลย"
    ทำไมต้องเอาสมาธิที่มี"ออก"รู้สติปัฏฐานหละ???
    การที่จิตจะเป็นสมาธิได้นั้น ต้องคอยระลึกอยู่ที่สติปัฏฐานใช่มั้ย???

    ถ้าไม่ให้สติปัฏฐานเป็นนิมิตหมายของสมาธิ แล้วเอาอะไรมาเป็นนิมิตหมายหละ???

    ท่านครับ ทำไมต้องเอานำสมาธิมาออกรู้ในส่วน ธรรมานุสติปัฏฐาน???
    ท่านกำลังคิดเอง เออเองอยู่หรือเปล่า
    ในเมื่อระลึกรู้อยู่ที่สติปัฏฐาน ก็ย่อมต้องรู้ธรรมานุสติปัฏฐานอยู่ในตัวแล้วใช่มั้ย???

    ;aa24
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แสดงว่าสัญญา ความจำ กับ สัญญา ที่รู้การกระทบ หรือ ปัจจุบันสัญญา กับ อดีตสัญญา มันคนละอันกันใช่ไหมครับ เพราะปัจจุบันสัญญา ที่ว่ามานั้นเช่นการรู้การกระทบของทุกสภาวะในปัจจุบัน ไม่ใช่สัญญาที่สร้างขึ้นจากอดีต จึงเป็นสัญญาที่ควรน้อมมาใช้พิจารณาในกรณีที่เป็นผู้มีจิตสงบเมื่อ แต่แล้วการทำให้เกิดนิมิตซึ่งเป็นสัญญาเช่นกัน ก็ทำได้เพียงแค่จิตสงบ ยังไม่เกิดปัญญา เพราะไม่ใช่ปัจจุบันธรรม ใช่ไหมครับ ไม่รู้เหมือนกันครับ แต่เพราะผมไม่เห็นว่าสิ่งที่ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ควรและไม่ใช่เหตุจะทำให้ปัญญาเกิดได้ครับ อย่างมากก็ได้เพียงความสงบจริงๆ ครับ สัญญาจึงเกิดก่อนญาณ แต่สัญญาแบบไหนกันที่ใช้เพื่อให้เกิดญาณ เป็นนิมิตสัญญา หรือ สัญญาที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น หรือ ปัจจุบัน กันแน่ครับ มันก็วกกลับมาที่เดิมจริงๆด้วย เพราะจะรู้ว่าอะไรคือนิมิต คือ ต้องรู้จักทำสมาธิมาก่อนแล้ว หรือ ได้สมาธิจากนิมิตนั้น มีสติ รับรู้ถึงสัญญานั้น ว่า มันเกิดเวลานั้นหรือมันเป็นสิ่งที่เราสมมุติขึ้นในเรื่องของสัญญา กับ ปัญญา หรือ ญาณ โดยส่วนตัวเป็นสัญญาที่รู้กระทบเดี้ยวนั้นเวลานั้นเลย เกิดอะไรก็รู้และหายไปยังไงก็รู้ ด้วยสัญญานั้นนับไม่ถ้วนจึงเกิดปัญญาเพราะรู้ว่ามันมาเพราะอะไรและมันไปเพราะอะไร ใช่ไหมครับ
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เอ้า คุณกบฏธรรมภูติ อยู่ดีๆ คุณจะเอาตัวเองเข้าวัดคนอื่นได้หรือ

    คนทั่วไปเขาต้องเริ่มจากสมาธิที่ผิดมาก่อนสิ ไม่ได้เก่งอย่างกบฏธรรมภูตินี่
    ที่เกิดมาก็จับปั๊ปเข้าทางเลย

    คนทั่วไปที่ไม่เก่งอย่างพี่กบฏธรรมภูติ เขาก็ต้องค่อยน้อมเข้ามาสิ ใช้คำว่า
    ออกรู้ ก็ใช้ตามสำนวนครูที่ตอนนี้พี่ธรรมภูติหลีกหนีไปแล้วไง ท่านนั้นใช้
    คำว่า จิตคือพลัง มีพลังแล้วต้องเอามาออกรู้ คือ คิด คิดนี้จะให้ดีท่านให้
    ใช้คำว่า พุทโธ คิดๆด้วยจิตให้เต็มกำลังจนจิตมันเติมความคิดเข้าไปไม่ได้
    อีก มันอึ๊ก ท่านก็ว่า ตรงนี้คือ สัมมาสมาธิที่เอาไปใช้พิจารณาสติปัฏฐาน4ได้

    แล้วคนที่เขาเคยทำ เขาก็รู้กันว่า มันต้องเริ่มฐานใดฐานหนึ่งเป็นทางเข้าแล้ว
    ค่อยกล่าวว่าเห็นทั้งสี่ทาง ไม่ใช่แบบกบฏธรรมภูตินี้ เอะอะก็ไม่ต้องเลือก
    เข้าแล้วได้4 เหม่าเข่งแบบไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่มีอุบายวิธี เอาผลที่ตัวเอง
    ทำได้เข้าพูดถ่ายเดียว

    แล้วคนที่เขาเลือกฐานทางเข้านี่ มันก็เป็นไปตามภาวนาอินทรีย์ มีน้อยก็
    ต้องกายาเข้าว่า มีมากเขาเข้าทางธรรมา แล้วจึงแทงตลอดเอาทีหลัง

    ตกลงคุณกบฏธรรมภูติจะมาทักท้วงเอาอะไรหรือ เอาอุบายวิธี หรือเอาแค่
    พยัญชนะลักลั่น ติดสัญญาจนผนึก แกะทางไม่ออกแล้วว่า อะไรต้นอะไรปลาย
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    พี่เค้ง ต้องเน้นคำว่า อาศัยระลึก

    พอพี่เค้งเน้นคำว่า อาศัยระลึก ตรงนี้จะใช้สัญญาชนิดไหนก็ได้ เอาที่มันผุด
    แล้วเห็นทันลงเป็นปัจจบันที่สุด สมาธิจะตั้งขึ้นทันที และสมาธิที่ดีจะตั้งขึ้น
    โดยไม่ปรากฏฐานที่ตั้ง คือ เป็นสุญญตาวิหาร

    บางคนจึงอาศัยรูปนิมิต
    บางคนก็อาศัยองค์สมาธินั่นแหละ ยุคล6 ปิติ5 สุข
    บางคนใช้อารมณ์ฌาณ
    บางคนใช้อารมณ์การน้อมไปในฌาณ
    บางคนใช้อารมณ์จากความว่างจากการน้อม ( การไม่เคลื่อน )
    บางคนก็ใช้วิบากกลางอกที่ปรากฏนั่นแหละน้อมไป ( สิ่งผิดก็นำกุศลได้ )

    เยอะแยะ สติไวพอก็เห็นทางเข้าได้ไม่ยาก และไม่ใช่แค่เห็นของตน
    บางทีอาศัยของคนอื่นเพื่อน้อมเข้าก็ยังได้ เพราะ ...อาศัยระลึก เท่านั้น

    ใช้คำว่าอาศัยระลึก คือ ใช้ระลึกจริงๆ ไม่ใช่จับ ประครอง เพ่ง ควาน

    รู้ไม่ยึดในรู้ ใช้ได้หมด

    แล้วจะเห็นว่า มันเป็นภพภูมิจิตมะนุดปรกตินี่แหละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แสดงว่าแรกๆต้องมีฐานที่ตั้งก่อน หรือตำแหน่งที่สติอยู่หรือรู้อยู่ กำหนดอยู่ แล้วจึงจะเป็นสุญญตาวิหารใช่ไหมครับ จะอยู่ๆเป็นสุญญตาวิหารเลยคงไม่ใช่ น่าจะเป็นลักษณะดังกล่าวใช่ไหมครับ หากบอกว่าอยู่ๆ สมาธิก็มาเป็นสุญญตาวิหารธรรมแล้ว แสดงว่ายังเป็น สัญญาอยู่คือยังไม่ใช่สมาธิจริงๆใช่ไหมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ที่พักจิต ก็เพื่อไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน เมื่อไม่ฟุ้งซ่านจิตก็สงบตั้งมั่น
    ถ้าจิตไม่ได้พัก ก็คิดซ่านไปกับอุปกิเลสที่เป็นแขกจรทั้งวัน ไม่ได้หยุดหย่อน

    แต่การพักจิตนั้น ต้องพักให้เป็น ไม่ใช่อยู่ที่เรื่อง แต่ให้พักอยู่ที่รู้

    ;aa24
     
  17. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    เบื้องต้นแห่งการอบรมการปฏิบัติด้านจิตใจ
    ไม่คาดหวังผลล่วงหน้าในขณะกระทำการอบรมเพื่อความสงบแก่ใจ
    ความรู้สึกจะเคลื่อนจากจุดที่หมายซึ่งกำลังดำเนินให้เป็นไปอยู่ในวงปัจจุบัน
    จิตจะซ่านออกแสวงหาอารมณ์อันเป็นข้าศึกต่อความสงบ
    และไม่มีโอกาสก้าวเข้าสู่ความสงบได้เลย

    อุบายวิธีที่จะทำจิตให้เข้าสู่ความสงบ คือ คำบริกรรม พุทโธ หรือลมหายใจ
    จิตเมื่อได้รวบรวมกำลังเข้าสู่จุดเดียว มีสติเป็นผู้ควบคุม
    จิตจะรวมลงเข้าสู่ความสงบที่ฐานของใจ
    เมื่อจิตพักในความสงบจนมีกำลังควรแก่การพิจาราณาด้านปัญญาแล้ว
    จิตจะมีความละเอียดถี่ถ้วน มีหน้าที่ตรวจตราทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนทั้งภายนอกภายใน
    ให้รู้ถึงฐานความจริงของสิ่งนั้นๆ แล้วถอนความยึดมั่นและกังวลออกเป็นชั้นๆ
    การพิจารณาภายนอก ภายในก็แยกออกดูตามอาการนั้น ๆ จนเห็นชัดด้วยปัญญา
    จนรู้ถึงฐานความจริงในสิ่งนั้น สักว่าเป็นเพียงอาการหนึ่งๆ ไม่มีสัตว์ บุคคล เคลือบแฝงอยู่ในอาการแห่งกายนั้นเลย

    การถอดถอนกิเลสอนุสัย ซึ่งเป็นเชื้อของภพชาติมีอยู่ภายในใจ
    การฝึกหัดสติปัญญาต้องฝึกไปโดยมีขันธ์เป็นฐานที่ตั้งแห่งการพิจารณา
    ขันธ์นั้นเป็นธรรมเกี่ยวเนื่องกับไตรลักษณ์ เป็นสภาพธรรมอันหนึ่งๆ ตามความจริงของตน
    ทั้งขันธ์ และสภาวธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ศีล สมาธิ ปัญญาก็ดี
    ต่างก็เป็นความจริงโดยหลักธรรมชาติตามหน้าที่ของตน
     
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)
    [๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
    มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
    *อานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่
    ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง
    เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์
    ได้สดับ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรอานนท์ บัดนี้
    เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

    [๓๓๔] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดี
    แล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและ
    บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด
    ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญา
    ว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส
    ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้
    ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์
    เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสั ญญาว่าป่าเท่านั้น
    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และ
    รู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป ่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอ
    จึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลือ
    อยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความ
    ว่าง
    ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตน-
    *สัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิ
    อันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ใน
    เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมี
    ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยง
    มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก
    กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า
    หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ
    แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความ
    กระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชา-
    *สวะ มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัย
    กายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้
    ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิด
    แห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึง
    พิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลือ
    อยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่
    ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๔๒] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่
    บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมา-
    *บัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวก
    ใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จัก
    บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้
    ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
    ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะ
    ฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอัน
    บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

    ดังนั้นข้อความนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษา มากครับ สำหรับคำใหม่ๆที่เจอนี้
    อนุโมทนาครับ พี่นิวรณ์
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เฮ่ย ผมพูดก่อน ทำไมไม่ยกมา ชมบ้าง
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ดังนั้น สัญญาบางสัญญานี่ นำเราไปสู่สัจธรรมได้ ให้พิจารณาสัญญานั้นบ่อยๆ

    นี่ถ้าผมไม่พูดคำนี้ นายนิวรณ์ จะนึกคำมาได้ไหม
     

แชร์หน้านี้

Loading...