ญาณวิปัสสนาอันละเอียด พระธรรมเจติยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 21 ตุลาคม 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ญาณวิปัสสนาอันละเอียด


    [FONT=&quot] พระธรรมเจติยาจารย์[/FONT]
    [FONT=&quot] (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร)[/FONT]

    [FONT=&quot] วัดธรรมมงคล[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ญาติโยมทั้งหลายทั้งหลาย ตั้งใจที่จะทำความสงบกันต่อไป ให้เป็นปฏิบัติบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเบื้องต้นนี้ อาตมาจะนำ ให้ว่าตามทุกคน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ข้าพเจ้า ระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาล ให้ใจของข้าพเจ้า จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธัมโม สังโฆ [FONT=&quot](3ครั้ง) พุทโธ พุทโธ พุทโธ[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]นึกไว้ในใจ นั่งขัดสมาส ขาขวาทับขาซ้าย มือขวา หงายทับมือซ้าย วางไว้บนตัก หลับตา นึกพุทโธในใจ กำหนดใจ ไว้ที่ใจ ไม่ให้ส่ายแส่ไปในทางอื่น ไม่ให้มีอารมณ์ พยายามที่จะกำจัดมันออกไป เราต้องคิดว่า เราเกิดมาคนเดียว ตายไปคนเดียว ไม่มีใคร เมื่อเราหลับตา เหลือแต่ใจ มองไม่เห็นอะไร นอกจากใจดวงเดียว[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ที่เราพากันเห็น ก็คือสัญญาอุปาทานเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีอะไรจริงๆ เมื่อหลับตา ก็มองเห็นแต่ความรู้ มีความรู้อันเดียว เมื่อหลับตาไปแล้ว เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ให้ทำจิต คือทำจิตให้มีอารมณ์อันเดียว เมื่อมีอารมณ์อันเดียวย่อมจะเป็นสมาธิ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]การเป็นสมาธิของจิตนั้น ย่อมจะเกิดปีติ ความเอิบอิ่ม ย่อมจะต้องเกิดความสุข คือความสบาย ย่อมจะต้องเกิดความเบาตัว แล้วก็มีความละเอียดละมุนละไม นั่นคือจิตสงบแล้ว และจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตที่เป็นสมาธินั้น มีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ไม่เหมือนกันกับที่เราอยู่โดยปรกติ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเราอยู่โดยปรกติที่ไม่เป็นสมาธินั้น มันมีจิตรกรุงรัง หรือคิดโน่น คิดนี่ มีความฟุ้งซ่าน ต่างๆ นั่นคือความปรกติของจิตใจ แต่พอเวลาเป็นสมาธิ จิตนี้จะ ผิดจากปรกติเดิมธรรมดา มาอยู่ในฐานะหนึ่ง คือมาอยู่ในฐานะอีกฐานะหนึ่ง ฐานะนี้ เป็นฐานะที่เรียกว่าฌาน ฌานนั้น มีอยู่ [FONT=&quot]4 ด้วยกัน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ฌานที่มี [FONT=&quot]4 คือ ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา วิตก วิจารณ์ นั้น คือการนึก พุทโธๆ เรียกว่า วิตก วิจารณ์ พอปีติ เมื่อนึกพุทโธแล้ว จิตก็อยู่ที่พุทโธ ปีติคือความขนพองสยองเกล้า รู้สึกมันหวิวๆ อะไรอย่างนี้ เรียกว่า ปีติ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ก็คือความสบาย เอกัคคตานั้น คือความเป็นหนึ่ง นี้เรียกว่าปฐมฌาน[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ทุติยฌานนั้น ก็มีอยู่องค์ [FONT=&quot]3 วิตก วิจารณ์ตัดออกไป การนึกพุทโธนั้นไม่ต้องนึกแล้ว เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคคตา เหลือแต่ความเอิบอิ่ม และความสบาย และความเป็นหนึ่ง ตติยฌานนั้น เหลืออยู่องค์สอง ตัดวิตก วิจารณ์ออกไป ตัดปีติออกไป เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา มีแต่ความสบายและความเป็นหนึ่ง[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]จตุถฌาน ที่ [FONT=&quot]4 สุดท้ายนั้น ก็มีองค์สอง เช่นเดียวกัน คือมีแต่ อุเบกขา และเอกัคคตา เรียกว่าวิตกวิจารณ์ตัดออกไป ความเอิบอิ่มตัดออกไป ความสุข ความสบายก็ตัดออกไป เหลือแต่ความวางเฉยกับความเป็นหนึ่ง ฌานทั้ง 4 นี้เรียกว่ารูปฌาน[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อรูปฌานนี้ ได้รับการพัฒนา หรือทำให้ยิ่ง รูปฌานนั้น จะกลับกลายเป็นอรูปฌาน คือจิตจะละเอียดลงไป จิตละเอียดลงไปนั้น ก็กลับกลายเป็นอากาศว่างเปล่า ไม่มีอะไร เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อจิตนี้ได้รับการฝึกฝน ละเอียดยิ่งขึ้นไปแล้ว ก็เหลือแต่ความรู้ ไม่มีอะไร เหลือแต่ความรู้ เรียกว่าวิญญานัญจายตนฌาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อได้รับการฝึกฝนจนกระทั่งหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรแล้ว อารมณ์อะไร ความสุข ความอะไรก็ไม่มีหมด เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ในที่สุดถึงที่สุด ฌานของอรูปฌาน [FONT=&quot]4 นั้น คือ จะว่าสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่ เรียกว่าไม่มีอะไรเอาเลย นั้นเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน [/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งหมดนี้ เรียกว่ารูปฌาน และอรูปฌาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ฌานทั้งหมดนี้นั้น เป็นฌานที่เรียกว่า ฌานโลกีย์ ฌานโลกีย์ ผู้ที่บำเพ็ญฌานเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะไปเกิดในชั้นพรหมโลก เลยชั้นสวรรค์ไป ก็ไปเกิดในชั้นพรหมโลก จากพรหมธรรมดา จนกระทั่งถึงมหาพรหม อย่างนี้คือผู้บำเพ็ญฌาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ฌานเหล่านี้นั้น มิใช่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ได้ง่ายๆ ผู้ที่บำเพ็ญฌานที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานนั้น ต้องใช้เวลา อันยาวนาน บางทีหมดชีวิตก็ไม่ได้ บางทีพวกฤาษีไปอยู่ในป่าคนเดียว บำเพ็ญฌาน ก็ยังไม่ค่อยจะสำเร็จถึงขั้นนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ฌานพวกนี้ ถ้าทำสำเร็จขึ้นมาแล้ว สามารถที่จะแสดงฤทธิ์ได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ มองดูจิตใจของคนได้ ระลึกชาติหนหลังได้ อย่างนี้ ถือว่าได้สำเร็จฌาน แต่ฌานเหล่านี้นั้น ไม่สามารถที่จะกำจัดกิเลสได้ กิเลสก็ยังอยู่ เพราะว่าไม่ใช่วิปัสสนา เป็นแต่เพียงสมถกรรมฐาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]สมถะนั้น ถ้าเราบำเพ็ญฌาน ไปโดยสม่ำเสมอ อานิสงส์แห่งฌาน ก็ทำให้ไปบังเกิดเพียงแค่ชั้นพรหม ชั้นพรหมนั้น อายุยาวนานกว่าชั้นสวรรค์ถึง [FONT=&quot]20 เท่า เมื่อไปอยู่ที่นั่นแล้วก็ลืม มีความสบายจนลืม แต่ที่สุดถึงที่สุด ก็ต้องกลับมาในมนุษยโลกอีก นั่นคือ เรียกว่า ยังเวียนว่ายตายเกิด[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ผู้ที่ไม่ต้องการที่จะเวียนว่ายตายเกิดอีก หมายความว่าเมื่อบำเพ็ญฌานได้แล้ว เขาก็ยกอรูปฌานออกเสีย เอาแค่รูปฌาน [FONT=&quot] 4 คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน เอาแค่ฌาน 4 นี้ เอาฌาน 4 นี้มาเป็นกำลัง หันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อหันหน้าเข้าสู่วิปัสสนา ก็จะไปพบ ไตรลักษณ์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัส ไตรลักษณ์นั้น มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนาอื่น ไม่มี เพราะฉะนั้น ในศาสนาทุกศาสนาจึงไม่มีวิปัสสนา มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา เพราะทุกคนนั้น ปรารถนาแค่เพียงสวรรค์ ปรารถนาแค่เพียงความสุขในเมืองมนุษย์[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ว่า การที่สำเร็จฌานเหล่านั้น บางทีก็เกิดความเสื่อม เมื่อเกิดความเสื่อมแล้วก็ไปทำความชั่ว สามารถไปตกนรกได้ สามารถไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ เพราะว่ายังไม่ใช่นิยตบุคคล เป็นอนิยตบุคคล ดังนั้น การเวียนว่ายตายเกิด รึว่าการแปรเปลี่ยน ย่อมมีแก่ผู้บำเพ็ญฌาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]แต่ว่า ถ้าผู้ใด หันเข้ามาสู่วิปัสสนานั้น วิปัสสนาเป็นทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำคนให้พ้นทุกข์ คือพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้ ดังนั้น ในวิปัสสนา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้เกิดเป็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์นั้น คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังคือความไม่เที่ยง ทุกขังคือความเป็นทุกข์ อนัตตาคือความไม่ใช่ตัวตน อย่างนี้ ทั้งสามประการนี้ ถ้าพิจารณาได้ ก็ถือว่า เราได้เริ่ม วิปัสสนาแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา ติ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ เมื่อใด บุคคลผู้ใด ทำให้เกิด ปรากฏขึ้นแล้ว อัตถ นิพพินติ ทุกเข จากนั้น ผู้นั้น จะเกิดความเบื่อหน่าย เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี้คือหนทางไปสู่พระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]สัพเพ สังขารา อนิจจา ติ สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ เมื่อใด ผู้ใด ทำให้ปรากฏ อัตถ นิพพินติ ทุกเข เมื่อนั้น บุคคลผู้นั้น จะเกิดความเบื่อหน่าย เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี่คือหนทางพระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]สัพเพ ธัมมา อนัตตา ติ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ย ดา ปัญญา ย ปัสสติ บุคคล ผู้ใด ทำให้ปรากฏขึ้นแล้ว อัตถ นิพพินติ ทุกเข บุคคลผู้นั้น ย่อมจะบังเกิดความเบื่อหน่าย เอสะ มัคโค วิสุทธิยา นี่คือหนทางพระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสยืนยันเช่นนี้ ต้องการที่จะให้พุทธบริษัทพ้นไปจากทุกข์เสีย ไม่ต้องมาพากันเวียนว่ายตายเกิดลำบากลำบนกันอยู่ในเมืองมนุษย์นี่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ยกวิปัสสนาขึ้น เพื่อให้พากันพิจารณา การพิจารณาทุกข์ การพิจารณาความไม่เที่ยง การพิจารณาถึงความไม่ใช่ตัวตนนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องใช้ฌาน เราจะพิจารณาโดยที่ไม่มีฌานนั้น ย่อมไม่ได้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบำเพ็ญฌานอยู่ดี แต่ไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญถึงอรูปฌาน บำเพ็ญแต่เฉพาะรูปฌานเท่านั้นก็พอแล้ว แล้วก็เปลี่ยนมาพิจารณา การพิจารณานั้น ท่านให้ พิจารณา เปรียบเหมือนกันกับผู้ที่ เดินเรือใบ เมื่อเวลาเดินเรือใบไปในกลางทะเล เมื่อเวลาลมจัด ต้องลดใบ เมื่อเวลาลมพอดีก็กางใบ แล้วเรือก็จะแล่นไปตามความประสงค์ หากว่ามีคลื่น ก็ทอดสมอ อย่างนี้เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลผู้ที่จะบำเพ็ญวิปัสสนา ต้องพิจารณา แต่ว่าการพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้น ไม่ใช่ว่า จะให้พิจารณาไปตลอด ก็เหมือนกันกับเรือใบ ที่แล่นไปในทะเลนั้น ต้องไม่แล่นไปตลอด เมื่อเจอลมสลาตัน หรือลมใหญ่ ต้องลดใบทันที มิฉะนั้นเรือจะคว่ำ ถ้าหากว่าเมื่อเวลาจอดไม่ทอดสมอ ถูกคลื่นตีมา เรือก็คว่ำ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนกันกับผู้บำเพ็ญวิปัสสนา ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแล้ว และกลับคืนมาหาความสงบ เมื่อจิตสงบแล้ว ก็ยกออกไปพิจารณาสักครู่หนึ่ง แล้วก็ย้อนกลับคืนมาทำความสงบใหม่ ไม่ให้พิจารณาไปตลอด เวลานั่งสมาธิ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาเช่น พิจารณาถึง ความไม่เที่ยง ร่างกายของคนเรานี้ เกิดมาก็หนุ่มสาว เกิดมาแล้วทีนี้ก็แก่ไป เมื่อแก่ไปแล้ว เนื้อก็เหี่ยว หนังก็ยาน ในที่สุดก็เกิดโรคภัยไข้เจ็บป่วยขึ้น นี่เค้าเรียกว่าเปลี่ยนแปร เปลี่ยนแปลง ต่อจากนั้นก็สิ้นลมหายใจ ก็เรียกว่า ตาย ก็เรียกว่า อนิจจัง มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็ตายไป อย่างนี้คือการพิจารณาวิปัสสนา[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาอย่างนี้สักครู่หนึ่ง ก็วางเฉย คือหมายความถึงว่า เราจะต้องตั้งต้นร่างกายอันนี้ ไปตั้งแต่เด็ก แล้วก็เป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็แก่ชรา แล้วก็มีโรคภัยเบียดเบียน แล้วก็ตายไป การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา แต่ต้องพิจารณาเพียงชั่วระยะ เหมือนกันกับเรือ แล่นไปในมหาสมุทร เรือใบ เมื่อถึงเวลาลมแรงก็ลดใบลง ถึงเวลาอันสมควรก็ทอดสมอ อย่างนี้เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาอย่างนี้ แล้วก็ มาพิจารณาถึงความทุกข์ ความเกิดนั้นก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ อย่างนี้ เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว เราก็ พิจารณาให้ยิ่งขึ้นไปว่า มันทุกข์อย่างไร เช่น เมื่อเวลาเจ็บป่วยขึ้นมานี่มันทุกข์แค่ไหน เมื่อเวลาไม่มีสิ่งที่เราต้องการมันเกิดความทุกข์แค่ไหน เมื่อเราต้องการสิ่งใด ไม่สมความปรารถนา มันทุกข์แค่ไหน ในเมื่อเวลาที่ คนรัก คนชอบของเราต้องตายไป เราทุกข์แค่ไหน อย่างนี้เค้าเรียกว่าทุกขัง คือความเป็นทุกข์ ย่อมจะต้องเกิดขึ้น[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ชื่อว่าเป็นวิปัสสนาอีกส่วนหนึ่ง อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวตนนั้น เราต้องพิจารณาว่า อันร่างกายของเรานี้ มันเป็นเพียงธาตุทั้ง [FONT=&quot]4 ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น ส่วนที่เป็นลักษณะแข็ง ก็เรียกว่าดิน ส่วนที่เป็นลักษณะอ่อน เหลว ก็เรียกว่าน้ำ ส่วนที่พัดไปพัดมาก็เรียกว่าลม ส่วนที่ทำร่างกายให้อบอุ่น ก็เรียกว่าไฟ มันเป็นธาตุทั้ง 4 จึงไม่ใช่ตัวตนแต่อย่างใด[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งสามประการนี้ มันเป็นเรื่องของการทวนกระแสจิต คนเรานั้น รักสวยรักงาม คนเรานั้น ไม่อยากพูดถึงกองทุกข์ คนเรานั้น ถือว่าเป็นตัวเป็นตน จริงๆ ไม่ใช่ว่าไม่ใช่ตัวตน นี่เราถือกันมา แล้วเราก็รู้จักกันมาโดยนัยนี้ แต่วิปัสสนานั้น เป็นส่วนที่ทวนกระแส คือทวนกระแสของโลก เมื่อเค้าว่าตัวตน วิปัสสนาก็ว่าไม่ใช่ตัวตน เมื่อเขาว่าเที่ยง วิปัสสนาก็ว่าไม่เที่ยง เมื่อเขาว่าเป็นสุข วิปัสสนาก็ว่าเป็นทุกข์ อย่างนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าผู้ที่มาบำเพ็ญ พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า เรียกว่าพิจารณาหลายครั้งเหลือเกิน ครั้งแล้วก็ครั้งเล่า มันก็จะเกิดสิ่งหนึ่งขึ้นมา สิ่งนั้นก็คือวิปัสสนา วิปัสสนานั้นมี [FONT=&quot]9 ประการ นับไปตั้งแต่ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ ภังคญาณ เป็นต้น ญาณนั้น คือความหยั่งรู้ หรือสิ่งที่ พอเพียงแห่งความต้องการแล้วเกิดขึ้น เรียกว่าญาณ[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ในการที่ พิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นนั้น ความเบื่อหน่าย เค้าเรียกว่า นิพพิทาญาณ ถ้าญาณใดเกิดขึ้นเหมือนกับ นกกระทา ที่อยู่ในกรง พยายามที่อยากจะเจาะรูกรง เรียกว่าสักกรงอยู่เรื่อย นั้นเค้าเรียกว่า มุญจิตุกามยตาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณหนึ่ง ที่เกิดขึ้นนั้น เห็นความเสื่อมสลายหมดเกลี้ยง ไม่มีอะไรเหลือ อย่างนี้ เรียกว่า ภังคญาณ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็วิปัสสนาก็เกิดขึ้นกับเราแล้ว แต่วิปัสสนาที่เกิดขึ้นนั้น พึงเข้าใจว่า ไม่ใช่สำเร็จ ยังไม่สำเร็จ วิปัสสนานั้นเรียกว่าเป็นเพียง การกระทำอันหนึ่ง เพื่อที่จะให้เป็นการขัดเกลาจิต ให้บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับ แต่ยังไม่ใช่ถึงขั้นสำเร็จ ถ้าขั้นสำเร็จนั้น จะต้องบำเพ็ญวิปัสสนาไปอีก ให้เกิดนิพพิทาญาณนั้น นับครั้งไม่ถ้วน[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อบำเพ็ญจิตให้เกิดความเบื่อหน่ายหรือมีจิตที่คิดอยากออกเหมือนนกกระทา ที่สักกรงอยู่ หรือเหมือนกันกับ มองเห็นหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนา ถ้าเกิดอย่างนี้ขึ้นมา ก็จะต้อง ให้เกิดอย่างนี้ขึ้นไปตลอด[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ฉันใดก็ฉันนั้น บุคคลผู้ที่จะบำเพ็ญวิปัสสนา ต้องพิจารณา แต่ว่าการพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้น ไม่ใช่ว่า จะให้พิจารณาไปตลอด ก็เหมือนกันกับเรือใบ ที่แล่นไปในทะเลนั้น ต้องไม่แล่นไปตลอด เมื่อเจอลมสลาตัน หรือลมใหญ่ ต้องลดใบทันที มิฉะนั้นเรือจะคว่ำ ถ้าหากว่าเมื่อเวลาจอดไม่ทอดสมอ ถูกคลื่นตีมา เรือก็คว่ำ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนกันกับผู้บำเพ็ญวิปัสสนา ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาแล้ว และกลับคืนมาหาความสงบ เมื่อจิตสงบแล้ว ก็ยกออกไปพิจารณาสักครู่หนึ่ง แล้วก็ย้อนกลับคืนมาทำความสงบใหม่ ไม่ให้พิจารณาไปตลอด เวลานั่งสมาธิ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาเช่น พิจารณาถึง ความไม่เที่ยง ร่างกายของคนเรานี้ เกิดมาก็หนุ่มสาว เกิดมาแล้วทีนี้ก็แก่ไป เมื่อแก่ไปแล้ว เนื้อก็เหี่ยว หนังก็ยาน ในที่สุดก็เกิดโรคภัยไข้เจ็บป่วยขึ้น นี่เค้าเรียกว่าเปลี่ยนแปร เปลี่ยนแปลง ต่อจากนั้นก็สิ้นลมหายใจ ก็เรียกว่า ตาย ก็เรียกว่า อนิจจัง มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็ตายไป อย่างนี้คือการพิจารณาวิปัสสนา[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาอย่างนี้สักครู่หนึ่ง ก็วางเฉย คือหมายความถึงว่า เราจะต้องตั้งต้นร่างกายอันนี้ ไปตั้งแต่เด็ก แล้วก็เป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็แก่ชรา แล้วก็มีโรคภัยเบียดเบียน แล้วก็ตายไป การพิจารณาอย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา แต่ต้องพิจารณาเพียงชั่วระยะ เหมือนกันกับเรือ แล่นไปในมหาสมุทร เรือใบ เมื่อถึงเวลาลมแรงก็ลดใบลง ถึงเวลาอันสมควรก็ทอดสมอ อย่างนี้เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาอย่างนี้ แล้วก็ มาพิจารณาถึงความทุกข์ ความเกิดนั้นก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ อย่างนี้ เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว เราก็ พิจารณาให้ยิ่งขึ้นไปว่า มันทุกข์อย่างไร เช่น เมื่อเวลาเจ็บป่วยขึ้นมานี่มันทุกข์แค่ไหน เมื่อเวลาไม่มีสิ่งที่เราต้องการมันเกิดความทุกข์แค่ไหน เมื่อเราต้องการสิ่งใด ไม่สมความปรารถนา มันทุกข์แค่ไหน ในเมื่อเวลาที่ คนรัก คนชอบของเราต้องตายไป เราทุกข์แค่ไหน อย่างนี้เค้าเรียกว่าทุกขัง คือความเป็นทุกข์ ย่อมจะต้องเกิดขึ้น[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ชื่อว่าเป็นวิปัสสนาอีกส่วนหนึ่ง อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวตนนั้น เราต้องพิจารณาว่า อันร่างกายของเรานี้ มันเป็นเพียงธาตุทั้ง [FONT=&quot]4 ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น ส่วนที่เป็นลักษณะแข็ง ก็เรียกว่าดิน ส่วนที่เป็นลักษณะอ่อน เหลว ก็เรียกว่าน้ำ ส่วนที่พัดไปพัดมาก็เรียกว่าลม ส่วนที่ทำร่างกายให้อบอุ่น ก็เรียกว่าไฟ มันเป็นธาตุทั้ง 4 จึงไม่ใช่ตัวตนแต่อย่างใด[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ทั้งสามประการนี้ มันเป็นเรื่องของการทวนกระแสจิต คนเรานั้น รักสวยรักงาม คนเรานั้น ไม่อยากพูดถึงกองทุกข์ คนเรานั้น ถือว่าเป็นตัวเป็นตน จริงๆ ไม่ใช่ว่าไม่ใช่ตัวตน นี่เราถือกันมา แล้วเราก็รู้จักกันมาโดยนัยนี้ แต่วิปัสสนานั้น เป็นส่วนที่ทวนกระแส คือทวนกระแสของโลก เมื่อเค้าว่าตัวตน วิปัสสนาก็ว่าไม่ใช่ตัวตน เมื่อเขาว่าเที่ยง วิปัสสนาก็ว่าไม่เที่ยง เมื่อเขาว่าเป็นสุข วิปัสสนาก็ว่าเป็นทุกข์ อย่างนี้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าผู้ที่มาบำเพ็ญ พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า เรียกว่าพิจารณาหลายครั้งเหลือเกิน ครั้งแล้วก็ครั้งเล่า มันก็จะเกิดสิ่งหนึ่งขึ้นมา สิ่งนั้นก็คือวิปัสสนา วิปัสสนานั้นมี [FONT=&quot]9 ประการ นับไปตั้งแต่ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกามยตาญาณ ภังคญาณ เป็นต้น ญาณนั้น คือความหยั่งรู้ หรือสิ่งที่ พอเพียงแห่งความต้องการแล้วเกิดขึ้น เรียกว่าญาณ[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ในการที่ พิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นนั้น ความเบื่อหน่าย เค้าเรียกว่า นิพพิทาญาณ ถ้าญาณใดเกิดขึ้นเหมือนกับ นกกระทา ที่อยู่ในกรง พยายามที่อยากจะเจาะรูกรง เรียกว่าสักกรงอยู่เรื่อย นั้นเค้าเรียกว่า มุญจิตุกามยตาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณหนึ่ง ที่เกิดขึ้นนั้น เห็นความเสื่อมสลายหมดเกลี้ยง ไม่มีอะไรเหลือ อย่างนี้ เรียกว่า ภังคญาณ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็วิปัสสนาก็เกิดขึ้นกับเราแล้ว แต่วิปัสสนาที่เกิดขึ้นนั้น พึงเข้าใจว่า ไม่ใช่สำเร็จ ยังไม่สำเร็จ วิปัสสนานั้นเรียกว่าเป็นเพียง การกระทำอันหนึ่ง เพื่อที่จะให้เป็นการขัดเกลาจิต ให้บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับ แต่ยังไม่ใช่ถึงขั้นสำเร็จ ถ้าขั้นสำเร็จนั้น จะต้องบำเพ็ญวิปัสสนาไปอีก ให้เกิดนิพพิทาญาณนั้น นับครั้งไม่ถ้วน[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อบำเพ็ญจิตให้เกิดความเบื่อหน่ายหรือมีจิตที่คิดอยากออกเหมือนนกกระทา ที่สักกรงอยู่ หรือเหมือนกันกับ มองเห็นหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนา ถ้าเกิดอย่างนี้ขึ้นมา ก็จะต้อง ให้เกิดอย่างนี้ขึ้นไปตลอด[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]มองเห็นซึ่งสัจธรรม บังเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายขึ้นมาแล้ว เห็นจริงแจ้งประจักษ์ เพราะฉะนั้น ความสงสัยจึงตัดไปได้เลย จึงเรียกว่า กังขาวิตรนวิสุทธิ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ญาณวิสุทธิ คือความหยั่งรู้ ความหยั่งรู้นั้น คือนิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณ ที่เกิดขึ้น นั่นแหละ คือความหยั่งรู้ คือตัวญาณ เรียกว่าญาณวิสุทธิ ไม่ใช่ไปคิดเบื่อเอา หรือไม่ใช่ไปคิดเดาเอาว่าชั้นจะเบื่อหน่าย หรือไปคิดเอาเอาว่า โอ้ โห[FONT=&quot]… ชั้นนี่ เป็นทุกข์ ไม่อยากจะ…อยากออก อะไรแล้ว หรือจะไป ฉันนี่คิดเอาว่า โห…ฉันพ้นทุกข์แล้ว ไม่ใช่คิดเอา แต่ว่าญาณนี้จะต้องเกิดขึ้นเอง เมื่อญาณเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นความบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นญาณนึก ญาณคิด[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ญาณทัศนะ นอกจากที่ว่าจะมีความหยั่งรู้แล้ว ก็ยังมีความเห็น คือนอกจากจะรู้แล้วก็เห็นด้วย หลับตาลงไปเห็นสัจธรรมไปเลย ในที่สุดท้ายคือ ปฏิปทาญาณะ ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ทำด้วย รู้ด้วย เห็นด้วย ทั้ง [FONT=&quot] 3 ประการเกิดขึ้นพร้อมกัน[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]อย่างนี้เรียกว่าวิสุทธิ [FONT=&quot]7 ประการ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงผู้นั้น ได้ดำเนินวิปัสสนาเป็นผลสำเร็จขึ้นแล้ว ในเรื่องของสมถะก็ดี ในเรื่องของวิปัสสนาก็ดี ในเรื่องของ วิสุทธิ 7 ประการก็ดี ทั้งหมดนี้ จะไปรวมกันกลับกลายเป็นองค์แห่งการตรัสรู้[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]องค์แห่งการตรัสรู้นั้นมีอยู่ [FONT=&quot]7 ประการ คือโพชฌงค์ 7 โพชฌงค์คือองค์แห่งการตรัสรู้ นับไปตั้งแต่ โพชฌงค์ คือสติโพชฌงค์ สติโพชฌงค์ ปีติโพชฌงค์ ปัสสัทธิโพชฌงค์ วิริยโพชฌงค์ ไปจนกระทั่งถึง อุเบกขาโพชฌงค์ โพชฌงค์คือองค์แห่งการตรัสรู้นั้น ต้องมีสติ เรียกว่า ความมั่นคงแห่งสติ[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ความมั่นคงแห่งสตินั้น สติจะต้องกำหนดอยู่ในอนิจจัง ในทุกขัง ในอนัตตา คือสตินั้นจะกำหนดอยู่ในไตรลักษณ์ตลอดเวลา เมื่อสติกำหนดอยู่ในไตรลักษณ์ตลอดเวลา ก็เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ อันนี้เรียกว่าเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ องค์แห่งการตรัสรู้นั้น คือการ ภาวิโต พหุลีกโต [FONT=&quot](ภาษาบาลียาวมาก…ฟังไม่ทัน) ที่พระท่านสวดโพชฌงค์นั่นแหละ[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]นั่นแหละคือองค์แห่งการตรัสรู้ เรียกว่า เมื่อเป็นวิปัสสนาแล้ว ก็เข้ามาถึงโพชฌงค์ สตินั้นจะต้องอยู่กับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ตลอด และ เป็นผู้ที่ วางอุเบกขาได้ ในเมื่อมีสิ่งที่มารบกวน จะเป็น สิ่งที่มาหลอกหลอนว่า เราได้สำเร็จบ้าง หลอกหลอนว่า เราได้ชั้นนั้น ชั้นนี้บ้าง สิ่งหลอกหลอนเหล่านี้มาหลอกหลอนไม่ได้ เพราะว่าเป็นอุเบกขาโพชฌงค์เสียแล้ว[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัตินั้น ย่อมจะมีหนทางที่ทำให้เรารู้ ที่แสดงมานี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา เรียกว่าปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมที่แสดงมาในวันนี้นั้น เป็นธรรมะชั้นสูง เรียกว่าสูงสุดของพระพุทธศาสนา และ ก็เป็นธรรมที่ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ถ้าเรายังไม่เข้าใจ เราก็พยายามฟังให้บ่อยๆ แล้วเกิดความเข้าใจ เมื่อเข้าใจธรรมะปรมัตถ์นี้เมื่อไร จิตนั้นก็ถือว่าสูงแล้ว บุคคลผู้นั้นจะเป็นบุคคลที่ไม่มีการตกต่ำเป็นธรรมดา เรียกว่าปิดอบายภูมิได้โดยสิ้นเชิง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]การปิดอบายภูมิ อบายภูมิก็คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน [FONT=&quot]4 ประการนั้นเรียกว่าอบายภูมิ ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนา เข้าขั้นแห่งปรมัตถ์นั้น ย่อมปิดอบายภูมิทั้ง 4 นี้ได้ ต่อไปก็ นั่งสมาธิกันอีก ซักพักต่อไป[/FONT][/FONT]



    www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-viriyang-04.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2010
  2. apichen

    apichen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +162
    ขออนุโมทนาครับ แต่ขอแก้ไขเล็กน้อยครับว่าในปัจจุบันหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระเทพเจติยาจารย์ (วิ.)" ไม่ใชพระธรรมเจติยาจารย์ นะครับ ถ้าพระธรรมเจติยาจารย์รูปปัจจุบันท่านมีนามว่า บุญเรือน ปุญฺญโชโต อยู่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขนครับ
    สถาบันพลังจิตตานุภาพ http://www.samathi.com/
    วัดธรรมมงคล http://www.dhammamongkol.com/
     

แชร์หน้านี้

Loading...