ดวงจิตจริงมันดวงเดียว โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย danetkung, 7 พฤษภาคม 2012.

  1. danetkung

    danetkung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,063
    กระทู้เรื่องเด่น:
    5
    ค่าพลัง:
    +15,273
    ดวงจิตจริงมันดวงเดียว
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    [​IMG]

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว.


    ผู้ถาม:- “ล่อจิตตั้ง ๑๒๗ ดวง ๘๒ ดวง”
    หลวงพ่อ:- “ใช่…ฉันก็เคยเล่นมาก่อนเหมือนกัน”
    ผู้ถาม:- “หลวงพ่อน่ะหรือครับ”
    หลวงพ่อ:- “อ้าว…ถ้าไม่โง่เสียก่อนจะรู้เรื่องได้ยังไง”
    ผู้ถาม:- “นึกว่าแจ่มแจ๋ว…ตั้งแต่เล็กจนโต”
    หลวงพ่อ:- “แจ๋วมาก! ตอนนั้นแจ๋วมากจำได้ทุกดวง… (หัวเราะ) แต่ว่าพอไปเทศน์เข้าจริง ๆ เหลือ ดวงเดียว”
    ผู้ถาม:- “ตอนนี้พระที่เทศน์ด้วยกัน ไม่ค้านหูดับตับไหม้เลยหรือครับ ?”
    หลวงพ่อ:- “ใครจะค้านใคร เขาก็ค้าน แค่ ๓ ธรรมาสน์นี่น่ะ ทีแรก ๒ องค์ก็ล่อจิตกี่ดวง ตอบ ๘๐ ดวงบ้าง ๑๒๐ ดวงบ้างน่ะ ล่อกันอีรุงตุงนัง ฉันก็ล่อกินหมาก บุหรี่ไม่สูบเป่ายานัตถุ์บ้าง อะไรใช่ไหม.. นั่งหลับตาเสียบ้าง เดี๋ยวเขาหันมาว่า ไงธรรมาสน์โน้น ถามอะไร แกเทศน์อะไรกันนี่ ถามทำไม บอกข้ากินหมากบ้าง เป่ายานัตถุ์บ้าง…เพลินไป
    เขาถามว่า จิตมีกี่ดวง บอก เอ๊ะ! ของข้ามันมีดวงเดียวนี่นะ พ่อให้มาดวงเดียว เขาบอกผิดตำรา ถามตำราของแกมีกี่ดวง เขาบอกอย่างย่อมัน ๘๐ อย่างพิสดารมี ๑๒๐ กว่าใช่ไหม…ถามมันติดตรงไหนบ้างล่ะ ติดตั้งแต่ฝ่าส้นตีนขึ้นไปถึงหัวแกใช่ไหม ยังไม่หมดเลย…” (หัวเราะ)
    “พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว”
    ผู้ถาม:- “ไอ้ที่มาเกิดก็มาดวงเดียว ตายแล้วก็ไปดวงเดียว”
    หลวงพ่อ:- “ใช่…ไอ้พวกนั้นมันหลายดวง มันต้องเกิดหลายอย่าง เกิดเป็นคนบ้าง เกิดเป็นหมาบ้าง เกิดเป็นนกบ้าง อะไรบ้าง ความจริงพระฎีกาจารย์น่ะ ท่านอธิบายไว้เพื่อความเข้าใจง่าย ทีนี้ไอ้คนเบื้องหลังไม่เข้าใจตามท่าน
    ความจริงจิตน่ะ มันดวงเดียว เหมือนน้ำใส ๆ ใส่แก้วใช่ไหม.. ถ้าสีแดงใส่เข้าไป ไอ้น้ำนั่นน่ะออกเป็นสีแดง ถ้าสีเขียวใส่ไปน้ำก็เป็นสีเขียว ไอ้นั่นน้ำเปลี่ยนสีไปเพราะใส่สีเข้าไป จริง ๆ แล้ว น้ำมันใส แก้วมันใส
    และที่เราทำเวลานี้ เราทำเพื่อให้จิตใสตามเดิม ถ้าจิตใสตามเดิมก็ไปนิพพานได้
    เมื่อก่อนนี้มันใสเหมือนกัน แต่มันใสไม่มีประกายพรึก จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดใช่ไหม…กระทั่งใสด้วยเป็นประกายพรึกด้วย อย่างดวงจิตคนนี่นะ อะไร….เจโตปริยญาณ ญาณตัวนี้ดูง่าย คนกี่พันคนก็ตามดูแป๊บเดียวจะรู้ทันที”
    ผู้ถาม:- “แค่เห็นแป๊บเดียวหรือครับ”
    หลวงพ่อ:- “เป็นหมื่นนะ นึกอยากจะรู้ รู้ใครจิตสีอะไร จิตจริง ๆ เขานับเป็น ๖ สี แต่ย่อแล้วเป็น ๓ สี สีแดงเข้มหรือสีแดงอ่อน ได้ทั้งสองใช่ไหม…สีดำ ดำปี๋หรือดำอ่อน ๆ มัว ๆ…สีขาวจัด หรือขาวมัว ๆ มันไม่เหมือนกัน เอาแค่นี้แค่ ๓ สีพอ
    ถ้าสีแดงเป็นจิตที่มีอารมณ์แจ่มใส ดีใจเพราะได้ของที่ชอบใจน่ะ ถ้าจิตสีดำมีทุกข์ จิตสีขาวจิตสบาย ถ้าจิตสีใสเป็นจิตของฌาน ๔ ถ้าจิตเป็นประกายพรึกเป็นจิตของพระอรหันต์”
    ผู้ถาม:- “ทีนี้เลยถามต่อไปเลยว่า ถ้าเป็นพระโสดาบัน อทิสสมานกายแต่งตัวยังไง โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ แตกต่างกันไหมครับ”
    หลวงพ่อ:- “แตกต่างกัน…ไม่ต้องพระโสดาหรอก แค่คนที่จะตายเป็นเทวดานี่ ข้างในมันเป็นเทวดาก่อน ไม่ต้องดูเฉพาะจิตนะ ดูเฉพาะตัวข้างในนี่ เรียก “อทิสสมานกาย” นะ มันจะบอกเลย รูปร่างลักษณะเป็นอย่างนั้น อย่างจะเป็นสัตว์นรก ก็เห็นเลยเป็นสัตว์นรก มีสภาพอะไรบ้างรู้เลย…เรื่องเล็ก ๆ”
    ผู้ถาม:- “อ๋อ…นี่ไม่ใช่ใหญ่เลยหรือครับนี่”
    หลวงพ่อ:- “เล็ก…มันเล็กมากหยิบไม่ค่อยถูก หยิบไม่ติดมือ…” (หัวเราะ)
    ผู้ถาม:- “อย่างนี้ถ้าหากว่าได้เจโตปริยญาณนี่ มองคนปุ๊บ! จะรู้ทันทีเลยหรือครับ”
    หลวงพ่อ:- “คือว่าความจริงไม่ต้องมองคนหรอก แค่รู้ชื่อต้องการจะรู้เท่านั้นใช้ได้”
    ผู้ถาม:- “ไม่เคยเห็นหน้าเลยหรือครับ”
    หลวงพ่อ:- “ไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้จักกัน ไม่จำเป็น!”
    ผู้ถาม:- “แล้วมีอีกอย่างหนึ่งครับ เกี่ยวกับการสอนเรื่องนรกสวรรค์นี่…”
    หลวงพ่อ:- “ความจริงในพระไตรปิฎกท่านก็ยืนยัน เรื่องนรกสวรรค์นี่มีจริง เรื่องนรกยืนยันตั้งแต่เล่ม ๑”
    ผู้ถาม:- “ที่เป็นมหาเปรียญได้ ก็ต้องผ่านแปลมาก่อน ก็ต้อง…”
    หลวงพ่อ:- “ไอ้นั่นแปลผ่านมาแล้วทั้งนั้น กลับมาเป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายกาจมาก ก็เป็นเรื่องแปลก เรียนผ่านแล้ว แล้วเวลาไปเทศน์โปรดเขา แต่ว่าตัวเองไม่ทำ ไอ้นั่นยังดีกว่าไปคัดค้านพระไตรปิฎก…นี่หนักมาก”
    ผู้ถาม:- “และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บอกว่าไม่ดี แล้วยังสอนคนไม่ให้เชื่อ ทำลายล้างพระพุทธศาสนา”
    หลวงพ่อ:- “ไอ้ที่พูดแบบนั้นเห็นแก่แบ็งค์อย่างเดียว เห็นแค่ค่าจ้าง”
    ผู้ถาม:- “ต้องมีอะไรอยู่นะครับ”
    หลวงพ่อ:- “ใช่ ๆ ๆ”
    ผู้ถาม:- “ผมนึกว่าพวกมิจฉาทิฏฐินี่ ท่านปู่พระยายมน่าจะส่งลูกน้อง เอากระบอกเล็ก ๆ มาอบรมสั่งสอนสัก…โป๊ก ๆ ๆ จะได้รู้เสียที”
    หลวงพ่อ:- “ไม่เป็นไรหรอก ท่านมีเตาอุ่นให้แล้ว ไปอยู่นาน ๆ”
    ผู้ถาม:- “ผมมานึกถึง เอ๊ะ! ทำไมเด็ก ๕-๙ ขวบไปกันคล่อง เที่ยวสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่วัดอะไรที่ฝั่งธนบุรี เป็นมหา…ประโยคนี่ ไม่เชื่อและก็ปฏิเสธ พอสุดท้ายก็เจอเด็กดีวัดท่าซุง ลูกศิษย์วัดท่าซุง อายุประมาณ ๙ ขวบ เด็กได้มโนมยิทธิ ก็มีข้อแม้กันนะครับ ถ้าเด็กตอบได้ตอบถูกต้องตามความเป็นจริง พระตั้งแต่นี้เป็นต้นไปต้องเจริญกรรมฐานทุกวัน เขาต่อรองกันยังงั้นเลยนะครับ
    พระก็ถามว่า ไอ้หนู! ไอ้ที่ว่านรก สวรรค์ พรหม มีจริงไหม มีจริงมีอะไรเป็นข้อพิสูจน์ เด็กก็บอกว่า เอายังงี้ซิครับ…หลวงอา ดื่มน้ำร้อนไม่ต้องเป่า ซดโป้งไปมันร้อนหรือเย็น มหานั่นบอกก็ร้อนซิ
    เด็กก็บอกว่า นรกนั่นมันร้อนกว่านั่นหลายแสนเท่า ไม่เชื่อหลวงอาไปเปิดพระไตรปิฎก ก็ไปเลย เปิด เออ…จริงว่ะ! เอ็งพูดถูกว่ะ เอาได้ข้อละ พอถามสวรรค์ แหม…พอพูดสวรรค์ เด็กปรื้ดเลย…พูดคล่อง
    ทีนี้มหาทำท่าจะกราบเด็ก เด็กก็บอกว่า มหากราบพระพุทธรูปแทนก็แล้วกัน เดี๋ยวนี้มันกลับตาลปัตรกันแล้ว ก็ยังโชคดีสำนึกได้แล้วก็กลับตัวใหม่”
    หลวงพ่อ:- “ความจริงก็ต้องว่าเลวมาก เรียนตั้ง ๗ ประโยค แต่เสือกคัดค้านพระไตรปิฎก”

    จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๙
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร)
    วัดจันทาราม(วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มิถุนายน 2013
  2. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    [​IMG]
    กราบโมทนา สาธุ ท่านผู้มีใจบุญใจกุศล เสียสละเวลาหาบทความ นำบทความที่ดี มีประโยชน์ ให้ผู้อ่านได้ศึกษา อันก่อให้เกิดปัญญาในการพิจารณา เมื่อปัญญาพิจารณาแล้ว จิตจะเป็นผู้กำหนด เป็นผู้เลือกความถูกต้อง ถือว่าเป็น จาคะ คือการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อีกทั้ง ถือว่าการให้นั้น เป็นธรรมทาน เป็นบุญใหญ่ ขอโมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2012
  3. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    476
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,858
    โมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้ด้วยครับ จิตคือเรา เราคือจิต ที่บอกว่า มีร้อยกว่าบ้าง แปดสิบกว่าบ้าง ผมว่ามันน่าจะเป็นเจตสิกนะครับ น่าจะเป็นลักษณะอารมณ์ที่ปรุงแต่งจิตมากกว่า หลวงพ่อท่านสอนธรรมะยากๆให้เข้าใจง่ายเสมอครับ

    บางครั้งผมก็แปลกใจ อาจารย์สอนอภิธรรมบางคน ยกนู้น ยกนี่มา แต่ไม่เคย พูดภาษาชาวบ้านให้เข้าใจกัน การยกอภิธรรม หรือธรรมใดๆมาประกอบ ต้องอธิบายให้แจ่มแจ้ง การใช้ภาษาบาลี ก็อย่าลืมแปลให้เข้าใจง่ายๆด้วยภาษาพื้นๆบ้าง จึงจักเป็นการเกื้อกูลธรรมที่ดีที่สุด มิฉะนั้นก็งงกันไปเหมือนเดิม หนำซ้ำงงหนักกว่าเก่าอีก
     
  4. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260

    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    <font color="#ff0066">เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่ </font><br /> <a href="http://www.facebook.com/BuddhaSattha" target="_blank"><font face="verdana"><font size="5"><font color="#006600"><b>เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา</b></font></font></font></a><br /><font color="#ff0066">และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน</font>

    <font color="#006600">เว็บทางนิพพาน</font> <font color="#0000ff">เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น</font><br /><font color="#0000ff">ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน</font><br /><font color="#006600">ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่</font> www.tangnipparn.com

    <font size="5"><font face="Browallia New"><font color="darkorchid"><b>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญ</b></font></font></font> <a href="http://buddhasattha.com/" target="_blank"><font size="5"><font face="Browallia New"><font color="#0066ff"><b>เว็บศูนย์พุทธศรัทธา</b></font></font></font></a><br>
    <a href="http://buddhasattha.com/" target="_blank"><img src="http://buddhasattha.com/wp-content/uploads/2010/09/bgs.jpg" border="0" alt="" title="แวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา"/></a>
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
    [๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก
    เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ
    ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น.

    ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
    ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
    เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อม
    ท่องเที่ยว เล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
    เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง.
    ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง
    สอบสวนว่า ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่
    พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัย
    ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ
    เว้นจากปัจจัยมิได้มี.

    ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้
    ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้
    ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว เล่นไป ไม่ใช่
    อื่น ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ
    [๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้
    จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มี
    พระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้น พวก
    ข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
    เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง
    เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวก
    ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์
    ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่าน
    สาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดี
    เลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิด
    ขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้ ก็ยัง
    ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง
    ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น
    ดังนี้ จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามก
    นั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค.
    [๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า
    ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า
    ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า
    ดูกรท่านสาติพระศาสดารับสั่งให้หาท่าน.
    สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว
    แล่นไปไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?
    สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
    สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี
    ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า
    ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ
    ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย
    ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ
    ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.


    ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น
    [๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ
    สำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้าง
    หรือไม่?
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
    เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า
    ซบเซา หมดปฏิภาณ.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว
    จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ
    ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
    ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาป
    มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ?
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกัน
    เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ
    เว้นจากปัจจัย มิได้มี.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้
    ถูกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้นเรากล่าวแล้ว โดยปริยายเป็น
    เอนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เรา
    ด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้น
    ของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.

    ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ
    วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณ
    อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรส
    ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศรัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
    มโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้
    ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและ
    เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
    ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.
    [๔๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นขันธปัญจกที่เกิดแล้วหรือไม่?
    ภ. เห็นพระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นเกิดเพราะอาหารหรือ?
    ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่ง
    อาหารนั้นหรือ?
    ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนี้ มีหรือหนอ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น
    หรือหนอ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็น
    ธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น หรือหนอ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว ย่อมละ
    ความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น
    ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับ
    เป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว แม้ดังนี้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะ
    ความดับแห่งอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้ว
    ดังนี้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิด
    เพราะอาหารนั้น ดังนี้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น มีความ
    ดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. หากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่
    ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบด้วย
    ทุ่น อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออกมิใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้
    บ้างหรือหนอ?
    ภ. ข้อนี้ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    พ. หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเรา
    อยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้ว
    เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ?
    ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

    ปัจจัยแห่งความเกิด
    [๔๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความ
    ตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง อาหาร
    ๔ อย่าง เป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ กวฬิงการาหาร อันหยาบ หรือละเอียด (เป็นที่ ๑)
    ผัสสาหารเป็นที่ ๒ มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓ วิญญาณาหารเป็นที่ ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร
    ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? อาหาร
    ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร
    เป็นแดนเกิด? เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็น
    แดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ
    มีอะไรเป็นแดนเกิด? ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ
    มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย
    มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนาม
    รูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร
    เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณ
    เป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไร
    เป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? วิญญาณ มีสังขารเป็น
    เหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร
    ทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด? สังขาร
    ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
    นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมี เพราะ
    สฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
    อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมี เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย
    ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วยประการ
    ฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.
    [๔๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้
    นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมี ใน ข้อนี้
    เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี
    ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ภพมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั้นแล ภพจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั้นแล ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในข้อนี้ มีความ
    เป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้ มีความ
    เป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในข้อนี้ มีความ
    เป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็น
    อย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในข้อนี้มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอวิชชา
    เป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    [๔๔๘] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้
    เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชา
    เป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม
    รูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
    อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็น
    ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกอง
    ทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.

    ปัจจัยแห่งความดับ
    เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ
    วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ
    ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้
    อย่างนี้.
    [๔๔๙] ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็น
    อย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
    พ. ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
    ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่าง
    นี้แล.
    [๔๕๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าว
    อย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ
    ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์
    ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๒๕/๔๓๐
     
  6. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    จิตมีดวงเดียว เพราะมองโดยความสืบต่อเหมือนแสงไฟจากหลอดนีออน

    แต่ความจริงแล้วจิตเกิดขึ้นดับไปทั้งวันทั้งคืน ดังอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรงฺคมํ เป็นต้น (พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้)
    ก็ชื่อว่าการไปและการมาของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศบูรพาเป็นต้น แม้ประมาณเท่าใยแมลงมุม ย่อมไม่มี, จิตนั้นย่อมรับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคมํ.
    อนึ่ง จิต ๗-๘ ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความรวมกันในขณะเดียว ย่อมไม่มี, ในกาลเป็นที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดขึ้นทีละดวงๆ, เมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว, จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทีละดวงอีก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกจรํ.


    ในอัสสุตวตาสูตรที่ ๑ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=2519&Z=2566

    และในอรรถกถา อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

    บทว่า อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ อญฺญํ นิรุชฺฌติ ความว่า จิตใจเกิดขึ้นและดับไปในเวลากลางคืน จิตดวงอื่นนอกจากจิตดวงนั้นนั่นแลย่อมเกิดขึ้นและดับไปในกลางวัน. แต่ไม่ควรถือเอาอรรถอย่างนี้ว่า จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นที่ยังไม่เกิดขึ้นนั่นแลย่อมดับไป.

    บทว่า รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ นี้ ท่านถือเอาความสืบต่ออันน้อยกว่าความสืบต่อเดิมแล้วกล่าวด้วยอำนาจความสืบต่อนั่นเอง. ก็จิตดวงเดียวเท่านั้นชื่อว่าสามารถเพื่อตั้งอยู่สิ้นคืนหนึ่งหรือวันหนึ่ง ย่อมไม่มี.

    จริงอยู่ ในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดขึ้นหลายโกฏิแสนดวง.
    สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในมิลินทปัญหาว่า มหาบพิตร ข้าวเปลือก ๑๐๐ เล่มเกวียน ๑ บั้น ๗ สัดกับ ๒ ทะนาน ไม่ถึงการนับ คือไม่ถึงเสี้ยว ไม่ถึงส่วนของเสี้ยวแห่งจิตที่เป็นไปในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว.
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความไม่รู้ในวิญญาณเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง
    พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า
    โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ เพราะความไม่รู้ในวิญญาณ ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณในความดับแห่งวิญญาณ
    ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า
    โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.
    ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ
    สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.
    ในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ข้อที่ ๕๕๙
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    จิตดวงเดียวไม่เป็นจิตตามความเป็นจริง
     
  9. aroonoldman

    aroonoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +462
    เวลามาจิตนี้ดวงเดียวที่มา เวลาไปจิตนี้ดวงเดียวที่ไป

    ที่เหลือก็แห่ตามกันไปแค่กามวจรจิต
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การเจริญสติปัฏฐาน ๔
    [๖๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อโกศล ในแคว้นโกศล
    ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอ
    ทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔
    เป็นไฉน?

    [๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว
    เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง
    จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
    มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว
    เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง.

    [๖๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต
    ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย
    ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้เวทนา
    ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้จิต
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส
    มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้ธรรม.

    [๖๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์
    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว
    หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น
    มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว
    พรากจากกายแล้วย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...
    พรากจากเวทนาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
    พรากจากจิตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น
    มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว.


    [๖๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้
    อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่น ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อที่ ๖๙๑ - ๖๙๕
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    นักภาวนาเวลาปฎิบัติ เห็นได้ทีละดวง ไม่มีเกิดทีเดียวสองดวง สามดวง นั่นไม่ใช่ รู้ทีละดวงเท่านั้น ดวงเก่าเกิด ตั้งอยู่ ดับไป ดวงใหม่เกิด ตั้งอยู่ ดับไป หากหักสงสารวัฎไม่ได้ จึงเรียกเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด ท่านจึงว่าจิตดวงเดียวเทียวไป

    แต่พอจำแนกตามปัจจัยตามสภาวะท่านจำแนกไว้อย่างละเอียด

    ปัญญาพระพุทธองค์ พระธรรม พระสงฆ์นับเป็นปาฏิหาริย์ยิ่งนัก
     
  12. huayhik

    huayhik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    181
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,131
    ลูกน้อมกราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    สาธุ...โมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ..
     

แชร์หน้านี้

Loading...