เรื่องเด่น ดอกบัวเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 6 มีนาคม 2018.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ดอกบัวเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไร

    4988838b6bdef69396dd369fe534a259.jpg

    ดอกบัว ดอกบัวเป็นสิ่งที่เกิด เจริญงอกงามในน้ำเกิดจากเปือกตม แต่เมื่อเติบโตขึ้นมาก็มิได้นำเอาโคลนตมขึ้นมาด้วยบัวเป็นสิ่งที่ผุดขึ้นจากน้ำสามารถตั้งอยู่เหนือน้ำได้และแม้เมื่อถูกแรงลมพัดพา บัวนั้นก็ยังคงความสง่างาม การเปรียบเช่นนี้เชื่อมโยงกับหลักธรรมซึ่งกล่าวถึงการพัฒนาตนเองที่ไม่ยึดติดอยู่กับโลกธรรมต่าง ๆ และพยายามนำตัวเองให้หลุดพ้น บัวในทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นสิ่งที่น่าเชิดชูบูชา

    ดอกบัวสี่เหล่า คืออุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว ๔ จำพวก ตามฐานะที่จะบรรลุนิพพานได้และไม่ได้ในชาตินั้น ตามที่ปรากฏในโพธิราชกุมารสูตร ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีและคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ว่าเมื่อแรกตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาว่าพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้

    maxresdefault.jpg

    บุคคลสี่จำพวก

    อุคฆฏิตัญญุสูตรและมโนรถปูรณีได้อธิบายบุคคล ๔ จำพวก ไว้ดังนี้

    ๑. อุคคฏิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

    ๒. วิปจิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป

    ๓. เนยยะ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

    ๔. ปทปรมะ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

    ***๓ จำพวกแรกเรียกว่าเวไนยสัตว์ (ผู้แนะนำสั่งสอนได้) ส่วนปทปรมะเป็นอเวไนยสัตว์ (ผู้ไม่อาจแนะนำสั่งสอนได้)
    ………………………………………………………………………………….
    ในสมัยพุทธกาลยังได้มีเหตุการณ์อยู่หลายเหตุการณ์ที่กล่าวถึง ความสำคัญของดอกบัว ดังเช่นเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

    เหตุการณ์แรก เมื่อพระโพธิสัตว์ ซึ่งต่อมาคือเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จจากสวรรค์ชั้นดุสิตเพื่อเข้าสู่พระครรภ์พระมารดา วันที่เสด็จลงมาบังเกิดนั้น คืนนั้น พระนางสิริมหามายา พระมารดาทรงมีพระสุบินนิมิตว่า พระนางได้เข้าไปอยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่ง ลงมาจากยอดเขาสูง เข้ามาหาพระนางปฐมสมโพธิ พรรณนาเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า“มีเศวตหัตถีช้างหนึ่ง…ชูงวงอันจับปทุมชาติสีขาว มีเสาวคนธ์หอมฟุ้งตรลบ แล้วร้องโกญจนาทเข้ามาในกนกวิมาน แล้วกระทำประทักษิณพระองค์อันบรรทมถ้วนครบสามรอบแล้ว เหมือนดุจเข้าไปในอุทรประเทศ ฝ่ายทักษิณปรเศว์แห่งพระราชเทวี…”

    ในขณะนั้น ได้เกิดบุพนิมิตขึ้น ๓๒ ประการ ประการที่เกี่ยวกับดอกบัวคือ มีดอกบัวปทุมชาติหรือบัวหลวง ๕ ชนิด อันได้แก่ สัตตบุษย์หรือบัวฉัตรขาว บัวเข็มชมพู บุณฑริกหรือบัวหลวงขาว ปทุมหรือบัวหลวงชมพู สัตตบงกชหรือบัวหลวงป้อมแดง

    เหล่าปทุมชาติ เกิดดารดาษไปในน้ำและบนบกอย่างหนึ่ง ผุดงอกขึ้นจากแผ่นหินแห่งละเจ็ดดอกอย่างหนึ่ง และต้นพฤกษาลดาชาติ ก็เกิดดอกบัวออกตามลำต้นและกิ่งก้านอีกอย่างหนึ่ง
    …………………………………………………………………………………….
    เหตุการณ์ที่สอง เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ เมื่อทรงก้าวลงจากพระครรภ์ ทรงผินพระพักตร์ไปยังทิศอุดร ชี้พระดรรชนีขึ้นฟ้า แล้วเสด็จดำเนินไป ๗ ก้าว แต่ละก้าวมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ และทรงเปล่งอาสภิวาจา(วาจาอย่างองอาจ)ว่า “เราเป็นผู้เลิศของโลก เป็นผู้ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้ประเสริฐที่สุดของโลก นี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป” ดอกบัวที่ผุดขึ้นมารับพระบาทนี้ หมายถึงพระองค์จะเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ราชบัณฑิตยังให้ความเห็นเกี่ยวกับการที่พระพุทธองค์สามารถตรัสได้ทันทีที่ประสูติต่อคำถามที่ว่า เป็นเพียงสัญลักษณ์เปรียบเทียบถึงอะไร หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ท่านตอบว่ามีเขียนไว้ในพระไตรปิฎก โดยพระพุทธองค์ตรัสเล่าให้สาวกฟังด้วยพระองค์เอง โดยทรงสรุปสั้นๆว่า “เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์”
    ………………………………………………………………………………..
    เหตุการณ์ที่สาม เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พระราชบิดาโปรดให้ขุดสระโบกขรณี ๓ สระ สำหรับให้ทรงลงเล่นน้ำ โดยปลุกอุบลบัวขาบสระหนึ่ง ปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง และบุณฑริกบัวขาวอีกสระหนึ่ง และเมื่อทรงตรัสรู้ ทรงเปรียบเวไนยสัตว์ อุปมาดังบัว สี่เหล่า
    …………………………………………………………………………………..
    เหตุการณ์ที่สี่ คือ ครหพินน์เจ็บใจที่สิริตุตถ์หลอกอาจารย์เดียรถีร์ของตนให้ตกลงไปในหลุมอุจจาะ จึงคิดแก้แค้น หลอกพระพุทธเจ้าอันเป็นอาจารย์ของสิริคุตถ์บ้าง โดยล่อให้ตกลงไปในหลุมที่ก่อไฟด้วยไม้ตะเคียน ปรากฏว่ามีดอกบัว ผุดขึ้นมารับพระบาทพระองค์…

    ขอบคุณข้อมูล : พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น


    ขอบคุณที่มา
    http://108resources.com/ดอกบัวเกี่ยวข้องกับพระ/
     

แชร์หน้านี้

Loading...