ดาวเคราะห์น้อยชนโลกในยุคเพอร์เมียน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย paang, 17 มิถุนายน 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    [​IMG]


    เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบหลุมอุกกาบาต "ชิคซูลูป" (Chicxulub) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.3 ไมล์ บริเวณก้นอ่าวเม็กซิโก ทำให้ทฤษฎีที่ว่า มหาภัยพิบัติของโลกซึ่งทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อนในปลายยุคครีเตเชียส-เทอร์เทียรี เกิดจากดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกน้ำหนักมากกว่าทฤษฎีอื่นๆ

    แต่มหาภัยพิบัติเมื่อ 65 ล้านปีก่อนยังรุนแรงน้อยกว่า มหาภัยพิบัติในปลายยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิก (251 ล้านปีก่อน) ซึ่งเรียกกันว่ายุคแห่งการล้มตายครั้งยิ่งใหญ่ (the great dying)

    ครั้งนั้นทำให้สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลประมาณ 95% ของสายพันธุ์ทั้งหมดและสิ่งมีชีวิตบนทวีปซึ่งขณะนั้นมีเพียงทวีปเดียวคือแพนเจีย (Pangea) ประมาณ 70% ล้มตายและสูญพันธุ์ไปจากโลก

    มหาภัยพิบัติในปลายยุคเพอร์เมียนเกิดจากอะไร นักวิทยาศาสตร์เสนอทฤษฎีไว้หลากหลาย ทฤษฎีแรก เกิดจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทฤษฎีที่สองเกิดจากภูเขาไฟระดับซูเปอร์โวลเคโนระเบิด ทฤษฎีสามเกิดจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางชนโลกและทฤษฎีสี่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งมีเทนในทะเล

    อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มสนับสนุนทฤษฎีดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางชนโลก แต่ก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานหลุมอุกกาบาตอย่างหลุมอุกกาบาต "ชิคซูลูป" มาสนับสนุนได้

    จนกระทั่งถึงปี 2001 ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย ดร.ลูแอน เบกเกอร์ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ก็ได้เบาะแสว่ามันเกิดจากดาวหางหรือเคราะห์น้อยชนโลกจริงๆ เมื่อพบว่าโมเลกุลที่เรียกว่าฟูลเลอรีน (Fullerene) หรือ บั๊กกี้ บอลล์ (Bucky ball) (ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 60 อะตอมเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างคล้ายกับลูกฟุตบอลและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 นาโนเมตร)

    ในชั้นดินตะกอนซึ่งมีอายุอยู่ในยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิก ที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น และฮังการี มีสัดส่วนไอโซโทปของก๊าซฮีเลียมและอาร์กอนผิดปกติไปจากที่เคยพบบนโลก หลักฐานนี้บ่งชี้ว่าก๊าซเหล่านี้มีที่มาจากอวกาศโดยดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกในปลายยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสสิก

    การกระจายของธาตุที่มาจากดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยไปทั่วโลกทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยน่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-12 กิโลเมตร ขนาดพอๆ กับดาวเคราะห์น้อยที่ชนโลกที่อ่าวเม็กซิโกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน แต่ทว่านักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่รู้มันชนโลกในบริเวณใด

    ดร.โรเบิร์ต พอร์ดา บอกว่า การชนของเทหวัตถุที่ใหญ่ขนาดนี้มีพลังงานราว 1 ล้านเท่าของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดบนโลก

    ในปี 2003 การศึกษามีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐได้ค้นพบ แร่หายากซึ่งเป็นแร่ที่อยู่ในอุกกาบาตหิน (chondritic meteorite) จำนวนหลายสิบเม็ดปะปนอยู่ในหินโบราณที่แอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าแร่เหล่านี้มาจากอวกาศ

    อาซิส บาซู นักธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ นิวยอร์ก หนึ่งในทีมค้นพบเชื่อว่าแร่ดังกล่าวมีอายุ 251 ล้านปีอยู่ในยุคแห่งการล้มตายครั้งยิ่งใหญ่พอดี

    การศึกษาเรื่องนี้ดูเหมือนจะสิ้นสุดลงในปี 2004 เมื่อ ดร.ลูแอน เบกเกอร์ และทีมนักวิทยาศาสตร์ประกาศการค้นพบตำแหน่งที่ดาวเคราะห์น้อยชนโลก ที่ก้นทะเลนอกชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลียซึ่งเป็นขอบทวีปออสเตรเลียที่เรียกกันว่า "เนินเบดูต์"

    จอห์น กอร์เตอร์ นักธรณีวิทยาเป็นคนแรกที่เชื่อว่าลักษณะทางธรณีของเนินเบดูต์ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 กิโลเมตรเป็นหลุมอุกกาบาต หลังจากนั้น เบกเกอร์ซึ่งสนใจความคิดนี้ได้ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนเดินทางเข้าไปในพื้นที่เพื่อพิสูจน์ความจริง

    ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาตัวอย่างหินใต้ดินลึกถึง 3,000 เมตรที่ใจกลางเนินเบดูต์ ซึ่งบริษัทน้ำมันเก็บไว้เมื่อครั้งขุดเจาะสำรวจหาน้ำมันและก๊าซเมื่อต้นทศวรรษปลายทศวรรษ 1970 แล้วพบว่ามีเศษผลึกแก้ว

    หลักฐานนี้ชี้ว่ามันเกิดจากการชนอย่างรุนแรงของวัตถุขนาดใหญ่ซึ่งทำให้เกิดความร้อนมหาศาลซึ่งหลอมละลายแร่ธาตุ และเมื่ออุณหภูมิค่อยๆ ลดลงแร่ธาตุก็รวมตัวกันใหม่เป็นผลึก

    แต่นั่นก็ไม่น่าสนใจเท่ากับการตรวจวัดอายุของมัน มาร์ค แฮริสัน จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจวัดอายุของหินใต้เนินเบดูต์แล้วพบว่ามันมีอายุประมาณ 250.1 ล้านปี ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับยุคแห่งการล้มตายครั้งยิ่งใหญ่พอดี

    แต่วันนี้หลุมอุกกาบาตที่เนินเบดูต์กำลังเผชิญกับคู่แข่ง เมื่อดาวเทียมตรวจวัดแรงโน้มถ่วงของโลกขององค์การนาซาตรวจพบหลุมอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 400 กิโลเมตร หรือ 300 ไมล์ใต้แผ่นน้ำแข็ง ทางตะวันออกของแอนตาร์กติกา

    ในบริเวณที่เรียกว่า "วิลค์ส แลนด์" (Wilkes Land)

    ศาสตราจารย์ ราล์ฟ วอน เฟรส จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ หนึ่งในทีมค้นพบบอกว่า หลุมอุกกาบาตวิลค์สแลนด์ มีขนาดใหญ่กว่าหลุมอุกกาบาตชิคซูลูปที่ทำลายล้างไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีก่อนมาก

    ขณะนี้ยังไม่มีการตรวจวัดอายุของหลุมอุกกาบาตนี้ แต่ทีมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ถ้าหลุมอุกกาบาตวิลค์สแลนด์ เกิดในช่วงเวลาเดียวกับยุคแห่งการล้มตายครั้งยิ่งใหญ่ก็เป็นไปได้ว่านี่แหละคือร่องรอยการชนของดาวหางต้นเหตุของมหาภัยพิบัติ


    ที่มา สำนักพิมพ์มติชน
     

แชร์หน้านี้

Loading...