ตบปะทาย ผลบุญเท่าเม็ดทราย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 14 เมษายน 2010.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <TABLE id=Table1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px solid">ภูมิบ้านภูมิเมือง <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    บูรพา โชติช่วง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตบปะทาย<o:p></o:p>
    ผลบุญเท่าเม็ดทรายก่อเจดีย์<o:p></o:p>
    สงกรานต์ มิใช่มีในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ในละแวกเพื่อนบ้านย่านถิ่นภูมิสังคมวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงมีอยู่ ลาว เขมร มอญ พม่า สิบสองพันนาในจีน รวมทั้งอินเดีย ทั้งหมดทุกแห่งล้วนมีงานประเพณีเฉลิมฉลอง ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของตนด้วย<o:p></o:p>
    “เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะสงกรานต์เป็นคติของพราหมณ์ในศาสนาฮินดูของชมพูทวีป (คืออินเดีย) แล้วพวกพราหมณ์นำเข้ามาเผยแพร่ในราชสำนักของดินแดนสุวรรณภูมิยุคต้นพุทธกาล หลังจากนั้นแพร่กระจายทั่ว ไปถึงบ้านเมืองที่อยู่ภายในผืนแผ่นดินแดนใหญ่ที่นับถือฮินดู-พุทธ แล้วเรียก สงกรานต์ แต่คนทั่วไปบางทีเรียก ตรุษสงกรานต์ (เว็บไซต์ สุจิตต์ วงษ์เทศ ประเพณีสิบสองเดือน)<o:p></o:p>
    “ตรุษ” มีรากจากภาษาสันสกฤตว่า ตรุฎ หมายถึง ตัด และ “สงกรานต์” รากจากภาษาสันสกฤต ว่า สงฺกฺรานฺติ หมายถึง คติหรือการจากไปของดวงอาทิตย์หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่นจากราศีหนึ่ง รวมความแล้วตรุษสงกรานต์หมายถึง ดวงอาทิตย์ละทิ้งหรือตัดขาดราศีใหม่ <o:p></o:p>
    ข้อมูลแหล่งเดียวกัน กล่าวถึงปรากฏการณ์เช่นนี้มีประจำทุกเดือน มีชื่อเรียกว่า “สงกรานต์เดือน” ฉะนั้นปีหนึ่งจึงมีตรุษสงกรานต์ 12 ครั้ง แต่ครั้งสำคัญที่สุดเมื่อดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน (มีนาคม) ขึ้นสู่ราศีเมษ (เมษายน) ถือเป็น ขึ้นปีใหม่คติฮินดู จึงเรียกชื่อเป็นพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” <o:p></o:p>
    เมษายน ทางจันทรคติตรงกับเดือนห้า แต่กระนั้นก็ตามพบความแตกต่างของการนับเดือน “ทางลุ่มน้ำเจ้าพระยานับเดือนห้า แต่ทางล้านนาและบางท้องถิ่นที่อยู่ตอนบนของภูมิภาคจนถึงทางใต้ของจีนนับเป็นเดือนเจ็ด นับเร็วกว่ากันราว 2 เดือนตามลักษณะทางภูมิศาสตร์” แหล่งข้อมูลเดียวกัน <o:p></o:p>
    ประเพณีสงกรานต์ไทย ถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำเดือนห้าเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่มาแต่ครั้งโบราณ ราชการจะกำหนดนักขัตฤกษ์สงกรานต์ 3 วัน คือวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน โดยถือวันที่ 13 เป็นวันต้น วันที่ 14 เป็นวันกลาง และวันที่ 15 เป็นวันสุดท้าย ถือเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ อย่างไรก็ตามในแต่ละท้องถิ่นจะมี วันไหล สรงน้ำพระ เล่นสาดน้ำของตนเอง<o:p></o:p>
    ในหนังสือ “ลักษณะไทย เล่ม 4 วัฒนธรรมพื้นบ้าน” (ธ.กรุงเทพ จำกัด) ได้กล่าวถึงวิถีประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง วันแรกถือเป็นวันมหาสงกรานต์ คือวันต้นของปีใหม่ วันกลางเรียกว่า วันเนา หรือวันเถลิงศก และวันสุดท้ายเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนศักราชใหม่ <o:p></o:p>
    ภาคอีสาน วันแรก เรียกว่า วันสังขารล่วง ในวันนี้พระสงฆ์จะตีกลองโฮม (รวม) เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้ วันที่สอง เรียกว่า วันสังขารเน่า หรือวันเนา วันที่สาม เรียกว่า วันสังขารขึ้น หรือวันขึ้นศักราชใหม่ วันสุดท้ายของบุญสรงน้ำสงกรานต์ <o:p></o:p>
    ภาคเหนือ วันแรก เรียกว่า วันสังขารล่อง วันที่สอง เรียกว่า วันเน่า หรือวันเนา และวันที่สามเป็นวันเถลิงศก เรียกว่าวันพญาวัน<o:p></o:p>
    ภาคใต้ จะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า ประเพณีวันว่าง ในวันแรกเรียก วันเจ้าเมืองเก่า หรือวันส่งเจ้าเมืองเก่า วันที่สองเรียกว่า วันว่าง คือว่างหรือปราศจากเทวดา และวันสุดท้ายเรียก วันเจ้าเมืองใหม่ หรือวันรับเจ้าเมืองใหม่ เป็นวันที่เทวดากลับลงมายังมนุษยโลกอีกครั้ง<o:p></o:p>
    เมื่อถึงกำหนดวันสงกรานต์ ชาวบ้านทุกท้องถิ่นร่วมใจกันมีงานประเพณีฉลอง ทำบุญเลี้ยงพระ เลี้ยงผีบ้านผีเรือน ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับ นำกระดูกหรืออัฐิที่เหลืออยู่ไว้บูชามาชำระด้วยน้ำสะอาด<o:p></o:p>
    เป็นการเคารพต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้กิจกรรมสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่และขอพร เล่นสาดน้ำ แล้วมีการละเล่นพื้นบ้านหลากหลายทั้งดั้งเดิมและสิ่งบันเทิงที่มาใหม่ในสภาพสังคมปัจจุบัน <o:p></o:p>
    สงกรานต์ไทย แม้ประเพณีจะมีเช่นเดียวกันในทุกถิ่นก็จริง คือการเล่นสาดน้ำ แต่ส่วนที่เป็นคติความเชื่อ พิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เช่น ผีฟ้า ผีมด ผีเม็ง (มักยกย่องฝ่ายหญิง) บางท้องถิ่นก็ย่อมมีรายละเอียดแตก ต่างลงไปบ้าง ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นสัญลักษณ์ของการชำระล้างขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากหมู่บ้าน<o:p></o:p>
    ถึงกระนั้นก็ตาม สิ่งที่ชาวบ้านยังให้ความสนใจอยู่คือปฏิทินสงกรานต์ ซึ่งหลวงจะมีการประกาศศกสงกรานต์ นาง<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><st1:personName w:st="on" ProductID="สงกรานต์ โหรพยากรณ์จะบอกว่า">สงกรานต์ โหรพยากรณ์จะบอกว่า</st1:personName> วันใดเป็นวันธงชัย วันอธิบดี วันอุบาทว์ วันโลกาวิ นาศ รวมถึงฝนกับนาคให้น้ำกี่ตัว มากน้อยกี่ห่าหรือปริมาณน้ำตกในโลกมนุษย์ ลงในมหาสมุทร ป่าหิมพานต์ <o:p></o:p>
    เรื่องพยากรณ์สงกรานต์ ยังเป็นสิ่งที่คู่คนไทยโดยเฉพาะชาวเกษตรกรรม ถือว่ามีความสำคัญ จะได้นำคำทำนายเพื่อคำนวณพืชผลพันธุ์ธัญญาหารที่ไถหว่านลงไปแปลงนา-ไร่มีความอุดมสมบูรณ์ผลผลิตมากน้อยเพียงใดกับการสภาพดินฟ้าอากาศและน้ำในปีนั้น<o:p></o:p>
    ดังที่ได้เอ่ยไปแล้ว ในแง่ประเพณีสงกรานต์ไทย อันมีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นถิ่นแตกต่างกันไปแล้ว กิจกรรมหลักๆ ตามที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างหนึ่ง ก่อเจดีย์ทราย ชาวบ้านจะมาร่วมกันก่อขึ้น ซึ่งจะก่อในวันไหนก็ได้ ไม่มีกำหนดวันแน่นอน ขอเพียงแค่อยู่ในช่วงสงกรานต์ของท้องถิ่นนั้นๆ <o:p></o:p>
    เรื่องของก่อเจดีย์ทรายนั้น ชาวบ้านจะพากันขนทรายจากห้วย ลำธาร หรือตามหาดทรายในแม่น้ำ บางหมู่บ้าน-ตำบลอยู่ชายฝั่งทะเลก็นำทรายทะเลมาก่อขึ้นเป็นรูปเจดีย์ หรือรูปศิลปกรรมอื่นๆ ตรงบริเวณชาย หาด อย่างเช่นหาดบางแสน จะก่อกันในวันไหล มีการประกวดเจดีย์ทรายกัน ทั้งเลี้ยงพระสงฆ์ที่หาดทราย<o:p></o:p>
    แม้แต่บางท้องถิ่นที่อยู่ติดกับแม่น้ำ มีการก่อเจดีย์ทรายกันบริเวณสันดอนทรายในแม่น้ำ บางท้องที่เรียกก่อพระทรายน้ำไหล เป็นต้นว่าริมแม่น้ำโขงแถบเชียงราย อันเป็นช่วงน้ำในแม่น้ำโขงลดลงตามฤดูการธรรมชาติ ชาวเชียงของและห้วยแก้วฝั่งลาวลงไปก่อเจดีย์ทรายกัน และที่หลวงพระบาง ชาวหลวงพระบางเรียก “ตบปะทาย” หรือก่อพระทรายนั่นเอง บริเวณกลางดอนแม่น้ำโขงมาแต่ไหนแต่ไร <o:p></o:p>
    การก่อเจดีย์ทราย เป็นงานบุญที่ชาวบ้านโดยเฉพาะหนุ่มสาวด้วยแล้วทำด้วยความสนุกสนาน เป็นเชิงเกี้ยวพาราสีไปในตัว อันนอกเหนือที่มีความศรัทธาเรื่องบุญกุศล เพราะทรายเหล่านี้พระสงฆ์จะได้นำมาใช้ประโยชน์ในวัด เช่น ใช้ถมทาง หรือนำไปใช้เป็นส่วนผสมการก่อสร้างอาราม หรือบูรณะโบสถ์-วิหารต่อไป <o:p></o:p>
    ในเรื่องพิธีตบปะทายของภาคอีสานนั้น บุหลง ศรีกนก เขียนไว้ในหนังสือ “ลักษณะไทย” ตอนหนึ่ง “ชาวบ้านจะนำทรายมากองไว้ในบริเวณวัด ทรายที่ขนมานั้นจะเป็นกองใหญ่ 1 กอง และมีกองทรายเล็กๆ ปั้นไว้รอบๆ ลักษณะของกองทรายที่ปั้นนั้นจะคล้ายกับเจดีย์ทราย บนยอดจะประดับด้วยธงทิวสีต่างๆ ปักไว้ตรงกลาง<o:p></o:p>
    เมื่อก่อกองทรายเสร็จแล้ว ผู้ที่ก่อจะบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน และฟังเทศน์ฉลองพระทราย จุดประ สงค์ก็คือ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าจะได้รับผลบุญเท่าเม็ดทรายที่นำมาก่อ และเป็นการต่ออายุของตนเองด้วย จะเห็นได้ว่าการก่อพระทรายก็คือ การร่วมมือกันขนทรายเข้าวัด เพื่อจะได้นำทรายนั้นไปใช้ประโยชน์ในการก่อ สร้างบูรณะอาราม และเป็นการตกแต่งบริเวณวัดให้สะอาดสวยงาม<o:p></o:p>
    ในการก่อพระทรายนั้น ฝ่ายพระสงฆ์จะปั้นทรายให้เป็นรูปสัตว์น้ำ มีเต่า จระเข้ นาค ที่ปั้นรูปสัตว์เหล่านี้ ก็เพราะถือว่าเป็นสัตว์ที่บันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล เป็นสัญลักษณ์บอกให้ผู้พบเห็นทราบว่า สิ้นหน้าสงกรานต์แล้ว หากทางวัดมีความประสงค์จะหารายได้เพื่อนำเงินบูรณะวัดก็จะมีการก่อพระทรายข้าว เปลือกเพื่อนำไปขาย”<o:p></o:p>
    ลักษณะการตบปะทายทางอีสาน ผู้เขียนได้ไปเห็นที่หลวงพระบางเช่นกัน ทว่าพระทรายประดับตุงหรือธง 12 นักษัตร เป็นที่นิยมของชาวหลวงพระบาง หนุ่มสาวตลอดจนผู้ใหญ่ต่างม่วนซื่นหรือสนุกสนานกับการตบปะทายกันในตอนสายบริเวณดอนกลางแม่น้ำโขง-คาน พอตกบ่ายคล้อยเย็นจะช่วยกันขนทรายที่ตบใส่เรือ หรือใส่กะบุง หาบคอนก็สุดแล้วแต่สะดวกนำเข้าวัด <o:p></o:p>
    ในวันนี้เล่นสาดน้ำกัน และวันถัดไปมีการแห่หลวงพระบาง ไปประดิษฐานที่วัดใหม่สุวรรณพูมาราม เพื่อให้ชาวหลวงพระบางได้สรงน้ำพระบาง ทั้งผู้สรงน้ำพระจะนำภาชนะไปรองน้ำที่ไหลผ่านองค์พระ นำมาปะพรมศีรษะตนเองเพื่อเป็นสิริมงคล และนำกลับไปบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวด้วย<o:p></o:p>
    อีกแห่งหนึ่ง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ผู้เขียนได้ไปเห็นการก่อพระทราย ชาวบ้านใช้ไม้ไผ่สานก่อเป็นลักษณะบ้องๆ ชั้นๆ ขึ้นเป็นรูปเจดีย์ ตรงกลางบ้องแต่ละชั้นไว้บรรจุทราย บนยอดประดับตุงหรือธงรอบๆ ซึ่งก่อพระทรายมีตำนานเรื่องเล่ามาจากพระเจ้าปเสนทิโกศล ทั้งในคำภีร์ใบลาน "ธรรมอานิสงส์เจดีย์ทราย" ด้วยจิตศรัทธานี้ตายแล้วได้ไปสวรรค์ จึงทำให้ชาวล้านนาแต่ก่อนนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนถึงทุกวันนี้ <o:p></o:p>
    มิเพียงเท่านั้น คนโบราณยังใช้การก่อเจดีย์ทรายนี้เป็นกลอุบาย ให้คนในท้องถิ่นชุมชนรู้จักสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจทำกิจกรรมทางศาสนา กับดังที่ความเชื่อว่า<o:p></o:p>
    ได้รับผลบุญเท่าเม็ดทรายที่นำมาก่อ<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> [​IMG]รูปประกอบข่าว</TD></TR><TR><TD><TABLE id=NewsCurrentDetail1_dlimage style="WIDTH: 100%; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=TableAnswerContent><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=TableAnswerContent><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=TableAnswerContent><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=TableAnswerContent><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD align=left>[​IMG]</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...