ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 15 ธันวาคม 2005.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG] ตะกรุดด้านคงกระพัน ตะกรุดที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือ ตะกรุดคู่ชีวิตของ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จังหวัดพิจิตร เรียกได้ว่านักนิยมเครื่องรางหลายๆ ท่านคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ตะกรุดหลวงพ่อพิธเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม ในหมู่ลูกศิษย์อย่างมาก คือระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๘๕ ในครั้งนั้นตะกรุดหลวงพ่อพิธออกให้เช่าบูชาเพื่อทำบุญสร้างพระอุโบสถที่วัดสามขา ถึงดอกละ ๑๐ บาทเชื่อว่า ราคาตะกรุดหลวงพ่อพิธจะสูงที่สุดในช่วงเวลานั้น โดยที่รูปหล่อหลวงพ่อเงิน(วัดบางคลาน)ราคาในท้องถิ่นไม่เกิน ๑๐ บาทแน่ มีแต่ราคาในกรุงเทพฯ ที่พ่อค้าคนจีนในสำเพ็งซื้อเท่านั้นที่ให้ราคาพระหลวงพ่อเงินถึงองค์ละ ๑๐ บาท เพราะพ่อค้าไม่มีเวลาเดินทางไปพิจิตรได้ เมื่อต้องการก็สั่งให้ผู้อื่นไปเอา และให้ค่าตอบแทนองค์ละ ๑๐ บาท แต่ตะกรุดหลวงพ่อพิธระยะนั้นในท้องถิ่นราคา ๑๐ บาท นับว่าราคาสูงมาก ผู้ไม่ศรัทธาจริง ๆ คงไม่มีใครแสวงหา ในฉบับนี้อีกเช่นกันที่มีผู้ใช้นามปากกาว่า "ชาละวัน" ส่งข้อมูลตะกรุดดังเมืองพิจิตรนี้มาต้องขอขอบคุณอย่างสูง เริ่มเรื่องเลยครับ[​IMG]

    เรื่องตะกรุดหลวงพ่อพิธนั้นเป็นเรื่องยืดยาวประวัติด้านคงกระพันมีมาก เชื่อถือได้แน่นอน ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ได้วิชาทำตะกรุดมาจากท่าน มีหลักฐานไว้แน่ชัด มีเอกสารเป็นหลักฐานยืนยันว่า ยันต์นี้ หลวงพ่อเตียง (วัดเขารูปช้าง) เรียนมาจากหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ซึ่งท่านเรียนสืบมาจากมาจากหลวงพ่อเงินวัดบางคลานอีกที
    ตะกรุดหลวงพ่อเตียงก็ได้เลียนแบบอย่างของหลวงพ่อพิธ วัดฆะมังผู้เป็นอาจารย์ปู่ แต่มีเอกลักษณ์บางอย่างที่เราสามารถแยกได้ว่า ตะกรุดดอกไหนเป็นของอาจารย์องค์ไหนกันแน่โดยเฉพาะเกจิอาจารย์ในสายจังหวัดพิจิตรนี่คือตะกรุดหลวงพ่อพิธโดยส่วนใหญ่ในขณะนี้เช่าหากันในราคาสูงหลักพัน ดอกที่สมบูรณ์ ๆ ก็หลายพันบาท แล้วแต่ว่าจะได้มาจากแหล่งไหน

    ตะกรุดของท่านสังเกตได้ง่าย ๆ คือ
    ๑. ตะกั่วที่ใช้จารเป็นตะกั่วน้ำนม (เนื้ออ่อน)
    ๒. ส่วนใหญ่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง
    ๓. ยันต์ที่ใช้จารเป็นยันต์คู่ชีวิต หรือยันต์อะสิสัตติ เป็นหลัก
    ข้อควรระวังในการแสวงหาตะกรุด คือ ของเทียม ที่มีมากพอสมควรต้องดูความเก่าเป็นหลักในการพิจารณา สำหรับเชือกถักนั้นอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ของเดิมจริงๆ จะมีขนาดย่อมๆ และจะมีการถักเชือกลงรักไว้อย่างสวยงาม ต่อมาระยะหลังมีการทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งมีทั้งถักเชือกเฉย ๆ และไม่ถักเชือกตรงนี้มิใช้เรื่องสำคัญ ขอให้ดูความเก่าเป็นหลักเป็นใช้ได้


    [​IMG][​IMG]

    ส่วนยันต์ของท่าน ได้นำมาลงพิจารณาประกอบแล้ว ตะกรุดของท่านจะจารทั้ง ๒ ด้าน มีการสร้างอย่างประณีต โดยยันต์ต่าง ๆ ที่ปรากฏ ส่วนใหญ่เป็นยันต์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานที่ท่านใช้ลงตะกรุดของท่าน และตะกรุดหลวงพ่อเงินก็มีหลายแบบ ซึ่งจะได้กล่าวแยกไว้ต่างหากโดยเฉพาะ
    สำหรับประวัติโดยสังเขปของหลวงพ่อพิธ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕ มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ จากปากคำของผู้รู้เล่าว่า ท่านเป็นหลานแท้ ๆ ของ หลวงพ่อเงิน จึงได้วิชาอาคมจากหลวงพ่อเงินมาเต็มที่ ในสมัยหนุ่มๆ เมื่อได้บวชเรียนแล้วได้ไปศึกษาพุทธาคม จากแหล่งอื่นอีก โดยเคยอยู่ที่วัดหัวดง วัดบางคลาน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา (เป็นวัดที่ท่านทำตะกรุดให้ผู้มีศรัทธาได้ทำบุญช่วยวัด) ต่อมาก็ย้ายมาอยู่ที่วัดใหญ่ (วัดมหาธาตุ พิษณุโลก) หลังจากนั้นก็กลับไปอยู่ที่ จ.พิจิตรและมรณภาพที่วัดฆะมัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘
    ประสบการณ์ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีอานุภาพด้านคงกระพันสูงมาก มีผู้เล่าว่ามีผู้ใช้หลายรายโดนทั้งปืนทั้งมีดไม่เคยระคายผิว ชาวบ้านบางคนถูกแทงจนเสื้อขาดแต่ก็ไม่เข้ามีเพียงรอยยางบอนเท่านั้น พวกเศรษฐีที่มีเงินทุ่มเงินซื้อตะกรุดดอกนั้น ให้ราคาเป็นหลักหมื่น ก็จึงขายไป เพราะทนเงินง้างไม่ไหวเหมือนกัน
    เเต่เหนืออื่นใดนั้นเป็นสิ่งยืนยันถึงความเชื่อถือของคนพิจิตรที่มีต่อวัตถุมงคลของท่านหลวงพ่อพิธโดยเฉพาะตระกรุดโทนที่ลงยันต์อะสิสัตติ ธนูเจวะ ฯ นี้ ซึ่งเป็นยันต์ที่มีมาแต่โบราณกาล เกจิอาจารย์รุ่นเก่าทั้งภาคกลางและภาคเหนือใช้กันมาก หลวงพ่อดัง ๆ เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อน้อย วัดป่ายางนอก ฯลฯ ซึ่งเกจิอาจารย์ที่กล่าวถึงมีอายุอยู่ในศตวรรษก่อนทั้งนั้น จากหลักฐานที่ได้ศึกษามานาน แต่ละท่านก็ใช้ยันต์นี้ลงตะกรุดบางดอกของท่านเช่นเดียวกัน กรณีที่เป็นตะกรุดดอกสำคัญ
    ยันต์อสิสัตติหรือพระเจ้าห้ามอาวุธที่มีสมญาว่า "ตะกรุดคู่ชีวิต" นี้ดีอย่างไร?
    ในสมัยก่อนเราเรียกยันต์นี้ว่า ยันต์คู่ชีวิต คือ มีอยู่แล้วชีวิตอยู่คง เป็นยันต์ที่ได้ใช้กันมานาน ตั้งแต่สมัยอยุธยายังรุ่งโรจน์ เป็นยันต์ ๆ หนึ่งในตำราพิชัยสงครามได้ระบุไว้ เป็นยันต์ชั้นสูงหาค่าประมาณมิได้

    จากตำราสมุดข่อยของ หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เขียนไว้ว่า "ยันต์นี้ลงกะตุด (ตะกรุด) ไม่ต้องเสกยิงเอาเถิด" เพียงเท่านี้ จะเห็นว่ายันต์นี้มีอานุภาพคงกระพันเพียงใด และมีความขลังเพียงใด?
    [​IMG]
    คาถาที่ลงในตาราทั้ง ๔ มุมเขียนไว้ว่า
    อะสิสัตติธะนูเจวะ
    สัพเพเตอาวุธานิจะ
    ภัคคะภัคคาวิจุณณานิ
    โลมังมาเมนะผุสสันติ
    เป็นคาถาตอนพระพุทธเจ้าถูกนายขมังธนูที่พระเจ้าอชาติศัตรูส่งมารอบยิงแต่ด้วยพุทธบารมีปรากฏว่านายขมังธนูไม่สามารถง้างธนูยิงได้ จนได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและยอมรับพระไตรสรณาคมในที่สุด สำหรับการลงอักขระในพระคาถาหมวดนี้มีการลงอักขระแบบลงสลับไปมาในช่องต่าง ๆ ไม่ได้เรียงกันอย่างการอ่านธรรมดา เรียกว่าเป็นกลบทนั่นเอง คาถานี้ใช้เป็นคาถาหลักในการปลุกเสกตะกรุด ทั้งการอาราธนาใช้โปรดดูรายละเอียดเกี่ยวกับการอาราธนาใช้ตะกรุดของท่าน....
     
  2. athipaksorn

    athipaksorn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +73
    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...