ตะกรุดโทน มหารูด คู่ชีวิต พ่อท่านเริ่ม วัดคีรีวงการาม เกาะสมุย สฏ.

ในห้อง 'ห้องแสดงวัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย lai_thai, 9 มกราคม 2019.

  1. lai_thai

    lai_thai Tu_Sawasdee

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +29
    "รองแชมป์ที่ ๒ งานการประกวดและอนุรักษ์พระเครื่อง พระบูชา เหรียญคณาจารย์ เครื่องราง ของขลัง 14 จังหวัดภาคใต้ 4-5 กุมภาพันธ์ 2560 โรงแรมทวินโลตัส นครศรีธรรมราช" ในที่สุดก็มีวาสนาครอบครอง ก่ะอีก ๑ สุดยอดในตำนานอันดับต้นๆ ของภาคใต้ ที่มีประวัติการสร้างรูปลักษณ์ กรรมวิธีเป็นเอกลักษณ์ .... ตะกรุดโทน(ทองแดง) มหารูด คู่ชีวิต ท่านพระครูวิมลทีปคุต (เริ่ม คุณธมฺโม) วัดคีรีวงการาม เกาะสมุย สุราษฏร์ธานี นับว่าเป็นตะกรุดที่มากด้วยประสบการณ์เป็นอย่างมากมีกรรมวิธีที่ซับซ้อน ลงจาร, พอกผงพุทธคุณ, หุ้มครั่ง ดอกโทน มีทั้งทองแดง, ตะกั่ว, เงิน (ว่ากันว่าทองแดงจะเป็นยุคแรก) จำนวนการสร้างไม่มากนัก ในสมัยนั้นเล่ากันว่าท่านจะทำ/ เสกตะกรุดโดยปิดประตูอยู่ในโบสถ์และไม่ฉันท์ข้าวเป็นเวลา ๒-๓ วัน ... ตะกรุดที่ท่านสร้างมีด้วยกันอยู่ ๓ ประเภท คือ คู่ชีวิต มหารูด, ค่าควรเมือง และ จันทร์เพ็ญ ส่วนตะกรุดมหารูด คู่ชีวิต นี้เป็นตะกรุดที่ดอกใหญ่ที่สุด ดอกที่ลงนี้ยาว ๖ นิ้ว ซึ่งจะมีการพอกครั่งไว้ทั้งหมด จึงเป็นอีกจุดสังเกตุดูจากความเก่าของครั่ง เชือก รอยถัก และขนาดได้ชัดเจนขึ้น ตะกรุดมหารูด คู่ชีวิต เด่นด้าน ยืนยง คงกระพัน สูง รวมถึงด้านเมตตาเข้าหาเจ้าหานาย และมีเสน่ห์กับเพศตรงข้าม ครบเครื่อง .- วิธีใช้ตะกรุดมหารูด คู่ชีวิตของท่านให้ผูกสะเอว เวลาจะสู้ให้เอาไว้ข้างหน้า ถ้าจะหนีให้รูดไปข้างหลัง เข้าหาเจ้านายให้รูดไปด้านขวา รูดไปด้านซ้ายเข้าหาสตรี แข่งรถแข่งเรือยามออกไว้หน้าพอนำให้ผันไว้ด้านหลัง เพื่อนตามไม่ทันแลฯ มีประสบการณ์เด่นชัดมาแล้วเป็นที่ประจักษ์ ปัจจุบันนี้หาสวยๆ สมบูรณ์ๆ มูลค่าการสะสมสูง ทั้งหายากมาก ใครมีต่างก็หวงแหน .- ประวัติโดยย่อ พระครูวิบูลทีปคุต เดิมชื่อ เริ่ม นามสกุล สมคะเณย์ เป็นบุตรชายคนที่ ๓ ของ นายเหลือ - นางเบี้ยว สมคะเณย์ มีพี่น้องรวมกัน ๕ คน ..ในสมัยเด็กได้ศึกษาเล่าเรียนตามสมัยนิยม คือเรียนหนังสือไทย ภายในวัด กับ หลวงพ่อเพชร วัดประเดิม และ หลวงพ่อรักษ์ วัดประเดิม จนสามารถอ่านออกเขียนได้ แล้วจึงเรียนหนังสือขอม และเลขแบบโบราณ เมื่อจบแล้วได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดแจ้ง เกาะสมุย สุราษฏร์ธานี เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี โดยมี หลวงพ่อเพชร ติสฺโส (พระครูวิบูลย์ธรรมสาร รูปแรก)เป็นพระอุปัชฌาย์ พอครบ ๑ พรรษา ก็ได้ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ ช่วยบิดามารดาทำมาหากินประกอบอาชีพทำสวน ตามวิถีชีวิตในสมัยนั้น ...เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี จึงได้บรรพชาอุปสมบทที่ วัดแจ้ง อำเภอเกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี โดยมี พระครูวิบูลย์ธรรมสาร(เพชร ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูทีปาจารย์คุณารักษ์ (รักษ์ อินฺทสุวณฺโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทับ วัดแจ้ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "คุณธมฺโม" พ่อท่านเริ่ม ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยทางสมถวิปัสสนาจึงได้ออกเดินธุดงค์ไปที่ประเทศพม่า ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดลั่งเคี่ย เมืองมะลิวัน อยู่ประมาณ ๓ พรรษา หลวงพ่อเริ่ม ได้พบกับพระอาจารย์แดง ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งด้านวิปัสสนากรรมฐานและไสยศาสตร์ ท่านจึงได้ศึกษาเล่าเรียนจากพระอาจารย์แดงจนหมดสิ้นจนมีความชำนาญ จึงได้เดินทางกลับมายังเกาะสมุยถิ่นฐานบ้านเกิด ณ. เวลานั้น ที่วัดตลิ่งงาม (คีรีวงการาม) ขาดพระที่มีพรรษา ที่มีความสามารถที่จะเป็นประมุขสงฆ์ได้ ท่านพระครูทีปาจารย์คุณารักษ์ (รักษ์ อินฺทสุวณฺโณ)จึงได้นิมนต์ร้องขอ ให้ท่านมาช่วยปกครองดูแลชั่วคราวจนกว่าจะหาพระที่มีพรรษามาเป็นเจ้าอาวาสได้ ซึ่งท่านเองก็เป็นคนพื้นที่บ้านตลิ่งงามนั้นเอง จนกระทั่งญาติพี่น้องรวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน ได้ตกลงกันว่า จะไม่ยอมให้ท่านไปประจำอยู่ที่อื่น ให้อยู่ประจำอยู่ที่ วัดตลิ่งงาม ..ท่านก็รับนิมนต์และได้อยู่ประจำที่นี่ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล อยู่ถึง ๓๐ ปี ..จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูวิมลทีปคุต" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ""พระครูวิมลทีปคุต ได้ดำรงตำแหน่งมาจนชราภาพ และได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ สิริอายุได้ ๘๗ ปี พรรษา ๖๖ ... .....ถึงแม้นว่า ท่านพระครูวิมลทีปคุต (เริ่ม คุณธมฺโม)ท่านจะละสังขารมาเป็นเวลา ๓๐ ปีกว่าแล้ว แต่ร่างกายของท่านก็มิได้เน่าเปื่อยแต่อย่างใด ร่างของท่านมีสภาพแห้ง นั่งวิปัสสนา อยู่ภายในมณฑปจนกระทั่งทุกวันนี...แต่ที่อัศจรรย์อย่างยิ่งก็คือ ผม และ หนวด ของท่านจะงอกยาวออกมา จนต้องทำพิธีปลงผม โกนหนวด เปลี่ยนจีวรมาถึง ๒ ครั้ง .. สวาธุ กราบเท้าท่านพระครูวิมลทีปคุต (เริ่ม คุณธมฺโม)
     

แชร์หน้านี้

Loading...