"ตั้งใจมั่น" กับ "ตั้งจิตมั่น" ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nitnoi, 22 เมษายน 2010.

  1. nitnoi

    nitnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +153
    เรียนถามคะว่า เหมือนหรือต่างกัน อย่างไรเจ้าค่ะ

    สาธุ ๆ ๆ :cool:
     
  2. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    นาน ๆ มาที คำถามแต่ละคำถามทำเอาอึ้งเลยนะ
    ไม่ทราบจ้า อยากรู้ รอท่านผู้รู้มาอธิบายเหมือนกัน

    เจริญพร

    :cool:
     
  3. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    อนุโมทนา สาธุการ ตั้งใจคือมุ่งมั่นแน่วแน่ในกิจ ตั่งมั่นคือรวมสมาธิเป็นหนึ่งแน่วแน่ไม่หวั่นไหว
     
  4. nitnoi

    nitnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +153
    ขอบคุณคะ ท่าน ด้อยค่า ท่าน ดอน รอท่านอื่น ๆ อยู่คะขอความรู้หน่อยนะเจ้าค่ะ
     
  5. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    เคยเห็นคำถามของเจ้าของกระทู้เกี่ยวกับคำว่า "จิต" กับ "ใจ" ต่างกันยังไง ถ้าจำไม่ผิดนะครับ คราวนี้เจ้าของกระทู้สงสัยเรื่องเดิม แต่เพิ่มคำบางคำประกอบ

    อยากเรียนว่า เรื่องจิตกับใจนั้น อย่าไปยึดติดในตัวอักษร จะบอกว่าจิตเป็นอย่างนี้ ส่วนใจต้องเป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่ จิตกับใจก็เป็นอย่างเดียวกัน เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการใช้คำ คำบางคำนิยมใช้กัน เช่น อดใจ ตั้งใจ สนใจ ใส่ใจ ครั้นเราจะมาเปลี่ยนมาเป็น อดจิต ตั้งจิต สนจิต ใส่จิต ก็คงจะเป็นคำที่เราใช้อยู่คนเดียว นิยมอยู่คนเดียว

    เพราะฉะนั้น อยากให้เจ้าของกระทู้มองให้ทะลุตัวอักษร อย่าไปยึดติดกับตัวอักษร

    ยกตัวอย่างกรณีหนึ่ง เราคนไทยเห็นคนทำความดี ทำบุญทำกุศล เราก็ร้องออกมา "สาธุ" หรือ "สาธุอนุโมทามิ" ปรากฎว่าเพื่อนฝรั่งมาเมืองไทย เห็นคนสร้างบุญสร้างกุศล เกิดความปิติยินดีอย่างหาที่สุดไม่ได้ แต่แทนที่จะร้องออกมาว่า "สาธุ" กลับร้องว่า " Cool" หรือ " Awesome" ถามว่าเราต้องไปบอกเพื่อนฝรั่งว่า "เฮ้ย ยูจะร้องว่า Cool ไม่ได้นะ ยูไม่ได้หนาวซะหน่อย หรือยูจะร้องว่าออซั่มไม่ได้นะ มันฟังแล้วคล้ายๆ ออส่วน ยูต้องร้องว่า สาธุ สาตุ๊ และสาตุ๊ เท่านั้น" ถามว่าเราต้องบอกอย่างนั้นมั้ย ?

    สุดท้าย อยากเรียนถามเจ้าของกระทู้ว่า "นิด" กับ "หน่อย" ต่างกันอย่างไร หรือต่างกันตรงที่เขียนไม่เหมือนกัน ?

    หมายเหตุ ไม่ได้ "กวน" นะ แค่ "ยวน" เท่านั้นเอง

    catt3
     
  6. nitnoi

    nitnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +153
    โห !! ยังจำได้อีกหรือค่ะ ขอขอบคุณที่มาแสดงความเห็นให้ความกระจ่างนะคะ
    สาธุ ๆ ๆ คะ

    ตอบคำถามคะ ไม่เคยมีใครถามชื่อ นิดหน่อย มาก่อนเลยนะเนี้ย

    นิด ตรงข้ามกับ มาก
    หน่อย ตรงข้ามกับ เยอะ (อิอิ)

    นิดหน่อย แปลว่า ไม่มาก ไม่เยอะ เจ้าคะ เช่น สวยมากไหม?
    สวยไม่มากหรอกคะ นิดหน่อย พอไปวัดไปวาสาย ๆ ได้ อย่างนี้เป็นต้น

    อิอิ ไม่กวนไม่ยวนหรอกนะ แต่ช่างสังเกต ช่างจดช่างจำ ช่างย้อกย้อน ประมาณนี้ คะ

    cool cool cool เจ้าคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2010
  7. susanleky

    susanleky สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +11
    ตอบได้โดนใจค่ะ ชอบมาก
     
  8. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ผมว่าความหมายของคำทั้งสองคือ จิตกับใจ มันเหมือนกัน
    แต่จะต่างกันตรงที่นำมาใช้ เช่นคำว่า ใจ น่าจะนำมาใช้เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไป
    ในชีวิตประจำวัน
    ส่วนคำว่าจิต เขาใช้กับการปฏิบัติธรรม ศึกษาให้รู้เรื่องอารมณ์ต่างๆของคน
    .....ฉะนั้นจะสังเกตุได้ว่าจิตดูจะละเอียดลึกซึ้งกว่าคำว่าใจ
    ผู้บัญญัติคำตั้งใจให้คำสองคำต่างกันด้วยเงื่อนไขของการใช้ แต่ด้วยความไม่
    เข้าใจของผู้ใช้ เลยทำให้คำสองคำผสมปนเปกัน
     
  9. มิตรตัวน้อย

    มิตรตัวน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +896
    "ตั้งใจมั่น" คือ จิตหวั่นไหวเป็นธรรมดา เพราะรองรับอารมณ์ต่างๆ แต่ใจมันต้องมั่นคง ใจไม่หวั่นไหวเพราะใจหมายถึงความสงบ
    "ตั้งจิตมั่น" คือ จิตไม่หวันไหวไปตามอารมณ์ เพราะจิตรู้ทันอารมณ์ จิตจึงสงบอยู่ได้และตั้งมั่น เพราะจิตคือผู้รู้

    จิตที่รู้ทันอารมณ์ต่างๆ ก็คือ จิตได้รับการอมรมณ์ดีแล้วด้วยปัญญาว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดแล้วก็ดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    เป็นไตรลักษณ์ เมื่อจิตคือผู้รู้ เข้าถึงไตรลักษณ์ จิตก็ก้าวข้ามจากโลกียะ ไปเป็นโลกุตรจิต โลกุตรธรรม

    "จิตที่อบรมดีแล้วย่อมนำสุขมาให้"

    เจริญธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010
  10. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    ภาษาเป็นสื่อตัวแทนของ กริยา การกระทำ การแสดงออก การสื่อความหมาย การขยายความให้กระจ่างชัด การแสดงถึงชีวิต การแสดงความเป็นเจ้าของ การแสดงและแยกแยะประเภท การเสริม การกำหนดเสียง การแสดงถึงอารมณ์สภาวะ การสร้าง ฯ ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากมากๆ ทุกความหมายมีประเภทของภาษาในตัว แยกจำเพาะเจาะจงของสิ่งๆนั้น เช่น จิต ใจ วิญญาณ ญาน ร่าง กายทิพย์ ดวงธรรม ธรรมญาน ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...