ตามรอยพระบาท "พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 15 ตุลาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <!-- AddThis Button BEGIN --><SCRIPT type=text/javascript>var addthis_pub="komchadluek";var addthis_brand = "คมชัดลึก";var addthis_header_color = "#ffffff";var addthis_header_background = "#3792ef"</SCRIPT>[​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://s7.addthis.com/js/200/addthis_widget.js"></SCRIPT> <!-- AddThis Button END -->
    [​IMG] ห้องนิทรรศการ


    [​IMG] ห้องทรงพระอักษร


    [​IMG]


    [​IMG] พระตำหนักใหญ่ / ห้องรับแขกชั้นล่าง


    [​IMG] งานฝีมือที่สอนโดยอาจารย์จากวิทยาลัยวังหญิง


    [​IMG] ของที่ระลึก



    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]



    <SCRIPT type=text/javascript>var id='32626';function count(){$.ajax({ type: "POST", url: "http://www.komchadluek.net/counter_news.php", data: "newsid="+id, success: function(txt){ var counter_=parseInt(txt); $('#counters').html('จำนวนคนอ่าน '+counter_+' คน'); } });} featuredcontentslider.init({ id: "slider1", contentsource: ["inline", ""], toc: "markup", nextprev: ["Previous", "Next"], revealtype: "click", enablefade: [true, 0.1], autorotate: [true, 8000], onChange: function(previndex, curindex){ }})</SCRIPT>คมชัดลึก : ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งพระชนม์ชีพ สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงอุทิศพระวรกาย พระสติปัญญา และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนมากในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เปิดพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตามพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงพระราชกรณียกิจแบบอย่างอันดีแห่งการดำรงชีวิต
    <SCRIPT type=text/javascript>google_ad_channel = '9989085094'; //slot numbergoogle_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads//google_image_size = '300X250';//google_skip = '3';var ads_ID = 'adsense_inside'; // set ID for main Element divvar displayBorderTop = false; // default = false;//var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type imagevar position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail</SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://www.komchadluek.net/AdsenseJS.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript1.1 src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/ads?client=ca-pub-1044823792492543&output=js&lmt=1255565408&num_ads=3&channel=9989085094&ad_type=text&adtest=off&ea=0&feedback_link=on&flash=9.0.45.0&url=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fdetail%2F20091015%2F32626%2F%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2.html&ref=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.com%2F&dt=1255565408046&correlator=1255565408046&dblk=1&frm=0&ga_vid=758172538.1254353733&ga_sid=1255564681&ga_hid=1622477225&ga_fc=1&u_tz=420&u_his=1&u_java=1&u_h=800&u_w=1280&u_ah=770&u_aw=1280&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=1251&bih=561&fu=0&ifi=1&dtd=63"></SCRIPT> เพียงย่างก้าวเข้าสู่วังสระปทุม พระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2459 ตราบจนเสด็จสวรรคต ความร่มรื่นของพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ก็ส่งผลให้จิตใจเบิกบาน สงบและร่มเย็น เริ่มแรกกับการทำความรู้จักในพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าผ่านนิทรรศการที่จัดแสดงไว้อย่างสวยงามและบอกเล่ารายละเอียดในทุกแง่มุมที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจทั้งด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านพระศาสนา ด้านประชาสงเคราะห์ และด้านการต่างประเทศ


    และยิ่งสร้างความตื่นเต้นมากขึ้น เมื่อได้สัมผัสและร่วมรับรู้ในพระจริยวัตรส่วนพระองค์ ณ พระตำหนักใหญ่ ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ประทับที่เล่ากันว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงคิดผังพระตำหนักด้วยพระองค์เอง ทรงใช้ไม้ขีดไฟบ้าง หางพลูบ้าง ทำเป็นผัง แล้วจึงทรงให้สถาปนิกออกแบบถวายตามพระราชประสงค์ คาดว่าพระตำหนักใหญ่น่าจะสร้างแล้วเสร็จในช่วง พ.ศ. 2457-2458
    การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม เพียงเดินขึ้นพระตำหนักกับห้องแรกที่เจ้าหน้าที่เปิดไว้ ก็สร้างความตื่นเต้นกับจดหมายส่วนพระองค์ ที่ทั้งพระธิดาและพระโอรสทรงเขียนถึงพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในโอกาสที่ทรงประทับเรียนพระอักษรอยู่ต่างประเทศ หรือทรงใช้ชีวิตในต่างแดน จดหมายแต่ละฉบับเป็นลายพระหัตถ์ส่วนพระองค์ที่ทรงพระอักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ทั้งเรื่องส่วนพระองค์ เรื่องการทรงงาน แม้กระทั่งเรื่องความรัก โดยเฉพาะจดหมายของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ทรงพระอักษรเล่าเรื่องราวของความรักที่ทรงมีต่อ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอย่างละเอียด
    รวมทั้งยังเปิดห้องต่างๆ ซึ่งต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ อย่างห้องพิธีและห้องรับแขก ที่เป็นห้องที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ กับ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสังข์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2463
    พร้อมกันนี้ยังจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ในช่วงที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเสกสมรสแล้วและมีพระราชธิดาหนึ่งพระองค์ ทรงพาครอบครัวเสด็จฯ กลับจากประเทศอังกฤษ และมาประทับอยู่ที่วังสระปทุมอีกวาระหนึ่ง การจัดสิ่งของเครื่องใช้ในห้องแสดงคือในห้องเทาและห้องทรงพระอักษร
    นอกจากนี้ยังจัดแสดงให้เห็นภาพในห้องทรงพระสำราญ ห้องทรงนมัสการ และห้องพระบรรทม เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงมีพระราชโอรสเพิ่มขึ้นอีก 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และเสด็จกลับจากทรงศึกษาวิชาการแพทย์จากสหรัฐอเมริกาพร้อมครอบครัว
    ที่สำคัญยังมีบริเวณ "เฉลียงพระตำหนักใหญ่ชั้นบน" ที่ในช่วงปลายพระชนม์ชีพ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดที่จะประทับตรงเฉลียงชั้นบนหน้าห้องพระบรรทม ซึ่งปัจจุบันจัดเป็นห้องทรงนมัสการเมื่อทรงตื่นบรรทมแล้วจะเสด็จออกมาประทับตลอดทั้งวัน เสวยพระกระยาหาร ณ ที่นี่ด้วย พร้อมกันนี้ บริเวณนี้ยังมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี ซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ คือ ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
    และในปีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปิดพิพิธภัณฑ์ฯ ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม โดยกำหนดเปิดให้เข้าชมในวันที่ 19 ตุลาคม-19 ธันวาคม ทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.queensavang.org หรือติดต่อนัดหมายและขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2251-3999 ต่อ 201-202 พร้อมกันนี้ยังมีร้านจำหน่ายอาหารว่างและของที่ระลึก และในวันเสาร์ยังมีกิจกรรมฝึกอบรมการทำอาหารและงานฝีมือ ทัศนศึกษาและอื่นๆ ด้วย
     
  2. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ

    เวลาเป็นสิ่งเดียวในโลกที่ทุกคนได้รับเสมอกัน


    ไม่มีใครได้เปรียบ หรือเสียเปรียบกันเลย

    แม้แต่คนเดียว แต่ใครเล่าจะใช้เวลาในแต่ละวินาที

    อย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน...นี่แหล่ะเป็นเรื่องน่าคิด
    (หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน)<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...