ตามรอยพระพุทธบาท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ยอด, 28 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ยอด

    ยอด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +367
    รอยพระพุทธบาท คือ หนทางของผู้รู้ที่เดินมาก่อน เป็นแนวทางให้เราเดินตามรอยท่านไปสู่จุดหมายปลายทางของพระนิพพาน รอยพระพุทธบาทเป็นทั้งปริศนาธรรมและความเป็นจริง

    รอยแปลว่า หนทางที่ดีงาม ที่พระองค์ท่านทรงจารึกประทับไว้บยอดเขาสูงไว้เพื่อการเตือนสติและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นเครื่องมือธรรมมะบูชาที่เคารพสักการะของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามท่านเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ เมื่อเรากราบไหว้สักการะแล้วต้องปฏิบัติด้วยตนเองด้วยธรรมมะบูชา เพื่อสู่หนทางการปฏิบัติบูชาต่อไปเพื่อเรียนรู้ตามความเป็นจริง
    ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านเคยกล่าวไว้ว่าช่วงสมัยพุทธการแรกเริ่มเดิมที ยังไม่มีการหล่อหรือสร้างพระพุทธรูป ก็มีเพียงรอยพระพุทธบาท รอยฝ่าพระหัตถ์ ที่ทรงประทับไว้ตามภูเขา ภูผาต่างๆ เพื่อให้มนุษย์และเทวดา ได้สักการะบูชา เป็นพุทธานุสสติ และเตือนให้พวกเราเหล่ามนุษย์ทั้งหลาย ปฏิบัติบำเพ็ญไปตามรอยพระบาทของพระองค์ที่ทรงก้าวดำเนินนำไปสู่พระนิพพานก่อนแล้ว

    เรื่องพระพุทธบาทตำนานพระพุทธบาทกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ ๕ แห่ง คือ

    ๑. หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมทานที
    ๒. โยนกบุรี
    ๓. เขาสุมนกูฏ
    ๔. เขาสุวรรณมาลิกและ
    ๕. เขาสุวรรณบรรพต

    รอยพระพุทธบาทที่เขาสุวรรณบรรพตนั้น พุทธศาสนิกชนไทยเชื่อว่าคือ รอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งค้นพบเมื่อพุทธศักราช ๒๑๖๗ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นพุทธศาสนิกชนไทยที่ศรัทธาจะนมัสการพระพุทธบาทต้องเดินทางไปยังเขาสุวรรณมาลิกในลังกาทวีป

    "รอยพระพุทธบาท" ที่ประทับไว้ในแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรี ลักษณะของรอยพระพุทธบาทคล้ายเท้าคน กว้าง ๒๑ นิ้ว ยาว ๕ ฟุต ลึก ๑๑ นิ้ว ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรอยพระบาทตามลักษณะ ๑๐๘ ประการ จึงโปรดให้สร้างมณฑปครอบไว้อยพระพุทธบาทแห่งนี้เชื่อกันว่าเป็น รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายและขวา

    ตามรอยพระพุทธบาทสระบุรี

    สามารถไหว้รอยพระพุทธบาทสระบุรี “ไหว้รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย”ณ วัดพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท และ“ไหว้รอยพระพุทธฉายเบื้องขวา” ณ วัดพระพุทธฉาย อำเภอเมืองณ วัดพระพุทธฉาย ต.หนองปลาไหล อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี

    สันนิษฐานว่า ค้นพบครั้งแรก รัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๑๖๓ – ๒๑๗๑ พ.ศ. ๒๕๓๗ พบรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา วัดพระพุทธฉาย ตรงกลางมีรอยธรรมจักรประทับอยู่บนพื้นหิน ยอดเขาพระพุทธฉาย

    รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ณ วัดพระพุทธฉาย ที่ถูกปกปิดมานาน ขณะนี้ถูกเปิดเผยแล้ว

    ประวัติการค้นพบครั้งแรก

    รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา วัดพระพุทธฉาย ประทับรอยอยู่ในเนื้อหินยอดเขาลม(เขาพระพุทธฉาย) สันนิษฐานว่า มีการค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นมีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งออกไปถึงลังกาทวีปเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่เขาสุมณกูฏถูกพระสงฆ์ลังกาถามว่า รอยพระพุทธบาทที่มีอยู่ทั้งหมดนั้น เขาสุวรรณบรรพตก็อยู่ในประเทศไทยคนไทยไม่ไปบูชารอยพระพุทธบาทที่นั่นดอกหรือจึงต้องออกมาบูชาถึงลังกาทวีป พระภิกษุสงฆ์จำนวนนั้นกลับมานำความขึ้นบังคมทูลพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดให้มีตราสั่งไปยังหัวเมืองเที่ยวตรวจค้นดูตามภูเขาว่าจะมีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ ที่แห่งใด

    เมื่อค้นพบจึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดียสถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และโปรดให้สร้างสังฆารามแล้วทรงพระราชอุทิศที่ส่วนหนึ่งโดยรอบพระพุทธบาทและพระพุทธฉายถวายเป็นพุทธบูชาต่อมาถึงรัชสมัยพระเสือ ราว พ.ศ.๒๒๔๖-๒๒๕๑ ปรากฏว่า ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปโปรดให้เปลี่ยนแปลงเป็นพระมณฑป ๕ ยอด โดยไม่มีผู้ใดซ่อมแซมอีกเลย รวมอายุของพระมณฑปนับจากสมัย๒๒๔๖-๒๒๕๑ ปรากฏว่า ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปโปรดให้เปลี่ยนแปลงเป็นพระมณฑป ๕ ยอด โดยไม่มีผู้ใดซ่อมแซมอีกเลย รวมอายุของพระมณฑปนับจากสมัยพระเจ้าเสือได้ประมาณเกือบ ๔๐๐ ปี
    เหตุที่พระมณฑปซึ่งมีอายุเกือบ ๔๐๐ ปี คงสภาพอยู่ได้ก็คงด้วยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์แห่งรอยพระพุทธบาทเป็นแน่แท้ ไม่เช่นนั้นแล้วคงตั้งอยู่ไม่ได้แน่เพราะเหตุมีพายุฝนหลายครั้งหลายหนด้วยกันจนสิ่งปลูกสร้างขึ้นภายหลังยังถูกพายุฝนพัดพังพินาศจนหมดสิ้นคงเหลืออยู่แต่พระมณฑปหลังนี้เท่านั้นเป็นที่อัศจรรย์

    ประวัติการค้นพบครั้งหลัง

    ปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ โดยกรมศิลปากรได้ตั้งงบประมาณเพื่อบูรณะซ่อมแซมพระมณฑป ๕ ยอดซึ่งชำรุดทรุดโทรมไปมากตามกาลเวลา และได้เข้าดำเนินการซ่อมแซม เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๗ การซ่อมแซมดำเนินการมาถึงเดือน สิงหาคม ช่างได้เคลื่อนย้ายรอยพระพุทธบาทจำลองออกไป เพื่อจะทำการซ่อมแซมนั้น ขณะที่เคลื่อนย้ายรอยพระพุทธบาทจำลองออกไป และทำการทุบพื้นซีเมนต์เก่า ก็พบว่าภายใต้พื้นปูนซีเมนต์เก่านั้น มีทรายหยาบๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อคุ้ยทรายออกจึงปรากฎเห็น "รอยพระพุทธบาท" เด่นชัด ลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ตรงกลางมีรอยธรรมจักร ถูกต้องตามลักษณะทุกประการ ฯ

    ถามว่าเขาขึ้นไปบูชาพระพุทธบาทเนื่อยไหม บอกว่าเหนื่อยมากต้องใช้ทั้งแรงกาย และแรงใจเพื่อขึ้นไปให้ถึงยอดเขาพระพุทธฉาย เมื่อตั้งใจแล้วจงลงมือเดินขั้นบันไดหน้าอาจจะเป็นขั้นสุดท้ายถ้าเรายังไม่หยุดเดิน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลานศิษย์

    หลานศิษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +560

แชร์หน้านี้

Loading...