ตามรอยพระแม่จามเทวี วัดจามเทวี-วัดสี่มุมเมือง-เวียงกุมกาม-พระธาตุดอยน้อย และศรีจอมทอง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 11 มิถุนายน 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อตั้งจิตขอน้อมอุทิศส่วนกุศลอันพึงเกิด พึงมี แด่บูรพกษัตราธิราชทุกๆพระองค์ อันมีพระแม่จามเทวี องค์อัครปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชย(ชัย)เป็นที่สุด หากผู้เยี่ยมชมเกิดมีศรัทธาจริตขึ้นได้มีโอกาสเดินทางไปกราบนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งสถานที่สำคัญต่างๆในนี้..

    ตามรอยพระแม่จามเทวีกันกับวัดประจำพระองค์คือ วัด(พระแม่)จามเทวี และวัดสี่มุมเมือง

    บทความที่ผมนำมาประกอบภาพนี้มาจากแหล่งต่างๆที่สามารถอ้างอิงได้ ขอโมทนาบุญกับเจ้าของบทความ และเป็นเขียนแทรกในรายละเอียดลงไปบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการน้อมถวายกุศลแด่องค์อัครปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชยพระองค์นี้ ภาพทุกภาพที่ผมถ่ายภาพไว้นี้ขอมอบให้เป็นธรรมทาน และผมอนุญาตให้ทุกท่านสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาครับ..

    มาเริ่มกันที่อนุสาวรีย์พระแม่จามเทวีกันก่อนครับ

    " กษัตริย์ที่โลกลืม " พระเกียรติคุณดูหน้าพิสวงศ์ ในอดีต

    ของฝากจากท่านแม่ศรีฯ

    ด้วยปกครองอย่างเมตตาธรรม แก่ประชาราชแต่อดีต
    เลิศด้วยปัญญาล้ำเกินชาย
    นิ่มนวลงดงามดุจพระนางวิสาขา
    สง่าด้วยพระบารมีเฉิดฉาย
    อายุยืนเกินใคร ( ๑๒๐ ปี )
    บำรุงพระศาสนามากมาย ( สร้างวัดทั้งสิ้น ๑,๕๐๐ วัด )
    มุ่งหมายเนขขัมมะในบันปลาย ( บั้นปลายชีวิตออกบวชพราหมณ์ )
    เพื่อเป้าหมายบำเพ็ญ " โพธิญาน "
    แต่บัดนี้ท่านลาเข้าพระนิพพานแล้ว
    ยังห่วงลูกหลานหนักหนา
    ทรงประทาน " พระธาตุแก้ว " ฝากมา
    เพื่อบอกว่าลูกทั้งหลายจงได้ตาม
    มาที่พระนิพพานเมืองแก้ว
    จะคลาดแคล้วจากภัยวัฏฏะสงสาร
    จงปฏิบัติธรรมเสียแต่เดี๋ยวนี้ยังทันการ
    พระนิพพานนั้นอยู่แค่เอื้อมมือ

    สื่อสารจาก " ท่านแม่ศรีฯ "


    อำเภอเมืองลำพูน<O:p</O:p
    อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตำบลในเมือง บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระแม่จามเทวี องค์อัครปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถ และกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕



    ค่ำคืนของวันเปิดอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ได้เกิดมีลำแสงคล้ายปิ่นปักผมพุ่งจากฟากฟ้า

    <!-- / message --><!-- attachments -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2008
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดจามเทวี
    วัดจามเทวี เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูนตั้งอยู่ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา

    โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัดกู่กุด ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง ประกอบกับตำนานและนิยาย ซึ่งกล่าวกันว่า พระราชโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ แต่จากการที่ได้พบศิลาจารึกวัดกู่กุด บริเวณเชิงพระธาตุเจดีย์กู่กุด (ศิลาจารึกลำพูนหลักที่สอง ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน) ศิลาจารึกหลักนี้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์รัตนเจดีย์กู่กุด ที่ได้หักพังลงเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฉะนั้นลักษณะทางศิลปกรรมของพระเจดีย์ที่วัดกู่กุดนี้ น่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าสรรพสิทธิ์ คือ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ และน่าจะไม่เก่าเกินรัชกาลพระเจ้าสววาธิสิทธิ์ หลังจากนั้นวัดนี้ก็คงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้อาราธนาครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มาช่วยก่อสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ตลอดจนบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด แล้วสถาปนาวัดจามเทวีขึ้นใหม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ มีชื่อว่า วัดจามเทวี จนกระทั่งทุกวันนี้

    โบราณสถานที่สำคัญในวัดจามเทวี
    ๑. พระเจดีย์กู่กุด ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ฐานล่างทำเป็นหน้ากระดานสามชั้น องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นจะมีซุ้มจระนำ ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธานอภัย เป็นพระพุทธรูปปั้นหุ้มศิลาแลงแบบนูนสูง รวมทั้งหมด ๖๐ องค์ ซุ้มจระนำทำเป็นซุ้มโค้งแบบสองหยัก ซึ่งเป็นลักษณะซุ้มสมัยทราวดีตอนปลาย กระหนกปั้นเป็นกระหนกผักกูด ตัวเหงาที่ปลายซุ้มเป็นแบบทราวดี บริเวณมุมทั้งสี่ของแต่ละชั้นยกเว้นชั้นบัวกลุ่ม และปล้องไฉน ส่วนยอดบนสุดได้หักหายไปจึงมีการเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า เจดีย์กู่กุด พระเจดีย์องค์นี้ ถือเป็นแบบถาปัตยกรรม ที่มีความสำคัญในศิลปกรรมหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ มีรูปแบบคล้ายกับสัตตมหาปราสาทที่เมืองโบลนนาลุวะ ประเทศศรีลังกา และเป็นแบบที่แพร่หลาย เคยพบร่องรอยเจดีย์แบบนี้ที่ เวียงท่ากาน เวียงมโน และนิยมสร้างกันในสมัยต่อมา ในแคว้นล้านนาและสุโขทัย เช่น วัดเจดีย์เหลี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ วัดพญาวัด จังหวัดน่าน วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย

    ๒. เจดีย์แปดเหลี่ยม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีแผนผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนคือ ส่วนฐานประกอบด้วยฐานแปดเหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลารองรับองค์เรือนธาตุ โดยส่วนล่างของเรือนธาตุทำเป็นฐานลดท้องไม้ลงเล็กน้อยจากระดับผนังของเรือนธาตุ ส่วนเรือนธาตุมีผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมทรงสูง ประดับซุ้มจระนำภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ซุ้มมีลักษณะเป็นวงโค้งสามวง ภายนอกประกอบด้วยทรงฟักเพกา หรือเรียกว่า ซุ้มเคล็กส่วนสันมุมทั้งแปดจะก่อเรียงอิฐยื่นออกมาจากผนังได้ระดับเดียวกับกรอบซุ้ม เป็นการแบ่งขอบเขตของแต่ละด้าน ส่วนยอดถัดจากตัวเรือนธาตุขึ้นไป เป็นบัวถลาลดท้องไม้สองชั้น ขนาดเล็กลดหลั่นกันขึ้นไปเล็กน้อย รองรับฐานแปดเหลี่ยมเตี้ยๆ มีลักษณะลดท้องไม้เช่นกันแต่ที่บริเวณท้องไม้แต่ละด้านจะมีซุ้มทรงสามเหลี่ยม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ถัดขึ้นไปเป็นชั้นลวดบัวรองรับองค์ระฆังทรงกลม ส่วนยอดบนสุดหักหายไปแล้ว เทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์แปดเหลี่ยมนี้ ก่อด้วยอิฐทั้งหลัง ภายนอกฉาบปูนและปั้นปูนประดับ มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง ส่วนโครงสร้างมีการซ่อมเสริมจนเต็มรูปเจดีย์ทั้งสององค์ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๖๗ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๒

    ********************************************************
    ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
    http://www.rd.go.th/lamphun/58.0.html

    อ่านเนื้อความแล้วอาจจะไม่เห็นภาพ ก็ชมภาพประกอบเอานะครับ ไม่ค่อยจะมีผู้นำมาให้ชมเสมือนกับได้เดินทางไปเองหรอกครับ ก็ถือว่าเป็นธรรมทานเพื่อเผยแพร่ให้ได้เห็น ให้ได้รู้จัก และเป็นข้อมูลให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อไปครับ

    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ด้านหลังของพระเจดีย์กู่กุดนี้มีสถูปประดิษฐานพระรูปของครูบาศรีวิชัยไว้ ในวันที่เดินทางไปถึงเป็นช่วงเวลาบ่าย ๓ โมงเย็น เมฆฝนตั้งเค้าดูครึ้มฟ้าครึ้มฝน แต่ด้วยอะไรก็ไม่ทราบที่พัดพาให้เมฆฝนกลุ่มใหญ่นี้ไปทิศทางอื่น (ดูภาพประกอบ บรรยาดูสวยงามเข้มไปอีกแบบ) และสักครู่แดดก็แจ้งเลยทีเดียว...
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นใหม่ล้อพิมพ์โบราณของวัดจามเทวี ราคายังขนาดนี้ นับประสาอะไรกับพระกรุ ๕๐๐-๗๐๐ ปีที่หาชมได้ยาก และมีข้อมูลในการค้นหาที่น้อยมาก ของจริงก็ยังไม่เคยเห็น แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าพระลำพูนแท้ๆที่มีอายุ ๕๐๐-๑,๓๐๐ ปีเป็นอย่างไร หากไม่ศึกษาถึงประวัติศาสตร์ของหริภุญไชย และศึกษาถึงชั้นดินต่างๆ

    นำภาพพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นใหม่มาให้ชมกัน สังเกตว่าจะประทับตราไว้ที่ด้านหลังขององค์พระ เพื่อสืบศาสนา และอนุรักษ์ไว้ซึ่งโบราณวัตถุว่ามีหน้าตาอย่างไร
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เกี่ยวกับสุวรรณจังโกฏ เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิธาตุของพระแม่จามเทวีนี้มีรายละเอียดที่ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องราวจากคุณจักรพงษ์ คำบุญเรือง ดังนี้

    <TABLE cellPadding=2 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>"สุวรรณจังโกฏ" เจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิพระนางจามเทวี


    วัดจามเทวีได้ร้างไปจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2469 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จประพาสภาคเหนือและทรงสำรวจโบราณสถานวัดกู่กุดแล้วทรงปรารภว่า พระนางจามเทวีทรงสร้างวัดนี้ขึ้นจึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ว่า "วัดจามเทวี"

    <TABLE cellPadding=2 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    วัดจามเทวี แต่เดิมเรียกกันว่า วัดสังฆราม ต่อมาภายหลังเรียกว่า วัดกู่กุด เป็นวัดโบราณเก่าแก่และมีความสำคัญในประวัติศาสตร์มากที่สุดวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูน ใครเป็นผู้สร้างวัดจามเทวีและสร้างมาแต่ครั้งใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารซึ่งปรากฏในภายหลังประกอบตำนานและนิยายปรัมปราบ้างเท่านั้น

    เนื่องจากโบราณสถานสำคัญในวัดจามเทวีที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างสับสนเพียง 2 แห่ง คือกู่จามเทวี หรือกู่กุด หรือสุวรรณจังโกฏเจดีย์ กับรัตนเจดีย์ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า เจดีย์แปดเหลี่ยม ซึ่งมีเอกสารและตำนานต่างๆ กล่าวถึงโบราณสถานทั้งสองแห่งขัดแย้งกันมาก บางแห่งกล่าวว่า พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งเมืองหริภุญชัย โปรดให้สร้างพระบรมธาตุสุวรรณจังโกฏ พร้อมทั้งได้สถาปนาวัดจามเทวี ส่วนเอกสารบางแห่งกล่าวว่า พระราชโอรสของพระนางจามเทวี คือ เจ้ามหันตยศและเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดจามเทวีขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงพระศพของพระนางจามเทวีและภายหลังจากถวายพระเพลิงพระศพของพระนางจามเทวีแล้ว จึงโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า "สุวรรณจังโกฏ"

    ในตำนานจามเทวีฉบับแปลจากภาษาไทยยวน กล่าวว่า "พระยามหันตยศก็เลิกทราก ส่งสะการแม่แห่งตนเสียยังป่าไม้ยาง แล้วเอากระดูกช้อนแว่นหวีไปรวมกันก่อเป็นเจดีย์ไว้ชื่อว่า สุวรรณจังโกฏ หนใต้เวียงหริภุญชัยวันนั้นแล..." ส่วนในตำนานมูลศาสนากล่าวว่า ครั้นถวายพระเพลิงเสร็จก็แห่พระอัฐิเลียบมาหนวันออกเวียง แล้วก่อพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ของพระนางจามเทวีไว้รองรับพระอัฐิของพระนางจามเทวี ให้ชื่อว่า สุวรรณจังโกฏเจดีย์ นอกจากนั้นในตำนานจามเทวีหริภุญชัยเชียงใหม่ก็กล่าวพ้องต้องกันกับตำนานมูลศาสนา แต่บอกว่า สร้างเจดีย์ไว้หนใต้เวียงหริภุญชัย ภายหลังช้างพระที่นั่งล้มก็เอางาและกระดูกไปบรรจุไว้ใต้อัฐินั้น

    <TABLE cellPadding=2 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เจดีย์องค์นี้ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงเรียกว่า "เจดีย์จามเทวี" หรือ "เจดีย์กู่กุด"ต่อมาวัดจามเทวีได้ร้างไป จนกระทั่งปี พ.ศ.2469 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จประพาสภาคเหนือและทรงสำรวจโบราณสถานวัดกู่กุดแล้วทรงปรารภว่า พระนางจามเทวีทรงสร้างวัดนี้ขึ้นจึงโปรดให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ว่า "วัดจามเทวี"

    ในสมัยที่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองลำพูน ได้รับแจ้งจากสำนักพระราชวังว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จะเสด็จประพาสจังหวัดเชียงใหม่ทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จประพาสจังหวัดลำพูนเพื่อทอดพระเนตรโบราณสถานด้วย เจ้าจักรคำขจรศักดิ์จึงสั่งให้ช่วยกันแผ้วถางบริเวณวัดกู่กุดเป็นเวลาหลายวันจนโล่งเตียนมองเห็นซากโบราณสถานได้ชัดเจนขึ้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จทอดพระเนตรแล้ววัดจามเทวีก็ยังเป็นวัดร้างอยู่ตามเดิม เพราะไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา จนกระทั่ง พ.ศ.2479 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์จึงได้อาราธนาครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนามาช่วยก่อสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ตลอดจนบูรณะปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานสำคัญ แล้วสถาปนาวัดจามเทวีขึ้นมาใหม่ มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา สำเร็จเรียบร้อยโดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2480 และประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2480 มีชื่อเรียกว่า "วัดจามเทวี" สืบมาจนถึงปัจจุบัน

    ภายในวัดจามเทวีมีโบราณสถานที่สำคัญคือ สุวรรณจังโกฏเจดีย์ หรือ กู่จามเทวี หรือกู่กุด ลักษณะเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลงถือปูนประดับลวดลายปูนปั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนปางประทานอภัย ชั้นละ 3 องค์ ทั้ง 4 ด้านด้านละ 15 องค์ รวมทั้งสิ้น 60 องค์ และที่มุมทั้งสี่ของเจดีย์แต่ละชั้นมีเจดีย์เหลี่ยมขนาดเล็กประดับประจำทุกมุม ใหญ่เล็กลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในวัด ใกล้ๆ กันมีเจดีย์เล็กชื่อว่า "รัตนเจดีย์" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "เจดีย์แปดเหลี่ยม" เป็นเจดีย์ขนาดย่อมรูปทรงแปดเหลี่ยมก่ออิฐไม่ถือปูนประดับลวดลายปูนปั้น มีพระพุทธรูปประทับยืนปางประทานอภัย ประดิษฐานตามซุ้มเหลี่ยมละองค์ รวม 8 องค์เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นภายหลังเจดีย์สุวรรณจังโกฏ

    วัดจามเทวี วัดสำคัญเก่าแก่ของเมืองลำพูน มีประวัติความเป็นมาที่สามารถสืบค้นถึงการสร้างเมืองหริภุญชัยได้ ด้วยความที่วัดนี้มีโบราณสถานที่สำคัญจึงทำให้มีผู้คนจากที่ต่างๆ เดินทางมาสักการะเจดีย์กู่กุดและรัตนเจดีย์เป็นจำนวนมาก จนทำให้วัดจามเทวีกลายเป็นวัดสำคัญไม่แพ้วัดอื่นๆ ของจังหวัดลำพูน


    จักรพงษ์ คำบุญเรือง
    jakpong@chiangmainews.co.th.
    29/6/50
    http://www.chiangmainews.co.th/viewn...id=14594&lyo=1
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระนางจามเทวี

    พระนางจามเทวี เชื่อกันว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช แห่งกรุงละโว้(ลพบุรี) ปีประสูติ ระยะเวลาครองราชย์ และปีสวรรคตของพระนางจามเทวี มีผู้บันทึกหรือวิเคราะห์ไว้ต่างกัน เช่น

    ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๗ ปี

    นายมานิต วัลลิโภดม สอบค้นว่าประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๑๖๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๒๕๘ พระชันษาได้ ๙๒ ปี

    ตำนานฉบับที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ แปลและเรียบเรียง คือ ประสูติ พ.ศ. ๑๑๗๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๒ สละราชสมบัติพ.ศ. ๑๒๓๑ และสวรรคต พ.ศ. ๑๒๗๔ เป็นต้น

    พระนางจามเทวีเป็นผู้มีพระรูปโฉมงดงาม เป็นเบญจกัลยานี มีศีล และมีความสามารถ ทรงอยู่ในฐานะหม้าย เนื่องจากพระสวามี ซึ่งอยู่ในพงศาวดารเมืองหริภุญไชย ว่าเป็นเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ตรงกับตำนานมูลศาสนาว่า คือเมืองรา หรือ เมืองรามได้มีศรัทธาบรรพชาเป็นเพศบรรพชิต พระเจ้าจักรพรรดิราชพระราชบิดา ทรงมีราชานุญาตให้พระนางจามเทวีซึ่งมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางไปครองเมืองหริภุญไชย ตามคำเชิญของสุกกทันตฤาษี และวาสุเทพฤาษี ผู้ส่งนายคะวะยะเป็นทูตมาเชิญพระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ สมณะชีพราหมณ์ พ่อค้าวาณิช ช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ ประมาณกว่า ๗,๐๐๐ คน เดินทางโดยทางน้ำปิง (พิงค์) อย่างช้าๆ ตั้งเมืองเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน จึงเดินทางมาถึงเมืองหริภุญไชย เมื่อเสด็จมาถึงได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดชื่อ มหันตยศ และ อนันตยศ ต่อมาทรงได้เศวตไอยราเป็น คู่บารมีสีกายเผือกดั่งเงินยวงเรียกว่า ผู้ก่ำงาเขียว (ช้างเผือกงาเนียมหรือช้างเผือกงาดำ) จากเชิงดอยอ่างสลง (อ่างสรง) ในเขาลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพระโอรสมีพระชนม์ ๗ พรรษา พระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติอภิเษกให้มหันตยศ ครองเมืองหริภุญไชย ส่วนอนันตยศ พระนางจามเทวีได้ให้นำผู้คนพลเมืองไปตั้งเมืองเขลางค์นครหรือลำปางในปัจจุบัน นับเป็นการขยายอาณาจักร และพุทธจักร ให้กว้างไกลออกไป ส่วนพระนางได้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานเบญจศีล จนถึงวันสิ้นพระชนม์ ดังตำนานมูลศาสนาได้กล่าวว่าพระนางทรงสมาทานเบญจศีลอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาดในอุดมการณ์ทางด้านศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติธรรมให้เสนาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนถือปฏิบัติเป็นอย่างดี ที่สำคัญยิ่งทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ทรงสร้างจตุรพุทธปราการเป็นพระอารามประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยภิบัติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสี่มุมเมือง ดังนี้

    อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคง เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ

    อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก

    มหาสฐานราม(ผมแก้ไขจาก"มหาสัตตาราม"ตามหลักฐานอ้างอิงของทางวัด) ปัจจุบันคือ วัดสังฆาราม (ประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้

    มหาวนาราม ปัจจุบันคือ วัดมหาวัน เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันตก

    พระนางจามเทวีได้ทรงใช้กุศโลบายที่หลากหลายรูปแบบในการต่อสู้และชักจูงพวกละว้าให้หันมานับถือศาสนาพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับหัวหน้าเผ่าละว้า ขุนหลวงวิลังคะ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ขับไล่ข้าศึกละว้าหนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่าเขา นอกจากนี้ทรงใช้กุศโลบายในการผสมกลมกลืนชาติพันธุ์กับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยการให้พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกับธิดาสองคนของพญามิลักขะและได้สู่ขอธิดาสองคนของนายคะวะยะ ให้กับพระราชโอรสด้วย ถือได้ว่าทำให้ชนชาวละโว้และชนพื้นเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเผยแพร่อุดมการณ์ทางศาสนาเข้าสู่ชนพื่นเมืองได้อย่างรวดเร็ว และได้ใช้กุศโลบายทางสันติธรรมและเมตตาธรรมเข้าต่อสู้จนชนะที่สุดโดยมีบางส่วนได้เข้ามา สวามิภักดิ์หันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ สังคมเกิดความสงบสุขและพุทธศาสนาเจริญอย่างมั่นคงในอาณาจักรหริภุญไชยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    **********************************************************
    ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคงฤาษี เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ


    วัดพระคงฤาษี
    เดิมชื่อ "วัดอาพัทธาราม" พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระภิกษุที่มาจากลังกา ใช้เป็นที่พำนักและบำเพ็ญสมณะธรรมเป็นที่บรรจุ "พระคง" ตามตำนานกล่าวว่า วาสุเทพฤาษี ได้ใช้ไม้เท้ากรีดพื้นเพื่อเขียนแผนผังเมืองลำพูนตรงพระเจีดย์นี้ พระนางจามเทวีจึงทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม แล้วให้นายช่างแกะสลักเป็นรูปพระฤาษีทั้ง 4 ตนไว้ แต่ละตนถือไม้เท้าในมือ รูปปั้นแกะสลักฤาษีสร้างด้วยศิลาแดง เมื่อทำเสร็จแล้วได้นำไปบรรจุไว้ภายในซุ้มประตูทั้ง 4 ด้านของพระเจดีย์ โดยทางทิศเหนือเป็นรูปวาสุเทพฤาษี ทิศตะวันออกเป็นรูปพระพรหมฤาษี ทิศตะวันตกเป็นรูปของพระสมณนารคฤาษี ทิศใต้เป็นรูปของสุกกทันตฤาษี ซึ่งชาวลำพูนจะจัดประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระเจดีย์องค์นี้ภายหลังวันสงกรานต์

    หากเพื่อนๆมีโอกาสได้ไปที่วัดพระคงฤาษี จะสามารถรับทราบได้ถึงบรรยากาศที่แวดล้อมไปด้วยพระฤาษีที่ดูเข้มขลัง อีกทั้งพระคงขนาดใหญ่ที่ต้องวางให้สักการะ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    </FIELDSET>
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มูลเหตุหนึ่งของการตามรอยพระแม่จามเทวีอันหนึ่งที่ฝังใจผมมานานแล้วคือ ชื่อวัดทั้ง ๔ มีหลายๆแห่งที่เขียนถ่ายทอดกันมาไม่เหมือนกันเลย ทั้งๆที่หมายความถึงที่ที่เดียวกัน ผมจึงรู้สึกว่า ต้องตามไปดูซักครั้งเพื่อให้ทราบแน่ชัดว่าข้อเท็จจริงคืออะไรกันแน่ จะได้ทราบให้มันถูกต้อง ไม่ต้องไปตามอย่างใครๆ เอาให้ชัด เอาให้ถูกต้อง..

    พระคงเป็นที่ขึ้นชื่อของวัดพระคงฤาษี ผมเห็นแผ่นป้ายนำเสนอให้บูชาพระคง การให้บูชาพระคงที่จัดสร้างขึ้นใหม่นี้ เป็นการนำมวลสารเนื้อดินเก่าๆมาตำผสมกัน แล้วสร้างออกมาในลักษณะของการย้อนยุค ในราคาเบาๆ พร้อมประทับตราด้านหลังให้ทราบว่าเป็นการจัดสร้างใหม่นั่นเอง และออกที่วัดพระคงฤาษี...

    พระคงดำเป็นพระที่หาค่อนข้างยากของเมืองลำพูน พระคงดำไม่ใช่เกิดจากความบังเอิญที่เกิดขึ้นอย่างฟลุ๊คๆในเตาเผาโดยที่พระถูกเผาจนสุกที่สุดมีความแข็งแกร่งที่สุด (ถ้าเผาต่ออีกพระจะสลายตัวไม่เกาะกัน)แต่พระคงดำเป็นพระที่ผสมผงใบลานและ ว่านลงไปด้วยอย่างจงใจโดยมุ่งหวังกฤตยาคมทางด้านคงกระพันชาตรีคนรุ่นทวดของเราท่านรู้มานานแล้วจนมีตำนานเล่าขานสืบมาถึงกฤตยาคมแห่งพระคงดำที่แม้กระทั่งกองทัพในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ได้อัญเชิญพระคงดำประดิษฐานบนยอดธงชัยเฉลิมพล
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดดอนแก้ว
    อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก

    วัดนี้สิท้าทายจริงๆ การเดินทางครั้งนี้ผมเองมีความสับสนกับความเป็นมาของวัดดอนแก้วอย่างมากมาย หากไม่ได้พบพี่ท่านหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ช่วยกรุณาอธิบาย และพาไปชมสถานที่จริงของวัด จึงต้องขอขอบพระคุณพี่ท่านนี้อย่างมากที่ช่วยไขข้อสงสัยมานานหลายปี

    ผมเดินทางไปวัดดอนแก้ว แต่ไม่พบวัดนี้เลย พบแต่สถานธรรมวัดดอนแก้ว แต่ดูสภาพแล้วไม่น่าจะเป็นวัดดอนแก้วในอดีต ๑,๓๐๐ ปี จึงเดินทางสอบถามไปเรื่อยๆจนต่างพูดกันว่าคือวัดต้นแก้ว ปัจจุบันวัดดอนแก้วเป็นพื้นที่สนามฟุตบอล แต่ใครจะทราบว่าลึกลงไปในใต้ดินคือวัดดอนแก้วที่เกิดอุทกภัย ดินตะกอนทับถมกันจนถมวัดนี้ลงไปอยู่ใต้ดิน กรมศิลปากรไม่มีงบประมาณในการขุดค้น ชาวบ้านหลายๆท่านเคยกล่าวไว้ว่า หากให้ขุดหาพระเครื่องบนพื้นที่สนามฟุตบอลนี้โดยเก็บค่าสัมปทานการขุด ๑ ตารางเมตร และลุก ๑ เมตร เสีย ๑,๕๐๐ บาทเขาก็เอา นั่นย่อมแสดงว่า ทุกคนต่างทราบว่ามีพระเครื่องใต้ดิน แต่ขุดค้นไม่ได้เพราะเป็นการผิดกฎหมายบ้านเมือง...


    ดังนั้นภาพที่ท่านชมต่อไปนี้ต้องแยกเป็น ๒ ส่วนคือส่วนที่เป็นวัดต้นแก้ว ซึ่งอาณาบริเวณส่วนหนึ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง และอัญเชิญพระพุทธรูปหินทรายโบราณ ๓ องค์จากวัดดอนแก้วมาประดิษฐานที่ด้านหลังข้างแม่น้ำของวัดต้นแก้ว แม่น้ำนี้จะอยู่ตรงกลางระหว่างวัดต้นแก้ว และวัดร้างดอนแก้ว(สนามฟุตบอล)


    พระพุทธรูปหินทรายโบราณ ๓ องค์นี้เป็นของโบราณจริงๆ อายุมากกว่าพันปี เท่าที่สังเกตจากเครื่องทรงเป็นแบบทรงเครื่องเทริด แต่เนื่องด้วยช่างที่ทำการก่อสร้าง และซ่อมแซมวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย ๓ องค์นี้ไม่เข้าใจ จึงนำสีทองมาทาทับพระพุทธรูปหินทรายโบราณนี้ จึงเป็นที่น่าเสียดายจริงๆ แต่มองในมุมกลับการที่เป็นเช่นนี้อาจจะหลุดรอดจากสายตาของกลุ่มคนที่ทำการโจรกรรมพระคู่บ้านคู่เมืองก็เป็นได้...
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ภายในวัดต้นแก้วนี้ มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านคนยอง ยังขาดงบประมาณการดำเนินงาน แต่เท่าที่ผมเห็นคือ เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การสืบชะตา การสร้างพระลำพูนดินเผาย้อนยุค(พระใหม่ทำให้เก่า เท่าที่สังเกตฝีมือดีมากพิมพ์ทรงคมชัด) และประทับตราด้านหลัง และได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเรียบร้อยแล้ว ผมยังได้รับแจกพระรอดองค์ใหญ่ และพระคง พระรอดองค์เล็กมาอย่างละองค์ ถือเป็นการนำมาเปรียบเทียบฝีมือ และมวลสาร

    ประวัติความเป็นมาของวัดต้นแก้ว และชุมชนมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 border=0><TBODY>วัดต้นแก้ว สันนิษฐานว่าย้ายมาจากวัดดอนแก้ว ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๒๕ เป็นวัดที่สร้างในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครลำพูน เริ่มสร้างเมืองลำพูน เหตุที่ย้ายมาเนื่องจากวัดดอนแก้วเป็นวัดใหญ่ที่ขาดการดูแลรักษาจึงผุพังไปตามกาลเวลา จึงได้ย้ายมาสร้างวัดต้นแก้วขึ้นใหม่โดยมีแม่เฟย พร้อมผู้มีศรัทธาช่วยกันก่อสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๐


    พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว หรือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง ประกอบด้วย ๓ อาคาร ได้แก่ กุฏิเจ้าอาวาสเดิม อาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ และเรือนยอง (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) เดิมทีของทุกชิ้นในพิพิธภัณฑ์จัดเก็บและจัดแสดงอยู่ในกฏิเจ้าอาวาสเดิม แต่ด้วยปริมาณสิ่งของที่ท่านเจ้าอาวาส พระครูไพศาล ธีรคุณ จัดหาด้วยการรับบริจาคและซื้อ ทำให้พื้นที่ของอาคารหลังที่หนึ่งไม่เพียงพอ จึงได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์หลังที่สอง



    ปัจจุบัน อาคารหลังแรก ใช้แสดงพัดยศที่เจ้าอาวาสได้มาจากการบริจาค และตามเก็บจากวัดที่ไม่ได้ใส่กับการเก็บพัดยศเหล่านี้ แต่ที่น่าสนใจคือ มุมหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ในอาคารนี้ยังคงตั้งเป็นโต๊ะหมู่บูชา และมีเครื่องพลีกรรมที่ใช้ประกอบพิธีสืบชะตา จุดเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ การเก็บรวมรวมพระเครื่องสกุลต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของลำพูนเอาไว้มากมาย เช่น พระรอด พระคง พระบาง พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม พระสิบสอง พระลบ ตามฝาผนังติดภาพถ่ายเก่าของวัดในอดีต ลุงบุญชุม (อดีตเจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว) ได้เล่าถึงความตั้งใจที่ใช้ภาพเก่าเหล่านี้มาประดับ/จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ว่าอยากให้คนรุ่นหลังได้เห็นสภาพของวัดในอดีต ซึ่งตัวคุณลุงได้ถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตของวัดได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ในอาคารยังมีมุมแสดงครัวไฟจำลองอีกด้วย



    อาคารหลังที่สอง จัดสร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นอาคารที่มีการจัดสัดส่วนวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ ตามฝาผนังจัดแสดงภาพถ่ายนางงาม บุคคลสำคัญ (เจ้าเมือง) และ ภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต ส่วนพื้นที่ภายในจัดแสดงวัตถุหลากหลายประเภท ที่ได้มาจากชุมชนท้องถิ่น และจากการซื้อหาของท่านเจ้าอาวาส อาทิ พระพุทธรูปไม้ คัมภีร์ใบลาน หีบธรรม ผ้าทอ เครื่องเขิน เครื่องดนตรี น้ำต้น



    กิจกรรมของพิพิธภัณฑ์มีหลากหลาย อาทิ การอบรมการทำความสะอาดวัตถุ และการลงทะเบียน โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การอบรมมัคคุเทศก์ อย่างไรก็ดีกิจกรรมโดยส่วนใหญ่จัดขึ้นโดยพิพิภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ขาดความต่อเนื่องในกิจกรรม เช่น การทำทะเบียนที่ไม่มีเจ้าหน้าที่มาร่วมทำระยะหนึ่งแล้ว หรือการอบรมมัคคุเทศก์ที่ต้องเข้าไปร่วมหลักสูตรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่ตรงกับเรื่องราวของชุมชนมากนัก



    โครงการในปัจจุบันที่พิพิธภัณฑ์ดำเนินการอยู่คือ “การแปงเฮือนยอง” หรือพิพิธภัณฑ์บ้านคนยอง ไม้ที่ใช้ในการสร้างเรือนมาจากการบริจาค ลักษณะเป็นเรือนไม้สองหลังติดกัน อนึ่ง วัดยังคงรับเงินบริจาคอยู่เป็นระยะ ในอนาคตข้าวของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่จัดแสดงทั้งในอาคารที่หนึ่งและสองจะย้ายไปจัดแสดงบนเฮือนยองแห่งใหม่นี้



    นอกจากจะมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแล้ว วัดต้นแก้วยังเป็นทั้งศูนย์เรียนรู้การทอผ้ายกดอก จังหวัดลำพูน เป็นที่ทำการของกลุ่มทอผ้าผู้สูงอายุ เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ถือเป็นพื้นที่ที่ให้คนต่างกลุ่มต่างอายุได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่จะรักษาเอกลักษณ์ของคนยองเอาไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของคนยอง


    ข้อมูลจาก:การสำรวจภาคสนาม วันที่ 23 กันยายน 2546 และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550


    </TBODY></TABLE>

    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ภาพวัดร้างดอนแก้วที่เมื่ออดีต มีพระสามที่เลื่องชื่อ

    ไม่น่าเชื่อว่าสถานที่นี้คือ วัดดอนแก้วในอดีต ปัจจุบันคือสนามฟุตบอล..

    อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็นวัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก

    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    "วัดมหาลดาราม หรือวัดมหาสฐานราม" ปัจจุบันคือ "วัดสังฆาราม (ประตูลี้)" เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้ การที่เรียกชื่อวัดกัน หรือ copy กันมาว่า "วัดมหาสัตตาราม"นั้นไม่ถูกต้อง ลองดูจากชื่อวัดที่ทางวัดบอกเล่าความเป็นมาบันทึกเป็นลายลักษณ์กันดีกว่าว่า ชื่อเรียกที่ถูกต้องควรสะกดอย่างไร

    ลอง search หาประวัติวัดดอนแก้ว .. วัดประตูลี้ นี่ค่อนข้างลำบากมากเลยครับ ก่อนค้นข้อมูลก็คงไม่ทราบอะไรมาก เมื่อค้นแล้วก็ยังไม่รู้อะไรเพิ่มเช่นกัน หากไม่เดินทางไปยังสถานที่จริงๆ และเก็บข้อมูลวัดสี่มุมเมืองด้วยตนเอง จนป่านนี้ผมอาจจะยังงมอยู่เลยครับ ประวัติวัดสี่มุมเมืองนี้ คนปัจจุบันจะทราบเพียงพระเครื่องที่เด่นๆของวัดต่างๆ แต่เรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆในอดีต จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้นำเสนอมากไปกว่าพระเครื่องเท่านั้น

    ผมก็ทำเท่าที่สามารถทำได้ ห่วงแต่ข้อมูลต่างๆที่เผยแพร่ทาง internet เท่านั้นที่อาจจะ copy กันต่อๆมา และไม่ได้อ้างอิงที่มาที่ไป เพื่อสามารถจะแก้ไขกันได้ทั้งระบบในภายหลังว่ารู้จากไหนมา จะได้ไปตามแก้ต้นฉบับ อย่างเช่น วัดดอนแก้วนี้ เมื่อไปเห็นกับตา และพูดคุยกับคนในพื้นที่ เก็บภาพทั้งสถานที่ปัจจุบัน และอดีต เก็บภาพผู้ให้ข้อมูล เอาไว้อ้างอิงอย่างมีหลักฐานได้ว่า ไปคุยกับใครมา ไม่อยากบอกเลยว่า ผมได้อัดคำสนทนาด้วย MP3 เอาไว้ด้วย จึงได้ทราบว่าที่ว่าร้างนั้นร้างยังไง แต่บทความใน web site บางแห่งก็ยังว่ายังมีตราบเท่าทุกวันนี้เช่น web นี้เป็นต้น

    http://www.petchprauma.com/modules.p...3160974f8fd342

    เพื่อให้ทราบว่าผมไม่ได้กล่าวอ้างกันลอยๆ ดังความที่นำมาให้ชมกันบางส่วน


    ระหว่างที่พระนางจามเทวีสละราชสมบัติให้มหันตยศแล้วก็ทรงบำเพ็ญแต่พระราชกุศลด้านศาสนกิจเป็นหลัก เช่น สร้างวัดสี่มุมเมืองด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ประกอบด้วย

    1.วัดอรัญญิการาม ปัจจุบันคือวัดดอนแล้ว อยู่ทางทิศตะวันออก
    2.วัดอาพัทธาราม ปัจจุบันคือวัดพระคงฤาษี อยู่ทางทิศเหนือ
    3.วัดลังการามและมหาวนาราม ปัจจุบันคือวัดมหาวัน อยู่ทางทิศตะวันตก
    4.วัดมหาสถารามหรือมหาลัดดาราม ปัจจุบันคือวัดประตูลี้ อยู่ทางทิศใต้
    (ทั้ง 4 วัดเป็น วัด 4 มุมเมือง ปัจจุบันยังคงมีอยู่ และได้รับความเคารพจากชาวเมืองลำพูนมากครับ)


    จุดที่ผม highlightสีแดง คือจุดผิดพลาดจากข้อเท็จจริง ทั้งตัวอักษรที่เพียงฟังแล้วเขียนสะกดออกมาต่างกัน จึงเป็นที่มาว่าทำไมข้อมูลต่างกัน แม้ว่าจะหมายความถึงสถานที่เดียวกันก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรต้องระมัดระวังในการทำงานเผยแพร่ความรู้ให้สาธารณชนได้ทราบเป็นธรรมทาน



    ...
    <!-- / message --><!-- attachments -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]


    </FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2008
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดสี่มุมเมืองวัดสุดท้ายแล้วครับ ..

    วัดมหาวัน
    ตั้งอยู่เลขที่ ๒ บ้านมหาวัน ถนนจามเทวี หมู่ที่ ๓ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๖๒ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือจรดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้จรดทางสาธารณประโยชน์ - ถนนจามเทวี ทิศตะวันออกจรดทางสาธารณประโยชน์ - คูเมืองส่งน้ำ ทิศตะวันตกจรดทางสาธารณประโยชน์ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง หอไตร ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปพระประธานสร้างด้วยอิฐถือปูน ศิลปะลานนาไทย และเจดีย์ก่ออิฐถือปูนศิลปะลานนาไทย

    ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูน วัดมหาวันสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๑,๒๐๐ สร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวง ในสมัยพระนางจามเทวีครองหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิมอยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤาษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ 500 องค์มาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก 2 องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขี) เมื่อถึงหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) ต่อมาหริภุญไชยเกิดสงครามกับขุนลัวะวิลังขะ พระฤาษีจึงใช้พระศิลาดำเป็นต้นแบบสร้าง พระเครื่องแจกจ่ายชาวเมืองเพื่อใช้ออกศึก พระเครื่องส่วนที่เหลือบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาวัน ต่อมา ในยุคหลัง เมื่อเจดีย์บรรจุพระปรักหักพังลง ชาวบ้านจึงพบพระเครื่องที่เก็บไว้ต่างนำกันไปบูชาและ พบกับอิทธิปาฏิหารย์ต่างๆ พระเครื่องเหล่านี้คือ พระรอดมหาวันที่โด่งดังนั่นเอง

    ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๗ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบัญชาให้เจ้าหลวงเศรษฐีคำผั้น นำชาวบ้านมาตั้งเมืองลำพูนใหม่ และได้ฟื้นฟูวัดวาอารามต่างๆ ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ต่อมาเมื่อท่านเจ้าคุณพระญาณมงคล (ฟู อภิชโย) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้ขออนุญาตเปลี่ยนนามวัดใหม่ชื่อว่าวัดมหาวัน และได้พัฒนาวัดทั้งด้านวัตถุและการศึกษาตลอดมาจนถึงสมัยพระญาณมงคล (ชุมพล ชุตินฺธโร) ได้รับคัดเลือกจากกรรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ชาวบ้านเรียกว่าวัดประตูมหาวัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗

    ชั่วโมงเซียน : พระรอด วัดมหาวัน จ.ลำพูน ​


    [​IMG]วัดมหาวัน จ.ลำพูน พระอารามที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไป ทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย ทั้งนี้มิใช่เพราะเรื่องอื่นใด นอกจากเพียงประการเดียวคือ เป็นแหล่งกำเนิดของ "พระรอด" ซึ่งเป็นหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคี
    พระรอด วัดมหาวัน มีพระพุทธศิลป์เป็นยุคสมัยทวาราวดี ประทับนั่งปางมารวิชัยและขัดเพชรบนฐานบัว ๒ ชั้น ด้านหลังขององค์พระเป็นปรกโพธิ์เรียงตั้งแต่หัวเข่าขององค์พระขึ้นเป็นซุ้มครอบองค์พระ จำนวนใบโพธิ์และเอกลักษณ์ของ ก้านโพธิ์ที่ชัดเจนในแต่ละพิมพ์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดในแต่ละพิมพ์

    การขุดหาพระรอดมีกันหลายครั้งหลายหน จนประมาณครั้งมิได้ เท่าที่สืบทราบมีดังนี้

    การพบกรุพระรอดในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร เมื่อปี ๒๔๓๕-๒๔๔๕ พระเจดีย์มหาวันชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมาเป็นส่วนมาก ดังนั้น เจ้าเหมพินธุไพรจิตร จึงดำริให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิมลงไป ส่วนเศษปรักหักพังที่กองทับถมกันอยู่นั้น ได้จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด โอกาสนั้นได้พบพระรอดเป็นจำนวนมากมายภายในกรุพระเจดีย์มหาวัน [​IMG]

    พระรอดส่วนหนึ่งได้รับการบรรจุ กลับคืนเข้าไปในพระเจดีย์ตามเดิม อีกส่วนหนึ่งมีผู้นำไปสักการบูชา และส่วนสุดท้ายได้ปะปนกับสร้างกรุและ เศษดินทรายจมอยู่ในหนองน้ำดังกล่าว

    การพบพระรอดในกรุสมัยเจ้าหลวง อินทรยงยศ ประมาณปี ๒๔๕๑ ครั้งนั้น เจ้าหลวงอินทรยงยศ ได้พิจารณาเห็นว่า มีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกตรง บริเวณฐานมหาวัน และรากชอนลึกลงไปภายใน องค์พระเจดีย์มหาวัน ทำให้มีรอยร้าว ชำรุดหลายแห่ง จึงให้ช่างรื้อฐานรอบนอกพระเจดีย์ออกเสีย แล้วปฏิสังขรณ์ใหม่ การกระทำครั้งนี้พบพระรอดซึ่ง เจ้าเหมพินธุไพจิตรรวบรวม บรรจุไว้ในคราวบูรณะครั้งใหญ่ จำนวน ๑ กระเช้าบาตร (ตะกร้าบรรจุข้าวตักบาตร) จึงได้นำมาแจกจ่ายแก่บรรดาญาติวงศ์ (เจ้าหลวงจักรคำ ขจรศักดิ์ ผู้เป็นบุตร ในสมัยนั้นยังเป็นหนุ่ม ก็ได้รับพระรอดจากเจ้าพ่อไว้เป็นจำนวนมาก และเป็นมรดกตกทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้) ทั้งได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่ขึ้นบรรจุไว้แทน ส่วนฐานพระเจดีย์ที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นก็ขยายกว้างขึ้นกว่าเดิม
    การขุดหาพระรอดในฤดูแล้ง นับแต่สมัยปฏิสังขรณ์มหาวันเจดีย์เป็นต้นมา นับวันยิ่งมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในคุณวิเศษของพระรอดอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะคุณวิเศษของพระรอดเป็นมหัศจรรย์อย่างสูงแก่ผู้มีไว้สักการบูชา จึงมีผู้พากันมาขุดหา พระรอดภายในบริเวณอุปจารของวัด ตรงบริเวณที่เคยเป็นแอ่งน้ำ ได้พระรอดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ต่อไปก็ขยายบริเวณการขุดออกไปอย่างกว้างขวางทั่วอุปจารของวัด และได้กระทำติดต่อกันมานานปีจนกลายเป็นประเพณีกลายๆ ของชาวลำพูน คือ

    ในฤดูแล้งภายหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว คือระหว่างเดือน ๔ ถึงเดือน ๖ ของทุกปี จะมีชาวบ้านมาขุดหาพระรอดกันในวัดมหาวัน จนพื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยหลุมบ่อ ทางวัดจึงห้ามการขุด

    การขุดพบพระรอดปี ๒๔๙๘ เนื่องจากมีการปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาสวัดมหาวัน ในการขุดดินเพื่อลงรากฐานการก่อสร้างด้านหน้าและใต้ถุนกุฏิ พบพระรอดประมาณ ๒๐๐ องค์เศษ ทุกองค์จัดว่าเป็นพระรอดที่เนื้องามทั้งสิ้น มีวรรณะผุดผ่องงดงามยิ่งนัก และมีหลายพิมพ์ทรงแทบจะไม่ซ้ำกันเลย ได้เริ่มขุดในเดือนมกราคม สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม

    [​IMG]นอกจากพระรอดแล้ว ยังขุดได้พระเครื่องสกุลลำพูนอีกหลายชนิด เช่น พระคง พระบาง พระเลี่ยง พระสาม พระสิบ พระสิบสอง พระงบน้ำอ้อย พระกล้วย พระกวาง และพระแผ่นทอง เป็นต้น

    ต่อมามีการขุดพบพระรอดในปี ๒๕๐๖ ทางวัดมหาวันได้เริ่มการรื้อ พระอุโบสถเพื่อปฏิสังขรณ์ พบพระรอดประมาณ ๒๐๐ องค์เศษ ภายใต้พื้นพระอุโบสถนั้น พระรอดจำนวนหนึ่งมีผู้นำมาจำหน่ายในกรุงเทพฯ ในราคาสูงมาก ส่วนมากเป็นพระชำรุดและเนื้อไม่จัด ยิ่งกว่านั้น บางองค์ที่พระพักตร์ชัดเจน จะมีลักษณะพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์โปนเด่น ๖ นิ้ว

    พระรอดได้ขุดพบที่วัดมหาวัน พุทธศิลป์อยู่ในยุคกลางของสมัยหริภุญไชย (ลำพูน) อาณาจักรหริภุญไชย สร้างขึ้นราวต้นศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ เป็นอาณาจักรของ กลุ่มชนมอญโบราณ ทางภาคเหนือของประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนาหินยาน ใช้ภาษาบาลีจดคำสอนทางศาสนา ได้มีการกำหนดอายุและ ศิลปะพระรอดว่า สร้างในสมัยกษัตริย์จามเทวี เป็นยุคต้นของสมัยหริภุญไชย มีศิลปะสมัยทวารวดี

    ในทางพุทธศิลป์แล้ว พระรอดน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงหลังสมัยทวาราวดี รูปแบบของพระรอดคือประทับพระบาทสมาธิเพชร (ท่านั่งขัดเพชร) ในสมัยทวาราวดีสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดหลวมและหงายฝ่าพระบาทกางออก และไม่ปรากฏพระพุทธรูปนั่งขัดเพชรในศิลปะทวาราวดี พระพุทธรูปนั่งขัดเพชรเป็นแบบอย่างเฉพาะของพระพุทธรูปอินเดียฝ่ายเหนือ (มหายาน) พระพุทธรูปและพระเครื่องในลำพูนได้ปรากฏศิลปะสมัยต่างๆ รวมอยู่หลายสมัย คือ สมัยทวาราวดี ลพบุรี แบบหริภุญไชย พุกาม อู่ทองและสมัยล้านนา

    พระรอด วัดมหาวัน มีทั้งหมด ๕ พิมพ์ คือ
    ๑.พระรอด พิมพ์ใหญ่
    ๒.พระรอด พิมพ์กลาง
    ๓.พระรอด พิมพ์เล็ก
    ๔.พระรอด พิมพ์ต้อ
    ๕.พระรอด พิมพ์ตื้น

    ในอดีตสีพระรอดที่สวยจะต้องเป็นพระรอดสีเขียว มีความคมชัดในทุกรายละเอียด แต่ในปัจจุบันสีไม่ใช่เครื่องชี้วัดความสวยงามและ ความสูงค่าขององค์พระรอด ต้องดูที่ความสวยงามทั้งองค์เท่านั้น

    สีของพระรอด มีประมาณ ๔ สี คือ
    ๑.พระรอดสีขาว เนื่องจากพระรอดเป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นดินในจังหวัดลำพูนหรือจังหวัดใกล้เคียง มีสีขาว เป็นเนื้อดินที่สะอาดและละเอียด จนมีคนเข้าใจว่ากรรมวิธีการนวดดินนั้น น่าจะผ่านการกรองผ้าขาวจนกระทั่งไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นดินที่ขุดได้จากดินที่ตกตะกอนในธารน้ำไหลภายในถ้ำ จึงสะอาดและไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น
    พระรอดสีขาว ควรจะเป็นพระที่อยู่ในบริเวณเตาเผาที่ไม่ถูกความร้อนมากเท่าที่ควร เนื้อพระจึงเป็นสีขาวเพราะไม่สุก และไม่แกร่งเท่าพระรอดสีอื่นๆ จึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่มักจะไม่คมชัดเท่าที่ควร

    ๒.พระรอดสีแดง เป็นพระรอดที่เผาสุกเรียบร้อยแล้ว จึงมีขนาดเล็กลง กว่าพระรอดสีขาว มีความคมลึกและชัดเจนเช่นพระรอดสีอื่นๆ

    ๓.พระรอดสีเหลือง เป็นพระรอดที่เผาได้แกร่งกว่าพระรอดสีแดง จึงมีขนาดขององค์พระเล็กกว่า พระรอดสีแดงเล็กน้อย ตามทฤษฎีจะมีความคมลึกและชัดมากกว่าพระรอดสีแดง

    ๔.พระรอดสีเขียว เป็นพระรอดที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด มีการหดตัวเล็กลงจากพระรอดสีเหลือง มีความคมชัดที่สุดในจำนวนพระรอด เนื่องมาจากการหดตัวเมื่อเกิดความร้อนจัด เพราะความแหลมคมจึงอาจทำให้พระรอดสีเขียวดูไม่ล่ำสันเท่ากับพระรอดสีแดงและสีเหลือง

    นอกจากนี้พระรอดสีเขียวยังมีสีเขียวที่แตกต่างกันไปเป็นลำดับ จากพระรอดสีเขียวคาบเหลือง เป็นพระรอดสีเขียว และเป็นพระรอดสีเขียวเข้ม จนมีขนาดเล็กที่สุดคือ พระรอดสีเขียวเข้มจนเกือบดำ

    พุทธศิลป์ของพระรอด วัดมหาวัน เป็นพระที่แกะแม่พิมพ์ได้ลึกมาก มีพระพักตร์ที่มีรายละเอียดครบถ้วน พระเนตรโปนภายในกรอบพระเนตร มีจมูกใหญ่และริมฝีปากหนาตามพุทธสมัย สมัยทวาราวดี พระกรรณแนบอยู่ข้างพระเศียรทั้งสองข้าง พระบาทนั่งขัดเพชรเป็นรูปพระบาทอย่างชัดเจน ฝ่าพระหัตถ์วางลงบนตักมีนิ้วหัวแม่โป้งกางออกและนิ้วมือครบทั้ง ๔ นิ้ว

    เนื่องจากสัณฐานของพระรอดมีทรงที่สูงเล็กน้อย กรรมวิธีการสร้างและกดพิมพ์ด้วยนิ้วมือที่ปั้นเป็นหลังของพระรอดนูนโค้ง โดยไม่มีการตัดขอบ การถอดแม่พิมพ์นั้นกดจากส่วนใต้ฐานขององค์พระขึ้นไป จึงมักจะทำให้เกิดรอยครูดของแม่พิมพ์ขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าพระส่วนฐานและฝ่าพระบาทคมชัด พระเศียรขององค์พระตรงส่วนคางจะครูดขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าพระเศียรขององค์พระเต็ม ไม่มีรอยครูด พระหัตถ์ขององค์พระจะมีรอยกดแบนหรือครูดไปละเอียดครบถ้วน มีนวลดินเดิมในกรุจับอยู่บางๆ เท่านั้นhttp://www.komchadluek.net/column/pra/2004/05/31/02.php
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ได้รับพระรอดลำพูน สีดำ พิมพ์ตื้นมา ๒ องค์ เป็นพิมพ์ที่หาได้ค่อนข้างยาก ทั้ง ๒ องค์มีความสมบูรณ์มาก ไม่ได้ปัดเอาคราบไคล สนิมแดงออก
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <CENTER>ตำนาน
    พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว) </CENTER>


    <DD>พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธ์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะได้และปรากฏว่า ในอดีตกาลเป็นพระพุทธรูปสำหรับบูชา ประจำพระองค์ของพระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญไย และพระเจ้าเม็งรายมหาราช(หรือพระเจ้ามังราย) ปฐมวงศ์เม็งราย ผู้สถาปนอาณาจักรล้านนาไทย และกษัตริย์ผู้ครองหริภุญไชย และนครเชียงใหม่ ในยุคต่อๆ มา ก็นับถือเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ทั้งสิ้น


    <DD><DD>พระพุทธรูปองค์นี้ ในตำนานได้กล่าวถึงการสร้างใว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว ๗๐๐ ปี ในวันเพ็ญเดือน ๗ พระสุเทวฤาษีได้เอาดอกจำปา ๕ ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงษ์สวรรค์ ได้พบปะสนทนาด้วยพระอินทร์ๆ ก็บอกกล่าวแก่สุเทวฤาษีว่า ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญ ที่ลวะรัฏฐะจะสร้างพระพุทธรูปปฏิมากรด้วยแก้วขาว ครั้งสุเทวฤาษีกลับจากดาวดึงษ์เทวโลกแล้ว จึงไปสู่เมืองละโว้ ขณะนั้น พระยารามราชเจ้าเมืองละโว้กับพระกัสสปเถระเจ้าปรารถการที่จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจากจันทเทวบุตร แล้วขอพระวิศนุกรรมมาเนรมิต สำเร็จรูปเป็นองค์พระพุทธปฎิมากรสุเทวฤาษีและฤาษีอื่นๆ ก็ได้มาประชุมช่วยในการสร้างพระด้วย ครั้งสำเร็จแล้วก็บรรจุพระบรมธาตุ ๔ องค์ ไว้ในพระโมลี(กระหม่อม) ๑ พระนลาต(หน้าผาก)1 พระอุระ(หน้าอก)1 พระโอษฐ์(ปาก) ๑ รวม ๔ แห่ง


    <DD>เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วขาวก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน มาถึงสมัยเมื่อพระฤาษีสร้างนครหริภุญไชยขึ้นแล้ว ใช้ให้ควิยะอำมาตย์ ไปเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ มาครองเมืองหริภุญไชย พระนางจึงขออนุญาตจากพระราชบิดา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์สามเณร และพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว) มาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ นครลำพูน แต่นั้นมาเป็นเวลานานหลายร้อยปี บรรดากษัตริย์ครองเมืองหริภัญไชย(ลำพูน) ทั้งวงศ์เดียวกับพระนางจามเทวีและต่างวงศ์ ต่างก็ได้เคารพบูชาเป็นประจำองศ์มาทุกวงศ์ และได้สร้างหอพระปริดิษฐ์ไว้ในพระราชวัง


    <DD><DD>พระเสตังคมณีประดิษฐานอยู่ ณ เมืองลำพูนตลอดมาจนกระทั่งถึง รัชสมัยของพระยายีบาเป็นกษัตริย์ครองเมือง ในครั้งนั้นพระเจ้าเม็งรายซึ่งเป็นเจ้าครองนครเงินยวง(เชียงแสน) ได้ยกกองทัพไปปราบบ้านเล็กเมืองน้อยต่างๆ ที่ยังแข็งเมืองอยู่ให้เข้ารวมอยู่ไปอำนาจของพระองค์จนหมดสิ้นแล้ว แต่นครหริภุญไชยครั้งนั้นมีกำลังเข็มแข็งมาก พระองค์จึงคิดอุบายให้ขุนอายฟ้าเห็นราชวัลลภคนสนิท ไปทำการจารกรรมนานถึง ๗ ปี ขุนอ้าว จึงส่งข่าวไปให้พระเจ้าเม็งรายให้ยกกองทัพมาตีหริภุญไชย พ.ศ. ๑๘๒๔ ชาวเมืองที่ไม่ยอมทิ้งเมืองทำการต่อสู้ พระเจ้าเม็งรายต้องใช้ธนูเพลิงยิงเข้าไป ทำให้เกิดเพลิงไหม้ทั้งเมือง ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพแก่กองทัพพระเจ้าเม็งราย


    <DD>เมื่อยกเข้าเมืองได้แล้ว พระเจ้าเม็งรายจึงเสด็จออกตรวจดูความเสียหาย สี่งที่ทำให้พระองค์ทรงประหลาดพระทัยที่สุดคือ หอพระซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังของพระยายีบาหาได้ถูกเพลิงไหม้ไม่ แต่บริเวณรอบๆ นั้นถูกเพลิงเผาผลาญพินาศหมด พระองค์จึงเข้าไปทอดพระเนตรดู เห็นพระแก้วขาวสถิตย์อยู่ ณ ที่นั้น ก็เกิดมีพระราชศรัทธาปสาทะเป็นอันมาก จึงอัญเชิญองค์พระแก้วขาวมาประดิษฐาน ณ ที่ประทับของพระองค์ ทรงเคารพสักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์แต่นั้นมา
    edit @ 2005/06/18 15:36:19

    <DD>http://boonchoo.exteen.com/20050618/entry-6

    ผมพบข้อมูลว่า พระรอดมหาวันนั้น มีต้นแบบมาจากพระเสตังคมณีพระแก้วขาวองค์นี้นั่นเอง รูปพักตร์ต่างๆถูกจำลองมาสร้างเป็นพระรอด..ลองพิจารราดูจากภาพนะครับ
    <DD>[​IMG]
    </DD>
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณมากค่ะ ลำพูนเป็นเมืองเล็ก เองค่ะอยู่ระหว่างลำปางกับเชียงใหม่ บุษยังไม่เคยแวะเลยค่ะ คนลำพูนจะพูดสำเนียงคล้ายคนเชียงใหม่ แต่เร็วกว่าคนเชียงใหม่ค่ะ
     
  18. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,516
    ค่าพลัง:
    +27,187
    ไปเที่ยวกันมะ [​IMG]
     
  19. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ยังไม่ไปอ่ะน้ำมันแพงอ่ะเฮีย
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

    [​IMG]


    วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


    <TABLE class=NOBORDER borderColor=#000000 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    1. พระธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่พญาอาทิตยราชเป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนาน พระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาท สี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่อง ทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่ และสูง พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่ เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาล ตราบเท่าทุกวันนี้

    [​IMG]

    2. สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียว กับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชึ้นไป ห้าชั้น แต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอย ของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็น กรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไปสุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม
    [​IMG]

    3. หอระฆัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อ
    ขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗ และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาส วัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย

    http://www.rd.go.th/lamphun/57.0.html


    พระธาตุหริภุญชัยเป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดลำพูน และของประเทศไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงวินิจฉัยถึงจอมเจดีย์

    ในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยว่ามีอยู่แปดองค์และได้จำลองเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร คือ

    พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
    พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    พระศรีรัตนมหาธาตุเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย
    พระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
    พระมหาธาตุเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
    พระเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    พระธาตุเมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี

    สถานที่ตั้งพระธาตุหริภุญชัย ประดิษฐานอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกตั้งอยู่ในกลางเมืองลำพูน บนเนื้อที่ ๒๕ ไร่ ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งที่สำคัญยิ่ง คือพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา
    ของล้านนาร่วมสิบศตวรรษ

    ลักษณะพระธาตุหริภุญชัย
    พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์พระธาตุ ซึ่งมีลักษณะทางสถาปัตยกรรม ดังนี้

    ส่วนฐานชั้นล่างสุด เป็นฐานเขียง ซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไป ๓ ชั้น ถัดจากฐานเขียง เป็นฐานบัวลูกแก้วหรือฐานปัทม์

    ส่วนกลาง เป็นชั้นที่ถัดจากบัวลูกแก้วขึ้นไป ทำเป็นฐานเขียงกลมซ้อนกัน ๓ ชั้น และถัดขึ้นไปทำเป็นฐานกลมมีลักษณะ คล้ายมาลัยเถาซ้อนกัน ๓ ชั้นรองรับองค์ระฆังส่วนกลาง โดยรอบระฆังทำเป็นลายดุนรูปดอกไม้สี่กลีบ และระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบ มีการทำเป็นลายดุนนูน เป็นรูปพระพุทธรูป

    ส่วนบนถัดจากองค์ระฆังขึ้นไปเป็นส่วนบัลลังก์ก้านฉัตรปล้องไฉน ปลียอดบนสุดเป็นฉัตร ๙ ชั้น

    องค์ประกอบทั่วไปของพระธาตุหริภุญชัย
    พระธาตุหริภุญชัย ในปัจจุบัน เป็นทรงลังกาหรือทรงระฆังมีส่วนสูง ๒๕ วา ๒ ศอก ฐานกว้าง ๑๒ วา ๒ ศอก ๑ คืบ องค์ประกอบทั่วไป
    ของพระธาตุหริภุญชัย มีดังนี้

    ๑. สัตติบัญชร (ระเบียงหอก) ล้อมรั้งไว้ ณ ฐานชั้นล่าง ๒ ชั้น

    ๒. สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกในทิศเหนือและทิศใต้ ตามคติจักรวาลในการสร้างวัดสมัยโบราณ

    ๓. ซุ้มกุมภัณฑ์ (ยักษ์) สร้างไว้ประจำมุมทั้ง ๔ ทิศ ตามคติความเชื่อในท้าวกุมภัณฑ์เป็นผู้คุ้มครองสถานที่

    ๔. ฉัตรอันเป็นเครื่องสูง ใช้ปักเป็นเกียรติยศ ซึ่งฉัตรแบบร่มใช้ถวายเป็นพุทธบูชานิยมใช้เพียงชั้นเดียวมีลวดลาย
    แกะสลักซับซ้อนฝีมือละเอียดประดับไว้ตามมุมทั้ง ๔ ทิศ

    ๕. หอยอสร้างประจำทั้ง ๔ ภายในหอยอมีพระพุทธรูปนั่งประจำหอยอทุกหอ

    ๖. โดมที่ประทับและแท่นบูชาจะก่อสร้างประจำไว้เพื่อใช้เป็นที่สักการบูชา
    http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~cturdsak/pratad.htm

    พระธาตุประจำปีเกิด เป็นความเชื่อที่มีต้นกำเนิดมาจากล้านนา ดังนั้นพระธาตุประจำปีเกิด จึงมักจะอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ชาวล้านนามีความเชื่อว่า..คนเราควรจะไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดสักครั้งในชีวิต ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิต

    ส่วนคำว่า ” พระธาตุ ” ที่เราพูดถึงกันนั้น ก็หมายถึงพระบรมสารีริกธาตุ หรือกระดูกของพระพุทธเจ้า และรวมไปถึงเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสาริกธาตุอีกด้วย ดังนั้นหลายคนจึงเรียกรวมๆ กันว่าพระธาตุฯ จากเรื่องเล่ากันมาได้กล่าวไว้ว่า สถานที่ต่างๆ ที่ได้มีการสร้างพระธาตุขึ้นมานั้นในภายหลังนั้น ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จไปโปรดสัตว์ตามสถานที่นั้นๆ มาแล้ว ดังนั้นใครที่ได้มีโอกาสไปกราบไหว้สักการะถึงว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

    ปีชวด (ปีหนู).. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุศรีจอมทอง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ องค์พระบรมธาตุนี้ คือส่วนพระเศียรเบื้องขวา

    ปีฉลู (ปีวัว) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุลำปางหลวง อ. เกาะคา จ. ลำปางพระอรหันต์ได้นำพระธาตุหน้าผาก และพระธาตุลำคอมาประดิษฐานที่นี่
    <SHAPE id=_x0000_i1027 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีขาล (ปีเสือ) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุช่อแฮ อ. เมือง จ. แพร่ พระธาตุที่ประดิษฐานอยู่ที่นี่ คือพระธาตุข้อศอกข้างซ้าย
    <SHAPE id=_x0000_i1030 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีเถาะ (ปีกระต่าย) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุแช่แห้ง อ. เมือง จ. น่านที่แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุข้อมือข้างซ้าย
    <SHAPE id=_x0000_i1031 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีมะโรง (ปีงูใหญ่) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ อ. เมือง จ. เชียงใหม่
    <SHAPE id=_x0000_i1026 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีมะเส็ง (ปีงูเล็ก) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ ที่พุทธคยา หรือไหว้ต้นโพธิ์ตามวัดชาวล้านนาเชื่อว่าต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ การบูชาพระศรีมหาโพธิที่พุทธคยา สามารถบูชาต้นโพธิ์ที่วัดมหาโพธาราม จ.เชียงใหม่ ได้เช่นกัน
    <SHAPE id=_x0000_i1032 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีมะเมีย (ปีม้า) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุย่างกุ้ง หรือชเวดากอง ประเทศพม่า หรือไหว้พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง ที่วัดพระบรมธาตุ อ. บ้านตาก จ. ตาก แทนก็ได้ที่พระธาตุแห่งนี้ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
    <SHAPE id=_x0000_i1033 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีมะแม (ปีแพะ) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุดอยสุเทพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิตเหนือช้างมงคล ซึ่งเดินมาถึงยอดดอยสุเทพแล้วจึงขุดหลุมประดิษฐานพร้อมก่อพระเจดีย์
    <SHAPE id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีวอก (ปีลิง) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุพนม อ. ธาตุพนม จ. นครพนม เจดีย์แห่งนี้บรรจุพระอุรังคธาตุ คือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า
    <SHAPE id=_x0000_i1028 style="WIDTH: 269.25pt; HEIGHT: 13.5pt" type="#_x0000_t75"></SHAPE><IMAGEDATA src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.gif" o:href="http://usanee.exteen.com/images/line%20duck.gif"></IMAGEDATA>
    ปีระกา (ปีไก่) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุหริภุญชัย อ. เมือง จ. ลำพูนเป็นที่ประดิษฐานพระสุวรรณเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระธาตุกระหม่อม พระธาตุกระดูก พระธาตุกระดูกนิ้วมือ และพระธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง

    ปีจอ (ปีสุนัข) .. พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สามารถบูชารูป หรือไปไหว้พระเจดีย์ที่วัดเกตุการาม อ. เมือง จ. เชียงใหม่ แทนก็ได้ค่ะพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี เป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุ
    ปีกุน (ปีหมู) ..พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุดอยตุง อ. แม่สาย จ. เชียงราย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้า

    http://blog.tourismthailand.org/blog2/?p=18

    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     

แชร์หน้านี้

Loading...