ตามรอยพระแม่จามเทวี วัดจามเทวี-วัดสี่มุมเมือง-เวียงกุมกาม-พระธาตุดอยน้อย และศรีจอมทอง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 11 มิถุนายน 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เวียงกุมกาม
    ความหมายของชื่อเวียงกุมกาม
    หลักฐานเก่าที่สุดที่กล่างถึงเวียงกุมกามคือ ศิลาจารึก วัดพระยืน จังหวัดพระยืน เขียนเป็น อักษรไทย สุโขทัย คำว่า กุมกามอยู่ในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 31 เขียนว่ากูมกาม คำอ่านปัจจุบันคือ กุมกาม


    กาม หมายถึง บ้านเมือง แต่ในการศึกษาครั้งแรกก็มิได้รู้ว่าเป็นอะไร แต่สันนิฐานจากเวียงอื่น ที่ลงท้ายด้วยคำว่ากาม คือ เวียงพุกาม ซึ่งในภาษา พม่า กามแปลว่า บ้านนั่นเอง


    กุม หมายถึง รักษา เนื่องจากเป็นภาษาไทยยวนมีความหมายคล้ายกับคำว่า "คุม" ในภาษาไทย กลาง ซึ่งหมายความว่า ป้องกันรักษา คอยกำกับดูแล



    เพราะฉะนั้น เวียงกุมกาม หมายถึง รักษาบ้านเมือง



    มูลเหตุกำเนิดเวียงกุมกาม
    เวียงกุมกามกำเนินขึ้นเพราะพญามังรายทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่เมือง หริภุญไชย ด้วยความไม่พอใจในเมืองหริภุญไชย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียงที่สร้างมาประมาณ 500 ปี มีขนาดเล็กคับแคบไม่สามารถขยายเวียงได้ จึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวง ขึ้นใหม่ โดยให้เมืองหริภุญไชย มีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางการค้า และการเมือง พญามังรายจะเลือกสร้างในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่ - ลำพูน โดยไม่กลับไปสร้างเมืองหลวงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกกซึ่งอยู่ทางตอนบน ทั้งนี้ในที่เวียงกุมกามเป็นที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืนใหญ่ที่สุดในภาคเหนือจะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้นกับเมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก


    สาเหตุการย้ายเมืองหลวงจากเวียงกุมกามมาเชียงใหม่
    เชียงใหม่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เหมาะกว่าเวียงกุมกามกล่าวคือตัวเวียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ ระหว่างเชิงดอยสุเทพ และแม่น้ำปิง ที่ตั้งลาดเทจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ลักษณะชัยภูมิของการตั้งเวียงเชียงใหม่ตรงกับจารีตเดิมของชาวไทยยวนที่ชอบตั้งคือให้ภูเขาอยู่ทาง ทิศตะวันตกของเวียง(หันหลังให้เขา) หันหน้าเข้าน้ำ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้สายน้ำจากดอยสุเทพไหลลงมาหล่อเลี้ยงตัวเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลา และในปัจจุบันหากเปรียบเทียบลักษณะ ทางกายภาพระหว่างเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่ จะพบว่าเวียงกุมกามมีข้อด้อยกว่าเชียงใหม่อย่างชัดเจน กล่าวคือ เวียงกุมกามตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มต่ำ เป็นไปได้ว่าหลังจากสร้างเวียงกุมกามแล้วประมาณ 2 - 3 ปีก็เริ่มเห็นข้อบกพร่องในจุดนี้ของเวียงกุมกาม ครั้นพบที่ตั้งของเชียงใหม่ซึ่งเหมาะสมกว่า จึงย้ายมาสร้างในที่แห่งใหม่ และการย้ายมาสร้างเชียงใหม่ มิใช่เพราะเวียงกุมกามถูกน้ำท่วมใหญ่ แล้วจึงย้ายมาสร้างเวียงเชียงใหม่ ทั้งนี้ในหลักฐานทางธรณีวิทยาบ่งชัดว่า เวียงกุมกามถูกน้ำท่วมเพียงครั้งเดียวเมืองก็ล่มสลายลงในสมัยพม่าปกครอง
    http://www.school.net.th/library/web...y/history.html

    ลักษณะทางกายภาพเวียงกุมกาม

    ร่องรอยของเวียงกุมกามปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร ลักษณะที่ตั้งและรูปร่างของเวียงกุมกามนั้นจากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและจากการสำรวจร่องรอยของคูน้ำคันดินที่เป็นกำแพงเวียงโบราณที่เหลืออยู่พบว่า เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตรไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตก หรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด

    ลักษณะภูมิประเทศ

    เป็นที่ราบจนถึงเกือบราบ พื้นที่ราบช่วงนี้จะกว้างขวางและเป็นที่ราบลุ่มต่ำน้ำท่วมถึงพื้นดิน มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นที่ราบดินตะกอนทับถมมีแหล่งน้ำสำคัญตามธรรมชาติ คือแม่น้ำปิงไหลผ่านบริเวณที่ราบ จึงมีการตั้งถิ่นฐานกันมาแต่โบราณพบการตั้งหมู่บ้านเรียงรายไปตามร่องรอยทางน้ำเก่า โดยบ้านเรือนจะสร้างในที่สูงคือ บริเวณขอบลานตะพักลำน้ำ วัดและชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในอดีตจะมีลักษณะการตั้งหมู่บ้านในแนว เหนือ - ใต้ตามร่องน้ำเป็นสายลงมาก สิ่งที่พบอยู่เสมอในการสำรวจชุมชนคือ ซากโบราณสถานซึ่งบางแห่งเหลือเพียงกองอิฐเท่านั้น ร่องรอยของหลักฐานทางวัตถุได้แสดงถึงความสืบเนื่องของชุมชนที่อยู่มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นอกจากการศึกษาที่ตั้งของเวียงกุมกามแล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองโบราณ จำเป็นต้องศึกษาร่องรอยทางน้ำเก่า เนื่องจากจะทำให้ทราบถึงการตั้งถิ่นฐาน และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงสมควรที่จะส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น


    ร่องรอยทางน้ำเก่าของแม่น้ำปิง "ปิงห่าง"
    เดิมแม่น้ำปิงไหลไปทางเวียงกุมกาม โดยรวมเวียงกุมกามไว้ฟากเดียวกับเชียงใหม่ร่องรอยปิง ห่างปรากฏเป็นแนวขนานอยู่ทางด้านตะวันตกของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ตั้งแต่บ้านสัน คือลงไปถึงบ้านอุโมงค์มีลักษณะลาดต่ำลงเป็นแอ่ง จึงสร้างอยู่บนพนังดินธรรมชาติของร่องปิงห่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีระดับสูงในแอ่งที่ราบน้ำท่วมถึง สภาพของปิงห่างแตกต่างกันมาก บางส่วนตื้นเขินมาก และบางส่วนยังมีสภาพเป็นแม่น้ำอยู่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่องปิงห่างช่วงนี้มีสภาพเป็นแม่น้ำ เพราะมีการขุดลอกปิงห่างอยู่เสมอ จากการศึกษาทั้ง "ปิงห่าง" และ"ปิงเก่า" ได้พบร่องรอยสาขาทางน้ำหลายสายกระจายทั่วไปในบริเวณเวียงกุมกาม และใกล้เคียง นับว่าเป็นบริเวณทีมีีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม จึงเป็นชุมชนที่มีความสืบเนื่อง ตั้งแต่สมัยหริภุญไชยจนถึงปัจจุบัน
    http://www.school.net.th/library/web...cal/local.html
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    แผนผังลักษณะวัดในเวียงกุมกาม
    [​IMG]

    ลักษณะโบราณสถาน
    จากการศึกษาโบราณสถานในเวียงกุมกามสามารถแบ่งออกเป็น 7 ลักษณะใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้

    ลักษณะที่ 1 คือ ซุ้มประตูทางเข้าและแนวกำแพง เป็นซุ้มโขงขนาดเล็ก ตัวซุ้มมีผนังหนา 1.00 เมตร ช่องประตูกว้าง 2.80 เมตร กำแพงก่ออิฐหนา 1.00 เมตร แนวกำแพงที่พบวางตัวตามทิศตะวันตก-ทิศตะวันออก ฐานซุ้มโขงก่ออิฐเป็นฐานบัวย่อเก็จรองรับผนังกรอบประตู

    ลักษณะที่ 2 ประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ขุดพบด้านหน้าของวิหารตรงกับซุ้มประตู-วิหาร เหลืออยู่เฉพาะฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุมขนาด 26 x 11 เมตร มีฐานชุกชีขนาดใหญ่ และคูหาขนาดเล็กอยู่ท้ายวิหาร พื้นวิหารปูอิฐ มีตอม่อทำจากหินแกรนิตสำหรับรองรับเสาวิหารอยู่เป็นระยะๆ ห่างกันช่วงละ 4 เมตรทั้งตามแนวยาว และตามขวาง ลักษณะของพื้นวิหารชี้ให้เห็นว่าวิหารหลังนี้ทำหลังคา ซ้อนลดหลั่นเป็น 2 ระดับ หลักฐานที่พบ ในการขุดแต่งยืนยันว่าโครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงกระเบื้องดินเผา-เจดีย์ อยู่ด้านหลังวิหาร ฐานแยกออกจากกัน ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 9 คูณ 9 เมตร ลักษณะเป็นฐานย่อเก็จรองรับเรือนธาตุที่มีซุ้มพระ 4 ด้าน ประดับลวดลายปูนปั้น ลักษณะของลวดลายปูนปั้นที่พบในการขุดค้นเป็นลวดลายในกลุ่มเดียวกับลวดลายในกลุ่มเดียวกับลวดลายปูนปั้นที่พระเจดีย์ วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน

    ลักษณะที่ 3 คือ เจดีย์และวิหารอยู่บนฐานก่ออิฐแยกออกจากกัน วิหารหันออกสู่ลำแม่น้ำปิงเก่า-วิหาร ผังพื้นปูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ขนาด 21.20 คูณ 15.00 เมตร สูง 2.00 - 3.00 เมตร ฐานชุกชีอยู่ติดผนังท้ายวิหาร ฐานวิหารก่อเป็นฐานบัวประดับลูกแก้วอกไก่ รองรับผนังวิหารซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผนัง หรือฝาไม้ หลังคาโครงสร้างไม้ มุงกระเบื้อง ด้านหลังเป็นหลังคาต่างระดับเพียง 2 ชั้น ในขณะที่ด้านหน้าเป็นหลังคาต่างระดับถึง 3 ชั้น เจดีย์ ฐานล่างสุดเป็นฐานหน้ากระดาน ผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 12.20 คูณ 12.20 เมตร สูง 60 เซนติเมตร ก่ออิฐเรียงสลับสั้นยาวไม่สอปูน ฐานหน้ากระดานชั้นที่ 2 ขนาด 8.80 คูณ 8.80 เมตร สูง 88 เซนติเมตร ก่อเรียงอิฐแบบสลับสั้น-ยาว ไม่สอปูน บานหน้ากระดานย่อเก็จ ขนาด 7.90 คูณ 7.90 เมตร

    ลักษณะที่ 4 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังหนึ่งกับอาคารคล้ายวิหารโถงผังพื้นย่อมุมอีกด้านหนึ่งฐานต่อเนื่องกัน อาคารหรือวิหารหลังแรกวางตัวตามแนวทิศตะวันตก - ตะวันออกส่วนอาคารที่มีผังพื้นย่อมุมอยู่ทางหน้าวิหารวางตัวเป็นมุมฉากกับ หลังแรก พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นวิหารโถง มีหลังคาชั้นเดียว ในขณะที่วิหารขวางทางท้ายนั้นเป็นวิหารโถงมีหลังคาซ้อนต่างระดับถึง 3 ชั้น และน่าจะมีมุขยื่นออกไปทางด้านหน้าด้วย โดยมีการสร้างวิหารหลังคาชั้นเดียวเชื่อมต่อในภายหลังบริเวณรอยต่อของวิหารทั้งสองหลังทำไม่ได้สัดส่วนนัก

    ลักษณะที่ 5 เป็นฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 15.00 คูณ 7.00เมตรซึ่งสันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้ที่ีหลังคา ต่างระดับซ้อนกัน 2 ชั้นที่ด้านข้างทางด้านทิศใต้ค่อนไปทางท้ายอาคารมีทางเดินเชื่อมกับฐานวิหารหลังคาชั้น เดียวของกลุ่มโบราณสถานลักษณะที่ 4 และที่ข้างทิศเหนือของมุขหน้ามีบันไดและทางเดินเชื่อมต่อ

    ลักษณะที่ 6 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 คูณ 12 เมตร สร้างตามแนวทิศเหนือ - ใต้ หันหน้าไปทางทิศเหนือโดยประมาณ มีบันไดทางขึ้นขนาดเล็กทางด้านก่ออิฐแบบหน้ากระดานเรียบ

    ลักษณะที่ 7 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 5.50 คูณ 10.00 เมตร ลักษณะผังพื้นเหมือนกับฐานวิหารโถง

    วัตถุดิบการฉาบ

    เวียงกุมกามเป็นนครโบราณที่มีมานานกว่าหลายร้อยปีซึ่งในยุคสมัยนั้นผู้คนได้มีการสร้างโบราณสถานหลายๆแห่ง อาทิเช่น วัด วิหาร กำแพงเมือง กำแพงแก้ว อุโบสถเจดีย์ ฯลฯ และภูมิปัญญาของคน สมัยก่อนที่ได้นำมา แสดงให้เห็นถึงความสามารถคือ การสามารถสร้างสถานที่ต่างๆได้โดยไม่ใช้วัตถุประสานเช่นเดียวกับปัจจุบันที่ใช้กันกล่าวคือในการสร้างวิหารหรือกำแพงแก้ว จะใช้อิฐหลายๆก้อนมาเรียงต่อกันโดยที่มีวัตถุประสานในที่นี่ตามคำบอกเล่าของคนในเวียงกุมกาม จะใช้ปูนหมักเป็นวัตถุประสานระหว่างอิฐต่ออิฐ เช่นเดียวกับเราใช้ปูนเชื่อมระหว่างอิฐต่ออิฐ แต่ความพิเศษของปูนหมักคือ

    ปูนหมักจะประกอบได้ด้วยปูนขาว น้ำอ้อย หนังวัวหนังควาย (สารอินทรีย์)รากไม้หรือเปลือกไม้ 7 ชนิด (ส่วนมากจะเลือกพืชที่มีเปลือกไม้ที่ลอกและกะเทาะออกจากต้นได้ )


    กรรมวิธีการทำปูนหมัก คือการนำ หนังวัวหนังควายเคี่ยวกับน้ำอ้อยจากนั้นนำมาหมักกับปูนขาว และรากไม้ 7 ชนิด และในการฉาบพื้นผิวของวัตถุนั้น จะใช้ปูนขาวเป็นตัวฉาบ

    ปูนขาวในที่นี้ประกอบด้วย ปูนขาว หนังวัวหนังควาย เป็นหลัก
    กรรมวิธีการทำปูนขาว คือการเคี่ยวหนังวัวหนังควายแล้วนำมาผสมกับปูนขาวในสัดส่วนที่พอเหมาะจากนั้นก็นำมาฉาบวัตถุต่าง ๆ ต่อไป
    จากข้างต้นอาจจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีผลทำให้เวียงกุมกามสามารถมีโครงสร้างที่ค่อนข้างคงทน และถาวร ถึงแม้จะมีการล่มสลายโดยอุทกภัยก็ยังเหลือซากให้ศึกษาได้ นั่นเป็นสิ่งบ่งชี้ให้คนปัจจุบัน เห็นว่าคนสมัยก่อนมีภูมิปัญญาที่สามารถนำมาสร้างและรักษาสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิวัฒนาการเทคโนโลยีหรือวัตถุดิบที่เราใช้กันทุกวันแต่โดยการนำวัสดุ และวัตถุที่มีคุณสมบัติยึดเหนี่ยวเช่น พวกสารอินทรีย์ และน้ำอ้อยมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างวัตถุแต่ละชนิดขึ้นมา

    วัตถุดิบการสร้างตัวเมือง
    รูปแบบของสถาปัตยกรรมของเวียงกุมกามมีแนวความคิดของล้านนาไทยซึ่งเป็นดินแดนที่รับพุทศาสนาจากลังกา อินเดีย โดยผ่านทางสุโขทัยจนกระทั่งเข้ามารวมตัวกันกระจายอยู่ทั่วไปในล้านนา โดยเฉพาะเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การปกครองและการศาสนา ดังนั้นเวียงกุมกามจึงได้รับอิทธิพลของล้านนาอยู่บ้าง ซึ่งรูปแบบศาสนสถาน ที่เกิดขึ้นเนื่องจากแนวความคิดทางด้านพุทธศิลป์ พบว่ารูปแบบของวิหารมีขนาดไม่ใหญ่โตมาก สร้างด้วยไม้ มีฐานหรือผนังก่ออิฐฉาบปูน ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกเก็จด้านหน้า และหลังยังคง รักษาระเบียงของล้านนาดั้งเดิมคือ

    1. รูปแบบ โครงสร้างเป็นโครงหลักในการก่อสร้าง
    2. มีการใช้ผนังไม้ นิยมการก่อผนังไม้ผสมกับอิฐกับปูน
    3. วิหารนิยมการวางแผนผังในรูปของสี่เหลี่ยมจัตุรัส
    4. เจาะช่องหน้าต่างรูปกากบาท
    5. การวางแผนผังศาสนสถานนิยมสร้างศาลาบาตรล้อมรอบอาคารที่เป็นเจดีย์
    6. องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
    6.1 หน้าบัน มีรูปแบบม้าตั่งไหม
    6.2 ค้ำยัน นิยมแบบแกะสลักไม้อยู่ในกรอบสามเหลี่ยม
    6.3 ลวดลาย นิยมทำรูปสัตว์ประดับวิหาร

    ฉะนั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมของเวียงกุมกามจะมีอยู่บางส่วนเท่านั้นที่จะมีศิลปะแบบล้านนา เช่นในศิลปะของสถาปัตยกรรมตอนปลายที่สร้างขึ้น ภายหลังย้ายเมืองหลวงไปที่เชียงใหม่นอกจากนี้ความเชื่อของผู้คนในเวียงกุมกามจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

    ที่กลุ่มชนชาวโยนกที่รับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมพุทศาสนาของหริภุญไชยมาใหม่ๆก็เป็นได้ เนื่องจากได้ขุดพบว่าภายใต้แท่นฐานของซุ้มปราสาทหรือซุ้มโขงนั้นมีร่องรอยของกองกระดูกสัตว์ใหญ่ประเภทวัว ควาย หรือม้าถูกเผาปนเถ้าถ่าน มีประทีปดินเผา และชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาปนอยู่ในหลุมรวมกัน ดูเหมือนพิธีกรรมทำนองคล้ายยัญพิธีบางอย่างซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบในโบราณสถานแห่งใดมาก่อนซึ่งสะท้อนให้เห็นความเชื่อที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนา กับความเชื่อบางประการ
    http://www.school.net.th/library/web...arch/arch.html





    [​IMG]

    ผังเวียงกุมกาม
    จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวตามลำน้ำปิง ตัวเวียงวางแนวทแยงทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยกำแพงเวียงด้านเหนือเลียบปิงห่างการวางเวียงในแนวทแยงคงช่วยการชลอของการส่งน้ำจากแม่น้ำเข้าสู่คูเวียงเพื่อมิให้น้ำไหลแรงจนทำให้คูเวียงเสียหาย ลักษณะของเวียงกุมกามดังกล่าวซึ่งตรงตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ " …หื้อขุดคือ(คู)เวียงทั้งสี่ด้าน ไปเอาน้ำแม่ระมิงค์เข้าใส่ คือ… " ลักษณะผังเวียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบนี้สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากหริภุญไชย ที่ชอบสร้างเวียงอยู่ริมน้ำโดยเฉพาะในเขตที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมถึงและผังเวียงของแคว้นหริภุญไชยก็เป็นรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าเช่นเดียวกัน

    โบราณสถานเวียงกุมกาม
    <TABLE borderColor=#ff9900 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="49%">>> วัดกานโถม (ช้างค้ำ)</TD><TD width="51%">>> วัดกู่ป้าด้อม</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดปู่เปี้ย</TD><TD width="51%">>> วัดกู่อ้ายหลาน</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดเจดีย์เหลี่ยม</TD><TD width="51%">>> วัดกู่มะเกลือ</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดอีค่าง</TD><TD width="51%">>> วัดกู่ริดไม้</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดพระธาตุน้อย</TD><TD width="51%">>> วัดกู่อ้ายสี</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดกุมกามทีปราม</TD><TD width="51%">>> วัดกู่จ๊อกป๊อก</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดหัวหนอง</TD><TD width="51%">>> วัดอุโบสถ</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดพระธาตุองค์ดำ</TD><TD width="51%">>> วัดพญามังราย</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดกู่ขาว</TD><TD width="51%">>> วัดเสาหิน</TD></TR><TR><TD width="49%">>> วัดกู่ไม้ซัง</TD><TD width="51%"></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlns065/map/m-image/fmap.jpg
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมได้ไปเห็นสถานที่จริงแล้ว มีความเห็นว่าการขุดค้นนี้ทำได้ยากมากด้วยสาเหตุมากมายเท่าที่ลองประมวลคร่าวๆแล้ว คือ
    -ด้านของงบประมาณที่ต้องใช้อีกมากมาย
    -ด้านความรู้ของชุมชน หัวหน้าชุมชน
    -ด้านที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ในโบราณสถาน ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเมืองทั้งเมืองอยู่ใต้พื้นดิน ซึ่งไม่มีผู้ใดพบเห็น อีกเมืองเมืองหนึ่งคือเมืองที่เราเห็นบนพื้นดิน มีบ้านช่อง มีสถานก่อสร้างใหม่ๆตามมา จะเวนคืนที่ดินเหล่านี้อย่างไร?
    -ด้านกำลังคนดูแลรักษา

    โบราณสถานมีประมาณ ๔๗ แห่ง และยังมีที่ยังไม่ได้ทำการขุดค้นอีกมากมาย ผมมีโอกาสได้ไปประมาณ ๖ แห่ง

    วัดช้างค้ำ หรือวัดกานโถม ตั้งอยู่ในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาล วัดกานโถม

    เป็นวัดที่พญามังรายโปรดให้สร้างวัดกานโถมขึ้นในราวปี พ.ศ. 1833 ประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

    ด้านหลังมีอาคาร เชื่อมต่อออกไปมีลักษณะเป็นมณฑปหลังวิหารเป็นที่ประดิษฐานเอกสารพงศาวดารโยนก ฐานเจดีย์มีฐานกว้าง 12 เมตร สูง 18 เมตร ทำซุ้มคูหาสี่ทิศใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็นสองชั้น ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป 4 องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง มีรูปอัครสาวกโมคัลลาน์ สารีบุตร และพระอินทร์ รูปนางธรณีไว้สำหรับพระพุทธรูปด้วย

    นอกจากนี้ในบริเวณวัดกานโถมยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกาในครั้งโบราณและหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ นอกจากพบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชยจำนวนหนึ่งแล้วยังพบจารึกหินทรายสีแดงเป็นอักษร ได้แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ อักษรมอญ อักษรที่มีลักษณะระหว่างอักษรมอญกับอักษรไทย และอักษรสุโขทัย


    และฝักขามรุ่นแรกภายในวัดกานโถม (ช้างค้ำ) มีต้นโพธิ์ที่เก่าแก่ มีพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่เคารพสักการะและมีหอพญามังราย หรือศาลพญามังรายซึ่งเป็นที่สถิตย์ของเทพ และเป็นที่เคารพสักการะของประชากรในละแวกนั้นมาตั้งแต่โบราณ และวัดกานโถมนี้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์เข้าพรรษาอยู่ภายในวัด และมีพุทธศาสนิกชนทำบุญ และร่วมทำกิจกรรมต่างๆในวันสำคัญๆทางศาสนาอยู่เป็นประจำ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดต่อมาที่อยู่ภายในเวียงกุมกาม..

    วัดอีค่าง
    เนื่องจากการศึกษาศิลปกรรมของลักษณะเจดีย์เป็นศิลปกรรมดั้งเดิมของล้านนาแบบเต็มตัว ดังนั้นจึงอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชกาลของพระเจ้าเมืองแก้ว และไม่เก่าไปกว่าพุทธศักราช 2060 อยู่ติดกับแนวคูน้ำกั้นดินด้านทิศตะวันตกของเวียงอยู่ลึกลงไปในผิวดินประมาณ 2 เมตร ประกอบด้วยวิหาร และเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นแบบล้านนาดั้งเดิมอย่างเต็มตัว ตัววิหารหันทิศไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านหลังวิหารมีอาคารเชื่อมต่อคล้ายมณฑป ส่วนเจดีย์อยู่หลังสุดบริเวณโดยรอบมีทางเดินสำหรับประทักษิณซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วอยู่ติดกับแนวคูน้ำ - คันดินด้านทิศตะวันตกของเวียง อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร

    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดหนานช้าง
    ตั้งตามชื่อเจ้าของที่ดิน ด้านหน้าของวัดอยู่ใกล้แม่น้ำปิง ซุ้มโขงมีลายปูนปั้นประดับเล็กน้อย ถัดจากซุ้มโขงลงไปมีทางเดินและมีวิหาร ซึ่งที่ฐานพระประธานมีลายปูนปั้น ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้น เรือนธาตุได้พังเสียหายไปแล้ว เยื้องกับเจดีย์เป็นมณฑป ถัดไปเป็นอุโบสถ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดปู่เปี้ย
    ตั้งอยู่บริเวณที่เข้าใจว่าเป็นแนวคูน้ำคันดิน ด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามอยู่ลึกลงไปจากผิวดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร

    ตามที่นักประวัติศาสตร์และกรมศิลปากรได้ศึกษาอายุสมัยของการสร้างองค์เจดีย์ปู่เปี้ยน่าจะอยู่ในรัชสมัยของพญาติโลกราชลงมาในราว พ.ศ 1998 - 2068 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว และมีลักษณะ ของวัดประกอบด้วยดังนี้ วิหาร เจดีย์ อุโบสถ และส่วนประกอบปลีกย่อย อื่น ๆ เช่น แท่นบูชา และศาลผีเสื้อตั้งอยู่ด้านหน้า พระอุโบสถ วิหาร และอุโบสถอยู่ข้างเคียงกันต่างหันทิศไปทางทิศตะวันออก โดยเฉพาะวิหารมีร่องรอยของการก่อสร้าง ซ่อมกันมาหลายสมัย ส่วนองค์เจดีย์นั้นมีลักษณะเป็นเรือนธาตุสูง ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่มีทั้งแบบสุโขทัย และแบบล้านนารวมกัน และรับองค์ระฆังขนาดเล็ก องค์ระฆังและส่วนยอดเป็นศิลปกรรมแบบสุโขทัย



    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดที่ ๖ วัดนี้บูรณะได้สวยงามมาก

    วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือวัดกู่คำ
    "กู่" หมายถึง พระเจดีย์
    "คำ" หมายถึง ทองคำ
    พญามังรายทรงโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1831

    ประวัติความเป็นมาเริ่มที่เวียงกุมกามของพญามังรายนั้น พระองค์ให้ขุดคูเวียงหาทั้งสี่ด้าน และไขน้ำปิงเข้าสู่คูเวียง และตั้งลำเวียง(ค่าย) ไว้โดยรอบ แล้วให้ขุดหนองสระไว้ใกล้ที่ประทับในขณะที่ขุดนั้น พระองค์ทรงเยี่ยมพระแกลดูคนขุดทุกวัน หนองนั้นจึงได้ชื่อ หนองต่าง (หน้าต่าง ) พระองค์ทรงโปรดให้เอาดินที่ขุดออกจากหนองนี้ปั้นอิฐก่อเจดีย์กู่คำ คือเจดีย์เหลี่ยมไว้ในเวียงกุมกามนั้น เพื่อให้เป็นที่สักการะของประชาชนทั้งหลาย

    ลักษณะของเจดีย์นั้นมีฐานกว้าง 8 วา 1 ศอก สูง 22 วา ซึ่งเป็นแบบศิลปกรรมของลพบุรี โดยถ่ายแบบมาจากวัดจามเทวี (วัดกู่กุด) ลำพูน มีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ กล่าวกันว่าเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระชายา ทั้ง 60 พระองค์ ยอดเจดีย์แปลงขึ้นเป็นตุ่ม ไม่มีฉัตรเหมือนเจดีย์ทั่วๆไปคล้ายกับสถูป คนทั้งหลายจึง เรียกว่า เจดีย์กู่คำ

    ต่อมาหลวงโยนการวิจิตร ได้ทำการบูรณะโดยให้ช่างชาวพม่าเป็น ผู้ดำเนินงานลวดลายต่างๆทั้งซุ้มพระ และองค์พระจึงเหมือนศิลปกรรมพม่า และเพิ่มซุ้มองค์พระอีกด้านละ 1 องค์ จึงมีพระพุทธรูปทั้งหมด 64 องค์

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดธาตุขาว
    ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า) ตรงกิโลเมตรที่ 5 ในเขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง

    บราณสถาน และสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณวัดกู่ขาว ประกอบด้วย กำแพงแก้ว และซุ้มประตู อยู่ทางด้านทิศเหนือหรือด้านหลังวิหาร แนวกำแพงก่ออิฐแบบสลับสั้นยาว เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์แบบล้านนามีฐานบัวลูกแก้วซ้อนกันอยู่ 2 ชุด ย่อเก็จ มีฐานพระพุทธรูป อยู่ระหว่างเจดีย์และวิหาร วัดนี้สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว

    ภายในวัดกู่ขาวมีธาตุกู่ขาว ที่เรียกกันว่าวัดธาตุขาวเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นตัวเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาวนั่นเอง โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ อุโบสถ และมณฑป โดยมีการก่อสร้างขึ้นมา 2ระยะคือ ระยะแรกก่อสร้างเพียงเจดีย์ วิหาร อุโบสถ แต่ต่อมาเกิดการชำรุดจึงต่อเติมฐานเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น ระยะที่สองมีการก่อสร้างมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป

    พระพุทธรูปที่เห็นทุกวันนี้ได้สร้างครอบพระพุทธรูปองค์จริงไว้ มีความศักดิ์สิทธิ์ขอสิ่งใดมักจะสัมฤทธิ์ผล เป็นที่น่าแปลกมากตรงที่พี่ที่เดินทางไปด้วยกัน ๒ ท่านมีความประสงค์จะได้งานใหม่ ในช่วงนี้จะมีสายโทรศัพท์ต่อเข้ามาเสนองานให้ทั้ง ๒ ท่านพร้อมๆกัน และที่น่าสังเกตคือ มีแผงให้บูชาเทียนประจำวันเกิด เทียนสะเดาะเคราะห์ เทียนบูชาพระราหูโดยเฉพาะ เทียนสืบชะตา เทียนรับโชค จำหน่ายเล่มละ ๑๐-๙๙ บาท

    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดที่ ๖ วัดนี้บูรณะได้สวยงามมาก

    วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือวัดกู่คำ
    "กู่" หมายถึง พระเจดีย์
    "คำ" หมายถึง ทองคำ
    พญามังรายทรงโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1831

    ประวัติความเป็นมาเริ่มที่เวียงกุมกามของพญามังรายนั้น พระองค์ให้ขุดคูเวียงหาทั้งสี่ด้าน และไขน้ำปิงเข้าสู่คูเวียง และตั้งลำเวียง(ค่าย) ไว้โดยรอบ แล้วให้ขุดหนองสระไว้ใกล้ที่ประทับในขณะที่ขุดนั้น พระองค์ทรงเยี่ยมพระแกลดูคนขุดทุกวัน หนองนั้นจึงได้ชื่อ หนองต่าง (หน้าต่าง ) พระองค์ทรงโปรดให้เอาดินที่ขุดออกจากหนองนี้ปั้นอิฐก่อเจดีย์กู่คำ คือเจดีย์เหลี่ยมไว้ในเวียงกุมกามนั้น เพื่อให้เป็นที่สักการะของประชาชนทั้งหลาย

    ลักษณะของเจดีย์นั้นมีฐานกว้าง 8 วา 1 ศอก สูง 22 วา ซึ่งเป็นแบบศิลปกรรมของลพบุรี โดยถ่ายแบบมาจากวัดจามเทวี (วัดกู่กุด) ลำพูน มีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ กล่าวกันว่าเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระชายา ทั้ง 60 พระองค์ ยอดเจดีย์แปลงขึ้นเป็นตุ่ม ไม่มีฉัตรเหมือนเจดีย์ทั่วๆไปคล้ายกับสถูป คนทั้งหลายจึง เรียกว่า เจดีย์กู่คำ

    ต่อมาหลวงโยนการวิจิตร ได้ทำการบูรณะโดยให้ช่างชาวพม่าเป็น ผู้ดำเนินงานลวดลายต่างๆทั้งซุ้มพระ และองค์พระจึงเหมือนศิลปกรรมพม่า และเพิ่มซุ้มองค์พระอีกด้านละ 1 องค์ จึงมีพระพุทธรูปทั้งหมด 64 องค์

    หอพญาเม็งรายมหาราช ประดิษฐานพระบรมรูปพญาเม็งรายมหาราช ซึ่งพระองค์ท่านเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา พระบรมรูปจัดสร้างได้สวยงามมาก

    พระพุทธรูปพระนามว่า หลวงพ่อพุทธะนวทรัพย์สิริมงคล พระประธานวิหารสมัยเวียงกุมกาม ใช้ไม้แก่นจันทน์จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปโบราณที่อัญเชิญมาอยู่ด้านนอกซึ่งก็ไม่ทราบเหตุผลว่าเหตุใดจึงนิมนต์มาไว้ด้านนอก????

    คุณลุงสมหมายที่ปัจจุบันนี้มาเป็นมัคคทายกที่วัดเจดีย์เหลี่ยมนี้ลมหายใจได้เคยหยุด(ตาย) นิมิตได้ยินเสียงจากยมโลกว่ายังไม่ถึงฆาต พระท่านให้ช่วยบูรณะวัดนี้ จึงได้ร้องขึ้นในขณะที่แพทย์กำลังจะฉีดฟอร์มารีนแล้ว หากมีดอกาสไปที่วัดนี้ ท่านอาจจะได้พบคุณลุงสมหมายก็ได้ครับ ลองไปสอบถามเรื่องราวเหล่านี้ได้ครับ ขอบอกครับว่าคุณลุงมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง น้ำเสียงมีพลังอำนาจ และใจดีมากๆ...
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดสุดท้ายที่เวียงกุมกามนี้ คือ..


    วัดกู่ป้าด้อม
    ตั้งอยู่ในเขตบ้านท่าวังตาล ตำบลท่าวังตาล อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม ติดกับแนวคูเมือง - กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ สามารถเดินทางมาจากวัดปู่เปี้ย หรือตามถนนทางแยกเข้าเวียงกุมกามด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)

    วัดกู่ป้าด้อมน่าจะก่อสร้างขึ้นในระยะที่พญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกาม ระหว่างปี พ.ศ. 1835 - 1839 วัดกู่ป้าด้อม (กู่เป็นภาษาถิ่น หมายถึง เจดีย์ ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาในเอกสาร และตำนานทางประวัติศาสตร์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน เนื่องจากอยู่ในเขตที่ดินของป้าด้อม ประกอบด้วย วิหารเจดีย์ และแท่นบูชาจำนวน 2 แท่น ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแก้ว ซึ่งปัจจุบันรับการบูรณะแล้ว เจดีย์เหลือเพียงฐานเท่านั้น มีกำแพงแก้วก่อล้อมรอบโบราณสถาน กำแพงแก้วด้านหน้าทางเข้าวิหารมีซุ้มโขง วัดแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22

    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  11. Banana''บงบง

    Banana''บงบง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +1
    ใน ที่ สุด ก็ มี ที่ เชียง ใหม่


    บงบง ซึ้ง ใจ ฉุดๆ


    ^^


    สาธุ สาธุ


    บงบง เคย ไป สนุก มาก มาย


    แต่ ว่า ร้อน ไป หน่อย งิ



    ใคร ชอบ ก็ แวะ มา เที่ยว ง๊าบ
     
  12. toottoo

    toottoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +3,254
    ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูล
    ถ้าจะกรุณาเล่าเรื่องเวียงท่ากานให้ฟังด้วยจะขอบคุณมาก
    เคยทราบว่ามีความเก่าแก่ไม่แพ้เวียงกุมกามแม้จะสร้างหลังยุคพระนางจามเทวีก็ตาม
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ตามคำขอนะครับ บังเอิญผม และคณะมีโอกาสได้ไปยังสถานที่นี้ เพียงแต่เวลาค่อนข้างจำกัด ชาวบ้านที่เวียงท่ากานมีอัธยาศัยใจดี และใจบุญมากครับ วันที่ผมเดินทางไปถึงชาวบ้านกำลังเตรียมงานบุญอยู่นั่นคือ"งานสืบสานไหว้สาป๋ารมีประเพณีสรงน้ำพระ และวัตถุโบราณอันล้ำค่า ใส่ขันดอก ๑๐๘ ขัน สืบชะตา สะเดาะเคราะห์" ก็เหมือนเป็นวาระให้ได้ไปเยือนดินแดนธรรมะ และโบราณวัตถุล้ำค่าจริงๆครับ คงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านร่วมกันดูแลโบราณวัตถุของที่เวียงท่ากานกัน

    พระพุทธรูปสำคัญของวัดท่ากานถูกคนร้ายตัดเอาพระเศียรไปเนื่องจากดวงพระเนตรขององค์พระพุทธรูปโบราณนี้เป็นประกายสวยงามมากนั่นเอง ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนเห็นแก่ตัวเหล่านี้ร่วมกันทำลายสมบัติของสงฆ์ และโบราณวัตถุของส่วนรวมไป...

    เมืองโบราณเวียงท่ากานตั้งอยู่ในเขตบ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่บริเวณเส้นรุ้ง ที๑๘ํ ๓๐' ๓๐" เหนือ และเส้นแวงที่ ๑๘ํ ๔๓' ๘๘" ตะวันตก พิกัดกริกที่ QMA 879080 (แผนที่ทางทหารลำดับชุด L 7017 ระหว่าง 4746 ll)
    [​IMG] อาณาเขต
    ทิศเหนือ ติดกับบ้านพระเจ้าทองทิพย์
    ทิศใต้ ติดกับบ้านสันกะวาน
    ทิศตะวันออก ติดกับบ้านหนองข่อย
    ทิศตะวันตก ติดกับบ้านต้นกอก และบ้านต้นแหนหลวง

    การเดินทางจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นท่างสายเชียงใหม่-ฮอด เป็นระยะทางประมาณ ๓๔ กิโลเมตร จนถึงทางแยกเข้าบ้านท่ากานบริเวณปากท่างบ้านทุ้งเสี้ยว เป็นระยะทางเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร โดยผ่านพื้นที่บ้านต้นกอกสภา

    เมืองเก่าเวียงท่ากานมีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๗๐๐เมตร กว้างประมาณ ๔๐๐เมตร ปรากฏแนวคูเมือง ๑ชั้น กว้างประมาณ ๗-๘ เมตร และมีกำแพงดินหรือคันดินล้อมรอบ ๒ ชั้นปัจจุบันเหลือแนวคูน้ำ คันดินให้เห็น ๓ ด้านยกเวณด้านทิศใต้

    ตัวเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงพื้นโดยราบเป็นที่ราบลุ่มห่างจากลำน้ำ ปิงประมาณ๓กิโลเมตทางทิศตะวันออกมีลำน้ำแม่ขานไหลผ่านห่งจากตัวเมือง เวียงท่ากานประมาณ ๒ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีลำเหมือง(ลำห้วย) สาย เล็กๆ ชักน้ำจากน้ำแม่ขานมายังคูเมืองทางทิศใต้และยังมีลำเหมืองขนาดเล็ก ชักน้ำเข้ามาใช้ภายในเมืองทางทิศตะวันออก ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นระบบ ชลประทาน ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ

    สภาพภายใต้ในตัวเมืองเดิมเป็นป่าทึบ ต่อมามีการโค่นต้นไม้ใหญ่หักล้างพื้นถางโพรงเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยพื้นที่บริเวณชายเนินที่เป็นที่นาทั้งหมด ปัจจุบันบ้านเรือนราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมืองชาวบ้านท่ากานส่วนใหญ่เป็นพวกชาวยองที่อพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวีละปกครองเมือง เชียงใหม่คนส่วนใหญ่พูดภาษายอง

    คำว่า "ท่ากาน" ชาวบ้านเล่าว่ามาจากคำว่า "ต๊ะก๋า"ในตำนานเล่าว่า เมื่อก่อน นี้มีกาเผือกตัวใหญ่จะบินลงที่นี้ชาวบ้านกลัวว่าเมืองบินลงจะทำ ให้เกิดความเดือดร้อนในหมู่บ้านจึงพากันไล่กา หรือต๊ะก๋าไม่ให้มาลงก็เลย เรียกต่อกันมาว่าบ้านต๊ะก๋า ต่อมาเมือประมาณพ.ศ.๒๔๕๐เจ้าอาวาสวัดท่ากานได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบ้านท่ากาน เนื่องจากคำว่าบ้านต๊ะก๋าไม่เป็นภาษาเขียน

    จากหลักฐานทางด้านเอกสารและตำนานหลายฉบับ เช่นตำนานมูลศาสนา พงศาวดารโยนก และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวโดยรวมได้ว่า เมืองท่ากานเป็นเมืองที่มีประวัติเกี่ยวกับนิยายปรัมปราทางพุทธศาสนากล่าวถึงพระพุทธ เจ้าว่าเคยเสด็จมาที่เมืองนี้

    เวียงท่ากาน ปรากฏชื่อในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า "เวียงพันนาทะการ" คงจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง เนื่องจากพญามังราย (พ.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๕๔)โปรดให้นำต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาทวีปหนึ่งต้นในจำนวนสี่ต้น มาปลูกที่เมืองเวียงพันนาทะการ

    เวียงท่ากานเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารเพราะเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ชื่อของเวียงท่ากานปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๓๐) กล่าวว่าพระองค์ได้เสด็จยกทัพ ไปตีเมืองเงี้ยวและได้นำเชลยเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงท่ากาน เมืองเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงพันนา ทะการคงจะหมายความว่าในช่วงนี้เวียงพันนาทะการมีฐานเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่เพราะคำว่าพันนาในภาษาไทยเหนือหมายถึงตำบล หลังจากพม่าเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ในสมัยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองในปี(พ.ศ.๒๑๐๑) เวียงท่ากานที่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเช่นกัน ต่อมาทางเชียงใหม่ร้างไปประมาณ ๒๐ ปีเศษ คือในช่วงระหว่าง(พ.ศ.๒๓๑๘-๒๓๓๙) เวียงท่ากานก็คงจะร้างไปด้วย จนถึงช่วงปี พ.ศ.๒๓๓๙ พระเจ้ากาวิละทรงตีเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้จึงกวาดต้อนพวกไทยยองเข้ามาอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้

    หลักฐานทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุเช่นพระพิมพ์ดินเผาพระพุทธรูปดินเผาพระพุทธรูปสำริด และพระโพธิสัตร์ เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงศิลปะแบบหริภุญไชย ซึ่งยังคงเหลือให้ศึกษาอยู่นอกเหนือจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโบราณสถาน และโบราณวัตถุในสมัยล้านนาให้ศึกษาอย่างต่อเนื่องและนอกตัวเมืองอีกด้วย เป็นกลุ่มโบราณสถานมีขนาดใหญ่มากทีสุดมีเนื้อที่ประมาณ ๑๔ ไร่ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญยังคงเหลืออยู่คือ เจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภุญไชย และเจดีย์ทรงกลมสมัยล้านนา นอกจากนี้ยังปรากฏเนินโบราณสถานอีกหลาย เนินซึ่งเป็นองค์เจดีย์วิหารอีกหลายเนินภายในกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้ยังเคยมีคนขุดพบพระบุทองคำ เงินสำริด พระพิมพ์ดินเผา ที่สำคัญคือไหรายโบราณสมัย ราชวงศ์หยวน(พ.ศ.๑๘๒๓-๑๙๑๑) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดท่ากานจะเป็นโถบรรจุอัฐิของพระเถรผู้ใหญ่เจดีย์ทั้งสององค์นี้ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเมือประมาณต้นปีพ.ศ.๒๕๓๑ โดยหน่วยศิลปกรที่ ๔ ได้พบโบราณวัตถสามารถกำหนดอายุของเจดีย์ทั้ง ๒ องค์ได้ว่ามีอายุอยู่ในช่วงหริกุญไชยลงมาถึงล้านนา กลุ่มวัดกลางเมืองนี้ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน ๓ กลุ่ม

    วัดกลางเมืองกลุ่มที่๑ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือมีแนวกำแพงล้อมรอบประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังฐานแปด เหลี่ยมอยู่ด้านหลังวิหารในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกห่างกันประมาณ ๔ เมตร ภายในแนวกำแพงเข้าด้านหน้ามีซุ้มประตูโขงเจดีย์เป็นแบบหริภุญไชย และ ล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๒

    วัดกลางเมืองกลุ่มที่๒เป็นกลุ่มที่มีเนื้อที่น้อยที่สุดโดยใชเ้แนวกำแพงร่วมกับ กลุ่มที่๓ประกอบด้วยฐานวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกผนังด้านหลังวิหารเชื่อมติดกับลานประทักษิณของเจดีย์ประธานเป็นระฆังฐานสี่เหลี่ยมกลุ่มอาคารด้านทิศตะวันออกหลังเจดีย์ประกอบด้วยฐานของศาลาโถง ๒ หลัง และบ่อน้ำ

    วัดกลางเมืองกลุ่มที่๓ประกอบด้วยโบราณสถาน ๗ แห่งล้อมรอบด้วยกำแพง โดยกำแพงด้านทิศตะวันออกเชื่อมกับกำแพงกลุ่มที่ ๒ และใช้กำแพงด้านทิศเหนือร่วมกัน มีซุ้มประตูโขงเป็นประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้า

    กลุ่มที่๒อยู่ทางทิศเหนือของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดพระอุโบสถเนื่องจากในบริเวณนี้มีพระอุโบสถหลังเก่าซึ่งร้างอยู่ต่อมาชาวบ้านได้รื้อใหม่ทับถิ่นเดิมอุโบสถหลังเก่าแล้วสร้างขึ้นมา นอกจากนี้ยังปรากฏเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา และฐานเนินวิหารและยังคงมีเนินโบราณสถานกระจายอยู่ในบริเวณนี้อีก๒-๓แห่งอีกทั้งยังมีเนินซุ้มประตูโขง และแนวกกำแพงให้เห็นเป็นช่วง

    กลุ่มวัดพระอุโบสถประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังตั้งอยู่ด้านหลังวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีอุโบสถหลังใหม่อยู่ขนาดทางด้านขวาด้านซ้ายเป็นฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่หลังเจดีย์เหลี่ยมขนาดเล็กบริเวณรอบวัดล้อม รอบด้วยแนวกำแพงแก้วและมีซุ้มประตูโขงตั้งอยู่ด้านหน้ากลุ่มวัดอุโบสถนี้จัด เป็นศิลปะแบบล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒

    กลุ่มที่๓อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดต้นโพธิ์เนื่องจาก เชื่อกันว่ามีต้นโพธิ์พญามังรายโปรดให้นำมาปลูกในบริเวณนี้มีเนินโบราณสถาน กระจายอยุ่ด้วยกัน๔เนินภายในวัดประกอบด้วยฐานวิหารและเจดีย์ประธานมีซุ้มประตูโขงและแนวกำแพงแก้วล้อมรอบสถาปัตยกรรมของกลุ่มวัดต้นโพธิ์จัดเป็น ศิลปะแบบล้านนาอายุราวศตวรรษที่๑๙-๒๒

    กลุ่มที่๔อยู่ทางตอนกลางของเมืองค่อนไปทางทิศตะวันออกเรียกวัดหัวข่วง ปรากฏเนินโบราณสถานที่เป็นเจดีย์และวิหารโดยวิหารเหลือแต่ฐานสี่เหลี่ยม ผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศใต้ ฐานเจดีย์ประธานเป็นลักษณะแบบทรงเรือนธาตุมีกำแพงแก้วล้อมรอบ กลุ่มวัดหัวข่วงนี้จัดเป็นศิลปะแบบล้านนาอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑-๒๒

    กลุ่มที่๕อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดรพเจ้าก่ำปรากฏเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ ๒ เนิน ชาวบ้านได้พบพระพุทธรูปสำริดองค์หนึ่งถูกไฟเผาจนเป็นสีดำ จึงเรียกว่าวัดพระเจ้าก่ำ ภายในบริเวณโบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยฐานวิหาร และเจดีย์ประธานลักษณะเจดีย์แบ่งเป็น ๒ ส่วนคือฐานชั้นล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กับเรือนธาตุด้านบนฐานเจดีย์นี้ได้เชื่อมต่อกันฐานของวิหารโบราณสถานกลุ่มนเป็นศิลปะแบบล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒

    กลุ่มที่๖ตั้งอยู่นอกเมืองท่างทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกเมืองอยู่ในเขตบ้านต้นกอก เรียกว่าวัดต้นกอก มีเจดีย์ทรงกลมที่ช่างฐานมีการขยายฐานส่วนนอกไปอีกเพื่อสร้างเจดีย์แบบพม่าสวมครอบทับเมื่อประมาณ ๕๐ กว่าปีที่ผ่านมาแต่ยังสร้างไม่เสร็จ นอกจากนี้ยังมีเนินโบราณสถานอีก ๓ แห่งโบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังมีฐานใหญ่ซ้อนกัน ๓ ชั้นตั้งอยู่หลังวิหารในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก นอกจากนี้ยังปรากฏวิหารอยู่ทางทิศเหนือของเจดีย์อีกหนึ่งฐานและใกล้จากนี้ไป ทางทิศตะวันตกมีฐานวิหารอีกฐานหนึ่งตั้งอยู่นอกจากนี้กลุ่มโบราณสถานสถาน ที่กล่าวมาแล้วนยังปรากฏเนินโบราณสถานนอกเมืองทางทิศตะวันออกี้เฉียงเหนือใกล้กับเขตบ้านต้นกอกอีกหลายเนิน

    ในปีงบประมาณ๒๕๓๑ หน่วยศิลปกรที่ ๔ เชียงใหม่ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์โบราณสถานกลางเมือง๒องค์คือเจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภิญไชย ๑ องค์และเจดีย์ทรงกลมแบบองค์เรือนธาตุอีก ๑ องค์ ได้พบหลักฐานประเภทโบราณวัตถุจำนวนมากทั้งเศษภาชนะดินเผาแบบหริภิญไชย พระพุทธรูปสำริดเป็นต้นอนึ่งหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุ และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ซึ่งมีการบูรณะซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง สามารถกำหนดอายุโบราณสถานดังกล่าวได้ว่าน่าจะมีอายุตั้งแต่สมัยหริภัญไชยตอนปลายลงมาถึงสมัยล้านนาตอนต้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒
    http://www.dsc.ac.th/inweb/student_job/sunpatong/oi.htm

    บทสรุปของเวียงท่ากานนี้ ผมคิดว่า ชาวบ้านต้องช่วยกันดูแลจัดสถานที่ ภูมิทัศน์ต่างๆรอบๆวัด เวียงให้ดูสะอาดตา ไม่มีสิ่งสกปรกรกรุงรัง เช่นทางเข้าด้านหลังวัด หรือข้างวัดเป็นส้วมสาธารณะแบบนี้ออกจะไม่เหมาะสม ก็ลองชมภาพทั้งสวยงาม และไม่สวยงามนี้กันเอาเองว่าจะพัฒนาเวียงท่ากานไปในรูปแบบใด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดพระธาตุดอยน้อย
    วัดพระธาตุดอยน้อย ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยหล่อ อำเภอจอมทอง ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ ระหว่างกิโลเมตรที่ ๔๓-๔๔ หากมาจากเชียงใหม่จะอยู่ฝั่งซ้ายมือ ตามประวัติว่าสร้างโดยพระนางจามเทวี เมื่อปี พ.ศ. ๑๒๐๑ โบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระบรมธาตุ โข่งพระ (กรุพระ) โบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปหินอ่อนแกะสลัก ทั้งองค์เล็กองค์ใหญ่มากมาย บริเวณวัดตั้งอยู่บนภูเขาติดลำน้ำปิง มองเห็นทิวทัศน์โดยรอบทุกทิศ มีบันไดนาคขึ้นไป ๒๔๑ ขั้น

    ประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับพระแม่จามเทวีนั้นสามารถจะอ่านจากป้ายที่วัดได้ ได้ถ่ายมาให้ชม หรืออ่านกันตรงๆจากวัดจะดีที่สุด เพราะข้อมูลจะได้ไม่ผิดเพี้ยน ชื่อพระธาตุดอยน้อยนี้อาจจะซ้ำกับที่วัดพระธาตุดอยน้อยอีกแห่งที่ที่มีเงาพระธาตุ ๕ เงา ซึ่งเป็นคนละแห่งกันครับ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    นับเป็นสถานที่ที่มีความเป็นมาเกี่ยวพันกันกับพระแม่จามเทวีอย่างมาก จึงได้เก็บภาพในมุมต่างๆไว้เกือบจะครบทุกมุม ไปเห็นยังสถานที่จริงทั้งร่มรื่น ทั้งสงบ และหายากครับที่จะมีความสมบูรณ์ของอายุร่วม ๑,๓๕๐ ปี (เริ่มก่อสร้าง วันขึ้น ๒ ค่ำเดือน ๓ พ.ศ. ๑๒๐๑ และก่อสร้างเสร็จใช้เวลาเพียง ๑ เดือนกับ ๖ วันในวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๔ พ.ศ. ๑๒๐๑)
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    หากมีโอกาสเดินทางไปที่ลำพูนผ่านบนทางหลวงที่ ๑๐๘ ก็ขอแนะนำสถานที่แห่งนี้ในการเดินทางไปกราบสักการะพระธาตุดอยน้อยและพระแม่จามเทวี
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
     
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก็มาถึงภาพชุดสุดท้ายของการเดินทางมายังพระธาตุดอยน้อยแห่งนี้แล้วครับ..
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระธาตุศรีจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    ปีชวด(หนู)
    คำบูชาพระธาตุ
    ตั้งนะโม 3 จบ
    นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฎ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตติมันตัง มะโนหะ รัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา อัง คะวะเย ปุเรรัมเมิโกวิลา รัคคะปัพ พะเต สะหิเหมะคูหา คัพเภทักขิณะโมลี ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทา

    พระธาตุจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ (พระธาตุ ส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๘ ปัจจุบันพระธาตุได้บรรจุไว้ในพระโกศ ๕ ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุขก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง ๔ เมตร สูง ๘ เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๖๐
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     

แชร์หน้านี้

Loading...