ตามรอยโบราณ ศึกษาการปรับเปลี่ยนยุคสมัยของ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 26 ตุลาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG]
    [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ผู้เขียนได้วิจารณ์ การจำแนก ยุคสมัย ของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ และ ยอร์ช เซเดส์ ไว้ในหนังสือเรื่อง ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ แบบศิลปในประเทศไทย
    โดยมีความประสงค์ ที่จะแยก แบบของศิลปะ ออกจาก สมัยทางประวัติศาสตร์ และเสนอแนะว่า น่าจะแบ่งศิลปะ ในประเทศไทย โดยใช้เชื้อชาติเป็นเกณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ เป็นสี่กลุ่ม คือ มอญ เขมร ไทย และ กลุ่มชนภาคใต้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>
    และ แยกออกเป็นสกุลช่าง ตามท้องถิ่นอีกต่อหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่า กลุ่มชนแต่ละกลุ่ม เป็นผู้กำหนด ลักษณะเฉพาะ ของผลงานที่ เขาเป็นผู้สร้างขึ้นมา
    <o:p> </o:p>
    แต่หลังจากที่ ได้มีการ ค้นคว้าเพิ่มเติมแล้ว ปรากฏว่า การจำแนก รูปแบบของศิลปะ ตามแนวเชื้อชาติ และ สกุลช่างนั้น ยังยึดติดอยู่กับ การศึกษา ประวัติศาสตร์ศิลปะ ตามแนวทาง การศึกษา แบบตะวันตก ซึ่งไม่เหมาะสมกับ การศึกษาศิลปกรรม ที่พบในประเทศไทย
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น จึงจะต้อง ใช้แนวทาง ที่สอดคล้องกับ ข้อมูลทางศิลปกรรม และ พื้นฐานทางวัฒนธรรม ของไทยเป็นหลัก ในการ จำแนกยุคสมัย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระวัชริน
    สำริด สูง ๒๔ ซม.
    ตัวอย่างของ การศึกษาศิลปะไทย ตามแนวทาง การศึกษาศิลปะ แบบตะวันตก ดังที่เคยศึกษากันมา คือ การจำแนกศิลปะ ในประเทศไทย ออกเป็นหมวดหมู่ โดยใช้รูปแบบ ที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกัน เป็นหลัก และตั้งชื่อ ให้กับ แต่ละหมวดหมู่เหล่านั้น ตามชื่อของรัฐ ในประวัติศาสตร์
    จากนั้น จึงกำหนดอายุของ แต่ละหมวด โดยใช้ ช่วงเวลาของ ความเจริญของ รัฐเหล่านั้น เช่น การกำหนดชื่อของ ศิลปะสมัยทวารวดี ของสมเด็จฯ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ และยอร์ช เซเดส์ กระทำโดย รวบรวมพระพุทธรูป ที่มีรูปแบบคล้ายกับ พระพุทธรูป ของอินเดีย สมัยคุปตะ (ประมาณพุทธศักราช ๕๐๐-๑๑๕๑) ขึ้นมาเป็นกลุ่มหนึ่ง
    และตั้งชื่อว่า สมัยทวารวดี ตามชื่อของ อาณาจักร ที่จดหมายเหตุของจีน กล่าวถึงในช่วง พุทธศักราช ๑๑๐๐-๑๒๐๐ (ค.ศ.๕๕๗-๖๕๗) ซึ่งในบริเวณ เขตแดน ที่สันนิษฐานว่า เป็นอาณาจักร ทวารวดีนั้น ได้พบพระพุทธรูป ที่มีลักษณะคล้ายกับ พระพุทธรูปสมัย คุปตะ
    ดังนั้น รูปแบบของ พระพุทธรูป จึงถูกนำมาใช้ กำหนดเขตแดนของ อาณาจักร ทวารวดีด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระมหาธาตุ
    วัดพระธาตุ หริกุญชัย
    จังหวัดลำพูน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระมหาไวโรจนะ
    สำริด สูง ๔๒ ซม.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    วิหารเก้ายอด วัดเจดีย์เก้าแถว จังหวัดสุโขทัย

    การเชื่อมโยงระหว่าง พุทธศิลป์ กับชื่อของ อาณาจักร มีความสำคัญต่อ อาณาจักรเหล่านี้มาก เพราะศิลปะ เป็นหลักประกันว่า อาณาจักรเหล่านี้ มีจริง แต่หากใช้ หลักฐาน ทางเอกสารอย่างเดียว มายืนยันแล้ว อาณาจักรเช่น ทวารวดี และศรีวิชัย ก็คงจะมี ความสำคัญทาง ประวัตศาสตร์ ไม่มากไปกว่า จิถู ลังยาสู หรือ รัฐเล็กรัฐน้อยต่างๆ ที่กล่าวถึง ในเอกสารของจีน
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น เมื่อแยกงานศิลปะ ออกจาก ชื่ออาณาจักรแล้ว ความเป็นจริงก็คือ ทวารวดี และศรีวิชัย มิได้มีความสำคัญไปกว่า เมืองท่าอื่นๆ ที่ทำการค้า กับจีนเลย
    <o:p> </o:p>
    เช่นเดียวกันกับ การสร้างภาพลักษณ์ว่า อาณาจักรสุโขทัย เป็นอาณาจักรที่ ยิ่งใหญ่ โดยอาศัย งานสร้างสรรค์ ทางศิลปะ โดยเฉพาะพระพุทธรูป ซึ่งมี "สุนทรียภาพ อันประเสริฐ เป็นเลิศ" และเมื่อผนวกเข้ากับ แนวความคิดที่ว่า อาณาจักรสุโขทัย มีความยิ่งใหญ่แล้ว ก็ยากที่จะ แยกออกจาก มโนทัศน์ของ "สุโขทัย ยุคทองของ สยาม" ไปได้ เพราะ ศิลปะ เป็นตัวยืนยัน ความสำคัญ ของอาณาจักร สุโขทัย <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความผิดพลาดของ นักปราชญ์รุ่นเก่า ที่สำคัญ อีกประการหนึ่ง คือการที่ละเลย ประเด็นที่ว่า พระพุทธรูป เป็นรูปจำลอง หรือรูปเลียนแบบ ซึ่งไม่ได้อยู่ใน ขอบข่าย ของงานศิลปะเสรี แบบตะวันตก ที่จะมาจำแนก ตามยุคสมัยได้ พระพุทธรูป หรือพระปฏิมา คือรูปจำลอง ที่เลียนแบบ สืบต่อกันมา จากพระพุทธรูป ที่มีความนิยมสูง ในแต่ละช่วงเวลา หรือเพราะ พระพุทธรูปองค์นั้น มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิเศษ
    นอกจากนั้นแล้ว พระพุทธรูป ยังเป็นรูปสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นรูปธรรม ของปรัชญา ในพุทธศาสนา ที่เป็นนามธรรม หากสร้างภาพ ขึ้นตามใจชอบแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะ สื่อความคิดนั้นได้
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น พระพุทธรูป จึงอยู่เหนือกาลเวลา และสถานที่ เพราะพุทธศาสนิกชน คนใด ก็สามารถ จำลองพระพุทธรูป ตามแบบที่ต้องการได้ ไม่ว่าคนคนนั้น จะอยู่ ณ ที่ใด ในสมัยใด<o:p></o:p>

    ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นความผิดพลาดของ นักปราชญ์รุ่นเก่า ที่นำเอา พุทธศิลป์ ไปไว้ในบริบทของ รัฐศาสตร์ โดยนำมาใช้เป็น เครื่องมือ ในการ สร้างอาณาจักร เช่นทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน และสุโขทัย ซึ่งหากนำศิลปะ ไปไว้ภายใต้ศาสนา ตามที่ควรจะเป็นแล้ว ก็จะเป็นเครื่องมือ ในการศึกษา ความเปลี่ยนแปลง และ ความหลากหลาย ทางด้าน พุทธปรัชญา ในประเทศไทย ได้ดีกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext><o:p><o:p><o:p>
    เจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
    </o:p></o:p></o:p>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระพุทธจักรพรรดิ
    สำริด สูง ๒๑๔ ซม.


    การปรับเปลี่ยน ยุคสมัย ของพุทธศิลป์ ในประเทศไทย ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะ แยกพุทธศิลป์ ออกจากรัฐศาสตร์ และการเมือง โดยนำไปไว้ ภายใต้บริบทของ พุทธศาสนา
    ซึ่งจากการ ศึกษา ประติมานิรมาณวิทยา ของพุทธศิลป์ ในประเทศไทยแล้ว ก็สามารถที่จะ จำแนกออกตาม ความเปลี่ยนแปลง ของพุทธศาสนา ในแต่ละช่วงเวลา ได้ดังต่อไปนี้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ๑) ลัทธิหีนยาน นิกาย มหาสังฆิกะ และมูลสรรวาสติวาท<o:p></o:p>
    ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๕ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๗)<o:p></o:p>
    ๒) ลัทธิมหายาน<o:p></o:p>
    ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๖ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)<o:p></o:p>
    ๓) ลัทธิหีนยาน นิกายเถรวาท<o:p></o:p>
    ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๗ - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐)<o:p></o:p>
    ๔) ลัทธิวัชรยาน<o:p></o:p>
    ๑. ลัทธิวัชรยาน จากอินเดีย ชวา และจัมปา<o:p></o:p>
    ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๘ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑)<o:p></o:p>
    ๒. ลัทธิวัชรยาน จากกัมพูชา<o:p></o:p>
    ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓)<o:p></o:p>
    ๓. ลัทธิวัชรยาน ในประเทศไทย<o:p></o:p>
    ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔)<o:p></o:p>
    ๕) นิกายเถรวาท จากลังกา<o:p></o:p>
    ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖)<o:p></o:p>
    ๖) นิกายสยามวงศ์<o:p></o:p>
    ประมาณ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ - กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙)<o:p></o:p>
    ๗) ธรรมยุตนิกาย<o:p></o:p>
    ประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ปัจจุบัน (กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ - ปัจจุบัน)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระสมณโคดม พ.ศ. ๑๙๖๙ สำริด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระพุทธจักรพรรดิ สำริด สูง ๒๑๔ ซม.
    ( พระพุทธจักรพรรดิ คือองค์นี้ครับ )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระพุทธสิหิงค์ จำลอง<o:p></o:p>
    สำริด สูง ๑๐๑ ซม.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระสมณโคดม<o:p></o:p>
    พ.ศ. ๑๙๖๕ สำริด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext>
    พระสมณโคดม<o:p></o:p>
    พ.ศ. ๒๐๘๔ สำริด สูง ๑๘๗ ซม.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG] [​IMG]
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext><o:p>
    พระโพธิสัตว์ ปัทมปาณี<o:p></o:p>
    สำริด สูง ๖๓ ซม.<o:p></o:p>​



    ขอขอบคุณ ที่มาของข้อมูล<o:p></o:p>
    <o:p> [​IMG]</o:p>
    รศ.พิริยะ ไกรฤกษ์, วารสารเมืองโบราณ
    ปีที่ ๒๕ ฉบับ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๔๒<o:p></o:p>
    </o:p></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...